โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธรณีวิทยาทางทะเล

ดัชนี ธรณีวิทยาทางทะเล

้าแผ่นเปลือโลกแยกตัวออกจะเกิดเทือกเขากลางสมุทรหากอีกแผ่นมุดลงใต้อีกแผ่นจะเกิดร่องลึกก้นสมุทร ธรณีวิทยาทางทะเล คือการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโครงสร้างของพื้นมหาสมุทรและศึกษาเกี่ยวข้องกับธรณีฟิสิกส์, ธรณีเคมี, ตะกอนวิทยาและบรรพชีวินวิทยาที่ค้นคว้าวิจัยและหาข้อมูลเกี่ยวกับพื้นมหาสมุทรและชายฝั่ง ธรณีสัณฐานวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในสาขาของธรณีฟิสิกส์และสมุทรศาสตร์กายภาพ การศึกษาเกี่ยวกับธรณีวิทยาทางทะเลมีความสำคัญมากในการหาข้อมูลและหลักฐานสำคัญเกี่ยวการขยายตัวของพื้นทะเลและเปลือกโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจากทะเลลึกเป็นพื้นที่สุดท้ายที่ยังไม่ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่โดยละเอียดจึงต้องเริ่มมีการสำรวจเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร (เรือดำน้ำ) วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ (ปิโตรเลียมและเหมืองแร่โลหะ) และวัตถุประสงค์ด้านการวิจั.

19 ความสัมพันธ์: บรรพชีวินวิทยาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิตก้นทะเลมหาสมุทรแปซิฟิกร่องลึกก้นสมุทรร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาวิทยาแผ่นดินไหววงแหวนไฟสงครามโลกครั้งที่สองหมู่เกาะรูปโค้งอิกซ์ตรีโมไฟล์ธรณีฟิสิกส์ธรณีเคมีทะเลลึกทะเลแดงปล่องแบบน้ำร้อนแผ่นแปซิฟิกเทือกเขากลางสมุทร

บรรพชีวินวิทยา

นักบรรพชีวินวิทยา บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิท.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและบรรพชีวินวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงการกระจายทางสถิติของรูปแบบสภาพอากาศเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นกินเวลานาน (เช่น หลายสิบปีถึงหลายล้านปี) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเฉลี่ย หรือความแปรผันของเวลาของสภาพอากาศเกี่ยวกับภาวะเฉลี่ยที่กินเวลานาน (คือ มีเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากขึ้นหรือน้อยลง) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีสาเหตุจากปัจจัยอย่างกระบวนการชีวนะ ความแปรผันของรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับ การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค และการปะทุของภูเขาไฟ กิจกรรมบางอย่างของมนุษย์ยังถูกระบุว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศล่าสุด มักเรียกว่า "โลกร้อน".

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (Abiogenesis) เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการทางธรรมชาติเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตบนโลก เช่น ปลาเกิดจากดินโคลนในแม่น้ำลำคลอง โดยสมมติฐานนี้ตั้งแต่สมัยอริสโตเติล ซึ่งฟรานเซสโก เรดิ และหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต สมมติฐานจึงไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ก้นทะเล

วนของก้นสมุทร ก้นสมุทร (seabed) อาจเรียกว่า พื้นท้องมหาสมุทร หรือ ก้นสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทรและเป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดตีนทวีปเป็นต้นไป เป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของพื้นที่ใต้ทะเลจึงมีขนาดกว้างขว้างมาก มีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย มีพื้นที่ราบเรียบเป็นส่วนใหญ่แต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วยเช่นกัน ได้แก่ หุบผาชันใต้ทะเล เทือกเขากลางสมุทร ที่ราบสูง แอ่งมหาสมุทร ภูเขา เช่น เทือกเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติกา บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์ส เกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ สันเขานี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร ส่วนแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทรขนาดใหญ่นั้นก็คือบริเวณอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดง ระดับความลึกของน้ำบริเวณนี้จะลึกประมาณ 4,000-6,000 เมตร ส่วนของมหาสมุทร (พื้นท้องมหาสมุทร).

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและก้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ร่องลึกก้นสมุทร

ปลือกโลกใต้มหาสมุทรจะเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทรขณะที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจะถูกมุดกลับเข้าไปในชั้นฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร ร่องลึกก้นสมุทร (oceanic trench) เป็นร่องหลุมลึกของพื้นผิวท้องทะเลที่มีลักษณะภูมิประเทศยาว แคบ และโค้ง และถือว่าเป็นส่วนของมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ร่องลึกก้นสมุทรถือเป็นหนึ่งในขอบเขตทางธรรมชาติที่สำคัญที่สุดบนพื้นผิวในส่วนที่เป็นของแข็งของโลกระหว่างแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น ขอบเขตระหว่างแผ่นธรณีภาคชั้นนอกมี 3 ประเภท คือ ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว (divergent boundary) (เป็นขอบเขตที่เกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร) ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (convergent boundary) (เป็นขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจมลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่งกลับลงไปสู่ชั้นเนื้อโลก) และขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกเคลื่อนที่ผ่านซึ่งกันและกัน (transform boundary) ร่องลึกก้นสมุทรเป็นลักษณะของขอบเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่โดดเด่นชัดเจน โดยเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยอัตราการลู่เข้าหากันที่แปรผันจากปีละไม่กี่มิลลิเมตรจนไปถึงสิบเซนติเมตรหรือมากกว่า ร่องลึกก้นสมุทรหนึ่งๆเป็นตำแหน่งที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกหนึ่งมีการโค้งมุดลงไปใต้แผ่นธรณีภาคชั้นนอกอีกแผ่นหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วร่องลึกก้นสมุทรจะขนานไปกับแนวหมู่เกาะรูปโค้ง (volcanic arc) และอยู่ห่างจากแนวหมู่เกาะรูปโค้งออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร โดยทั่วไปร่องลึกก้นสมุทรจะมีความลึกประมาณ 3 ถึง 4 กิโลเมตรลงไปจากพื้นมหาสมุทรรอบข้าง ส่วนที่ลึกที่สุดอยู่ที่ร่องลึกชาลเลนเจอร์ของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียน่าซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรใต้ระดับทะเล แผ่นธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทรจะเคลื่อนที่หายเข้าไปในร่องลึกก้นสมุทรด้วยอัตราประมาณ 10 ตารางเมตรต่อวินาที.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและร่องลึกก้นสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา

ตำแหน่งของร่องลึกบาดาลมาเรียนา ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา (Mariana Trench, Marianas Trench) เป็นชื่อธรณีวิทยาทางทะเลของร่องลึกก้นสมุทรที่ลึกที่สุดในโลก และเป็นจุดที่ต่ำที่สุดของเปลือกโลกเท่าที่ทราบกันในปัจจุบัน ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนามีตำแหน่งอยู่ที่ก้นมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และอยู่ในแนวตะวันออกและแนวใต้ของหมู่เกาะมาเรียนา ณ พิกัด 11° 21’ เหนือ และ 142° 12’ ตะวันออก ใกล้เกาะกวม.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาแผ่นดินไหว

วิทยาแผ่นดินไหว (seismology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และการกระจายตัวaของคลื่นแผ่นดินไหวภายใต้เปลือกโลก โดยเป็นสาขาหนึ่งของธรณีฟิสิกส์ geophysics) โดยมีนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาวิชานี้ เรียกว่า นักวิทยาแผ่นดินไหว (seismologist)ศึกษาวิทยาแผ่นดินไหว ช่วยให้มนุษยสามารถเข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบ และสถานะของส่วนภายในของโลกเราได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถพยากรณ์การเกิดผลกระทบจากแผ่นดินไหว เพื่อการเตือนภัยล่วงหน้า วิทยาแผ่นดินไหวยังศึกษาความไหวสะเทือนของโลก ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู เป็นต้น.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและวิทยาแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

วงแหวนไฟ

แผนที่วงแหวนไฟ การปะทุของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 วงแหวนไฟ (Ring of Fire) เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟคุกรุ่นทั้งโลก ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt แผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 90 ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่าร้อยละ 80 ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนไฟ นอกจากวงแหวนไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตรา ผ่านเทือกเขาหิมาลัย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 17 ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 5-6 ของทั้งโลก วงแหวนไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนัซกาและแผ่นโกโกส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนเดฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณหมู่เกาะอะลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียนา ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบูเกนวิลล์ ประเทศตองกา และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนไฟยังมีแนวต่อไปเป็นแนวแอลไพน์ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่ตั้งบนวงแหวนไฟนี้ ได้แก่ รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัสในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.0 เมื่อ..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและวงแหวนไฟ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะรูปโค้ง

หมู่เกาะรูปโค้ง (island arc) เป็นหมู่เกาะประเภทหนึ่งเกิดขึ้นจากเพลตเทคโทนิกด้วยแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่งทำให้เกิดหินหนืด (magma) หมู่เกาะรูปโค้งที่เกิดขึ้นตามขอบของแผ่นเปลือกทวีป (เช่น ส่วนใหญ่ของแอนดีส อเมริกากลาง แนวเทือกเขาแคนา) อาจเรียกว่า volcanic arc การสูญเสียของสารระเหยของแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัวในเขตมุดตัวของเปลือกโลกทำให้สิ่งหลอมเหลวบางส่วนของเนื้อโลกด้านบนเกิดเป็นหินหนืดของแคลซ์-อัลคาไลน์ที่มีความหนาแน่นต่ำจึงเบาตัวดันแทรกซอนขึ้นมาผ่านแผ่นชั้นธรณีภาคที่อยู่ด้านบน ผลได้ทำให้เกิดเป็นแนวภูเขาไฟเรียงรายยาวขนานไปกับขอบเขตรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่กำลังเคลื่อนที่ลู่เข้าหากันและโค้งออกด้านนอกเข้าหาแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัว ลักษณะนี้เป็นผลเนื่องมาจากหลักเรขาคณิตของการย่นตัวของแผ่นเปลือกโลกเป็นรูปทรงกลมไปตามแนวบนผิวทรงกลมหนึ่งๆ ด้านที่กำลังมุดตัวของหมู่เกาะรูปโค้งจะเป็นร่องลึกก้นสมุทรที่แคบและลึกซึ่งเป็นร่องรอยบนพื้นผิวโลกที่แสดงถึงขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัวกับแผ่นเปลือกโลกที่วางขี่ทับอยู่ด้านบน แนวร่องลึกนี้เกิดขึ้นจากการดึงโดยแรงโน้มถ่วงของแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัวซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าลากดึงลงไป มีการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวขอบเขตการมุดตัวนี้โดยมีจุดไฮโปเซนเตอร์ของการไหวสะเทือนอยู่ที่ระดับที่ลึกลงไปใต้แนวหมู่เกาะรูปโค้งนี้ เรียกแนวการเกิดไหวสะเทือนนี้ว่าแนววาดาติ-เบนนิออฟ (Wadati-Benioff) แอ่งมหาสมุทรที่กำลังลดขนาดลงด้วยการมุดตัวนี้เรียกว่า ‘มหาสมุทรส่วนที่เหลือ’ (remnant ocean) ด้วยมันกำลังหดตัวลงอย่างช้าๆและบดขยี้จากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก กระบวนการนี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดประวัติทางธรณีวิทยาของโลกใบนี้.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและหมู่เกาะรูปโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

อิกซ์ตรีโมไฟล์

อิกซ์ตรีโมไฟล์ (extremophile) มาจากภาษาละติน extremus หมายถึง "สุดขั้ว" และภาษากรีก philiā (φιλία) หมายถึง "รัก" เป็นสิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้ดีในภาวะสุดขั้วทางกายภาพหรือธรณีเคมีซึ่งเป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่บนโลก ในทางตรงข้าม สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สบายกว่าอาจเรียก เมโซไฟล์ (mesophile) หรือนิวโทรไฟล์ (neutrophile).

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและอิกซ์ตรีโมไฟล์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีฟิสิกส์

ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของธรณีวิทยา ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรณีวิทยา โดยใช้วิธีการทางกายภาพฟิสิกส์ ได้แก่ การศึกษาสมบัติและกระบวนการทางธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับภาคพื้นดิน อุทกภาค (hydrosphere) บรรยากาศ และความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีความหมายถึงการใช้เครื่องมือเพื่อศึกษาดวงจันทร์และดาวเคราะห์ด้วย ประเด็นปัญหาทางธรณีฟิสิกส์ยังคาบเกี่ยวกับเรื่องของทางดาราศาสตร์ด้วย เนื่องจากการศึกษานั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการสังเกตโดยตรง ต้องอาศัยการแปลความเชิงคณิตศาสตร์ จากการวัดเชิงกายภาพ เช่น การวัดสนามแรงโน้มถ่วงทั้งบนบกและในทะเล และดาวเทียมในอวกาศ การวัดสภาพแม่เหล็กของสนามแม่เหล็กบนดาวเคราะห์ และการสำรวจด้านวิทยาแผ่นดินไหว ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา โดยอาศัยคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว หรือวิธีการอื่นๆ ธรณีฟิสิกส์ยังแตกสาขาเป็นศาสตร์แขนงต่างๆ ได้แก่ วิทยาแผ่นดินไหว (seiesmology) ธรณีฟิสิกส์แปรสัณฐาน (tectonophysics) และธรณีฟิสิกส์เชิงวิศวกรรม (engineering geophysics) ธธรณีฟิสิกส์.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและธรณีฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีเคมี

รณีเคมี (Geochemistry) เป็นวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือและหลักการทางเคมี เพื่ออธิบายกลไกที่อยู่เบื้องหลังระบบธรณีวิทยาที่สำคัญ ๆ เช่น เปลือกโลก และมหาสมุทร ในขอบเขตของธรณีเคมีขยายไปไกลกว่าของโลก, การครอบคลุมทั้งระบบสุริยะ และมีส่วนร่วมสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆรวมถึง การพาความร้อนของเปลือกโลกในชั้นหลอมเหลว (Mantle convection),การก่อตัวของดาวเคราะห์และต้นกำเนิดของหินแกรนิต และหินบะซอลต.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและธรณีเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลลึก

ระดับชั้นทะเล ทะเลลึก(Deep sea) เป็นชั้นของระดับน้ำที่มีความลึกตั้งแต่ 200 เมตรลงไปซึ่งนับเป็น 70% ของน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกเป็นที่ ๆ มีแสงน้อยจนถึงไม่มีแสงเลยสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่อาจจะกินสารอินทรีย์หรือซากศพจากทะเลด้านบนด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เคยสันนิษฐานว่าจะชีวิตจำนวนน้อยมากในมหาสมุทรลึก แต่จากการตรวจสอบนั้นได้เปิดเผยว่ามันเป็นอะไรตรงกันข้ามกับการสันนิฐานนั้นเพราะมันมีสิ่งมีชีวิตมากมายในทะเลลึกลึกนอกจากนี้ยังสามารถเห็นการพัฒนาการที่ความหลากหลายมากมายของสิ่งมีชีวิตเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตอยู่อีกทั้งยังมีห่วงโซ่อาหารและขยะหรือจากซากสัตว์ แบคทีเรียต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงประมาณปลายศตวรรษที่ 19 มนุษย์เชื่อว่าใต้ทะเลลึกนั้นไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ จนกระทั่งช่วง..

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและทะเลลึก · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและทะเลแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปล่องแบบน้ำร้อน

ปล่องแบบน้ำร้อน (Hydrothermal vent.) อาจเรียกว่าปล่องไฮโดรเทอร์มอร์หรือปล่องน้ำร้อนใต้ทะเล คือรอยแยกบนเปลือกผิวโลกที่มีน้ำร้อนไหลออกมา ปรกติจะพบใกล้กับแหล่งภูเขาไฟที่ที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกันในแอ่งมหาสมุทรและฮอตสปอต ปล่องไฮโดรเทอร์มอลพบได้ทั่วไปเนื่องจากในทางธรณีวิทยาแล้วโลกของเรามีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาและมีมวลน้ำจำนวนมหาศาลทั้งบนผิวโลกและในเปลือกโลก ประเภทที่พบบนพื้นผิวทวีปก็คือแหล่งน้ำพุร้อน, พุแก๊สและไกเซอร์ ระบบของปล่องไฮโดรเทอร์มอลบนพื้นผิวทวีปที่เป็นที่รู้จักกันดีอาจเป็นแหล่งน้ำพุร้อนในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนในสหรัฐอเมริกา สำหรับใต้ทะเลนั้นปล่องไฮโดรเทอร์มอลอาจทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่าแบลคสโมกเกอร์หรือไวท์สโมกเกอร์ เมื่อเทียบกับพื้นที่ส่วนใหญ่ใต้ทะเลลึกแล้ว พื้นที่โดยรอบปล่องไฮโดรเทอร์มอลจะมีความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพเป็นอย่างมาก ปรกติจะเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนที่หล่อเลี้ยงโดยสารเคมีที่ละลายอยู่ในของเหลวบริเวณปล่องนั้น สิ่งมีชีวิตอย่างอาร์เคียที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการสังเคราะห์อาหารทางเคมีถือเป็นรากฐานของห่วงโซ่อาหารที่รองรับสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายอย่างเช่นหนอนท่อยักษ์ หอยกาบ และกุ้ง เชื่อกันว่ามีปล่องไฮโดรเทอร์มอลบนดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดีด้วย และก็เดากันว่ามีปล่องไฮโดรเทอร์มอลโบราณบนดาวอังคารด้วยเหมือนกัน.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและปล่องแบบน้ำร้อน · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นแปซิฟิก

แผ่นแปซิฟิกแสดงในสีเหลือง แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) คือแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 103 ล้านตารางกิโลเมตรจึงถือว่าเป็นแผ่นเปลือกโลกที่ใหญ่ที่สุด แผ่นแปซิฟิกมีจุดร้อนภายในที่ทำให้เกิดหมู่เกาะฮาว.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและแผ่นแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขากลางสมุทร

ตำแหน่งการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขากลางสมุทรของโลก จาก USGS เทือกเขากลางสมุทร เปลือกโลกใต้มหาสมุทรเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร ขณะที่ธรณีภาคชั้นนอกมุดลงไปยังฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร เทือกเขากลางสมุทร (mid-oceanic ridge) คือแนวเทือกเขาใต้ทะเลโดยจะมีแนวร่องหุบที่รู้จักกันในนามของร่องแยก (rift) ที่สันของแนวเทือกเขาซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน รูปแบบของเทือกเขากลางสมุทรนี้เป็นลักษณะที่รู้จักกันว่าเป็นแนว “ศูนย์กลางของการแยกแผ่ขยายออก” ซึ่งเป็นการแผ่ขยายออกของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร การยกตัวของพื้นมหาสมุทรเป็นผลเนื่องมาจากกระแสการพาความร้อน (convection currents) ซึ่งเป็นการดันตัวขึ้นมาของหินหนืดจากชั้นฐานธรณีภาคตามแนวที่อ่อนตัวของพื้นมหาสมุทรโดยการปะทุขึ้นมาในรูปของลาวา เกิดเป็นเปลือกโลกใหม่เมื่อเย็นตัวลง เทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกทางเทคโทนิกสองแผ่นและถือกันว่าเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว เทือกเขากลางสมุทรของโลกมีการเชื่อมต่อกันเกิดเป็นระบบแนวเทือกเขากลางสมุทรระบบหนึ่งของทุกๆมหาสมุทรทำให้ระบบเทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวเทือกเขาที่ยาวที่สุดของโลก แนวเทือกเขาที่ยาวต่อเนื่องกันนี้รวมกันแล้วมีความยาวทั้งสิ้นถึง 80,000 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ธรณีวิทยาทางทะเลและเทือกเขากลางสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »