สารบัญ
9 ความสัมพันธ์: กระแสน้ำมหาสมุทรก้นทะเลลาดทวีปลาดตีนทวีปหินไซอัลหุบผาชันใต้ทะเลไหล่ทวีปเปลือกโลกเนินตะกอนรูปพัดก้นสมุทร
กระแสน้ำมหาสมุทร
กระแสน้ำมหาสุมทร กระแสน้ำมหาสุมทร (Ocean current) เป็นกระแสน้ำที่ไหลต่อเนื่องในมหาสมุทรซึ่งเกิดจากหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร ตามระบบเวลาและฤดูกาลที่แน่นอน เช่น คลื่น ลม แรงโคริโอลิส อุณหภูมิ ความแตกต่างของความเค็ม และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์และดวงอาทิต.
ก้นทะเล
วนของก้นสมุทร ก้นสมุทร (seabed) อาจเรียกว่า พื้นท้องมหาสมุทร หรือ ก้นสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทรและเป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดตีนทวีปเป็นต้นไป เป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของพื้นที่ใต้ทะเลจึงมีขนาดกว้างขว้างมาก มีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย มีพื้นที่ราบเรียบเป็นส่วนใหญ่แต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วยเช่นกัน ได้แก่ หุบผาชันใต้ทะเล เทือกเขากลางสมุทร ที่ราบสูง แอ่งมหาสมุทร ภูเขา เช่น เทือกเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติกา บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์ส เกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ สันเขานี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร ส่วนแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทรขนาดใหญ่นั้นก็คือบริเวณอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดง ระดับความลึกของน้ำบริเวณนี้จะลึกประมาณ 4,000-6,000 เมตร ส่วนของมหาสมุทร (พื้นท้องมหาสมุทร).
ลาดทวีป
วนของท้องทะเล ลาดทวีป (continental slope.) เป็นพื้นลาดต่อเนื่องจากขอบทวีป เริ่มจากขอบของไหล่ทวีปไปจนถึงลาดตีนทวีป (continental rise) มีความลาดชันมาก 65 องศาต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรทอดไปถึงระดับน้ำลึกประมาณ 3,600 เมตรหรือจนถึงจุดที่มีความชันน้อนกว่าจนเห็นเป็นสันชัดเจนนั้นคือส่วนแยกระหว่างลาดทวีปกับลาดตีนทวีป ความกว้างของลาดทวีปนั้นมีความกว้างไม่เท่ากันแต่ส่วนมากมีความกว้างโดยเฉลี่ยจะกว้างเป็น 2 เท่าของไหล่ทวีป ขอบนอกสุดของลาดทวีปจะติดต่อกับพื้นท้องมหาสมุทรหรือลาดตีนทวีป จะมีส่วนที่สามารถเห็นเป็นแนวที่เห็นได้ชัดเจน เพราะขอบของที่เป็นจุดต่อของลาดทวีปกับลาดตีนทวีปนั้นจะมีความชันน้อยกว.
ลาดตีนทวีป
วนของท้องทะเล ลาดตีนทวีป (continental rise) เป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดทวีปไปจนถึงพื้นท้องสมุทร (seabed) มีลักษณะเป็นที่ราบเรียบและอาจมีความชันเล็กน้อย และอาจมีบางส่วนลึกหรือเป็นที่สูงต่ำ เกิดจากการตกทับถมของตะกอนต่าง ๆ ที่พัดพามากับกระแสน้ำ บ้างปรากฏเป็นเขาก้นสมุทร (abyssal hill) ไม่สูงมาก พบได้ทั่วไป บางส่วนของลาดตีนทวีปนั้นก็มีความราบเรียบเท่ากันกับพื้นท้องมหาสมุทรที่เป็นพื้นที่ของมหาสมุทรนั้นมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลายอันได้แก่ สันเขา ที่ราบสูง แอ่ง ภูเขา เช่น เทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทอดยาวจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติก มีบางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำทะเลกลายเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์สหรือหมู่เกาะฮาวาย ลักษณะภูมิประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ภูเขาใต้ทะเล พบที่พื้นท้องมหาสมุทร บางลูกมียอดตัด เรียกว่า เขายอดราบใต้สมุทร (guyout) พบมากบริเวณตอนกลางและด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างหมู่เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวาย สำหรับยอดเขายอดราบใต้สมุทรนั้นมักอยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200–1,800 เมตร ส่วนของมหาสมุทร(ลาดทวีป).
หินไซอัล
หินไซอัล (อังกฤษ: sial) คือหินพวกแกรนิตของเปลือกโลก ประกอบด้วยซิลิกาและอะลูมินา ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วยหินแกรนิต หมวดหมู่:โครงสร้างของโลก หมวดหมู่:หิน มีความหนาประมาณ 35-70 กิโลเมตร.
หุบผาชันใต้ทะเล
หุบผาชันใต้ทะเลบริเวณทวีปแอฟริกา หุบผาชันใต้ทะเล (submarine canyon) เป็นแนวหุบผาชันใต้มหาสมุทร มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 28 ของพื้นท้องมหาสมุทร ส่วนของยอดสันเขามีลักษณะเป็นหุบเขาทรุด (rift valley) ลักษณะเป็นร่องลึก มีความกว้างประมาณ 25–50 กิโลเมตร บริเวณหุบเขาทรุดมักเกิดปรากฏการณ์ภูเขาไฟหรือปล่องแบบน้ำร้อนอยู่ด้วย เนื่องจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และการแทรกตัวของหินหนืดใต้เปลือกโลก จากการศึกษามหาสมุทรของนักสมุทรศาสตร์พบว่า มหาสมุทรแปซิฟิกมีความลึกเฉลี่ย 4,028 เมตร รองลงมาได้แก่ มหาสมุทรแอตแลนติก มีความลึกเฉลี่ย 3,332 เมตร ส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรจะเรียกว่าร่องลึกก้นสมุทร.
ไหล่ทวีป
หล่ทวีป (continental shelf) เป็นส่วนที่ตื้นที่สุดและอยู่ติดกับส่วนที่เป็นทวีป บางทีถือว่าเป็นส่วนของทวีป บางทีถือว่าเป็นส่วนของทวีป พื้นของไหล่ทวีปบางตอนจะเรียบ บางตอนมีร่องยาว บางตอนมีสันเนิน บางตอนมีแอ่งกลม บางตอนมีเนินเขา บางส่วนเป็นหิน บางส่วนปกคลุมด้วยโคลน ทราย หรือกรวด ไหล่ทวีป เป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบกรรมวิธีปรับระดับ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวแปรรูปของเปลือกโลก ไหล่ทวีปจะมีระดับสูงขึ้นและมีขนาดกว้างออกไป เพราะมีวัตถุต่าง ๆ จากพื้นดินมาทับถมอยู่ ตัวกระทำที่นำเอาวัตถุเหล่านั้นมาคือ แม่น้ำ ลมและสิ่งที่หลุดร่วงจากฝั่งจากการกระทำของทะเลมหาสมุทรเอง ถ้าชายฝั่งจมตัวลงน้ำทะเลจะไหลท่วมขึ้นไปถึงส่วนที่ป็นที่ราบชายฝั่ง ไหล่ทวีปจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าชายฝั่งยกตัวสูงขึ้นไหล่ทวีปอาจกลายเป็นที่ราบชายฝั่งไปเป็นส่วนของผืนดินที่ลาดเอียงจากชายฝั่งลงไปใต้ทะเล หรือเป็นส่วนของผืนดินที่ยื่นออกมาจากทวีป ไหล่ทวีปถือเป็นบริเวณที่มีน้ำตื้น ซึ่งบางครั้ง เราเรียกว่า ไหล่ทะเล (shelf sea) ซึ่งมีความจะมีความลาดเอียงจากชายฝั่งทะเลอย่างน้อยมากประมาณ 0.1 องศาเท่านั้น และเป็นพื้นที่ๆแพลงก์ตอนอาศัยเป็นจำนวนมาก ขอบทวีปซึ่งเป็นบริเวณระหว่างไหล่ทวีปกับที่ราบก้นสมุทรนั้น ประกอบด้วยแผ่นทวีปที่ลาดชันไปจนถึงบริเวณที่ราบเรียบใต้ทะเล ซึ่งการที่ตะกอนจากทวีปได้ตกลงไปสู่บริเวณฐานที่ลาดชันของไหล่ทวีป เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทวีปเกิดการขยายตัว โดยส่วนมากจะมีความลึกถึง200 เมตร.
เปลือกโลก
ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.
เนินตะกอนรูปพัดก้นสมุทร
แผนภาพแสดงการเกิดเนินตะกอนรูปพัดก้นสมุทร เนินตะกอนรูปพัดก้นสมุทร (Abyssal fan) เป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้น้ำที่เกี่ยวข้องกับการทับถมของตะกอนขนาดใหญ่และเกิดขึ้นจากกระแสน้ำขุ่นข้น (Turbidity current) มีลักษณะเหมือนกับตะกอนน้ำพารูปพัดแต่เกิดใต้น้ำ อาจมีขนาดความกว้างต่างกันตั้งแต่หลายกิโลเมตรไปถึงหลายพันกิโลเมตร เนินตะกอนรูปพัดก้นสมุทรที่ใหญ่ที่สุดคือเนินตะกอนรูปพัดก้นสมุทรเบงกอล (Bengal Fan) และเนินตะกอนรูปพัดก้นสมุทรสินธุ (Indus Fan) แต่เนินตะกอนรูปพัดเหล่านี้สามารถพบได้ที่ปากแม่น้ำแอมะซอน คองโก มิสซิสซิปปี และที่อื่น.