เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รอยประสานหว่างขม่อม

ดัชนี รอยประสานหว่างขม่อม

รอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture) เป็นข้อต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบเส้นใยระหว่างกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) 2 ชิ้นของกะโหลกศีรษะ เมื่อแรกคลอดกระดูกของกะโหลกศีรษะจะไม่มาบรรจบกันสนิท หากกระดูกชิ้นใดชิ้นหนึ่งของกะโหลกศีรษะเจริญเร็วกว่าปกติทำให้เกิดการปิดของซูเจอร์ก่อนกำหนด (premature closure of the suture) ซึ่งทำให้กะโหลกผิดรูป เช่น หากรอยประสานหว่างขม่อมปิดก่อนกำหนดจะทำให้กะโหลกศีรษะยาว แคบ รูปร่างคล้ายลิ่ม ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า กะโหลกเป็นสันหว่างขม่อม (scaphocephaly) จุดหลักทางกายวิภาคที่พบบนรอยประสานหว่างขม่อม ได้แก่ เบรกมา (bregma) และส่วนยอดกะโหลก (vertex of the skull) เบรกมาเกิดจากจุดเชื่อมของรอยประสานระหว่างขม่อมและรอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture) และส่วนยอดกะโหลกเป็นจุดบนสุดของกะโหลกศีรษะ ซึ่งมักจะอยู่ใกล้กับตรงกลางของรอยประสานหว่างขม่อม.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: กระดูกข้างขม่อมกะโหลกศีรษะรอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์)รอยประสานคร่อมขม่อมหน้าข้อต่อเบรกมาเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

  2. ข้อต่อ
  3. ระบบโครงกระดูก
  4. ศีรษะและคอ

กระดูกข้างขม่อม

กระดูกข้างขม่อม (parietal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ซึ่งประกอบกันอยู่ด้านข้างและเป็นหลังคาด้านบนของกะโหลกศีรษะ กระดูกข้างขม่อมมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ มีพื้นผิว 2 ด้าน ขอบกระดูก 4 ขอบ และมุมกระดูก 4 มุม.

ดู รอยประสานหว่างขม่อมและกระดูกข้างขม่อม

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ดู รอยประสานหว่างขม่อมและกะโหลกศีรษะ

รอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์)

รอยประสาน (suture ซูเจอร์) เป็นข้อต่อชนิดหนึ่ง จัดเป็นชนิดย่อยของข้อต่อชนิดเนื้อเส้นใยคั่น (fibrous joint หรือ synarthrosis) ซึ่งพบอยู่ในกะโหลกศีรษะ (หรือกระดูกหุ้มสมอง) โดยที่กระดูกทั้งสองชิ้นจะยึดกันด้วยเส้นใยที่เรียกว่า Sharpey's fibres ข้อต่อชนิดนี้สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ทำให้กะโหลกศีรษะมีความยืดหยุ่นเล็กน้อย เมื่อแรกเกิด กระดูกกะโหลกศีรษะหลายชิ้นอาจยังไม่เชื่อมเป็นแผ่นกระดูกที่ชิดติดกัน บริเวณที่อยู่ระหว่างชิ้นกระดูกนั้นจะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อคลุมที่เรียกว่า กระหม่อม (fontanelle) บริเวณบนกะโหลกศีรษะสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงวัยผู้ใหญ่ (แม้จะไม่รวดเร็วนัก) ซึ่งมีประโยชน์ในการให้ข้อมูลทางนิติวิทยาศาสตร์และโบราณคดี.

ดู รอยประสานหว่างขม่อมและรอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์)

รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า

รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture) เป็นข้อต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบเส้นใยระหว่างกระดูกหน้าผาก (frontal bone) และกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) ของกะโหลกศีรษะ เมื่อแรกเกิดกระดูกของกะโหลกศีรษะจะไม่มาบรรจบกันสนิท.

ดู รอยประสานหว่างขม่อมและรอยประสานคร่อมขม่อมหน้า

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ดู รอยประสานหว่างขม่อมและข้อต่อ

เบรกมา

รกมา (bregma) เป็นมุมด้านหน้าของกะโหลกศีรษะซึ่งเกิดจากการบรรจบของรอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture) และรอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture) มักมีลักษณะเป็นมุมฉาก ในกะโหลกศีรษะของทารกอายุราว 1 ขวบครึ่งจุดนี้จะเป็นเยื่อแผ่นซึ่งเรียกว่ากระหม่อมหน้า (anterior fontanelle).

ดู รอยประสานหว่างขม่อมและเบรกมา

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ดู รอยประสานหว่างขม่อมและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

ดูเพิ่มเติม

ข้อต่อ

ระบบโครงกระดูก

ศีรษะและคอ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Sagittal sutureซาจิตตัล ซูเจอร์