เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สะพานแบบคาน

ดัชนี สะพานแบบคาน

นคานแผ่นเหล็กที่วางบนเสาคอนกรีต สะพานแบบคาน (beam bridge) คือสะพานรูปหนึ่งที่มีโครงสร้างเรียบง่ายที่สุด ซึ่งพื้นสะพานถูกหนุนโดยเครื่องค้ำและเสาสะพานในแต่ละด้าน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้ำตลอดสะพานนี้ ดังนั้นรูปแบบโครงสร้างจึงรู้จักในการค้ำสะพานที่เรียบง่าย สะพานแบบคานที่เรียบง่ายที่สุดอาจเป็นแผ่นหินหนาหรือแผ่นกระดานไม้วางข้ามลำธาร สะพานที่ออกแบบสำหรับโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ จะถูกสร้างโดยใช้เหล็กหรือคอนกรีตเสริมแรง หรือรวมทั้งสองอย่าง องค์ประกอบของคอนกรีตอาจเป็นคอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตอัดแรง.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: สะพานสะพานขึงสะพานแขวนคอนกรีตอัดแรงคอนกรีตเสริมแรงโครงสร้างพื้นฐาน

  2. สะพานแบ่งตามประเภทโครงสร้าง

สะพาน

น Akashi-Kaikyō ในญี่ปุ่นเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก สะพานจากท่อนซุง เชื่อมต่อเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำ สะพาน คือโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามหุบเขา แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ การออกแบบความสูงของสะพาน จะขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางด้านล่าง รวมถึงการจราจรด้านล่าง (เช่น รถ เรือ สามารถผ่านได้) การก่อสร้างสะพานมีจุดประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีการต่อเนื่องระหว่างทางที่มีการสร้างไว้แล้ว555.

ดู สะพานแบบคานและสะพาน

สะพานขึง

นรุสสกี (The Russky Bridge) สะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลกในรัสเซีย สะพานพระราม 9 สะพานขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย สะพานพระราม 8 สะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดียวที่ยาวที่สุดในโลก สะพานขึง (cable-stayed bridge) คือ สะพานรูปแบบหนึ่งที่มีหนึ่งหอคอยหรือมากกว่า ซึ่งมีสายเคเบิลในการพยุงพื้นสะพาน รูปแบบของสะพานนี้มีสองแบบหลัก ๆ ได้แก่ ฮาร์ป (harp) และแฟน (fan) ในส่วนของฮาร์ปหรือการออกแบบแนวขนาน สายเคเบิลเกือบจะขนานกันเพื่อที่จะให้ความสูงและการเชื่อมต่อของหอคอยได้สัดส่วน ในส่วนของแฟน สายเคเบิลทั้งหมดเชื่อมต่อหรือผ่านส่วนบนสุดของหอคอย การออกแบบของแฟนเหนือกว่าในด้านโครงสร้าง เพราะสายเคเบิลจบใกล้กับส่วนบนสุดของหอคอย แต่มีช่องว่างของแต่ละสายอย่างเพียงพอ ซึ่งปรับปรุงด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการเข้าถึงสายเคเบิลแต่ละสายได้อย่างดีในการดูแลรักษา สะพานขึงเหมาะสมสำหรับช่วงกลางที่ยาวกว่าสะพานยื่น (cantilever bridge) และสั้นกว่าสะพานแขวน (suspension bridge) เพราะสะพานยืนจะหนักขึ้นอย่างรวดเร็วหากมีการสร้างช่วงกลางที่ยาวขึ้น และสะพานแขวนจะไม่ประหยัดมากขึ้นหากมีการสร้างช่วงกลางที่สั้นลง เพราะฉะนั้นสะพานขึงจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับสะพานที่ไม่สั้นหรือยาวมากเกินไป.

ดู สะพานแบบคานและสะพานขึง

สะพานแขวน

นอะกะชิไคเกียวในญี่ปุ่น เป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก สะพานจอร์จ วอชิงตัน เชื่อมระหว่างนครนิวยอร์กและรัฐนิวเจอร์ซีคือ สะพานแขวนที่มีการจราจรมากที่สุดในโลก ด้วยปริมาณรถ 102 ล้านคันต่อปี สะพานแขวน (Suspension bridge) คือ รูปแบบของสะพานแบบหนึ่ง ซึ่งพื้นสะพานถูกแขวนด้วยสายเคเบิลในแนวตั้ง ตัวอย่างสะพานแขวนแห่งแรกถูกสร้างขึ้นในทิเบตและภูฏานในคริสศตวรรษที่ 15 ในรูปแบบที่เรียบง่าย ซึ่งกลายเป็นรูปแบบของสะพานแขวนในศตวรรษที่ 19 สะพานที่ไม่มีสายแขวนในแนวตั้งมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในเขตภูเขาหลายๆ แห่งทั่วโลก สะพานแขวนมีสายเคเบิลแขวนระหว่างเสาหรือหอคอย และมีสายแขวนในแนวตั้ง ซึ่งถือน้ำหนักของพื้นสะพานด้านล่างและมีการจราจรอยู่ด้านบน โดยการก่อสร้างสะพานรูปแบบนี้ไม่ค่อยมีงานก่อสร้างที่ผิดพลาด สายเคเบิลหลักต้องถูกยึดติดที่แต่ละด้านและปลายสุดของสะพาน น้ำหนักถ่วงของสะพานจะเปลี่ยนเป็นความตึงของสายเคเบิลหลักๆ สายเคเบิลจะดึงหอคอยทั้งสองด้านไปจนถึงการรับน้ำหนักบนพื้นด้านล่าง ในบางครั้งหอคอยอาจจะตั้งอยู่บนขอบตลิ่งกว้างหรือหุบเขาที่ถนนสามารถเข้าถึงได้โดยตรง หรืออาจจะใช้สะพานที่มีเสาค้ำ (Truss bridge) ในการเชื่อมต่อกับสะพานแขวน perrow.

ดู สะพานแบบคานและสะพานแขวน

คอนกรีตอัดแรง

อนกรีตอัดแรง เป็นกระบวนการผลิตและเสริมแรงให้ชิ้นส่วน หรือองค์อาคารคอนกรีตให้สามารถรับน้ำหนักได้สูงมากขึ้น.

ดู สะพานแบบคานและคอนกรีตอัดแรง

คอนกรีตเสริมแรง

หล็กเสริมจะถูกดัดเป็นรูปร่าง และวางอยู่ภายในคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตเสริมแรง (reinforced concrete หรือ ferro concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยการใช้วัสดุอื่นเข้ามาช่วย เช่น เหล็ก หรือ ไฟเบอร์ หรือในบางครั้งใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต คือความเปราะ คอนกรีตเสริมแรงนิยมเรียกว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการเสริมแรง การใช้งานคอนกรีตเสริมแรงเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมักจะมีการกล่าวถึง สวนฝรั่งเศสชื่อ Monier สร้างในปี พ.ศ.

ดู สะพานแบบคานและคอนกรีตเสริมแรง

โครงสร้างพื้นฐาน

นนบางนา-บางปะกง ถนนเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เป็นโครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างหลักของหน่วยงานสำหรับใช้งานภายในชุมชน หรือใช้บริการตามความจำเป็นเพื่อรูปแบบทางเศรษฐศาสตร.

ดู สะพานแบบคานและโครงสร้างพื้นฐาน

ดูเพิ่มเติม

สะพานแบ่งตามประเภทโครงสร้าง