สารบัญ
30 ความสัมพันธ์: พระเจ้าบุเรงนองพระเจ้าพุกามแมงพระเจ้าญองยานพระเจ้ามังระพระเจ้ามังลอกพระเจ้ามินดงพระเจ้าสเน่ห์มินพระเจ้าอลองพญาพระเจ้าอะเนาะเพะลูนพระเจ้าจักกายแมงพระเจ้าจิงกูจาพระเจ้าธีบอพระเจ้าตะนินกันเหว่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้พระเจ้าตาลูนพระเจ้าปีนดะเลพระเจ้าปดุงพระเจ้าปเยพระเจ้านะราวะระพระเจ้านันทบุเรงพระเจ้าแสรกแมงพระเจ้าเมงจีโยมังกะยอชวามังรายกะยอชวาที่ 2 แห่งอังวะราชวงศ์ตองอูราชวงศ์โกนบองหม่อง ทินอ่องตะโดเมงสอต่อพะยาประเทศอินเดีย
- พระมหาอุปราชาพม่า
พระเจ้าบุเรงนอง
ระเจ้าบุเรงนอง หรือพระนามเต็มว่า พระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา (Bayinnaung Kyawhtin Nawrahta, ဘုရင့်နောင် ကျော်ထင်နော်ရထာ บะยิ่นเหน่าง์จ่อถิ่นหน่อยะถ่า; 16 มกราคม 2059 – 10 พฤศจิกายน 2124) หรือ พระเจ้าหงษานีพัตร เป็นพระมหากษัตริย์พม่าจากราชวงศ์ตองอู เสวยราชย์ตั้งแต่ปี..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าบุเรงนอง
พระเจ้าพุกามแมง
ระเจ้าพุกามแมง (Pagan min; ပုဂံမင်း) หรือ พระเจ้าพุกามมิน เป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 ของราชวงศ์คองบอง พระองค์ประสูติเมื่อ 21 มิถุนายน..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าพุกามแมง
พระเจ้าญองยาน
ระเจ้าญองยาน (ညောင်ရမ်းမင်း เหญ่าง์ยาน) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์ตองอู ครองราชย์เป็นพระเจ้าอังวะระหว่างปี..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าญองยาน
พระเจ้ามังระ
ระเจ้ามังระ หรือ พระเจ้าซินพะยูชิน (ဆင်ဖြူရှင်; Hsinbyushin.) เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในจำนวน 6 พระองค์ของพระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์อลองพญาหรือราชวงศ์คองบอง ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์อลองพญา ในปี..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้ามังระ
พระเจ้ามังลอก
ระเจ้ามังลอก (Naungdawgyi) เป็นพระโอรสพระองค์โตของพระเจ้าอลองพญา ในบรรดาพระโอรส 6 พระองค์ ขึ้นครองราชย์เนื่องจากทรงเป็น "เองเชเมง" หรือ อุปราชวังหน้า ซึ่งเมื่อการสวรรคตของพระเจ้าอลองพญา ในสมัยของพระองค์ได้เกิดการกบฏครั้งสำคัญคือมังฆ้องนรธาขุนพลคู่บารมีของพระเจ้าอลองพญา รวมไปถึงการแก่งแย่งอำนาจจากเจ้านายฝ่ายพม่าด้วยกันเอง ทำให้ตลอดรัชสมัยของพระองค์ต้องทำการปราบกบฎอยู่หลายครั้ง แต่ด้วยอุปนิสัยที่มีเมตตาของพระองค์ จึงทำเพียงขับไล่ หรือคุมขังผู้ทำผิดเสียเป็นส่วนมาก แต่ไม่ประหารชีวิตบางครั้งก็ถึงกับอภัยโทษให้ผู้ทำผิดอยู่บ่อ.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้ามังลอก
พระเจ้ามินดง
ระเจ้ามินดง (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421) เป็นกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์อลองพญา (ค.ศ. 1853 - 1878) พระองค์เป็นผู้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่อมรปุระ และมัณฑะเลย์ พระองค์เป็นผู้ปฏิรูปการปกครองให้ทันสมัยขึ้น ตอนที่พระองค์ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงสถาปนาเจ้าหญิงเสกขรเทวี น้องร่วมพระชนนีกับพระเจ้าพุกาม ขึ้นเป็นอัครมเหสี และสถาปนาเจ้าหญิงราชธิดาพระเจ้าพาคยีดอ คือนางอเลนันดอ เป็นมเหสี ในสมัยของพระองค์ต้องประสบปัญหาความขัดแย้งกับอังกฤษ การสูญเสียดินแดนของพม่าตอนล่าง และปัญหาการแย่งชิงอำนาจภายในประเทศ ภาพของพระเจ้ามินดงในเอกสารชาวตะวันตก.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้ามินดง
พระเจ้าสเน่ห์มิน
ระเจ้าสเน่ห์มินเป็นพระมหากษัตริย์พม่าองค์ที่ 12แห่งราชวงศ์ตองอูครองราชต่อจากพระเจ้ามังกะยอดินพระบิดาของพระองค์ เมื่อปี..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าสเน่ห์มิน
พระเจ้าอลองพญา
ระบรมราชานุสาวรีย์ของพระเจ้าอลองพญาที่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติใน นครย่างกุ้ง พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอลองพญา พระเจ้าอลองพญา หรือ พระเจ้าอลองพญารี (Alaungpaya, အလောင်းမင်းတရား พระนามของพระองค์ออกสำเนียงเป็นภาษาพม่าว่า "อลองเมงตะยาจี" หรือ "อลองพะ" มีความหมายว่า "พระโพธิสัตว์"; สิงหาคม ค.ศ.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าอลองพญา
พระเจ้าอะเนาะเพะลูน
ระเจ้าอะเน่าก์แพตหลุ่น (အနောက်ဖက်လွန် อะเน่าก์แพะหลุ่นมิง แปลว่า พระราชาแห่งทิศตะวันตก) หรือ พระเจ้ามหาธรรมราชา พงศาวดารมอญพม่าเรียกว่าพระเจ้าปราสาททองกลดแก้ว เป็นพระมหากษัตริย์พม่าในราชวงศ์ตองอู เมื่อสิ้นพระเจ้าบุเรงนองและพระเจ้านันทบุเรงแล้ว ฐานอำนาจของราชวงศ์ตองอูสั่นคลอนเนื่องจากเกิดการกบฏจากพม่าด้วยกันเองในหลายหัวเมือง อีกทั้งการรุกรานจากต่างชาติ เช่น มอญและชาวโปรตุเกส พระองค์ทรงเป็นผู้รวบรวมอาณาจักรพม่าให้กลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง แม้ไม่ยิ่งใหญ่เท่าสมัยของพระอัยกาก็ตาม.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าอะเนาะเพะลูน
พระเจ้าจักกายแมง
ระเจ้าบาจีดอ หรือ พระเจ้าจักกายแมง (Bagyidaw, Sagaing Min; ဘကြီးတော်)เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์อลองพญา มีนโยบายขยายอำนาจเข้าไปในแคว้นอัสสัมและมณีปุระ ทำให้มีปัญหากับอังกฤษ และนำไปสู่การเกิดสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าจักกายแมง
พระเจ้าจิงกูจา
ระเจ้าจิงกูจา (Singu Min,စဉ့်ကူးမင်း) พระโอรสของพระเจ้ามังระ ขึ้นครองราชย์ด้วยพระชันษาเพียง 20 ปี ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้ามังระ พระเจ้าจิงกูจา ได้ทำการปราบบรรดาผู้ที่ต่อต้านน้อยใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยเชื้อพระวงศ์ พระญาติ และเหล่าขุนนางด้วยวิธีการที่เด็ดขาด คือ ประหารชีวิตเสียหลายคน และหลายคนก็ถูกลดอำนาจหรือส่งไปอยู่หัวเมืองที่ห่างไกล เช่น พระเจ้าปดุง ที่ถูกส่งไปอยู่เมืองสะกาย และมีผู้ทำการควบคุมอีกชั้นหนึ่ง โดยเมื่อพระองค์ได้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้วก็ทรงปลดอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพคู่บารมีของพระเจ้ามังระพระราชบิดาของพระองค์ลงแล้วเนรเทศไปอยู่ที่เมืองสะกายเช่นเดียวกับพระเจ้าปดุง ทั้งที่แม่ทัพเฒ่าผู้นี้ยกกองทัพกลับมาจากการตีกรุงธนบุรี เพื่อมาควบคุมสถานะการในกรุงอังวะจนเรียบร้อยและมอบพระราชอำนาจเต็มแก่พระองค์ ซึ่งหากวิเคราะห์แล้วก็อาจเป็นเพราะอะแซหวุ่นกี้มีอำนาจ บารมีทางการทหารมากเกินไป รวมไปถึงเนเมียวสีหบดี, เนเมียวสีหตูและเหล่าขุนนางเก่าในพระเจ้ามังระพระองค์ก็ประหารทิ้งบ้าง ปลดทิ้งเสียจากตำแหน่งบ้างไปอีกหลายคน ซึ่งการใช้พระเดชเช่นนี้ทำให้ระหว่างการครองราชย์ผู้คนรอบตัวต่างหวาดระแวงภัยที่อาจมาถึงตัวเมื่อใดก็ได้ ในที่สุดหลังจากพระเจ้าจิงกูจาครองราชย์เพียง 5 ปี ก็ถูกเชื้อพระวงศ์พระองค์หนึ่ง คือ หม่องหม่อง โอรสของพระเจ้ามังลอก ทำการรัฐประหารยึดพระราชวัง ในระหว่างที่พระองค์เสด็จไปสักการะพระพุทธรูปสิงหดอที่ทางเหนือ โดยความช่วยเหลือของขุนนางและเชื้อพระวงศ์หลายคน (เชื่อว่ารวมทั้งอะแซหวุ่นกี้ที่ทนต่อการบริหารราชการของพระองค์ไม่ได้) แต่แรกพระเจ้าจิงกูจาคิดจะหนีไปอาศัยอยู่เมืองกะแซ แต่เป็นห่วงพระราชชนนีจึงลอบลงมาใกล้เมืองอังวะ แล้วมีหนังสือเข้าไปทูลให้ทราบว่าจะหนีไปเมืองกะแซ.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าจิงกูจา
พระเจ้าธีบอ
ระเจ้าธีบอ หรือ พระเจ้าสีป่อ (ตี่บอมิง) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญา ถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่เมืองรัตนคีรีในบริติชราช หลังสิ้นสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม และสวรรคตเมื่อ..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าธีบอ
พระเจ้าตะนินกันเหว่
ระเจ้าทนินกันเว (တနင်္ဂနွေမင်း) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า ตั้งแต..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าตะนินกันเหว่
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
ระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ หรือ ตะเบ็งเฉวฺ่ที (Tabinshwehti, တပင်ရွှေထီး; สำเนียงพม่าออกว่า "ตะเบ็งเฉวฺ่ที") เป็นพระมหากษัตริย์พม่ารัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์ตองอู เป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวในพระเจ้าเมงจีโย ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอู.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
พระเจ้าตาลูน
ระเจ้าทาลุน (พระเจ้าสิริสุธรรมราชามหาธิบดีตลุนมิน) เป็นพระอนุชาของ พระเจ้าอโนเพตลุน และเป็นพระโอรสของ พระเจ้าสีหสุธรรมราชา หรือ เจ้านยองยาน พระโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง กล่าวคือพระองค์เองและพระเชษฐาธิราชต่างก็เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าชนะสิบทิศบุเรงนอง พระเจ้าสิริสุธรรมราชามหาธิบดี (พระเจ้าทาลุน) (พ.ศ.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าตาลูน
พระเจ้าปีนดะเล
พระเจ้าพินดาเล (2191-2204) กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ตองอู เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าทาลุน เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาเมื่อปีพ.ศ.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าปีนดะเล
พระเจ้าปดุง
ระเจ้าปดุง (Bodawpaya) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์อลองพญา (หรือเป็นองค์ที่ 6 หากนับรวมพระเจ้าหม่องหม่องด้วย) ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า เป็นพระโอรสลำดับที่ 5 ใน 6 พระองค์ของพระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษกในปี พ.ศ.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าปดุง
พระเจ้าปเย
ระเจ้าปเย (พระเจ้ามหาสีหสุรสุธรรมราชา) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าองค์ที่ 9แห่งราชวงศ์ตองอูพระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าทาลุน พระองค์ครองราชย์เมื่อปี..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าปเย
พระเจ้านะราวะระ
พระเจ้านราวาระ เป็นพระมหากษัตริย์พม่าพระองค์ที่ 10 แห่ง ราชวงศ์ตองอู ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2215 แต่พระองค์ครองราชย์แค่เพียงปีเดียวก็สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน พระอนุชาของพระองค์จึงขึ้นครองราชย์ต่อเป็น พระเจ้ามังกะยอดิน หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ตองอู.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้านะราวะระ
พระเจ้านันทบุเรง
นันทบุเรง (နန္ဒဘုရင်,; Nanda Bayin; 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1535 – 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600) หรือ พระเจ้าหงษางาจีสะยาง เป็นพระมหากษัตริย์พม่าจากราชวงศ์ตองอู เสวยราชสมบัติตั้งแต..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้านันทบุเรง
พระเจ้าแสรกแมง
ระฆัง ''Maha Tissada Gandha'' สร้างโดยพระเจ้าแสรกแมง แขวนไว้ที่พระเจดีย์ชเวดากอง พระเจ้าสารวดี (Tharrawaddy Min; သာယာဝတီမင်း) หรือ พระเจ้าแสรกแมง เป็นพระโอรสของตะโดเมงสอ (Thado Minsaw) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าปดุง พระองค์เป็นพระอนุชาของพระเจ้าจักกายแมง หรือพระเจ้าบาจีดอว์ และเป็นกษัตริย์องค์ที่ 7 ในราชวงศ์อลองพญา ประสูติเมื่อ 14 มีนาคม..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าแสรกแมง
พระเจ้าเมงจีโย
ระเจ้าเมงจีโย (สำเนียงพม่าออกว่า มินจีโหญ่) (Mingyinyo, မင်းကြီးညို) หรือ พระเจ้าสิริชัยสุระ ตามพงศาวดารไทย หรือในนวนิยายผู้ชนะสิบทิศเรียก เมงกะยินโย เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอู ราชวงศ์และอาณาจักรที่ 2 ของประวัติศาสตร์พม่า พระเจ้าเมงจีโยเดิมเป็นนายทหารที่มีความสามารถในการรบ ได้ทำการรวบรวมชาวพม่าที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกามภายหลังการโจมตีของมองโกล โดยได้รับความช่วยเหลือจากขุนนางสำคัญหลายคน เช่น เมงเยสีหตู (บางคนถูกสมมติเป็นตัวละครในนวนิยายผู้สิบทิศ เช่น มหาเถรวัดกุโสดอ) พระเจ้าเมงจีโยได้สถาปนาเมืองตองอู ซึ่งเป็นเมืองในขุนเขาเป็นปราการที่ดีขึ้นเป็นศูนย์กลางอำนาจใหม่ ต่อมามีการแผ่ขยายอำนาจเข้ายึดเมืองแปรโดยสามารถรบชนะพระเจ้านระบดีแห่งเมืองแปรได้สำเร็จ ต่อมาคิดจะเข้ายึดเมืองหงสาวดีที่มีพระเจ้าสการะวุตพีเป็นกษัตริย์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากพระเจ้าเมงจีโยสวรรคตเสียก่อน ในมหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ระบุว่า พระองค์ได้พบกับพระมเหสีเมื่อเสด็จทอดพระเนตรการสร้างเขื่อน ซึ่งต่อมามีพระโอรสเพียงพระองค์เดียว ที่ได้ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระเจ้าเมงจีโย สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและพระเจ้าเมงจีโย
มังกะยอชวา
มังกะยอชวา (พระนามภาษาพม่า: မင်းကြီးစွာ; อักษรโรมัน: Minyekyawswa, Minchit Sra; ออกเสียง: เมงเยจอสวา) หรือ มังสามเกียด (ตามที่พงศาวดารไทยและพงศาวดารมอญเรียก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยโดยทรงนำทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง รวมถึงได้ทรงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาร.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและมังกะยอชวา
มังรายกะยอชวาที่ 2 แห่งอังวะ
มังรายกะยอชวาที่ 2 แห่งอังวะ (မင်းရဲကျော်စွာ,; 1567 – ปลายธันวาคม 1599) ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง แห่ง พม่า ระหว่าง..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและมังรายกะยอชวาที่ 2 แห่งอังวะ
ราชวงศ์ตองอู
ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty; တောင်ငူခေတ်) ราชวงศ์ที่ 2 ในประวัติศาสตร์พม่า ภายหลังจากราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์แรกล่มสลายลงจากการรุกรานของชาวมองโกลโดยกุบไลข่าน พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขาซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็ง ตองอูเข้มแข็งขึ้นมารัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่าทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มน้ำอิระวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง, เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมายังหงสาวดี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นต่ออาณาจักร ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่ราวอีก 2-3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่าง ๆ มากมาย เช่น เชียงใหม่, ฉาน, อยุธยา, ล้านช้าง, กัมพุช เป็นต้น จนได้การขนานพระนามว่าเป็น "พระเจ้าชนะสิบทิศ" แต่ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรถูกสั่นคลอน เนื่องจากการปกครองอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรีของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสของพระองค์ เมืองที่เคยขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ ต่างแข็งเมืองและได้ประกาศอิสรภาพ ทำสงครามรบพุ่งกันตลอดมา เช่น แปร, อังวะ, อยุธยา เป็นต้น ในที่สุดเมืองทั้งหลายเหล่านี้ก็แตกแยกกระจัดกระจายออกไป และภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง ราชวงศ์ตองอูก็ยังได้สืบราชสมบัติต่อมา แต่ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เข้มแข็งพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกอบกู้อาณาจักรขึ้นมา แม้นจะมีความพยายามจากพระเจ้าอโนเพตลุน ราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันว่า "ยุคนยองยาน" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้ว มอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา ในทางวิชาการ นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งราชวงศ์ตองอูไว้เป็น 2 ยุค คือ ราชวงศ์ตองอูตอนต้น กินระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและราชวงศ์ตองอู
ราชวงศ์โกนบอง
ราชวงศ์โกนบอง (ကုန်းဘောင်ခေတ်,; Konbaung Dynasty) เป็นราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์พม่า และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และสิ้นสุดการปกครองระบอบราชาธิปไตยของพม่า ราชวงศ์อลองพญานั้นได้รับการสถาปนาขึ้นโดยการเสวยราชสมบัติของพระเจ้าอลองพญาในปี..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและราชวงศ์โกนบอง
หม่อง ทินอ่อง
หม่อง ทินอ่อง (Htin Aung; ထင်အောင်; ค.ศ. 1909-1978) เป็นนักประพันธ์และนักวิชาการประวัติศาสตร์พม่าและวัฒนธรรมพม่าคนสำคัญ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มีผลงานเขียนเป็นหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพม่าทั้งในภาษาพม่าและภาษาอังกฤษ ผลงานภาษาอังกฤษของเขานั้นได้เปิดมุมมองที่เป็นที่ต้องการมากในการศึกษาประวัติศาสตร์พม่าแบบสากล ซึ่งจนถึงขณะนี้มีเฉพาะนักประวัติศาสตร์อังกฤษในสมัยอาณานิคมเท่านั้น ผลงานที่สำคัญ อาทิ ประวัติศาสตร์พม่า, Folk Elements in Burmese Buddhism และ Burmese Drama.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและหม่อง ทินอ่อง
ตะโดเมงสอ
ตะโดเมงสอ (သတိုးမင်းစော; 15 มิถุนายน 1762 – 9 เมษายน 1808) พระมหาอุปราชแห่งพม่าจาก..
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและตะโดเมงสอ
ต่อพะยา
้าต่อพะยา (ประสูติ 22 มีนาคม 1924) เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของเจ้าหญิงมยะพะยา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าธีบอพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งประเทศพม่า ทรงเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของพม่า พระเชษฐาของพระองค์ซึ่งก็คือพระราชโอรสองค์ที่หนึ่งเจ้าหญิงมยะ พะยา ถูกลอบปลงพระชนม์โดยพวกคอมมิวนิสต์ก่อการร้ายในปี 1948 กับการสิ้นพระชนม์ของพระมาตุจฉาในปี 1956 พระองค์จึงทรงเป็นประมุขในราชวงศ์คองบอง.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและต่อพะยา
ประเทศอินเดีย
อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.
ดู รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่าและประเทศอินเดีย
ดูเพิ่มเติม
พระมหาอุปราชาพม่า
- รายพระนามพระมหาอุปราชาพม่า
- สีหตูแห่งพุกาม
หรือที่รู้จักกันในชื่อ รายพระนามรัชทายาทแห่งพม่า