โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเพิ่มของระดับน้ำทะเล

ดัชนี การเพิ่มของระดับน้ำทะเล

แผนที่โลกโดยระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นหกเมตรแสดงด้วยสีแดง มีการประมาณว่าการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง +2.6 มิลลิเมตรถึง 2.9 มิลลิเมตร ± 0.4 มิลลิเมตรต่อปีนับแต่ปี 2536 นอกจากนี้ การเพิ่มของระดับน้ำทะเลยังเร่งขึ้นในปีหลัง ๆ ในระยะระหว่างปี 2413 ถึง 2547 มีการประมาณว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มรวม 195 มิลลิเมตร และ 1.7 มิลลิเมตร ± 0.3 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีความเร่งของการเพิ่มของระดับน้ำทะเลสำคัญ 0.013 มิลลิเมตร ± 0.006 มิลลิเมตรต่อปีต่อปี ตามการศึกษาการวัดหนึ่งซึ่งมีตั้งแต่ปี 2493 ถึง 2552 การวัดเหล่านี้แสดงการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1.7 มิลลิเมตร ± 0.3 มิลลิเมตรต่อปีในช่วงนี้ โดยข้อมูลดาวเทียมแสดงการเพิ่ม 3.3 มิลลิเมตร ± 0.4 มิลลิเมตรต่อปีตั้งแต่ปี 2536 ถึง 2552 การเพิ่มของระดับน้ำทะเลเป็นหลักฐานกระแสหลักอย่างหนึ่งซึ่งสนับสนุนทัศนะว่าสภาพภูมิอากาศของโลกเพิ่งร้อนขึ้น ในปี 2557 การประเมินสภาพภูมิอากาศแห่งชาติของ USGCRP ทำนายว่าเมื่อถึงปี 2643 การเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยจะอยู่ร่ะหว่าง 300 ถึง 1,200 มิลลิเมตรนับแต่วันที่มีการประเมินในปี 2557 อัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลปัจจุบันเพิ่มเป็นประมาณสองเท่าเทียบกับอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนปี 2535 ในปี 2550 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แถลงว่า เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าการร้อนขึ้นที่มนุษย์ชักนำมีส่วนให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มที่สังเกตในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รายงานของ IPCC ปี 2556 (AR5) สรุปว่า "มีความเชื่อมั่นสูงว่าอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเพิ่มระหว่างสองศตวรรษหลังสุด และเป็นไปได้ที่ GMSL (ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยโลก) เร่งขึ้นนับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1900" การเพิ่มของระดับน้ำทะเลสามารถมีอิทธิพลต่อประชากรมนุษย์ในพื้นที่ชายฝั่งและเกาะและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ระบบนิเวศทะเลพอสมควร คาดว่าการเพิ่มของระดับน้ำทะเลจะดำรงต่อไปอีกหลายศตวรรษ มีการประมาณว่ามนุษย์ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นแล้วประมาณ 2.3 เมตรต่ออุณหภูมิที่เพิ่มแต่ละองศาเซลเซียสภายใน 2,000 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีความเฉื่อยต่ำ และเวลาสนองตอบนานสำหรับบางส่วนของระบบสภาพภูมิอากาศ มีการเสนอแนะว่า นอกจากการลดการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์แล้ว การปฏิบัติระยะสั้นเพื่อลดการเพิ่มของระดับน้ำทะเล คือ การตัดการปล่อยแก๊สกักเก็บความร้อนอย่างมีเทนและละอองธุลีอย่างเขม.

5 ความสัมพันธ์: มีเทนองศาเซลเซียสคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก๊สเรือนกระจกโอโซน

มีเทน

มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.

ใหม่!!: การเพิ่มของระดับน้ำทะเลและมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: การเพิ่มของระดับน้ำทะเลและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2531 โดยองค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เป็นคณะที่ให้คำแนะนำแก่ผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสภาวการณ์ปัจจุบันขององค์ความรู้และให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน แต่ไม่ได้ดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ทบทวนรายงานที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่ตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ที่ได้รับการพิจารณาตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer reviewed) ในทุกๆ ปี และสรุป “สถานะขององค์ความรู้” เรื่องภาวะโลกร้อนในรายงานการประเมินซึ่งตีพิมพ์ทุกๆ 5 ปี หรือมากกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญประมาณ 1,000 คน โดยแบ่งคณะทำงาน 3 คณะ คือ.

ใหม่!!: การเพิ่มของระดับน้ำทะเลและคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเรือนกระจก

ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.

ใหม่!!: การเพิ่มของระดับน้ำทะเลและแก๊สเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

โอโซน

อโซน (Ozone หรือ O3) เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก และมีการใช้งานในทางอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ตามบ้านทั่วไป โอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดย คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1840 โดยตั้งชื่อตามภาษากรีกคำว่า ozein ซึ่งแปลว่ากลิ่น โอโซนเข้มข้นมีสีฟ้าที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure; STP) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง -112 °C โอโซนจะเป็นเป็นของเหลวสีน้ำเงิน และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่า -193 °C ก็จะกลายเป็นของแข็งสีดำ มนุษย์ได้นำโอโซนไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเคมีภัณฑ์ นำไปใช้เป็นสารซักฟอก ใช้ฆ่าแบคทีเรีย เป็นต้น ก๊าซโอโซนจัดเป็นก๊าซพิษ การสูดดมก๊าซโอโซนเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งแตกต่างจากคำว่าโอโซนที่บางครั้งถูกใช้ในบริบทของการท่องเที่ยวหรือการพักผ่อนหย่อนใจ เช่นในวลีว่า "สูดโอโซน", "รับโอโซน" หรือ "แหล่งโอโซน" เป็นต้น ถือว่าเป็นการใช้โอโซนผิดความหมาย เพราะความจริงแล้วโอโซนมีความเป็นพิษต่อมนุษย์ บริเวณที่มีโอโซนมากในประเทศไทย ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และย่านถนนสีลมในกรุงเทพมหานคร คำว่าโอโซนที่ใช้กันผิด ๆ จะหมายถึง ออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์ซึ่งดีต่อระบบการหายใจ ไม่ใช่ก๊าซโอโซนที่เป็นพิษ มีอันตรายต่อ.

ใหม่!!: การเพิ่มของระดับน้ำทะเลและโอโซน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »