โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลาดตีนทวีป

ดัชนี ลาดตีนทวีป

วนของท้องทะเล ลาดตีนทวีป (continental rise) เป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดทวีปไปจนถึงพื้นท้องสมุทร (seabed) มีลักษณะเป็นที่ราบเรียบและอาจมีความชันเล็กน้อย และอาจมีบางส่วนลึกหรือเป็นที่สูงต่ำ เกิดจากการตกทับถมของตะกอนต่าง ๆ ที่พัดพามากับกระแสน้ำ บ้างปรากฏเป็นเขาก้นสมุทร (abyssal hill) ไม่สูงมาก พบได้ทั่วไป บางส่วนของลาดตีนทวีปนั้นก็มีความราบเรียบเท่ากันกับพื้นท้องมหาสมุทรที่เป็นพื้นที่ของมหาสมุทรนั้นมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลายอันได้แก่ สันเขา ที่ราบสูง แอ่ง ภูเขา เช่น เทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทอดยาวจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติก มีบางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำทะเลกลายเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์สหรือหมู่เกาะฮาวาย ลักษณะภูมิประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ภูเขาใต้ทะเล พบที่พื้นท้องมหาสมุทร บางลูกมียอดตัด เรียกว่า เขายอดราบใต้สมุทร (guyout) พบมากบริเวณตอนกลางและด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างหมู่เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวาย สำหรับยอดเขายอดราบใต้สมุทรนั้นมักอยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200–1,800 เมตร ส่วนของมหาสมุทร(ลาดทวีป).

13 ความสัมพันธ์: ก้นทะเลภูเขาภูเขาใต้ทะเลมหาสมุทรรัฐฮาวายลาดทวีปสันเขาอะโซร์สทวีปแอนตาร์กติกาประเทศไอซ์แลนด์เกาะเทือกเขากลางสมุทรเขายอดราบใต้สมุทร

ก้นทะเล

วนของก้นสมุทร ก้นสมุทร (seabed) อาจเรียกว่า พื้นท้องมหาสมุทร หรือ ก้นสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทรและเป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดตีนทวีปเป็นต้นไป เป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของพื้นที่ใต้ทะเลจึงมีขนาดกว้างขว้างมาก มีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย มีพื้นที่ราบเรียบเป็นส่วนใหญ่แต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วยเช่นกัน ได้แก่ หุบผาชันใต้ทะเล เทือกเขากลางสมุทร ที่ราบสูง แอ่งมหาสมุทร ภูเขา เช่น เทือกเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติกา บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์ส เกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ สันเขานี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร ส่วนแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทรขนาดใหญ่นั้นก็คือบริเวณอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดง ระดับความลึกของน้ำบริเวณนี้จะลึกประมาณ 4,000-6,000 เมตร ส่วนของมหาสมุทร (พื้นท้องมหาสมุทร).

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและก้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขา

ทือกเขาร็อกกี ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาใต้ทะเล

ูเขาใต้ทะเล คือภูเขาที่อยู่บนพื้นทะเลและมีความสูงต่ำกว่าระดับน้ำทะเลซึ่งไม่ใช้เกาะ, เกาะเล็กและหน้าผา ภูเขาใต้ทะเลมักเกิดจากภูเขาไฟที่ดับแล้วที่ปะทุขึ้นอย่างกระทันหันซึ่งปกติแล้วจะตั้งสูงขึ้นมาประมาณ 1,000-4,000 เมตรเหนือพื้นทะเล นักสมุทรศาสตร์กำหนดได้กำหนดลักษณะคร่าว ๆ คือสูงเหนือพื้นทะเลอย่างน้อย 1,000 เมตรและมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยIHO, 2008.

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและภูเขาใต้ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทร

การแบ่งมหาสมุทรตามแบบต่างๆ แผ่นที่กายภาพก้นทะเล มหาสมุทร (ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน มวลน้ำเค็มปกคลุมประมาณ 72% ของพื้นผิวโลก (~3.6 กม.2) และถูกแบ่งเป็นมหาสมุทรหลัก ๆ และทะเลขนาดเล็กอีกหลายแห่ง โดยมหาสมุทรจะครอบคลุมพื้นที่โลกประมาณ 71% มหาสมุทรประกอบด้วยน้ำของโลก 97% และนักสมุทรศาสตร์กล่าวว่ามหาสมุทรในโลกเพิ่งได้มีการสำรวจไปได้เพียง 5% เท่านั้น ปริมาตรสุทธิมีประมาณ 1.35 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (320 ล้านลูกบาศก์ไมล์) มีความลึกเฉลี่ยที่ เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาคของโลก มหาสมุทรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรคาร์บอน และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ส่วนมากยังคงไม่ถูกสำรวจ และเชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ในนั้น จุดกำเนิดของมหาสมุทรนั้นยังไม่มีคำตอบ แต่มีความคิดว่ามันเกิดขึ้นในบรมยุคเฮเดียน และอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต.

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฮาวาย

รัฐฮาวาย (Hawaii,, ภาษาฮาวาย: Hawaii) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในหมู่เกาะฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก ฮาวายได้รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับสุดท้ายคือลำดับที่ 50 ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยฮาวายตั้งห่างจากชายฝั่งสหรัฐอเมริกาประมาณ 3,700 กม.

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและรัฐฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

ลาดทวีป

วนของท้องทะเล ลาดทวีป (continental slope.) เป็นพื้นลาดต่อเนื่องจากขอบทวีป เริ่มจากขอบของไหล่ทวีปไปจนถึงลาดตีนทวีป (continental rise) มีความลาดชันมาก 65 องศาต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรทอดไปถึงระดับน้ำลึกประมาณ 3,600 เมตรหรือจนถึงจุดที่มีความชันน้อนกว่าจนเห็นเป็นสันชัดเจนนั้นคือส่วนแยกระหว่างลาดทวีปกับลาดตีนทวีป ความกว้างของลาดทวีปนั้นมีความกว้างไม่เท่ากันแต่ส่วนมากมีความกว้างโดยเฉลี่ยจะกว้างเป็น 2 เท่าของไหล่ทวีป ขอบนอกสุดของลาดทวีปจะติดต่อกับพื้นท้องมหาสมุทรหรือลาดตีนทวีป จะมีส่วนที่สามารถเห็นเป็นแนวที่เห็นได้ชัดเจน เพราะขอบของที่เป็นจุดต่อของลาดทวีปกับลาดตีนทวีปนั้นจะมีความชันน้อยกว.

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและลาดทวีป · ดูเพิ่มเติม »

สันเขา

ันเขาคือลักษณะทางธรณีวิทยาที่มีลักษณะเป็นภูเขาที่มีจุดสูงสุดยาวเป็นแนวต่อกันเป็นระยะทางหนึ่งโดยสันเขาจะเรียกว่าเนินเขาหรือเทือกเขาก็ขึ้นอยู่กับขนาดของสันเขานั้น ๆ สันเขาใหญ่ๆส่วนมากสามารถทำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนทางธรรมชาติและสามารถสร้างหรือกำหนดสภาพอากาศในบริเวณนั้น ๆ ได้อีกด้ว.

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและสันเขา · ดูเพิ่มเติม »

อะโซร์ส

อะโซร์ส (Azores) หรือ อาโซรึช (Açores) เป็นกลุ่มเกาะตั้งอยู่ตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ อยู่ทางตะวันตกของกรุงลิสบอนราว 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์) และอยู่ทางตะวันออกของชายฝั่งอเมริกาเหนือราว 3,900 กิโลเมตร (2,400 ไมล์) ประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟ เกาะใหญ่ 9 เกาะ และเกาะเล็ก ๆ อีกหลายเกาะ เกาะนี้เป็น 1 ใน 2 ของเขตการปกครองตนเองของโปรตุเกส มีอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญคือ การเกษตร กสิกรรม (ผลิตผลจากเนยและชีส) การประมง และการท่องเที่ยว เกาะที่ใหญ่ที่สุดชื่อเกาะเซามีแกล เมืองสำคัญได้แก่ เมืองปงตาแดลกาดาบนเกาะเซามีแกล เมืองออร์ตาบนเกาะไฟยัล และเมืองอังกราดูเอรูอิฌมูบนเกาะตืร์ไซรา จุดสูงสุดชื่อปีกูอัลตู บนเกาะปีกู สูง 2,351 เมตร.

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและอะโซร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอซ์แลนด์

อซ์แลนด์ (Iceland; อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-03 นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี..

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะ

กาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบซารานักล่าง เกาะ (island) เป็นพื้นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ มีขนาดเล็กกว่าทวีป อาจอยู่ในมหาสมุทร ทะเล ทะเลสาบ หรือแม่น้ำ เกาะขนาดเล็กเรียกว่า เกาะเล็ก (isle) ซึ่งรวมถึงอะทอลล์ (atoll) หรือ เกาะปะการังวงแหวน และ เกาะปริ่มน้ำ (key หรือ cay) ที่เป็นเกาะขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นน้ำ เกาะหลายเกาะที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า กลุ่มเกาะ (archipelago) อาจแบ่งเกาะได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เกาะริมทวีป (continental island) เกาะแม่น้ำ (river island) และ เกาะภูเขาไฟ (volcanic island) นอกจากนี้ยังมีเกาะเทียม (artificial island) ที่สร้างขึ้นโดยมนุษ.

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขากลางสมุทร

ตำแหน่งการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขากลางสมุทรของโลก จาก USGS เทือกเขากลางสมุทร เปลือกโลกใต้มหาสมุทรเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร ขณะที่ธรณีภาคชั้นนอกมุดลงไปยังฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร เทือกเขากลางสมุทร (mid-oceanic ridge) คือแนวเทือกเขาใต้ทะเลโดยจะมีแนวร่องหุบที่รู้จักกันในนามของร่องแยก (rift) ที่สันของแนวเทือกเขาซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน รูปแบบของเทือกเขากลางสมุทรนี้เป็นลักษณะที่รู้จักกันว่าเป็นแนว “ศูนย์กลางของการแยกแผ่ขยายออก” ซึ่งเป็นการแผ่ขยายออกของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร การยกตัวของพื้นมหาสมุทรเป็นผลเนื่องมาจากกระแสการพาความร้อน (convection currents) ซึ่งเป็นการดันตัวขึ้นมาของหินหนืดจากชั้นฐานธรณีภาคตามแนวที่อ่อนตัวของพื้นมหาสมุทรโดยการปะทุขึ้นมาในรูปของลาวา เกิดเป็นเปลือกโลกใหม่เมื่อเย็นตัวลง เทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกทางเทคโทนิกสองแผ่นและถือกันว่าเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว เทือกเขากลางสมุทรของโลกมีการเชื่อมต่อกันเกิดเป็นระบบแนวเทือกเขากลางสมุทรระบบหนึ่งของทุกๆมหาสมุทรทำให้ระบบเทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวเทือกเขาที่ยาวที่สุดของโลก แนวเทือกเขาที่ยาวต่อเนื่องกันนี้รวมกันแล้วมีความยาวทั้งสิ้นถึง 80,000 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและเทือกเขากลางสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

เขายอดราบใต้สมุทร

อดราบใต้สมุทร เขายอดราบใต้สมุทร (guyot) คือภูเขาใต้ทะเลชนิดหนึ่งมีลักษณะพิเศษคือบนยอดเขานั้นจะเป็นพื้นที่ราบเรียบมักพบในมหาสมุทรที่มีความลึก 1,200-1,800 เมตรบางแห่งอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างถึง 10 กิโลเมตร Encyclopædia Britannica Online, 2010.

ใหม่!!: ลาดตีนทวีปและเขายอดราบใต้สมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »