โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะพานชัก

ดัชนี สะพานชัก

นชัก (drawbridge) คือสะพานประเภทหนึ่งที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งปกติจะใช้งานร่วมกับทางเข้าของปราสาทที่ล้อมรอบด้วยคูเมือง ในภาษาอังกฤษของบางท้องถิ่นซึ่งรวมถึงภาษาอังกฤษอเมริกัน คำว่า "drawbridge" จะหมายถึงสะพานทุกรูปแบบที่เคลื่อนที่ได้ เช่น สะพานหก (bascule) สะพานยกแนวตั้ง (vertical-lift) สะพานหมุน (swing) เป็นต้น แต่ในหน้านี้จะกล่าวถึงสะพานดังกล่าวตามความหมายดั้งเดิม.

13 ความสัมพันธ์: ช่องธนูช่องเชิงเทินภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษแบบอเมริกันสมัยกลางหอคอยคริสต์ศตวรรษคูเมืองประตูชักรอกประเทศฝรั่งเศสประเทศเยอรมนีปราสาทเรือนเฝ้าประตู

ช่องธนู

องธนู (Balistraria หรือ Arrow loop หรือ Arrow slit) เป็นช่องแคบภายในสิ่งก่อสร้างทางยุทธการเช่นบนกำแพงปราสาทหรือในใบสอของเชิงเทินของปราสาทที่นายขมังธนูใช้ในการยิงไปยังข้าศึกโดยไม่เป็นอันตรายต่อตนเอง ด้านในของกำแพงที่ใช้ในการสร้างช่องธนูมักจะถูกสร้างลึกเข้าไปเป็นมุมในผนังหรือกำแพงเพื่อให้ผู้ขมังธนูใช้ได้ทั้งเล็งและยิงเป้าได้ตามต้องการ รูปทรงของช่องก็ทรงและขนาดต่างๆ กัน แต่ที่เป็นที่รู้จักกันคือรูปกางเขน การทำเป็นช่องแคบยาวสามารถทำให้ปรับระดับการยิงให้สูงต่ำตามต้องการได้ แต่ผู้อยู่ภายนอกสามารถทำอันตรายต่อผู้อยู่ภายในได้ยากเพราะความแคบของช่องธนู.

ใหม่!!: สะพานชักและช่องธนู · ดูเพิ่มเติม »

ช่องเชิงเทิน

องเชิงเทินที่ปราสาทปิเยร์ฟงด์ (Château de Pierrefonds) ช่องเชิงเทิน (Machicolation) คือช่องบนพื้นเชิงเทิน ที่เปิดได้ระหว่างคันทวย ที่ใช้ในการหย่อนหินหรือของร้อนลงมายังหรือยิงศัตรูที่อยู่ข้างล่าง การออกแบบวิวัฒนาการขึ้นในยุคกลางเมื่อนักรบนอร์มันกลับมาจากการไปทำสงครามครูเสด เชิงเทินที่มีช่องจะสร้างยื่นออกไปจากตัวกำแพง เชิงเทินชั่วคราว (Hoarding) เป็นสิ่งก่อสร้างที่คล้ายกับเชิงเทินแต่สร้างด้วยไม้เฉพาะช่วงเวลาที่ถูกล้อม ช่องเชิงเทินได้เปรียบกว่าเชิงเทินชั่วคราวเพราะเป็นส่วนหนึ่งของเชิงเทินที่สร้างด้วยหินซึ่งทำให้ปลอดภัยจากการถูกไฟไหม้ คำว่า “Machicolation” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า “machicoller” ที่มาจากภาษาโปวองซาลเก่า “machacol” และจากภาษาละติน “*maccāre” ที่แปลว่า บด/บีบอัด + “คอลัมน์” ถ้าช่องอยู่บนเพดานของทางผ่านก็เรียกว่า “ช่องสังหาร” (Murder-hole).

ใหม่!!: สะพานชักและช่องเชิงเทิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: สะพานชักและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (American English, AmE) เป็นกลุ่มของภาษาถิ่นของภาษาอังกฤษที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ประมาณสองในสามของเจ้าของภาษาอังกฤษอาศัยอยู่ในสหรัฐ พจนานุกรมเล่มแรกของภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เขียนโดยโนอาห์ เว็บสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1828 แสดงถึงข้อแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน และอังกฤษดั้งเดิมที่มาจากบริเตน ข้อแตกต่างที่เว็บสเตอร์เขียนรวมถึง การสะกดคำ เช่นคำว่า center แทนคำว่า centre และ color แทน colour และการอ่านออกเสียงต่าง ๆ ตัวอย่างคำศัพท์หลายคำที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ซึ่งได้แก่ OK (โอเค), blizzard (บลิซซาร์ด) และ teenager (วัยรุ่น) หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ภาษาถิ่น.

ใหม่!!: สะพานชักและภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: สะพานชักและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หอคอย

ตเกียวสกายทรี เป็นหอคอยที่สูงที่สุดของโลก หอคอย (Tower) เป็นอาคารสูงที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์สำหรับคอยระวังเหตุและสังเกตการณ์ หอคอยมักสร้างขึ้นในลักษณะทางสูงและสามารถยืนอยู่ด้วยโครงสร้างของตัวเอง.

ใหม่!!: สะพานชักและหอคอย · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษ

หน้านี้แสดงช่วงเวลาเป็นสหัสวรรษและศตวรรษตามปีคริสต์ศักร.

ใหม่!!: สะพานชักและคริสต์ศตวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

คูเมือง

หาสน์แบดเดสลีย์คลินตันในวอริคเชอร์ในอังกฤษ คูเมือง หรือ คูปราสาท (moat) คือร่องน้ำกว้างและลึกที่อาจจะเป็นคูแห้งหรือที่มีน้ำขังที่ขุดขึ้นรอบปราสาท, สิ่งก่อสร้าง หรือ เมือง เพื่อใช้เป็นระบบการป้องกันจากการโจมตีจากบุคคลภายนอก ในบางกรณีคูก็อาจจะวิวัฒนาการไปเป็นระบบการป้องกันทางน้ำอันซับซ้อนที่อาจจะรวมทั้งทะเลสาบขุดหรือธรรมชาติ, เขื่อน หรือประตูน้ำ แต่ในปราสาทสมัยต่อมาคูรอบปราสาทอาจจะเป็นเพียงสิ่งตกแต่งเพื่อความงามเท่านั้น.

ใหม่!!: สะพานชักและคูเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ประตูชักรอก

ประตูชักรอก (Portcullis) คือส่วนประตูของปราสาทที่มีลักษณะเป็นกรงที่ทำด้วยไม้หรือโลหะ หรือ ทั้งไม้และโลหะรวมกัน ประตูชักรอกมักจะเป็นประตูที่ในการป้องกันทางเข้าปราสาทในยุคกลาง นับเป็นระบบการป้องกันระบบสุดท้ายก่อนที่จะเข้าถึงตัวปราสาท ประตูแต่ละช่องจะติดตั้งบนร่องดิ่งในกำแพงปราสาท และอาจจะยกขึ้นหรือลงได้อย่างรวดเร็วโดยการใช้โซ่หรือเชือกที่ร้อยกับระบบเครื่องกว้าน ทางเข้าปราสาทหลักมักจะมีประตูชักรอกสองช่อง ประตูด้านในเป็นประตูที่ปิดก่อน ตามด้วยประตูนอก ซึ่งทำให้เป็นกับดักข้าศึกระหว่างประตูสองช่อง เหนือช่องดักก็อาจจะมีช่องสังหารบนเพดานที่ผู้ป้องกันปราสาทสามารถใช้เพื่อการยิง หรือหย่อน หรือเทสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น ทรายร้อนหรือน้ำร้อนลงมายังข้าศึกผู้ติดกับอยู่ได้ ส่วนด้านข้างบนกำแพงก็จะมีช่องธนูที่นายขมังธนูใช้ยิงข้าศึกได้.

ใหม่!!: สะพานชักและประตูชักรอก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: สะพานชักและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: สะพานชักและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาท

ปราสาทคาร์คาโซนในฝรั่งเศส ปราสาท คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท.

ใหม่!!: สะพานชักและปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

เรือนเฝ้าประตู

ประตูบาร์บิคันของปราสาทเกล็นนาร์มในไอร์แลนด์ เรือนเฝ้าประตู (Gatehouse) เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของปราสาท, คฤหาสน์มาเนอร์ และคฤหาสน์อื่นๆ ของยุโรป เดิมเรือนเฝ้าประตูเป็นสิ่งก่อสร้างแบบระบบป้อมปราการ ที่ตั้งอยู่เหนือประตูทางเข้าเมืองหรือปราสาท ในด้านสถาปัตยกรรมเรือนเฝ้าประตูหมายถึงสิ่งก่อสร้างที่อยู่ภายในหรือสร้างติดกับประตูของปราสาท, คฤหาสน์มาเนอร์ หรือสิ่งก่อสร้างในประเภทเดียวกันที่มีความสำคัญ เรือนเฝ้าประตูปรากฏเป็นครั้งแรกในสมัยต้นยุคกลางเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันทางเข้าของเมืองหรือปราสาท ต่อมาเรือนเฝ้าประตูก็วิวัฒนาการมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนขึ้นที่เต็มไปด้วยระบบการป้องกันหลายชั้นขึ้น เรือนเฝ้าประตูแบบสร้างเสริมมักจะมีระบบการป้องกันอื่นๆ ที่รวมทั้งสะพานชักรอก, ประตูชักรอก (portcullis), ช่องเชิงเทิน, ช่องธนู และอาจจะมีช่องสังหารที่ใช้ในการหย่อนสิ่งต่างๆ ลงมายังผู้รุกราน ในปลายยุคกลางช่องธนูก็อาจจะแปลงเป็นช่องสำหรับยิงปืน บางครั้งเรือนเฝ้าประตูก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบการป้องกันเมืองที่อาจจะใช้ในการป้องกันสะพานข้ามแม่น้ำหรือคูเมืองเช่นเรือนเฝ้าประตูกลางสะพานมอนเนาว์ในมอนมอธในเวลส์ ยอร์คมีเรือนเฝ้าประตูสำคัญสี่เรือนเช่นเรือนที่มิคเคิลเกตบาร์ ภาษาฝรั่งเศสเรียกเรือนเฝ้าประตูว่า “logis-porche” ที่อาจจะมีขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนที่ใช้เป็นทั้งประตูและที่พักอาศัย ถ้ามีขนาดใหญ่มากบางครั้งก็เรียกว่า “châtelet” หรือ “ปราสาทน้อย” เมื่อมาถึงปลายยุคกลางเรือนเฝ้าประตูในอังกฤษและฝรั่งเศสก็แปลงมาเป็นเรือนขนาดย่อมที่สร้างอย่างสวยงามที่ตั้งอยู่ตรงทางเข้าของคฤหาสน์หรือคฤหาสน์ที่ดินใหญ่ๆ และกลายมาเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระจากกำแพงหรือติดกับคฤหาสน์เพียงการสร้างติดกับกำแพงล้อมรอบคฤหาสน์ เมื่อมาถึงยุคนี้ความสำคัญในการเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกก็หมดความสำคัญลงไป และกลายมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างให้กลมกลืนไปกับลักษณะของตัวสิ่งก่อสร้างหลักที่อาจจะมองไม่เห็นจากทางเข้า บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปเรือนเฝ้าประตูจากยุคกลางยังมีเหลือให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในฝรั่งเศส และเยอรมนี.

ใหม่!!: สะพานชักและเรือนเฝ้าประตู · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »