โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แรยอน็อง

ดัชนี แรยอน็อง

มหาวิหารโคโลญ (ค.ศ. 1248-ค.ศ. 1322) ที่ถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแรยอน็องที่งดงามที่สุดของยุคกลางหน้าต่างกุหลาบแบบแรยอน็องของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แรยอน็อง (Rayonnant) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1240 จนถึง ค.ศ. 1350 แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่วิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่หันความสนใจจากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และความกว้างใหญ่ของสิ่งก่อสร้างเช่นมหาวิหารชาทร์ หรือทางเดินกลางของมหาวิหารนอเทรอดามแห่งอาเมียงมาเป็นการคำนึงถึงผิวสองมิติของสิ่งก่อสร้าง และการตกแต่งด้วยลวดลายที่ซ้ำซ้อนที่มีขนาดต่าง ๆ กัน หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 แรยอน็องก็ค่อยวิวัฒนาการไปเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลายและสถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตร และดังกล่าวแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดแจ้ง.

41 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์บานพับภาพช่องรับแสงช่องทางเดินฟลิคเกอร์พ.ศ. 1783พ.ศ. 1893พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษมหาวิหารแซ็ง-เดอนีมุขข้างโบสถ์มุขโค้งด้านสกัดระเบียงเหนือทางเดินข้างลายโปร่งสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สงครามร้อยปีหีบวัตถุมงคลหน้าต่างกุหลาบอารามรัวโยมงอาสนวิหารชาทร์อาสนวิหารสทราซบูร์อาสนวิหารอาเมียงอาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสอาสนวิหารแร็งส์อาสนวิหารโคโลญอนุสรณ์ผู้ตายจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรัวงานกระจกสีงุ้มใบไม้ฉากกางเขนประเทศฝรั่งเศสแร็งส์แท่นเทศน์แซ็งต์-ชาแปลโบสถ์น้อยเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เอกรงค์เทา

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ใหม่!!: แรยอน็องและบริเวณกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

บานพับภาพ

แซนไทน์ คริสต์ศตวรรษที่ 10 บานพับภาพ (triptych หรือ polytych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นบาน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสองบาน สามบาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ที่เชื่อมด้วยกันและพับได้.

ใหม่!!: แรยอน็องและบานพับภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องรับแสง

ั้นระหว่างหลังคาบนและหลังคาล่างคือ “ช่องรับแสง” ที่วัดเซนต์นิโคไลที่สตราลซุนด์ (Stralsund) ช่องรับแสง (ˈklɪə(r)stɔəri; Overstorey) หรือที่แปลตรงตัวว่า “ชั้นที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง” (clear storey) เป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างที่หมายถึงชั้นบนของบาซิลิกาโรมัน หรือเหนือทางเดินกลางหรือบริเวณพิธีของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ หรือ สถาปัตยกรรมกอธิคของคริสต์ศาสนสถาน ผนังซึ่งสูงขึ้นไปจากทางเดินข้างและปรุด้วยหน้าต่าง จุดประสงค์ของการมี “ช่องรับแสง” ก็เพื่อให้แสงสว่างสามารถส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างได้.

ใหม่!!: แรยอน็องและช่องรับแสง · ดูเพิ่มเติม »

ช่องทางเดิน

“ช่องทางเดิน” ของกุดังเก็บสินค้าคอสท์โคที่ซานฟรานซิสโก ช่องทางเดิน (aisle) โดยทั่วไปหมายถึงช่องว่างที่ใช้เป็นทางเดินระหว่างแนวที่นั่ง, ผนัง, แนวแสดงหรือเก็บสินค้า หรืออื่นๆ ช่องทางเดินอาจจะปรากฏในสถาปัตยกรรมเช่นคริสต์ศาสนสถาน (เช่นในมหาวิหาร), โรงละคร, ห้องประชุม, ห้องเรียน, ศาล, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด, โรงงาน, รถประจำทาง และอื่นๆ ในกุดังเก็บสินค้าหรือโรงงานสองข้างของช่องทางเดินอาจจะเป็นชั้นที่ต่อขึ้นสูงสองข้างสำหรับเก็บสินค้า การจัดวางองค์ประกอบภายในอาคารที่วางสิ่งของหรือเครื่องมือเป็นแนวโดยมีช่องว่างระหว่างแนวที่ใช้เป็นทางเดิน ช่องนี้จะเรียกว่า “ช่องทางเดิน” เช่นในสถานที่สำหรับออกกำลังกายที่จัดเครื่องออกกำลังเป็นแนวแยกกันโดย ช่องทางเดิน “ช่องทางเดิน” ต่างจาก “ระเบียงทางเดิน” (corridor) หรือโถงทางเดิน (hallway), “ทางเท้า” (footpath/pavement/sidewalk), “ทางเดินนอกสถานที่” (trail) และ “ทาง” (path) หรือ โถงภายในอาคาร (enclosed หรือ open area).

ใหม่!!: แรยอน็องและช่องทางเดิน · ดูเพิ่มเติม »

ฟลิคเกอร์

ฟลิคเกอร์ ฟลิคเกอร์ (Flickr) เป็น เว็บไซต์สำหรับเก็บรูปภาพดิจิตัล โดยอัปโหลดจากผู้ใช้งาน และสามารถแบ่งปันให้ผู้อื่นดูได้ บริการของฟลิคเกอร์เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ใช้เขียนบล็อก เนื่องจากสามารถนำรูปจากฟลิคเกอร์มาใช้ในบล็อกได้โดยตรง โดยเนื่องจากความสามารถในการแท็กเขียนคำอธิบายรูป และค้นหาตามชื่อที่เขียนโดยผู้ใช้งาน นอกจากผู้ใช้จะสามารถอัปโหลดไฟล์ภาพจากในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังสามารถอัปโหลดภาพโดยตรงจากโทรศัพท์มือถือ (Nokia Nseries) บางรุ่น ขึ้น Flickr ได้โดยตรงอีกด้ว.

ใหม่!!: แรยอน็องและฟลิคเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1783

ทธศักราช 1783 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แรยอน็องและพ.ศ. 1783 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1893

ทธศักราช 1893 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แรยอน็องและพ.ศ. 1893 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 9 (Louis IX, Louis IX) (25 เมษายน ค.ศ. 1214 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270) หรือ นักบุญหลุยส์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาแประหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270 นอกจากเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสพระองค์ก็ยังทรงใช้พระนามว่า “หลุยส์ที่ 2 เคานต์แห่งอาร์ตัว” ระหว่างปี ค.ศ. 1226 จนถึงปี ค.ศ. 1237 ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงทำงานร่วมกับรัฐสภาแห่งปารีสในการพยายามปรับปรุงเพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพทางด้านกฎหมาย พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1214 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส และพระนางบล็องช์แห่งคาสตีล พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสพระองค์เดียวที่ทรงได้รับการประกาศเป็นนักบุญ ซึ่งทำให้มีสถานที่ต่างๆ มากมายที่ตั้งชื่อตามพระอง.

ใหม่!!: แรยอน็องและพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ (Henry III of England) (1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 – 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์แพลนแทเจเนต พระเจ้าเฮนรีที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 ที่ปราสาทวินเชสเตอร์ แฮมเชอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ หรือจอห์น แลกแลนด์ และอิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม อภิเษกสมรสกับพระนางเอลินอร์แห่งพรอว็องส์ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1216 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน อังกฤษ พระบรมศพอยู่ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงขึ้นครองราชสมบัติตั้งแต่ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ แม้ว่าจะทรงราชย์เป็นระยะเวลานานแต่ไม่ทรงมีความสำเร็จอะไรมากนักและมิได้ทรงเป็นนักการทหารหรือนักการปกครองผู้สามารถแต่อย่างใด แต่อังกฤษมีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในรัชสมัยของพระองค์ ทรงใช้เมืองวินเชสเตอร์เป็นที่ว่าราชการ พระองค์ทรงขยายแอบบีและทรงสร้างอนุสรณ์แก่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี ระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์พระเจ้าเฮนรีทรงมีวิลเลียม มาร์แชลเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อังกฤษที่พระองค์ได้รับมาผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมัยของพระราชบิดา ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยต่อสู้กับขุนนางเรื่องมหากฎบัตร (Magna Carta) และสิทธิในการเป็นพระมหากษัตริย์ ในที่สุดก็ทรงถูกบังคับให้เรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: แรยอน็องและพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (Basilique Saint-Denis) เดิมเป็นแอบบีย์ชื่อ อารามแซ็ง-เดอนี ที่ตั้งอยู่ที่แซ็ง-เดอนีที่ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของปารีส ต่อมาถูกยกสถานะขึ้นเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลแซ็ง-เดอนีในปี ค.ศ. 1966 มหาวิหารแซ็ง-เดอนีมีความสำคัญทั้งทางสถาปัตยกรรมและทางประวัติศาสตร์ต่อประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารแซ็ง-เดอนีก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 บนที่ตั้งของที่ฝังศพของนักบุญเดนิสผู้เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศสองค์หนึ่งในสามองค์ มหาวิหารกลายเป็นสถานที่สำหรับการแสวงบุญและใช้เป็นที่บรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสเกือบทุกพระองค์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และบางพระองค์จากก่อนหน้านั้น (แต่ไม่ใช่สถานที่สำหรับพระราชพิธีราชาภิเษกที่ทำกันที่มหาวิหารแร็งส์ แต่พระราชพิธีราชาภิเษกพระราชินีมักทำกันที่นี่) มหาวิหารจึงกลายเป็นสิ่งก่อสร้างกลุ่มที่ซับซ้อน ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 อธิการซูว์เฌสร้างบางส่วนของมหาวิหารใหม่โดยใช้วิธีการก่อสร้างที่ล้ำสมัยสำหรับยุคนั้น และใช้การตกแต่งที่นำมาจากสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ การก่อสร้างครั้งนี้ถือกันว่าเป็นก่อสร้างสิ่งก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมกอทิกที่แท้จริงเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นมหาวิหารก็ยังเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแรยอน็อง และกลายมาเป็นแบบการก่อสร้างของมหาวิหารและแอบบีย์อื่น ๆ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ต่อม.

ใหม่!!: แรยอน็องและมหาวิหารแซ็ง-เดอนี · ดูเพิ่มเติม »

มุขข้างโบสถ์

มุขข้างโบสถ์ หรือ แขนกางเขน (transept) คือเป็นบริเวณทางขวางที่ตัดกับทางเดินกลางของสิ่งก่อสร้างที่มีผังทรงกางเขนในคริสต์ศาสนสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอธิค มุขข้างโบสถ์แยกทางเดินกลางจากบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่รวมทั้งมุขตะวันออก บริเวณร้องเพลงสวด ชาเปลดาวกระจาย และบริเวณสงฆ์ มุขข้างโบสถ์ตัดกับทางเดินกลางตรงจุดตัด ที่อาจจะเป็นที่ตั้งของหอสูงเช่นที่มหาวิหารซอลส์บรีหรือโดม.

ใหม่!!: แรยอน็องและมุขข้างโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

ใหม่!!: แรยอน็องและมุขโค้งด้านสกัด · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียงเหนือทางเดินข้าง

ระเบียงเหนือทางเดินข้างเหนือซุ้มโค้งชั้นล่างและภายใต้ช่องรับแสงที่แอบบีมาล์มสบรีในวิลท์เชอร์ในอังกฤษ เป็นระเบียงที่มีซุ้มโค้งแต่งด้วยโค้งหยักแบบนอร์มัน ภายในโค้งใหญ่ก็มีซุ้มโค้งเล็กรับอีกสี่ซุ้ม แอบบีมาล์มสบรีมองจากด้านนอกแสดงตำแหน่งของระเบียงแคบระหว่างลูกศรที่อยู่เหนือช่องทางเดินข้างและช่องรับแสง ระเบียงเหนือทางเดินข้างผนังเป็นกระจกที่มหาวิหารโคโลญสองข้างช่องตกแต่งเป็นภาพวาดเทวดา ระเบียงเหนือทางเดินข้าง หรือ ระเบียงแนบ (triforiumBritannia.com: triforium) คือระเบียงแคบที่สร้างภายในความหนาของผนังด้านในที่ตั้งอยู่ทางผนังด้านข้างเหนือบริเวณกลางโบสถ์หรือมุขข้างโบสถ์ของคริสต์ศาสนสถาน ตำแหน่งอาจจะเป็นระดับเดียวกับช่องรับแสงหรือเป็นชั้นที่แยกออกมาเป็นชั้นต่างหากอยู่ใต้ช่องรับแสง ระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะมีผนังเป็นแก้วแทนที่จะเป็นหิน ที่มาของคำว่า “ระเบียงเหนือทางเดินข้าง” ที่มาจากภาษาอังกฤษ “Triforium” ไม่เป็นที่ทราบแต่สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากคำว่า “thoroughfarum” เพราะเป็นทางเดินจากหัวตึกไปถึงท้ายตึก อาจจะเป็นคำที่แผลงมาจากภาษาละตินว่า “tres” ที่แปลว่า “สาม” และ “foris” ที่แปลว่า “ประตู” หรือ “ทางเข้า” อาจจะเป็นได้ว่าทางผ่านอาจจะเคยเป็นลักษณะสามเหลี่ยมตามรูปทรงของหลังคาที่ลาดลงมาด้านหนึ่ง (ดูรูประหว่างลูกศร) ตัวอย่างแรกของระเบียงเหนือทางเดินข้างพบในบาซิลิกาของผู้นอกศาสนาที่เป็นระเบียงชั้นบนสำหรับการสนทนาหรือการดำเนินธุรกิจ ในสมัยคริสเตียนยุคแรกและในคริสต์ศาสนสถานของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ระเบียงเหนือทางเดินข้างมักจะใช้สำหรับสตรี ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมกอธิคระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะเป็นระเบียงกว้างบนผนังด้านข้างของช่องทางเดินข้างหรืออาจจะเป็นเพียงกว้างเกือบเท่ากับความหนาของผนัง ระเบียงเหนือทางเดินข้างเป็นองค์ประกอบสำคัญของบริเวณกลางโบสถ์ของมหาวิหารหรือคริสต์ศาสนสถานที่เพิ่มความสำคัญให้แก่ซุ้มบริเวณกลางโบสถ์ชั้นล่าง ในด้านการตกแต่งก็อาจจะมีการใช้บัวตกแต่งรอบโค้งหรือรูปแกะสลัก โดยเฉพาะการตกแต่งช่องตกแต่ง (Spandrel) ของส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมสองข้างโค้ง เช่นในการตกแต่งระเบียงเหนือทางเดินข้างของมหาวิหารลิงคอล์น ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รูปทรงของหลังคาเหนือช่องทางเดินข้างแบนราบขึ้นที่ทำให้การสร้างระเบียงเหนือทางเดินข้างที่ต้องใช้ความสูงหายไป ระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะใช้เป็นทางเดินหรือสำหรับผู้สังเกตการณ์ในพิธีที่เกิดขึ้นในมหาวิหาร หรืออาจจะใช้โดยนักบวชในการทำงานที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง บางครั้งระเบียงแคบก็มีประโยชน์ในทางโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเมื่อมีการใช้ค้ำยันแบบปีกที่ช่วยดึงหรือแบ่งเบาน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างจากผนังที่สร้างผ่านระเบียงแคบและกางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง.

ใหม่!!: แรยอน็องและระเบียงเหนือทางเดินข้าง · ดูเพิ่มเติม »

ลายโปร่ง

ลายโปร่งของหน้าต่างที่ทางเดินกลางของมหาวิหารซัววงในฝรั่งเศส ราว ค.ศ. 1200 ลายโปร่งของหน้าต่างกุหลาบของมหาวิหารสทราซบูร์ หอศีลจุ่มปิซาในอิตาลี ลายโปร่ง (tracery) เป็นศัพท์ทางสถาปัตยกรรมที่ส่วนใหญ่ใช้ในการบรรยายลวดลายของงานหินที่สร้างเพื่อเป็นกรอบรับกระจกในหน้าต่างแบบกอทิก หรือลายงานหินที่มีลักษณะเป็นซี่เป็นลวดลายตกแต่งบนผนังหรือกำแพง คำว่า "tracery" อาจจะมาจากคำว่า "tracing floors" ซึ่งหมายถึงลวดลายอันซับซ้อนของหน้าต่างสมัยกอทิกตอนปลายที่ต้องวางไว้ให้ลอกบนพื้น ลายงานหินสมัยแรกเป็นลวดลายง่าย ๆ เป็นหน้าต่างเดี่ยว แต่เมื่อมาถึงสมัยกอทิกตอนต้นวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมก็ทำให้สามารถสร้าหน้าต่างได้กว้างและสูงขึ้น จากหน้าต่างเดี่ยวก็กลายมาเป็นหน้าต่างคู่หรือสามที่ตอนบนเป็นโค้งแหลมเช่นที่มหาวิหารซัวซง ที่ต่อมาวิวัฒนการเป็นลวดลายอันซับซ้อนขึ้นเช่นที่เห็นบนหน้าต่างกุหลาบของมหาวิหารสทราซบูร.

ใหม่!!: แรยอน็องและลายโปร่ง · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: แรยอน็องและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์ของสมัยกอทิกตอนกลางราว ค.ศ. 1194 ถึง ค.ศ. 1260 สถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส (French Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1140 จนถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: แรยอน็องและสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ

ท้องพระโรงเวสต์มินสเตอร์ที่เป็นเพดานแบบ “hammerbeam roof” ภาพจากคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ (English Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองขึ้นในอังกฤษระหว่างราวปี ค.ศ. 1180 ถึงราวปี ค.ศ. 1520 ลักษณะของสถาปัตยกรรมกอทิกของอังกฤษก็เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมกอทิกของส่วนอื่น ๆ ในยุโรป ที่บ่งลักษณะได้จากการใช้ซุ้มโค้งแหลม, เพดานโค้งแหลม, ค้ำยัน, หน้าต่างกว้างและสูง และหอหรือหลังคาที่เป็นยอดแหลม (spire) สถาปัตยกรรมกอทิกเข้ามาในอังกฤษจากฝรั่งเศส เมื่อองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีลักษณะที่เรียกว่า “กอทิก” ได้รับการสร้างรวมกันในวัดเดียวที่บาซิลิกาแซงต์เดอนีส์นอกกรุงปารีสเป็นครั้งแรกโดยแอบบ็อตซูแกร์ ที่ได้รับการสถาปนาในปี..

ใหม่!!: แรยอน็องและสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: แรยอน็องและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามร้อยปี

งครามร้อยปี (Hundred Years' War) เป็นชุดความขัดแย้งระหว่าง..

ใหม่!!: แรยอน็องและสงครามร้อยปี · ดูเพิ่มเติม »

หีบวัตถุมงคล

นักบุญทอรินัส กนิษกะ, เปชวาร์, ปากีสถาน, ในปัจจุบันอยู่ที่มัณฑะเลย์, พม่า เครื่องบรรจุวัตถุมงคลที่เซวิลล์ หีบวัตถุมงคล (Reliquary) หรือบางครั้งก็เรียกว่า “หีบสักการะ” หรือคำในภาษาฝรั่งเศสว่า “châsse” ที่แปลว่า “หีบ” คือตู้ที่ใช้บรรจุวัตถุมงคล ที่อาจจะเป็นชิ้นส่วนจากร่างของนักบุญเช่นกระดูก ชิ้นเสื้อผ้า หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับนักบุญ หรือ บุคคลสำคัญทางศาสนา ความแท้ของสิ่งของดังกล่าวมักจะเป็นเรื่องที่โต้แย้งกัน คริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็ระบุว่าต้องการเอกสารที่พิสูจน์ประวัติความเป็นเจ้าของ.

ใหม่!!: แรยอน็องและหีบวัตถุมงคล · ดูเพิ่มเติม »

หน้าต่างกุหลาบ

“หน้าต่างกุหลาบ” ในมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส หน้าต่างกุหลาบ (rose window) โดยทั่วไปหมายถึงหน้าต่างทรงกลมซึ่งมักจะใช้ในการสร้างคริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะที่เป็นสถาปัตยกรรมกอทิก คำว่า “rose window” เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ พจนานุกรมอ๊อกซฟอร์ดระบุว่า rose ในที่นี้หมายถึง ดอกกุหลาบ คำว่า “หน้าต่างกุหลาบ” มักจะหมายถึงหน้าต่างที่แบ่งเป็นซี่ ๆ ด้วยหิน กระจายออกไปจากเพลาศูนย์กลาง คำว่า “หน้าต่างกลม” มักจะใช้เฉพาะหน้าต่างกลมที่เป็นแบบที่ซับซ้อนซึ่งดูคล้ายกลีบกุหลาบหรือกลีบดาวเรืองซ้อน หน้าต่างกลมที่ไม่มีซี่ที่นิยมทำกันในโบสถ์ในประเทศอิตาลีเรียกว่า “หน้าต่างตา” (Ocular window หรือ oculus) “หน้าต่างกลม” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกซึ่งจะเห็นได้จากในมหาวิหารทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส แต่แท้ที่จริงแล้วการสร้างหน้าต่างกลมเริ่มตั้งแต่ยุคกลาง การสร้างหน้าต่างกลมหันกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: แรยอน็องและหน้าต่างกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

อารามรัวโยมง

อารามรัวโยมง (Abbaye de Royaumont, Royaumont Abbey) เป็นแอบบีย์ของคณะซิสเตอร์เชียน ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอาเนียร์ซูว์รวซ (Asnières-sur-Oise) ในจังหวัดวาล-ดวซ แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส ราว 30 กิโลเมตรเหนือกรุงปารีส อารามรัวโยมงสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1228 ถึงปี ค.ศ. 1235 โดยการสนับสนุนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส เป็นที่ฝังพระศพของพระราชวงศ์ฝรั่งเศสหลายพระองค์ เช่น พระราชโอรสธิดาสามพระองค์ และพระราชนัดดาสองพระองค์ของพระเจ้าหลุยส์เอง อารามรัวโยมงถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1791 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส หินจากอารามถูกขนไปใช้สร้างโรงงานแต่ห้องเก็บเครื่องพิธี ระเบียงฉันนบถ และหอฉันไม่ได้รับความเสียหาย เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตระกูล Goüin ทำการซื้อแอบบี และในปี..

ใหม่!!: แรยอน็องและอารามรัวโยมง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารชาทร์

อาสนวิหารชาทร์ (Cathédrale de Chartres) หรือ อาสนวิหารแม่พระแห่งชาทร์ (Cathédrale Notre-Dame de Chartres) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลชาทร์ ตั้งอยู่ที่เมืองชาทร์ในประเทศฝรั่งเศส (ราว 80 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้) ของกรุงปารีส เป็นสิ่งก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสชิ้นที่งามที่สุดชิ้นหนึ่งของฝรั่งเศส เมื่อมองจากนอกเมืองอาสนวิหารเหมือนกับผุดขึ้นมาจากทุ่งข้าวสาลี จนเมื่อเข้าไปใกล้เข้าจึงเห็นว่าตั้งอยู่เหนือกลุ่มบ้านเรือนที่เกาะกันเป็นกระจุกบนเนินรอบ ๆ ด้านหน้าอาสนวิหารเป็นหอสองหอที่มีลักษณะต่างกัน — หอหนึ่งเป็นหอพีระมิดเรียบ ๆ ที่สร้างราวคริสต์ทศวรรษ 1140 ที่สูง 105 เมตร อีกหอหนึ่งสูง 113 เมตร สร้างราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ตกแต่งอย่างวิจิตรกว่าหอแรก ภายนอกอาสนวิหารเป็นค้ำยันแบบปีกที่กางออกไปรอบตัวอาสนวิหาร อาสนวิหารชาทร์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี..

ใหม่!!: แรยอน็องและอาสนวิหารชาทร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารสทราซบูร์

อาสนวิหารสทราซบูร์ (Cathédrale de Strasbourg; Straßburger Münster) หรือ อาสนวิหารแม่พระแห่งสทราซบูร์ (Cathédrale Notre-Dame de Strasbourg; Liebfrauenmünster zu Straßburg) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองสทราซบูร์ แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส อันเป็นที่ตั้งของอัครมุขมณฑลสทราซบูร์ ส่วนหลักของสถาปัตยกรรมเป็นแบบโรมาเนสก์ แต่ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกตอนปลายที่งดงามที่สุดแห่งหนี่ง โดยมีแอร์วีน ฟ็อน ชไตน์บัค สถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นผู้ดูแลการออกแบบและก่อสร้างในช่วงปี..

ใหม่!!: แรยอน็องและอาสนวิหารสทราซบูร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอาเมียง

รูปสลักนักบุญด้านหน้าอาสนวิหาร อาสนวิหารอาเมียง (Cathédrale d'Amiens) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งอาเมียง (Cathédrale Notre-Dame d'Amiens) เป็นอาสนวิหารที่สูงที่สุดในประเทศฝรั่งเศส มีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลอาเมียง มีเนื้อที่ภายในกว้างใหญ่ถึง 200,000 ตารางเมตร หลังคาโค้งกอทิกสูง 42.30 เมตรซึ่งเป็นหลังคาแบบกอทิกที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส ตัวอาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองอาเมียงซึ่งเป็นเมืองสำคัญของแคว้นโอดฟร็องส์ในหุบเขาซอม ห่างจากกรุงปารีสไปทางทิศเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร.

ใหม่!!: แรยอน็องและอาสนวิหารอาเมียง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

"ครีบยันลอย" (flying buttress) ที่ยื่นออกไปรอบบริเวณร้องเพลงด้านหลังโบสถ์ อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส (Cathédrale Notre-Dame de Paris) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า Notre Dame แปลว่า แม่พระ (Our Lady) ซึ่งเป็นคำที่ชาวคาทอลิกใช้เรียกพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารก็ยังใช้เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งคาเทดราของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส อาสนวิหารน็อทร์-ดามถือกันว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอทิกแบบฝรั่งเศส โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส การก่อสร้างเป็นแบบกอทิก นับเป็นอาสนวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างก็ทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอทิก ประติมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ ทำให้แตกต่างจากศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น น็อทร์-ดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบอาสนวิหาร "บริเวณร้องเพลงสวด" หรือ รอบบริเวณกลางโบสถ์ เมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอทิกจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอทิกไปในตัว ในปี ค.ศ. 1793 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส โบสถ์ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก อาสนวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำล.

ใหม่!!: แรยอน็องและอาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแร็งส์

อาสนวิหารแร็งส์ (Cathédrale de Reims) หรือชื่อทางการว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งแร็งส์ (Cathédrale Notre-Dame de Reims) เป็นอาสนวิหารสำคัญของเมืองแร็งส์ จังหวัดมาร์น ประเทศฝรั่งเศส ที่เคยใช้ในพิธีสวมมงกุฎกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างบนฐานของวิหารเดิมที่ถูกเพลิงไหม้ไปเมื่อ..

ใหม่!!: แรยอน็องและอาสนวิหารแร็งส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารโคโลญ

อาสนวิหารโคโลญ (Cologne Cathedral; Kölner Dom) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกระดับอาสนวิหารในเมืองโคโลญ เป็นวิหารประจำมุขนายกแห่งโคโลญ สถานที่นี่มีชื่อเสียงในฐานะเป็นที่ศาสนสถาน นิกายโรมันคาทอลิก สถานที่แห่งสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ประพิธีกรรมของสามมหากษัตริย์แห่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นสถานที่เก็บหีบสามกษัตริย์ไว้ ณ ที่แห่งนี้ด้วย ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองแห่งนี้ มีผู้เยี่ยมชมราวๆ 20,000 คนต่อวัน อาสนวิหารโคโลญได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 1248 แต่มีปัญหาให้ต้องหยุดพักการก่อสร้างไปบ้าง จึงต้องใช้เวลากว่าหกร้อยปีจึงสร้างเสร็จสมบูรณ์ และ สร้างเสร็จในปี 1880 พร้อมกับมีพีธีวางหลักหินบันทึกข้อมูลการก่อสร้าง อาสนวิหารโคโลญเป็นศาสนสถานของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก นับเป็นวิหารที่ใหญ่และเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกในเป็นเวลา 4 ปี (ปี ค.ศ 1880-1884) ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองโคโลญ ถูกทิ้งระเบิดทางอากาศทั้งหมด 14 ลูก แม้วิหารจะได้รับความเสียหายบางส่วน แต่ก็ไม่พังทลายลงมา ซึ่งเชื่อว่าเป็นปาฏิหาริย์ บ้างก็เชื่อว่า เพราะวิหารเป็นจุดสังเกตที่สำคัญของนักบิน จึงไม่ต้องการจะระเบิดทำลายทิ้งไปเสียทีเดียว จากความเสียหายดังกล่าว จึงมีการซ่อมแซมภายในต่อมาตั้งแต่ ปี..1945 - 1948 แต่ถึงอย่างไรก็ดีปัจจุบันก็ยังคงติดอันดับสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกอยู่ด้วย และปัจจุบันก็ได้ถูกจัดอันดับให้อยู่อันดับ 4 วิหารที่สูงที่สุดในโลกลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโกธิก เป็นหอคอยแฝดสูง 157.38 เมตร กว้าง 86 เมตร ยาว 144 เมตร สร้างเพื่ออุทิศให้นักบุญซีโมนเปโตรและพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารโคโลญนับจุดหมายสำคัญของเมืองโคโลญและประเทศเยอรมนี และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกในปี 2536 (จากเหตุผลที่ i, ii, iv) ปัจจุบัน อาสนวิหารเปิดให้เข้าชมภายในได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าชมในส่วนพิพิธภัณฑ์ของมีค่าที่ขุดค้นพบเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกสมัยโรมันในราคา 5 ยูโร และ การเดินจุดชมวิวบนหอคอยสูง ในราคา 3 ยูโร สามารถเดินทางด้วยรถไฟที่สถานีกลาง รหัส HBF (Köln Hauptbahnhof หรือ Cologne Central Station).

ใหม่!!: แรยอน็องและอาสนวิหารโคโลญ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์ผู้ตาย

อนุสรณ์ผู้ตาย หรือ รูปสัญลักษณ์ผู้ตาย หรือ หุ่นพยนต์ (EffigyMerriam-Webster, Definition of Effigy) คือรูปสัญลักษณ์ที่ใช้แทนผู้ตายซึ่งมักจะเป็นรูปปั้นหรือรูปสลักจากหินหรือไม้ รูปสัญลักษณ์มักจะเป็นรูปเต็มตัวของผู้ตายที่มักจะตั้งอยู่ภายในวัดคริสต์ศาสนา อนุสรณ์ผู้ตายแตกต่างจาก “อนุสรณ์ที่เก็บศพ” ตรงที่อนุสรณ์ผู้ตายจะเป็นเพียงสิ่งที่สร้างแทนผู้ตายโดยไม่มี่ร่างของผู้ตายฝังอยู่ด้วยเช่นอนุสรณ์ที่เก็บศพ โดยทั่วไปรูปสัญลักษณ์ที่ทำจะเป็นร่างนอนหงายพนมมือ หรือบางครั้งอาจจะคุกเข่าหรือยืนสวดมนต์ ในบางครั้งอนุสรณ์ผู้ตายจะเป็นเพียงครึ่งตัว เช่นเหรียญที่มีภาพอับราฮัม ลิงคอล์นครึ่งตัว รูปสัญลักษณ์ผู้ตายอาจจะใช้ในพิธีทางศาสนาเพื่อแทนผู้ที่ไม่เป็นที่นิยม เช่นการเผารูปเพื่อแสดงถึงการกำจัดผู้ตาย เช่นในอังกฤษจะมีการเผารูปสัญลักษณ์ที่ทำจากฟางหรือเศษวัสดุเป็นรูปกาย ฟอคส์ (Guy Fawkes) ทุกวันที่ 5 พฤศจิกายนของทุกปี เพี่อเป็นการระลึกถึงกาย ฟอคส์ผู้มีส่วนในการวางการคบคิดระเบิดรัฐสภาอังกฤษ (Gunpowder Plot) โดยผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเพื่อจะพยายามกำจัดพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1605 แต่ไม่สำเร็.

ใหม่!!: แรยอน็องและอนุสรณ์ผู้ตาย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: แรยอน็องและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรัว

ทรัว (Troyes) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโอบในแคว้นช็องปาญาร์แดนในประเทศฝรั่งเศส เมืองทรัวตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแซน ราว 150 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้ของปารีส ผู้อาศัยอยู่ในเมืองทรัวเรียกว่า "Troyens" หรือ "Troyennes".

ใหม่!!: แรยอน็องและทรัว · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: แรยอน็องและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

งุ้มใบไม้

“งุ้มใบไม้” ที่ใช้ตกแต่งบนยอดแหลมที่วัดเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลที่ออสเทนด์ในเบลเยียม ภาพวาด“หัวเสางุ้มใบไม้” งุ้มใบไม้ (Crocket) คือสิ่งตกแต่งของสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถานที่เป็นมีลักษณะงอหรือเป็นทรงตะขอที่นิยมกันในสถาปัตยกรรมกอธิค ที่ใช้ในการแกะสลักใบไม้ หรือ ดอกไม้ตูมหรือบาน ที่นำมาประดับเป็นช่วงๆ บนแนวลาดของยอดแหลม, เครื่องยอด, จุลหอ และ Wimperg เมื่อใช้ในการตกแต่งหัวเสาก็จะเรียกว่า “หัวเสางุ้มใบไม้” (Crocket capital) นอกจากนั้นองค์ประกอบนี้ก็ยังใช้ในการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ และ งานโลหะของศิลปะกอธิคด้วย คำว่า “Crocket” แผลงมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “Croc” ที่แปลว่า “ขอ” เพราะเป็นลวดลายตกแต่งที่มีลักษณะคล้ายส่วนหัวของคทานักบวช (Crosier).

ใหม่!!: แรยอน็องและงุ้มใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากกางเขน

กางเขนบนฉากกางเขนจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่วัดซังเอเทืยงดูมองท์ ที่ปารีส ฉากกางเขน (Rood screen หรือ Choir screen หรือ Chancel screen) คือฉากที่แยกระหว่างบริเวณสำหรับผู้เข้าร่วมในคริสต์ศาสนพิธีหรือทางเดินกลางและบริเวณสำหรับสงฆ์หรือบริเวณที่พระใช้ทำพิธีที่แกะตกแต่งอย่างสวยงามที่นิยมสร้างกันในสมัยกลาง วัสดุที่สร้างอาจจะเป็นไม้หรือหินแกะสลักหรือฉลุทาสีหรือเหล็กดัด ฉากกางเขน ปรากฏทั่วไปในโบสถ์คริสต์ในยุโรป ภาษาเยอรมันใช้คำว่า “Lettner”, ภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า “jubé”, ภาษาดัทช์ใช้คำว่า “doksaal” ฉากกางเขนทางตะวันออกจะตกแต่งหรูหรากว่าทางตะวันตก.

ใหม่!!: แรยอน็องและฉากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: แรยอน็องและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

แร็งส์

แร็งส์ (Reims) เป็นเมืองในจังหวัดมาร์นในแคว้นช็องปาญาร์แดนในประเทศฝรั่งเศส เมืองแร็งส์ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ราว 129 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของปารีส แร็งส์ก่อตั้งขึ้นโดยกอลและกลายมาเป็นเมืองสำคัญระหว่างสมัยจักรวรรดิโรมัน ต่อมาแร็งส์ก็มามีบทบาทสำคัญต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในการเป็นสถานที่สำหรับการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแร็ง.

ใหม่!!: แรยอน็องและแร็งส์ · ดูเพิ่มเติม »

แท่นเทศน์

แท่นเทศน์มานูเอลินที่คอนเวนโตเดกริสโต (Convento de Cristo) โทมาร์ ประเทศโปรตุเกส แท่นเทศน์ (pulpit) มาจากภาษาละติน “Pulpitum” ที่แปลว่า “รั่งร้าน” หรือ “แท่น” หรือ “เวที” เป็นแท่นที่ยกสูงจากพื้นที่บาทหลวงหรือศาสนาจารย์ใช้ทั้งภายในหรือภายนอกโบสถ์คริสต์ ในบางโบสถ์จะมีที่ตั้งสำหรับปาฐกสองที่ ตามปกติแล้วผู้อยู่ทางซ้ายของผู้เข้าร่วมพิธีจะเป็น “แท่นเทศน์” เพราะการที่แท่นเทศน์มักใช้ในการอ่านจากพระวรสาร ด้านนี้ของโบสถ์จึงเรียกว่าด้านพระวรสาร (gospel side) ทางด้านขวาจะมี “แท่นอ่าน” (lectern) ที่มาจากภาษาละติน “lectus” ที่แปลว่า “อ่าน” เพราะเป็นที่สำหรับการอ่านเป็นส่วนใหญ่ที่มักจะใช้โดยฆราวาสในการอ่านบทสอนจากคัมภีร์ (ยกเว้นบทสอนจากพระวรสาร) เป็นที่นำผู้เข้าร่วมพิธีในการสวดมนต์ หรือเป็นที่ใช้ประกาศ เพราะด้านนี้ของคริสต์ศาสนสถานเป็นด้านที่ใช้อ่านบทจดหมาย (epistle lesson) ด้านนี้บางครั้งจึงเรียกว่าด้าน “บทจดหมาย” ในบางโบสถ์แท่นอ่านซึ่งเป็นที่อ่านบทจดหมาย (Epistle) ก็อยู่ทางขวาและแท่นเทศน์อยู่ทางซ้.

ใหม่!!: แรยอน็องและแท่นเทศน์ · ดูเพิ่มเติม »

แซ็งต์-ชาแปล

แซ็งต์-ชาแปล (La Sainte-Chapelle, The Holy Chapel) เป็นโบสถ์น้อยของนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่กรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส เป็นสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมกอทิก แซ็งต์-ชาแปลอาจจะถือกันว่าเป็นงานชิ้นที่งดงามที่สุดของสถาปัตยกรรมแรยอน็องซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก.

ใหม่!!: แรยอน็องและแซ็งต์-ชาแปล · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อย

น้อยในประเทศเบลเยียม โบสถ์น้อย หรือ วัดน้อย (chapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาท, วัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น.

ใหม่!!: แรยอน็องและโบสถ์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: แรยอน็องและเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกรงค์เทา

“Battesimo Della Gente” หนึ่งในศิลปะเอกรงค์โดยอันเดรอา เดล ซาร์โตที่ใช้สีเทาและสีน้ำตาล (จิตรกรรมฝาผนังที่ฟลอเรนซ์ (ค.ศ. 1511-ค.ศ. 1526) ศิลปะเอกรงค์ หรือ เอกรงค์เทา (Grisaille) มาจากภาษาฝรั่งเศส “gris” ที่แปลว่าสีเทาเป็นคำที่ใช้สำหรับจิตรกรรมหรือศิลปกรรมที่เป็นเอกรงค์ (monochrome) หรือสีเดียวทั้งภาพที่มักจะเป็นระดับสีในกลุ่มสีเทาหรือสีน้ำตาลโดยเฉพาะที่ใช้ในการตกแต่ง หรือ เพื่อแสดงให้เห็นเหมือนเป็นภาพนูนหรือประติมากรรมนูน ศิลปะเอกรงค์บางชิ้นก็จะใช้ระดับเหลือบของสีที่กว้างกว่าที่กำหนดไว้เช่นในงานเขียนของอันเดรอา เดล ซาร์โตที่เห็นในภาพ หรืออาจจะเป็นงานสองสีเช่นหน้าต่างประดับกระจกสีที่เล่นสีเหลืองน้ำตาลเป็นต้น ศิลปะเอกรงค์อาจจะเขียนโดยในการตกแต่งโดยตั้งใจเช่นการเขียนสีรองพื้นสำหรับการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน หรือในการใช้เป็นหุ่นจำลองสำหรับให้ช่างแกะพิมพ์ บางครั้งรูเบนส์ก็จะให้ช่างเขียนร่างภาพเป็นเอกรงค์สำหรับให้ช่างแกะพิมพ์ การใช้เอกรงค์ไม่จำกัดอยู่แต่งเพียงในงานจิตรกรรมแต่อาจจะเป็นศิลปะในรูปแบอื่นๆ เช่นหน้าต่างประดับกระจกสี.

ใหม่!!: แรยอน็องและเอกรงค์เทา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rayonnantสถาปัตยกรรมกอธิคเรยงนองต์สถาปัตยกรรมแรยอน็องสถาปัตยกรรมเรยงนองต์เรยงนองต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »