โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โตเกียว

ดัชนี โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

153 ความสัมพันธ์: บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกชิบุยะ (โตเกียว)ชินางาวะ (โตเกียว)ชินจุกุชินจูกุ (โตเกียว)ชิโยดะ (โตเกียว)บุงเกียว (โตเกียว)ชูโอ (โตเกียว)ฟุสซะฟูชู (จังหวัดโตเกียว)พ.ศ. 2563พระราชวังหลวงโตเกียวกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นกระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)การฟื้นฟูเมจิการสื่อสารการประกันภัยการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนกิ่งจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นกิ่งจังหวัดโอชิมะ (โตเกียว)ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อภูมิภาคของญี่ปุ่นมหาวิทยาลัยวะเซะดะมหาวิทยาลัยฮิโตะสึบะชิมหาวิทยาลัยนครโตเกียวมหาวิทยาลัยโตเกียวมหาวิทยาลัยเคโอมหาสมุทรแปซิฟิกมอสโกมัธยมศึกษามาจิดะมิตากะมินาโตะ (โตเกียว)มุซะชิมุระยะมะมูซาชิโนะยุคเมจิยุคเอะโดะรัฐบาลเอโดะรายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวงรถยนต์รถไฟลอนดอนวาณิชธนกิจสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)สะพานสายรุ้งสายยามาโนเตะสำนักขนส่งมหานครโตเกียวสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวสถานีรถไฟชินจูกุ...สถานีรถไฟโตเกียวสงครามโลกครั้งที่สองหมู่เกาะกาลาปาโกสหมู่เกาะอิซุหมู่เกาะโอะงะซะวะระอะกิรุโนะอากิชิมะอารากาวะ (โตเกียว)อาดาจิ (โตเกียว)อิตาบาชิ (โตเกียว)อินางิอุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติอ่าวโตเกียวฮะชิโอจิฮะมุระฮิงะชิกุรุเมะฮิงะชิมุระยะมะฮิงะชิยะมะโตะฮิโนะจักรพรรดิญี่ปุ่นจักรพรรดิเมจิจังหวัดชิบะจังหวัดยามานาชิจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นจังหวัดคานางาวะจังหวัดไซตามะจาการ์ตาทวีปเอเชียทะเลสาบโอะกุตะมะทามะ (เมือง)ทาจิกาวะท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวคริสต์ศตวรรษที่ 18คะสึชิกะ (โตเกียว)คันโตคิตะ (โตเกียว)คิโยะเซะคูนิตาจิตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซิดนีย์ซูมิดะ (โตเกียว)ซูงินามิ (โตเกียว)ประถมศึกษาประเทศญี่ปุ่นประเทศไทยปรากฏการณ์เกาะความร้อนปราสาทเอโดะปักกิ่งปารีสนกนางนวลหัวดำนะกะโนะ (โตเกียว)นาซานิชิโตเกียวนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)นครนิวยอร์กแม่น้ำซูมิดะแม่น้ำเอะโดะแลนด์แซท 7แขวงพิเศษของโตเกียวแปะก๊วยโชฟุโชกุนโยโกฮามะโรมโอลิมปิกฤดูร้อน 1964โอลิมปิกฤดูร้อน 2020โอตะ (โตเกียว)โอซากะโอเมะโทชิมะ (โตเกียว)โทกูงาวะ อิเอยาซุโทรเลขโคกูบุนจิโคมาเอะโคงาเนอิโคโต (โตเกียว)โคไดระโตเกียวโตเกียวทาวเวอร์โตเกียวตะวันตกโตเกียวเมโทรโซลไทโต (โตเกียว)ไคโรเบอร์ลินเกาะฮนชูเมืองหลวงเมืองหลวงญี่ปุ่นเมืองของญี่ปุ่นเมงูโระ (โตเกียว)เวลามาตรฐานญี่ปุ่นเอโดงาวะ (โตเกียว)เฮอังเกียวเขตอภิมหานครโตเกียวเครื่องปรับอากาศเซาเปาลูเซตางายะ (โตเกียว)เนริมะ (โตเกียว)ISO 3166-2:JP24 กรกฎาคม9 สิงหาคม ขยายดัชนี (103 มากกว่า) »

บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก

อาคารสำนักงานใหญ่บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก บริเวณสถานีชินจุกุ กรุงโตเกียว บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (East Japan Railway Company) เป็นบริษัทที่ให้บริการการคมนาคมระบบรางรถไฟในบริเวณภูมิภาคคันโตและโทโฮะกุของญี่ปุ่น เป็นเครือข่ายรถไฟที่มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดในโลกและมากที่สุดในกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น เรียกโดยย่อว่า JR East สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ในเขตโยโยงิ ชิบุยะ กรุงโตเกียว.

ใหม่!!: โตเกียวและบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ชิบุยะ (โตเกียว)

แขวงชิบุยะ เป็นแขวงการปกครองของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นเขตศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของโตเกียว.

ใหม่!!: โตเกียวและชิบุยะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ชินางาวะ (โตเกียว)

นางาวะ เป็น 1 ใน 23 แขวงการปกครองพิเศษของโตเกียว เป็นแขวงที่ตั้งของสถานทูตต่างชาติ 9 ประเทศ ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและชินางาวะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ชินจุกุ

นจุกุ เป็นชื่อสถานที่ในประเทศญี่ปุ่น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โตเกียวและชินจุกุ · ดูเพิ่มเติม »

ชินจูกุ (โตเกียว)

แขวงชินจูกุ เป็น 1 ใน 23 แขวงการปกครองพิเศษของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขตชินจุกุเป็นหนึ่งในเขตธุรกิจของมหานครโตเกียว สถานีรถไฟชินจูกุเป็นสถานีรถไฟที่มีผู้ใช้บริการต่อวันมากที่สุดในโลก และมีอาคารสำนักงานบริหารมหานครโตเกียวตั้งอยู่ พื้นที่รอบๆชินจูกุเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่วัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวเป็นย่านที่มีแสงสีของโตเกียว และเป็นสถานที่ที่มีของขายมากมาย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ และร้านอาหารจำนวนมาก.

ใหม่!!: โตเกียวและชินจูกุ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ชิโยดะ (โตเกียว)

แขวงชิโยดะ เป็น 1 ใน 23 แขวงการปกครองพิเศษของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นเขตการปกครองอันเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการปกครองของประเทศ แขวงชิโยดะมีพื้นที่ 11.64 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของพระราชวังหลวง ราว 12% ของพื้นที่ทั้งหมด ใน..

ใหม่!!: โตเกียวและชิโยดะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

บุงเกียว (โตเกียว)

งเกียว เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่กึ่งกลางโตเกียว เป็นศูนย์กลางของสถานศึกษาและย่านที่พักอาศัยในโตเกียว มีประวัติย้อนไปในสมัยเมจิ เป็นย่านที่พักอาศัยของนักประพันธ์ นักวิชาการ นักการเมือง ใน..

ใหม่!!: โตเกียวและบุงเกียว (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ชูโอ (โตเกียว)

แขวงชูโอ เป็น 1 ใน 23 แขวงพิเศษของโตเกียว ชูโอเป็นแขวงศูนย์กลางพาณิชย์กรรมที่สำคัญของโตเกียวมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีย่านชินจูกุ ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นมาแทน สถานที่ที่มีชื่อเสียงที่สุดในแขวงนี้คือ ย่านกินซะ (銀座) ซึ่งในอดีตเคยเป็นโรงกษาปณ์มาก่อน โดยที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ตั้งอยู่ในแขวงนี้ ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและชูโอ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ฟุสซะ

ฟุสซะ เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 10.24 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 59,761 คน ในปี พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: โตเกียวและฟุสซะ · ดูเพิ่มเติม »

ฟูชู (จังหวัดโตเกียว)

ฟูชู เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน..

ใหม่!!: โตเกียวและฟูชู (จังหวัดโตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2563

ทธศักราช 2563 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2020 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: โตเกียวและพ.ศ. 2563 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังหลวงโตเกียว

ระราชวังหลวง (ปล. ห้ามแปลว่า พระราชวังอิมพีเรียล) ในกรุงโตเกียวนั้น ปัจจุบันเป็นพระราชวังหลวงที่ประทับของจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในแขวงชิโยะดะ กรุงโตเกียว ใกล้กับสถานีรถไฟโตเกียว ภายในพระราชวังประกอบด้วยพระราชมนเทียร, พระตำหนัก (宮殿 คีวเด็ง) ของพระราชวงศ์ พิพิธภัณฑ์ของสะสมในพระองค์, สำนักพระราชวัง, และพระราชอุทยานขนาดใหญ่ พระราชวังนี้แต่เดิมเป็นที่ตั้งของปราสาทเอะโดะ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ แต่พระราชวังเดิมถูกระเบิดทำลายลงไปมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อมาในปี ค.ศ. 1964 ก็ได้รับการบูรณะ ซึ่งตัวพระราชวังมีขนาดที่ดินทั้งหมด 3.41 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในภาวะฟองสบู่อสังหสริมทรัพย์ของญี่ปุ่นในทศวรรษที่ 1980 มูลค่าของพระราชวังโตเกียวนั้นมีมูลค่าสูงมากกว่ามูลค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกาเสียอีก.

ใหม่!!: โตเกียวและพระราชวังหลวงโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น หรือ JMA เป็นหน่วยราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคม ให้บริการด้านสภาพอากาศของรัฐบาลญี่ปุ่น มีหน้าที่รับผิดชอบในการรวบรวมและรายงานข้อมูลสภาพอากาศและพยากรณ์อากาศในญี่ปุ่น และยังรับผิดชอบในการสังเกตการณ์และเตือนภัยแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ และการปะทุของภูเขาไฟ มีที่ทำการกรมตั้งอยู่ในแขวงชิโยะดะ กรุงโตเกียว แบ่งการจัดการออกเป็น 6 สำนักงานส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ JMA ยังได้ดำเนินการเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับไซโคลนเขตร้อนในพื้นที่ JMA มีจุดตรวจวัด 627 จุดทั่วประเทศ ทำหน้าที่ตรวจวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว.

ใหม่!!: โตเกียวและกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)

กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเท.

ใหม่!!: โตเกียวและกระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูเมจิ

การฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ (Meiji Restoration) หรือ การปฏิวัติเมจิ (Meiji Revolution) การปฏิรูปเมจิ (Meiji Reform) หรือ การปรับปรุงเมจิ (Meiji Renewal) เป็นเหตุการณ์การปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและการฟื้นฟูเมจิ · ดูเพิ่มเติม »

การสื่อสาร

การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บางอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู.

ใหม่!!: โตเกียวและการสื่อสาร · ดูเพิ่มเติม »

การประกันภัย

การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้ การประกัน (Insurance) คือการบริหารจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง โดยมีองค์ประกอบสามส่วน คือ.

ใหม่!!: โตเกียวและการประกันภัย · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน (Köppen climate classification) เป็นหนึ่งในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศที่ใช้กันกว้างขวางที่สุด วลาดิเมียร์ เคิปเปนเป็นผู้เผยแพร่ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2427 และการแก้ไขเล็กน้อยโดยเคิปเปนเองตามมาในปี พ.ศ. 2461 และ พ.ศ. 2479 ภายหลังนักกาลวิทยาชาวเยอรมนีนามว่ารูดอล์ฟ ไกเกอร์ ร่วมมือกับเคิปเปนเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้ บางครั้งจึงสามารถเรียกได้ว่าการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนและไกเกอร์ (Köppen–Geiger climate classification system).

ใหม่!!: โตเกียวและการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน · ดูเพิ่มเติม »

กิ่งจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น

ังหวัดบางจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นมีหรือเคยมีการแบ่งเป็นกิ่งจังหวัด (subprefecture) เป็นส่วนราชการอิสระซึ่งดำเงินงานธุรการที่ต่ำกว่าระดับจังหวัดลงไป จัดตั้งขึ้นเพื่อแบ่งเบาภาระของเทศบาลส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะในท้องที่ห่างไกล อนึ่ง ไม่จำเป็นต้องระบุกิ่งจังหวัดในการเขียนที่อยู่ทางไปรษณี.

ใหม่!!: โตเกียวและกิ่งจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

กิ่งจังหวัดโอชิมะ (โตเกียว)

กิ่งจังหวัดโอชิมะ เป็น 1 ใน 4 กิ่งจังหวัดของมหานครโตเกียว โดยขึ้นกับองค์การบริหารส่วนมหานครโตเกียว ส่วนงานกิจการทั่วไป (จิมะ หรือ ชิมะ แปลว่าเกาะ).

ใหม่!!: โตเกียวและกิ่งจังหวัดโอชิมะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ

ีดีพีต่อหัว (พีพีพี) ในปี ค.ศ. 2014 ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (purchasing power parity, PPP) หรือ ประสิทธิผลของเงิน เป็นค่าค่าหนึ่งที่เกิดจากการประมาณทางเทคนิคโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อคำนวณหาระดับการบริโภคสินค้าและบริการในแต่ละประเทศ โดยใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ และแสดงผลในสกุลเงินดอลลาร์สหรั.

ใหม่!!: โตเกียวและภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิภาคของญี่ปุ่น

ูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น มิได้มีสถานะเป็นหน่วยการปกครองอย่างเป็นทางการ แต่มีการใช้สืบเนื่องกันมาเป็นแผนกหนึ่งในการจำแนกพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่นไปตามแต่บริบท ยกตัวอย่างเช่น แผนที่และตำราภูมิศาสตร์ในญี่ปุ่นจะแบ่งเป็นแปดภูมิภาค, การรายงานสภาพอากาศมักจะรายงานตามภูมิภาค ตลอดจน หน่วยธุรกิจและสถาบันการศึกษาจำนวนมากก็ใช้ชื่อภูมิภาคของเขาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อองค์กร จากเหนือจรดใต้ ภูมิภาคตามจารีตของญี่ปุ่นประกอบด้ว.

ใหม่!!: โตเกียวและภูมิภาคของญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวะเซะดะ

ในบริเวณมหาวิทยาลัยวะเซะดะ มหาวิทยาลัยวะเซะดะ หรือมักจะเรียกย่อว่า โซได (早大) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนตั้งอยู่ในเขตชินจูกุในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) ถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และอยู่ในลำดับต้น ๆ ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น วะเซะดะมีชื่อเสียงในด้านเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและรัฐศาสตร์ และในด้านอื่นหลายด้านซึ่งวะเซะดะมักจะถูกเทียบกับมหาวิทยาลัยเคโอ ที่มีชื่อเสียงมากเช่นกันในญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองมหาวิทยาลัยจะมีกีฬาเบสบอลแข่งกันของทั้งสองมหาวิทยาลัยคล้าย ๆ กับมหาวิทยาลัย Oxford-Cambridge ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของฝั่งอังกฤษและที่มีกีฬาพายเรือแข่งกัน มหาวิทยาลัยวะเซะดะ ยังอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ Tokyo 6 Universities Alliance ซึ่งเทียบเคียงได้กับกลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีกในประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: โตเกียวและมหาวิทยาลัยวะเซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบะชิ

หอนาฬิกามหาวิทยาลัยฮิโตะสึบะชิ มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบะชิ หรือย่อว่า เป็นมหาวิทยาลัยในจังหวัดโตเกียวที่เปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: โตเกียวและมหาวิทยาลัยฮิโตะสึบะชิ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยนครโตเกียว

มหาวิทยาลัยนครโตเกียว มหาวิทยาลัยนครโตเกียว (ญี่ปุ่น: 首都大学東京, ชุโตะ ไดกะคุ โทเคียว) เป็นมหาวิทยาลัยในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2534.

ใหม่!!: โตเกียวและมหาวิทยาลัยนครโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโตเกียว

หอประชุมยาสุดะในมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยโตเกียว หรือย่อว่า โทได เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองโตเกียว มีพื้นที่แยกออกเป็น 5 วิทยาเขต ใน ฮงโง โคมะบะ คะชิวะ ชิโระงะเนะ และ นะกะโนะ และได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีเกียรติมากที่สุดในญี่ปุ่น และยังจัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยโตเกียวประกอบด้วย 10 คณะซึ่งมีนักศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 2,100 คนเป็นนักศึกษาไทยประมาณ 150 คน (ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงทีสุดในบรรดามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น) ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมสาขาวิทยาการเกือบทั้งหมด แต่ที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษคือ กฎหมาย รัฐศาสตร์ วรรณกรรม เศรษฐศาสตร์ แพทยศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงของญี่ปุ่นจำนวนมาก นับแต่อดีตจนปัจจุบันแม้ว่าสัดส่วนจะลดลงก็ตาม อัตราส่วนของรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละช่วงคริสต์ศตวรรษจะอยู่ที่ประมาณ 2/3 1/2 1/4 1/5 และ1/6 ในช่วงคริสศตวรรษที่ 1950 60 70 80 และ 90 ตามลำดับ มหาวิทยาลัยโตเกียวมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูงในหลากหลายสาขาวิชา และมีอัตราการแข่งขันในการเข้าศึกษาสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียวมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งอยู่หกมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเคโอซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในหมู่คนญี่ปุ่นและเปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเกียวโตซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมาก หนึ่งในศิษย์เก่าเจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยโตเกียวคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพิเรียลชื่อ ศาสตราจารย์ คิคุจิ ไดโรกุ ในด้านกีฬา ทีมเบสบอลมหาวิทยาลัยโตเกียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัยของกรุงโตเกียว ศูนย์ฮงโหงะเป็นศูนย์หลักของมหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของตระกูล "มาเอดะ" ช่วงสมัยเอโดะผู้เป็นเจ้าเมืองเคหงะ สัญลักษณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักและอยู่จนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยคือ "อะกามง" (ประตูแดง) ส่วนตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปใบแปะก๊วย ซึ่งปลูกอยู่เรียงรายทั่วทั้งบริเวณของมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: โตเกียวและมหาวิทยาลัยโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคโอ

มหาวิทยาลัยเคโอ มุมมองจากหอคอยโตเกียว มหาวิทยาลัยเคโอ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2401 เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับที่ 1 ของประเทศญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่ใจกลางของกรุงโตเกียว มีอายุครบ 150 ปีใน..

ใหม่!!: โตเกียวและมหาวิทยาลัยเคโอ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: โตเกียวและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

มัธยมศึกษา

มัธยมศึกษา (ย่อว่า ม; secondary education) เป็นลำดับการศึกษา ขั้นที่ 3 รองจากระดับ ประถมศึกษา โดยการศึกษาในขั้นนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพให้เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและรู้จักเลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาระดับนี้ใช้เวลาเรียนสามปี โดยผู้เรียนจะมีอายุระหว่าง 12 - 17 โดยผู้เรียนจบในระดับมัธยมศึกษานี้สามารถไปประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ หรือศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนเลือกเรียนกลุ่มวิชาการหรือวิชาชีพตามความถนัดของตนเอง ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผุ้เรียนสามารถเรียนกลุ่มวิชาที่ผู้เรียนชื่นชอบเพื่อยึดเป็นอาชีพได้.

ใหม่!!: โตเกียวและมัธยมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

มาจิดะ

มาจิดะ เป็นเมืองในเขตทะมะทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สถาปนาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพัน..

ใหม่!!: โตเกียวและมาจิดะ · ดูเพิ่มเติม »

มิตากะ

มิตากะ เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โตเกียวและมิตากะ · ดูเพิ่มเติม »

มินาโตะ (โตเกียว)

แขวงมินาโตะ เป็น 1 ใน 23 แขวงพิเศษ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระราชวังหลวงโตเกียว มีพื้นที่ 20.34 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและมินาโตะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

มุซะชิมุระยะมะ

มุซะชิมุระยะมะ เป็นเมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โตเกียวและมุซะชิมุระยะมะ · ดูเพิ่มเติม »

มูซาชิโนะ

มูซาชิโนะ เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โตเกียวและมูซาชิโนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเมจิ

มจิ เป็นยุคสมัยของญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1868 - ค.ศ. 1912 ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ ยุคใหม่ (Modern Era) ของญี่ปุ่น ยุคเมจิเริ่มต้นหลังจากที่กลุ่มหัวก้าวหน้าในแคว้นโชชูและแคว้นซะสึมะ ผนึกกำลังกันล้มล้างระบอบโชกุนและระบบซะมุไร หลังจากล้มระบอบโชกุนได้แล้ว ก็สถาปนารัฐธรรมนูญและรัฐบาลใหม่ที่มีองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ จักรพรรดิทรงย้ายเมืองหลวงจากเคียวโตะไปยังเอโดะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว คณะรัฐบาลในสมเด็จพระจักรพรรดิได้ร่วมมือกันปฏิรูปญี่ปุ่นในทุกๆด้าน มีการทำสงครามกับจักรวรรดิรัสเซียและมีชัยเหนือรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจในขณะนั้น รัฐบาลใหม่ได้ยกเลิกระบอบศักดินาสวามิภักดิ์และมีการรวมศูนย์อำนาจไว้ในกรุงโตเกียว มีการสถาปนาสภานิติบัญญัติในสมเด็จพระจักรพรรดิขึ้นมาตามแบบอย่างของรัฐสภาอังกฤษ อันประกอบด้วยสภาขุนนาง (สภาสูง) และสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ เนื่องจากอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ที่เหล่าขุนนางในสภาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะเก็นโรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในระบบการเมือง มีการประกาศยกเลิกการครอบครองที่ดินในระบบศักดินานำที่ดินแจกจ่ายให้ชาวไร่ชาวนาทรงสร้างระบบการคมนาคมทั้งถนน ทางรถไฟ ระบบขนส่งทางทะเล เพื่อเสริมสร้างการค้าภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบไปรษณีย์ การเงินและธนาคาร และวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กกล้า และสนับสนุนเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน..

ใหม่!!: โตเกียวและยุคเมจิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเอะโดะ

อะโดะ หรือยุคที่เรียกว่า ยุคโทะกุงะวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai) ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทะกุงะวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน..

ใหม่!!: โตเกียวและยุคเอะโดะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: โตเกียวและรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง

ปัจจุบันทั่วโลกมีรัฐเอกราชซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ่ 196 รัฐ (ทั้งหมดเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ยกเว้นนครรัฐวาติกัน ปาเลสไตน์ และคอซอวอ) และมีรัฐอีก 8 แห่งที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ.

ใหม่!!: โตเกียวและรายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

รถยนต์

องรถยนต์และรถบรรทุกยุคใหม่กำลังขับอยู่บนทางด่วนสายหนึ่ง รถสปอร์ตยุคใหม่ รถยนต์หมายถึง ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจ ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ.

ใหม่!!: โตเกียวและรถยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟ

ี-ซีรีส์ ของประเทศออสเตรเลีย รถไฟความเร็วสูง '''อีเซเอ''' ของประเทศเยอรมนี รถไฟ เป็นกลุ่มของยานพาหนะที่เคลื่อนที่ไปตามรางเพื่อการขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง รางส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยราง 2 เส้นขนานกัน แต่ยังหมายรวมถึงประเภทรางเดี่ยวหรือประเภทที่ใช้พลังแม่เหล็กด้วย รถไฟจะขับเคลื่อนด้วยหัวรถจักรหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หลายๆตัวที่ติดอยู่ใต้ท้องรถ รถไฟสมัยใหม่จะใช้กำลังจากหัวรถจักรดีเซลหรือจากไฟฟ้าที่ส่งมาตามสายไฟที่อยู่เหนือตัวรถหรือตามรางสาม (Third Rail) เดิม รถไฟขับเคลื่อนโดยใช้หม้อต้มน้ำทำให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำทำให้เกิดแรงดัน แรงดันจะทำการขับเคลื่อนกลไกทำให้ล้อรถไฟเคลื่อนที่ได้ การที่ใช้ฟืนเป็นแหล่งพลังงานในการต้มน้ำ และฟืนที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ทำให้เรียกรถชนิดนี้ว่า รถจักรไอน้ำ รถไฟแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ หัวรถจักร, รถดีเซลราง, รถโดยสาร และ รถสินค้.

ใหม่!!: โตเกียวและรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: โตเกียวและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วาณิชธนกิจ

วาณิชธนกิจ (Investment banking) คือ สถาบันทางการเงินซึ่งทำหน้าที่ระดมเงินทุน, ซื้อขายหลักทรัพย์, บริหารการควบรวมและซื้อกิจการ รวมถึงให้คำปรึกษาในธุรกรรมข้างต้นและธุรกรรมทางการเงินประเภทอื่น เช่น การปรับโครงสร้างหนี้, การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ, ทำรายงานวิจัย, ออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เป็นต้น วาณิชธนกิจได้กำไรจากบริษัทและรัฐบาลโดยการหาเงินผ่านการออกและขายหลักทรัพย์ชนิดต่างๆ ในตลาดทุน ซึ่งรวมถึงทั้งหุ้นและพันธบัตร ในขณะที่รวมไปถึงการค้ำประกันพันธบัตร (โดยขายตราสารอนุพันธ์ประกันการผิดนัดชำระ: Credit Default Swap/CDS) และบริการให้คำแนะนำในธุรกรรมการควบรวมและซื้อกิจการ การให้บริการเหล่านี้ในสหรัฐอเมริกา ผู้ให้คำแนะนำจะต้องได้รับใบอนุญาตเป็นบริษัทโบรกเกอร์และดีลเลอร์ และจะต้องปฏิบัติตามสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (United States Securities and Exchange Commission: SEC) วาณิชธนกิจส่วนใหญ่ให้บริการคำแนะนำเชิงกลยุทธ์สำหรับการควบรวม การซื้อขายกิจการ หรือบริการทางการเงินให้แก่ลูกค้า เช่น การซื้อขายตราสารอนุพันธ์, ตราสารรายได้คงที่, เงินตราต่างประเทศ, สินค้าโภคภัณฑ์และหุ้น การซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อแลกกับเงินหรือหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ (เช่น การอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมซื้อขาย) หรือการประชาสัมพันธ์ตราสารหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น การค้ำประกันการออกหลักทรัพย์หรือการทำรายงานวิจัย เป็นต้น ถูกเรียกว่าเป็นกิจกรรม ด้านขาย (Sell side) ในขณะที่การบริหารจัดการกองทุนเงินบำเหน็จบำนาญ, กองทุนรวม, เฮดจ์ฟันด์ (Hedge funds) และนักลงทุนทั่วไปที่บริโภคผลิตภัณฑ์และบริการของด้านขาย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงที่สุดจะเรียกว่า ด้านซื้อ (Buy side) บริษัทวาณิชธนกิจที่เป็นผู้รับค้ำประกันการออกหลักทรัพย์รายใหญ่สองรายสุดท้ายของวอลล์สตรีท คือ โกลด์แมน แซคส์และมอร์แกน สแตนลีย์ ทั้งสองบริษัทได้ตัดสินใจปรับเปลี่ยนเป็นสถาบันธนาคารทั่วไปแทนเมื่อวันที่ 22 กันยายน..

ใหม่!!: โตเกียวและวาณิชธนกิจ · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)

นิติบัญญัติแห่งชาติ (National Diet) หรือ รัฐสภา ของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยสองสภานิติบัญญัติคือ สภาล่างเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงเรียกว่า ราชมนตรีสภา สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากระบบการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 4 ปี ส่วนสมาชิกราชมนตรีสภามีวาระ 6 ปี และนอกเหนือไปจากการพิจารณากฎหมายต่าง ๆ แล้ว สภานิติบัญญัติยังมีหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติของญี่ปุ่นประชุมครั้งแรกในชื่อ สภานิติบัญญัติแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ เมื่อ..

ใหม่!!: โตเกียวและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสายรุ้ง

มุมมองจากโอไดบะ มุมมองยามค่ำคืน สะพานสายรุ้ง (Rainbow Bridge) เป็นสะพานแขวนที่ทอดข้ามทางตอนเหนือของอ่าวโตเกียว เชื่อมระหว่างย่านชิบะอุระกับย่านโอไดบะในเขตมินะโตะ กรุงโตเกียว สร้างเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2536 (ค.ศ. 1993) สะพานมีความกว้าง 570 เมตร มีถนนสองชั้นเพื่อรองรับเส้นทางการจราจร 3 สาย ชั้นบนเป็นทางด่วนมหานครหมายเลข 11 สายโอไดบะ ส่วนชั้นล่างเป็นเส้นทางหมายเลข 357 และสายยุริคะโมะเมะ บนสะพานมีทางเดินเท้าทั้งสองฝั่ง คือ ฝั่งเหนือและฝั่งใต้ ฝั่งเหนือจะเห็นทิวทัศน์ของชายฝั่งโตเกียวตอนในและโตเกียวทาวเวอร์ ส่วนฝั่งใต้จะมองเห็นอ่าวโตเกียว และบางครั้งอาจมองเห็นภูเขาไฟฟูจิด้วย สะพานนี้ไม่อนุญาตให้รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ใช้เส้นทาง เสาสูงที่รองรับสะพานทาด้วยสีขาว เพื่อให้กลมกลืนกับท้องฟ้าเหนือโตเกียวตอนกลางที่มองเห็นจากโอไดบะ บนเส้นลวดขึงสะพานจะติดหลอดไฟไว้ ซึ่งจะเปลี่ยนสีระหว่างสีแดง ขาว และเขียวในทุกคืน โดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ที่เก็บไว้ในเวลากลางวัน หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในโตเกียว สา.

ใหม่!!: โตเกียวและสะพานสายรุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

สายยามาโนเตะ

มาโนเตะ เป็นเส้นทางรถไฟที่คับคั่งและสำคัญที่สุดสายหนึ่งของโตเกียว ให้บริการโดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก โดยมีเส้นทางการวิ่งเป็นวงกลมรอบเมืองโตเกียว เชื่อมต่อย่านการค้าและย่านธุรกิจที่สำคัญ เช่น มะรุโนะอุชิ ยูระกุโช/กินซะ อุเอะโนะ อะกิฮะบะระ ชินจูกุ ชิบุยะ อิเกะบุกุโระ เป็นต้น มีสถานีทั้งสิ้น 29 สถานี แผนภาพเส้นทางและสถานี.

ใหม่!!: โตเกียวและสายยามาโนเตะ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักขนส่งมหานครโตเกียว

ำนักขนส่งมหานครโตเกียว (東京都交通局 โทเกียว-โตะ โคซือ-เคียวกุ) หรือรู้จักกันในชื่อ รถไฟใต้ดินโทเอ (都営地下 โทเอ ชิกะเตะสึ) ชื่อเดิมคือ การขนส่งเทโตะ ดำเนินการก่อสร้างโดยองค์การบริหารส่วนมหานครโตเกียว เป็นระบบรถไฟฟ้าที่ดำเนินการควบคู่กับรถไฟใต้ดินโตเกียว.

ใหม่!!: โตเกียวและสำนักขนส่งมหานครโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) (Office of the Private Education Commission: OPEC) เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เดิมมีชื่อว่า "สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน" ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม..

ใหม่!!: โตเกียวและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว

ันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว หรือนิยมเรียกว่า ไทเทค (TiTech) หรือ โทโกได (東工大; Tōkōdai) หรือ โตเกียวเทค (Tokyo Tech) เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงมากและใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โทโกได โตเกียวเทคก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: โตเกียวและสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชินจูกุ

นีรถไฟชินจูกุ เป็นสถานีรถไฟ ตั้งอยู่ที่ชินจูกุและชิบูยะ ซึ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษในกรุงโตเกียว สถานีรถไฟชินจูกุเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อสำหรับการจราจรทางรถไฟ ระหว่างใจกลางเมืองโตเกียวกับชานเมืองตะวันตก สถานีชินจูกุมีผู้ใช้เฉลี่ย 3.64 ล้านคนต่อวันในปี ค.ศ. 2007 ทำให้สถานีแห่งนี้ได้รับการบันทึกเป็นสถานีรถไฟที่มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: โตเกียวและสถานีรถไฟชินจูกุ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟโตเกียว

นีรถไฟโตเกียว เป็นสถานีรถไฟหลักของกรุงโตเกียว ตั้งอยู่ในย่านมะรุโนะอุชิ (丸の内 Marunouchi) แขวงชิโยะดะ หนึ่งในแขวงพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น อยู่ใกล้กับพระราชวังหลวง และย่านกินซะ สถานีรถไฟโตเกียวให้บริการรถไฟระหว่างเมือง รถไฟท้องถิ่น และรถไฟชิงกันเซ็ง (รถไฟความเร็วสูง) ของกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น (Japan Railway Group) และรถไฟฟ้าใต้ดินของโตเกียวเมโทร (東京メトロ Tōkyō Metoro) 1 ใน 2 ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงโตเกียว สถานีรถไฟโตเกียวเป็นสถานีรถไฟที่มีจำนวนรถไฟระหว่างเมืองเข้าออกคับคั่งที่สุดอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น (มากกว่า 3,000 เที่ยวต่อวัน) และมีผู้คนสัญจรผ่านมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของภาคตะวันออกของญี่ปุ่น สถานีรถไฟโตเกียวยังเป็นต้นทางและชุมทางของรถไฟชิงกันเซ็งมากขบวนที.

ใหม่!!: โตเกียวและสถานีรถไฟโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: โตเกียวและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะกาลาปาโกส

แผนที่โลกแสดงภาพหมู่เกาะกาลาปาโกส ห่างจากชายฝั่งอเมริกาใต้ไปทางตะวันตก อยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร หมู่เกาะกาลาปาโกส (Islas Galápagos; Galápagos Islands) เป็นหมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิก มีความน่าสนใจทั้งด้านธรณีวิทยา สัตววิทยา และนิเวศวิทยาเป็นอย่างยิ่ง เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ โดยมีชื่อภาษาสเปนอย่างเป็นทางการว่า กลุ่มเกาะโกลอน (Archipiélago de Colón; Islas de Colón) ตั้งอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร ห่างจากทวีปออกไปทางตะวันตก 1,000 กิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและหมู่เกาะกาลาปาโกส · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะอิซุ

แผนที่ของหมู่เกาะ หมู่เกาะอิสุ เป็นหมู่เกาะภูเขาไฟที่เรียงรายอยู่ทางทิศใต้และตะวันออกของคาบสมุทรอิสุในเกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น ตามเขตการปกครองแล้ว ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงโตเกียว เกาะที่ใหญ่ที่สุด คือ เกาะอิสุโอชิมะ มักเรียกสั้น ๆ ว่า เกาะโอชิมะ ตามความจริงแล้ว ในหมู่เกาะมีเกาะและโขดหินมากกว่า 20 เกาะ แต่มีอยู่ 9 เกาะที่ได้รับการบันทึกชื่ออย่างเป็นทางการจากฝ่ายบริหารมหานครโตเกียว ซึ่งเรียงจากเหนือลงใต้ ได้แก.

ใหม่!!: โตเกียวและหมู่เกาะอิซุ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะโอะงะซะวะระ

หมู่เกาะโอะงะซะวะระ หรือ หมู่เกาะโบนิน เป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วยเกาะในเขตร้อนและเกาะใกล้เขตร้อนกว่า 30 เกาะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงโตเกียวราวๆ 1,000 กิโลเมตร มีสถานะเป็นกิ่งจังหวัดของมหานครโตเกียว มีประชากรอาศัยอยู่ราว 2,440 คน โดยกว่า 2,000 คน อาศัยอยู่บนเกาะชิชิจิมะ ซึ่งบนเกาะชิชิจิมะนี้ ยังมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ขนาด 25 เมตร ของหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น (NAOJ) ตั้งอยู่อีกด้วย เนื่องจากหมู่เกาะโอะงะซะวะระแทบไม่ค่อยได้ติดต่อกับทวีปภายนอก พืชพันธุ์และสัตว์ในแถบนี้จึงมีลักษณะเฉพาะตัวและความแตกต่างในด้านกระบวนการวิวัฒนาการ หมู่เกาะโอะงะซะวะระมีฉายาว่า "กาลาปาโกสแห่งตะวันออก" และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก ในวันที่ 11 กรกฎาคม..

ใหม่!!: โตเกียวและหมู่เกาะโอะงะซะวะระ · ดูเพิ่มเติม »

อะกิรุโนะ

อะกิรุโนะ เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 73.34 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและอะกิรุโนะ · ดูเพิ่มเติม »

อากิชิมะ

อากิชิมะ เป็นเมืองในเขตทามะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 17.33 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและอากิชิมะ · ดูเพิ่มเติม »

อารากาวะ (โตเกียว)

แขวงอารากาวะ เป็น 1 ใน 23 แขวงพิเศษของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ชื่อของแขวงมาจากชื่อของแม่น้ำอารากาวะ ถึงแม้ว่าแม่น้ำดังกล่าวจะมิได้ไหลผ่านแขวงนี้ก็ตาม มีอาณาแขวงติดต่อกับแขวงอาดาจิ คิตะ บุงเกียว ไทโต และซูม.

ใหม่!!: โตเกียวและอารากาวะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

อาดาจิ (โตเกียว)

แขวงอาดาจิ เป็น 1 ใน 23 แขวงพิเศษของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็นสองส่วนคือด้านทิศเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ กับด้านทิศใต้ที่มีแม่น้ำซุมิดะกับแม่น้ำอะระกะวะไหลผ่านเป็นพื้นที่ส่วนน้อย แขวงอาดาจิมีอาณาเขตติดต่อกับเมืองคะวะงุจิ, ตำบลฮะโตะงะยะ, เมืองโซกะ, และเมืองยะชิโอะของจังหวัดไซตะมะ และติดต่อกับแขวงคะสึชิกะ ซุมิดะ อะระกะวะ และ คิตะ ของกรุงโตเกียว.

ใหม่!!: โตเกียวและอาดาจิ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

อิตาบาชิ (โตเกียว)

อิตาบาชิ เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีพื้นที่ 32.17 ตารางกิโลเมตร ในปี 2008 มีจำนวนประชากรประมาณ 531,793 คน มีความหนาแน่นประชากรทั้งสิ้น 16,270 คนต่อตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: โตเกียวและอิตาบาชิ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

อินางิ

อินางิ เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โตเกียวและอินางิ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ

อุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ เป็นอุทยานแห่งชาติในประเทศญี่ปุ่น มีอาณาเขตครอบคลุมบริเวณจังหวัดยะมะนะชิ ชิซุโอะกะ คะนะงะวะ และบริเวณตะวันตกของมหานครโตเกียว ประกอบไปด้วยสถานที่น่าสนใจ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ ทะเลสาบฟูจิทั้งห้า ฮาโกเนะ คาบสมุทรอิซุ และเกาะอิซุ อุทยานแห่งชาติฟุจิ-ฮะโกะเนะ-อิซุ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพัน..

ใหม่!!: โตเกียวและอุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซุ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โตเกียวและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวโตเกียว

วเทียมของอ่าวโตเกียว อ่าวโตเกียว เป็นอ่าวทางตอนใต้ของภูมิภาคคันโตในประเทศญี่ปุ่น เดิมมีชื่อว่า อ่าวเอโดะ ตามชื่อเมืองเอโดะเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองโตเกียว บริเวณรอบอ่าวโตเกียวเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น.

ใหม่!!: โตเกียวและอ่าวโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ฮะชิโอจิ

อจิ เป็นเมืองในเขตทะมะทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกระยะทาง 40 กิโลเมตร จากศูนย์กลางเขตการปกครองพิเศษในโตเกียว เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับแปดในเขตมหานครโตเกียว ทีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 186.31 ตารางกิโลเมตร ในเดือนมกราคม..

ใหม่!!: โตเกียวและฮะชิโอจิ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะมุระ

มุระ เป็นเมืองในเขตทะมะทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 9.91 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและฮะมุระ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิงะชิกุรุเมะ

งะชิกุรุเมะ เป็นเมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 12.92 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 114,355 คน ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและฮิงะชิกุรุเมะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิงะชิมุระยะมะ

งะชิมุระยะมะ เป็นเมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 17.17 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 151,279 คน ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและฮิงะชิมุระยะมะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิงะชิยะมะโตะ

งะชิยะมะโตะ เป็นเมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 13.54 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 82,195 คน ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและฮิงะชิยะมะโตะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิโนะ

นะ เป็นเมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 27.53 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 182,092 คน ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและฮิโนะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิญี่ปุ่น

ักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น เป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและเอกภาพของประชาชน" ตามรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น..

ใหม่!!: โตเกียวและจักรพรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเมจิ

มเด็จพระจักรพรรดิมุสึฮิโตะ (3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1853 — 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1912) พระนามตามรัชสมัยคือ จักรพรรดิเมจิ ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 122 ของประเทศญี่ปุ่น ครองราชย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1867 ด้วยพระชนมายุเพียง 14 พรรษาจนเสด็จสรรคต ญี่ปุ่นได้ก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจในรัชสมัยของพระอง.

ใหม่!!: โตเกียวและจักรพรรดิเมจิ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชิบะ

ังหวัดชิบะ เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น อยู่ในเขตคันโต บนเกาะฮนชู มีเมืองเอกชื่อเดียวกันคือ ชิบะ จังหวัดชิบะเป็นที่ตั้งของสนามบินนะริตะซึ่งอยู่ในเมืองนะริตะ และโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต (ประกอบด้วยโตเกียวดิสนีย์แลนด์และโตเกียวดิสนีย์ซี) ซึ่งอยู่ในเมืองอุระยะซ.

ใหม่!!: โตเกียวและจังหวัดชิบะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดยามานาชิ

ังหวัดยามานาชิ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคชูบุของประเทศญี่ปุ่นมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโคฟุ ยามานาชิเป็นจังหวัดที่มีภูเขาปิดล้อม โดยเฉพาะภูเขาไฟฟูจิซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวกันมาก มีสินค้าขึ้นชื่อคือไวน์ ที่เมืองโคฟุมีชื่อเสียงมากในอุตสาหกรรมอัญมณี และมีทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงาม.

ใหม่!!: โตเกียวและจังหวัดยามานาชิ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น แบ่งเขตการปกครองเป็น 47 เขตการปกครองระดับ "จังหวัด" หรือเรียกว่า "โทโดฟูเก็ง" (อังกฤษ: Prefectures) ได้แก.

ใหม่!!: โตเกียวและจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคานางาวะ

ังหวัดคานางาวะ ตั้งอยู่บริเวณภาคคันโต บนเกาะฮนชูของญี่ปุ่น มีโยโกฮามะเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เมืองโยโกฮามะนั้นเป็นสถานที่จัดศึกฟุตบอลโลกในปี 2002 รอบชิงชนะเลิศ และเป็นเมืองที่มีย่านที่คนจีนอาศัยอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น มีวัดวาอารามตั้งอยู่หลายวัดในเมืองคามากูระ ปัจจุบันเมืองโยโกฮามะเป็นส่วนหนึ่งของกรุงโตเกียว และเป็นเมืองศูนย์กลางที่สำคัญเนื่องจากมีท่าเรือพาณิชย์นานาชาติใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกไกล เมืองโยโกฮามะเป็นเมืองใหญ่อันดับสองรองจากโตเกียว โดยมีประชากรกว่า 3 ล้านคน.

ใหม่!!: โตเกียวและจังหวัดคานางาวะ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดไซตามะ

มืองไซตามะ จังหวัดไซตามะ เป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคคันโต มีเมืองหลักชื่อเดียวกันคือ ไซตามะ จังหวัดไซตามะเป็นที่ตั้งของสนามกีฬาไซตามะ 2002 เป็นสนามกีฬาฟุตบอลที่ใช้แข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2002 ศูนย์กีฬาในร่มไฮเทคไซตามะซูเปอร์อารีนา จังหวัดไซตามะเป็นจังหวัดที่มีความเจริญมากเพราะอยู่ติดกับกรุงโตเกียว ซึ่งเขตชิชิบุในจังหวัดนี้มีเทือกเขา ทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม จึงเป็นจุดที่มีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมา ส่วนสถานที่น่าสนใจอีกที่หนึ่งก็คือ หมู่บ้านบอนไซ โอม.

ใหม่!!: โตเกียวและจังหวัดไซตามะ · ดูเพิ่มเติม »

จาการ์ตา

การ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาวียา หรือ ปัตตาเวีย (Batavia) คนไทยในอดีตเรียก กะหลาป๋.

ใหม่!!: โตเกียวและจาการ์ตา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: โตเกียวและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบโอะกุตะมะ

ทางอากาศของทะเลสาบโอคุทามะ ทะเลสาบโอคุทามะ (Lake Okutama) ตั้งอยูที่รอยต่อระหว่างกรุงโตเกียวและจังหวัดยามานาชิ ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากอยู่เหนือเขื่อน Ogōchi จึงเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Ogōchi Reservoir มีพื้นที่ครอบคลุม town of Okutama ในเขต Nishitama ของโตเกียว และหมู่บ้าน Tabayama ในเขต Kitatsuru จังหวัดยามานาชิ เป็นแหล่งน้ำดื่มที่สำคัญของโตเกียว.

ใหม่!!: โตเกียวและทะเลสาบโอะกุตะมะ · ดูเพิ่มเติม »

ทามะ (เมือง)

ทามะ เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 21.08 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 147,171 ทะมะเป็นที่ตั้งของสวนสนุกซานริโอพูโรแลนด์ และสถานตากอากาศทามะฮิลล์เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: โตเกียวและทามะ (เมือง) · ดูเพิ่มเติม »

ทาจิกาวะ

ทาจิกาวะ เป็นเมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ประเทศญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม..

ใหม่!!: โตเกียวและทาจิกาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ เป็นสนามบินนานาชาติ ตั้งอยู่ที่เมืองนาริตะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการโดย บริษัทท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ซึ่งแปรสภาพมาจาก องค์การบริหารงานท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวแห่งใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นสนามบินหลักที่ให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เดินทางเข้าและออกจากประเทศญี่ปุ่น และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทวีปเอเชียและอเมริกา เป็นสนามบินที่รองรับเที่ยวบินสำหรับผู้โดยสารมากอันดับ 2 ของญี่ปุ่น (รองจากสนามบินฮะเนะดะ) เป็นสนามบินที่รองรับการขนส่งทางอากาศเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่นและอันดับ 3 ของโลก ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ และสายการบินนอร์ธเวสต์แอร์ไลน์ และยังเป็นท่าอากาศยานรองของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ อีกด้วย ท่าอากาศยานานาชาตินาริตะ เคยใช้ชื่อว่า New Tokyo International Airport (新東京国際空港 Shin-Tōkyō Kokusai Kūkō) จนกระทั่งปี..

ใหม่!!: โตเกียวและท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว

อาคาร 1 อาคาร 2 อาคารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว หรือรู้จักกันโดยทั่วไปว่า ท่าอากาศยานฮะเนะดะ ตั้งอยู่ที่เมืองโอตะ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น รองรับการบริการกรุงโตเกียว ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 18

ริสต์ศตวรรษที่ 18 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึง ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: โตเกียวและคริสต์ศตวรรษที่ 18 · ดูเพิ่มเติม »

คะสึชิกะ (โตเกียว)

ัตสึชิกะ เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ในปี 2008 มีจำนวนประชากรประมาณ 429,289 คน.

ใหม่!!: โตเกียวและคะสึชิกะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

คันโต

ันโต เป็นภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่นบนเกาะฮนชู ในภาคคันโตประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกุมมะ, คะนะงะวะ, ชิบะ, ไซตะมะ, โตเกียว, โทะชิงิ และ อิบะระกิ คันโตมีขนาดประมาณ 32,423.85 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเป็นที่ราบลุ่มประมาณร้อยละ 40 และที่เหลือมีลักษณะเป็นภูเขา ภาคคันโตมีประชากรประมาณ 41,487,171 คน (วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: โตเกียวและคันโต · ดูเพิ่มเติม »

คิตะ (โตเกียว)

ตะ เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงโตเกียว จึงเป็นที่มาของคำว่า "คิตะ" ซึ่งแปลว่า "เหนือ" ในปี 2008 เขตคิตะมีจำนวนประชากรประมาณ 332,140 คน มีความหนาแน่น 16,140 คน ต่อตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: โตเกียวและคิตะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

คิโยะเซะ

ซะ เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นมีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 10.19 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและคิโยะเซะ · ดูเพิ่มเติม »

คูนิตาจิ

ูนิตาจิ เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 8.15 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและคูนิตาจิ · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว

ห้องค้าหลักของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ซึ่งปัจจุบันดำเนินการโดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (Tokyo Stock Exchange (TSE), /โตเกียวโชเก็นโทริฮิกิโจะ/) เป็นตลาดหลักทรัพย์ ตั้งอยู่ในกรุง โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดดำเนินการเมื่อ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1878, และเริ่มซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อ1 มิถุนายน ของปีเดียวกัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลาดปิดไประยะหนึ่ง หลังจัดรูปองค์กรใหม่ตลาดก็เปิดดำเนินอีกครั้งในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1949.

ใหม่!!: โตเกียวและตลาดหลักทรัพย์โตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ซิดนีย์

ซิดนีย์ เป็นเมืองหลวงของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย มีประชากรมากว่า 4 ล้านคนและเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในออสเตรเลีย ซิดนีย์ ตั้งขึ้นเมืองปี..

ใหม่!!: โตเกียวและซิดนีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ซูมิดะ (โตเกียว)

แขวงซูมิดะ เป็น 1 ใน 23 แขวงพิเศษของโตเกียว ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและซูมิดะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ซูงินามิ (โตเกียว)

ซูงินามิ เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและซูงินามิ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ประถมศึกษา

ประถมศึกษา (ย่อว่า ป.; elementary education; primary education) เป็นลำดับการศึกษาขั้นที่ 2 ถัดจากการศึกษาปฐมวัย และแบ่งเป็น 2 ช่วงชั้น คือ ช่วงประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 3 เรียกว่าประถมศึกษาตอนต้น (มักเรียกโดยย่อว่า ป.ต้น) เทียบเท่ากับ grade 1-3 และช่วงประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 เรียกว่าประถมศึกษาตอนปลาย (มักเรียกโดยว่า ป.ปลาย) เทียบเท่ากับ grade 4-6.

ใหม่!!: โตเกียวและประถมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: โตเกียวและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: โตเกียวและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เกาะความร้อน

ตเกียว, กรณีปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง อุณหภูมิปกติของโตเกียวที่สูงกว่าบริเวณใกล้เคียง. ปรากฏการณ์เกาะความร้อน หรือ เกาะความร้อนเมือง (urban heat island: UHI) คือปรากฏการณ์ที่พื้นที่ในมหานครมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณโดยรอบอย่างมีนัย ความแตกต่างของอุณหภูมิที่สูงกว่าดังกล่าวจะชัดเจนในตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวัน ในฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อนและเมื่อไม่มีลมหรือมีลมพัดอ่อน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเกาะความร้อนเมืองคือการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของแผ่นดินที่เกิดจากการพัฒนาเมืองซึ่งใช้วัสดุที่ทำให้เกิดการสะสมกันของความร้อนประกอบกับความร้อนที่ปล่อยออกจากการใช้พลังงานตามอาคารสถานที่ต่างๆ เมื่อศูนย์กลางประชากรของเมืองเพิ่ม การเปลี่ยนแปลงผิวพื้นแผ่นดินก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเพิ่มอุณหภูมิทั่วไปโดยเฉลี่ย ผลของปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมืองทำให้ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในบริเวณใต้ลมที่ห่างจากใจกลางเมืองออกไปประมาณ 60 กิโลเมตรเพิ่มขึ้นจากปกติประมาณร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับบริเวณพื้นที่เหนือลม.

ใหม่!!: โตเกียวและปรากฏการณ์เกาะความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทเอโดะ

ปราสาทเอโดะ (江戸城, Edo Castle) เป็นปราสาทที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น เพราะเคยใช้เป็นที่พักของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เริ่มก่อสร้างในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและปราสาทเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: โตเกียวและปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โตเกียวและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นกนางนวลหัวดำ

นกนางนวลหัวดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chroicocephalus ridibundus) เป็นนกนางนวลขนาดเล็กที่กระจายพันธุ์อยู่ส่วนมากในยุโรปและบ้างในเอเชีย ตลอดจนชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศแคนาดา ประชากรส่วนใหญ่ของนกพันธุ์นี้เป็นนกอพยพ ซึ่งจะอพยพลงมาทางใต้ในฤดูหนาว แต่ก็มีบางส่วนที่ไปอาศัยอยู่ทางสุดตะวันตกของยุโรป และบางส่วนอพยพไปถึงทางชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือในฤดูหนาว ไข่ของนกนางนวลหัวดำถือเป็นอาหารราคาแพงในสหราชอาณาจักร รับประทานโดยการต้มน้ำเดือ.

ใหม่!!: โตเกียวและนกนางนวลหัวดำ · ดูเพิ่มเติม »

นะกะโนะ (โตเกียว)

นะกะโนะ เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและนะกะโนะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: โตเกียวและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

นิชิโตเกียว

นิชิโตเกียว เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดโตเกียว ฝั่งโตเกียวตะวันตก ในประเทศญี่ปุ่น เมืองก่อตั้งขึ้นเมื่อ 21 มกราคม..

ใหม่!!: โตเกียวและนิชิโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โตเกียวและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: โตเกียวและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำซูมิดะ

แม่น้ำซูมิดะในช่วงเขตอะดะจิ กรุงโตเกียว แม่น้ำซูมิดะ (隅田川, Sumida-gawa) เป็นแม่น้ำที่แยกออกมาจากแม่น้ำอะระกะวะ ไหลผ่านกรุงโตเกียวออกสู่อ่าวโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แม่น้ำซูมิดะแยกออกเป็นแม่น้ำสาขาอีกสองสายคือ แม่น้ำคันดะ และแม่น้ำชะกุจิอ.

ใหม่!!: โตเกียวและแม่น้ำซูมิดะ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเอะโดะ

แม่น้ำเอะโดะช่วงไหลผ่านเมืองนะงะเระยะมะ จังหวัดชิบะ แม่น้ำเอะโดะ ชื่อเดิมแม่น้ำฟุโตะ เป็นแม่น้ำในภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น แยกมาจากแม่น้ำโทะเนะทางตอนเหนือของเมืองนะริตะ ไหลผ่าน จังหวัดอิบะระกิ จังหวัดชิบะ จังหวัดไซตะมะ กรุงโตเกียว และไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวโตเกียว มีความยาวทั้งสิ้น 59.5 กิโลเมตร เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดชิบะ โตเกียว ไซตะมะ ราวปี ค.ศ. 1654 ในยุคของรัฐบาลโชกุนโทะกุกะวะ ได้ทำการขุดแยกแม่น้ำสายนี้ออกมาจากแม่น้ำโทะเนะ เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองเอะโดะซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจของฝ่ายโชกุน แม่น้ำเอะโดะมีความสำคัญทางด้านการขนส่งสินค้า จนถึงยุคศตวรรษที่ 20 จึงถูกลดความสำคัญด้านการขนส่งลงเนื่องจากการคมนาคมทางบกในภูมิภาคแห่งนี้เข้ามาทดแทน เช่น ถนน รถไฟ ในปัจจุบันแม่น้ำเอะโดะ เป็นแม่น้ำสายสำคัญในการระบายน้ำจากครัวเรือนของกรุงโตเกียวออกสู่ทะเล โตเกียวดิสนีย์แลนด์สถานที่ท่องเที่ยวระดับโลกก็ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเอ.

ใหม่!!: โตเกียวและแม่น้ำเอะโดะ · ดูเพิ่มเติม »

แลนด์แซท 7

วเทียม Landsat-7 เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของสหรัฐอเมริกา โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบ 3 หน่วยงานคือองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Aeronautics and Space Administration: NASA) องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) และกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2542 สูงจากพื้นโลก 705 ก.ม. โคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ในแนวเหนือใต้และโคจรซ้ำบริเวณเดิมทุก 16 วัน อุปกรณ์บันทึกข้อมูลระบบ Enhanced Thematic Mapper Plus (ETM+) ซึ่งประกอบด้วยระบบบันทึกข้อมูลหลายช่วงคลื่น (Multispectral) รายละเอียดภาพ 30 เมตร และระบบบันทึกข้อมูลช่วงคลื่อนเดียว (Panchromatic) รายละเอียดภาพ 15 เมตร.

ใหม่!!: โตเกียวและแลนด์แซท 7 · ดูเพิ่มเติม »

แขวงพิเศษของโตเกียว

แขวงพิเศษ เป็นเขตการปกครองระดับเทศบาลในมหานครโตเกียวซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 23 แขวง โดยในอดีตถือเป็นส่วนของเมืองโตเกียว อันเป็นเมืองเอกของจังหวัดโตเกียว (東京府 โตเกียว-ฟุ) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและแขวงพิเศษของโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

แปะก๊วย

''Ginkgo biloba'' แปะก๊วย (;) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราว..

ใหม่!!: โตเกียวและแปะก๊วย · ดูเพิ่มเติม »

โชฟุ

ฟุ เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 21.53 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและโชฟุ · ดูเพิ่มเติม »

โชกุน

กุน เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการทหารแห่งญี่ปุ่นระหว่าง..

ใหม่!!: โตเกียวและโชกุน · ดูเพิ่มเติม »

โยโกฮามะ

นครโยโกฮามะ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองเรียงตามประชากรของประเทศญี่ปุ่นรองจากกรุงโตเกียว และยังถือเป็นเขตเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดของญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองเอกของจังหวัดคานางาวะ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวโตเกียวทางใต้ของกรุงโตเกียวในภาคคันโตบนเกาะหลักฮนชู โยโกฮามะถือเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่สำคัญของเขตอภิมหานครโตเกียว.

ใหม่!!: โตเกียวและโยโกฮามะ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: โตเกียวและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โอลิมปิกฤดูร้อน 1964

อลิมปิกฤดูร้อน 1964 หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 15 เป็นงานแข่งขันกีฬาหลายประเภทระหว่างประเทศจัดขึ้นในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 2 ถึง 18 ตุลาคม..

ใหม่!!: โตเกียวและโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 · ดูเพิ่มเติม »

โอลิมปิกฤดูร้อน 2020

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (2020年夏季オリンピック) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 29 (第三十二回オリンピック競技大会) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ โตเกียว 2020 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญในประเพณีโอลิมปิก ควบคุมโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ซึ่งจัดในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: โตเกียวและโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 · ดูเพิ่มเติม »

โอตะ (โตเกียว)

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ โอตะ (แก้ความกำกวม) แขวงโอตะ เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและโอตะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

โอซากะ

อซากะ เป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซากะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น นครโอซากะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซากะ และทะเลเซะโตะ โอซากะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: โตเกียวและโอซากะ · ดูเพิ่มเติม »

โอเมะ

อเมะ เป็นเมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ทางทิศตะวันตกของกรุงโตเกียว สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1951 จากการรวมหมู่บ้านขนาดเล็กหลายหมู่บ้านรวมกับเมืองโอเมะเดิม เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในเรื่องบ๊วย ปัจจุบันมีจำนวนประชากร 139,932 คน.

ใหม่!!: โตเกียวและโอเมะ · ดูเพิ่มเติม »

โทชิมะ (โตเกียว)

ทชิมะ เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดกับเขตเนะริมะ อิตะบะชิ เขตคิตะทางทิศเหนือ เขตชินจูกุและบุงเคียวทางทิศใต้ เขตโทะชิมะก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม..

ใหม่!!: โตเกียวและโทชิมะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอยาซุ

ทกูงาวะ อิเอยาซุ คือผู้สถาปนาบะกุฟุ (รัฐบาลทหาร) ที่เมืองเอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) และเป็นโชกุนคนแรกจากตระกูลโทกูงาวะที่ปกครองประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ้นสุด ศึกเซะกิงะฮะระและเริ่มต้นยุคเอะโดะ เมื่อปี..

ใหม่!!: โตเกียวและโทกูงาวะ อิเอยาซุ · ดูเพิ่มเติม »

โทรเลข

การส่งโทรเลขสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โทรเลข อดีตเรียก ตะแล็บแก๊บ (Telegraph) คือระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกันและอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (radio telegraph, wireless telegraph หรือ continuous wave ย่อว่า CW).

ใหม่!!: โตเกียวและโทรเลข · ดูเพิ่มเติม »

โคกูบุนจิ

กูบุนจิ เป็นเมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 11.48 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 117,335 คน ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและโคกูบุนจิ · ดูเพิ่มเติม »

โคมาเอะ

มาเอะ เป็นเมืองในเขตทะมะ ทางตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 6.39 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและโคมาเอะ · ดูเพิ่มเติม »

โคงาเนอิ

งาเนอิ เป็นเมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 11.33 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 116,055 คน ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและโคงาเนอิ · ดูเพิ่มเติม »

โคโต (โตเกียว)

ต เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกจากศูนย์กลางเมืองโตเกียวโดยมีแม่น้ำซุมิดะเป็นแนวเขตทางทิศตะวันตก แม่น้ำอะระกะวะเป็นแนวเขตทางทิศตะวันออก ทางทิศใต้ติดกับอ่าวโตเกียว ในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและโคโต (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

โคไดระ

ระ เป็นเมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ประเทศญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: โตเกียวและโคไดระ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: โตเกียวและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียวทาวเวอร์

ตเกียวทาวเวอร์ (東京タワー; โทเกียวทะวา; Tokyo Tower) คือหอคอยสื่อสารขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตมินะโตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีความสูง 332.6 เมตร (1,091 ฟุต) สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม..

ใหม่!!: โตเกียวและโตเกียวทาวเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียวตะวันตก

แผนที่จังหวัดโตเกียวในปัจจุบัน สีเหลืองแสดงถึง 23 เขตปกครองพิเศษในโตเกียว และสีเขียวแสดงถึงเมืองและหมู่บ้านอื่นในจังหวัดโตเกียว โตเกียวตะวันตก หรือ ฝั่งทะมะ หมายถึงส่วนตะวันตกของจังหวัดโตเกียว นอกเหนือจาก 23 เขตในโตเกียวและหมู่เกาะ อันประกอบด้วยเขตปกครองส่วนท้องถิ่นชนิดเมือง 26 เมือง ชนิดเมืองเล็ก 3 เมือง และชนิดหมู่บ้านอีก 1 หมู่บ้าน.

ใหม่!!: โตเกียวและโตเกียวตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียวเมโทร

ตเกียวเมโทร เป็นหนึ่งในสองระบบขนส่งมวลระบบรางใต้ดินสายหนึ่งในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในระบบขนส่งมวลชนใต้ดินที่มีผู้โดยสารเดินทางมากที่สุดในโลก โดยในปี..

ใหม่!!: โตเกียวและโตเกียวเมโทร · ดูเพิ่มเติม »

โซล

ซล (ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคนซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คน นครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554 สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาต.

ใหม่!!: โตเกียวและโซล · ดูเพิ่มเติม »

ไทโต (โตเกียว)

ทโต เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขตไทโตมีพื้นที่ 10.08 ตารางกิโลเมตร ในพ.ศ. 2551 เขตไทโตมีประชากร 175,346 คน และความหนาแน่นประชากร คนต่อตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: โตเกียวและไทโต (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ไคโร

ร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ไคโร (القاهرة; Cairo) เป็นเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ ไคโรมีประชากรประมาณ 15.2 ล้านคน ซึ่งเป็นเมืองที่ประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นแห่งหนึ่งในโลก ชื่อเมือง "ไคโร" ในภาษาอาหรับมีความหมายว่า "ชัยชนะ" โดยความเชื่อว่าเกิดจากที่มีการมองเห็นดาวอังคารในช่วงที่ก่อสร้างเมือง และดาวอังคารเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการทำลายล้าง อย่างไรก็ตามในอีกความเชื่อหนึ่ง ชื่อไคโรมาจากที่เมืองไคโรเป็นเมืองที่รบชนะทุกกองทัพที่มาตีเมืองไคโร รวมไปถึงกองทัพมองโกล กองทัพครูเสด หรือแม้แต่กองทัพออตโตมัน.

ใหม่!!: โตเกียวและไคโร · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: โตเกียวและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะฮนชู

นชู (สำเนียงญี่ปุ่นอ่านว่า) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นพื้นที่กว่าร้อยละ 60 ของประเทศญี่ปุ่น มีพื้นที่ 227,962.59 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเกาะอังกฤษเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 1,300 กิโลเมตร ความกว้างตั้งแต่ 50-250 กิโลเมตร มีชายฝั่งติดทะเลยาวกว่า 5,450 กิโลเมตรรอบเกาะGeography of the World. Dorling kindersley: London, 2003.

ใหม่!!: โตเกียวและเกาะฮนชู · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: โตเกียวและเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวงญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีเมืองหลวง (首都 ชุโตะ หรือ 都 มิยะโกะ) มานับต่อนับ แต่ส่วนมากจะอยู่ในยุคโบราณ และจะอยู่ในภาคคันไซทั้งหมด ยกเว้นโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ เมืองหลวงที่ไม่ใช่เมืองโตเกียว ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศคือ เฮอังเกียว ซึ่งเป็นยุคที่ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีการประดิษฐ์ตัวอักษรญี่ปุ่น โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรจีน ผู้คนเริ่มที่จะสวมใส่กิโมโน ซึ่งในยุคก่อนหน้านั้น ชาวญี่ปุ่นยังแต่งตัวแบบจีนอยู.

ใหม่!!: โตเกียวและเมืองหลวงญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เมืองของญี่ปุ่น

มือง ในประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นหน่วยการบริหารงานของรัฐ โดยที่เมืองในญี่ปุ่นจะอยู่ในระดับเดียวกับตำบล และหมู่บ้าน หรือกล่าวคือ แต่ละเมือง,ตำบล และ หมู่บ้าน จะมีการพื้นที่และการบริหารงานแยกส่วนกันอย่างเป็นเอกเทศ ไม่ขึ้นต่อกัน ซึ่งการปกครองในลักษณะนี้ถูกกำหนดขึ้นโดยกฎหมายจัดการตนเองของท้องถิ่น..

ใหม่!!: โตเกียวและเมืองของญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เมงูโระ (โตเกียว)

มงูโระ เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขตเมงูโระเป็นที่ตั้งของสถานทูตและสถานกงสุลต่างประเทศ 15 แห่ง มีย่านคากิโนกิซากะ (Kakinokizaka) ซึ่งย่านพักอาศัยที่หรูหราที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงโตเกียว มีพื้นที่ 14.70 ตารางกิโลเมตร ในพ.ศ. 2551 เขตเมะงุโระมีประชากร 261,033 คน คิดเป็นความหนาแน่นประชากร 17,757 คนต่อตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: โตเกียวและเมงูโระ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

วลามาตรฐานญี่ปุ่น (JST; 日本標準時 หรือ 中央標準時) เป็นเขตเวลามาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น และเร็วกว่า UTC 9 ชั่วโมง ยกตัวอย่างเช่น หาก UTC เป็นเวลาเที่ยงคืน (00:00) ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นเวลา 09:00 ประเทศญี่ปุ่นไม่มีการใช้เวลาออมแสง ถึงแม้ว่าระหว่างปี..

ใหม่!!: โตเกียวและเวลามาตรฐานญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เอโดงาวะ (โตเกียว)

แขวงเอโดงาวะ เป็น 1 ใน 23 แขวงการปกครองพิเศษของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งชื่อตามแม่น้ำเอะโดะที่ไหลผ่านจากทิศเหนือลงทิศใต้ทางทิศตะวันออกของแขวง เป็นแขวงที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกที่สุดของกรุงโตเกียว โดยมีอาณาแขวงติดต่อกับเมืองอุระยะซุ และเมืองอิชิกะวะของจังหวัดชิบะ ทางทิศตะวันออก ติดกับแขวงคะสึชิกะ ทางทิศเหนือติดกับแขวงซุมิดะ และทางทิศตะวันตกติดกับแขวงโคโต.

ใหม่!!: โตเกียวและเอโดงาวะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

เฮอังเกียว

''Heian-kyō'' เฮอังเคียว หรือ เฮอังเกียว คืออดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1337(ค.ศ. 794) โดยสมเด็จพระจักรพรรดิคังมุ ในจังหวัดเคียวโตะ หรือ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศนานถึง 1074 ปี ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นโตเกียว ในปี พ.ศ. 2411.

ใหม่!!: โตเกียวและเฮอังเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เขตอภิมหานครโตเกียว

ตอภิมหานครโตเกียว หมายถึงพื้นที่ของโตเกียวและปริมณฑล ตั้งอยู่ในภาคคันโต ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเขตมหานครที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ตามด้วย เขตมหานครเคฮันชิง ตามประมาณการของสหประชาชาติในปี 2014 เขตอภิมหานครนี้มีประชากรกว่า 37,883,000 คน ทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นและถือเป็นเขตปริมณฑลที่มีขนาดประชากรมากที่สุดของโลก ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 13,500 ตารางกิโลเมตร และมีความหนาแน่นประชากรอยู่ที่ 2,642 คน/ตารางกิโลเมตร มากกว่าความหนาแน่นประชากรของบังกลาเทศถึงเท่าตัว เขตอภิมหานครโตเกียวยังเป็นเขตปริมณฑลที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่าจีดีพี (ตัวเงิน) ในปี 2008 ราว 53 ล้านล้านบาท (165 ล้านล้านเยน) และจากการวิจัยที่ตีพิมพ์โดย PricewaterhouseCoopers เขตอภิมหานครโตเกียว มีจีดีพี (อำนาจซื้อ) 1.479 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้เขตมหานครโตเกียวกลายเป็นเขตเมืองที่มีกำลังการบริโภคสูงสุดสุดในโลก.

ใหม่!!: โตเกียวและเขตอภิมหานครโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องปรับอากาศ

รื่องปรับอาก.หรือภาษาปากว่า แอร์กี่(Air conditioner, aircon) คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปรับอุณหภูมิของอากาศในเคหสถาน เพื่อให้มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในที่ที่ไม่ร้อนหรือไม่เย็นจนเกินไป หรือใช้รักษาภาวะอากาศให้คงที่เพื่อจุดประสงค์อื่น เคหสถานในเขตศูนย์สูตรหรือเขตร้อนชื้นมักมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิให้เย็นลง ตรงข้ามกับในเขตอบอุ่นหรือเขตขั้วโลกใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น (อาจเรียกว่า เครื่องทำความร้อน) เครื่องปรับอากาศมีทั้งแบบตั้งพื้น ติดผนัง และแขวนเพดาน ทำงานด้วยหลักการการถ่ายเทความร้อน กล่าวคือ เมื่อความร้อนถ่ายเทออกไปข้างนอก อากาศภายในห้องจะมีอุณหภูมิลดลง เป็นต้น และเครื่องปรับอากาศอาจมีความสามารถในการลดความชื้นหรือการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้ว.

ใหม่!!: โตเกียวและเครื่องปรับอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

เซาเปาลู

นตัวเมืองเซาเปาลู right right right เซาเปาลู (São Paulo) เป็นเมืองหลวงของรัฐเซาเปาลู ประเทศบราซิล เมืองนี้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกตามจำนวนประชากร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งที่สุดในประเทศ ชื่อเซาเปาลูเป็นภาษาโปรตุเกส มีความหมายว่า "นักบุญพอล" เซาเปาลูมีเนื้อที่ 1,523 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 10,886,518 คน ซึ่งทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ และซีกโลกใต้ (เขตมหานคร: ประมาณ 19 ล้านคน) เซาเปาลูเดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1554 โดยคณะมิชชันนารีนิกายเยซูอิตชาวโปรตุเกส ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โปรตุเกสก็เริ่มเข้ามาขยายอำนาจในอเมริกาใต้ (ภายในเขตที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาตอร์เดซียัส) โดยส่งคณะนักสำรวจเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้และค้นหาทองคำ เพชร และทรัพยากรอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้เซาเปาลูขยายตัวมากขึ้น จนในที่สุดก็ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1711 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คลื่นผู้อพยพจากประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน เยอรมนี และประเทศอื่น ๆ ก็เริ่มเข้ามาในเซาเปาลูเพื่อทำงานในไร่กาแฟภายในรัฐ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การค้ากาแฟตกต่ำลง ผู้ประกอบการจึงเริ่มหันไปลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมในเมือง โดยในครึ่งแรกของศตวรรษ นอกจากชาวยุโรปแล้ว ชาวญี่ปุ่นและชาวอาหรับก็อพยพเข้ามาด้วย และตลอดศตวรรษเดียวกันนี้ เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเซาเปาลูก็เป็นตัวดึงดูดให้ประชากรจากรัฐอื่น ๆ ที่ยากจนในบราซิลเข้ามาทำงานในเมืองนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: โตเกียวและเซาเปาลู · ดูเพิ่มเติม »

เซตางายะ (โตเกียว)

ซตางายะ เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและมีพื้นที่มากเป็นอันดับสองของกรุงโตเกียว ในปี 2008 คาดว่ามีจำนวนประชากรประมาณ 826,139 คน.

ใหม่!!: โตเกียวและเซตางายะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

เนริมะ (โตเกียว)

นริมะ เป็น 1 ใน 23 เขตการปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 48.16 ตารางกิโลเมตร ในปี 2010 มีจำนวนประชากรประมาณ 713,995 คน (เป็นเจ้าของบ้าน 323,296 คน) ในจำนวนนี้มีชาวต่างชาติกว่า 12,897 คน และ 18.4% ของผู้อาศัยในเขตนี้เป็นผู้ที่มีอายุสูงกว่า 65 ปี เขตเนริมะถือเป็นจุดจำเนิดการ์ตูนอะนิเมะที่สำคัญของญี่ปุ่น ทั้งนี้มีบริษัทผลิตอะนิเมะจำนวนมากตั้งอยู่ในเขตนี้ เช่น โตเอแอนิเมชัน, แกลลอป, มุชิโปรดักชั่น, เอไอซี.

ใหม่!!: โตเกียวและเนริมะ (โตเกียว) · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:JP

ISO 3166-2:JP เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 47 จังหวัด (prefecture).

ใหม่!!: โตเกียวและISO 3166-2:JP · ดูเพิ่มเติม »

24 กรกฎาคม

วันที่ 24 กรกฎาคม เป็นวันที่ 205 ของปี (วันที่ 206 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 160 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โตเกียวและ24 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

9 สิงหาคม

วันที่ 9 สิงหาคม เป็นวันที่ 221 ของปี (วันที่ 222 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 144 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โตเกียวและ9 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

TokyoTokyo MetropolisTokyo, Japanกรุงโตเกียวมหานครโตเกียวจังหวัดโตเกียวนครเอะโดะโทเกียวโตเกียว (เมือง)เมืองเอโดะเอะโดะเอโดะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »