โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)

ดัชนี ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)

รียงลำดับเหตุการณ์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม 1941 แผนที่ของเขตปฏิบัติการปฏิบัติการเข็มทิศ - ธันวาคม 1940 - กุมภาพันธ์ 1941 นายพลรอมเมลในแอฟรีกาเหนือ ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ลงนามในกฤษฎีกาให้เช่า-ยืม ภายหลังจากได้รับการลงคะแนนเสียงจากรัฐสภาแล้ว ทหารเยอรมันขณะทำการรบในกรีซ - เมษายน 1941 พลร่มเยอรมันถูกส่งไปยังเกาะครีต - พฤษภาคม 1941 รถถังแพนเซอร์ของเยอรมนีรุดหน้าผ่านทะเลทรายเปิด เส้นทางการรุกรานของกองทัพฝ่ายอักษะในปฏิบัติการบาร์บารอสซา - มิถุนายน 1941 เชลยศึกทหารโซเวียตถูกจับกุมหลังจากยุทธการแห่งมินสก์ ทหารเกณฑ์โซเวียตในมณฑลทหารบกเลนินกราด ประธานาธิบดีโรสเวลต์และนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลล์พบกันบนดาดฟ้าของเรือรบหลวง ''พรินซ์ออฟเวลส์'' ระหว่างการประชุมเพื่อลงนามกฎบัตรแอตแลนติก - 10-12 สิงหาคม 1941 สตรีชาวโซเวียตขุดสนามเพลาะรอบกรุงมอสโกเพื่อเตรียมรับการโจมตีของกองทัพเยอรมนี กองทัพเยอรมันรุกไปตามท้องถนนของเมืองคาร์คอฟ - ตุลาคม 1941 การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์: เรือประจัญบาน ''แอริโซนา'' ถูกเพลิงไหม้หลังจากถูกโจมตีโดยเครื่องบินรบญี่ปุ่น - 7 ธันวาคม 1941.

60 ความสัมพันธ์: พระราชวังบักกิงแฮมกฎบัตรแอตแลนติกกรีนแลนด์กรณีพิพาทอินโดจีนกวมกองทัพแดงการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่นฝรั่งเศสเสรีฝรั่งเศสเขตวีชีมหาตมา คานธีมาลายายุทธการที่มอสโกยุทธการเกาะครีตยุทธนาวีแหลมมะตะปันยุทธนาวีเกาะช้างรัฐสภาสหรัฐรัฐฮาวายรีกาสงครามต่อเนื่องอีนิกมาอดอล์ฟ ฮิตเลอร์องศาเซลเซียสฮิเดะกิ โทโจฮ่องกงจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีครีตตริโปลีปฏิบัติการบาร์บารอสซาปฏิบัติการเข็มทิศประเทศฟิลิปปินส์ประเทศมอนเตเนโกรประเทศลัตเวียประเทศลิเบียประเทศสิงคโปร์ประเทศสโลวาเกียประเทศอิรักประเทศอิหร่านประเทศซูดานประเทศซีเรียประเทศแอลเบเนียประเทศไอซ์แลนด์ประเทศไทยประเทศเลบานอนประเทศเอริเทรียประเทศเอธิโอเปียประเทศเคนยาแอร์วิน รอมเมิลโมกาดิชูโฮจิมินห์...โตเกียวเบลเกรดเกออร์กี จูคอฟเกาะบอร์เนียวเกาะสุมาตราเกาะเวกเวียดมินห์เอเธนส์เฮลซิงกิเซี่ยงไฮ้ ขยายดัชนี (10 มากกว่า) »

พระราชวังบักกิงแฮม

ระราชวังบักกิงแฮม (Buckingham Palace) เดิมชื่อ คฤหาสน์บักกิงแฮม เป็นพระราชวังที่เป็นที่ประทับเป็นทางการของราชวงศ์อังกฤษตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักรเป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับการเลี้ยงรับรองของรัฐและยังเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวสำคัญที่หนึ่งของกรุงลอนดอน และยังเป็นที่รวมพลังใจทั้งในการฉลองและในยามคับขันของชาวอังกฤษ พระราชวังบักกิงแฮมแต่เดิมชื่อ “คฤหาสน์บักกิงแฮม” (Buckingham House) สิ่งก่อสร้างเดิมเป็นคฤหาสน์ที่สร้างสำหรับจอห์น เชฟฟิลด์ ดยุคแห่งบักกิงแฮมในปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และพระราชวังบักกิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

กฎบัตรแอตแลนติก

อร์ชิลล์พบกับรูสเวลต์บนเรือยูเอสเอส ออกัสตาในการประชุมลับนอกฝั่งนิวฟันด์แลนด์ เชอร์ชิลล์พบกับรูสเวลต์บนเรือราชนาวีพรินซ์ออฟเวลส์ ร่างกฎบัตรแก้ไขลายมือเชอร์ชิลล์ กฎบัตรแอตแลนติก (Atlantic Charter) คำประกาศหลักการแห่งนโยบายแห่งชาติโดยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์แห่งสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์แห่งอังกฤษ หลังการประชุมลับบนเรือรบยูเอสเอส ออกัสตานอกชายฝั่งนิวฟันด์แลนด์ เพื่อเป็นการสะท้อนประเด็น 14 ข้อของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันและคำประกาศ "สี่เสรีภาพ" ของประธานาธิบดีรูสเวลท์ในวันสาบานตัวเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมกราคม..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และกฎบัตรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

กรีนแลนด์

กรีนแลนด์ (Kalaallit Nunaat; Grønland เกฺรินลันฺด) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และกรีนแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กรณีพิพาทอินโดจีน

กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน ในต่างประเทศเรียกว่า สงครามฝรั่งเศส-ไทย เป็นการสู้รบระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสเขตวีชีเหนือดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศส จอมพล ป. พิบูลสงคราม กล่าวปราศรัยแก่นิสิตนักศึกษาและประชาชนที่มาชุมนุมเรียกร้องเอาดินแดนอินโดจีน คืนจากฝรั่งเศส ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่หน้ากระทรวงกลาโหม หลวงวิจิตรวาทการประกาศสงครามผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และกรณีพิพาทอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

กวม

กวม (Guam; ชามอร์โร: Guåhån) หรือชื่อทางการว่า ดินแดนกวมของสหรัฐอเมริกา (U.S. Territory of Guam) เป็นเกาะหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นดินแดนที่ยังไม่ได้ปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกา ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวชามอร์โรซึ่งอพยพมาอยู่ที่เกาะเป็นครั้งแรกเมื่อ 3,500 ปีมาแล้ว กวมเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ทางใต้สุดของหมู่เกาะมาเรียนา มีเมืองหลวงคือ ฮากัตญา (Hagåtña) เดิมเรียกว่า "อากาญา" (Agana) รายได้หลักของเกาะมาจากการท่องเที่ยว (โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น) และจากการเป็นฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา สหประชาชาติจัดให้กวมอยู่ในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองและมีประชากรทั้งเกาะประมาณ 173,000คน.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และกวม · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และกองทัพแดง · ดูเพิ่มเติม »

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

การโจมตีท่าเพิร์ลเป็นการโจมตีทางทหารอย่างจู่โจมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเพิร์ล ดินแดนฮาวาย ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น นายมัสซูโอกะ กำลังลงนามในกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่น กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่น (Soviet–Japanese Neutrality Pact) คือสนธิสัญญาระหว่าง สหภาพโซเวียตและจักรวรรดิญี่ปุ่น ลงนามกันเมื่อปี ค.ศ. 1941 สองปีหลังจากสงครามชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ฝรั่งเศสเสรี

ฝรั่งเศสเสรี (ฝรั่งเศส: France Libre และ Forces françaises libres) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นภายใต้การนำของนายพลชาร์ล เดอ โกล ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และมี กองทัพฝรั่งเศสเสรี เพื่อต่อสู้กับกองทัพ ฝ่ายอักษะ ร่วมกับ ฝ่ายสัมพันธมิตร หลัง ยุทธการที่ฝรั่ง.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และฝรั่งเศสเสรี · ดูเพิ่มเติม »

ฝรั่งเศสเขตวีชี

ฝรั่งเศสเขตวีชี (La France de Vichy; Vichy France) คือรัฐเฉพาะกาลที่ปกครองประชาชนชาวฝรั่งเศส โดยเป็นรัฐที่สนับสนุนนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 - เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 และเป็นรัฐบาลที่สืบทอดต่อมาจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐฝรั่งเศส (L'État Français; French State).

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และฝรั่งเศสเขตวีชี · ดูเพิ่มเติม »

มหาตมา คานธี

มหาตมา คานธี ใน ค.ศ. 1876 มหาตมา คานธี ใน ค.ศ. 1900 มหาตมา คานธี ใน ค.ศ. 1915 มหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กะรัมจันท คานธี (મોહનદાસ કરમચંદ ગાંધી; Mohandas Karamchand Gandhi) เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และมหาตมา คานธี · ดูเพิ่มเติม »

มาลายา

มาลายา หรือบางครั้งสะกดว่า มลายา (Malaya) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และมาลายา · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่มอสโก

ทธการมอสโก เป็นชื่อที่นักประวัติศาสตร์โซเวียตตั้งโดยหมายถึงการสู้รบที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สองช่วงบนพื้นที่ 600 กิโลเมตรบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และยุทธการที่มอสโก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการเกาะครีต

ทธการเกาะครีต (Luftlandeschlacht um Kreta; Μάχη της Κρήτης) เป็นชื่อของการรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งดำเนินไปบนเกาะครีต ประเทศกรีซ โดยเริ่มต้นในเช้าวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เมื่อกองทัพนาซีเยอรมนีส่งกองกำลังพลร่ม (Fallschirmjäger, parachute rangers) เข้ารุกรานเกาะครีตภายใต้ชื่อรหัส "ปฏิบัติการเมอร์คิวรี" (Unternehmen Merkur, Operation Mercury) ฝ่ายตั้งรับที่อยู่บนเกาะครีตประกอบด้วยกองทัพกรีซ กองกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร และพลเรือนชาวเกาะครีต หลังการสู้รบดำเนินไปได้หนึ่งวัน ฝ่ายเยอรมนีต้องพบกับความสูญเสียอย่างหนักและยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ใดๆ ในการรบครั้งนี้ ในวันถัดมา ด้วยปัญหาการสูญเสียการติดต่อและความล้มเหลวในการควบคุมสถานการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตร สนามบินในเมืองมาเล็ม (Maleme) จึงเสียให้แก่ฝ่ายเยอรมนี ทำให้เยอรมนีได้รับกำลังเสริมและครองความเหนือกว่าฝ่ายที่ตั้งรับได้ การสู้รบได้ดำเนินต่อไปอีกเกือบ 10 วันจึงยุติลง ยุทธการเกาะครีตได้สร้างประวัติการณ์ขึ้นใหม่ 3 ประการ คือ เป็นการรบครั้งแรกที่ใช้พลร่มเป็นกำลังรบหลัก เป็นการปฏิบัติการครั้งสำคัญครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในการใช้สายลับถอดรหัสลับเครื่องอีนิกมาของนาซีเยอรมนี และเป็นครั้งแรกที่การรุกของฝ่ายเยอรมนีที่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างหนักจากประชาชนพลเรือน ด้วยความเสียหายอย่างหนักที่กองกำลังพลร่มได้รับ ทำให้ฮิตเลอร์ได้สั่งยุติการปฏิบัติการขนาดใหญ่สำหรับกองกำลังพลร่ม อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรรู้สึกประทับใจในศักยภาพของกองกำลังพลร่ม จึงได้ริเริ่มการจัดตั้งกองพลพลร่มของตัวเองขึ้นเช่นกัน.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และยุทธการเกาะครีต · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีแหลมมะตะปัน

ยุทธนาวีแหลมมะตะปัน (Battle of Cape Matapan) เป็นยุทธนาวีในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างวันที่ 27 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1941 ที่บริเวณแหลมมะตะปัน ซึ่งตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเพโลพอนนีส ประเทศกรีซ กองเรือรบกองทัพเรืออังกฤษพร้อมด้วยเรือรบจากกองทัพเรือออสเตรเลียหลายลำ ภายใต้บังคับบัญชาของพลเรือเอกอังกฤษ แอนดรู คันนิงแฮม ได้เข้าขัดขวาง จม และสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อเรือของกองทัพเรืออิตาลีภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกอันเจโล ยากีโน หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และยุทธนาวีแหลมมะตะปัน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีเกาะช้าง

การรบที่เกาะช้าง หรือที่รู้จักกันในนาม ยุทธนาวีเกาะช้าง เป็นเหตุการณ์รบทางเรือที่เกิดขึ้นในกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ไทยเรียกร้องให้ปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดน ไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส เสียใหม่ โดยใช้แนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักความยุติธรรม และให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ให้ไทย ยุทธภูมิในการรบครั้งนี้เกิดขึ้นที่บริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 และถือเป็นการรบทางทะเลครั้งเดียวในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทย และรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อีกด้ว.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และยุทธนาวีเกาะช้าง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสหรัฐ

รัฐสภาสหรัฐ (United States Congress) เป็นสภานิติบัญญัติสูงสุดในระบบการปกครองสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ ที่ประกอบด้วย วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) สมาชิกของทั้งสองสภาได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว ปัจจุบันเป็นสมัยประชุมที่ 115 เริ่มเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และรัฐสภาสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฮาวาย

รัฐฮาวาย (Hawaii,, ภาษาฮาวาย: Hawaii) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในหมู่เกาะฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก ฮาวายได้รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับสุดท้ายคือลำดับที่ 50 ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยฮาวายตั้งห่างจากชายฝั่งสหรัฐอเมริกาประมาณ 3,700 กม.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และรัฐฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

รีกา

ทัศนียภาพกรุงรีกาจากโปสต์การ์ดในปี พ.ศ. 2443 รีกา (Rīga) เป็นเมืองหลวงของประเทศลัตเวีย ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลบอลติก บนปากแม่น้ำเดากาวา (Daugava) มีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ที่ละติจูด 56°58′เหนือ กับลองจิจูด 24°8′ตะวันออก กรุงรีกาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มรัฐบอลติก และเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม การศึกษา การเมืองการปกครอง ธุรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมในแถบนี้ นอกจากนี้ ศูนย์ประวัติศาสตร์รีกา (Historic Centre of Riga) ยังได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลกด้ว.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และรีกา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามต่อเนื่อง

งครามต่อเนื่อง ประกอบด้วยสงครามระหว่างฟินแลนด์และสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และสงครามต่อเนื่อง · ดูเพิ่มเติม »

อีนิกมา

อีนิกมา (enigma) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก αἴνιγμα มีความหมายว่า "puzzle" (ปริศนา) ชื่อนี้อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และอีนิกมา · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ฮิเดะกิ โทโจ

กิ โทโจ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2427 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของญี่ปุ่น (สมัยที่ 40) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนี้ เขายังรู้จักกับแฮร์มันน์ เกอริง, พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นการส่วนตัวตั้งแต่สมัยเรียนวิชาการทหารอยู่ที่เยอรมัน.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และฮิเดะกิ โทโจ · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี

ักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II หรือ Friedrich Wilhelm Albert Viktor von Preußen 27 มกราคม พ.ศ. 2402 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2484) หรือ พระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระราชโอรสใน พระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 กับพระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเยอรมัน และพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย ทรงดำรงวาระตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ทรงเป็นผู้ที่มีความชื่นชมในศักยภาพทางทหารของจักรวรรดิ ทรงเห็นว่ากองทัพเป็นผู้รวมชาติเยอรมันและสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับจักรวรรดิ หาใช่สมาชิกรัฐสภาไม่ พระองค์จึงทรงมุ่งมั่นที่จะใช้กำลังทหารเพื่อขยายอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันไปทั่วโลก ซึ่งมีผลต่อสถานการณีการเมืองในยุโรปอย่างมาก ก่อให้เกิดการช่วงชิงผลประโยชน์และอำนาจซึ่งกันและกัน ตลอดจนเกิดการแบ่งแยกมหาอำนาจยุโรปเป็น 2 ค่าย จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงใน..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ครีต

รีต (Crete) หรือ ครีตี (Κρήτη: Krētē, Kriti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างราว 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, "คู", ตุรกี: Kandiye) ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit) ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลี.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และครีต · ดูเพิ่มเติม »

ตริโปลี

ตริโปลีในแผนที่ พีรี่ รีส ตริโปลี (طرابلس, ภาษาอาหรับลิเบีย:, ภาษาเบอร์เบอร์: Ṭrables, มาจาก Τρίπολις "สามเมือง") เป็นเมืองใหญ่ที่สุดและ เมืองหลวงของลิเบีย บางครั้งจะเรียกว่าตริโปลีตะวันตก (طرابلس الغرب) เพื่อให้ต่างจากตริโปลีในเลบานอน ตริโปลีมีประชากร 1,065,405 (พ.ศ. 2549)ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ที่ขอบของทะเลทราย เป็นส่วนของแผ่นดินที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตรงบริเวณที่เป็นอ่าว ชาวฟินิเซียก่อตั้งเมืองตริโปลีขึ้นเมื่อ 700 ปีก่อนคริสตกาล โดยตั้งชื่อว่า "เอีย" ตริโปลีเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด มีท่าเรือ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแห่งลิเบีย เนื่องจากเป็นเมืองที่มีประวัติยาวนาน จึงมีแหล่งโบราณคดีในเมืองมากมาย มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน คือ อากาศร้อน ฤดูร้อนแล้ง ฤดูหนาวฝนตก.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และตริโปลี · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการเข็มทิศ

ปฏิบัติการเข็มทิศ เป็นปฏิบัติการใหญ่ครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในการทัพทะเลทรายตะวันตกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กำลังอังกฤษและเครือจักรภพอื่นโจมตีกองทัพอิตาลีทางตะวันตกของอียิปต์และทางตะวันออกของลิเบียระหว่างเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และปฏิบัติการเข็มทิศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมอนเตเนโกร

มอนเตเนโกร (Montenegro ออกเสียง:; มอนเตเนโกร: มีความหมายว่า "ภูเขาสีดำ") เป็นประเทศเอกราชซึ่งตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตจรดทะเลเอเดรียติกและโครเอเชียทางทิศตะวันตก จรดบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาทางทิศเหนือ จรดเซอร์เบียทางทิศตะวันออก และจรดแอลเบเนียทางทิศใต้ มีพอดกอรีตซาเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ในอดีต มอนเตเนโกรมีสถานะเป็นสาธารณรัฐในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย และต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งในสหภาพการเมืองของเซอร์เบีย-มอนเตเนโกร หลังจากมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 มอนเตเนโกรก็ได้ประกาศเอกราชในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มอนเตเนโกรได้รับการกำหนดให้เป็น "รัฐประชาธิปไตย สวัสดิการ และสิ่งแวดล้อม".

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศมอนเตเนโกร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลัตเวีย

ลัตเวีย (Latvia; Latvija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐลัตเวีย (Republic of Latvia; Latvijas Republika) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอีก 2 รัฐบอลติก คือ เอสโตเนียทางทิศเหนือ และลิทัวเนียและเบลารุสทางทิศใต้ จดรัสเซียทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกนั้น ลัตเวียมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับสวีเดน กรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวียเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองที่อยู่ในกลุ่มรัฐบอลติก.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิเบีย

ลิเบีย (ليبيا) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อตริโปลี ประเทศลิเบียมีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17 เมืองหลวง กรุงตริโปลี มีชาวลิเบียอาศัยอยู่ 1.7 ล้านคน จากทั้งประเทศ 6.4 ล้านคน ตามข้อมูลเมื่อปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศลิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวาเกีย

ลวาเกีย (Slovakia; Slovensko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic; Slovenská republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับเช็กเกีย ทางเหนือติดต่อกับโปแลนด์ ทางตะวันออกติดต่อกับยูเครน ทางใต้ติดต่อกับฮังการี และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับออสเตรีย เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคือเมืองหลวงบราติสลาวา ปัจจุบันสโลวาเกียเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหภาพยุโรป และได้เปลี่ยนสกุลเงินของประเทศจากกอรูนาสโลวักมาเป็นยูโรเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซูดาน

ซูดาน (Sudan; السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan; جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเคนยาและยูกันดา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับคองโกและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอลเบเนีย

แอลเบเนีย (Albania; Shqipëri) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (Republic of Albania; Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเซอร์เบีย (คอซอวอ) ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอซ์แลนด์

อซ์แลนด์ (Iceland; อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-03 นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเลบานอน

ลบานอน (Lebanon; لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาต.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอริเทรีย

อริเทรีย (Eritrea; ตึกรึญญา:; إرتريا) หรือชื่อทางการคือ รัฐเอริเทรีย (State of Eritrea; ตึกรึญญา:; دولة إرتريا) เป็นประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกาตะวันออก มีชายฝั่งทะเลติดกับทะเลแดงเกือบหนึ่งพันกิโลเมตร ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดทะเลแดง ทิศตะวันตกติดซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดจิบูตี ทิศใต้ติดเอธิโอเปีย มีเมืองหลวงชื่อแอสมาร.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศเอริเทรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอธิโอเปีย

อธิโอเปีย (Ethiopia; อามฮารา) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามฮารา) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีในพ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเคนยา

นยา (อังกฤษและKenya) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเคนยา (Republic of Kenya; Jamhuri ya Kenya) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตจรดประเทศเอธิโอเปีย (ทางเหนือ) ประเทศโซมาเลีย (ทางตะวันออกเฉียงเหนือ) ประเทศแทนซาเนีย (ทางใต้) ประเทศยูกันดา (ทางตะวันตก) ประเทศเซาท์ซูดานและทะเลสาบวิกตอเรีย (ทางตะวันตกเฉียงเหนือ) และมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดคือ ไนโรบี.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และประเทศเคนยา · ดูเพิ่มเติม »

แอร์วิน รอมเมิล

แอร์วิน โยฮันเนส ออยเกิน รอมเมิล (Erwin Johannes Eugen Rommel) สมญา จิ้งจอกทะเลทราย เป็นจอมพลที่โด่งดังที่สุดของกองทัพนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้รับความนับถือจากทั้งทหารฝ่ายเดียวกันและข้าศึก รอมเมิลเป็นนายทหารที่ได้รับการเชิดชูเกียรติขั้นสูงในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยได้รับเหรียญกล้าหาญ ''ปัวร์เลอแมริท'' สำหรับการปฏิบัติหน้าที่อันกล้าหาญในแนวรบอิตาลี ในสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงโด่งดังจากการบังคับบัญชากองพลพันเซอร์ที่ 7 สมญากองพลผี ระหว่างการบุกครองฝรั่งเศสใน..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และแอร์วิน รอมเมิล · ดูเพิ่มเติม »

โมกาดิชู

มกาดิชู (Muqdisho, หรือนิยมว่า ฮะมัร; مقديشو; Mogadiscio) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศโซมาเลีย เป็นเมืองท่าทางทะเล ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย เมืองนี้สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 โดยชาวอาหรับ เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ตกเป็นของสุลต่านแห่งแซนซิบาร์โน ใน..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และโมกาดิชู · ดูเพิ่มเติม »

โฮจิมินห์

มินห์ (Hồ Chí Minh, โห่ จี๊ มิญ; คำแปล "แสงสว่างที่นำทาง") เป็นนักปฏิวัติชาวเวียดนาม ซึ่งในภายหลังได้กลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (เวียดนามเหนือ) หลังจากสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ไซ่ง่อน เมืองหลวงเก่าของเวียดนามใต้ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นนครโฮจิมินห์ เพื่อเป็นเกียรติแก่โฮจิมินห์ โฮจิมินห์ เป็นบุคคลที่ชาวเวียดนามถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการประกาศอิสรภาพของเวียดนาม.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และโฮจิมินห์ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เบลเกรด

ลเกรด (Belgrade) หรือ เบออกรัด (Београд) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเซอร์เบีย มีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ เมื่อ 5,700-4,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช จุดเริ่มต้นของเมืองถูกก่อตั้งโดยชาวเคลต์กลุ่ม Scordisci ในศตวรรษที่สามก่อนศริสตศักราช ก่อนจะกลายมาเป็นที่ตั้งของเมืองโรมันในนาม Singidunum นับแต่อดีตมาเบลเกรดเป็นป้อมปราการที่สำคัญให้แก่ชนกลุ่มต่างๆตลอดระยะเวลากว่าสองพันปี ถูกทำลายแล้วสร้างกลับขึ้นมาใหม่หลายสิบครั้ง ด้วยประชาการกว่า 1,600,000 คน ปัจจุบันนี้ เบลกราดก็ถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศที่อดีตเคยรวมตัวกันเป็นยูโกสลาเวีย เป็นที่ตั้งของสนามบินที่เพียงแห่งเดียวในการเดินทางเข้าสู่เซอร์เบีย นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การคมนาคมและการท่องเที่ยวของประเท.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และเบลเกรด · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์กี จูคอฟ

กออร์กี คอนสตันตีโนวิช จูคอฟ (Georgy Konstantinovich Zhukov; Гео́ргий Константи́нович Жу́ков; 1 ธันวาคม พ.ศ. 2439 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2517) เป็นนายทหารอาชีพชาวโซเวียตในกองทัพแดง ซึ่งในห้วงสงครามโลกครั้งที่สองมีบทบาทสำคัญที่สุดในการนำกองทัพแดงยกผ่านยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่เพื่อปลดปล่อยสหภาพโซเวียตและชาติอื่นจากการยึดครองของฝ่ายอักษะและพิชิตกรุงเบอร์ลินได้ในที่สุด เขาเป็นนายพลที่ได้รางวัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียตและรัสเซีย เป็นนายพลที่ขึ้นชื่อที่สุดคนหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้อันดับต้น ๆ เพราะจำนวนและขนาดของชัยชนะ และคนจำนวนมากยอมรับความสามารถในการบังคับบัญชาทางปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ของเขา สัมฤทธิภาพการรบของเขาพัฒนาความรู้ทางทหารของมนุษยชาติอย่างสำคัญ โดยมีอิทธิพลมากทั้งต่อทฤษฎีทางทหารของโซเวียตและทั้งโลก.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และเกออร์กี จูคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะบอร์เนียว

อร์เนียว (Borneo) หรือ กาลีมันตัน (Kalimantan) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเกาะกรีนแลนด์ (อันดับ 1) และเกาะนิวกินี (อันดับ 2) มีประเทศ 3 ประเทศอยู่ในเกาะบอร์เนียว คือ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย อยู่บริเวณใจกลางกลุ่มเกาะมลายูและประเทศอินโดนีเซีย ในทางภูมิศาสตร์ เกาะบอร์เนียวเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และเกาะบอร์เนียว · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเวก

กาะเวก (Wake Island) เป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ มีพื้นทีทั้งหมด 6.5 ตารางกิโลเมตร มีสภาพพื้นที่เป็นเกาะปะการัง ใต้น้ำมีภูเขาไฟอยู่ด้วยและมีแนวปะการังรอบเกาะ เกาะเวกมีเพียงแค่บุคคลในราชการทหารสหรัฐเท่านั้นที่อาศัยอยู่ เกาะเวกมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจทางด้านอาหาร มีระบบโทรศัพท์ดินแดนโพ้นทะเล (OTS) มีสถานีวิทยุแต่ไม่สถานีโทรทัศน์ เกาะเวกมีสนามบินอยู่หนึ่งแห่งบนเกาะเวกแต่ไม่มีท่าเรือ เกาะเวกต่างจากบรรดาดินแดนอาณานิคมของสหรัฐในแปซิฟิกเหนือบางดินแดนเนื่องจากมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเคยเป็นสมรภูมิในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้ว.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และเกาะเวก · ดูเพิ่มเติม »

เวียดมินห์

งเวียดมินห์ กองทัพประชาชนเวียดนาม หรือ เหวียดมิงห์ หรือ เวียดมินห์ (Việt Nam Độc Lập Đồng Minh Hội หรือ Việt Minh) หรือบางแหล่งก็เรียก สันนิบาตเพื่อเอกราชเวียดนาม คือ ขบวนการทางการเมือง โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลดปล่อยเวียดนามออกจากการปกครองของฝรั่งเศส จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2484 โดยมีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ และมีนายพลหวอ เงวียน ซ้าป เป็นผู้บัญชาการกองทัพคนแรก.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และเวียดมินห์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮลซิงกิ

ลซิงกิ() (Helsingfors) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฟินแลนด์ ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศ ริมชายฝั่งอ่าวฟินแลนด์ ตัวเมืองมีประชากรประมาณ 600,000 คน เฮลซิงกิอยู่ติดกับเมืองวันตาและเอสโปซึ่งรวมตั้งเป็นเขตเมืองหลวงหรือมหานครเฮลซิงกิ มีประชากรเกือบหนึ่งล้านคน และถ้านับเขตที่อยู่อาศัยในปริมณฑลด้วยจะมีประชากรมากกว่า 1.2 ล้านคน เฮลซิงฟอร์สเป็นชื่อเมืองดั้งเดิม และยังคงเป็นชื่อเมืองในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน ในอดีตเป็นชื่อที่ใช้ในระดับนานาชาติด้ว.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และเฮลซิงกิ · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยงไฮ้

ซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก ตามมาด้วยสิงคโปร์และรอตเทอร์ดาม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในประเทศจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองคือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้.

ใหม่!!: ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1941)และเซี่ยงไฮ้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เส้นเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง (1941)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »