โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บริเวณกลางโบสถ์และแรยอน็อง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง บริเวณกลางโบสถ์และแรยอน็อง

บริเวณกลางโบสถ์ vs. แรยอน็อง

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง. มหาวิหารโคโลญ (ค.ศ. 1248-ค.ศ. 1322) ที่ถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแรยอน็องที่งดงามที่สุดของยุคกลางหน้าต่างกุหลาบแบบแรยอน็องของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แรยอน็อง (Rayonnant) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1240 จนถึง ค.ศ. 1350 แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่วิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่หันความสนใจจากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และความกว้างใหญ่ของสิ่งก่อสร้างเช่นมหาวิหารชาทร์ หรือทางเดินกลางของมหาวิหารนอเทรอดามแห่งอาเมียงมาเป็นการคำนึงถึงผิวสองมิติของสิ่งก่อสร้าง และการตกแต่งด้วยลวดลายที่ซ้ำซ้อนที่มีขนาดต่าง ๆ กัน หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 แรยอน็องก็ค่อยวิวัฒนาการไปเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลายและสถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตร และดังกล่าวแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดแจ้ง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง บริเวณกลางโบสถ์และแรยอน็อง

บริเวณกลางโบสถ์และแรยอน็อง มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ช่องรับแสงช่องทางเดินมุขข้างโบสถ์มุขโค้งด้านสกัดระเบียงเหนือทางเดินข้างสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์อาสนวิหารโคโลญงานกระจกสีฉากกางเขนประเทศฝรั่งเศส

ช่องรับแสง

ั้นระหว่างหลังคาบนและหลังคาล่างคือ “ช่องรับแสง” ที่วัดเซนต์นิโคไลที่สตราลซุนด์ (Stralsund) ช่องรับแสง (ˈklɪə(r)stɔəri; Overstorey) หรือที่แปลตรงตัวว่า “ชั้นที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง” (clear storey) เป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างที่หมายถึงชั้นบนของบาซิลิกาโรมัน หรือเหนือทางเดินกลางหรือบริเวณพิธีของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ หรือ สถาปัตยกรรมกอธิคของคริสต์ศาสนสถาน ผนังซึ่งสูงขึ้นไปจากทางเดินข้างและปรุด้วยหน้าต่าง จุดประสงค์ของการมี “ช่องรับแสง” ก็เพื่อให้แสงสว่างสามารถส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างได้.

ช่องรับแสงและบริเวณกลางโบสถ์ · ช่องรับแสงและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

ช่องทางเดิน

“ช่องทางเดิน” ของกุดังเก็บสินค้าคอสท์โคที่ซานฟรานซิสโก ช่องทางเดิน (aisle) โดยทั่วไปหมายถึงช่องว่างที่ใช้เป็นทางเดินระหว่างแนวที่นั่ง, ผนัง, แนวแสดงหรือเก็บสินค้า หรืออื่นๆ ช่องทางเดินอาจจะปรากฏในสถาปัตยกรรมเช่นคริสต์ศาสนสถาน (เช่นในมหาวิหาร), โรงละคร, ห้องประชุม, ห้องเรียน, ศาล, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด, โรงงาน, รถประจำทาง และอื่นๆ ในกุดังเก็บสินค้าหรือโรงงานสองข้างของช่องทางเดินอาจจะเป็นชั้นที่ต่อขึ้นสูงสองข้างสำหรับเก็บสินค้า การจัดวางองค์ประกอบภายในอาคารที่วางสิ่งของหรือเครื่องมือเป็นแนวโดยมีช่องว่างระหว่างแนวที่ใช้เป็นทางเดิน ช่องนี้จะเรียกว่า “ช่องทางเดิน” เช่นในสถานที่สำหรับออกกำลังกายที่จัดเครื่องออกกำลังเป็นแนวแยกกันโดย ช่องทางเดิน “ช่องทางเดิน” ต่างจาก “ระเบียงทางเดิน” (corridor) หรือโถงทางเดิน (hallway), “ทางเท้า” (footpath/pavement/sidewalk), “ทางเดินนอกสถานที่” (trail) และ “ทาง” (path) หรือ โถงภายในอาคาร (enclosed หรือ open area).

ช่องทางเดินและบริเวณกลางโบสถ์ · ช่องทางเดินและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

มุขข้างโบสถ์

มุขข้างโบสถ์ หรือ แขนกางเขน (transept) คือเป็นบริเวณทางขวางที่ตัดกับทางเดินกลางของสิ่งก่อสร้างที่มีผังทรงกางเขนในคริสต์ศาสนสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอธิค มุขข้างโบสถ์แยกทางเดินกลางจากบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่รวมทั้งมุขตะวันออก บริเวณร้องเพลงสวด ชาเปลดาวกระจาย และบริเวณสงฆ์ มุขข้างโบสถ์ตัดกับทางเดินกลางตรงจุดตัด ที่อาจจะเป็นที่ตั้งของหอสูงเช่นที่มหาวิหารซอลส์บรีหรือโดม.

บริเวณกลางโบสถ์และมุขข้างโบสถ์ · มุขข้างโบสถ์และแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

บริเวณกลางโบสถ์และมุขโค้งด้านสกัด · มุขโค้งด้านสกัดและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียงเหนือทางเดินข้าง

ระเบียงเหนือทางเดินข้างเหนือซุ้มโค้งชั้นล่างและภายใต้ช่องรับแสงที่แอบบีมาล์มสบรีในวิลท์เชอร์ในอังกฤษ เป็นระเบียงที่มีซุ้มโค้งแต่งด้วยโค้งหยักแบบนอร์มัน ภายในโค้งใหญ่ก็มีซุ้มโค้งเล็กรับอีกสี่ซุ้ม แอบบีมาล์มสบรีมองจากด้านนอกแสดงตำแหน่งของระเบียงแคบระหว่างลูกศรที่อยู่เหนือช่องทางเดินข้างและช่องรับแสง ระเบียงเหนือทางเดินข้างผนังเป็นกระจกที่มหาวิหารโคโลญสองข้างช่องตกแต่งเป็นภาพวาดเทวดา ระเบียงเหนือทางเดินข้าง หรือ ระเบียงแนบ (triforiumBritannia.com: triforium) คือระเบียงแคบที่สร้างภายในความหนาของผนังด้านในที่ตั้งอยู่ทางผนังด้านข้างเหนือบริเวณกลางโบสถ์หรือมุขข้างโบสถ์ของคริสต์ศาสนสถาน ตำแหน่งอาจจะเป็นระดับเดียวกับช่องรับแสงหรือเป็นชั้นที่แยกออกมาเป็นชั้นต่างหากอยู่ใต้ช่องรับแสง ระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะมีผนังเป็นแก้วแทนที่จะเป็นหิน ที่มาของคำว่า “ระเบียงเหนือทางเดินข้าง” ที่มาจากภาษาอังกฤษ “Triforium” ไม่เป็นที่ทราบแต่สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากคำว่า “thoroughfarum” เพราะเป็นทางเดินจากหัวตึกไปถึงท้ายตึก อาจจะเป็นคำที่แผลงมาจากภาษาละตินว่า “tres” ที่แปลว่า “สาม” และ “foris” ที่แปลว่า “ประตู” หรือ “ทางเข้า” อาจจะเป็นได้ว่าทางผ่านอาจจะเคยเป็นลักษณะสามเหลี่ยมตามรูปทรงของหลังคาที่ลาดลงมาด้านหนึ่ง (ดูรูประหว่างลูกศร) ตัวอย่างแรกของระเบียงเหนือทางเดินข้างพบในบาซิลิกาของผู้นอกศาสนาที่เป็นระเบียงชั้นบนสำหรับการสนทนาหรือการดำเนินธุรกิจ ในสมัยคริสเตียนยุคแรกและในคริสต์ศาสนสถานของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ระเบียงเหนือทางเดินข้างมักจะใช้สำหรับสตรี ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมกอธิคระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะเป็นระเบียงกว้างบนผนังด้านข้างของช่องทางเดินข้างหรืออาจจะเป็นเพียงกว้างเกือบเท่ากับความหนาของผนัง ระเบียงเหนือทางเดินข้างเป็นองค์ประกอบสำคัญของบริเวณกลางโบสถ์ของมหาวิหารหรือคริสต์ศาสนสถานที่เพิ่มความสำคัญให้แก่ซุ้มบริเวณกลางโบสถ์ชั้นล่าง ในด้านการตกแต่งก็อาจจะมีการใช้บัวตกแต่งรอบโค้งหรือรูปแกะสลัก โดยเฉพาะการตกแต่งช่องตกแต่ง (Spandrel) ของส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมสองข้างโค้ง เช่นในการตกแต่งระเบียงเหนือทางเดินข้างของมหาวิหารลิงคอล์น ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รูปทรงของหลังคาเหนือช่องทางเดินข้างแบนราบขึ้นที่ทำให้การสร้างระเบียงเหนือทางเดินข้างที่ต้องใช้ความสูงหายไป ระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะใช้เป็นทางเดินหรือสำหรับผู้สังเกตการณ์ในพิธีที่เกิดขึ้นในมหาวิหาร หรืออาจจะใช้โดยนักบวชในการทำงานที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง บางครั้งระเบียงแคบก็มีประโยชน์ในทางโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเมื่อมีการใช้ค้ำยันแบบปีกที่ช่วยดึงหรือแบ่งเบาน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างจากผนังที่สร้างผ่านระเบียงแคบและกางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง.

บริเวณกลางโบสถ์และระเบียงเหนือทางเดินข้าง · ระเบียงเหนือทางเดินข้างและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

บริเวณกลางโบสถ์และสถาปัตยกรรมกอทิก · สถาปัตยกรรมกอทิกและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

บริเวณกลางโบสถ์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารโคโลญ

อาสนวิหารโคโลญ (Cologne Cathedral; Kölner Dom) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกระดับอาสนวิหารในเมืองโคโลญ เป็นวิหารประจำมุขนายกแห่งโคโลญ สถานที่นี่มีชื่อเสียงในฐานะเป็นที่ศาสนสถาน นิกายโรมันคาทอลิก สถานที่แห่งสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ประพิธีกรรมของสามมหากษัตริย์แห่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นสถานที่เก็บหีบสามกษัตริย์ไว้ ณ ที่แห่งนี้ด้วย ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองแห่งนี้ มีผู้เยี่ยมชมราวๆ 20,000 คนต่อวัน อาสนวิหารโคโลญได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 1248 แต่มีปัญหาให้ต้องหยุดพักการก่อสร้างไปบ้าง จึงต้องใช้เวลากว่าหกร้อยปีจึงสร้างเสร็จสมบูรณ์ และ สร้างเสร็จในปี 1880 พร้อมกับมีพีธีวางหลักหินบันทึกข้อมูลการก่อสร้าง อาสนวิหารโคโลญเป็นศาสนสถานของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก นับเป็นวิหารที่ใหญ่และเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกในเป็นเวลา 4 ปี (ปี ค.ศ 1880-1884) ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองโคโลญ ถูกทิ้งระเบิดทางอากาศทั้งหมด 14 ลูก แม้วิหารจะได้รับความเสียหายบางส่วน แต่ก็ไม่พังทลายลงมา ซึ่งเชื่อว่าเป็นปาฏิหาริย์ บ้างก็เชื่อว่า เพราะวิหารเป็นจุดสังเกตที่สำคัญของนักบิน จึงไม่ต้องการจะระเบิดทำลายทิ้งไปเสียทีเดียว จากความเสียหายดังกล่าว จึงมีการซ่อมแซมภายในต่อมาตั้งแต่ ปี..1945 - 1948 แต่ถึงอย่างไรก็ดีปัจจุบันก็ยังคงติดอันดับสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกอยู่ด้วย และปัจจุบันก็ได้ถูกจัดอันดับให้อยู่อันดับ 4 วิหารที่สูงที่สุดในโลกลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโกธิก เป็นหอคอยแฝดสูง 157.38 เมตร กว้าง 86 เมตร ยาว 144 เมตร สร้างเพื่ออุทิศให้นักบุญซีโมนเปโตรและพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารโคโลญนับจุดหมายสำคัญของเมืองโคโลญและประเทศเยอรมนี และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกในปี 2536 (จากเหตุผลที่ i, ii, iv) ปัจจุบัน อาสนวิหารเปิดให้เข้าชมภายในได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าชมในส่วนพิพิธภัณฑ์ของมีค่าที่ขุดค้นพบเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกสมัยโรมันในราคา 5 ยูโร และ การเดินจุดชมวิวบนหอคอยสูง ในราคา 3 ยูโร สามารถเดินทางด้วยรถไฟที่สถานีกลาง รหัส HBF (Köln Hauptbahnhof หรือ Cologne Central Station).

บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารโคโลญ · อาสนวิหารโคโลญและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

งานกระจกสีและบริเวณกลางโบสถ์ · งานกระจกสีและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

ฉากกางเขน

กางเขนบนฉากกางเขนจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่วัดซังเอเทืยงดูมองท์ ที่ปารีส ฉากกางเขน (Rood screen หรือ Choir screen หรือ Chancel screen) คือฉากที่แยกระหว่างบริเวณสำหรับผู้เข้าร่วมในคริสต์ศาสนพิธีหรือทางเดินกลางและบริเวณสำหรับสงฆ์หรือบริเวณที่พระใช้ทำพิธีที่แกะตกแต่งอย่างสวยงามที่นิยมสร้างกันในสมัยกลาง วัสดุที่สร้างอาจจะเป็นไม้หรือหินแกะสลักหรือฉลุทาสีหรือเหล็กดัด ฉากกางเขน ปรากฏทั่วไปในโบสถ์คริสต์ในยุโรป ภาษาเยอรมันใช้คำว่า “Lettner”, ภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า “jubé”, ภาษาดัทช์ใช้คำว่า “doksaal” ฉากกางเขนทางตะวันออกจะตกแต่งหรูหรากว่าทางตะวันตก.

ฉากกางเขนและบริเวณกลางโบสถ์ · ฉากกางเขนและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

บริเวณกลางโบสถ์และประเทศฝรั่งเศส · ประเทศฝรั่งเศสและแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง บริเวณกลางโบสถ์และแรยอน็อง

บริเวณกลางโบสถ์ มี 45 ความสัมพันธ์ขณะที่ แรยอน็อง มี 41 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 12.79% = 11 / (45 + 41)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บริเวณกลางโบสถ์และแรยอน็อง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »