โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกสั้น

ดัชนี กระดูกสั้น

กระดูกสั้น (short bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในบริเวณที่ต้องการความแข็งแรง และความกระชับอัดแน่น และเป็นบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวน้อย บริเวณนั้นจะประกอบด้วยกระดูกสั้นจำนวนมาก เช่นในกระดูกข้อมือ (carpus) และกระดูกข้อเท้า (tarsus) รูปร่างของกระดูกสั้นจะมีความยาวใกล้เคียงกับความกว้าง กระดูกสั้นจะประกอบด้วยกระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, กระดูกพรุน, หรือกระดูกโปร่ง (cancellous tissue) หุ้มด้วยแผ่นของเนื้อเยื่อกระดูกเนื้อแน่นหรือกระดูกทึบ (compact substance) บางๆ กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) เช่นกระดูกสะบ้า (patellae) มักจะเป็นกระดูกสั้น กระดูกสั้นหลายชิ้นที่มักแตกง่ายกว่ากระดูกขนาดใหญ่เนื่องจากไม่มีสิ่งรองรับและมีไขกระดูกจำนวนมาก.

5 ความสัมพันธ์: กระดูกสะบ้ากระดูกข้อมือกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อกระดูกเนื้อโปร่งไขกระดูก

กระดูกสะบ้า

กระดูกสะบ้า หรือ สะบ้าหัวเข่า (patella of knyecaeiei) เป็นกระดูกหนารูปสามเหลี่ยม ซึ่งเกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกต้นขาและอยู่คลุมและปกป้องทางด้านหน้าของข้อเข่า กระดูกสะบ้านับเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกนี้ยึดเกาะกับเอ็นกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริส (quadriceps femoris) ซึ่งทำหน้าที่เหยียดข้อเข่า กล้ามเนื้อวาสตัส อินเตอร์มีเดียส (vastus intermedius) เกาะกับฐานของกระดูกสะบ้า และกล้ามเนื้อวาสตัส แลทเทอราลิส (vastus lateralis) กับกล้ามเนื้อวาสตัส มีเดียส (vastus medialis) เกาะกับขอบกระดูกด้านข้างกับด้านใกล้กลางของกระดูกสะบ้าตามลำดับ กระดูกสะบ้าสามารถวางตัวอยู่อย่างเสถียรได้เนื่องจากมีกล้ามเนื้อวาสตัส มีเดียสมาเกาะปลายและมีส่วนยื่นของคอนไดล์ด้านหน้าของกระดูกต้นขา (anterior femoral condyles) ซึ่งป้องกันไม่ให้ข้อเคลื่อนไปทางด้านข้างลำตัวระหว่างการงอขา นอกจากนี้เส้นใยเรตินาคิวลัม (retinacular fibre) ของกระดูกสะบ้าก็ช่วยให้กระดูกสะบ้าอยูมั่นคงระหว่างการออกกำลังกาย หน้าที่หลักของกระดูกสะบ้า คือเมื่อเกิดการเหยียดข้อเข่า (knee extension) กระดูกสะบ้าจะเพิ่มกำลังงัดของคานซึ่งเอ็นกล้ามเนื้อสามารถออกแรงบนกระดูกต้นขาโดยการเพิ่มมุมที่แรงของเอ็นกระทำ การสร้างกระดูกของกระดูกสะบ้าเกิดขึ้นเมื่ออายุ 2-6 ปี แต่ในบางคนอาจไม่พบกระบวนการนี้เนื่องจากความพิการแต่กำเนิด ในจำนวนร้อยละ 2 ของประชากรมีกระดูกสะบ้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนซึ่งไม่เกิดอาการแสดงใดๆ สำหรับในสัตว์ชนิดอื่นๆ กระดูกสะบ้าจะเจริญเต็มที่เฉพาะในยูเธอเรีย (eutheria; หรือสัตว์ที่มีรก) แต่ในสัตว์พวกมาร์ซูเปียเลีย (marsupial; หรือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง) จะไม่มีการสร้างเป็นกระดูก.

ใหม่!!: กระดูกสั้นและกระดูกสะบ้า · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกข้อมือ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกข้อมือ (Carpal bones; Carpus) เป็นกลุ่มของกระดูกชิ้นเล็กๆที่เรียงตัวอยู่ระหว่างกระดูกของส่วนปลายแขนและกระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones) และเป็นกระดูกที่ประกอบกันเป็นส่วนประกอบหลักของข้อมือ (wrist) กระดูกส่วนใหญ่ของกลุ่มกระดูกข้อมือจะมีรูปร่างคล้ายลูกเต๋า โดยที่พื้นผิวทางด้านหลังมือ (dorsal surface) และฝ่ามือ (palmar surface) จะมีลักษณะขรุขระเนื่องจากมีเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น (tendon sheath) พาดผ่าน ขณะที่พื้นผิวด้านอื่นๆจะค่อนข้างเรียบเพื่อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆได้อย่างสนิท สำหรับในมนุษย์ จะมีกระดูกข้อมือจำนวน 8 ชิ้น ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกระดูกข้อมือที่ติดต่อกับกระดูกเรเดียส จะเรียกว่า กระดูกข้อมือแถวแรก (proximal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้น ส่วนอีกกลุ่มจะติดต่อกับกระดูกฝ่ามือ จะเรียกว่ากระดูกข้อมือแถวหลัง (distal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้นเช่นกัน.

ใหม่!!: กระดูกสั้นและกระดูกข้อมือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ

กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ หรือ กระดูกเซซามอยด์ (sesamoid bone) ในทางกายวิภาคศาสตร์เป็นกระดูกชนิดหนึ่งที่ฝังอยู่ในเอ็นกล้ามเนื้อ รูปร่างของกระดูกจะคล้ายเมล็ดงา มักจะพบในตำแหน่งที่เอ็นกล้ามเนื้อพาดข้ามข้อต่อ เช่นในมือ, เข่า, และเท้า หน้าที่ของกระดูกชนิดนี้คือทำหน้าที่ปกป้องเอ็นกล้ามเนื้อและช่วยเพิ่มความได้เปรียบเชิงกล การมีกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อจะช่วยให้เอ็นกล้ามเนื้ออยู่ห่างจากศูนย์กลางของข้อเล็กน้อย ซึ่งช่วยทำให้เพิ่มความยาวแขนโมเมนต์ในการหมุน นอกจากนั้นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อยังช่วยป้องกันไม่ให้เอ็นแบนเข้าไปในข้อต่อเมื่อความตึงมากขึ้น และช่วยคงให้แขนโมเมนต์คงที่ไม่ว่าจะต้องรับแรงมากเท่าใด กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อแตกต่างจากเมนิสคัส (Meniscus) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ช่วยกระจายน้ำหนักของร่างกายที่ลงบนข้อต่อและช่วยลดแรงเสียดทานขณะที่เคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กระดูกสั้นและกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเนื้อโปร่ง

กระดูกเนื้อโปร่ง, กระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, หรือกระดูกพรุน (spongy bone, cancellous bone, trabecular bone) เป็นเนื้อเยื่อกระดูกชนิดหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นและความแข็งแกร่งน้อยกว่า แต่มีพื้นที่ผิวมากกว่า กระดูกชนิดนี้มีลักษณะโปร่งคล้ายเส้นใยสานกันจะอยู่ภายในโพรงของกระดูกยาว ชั้นนอกของกระดูกเนื้อโปร่งจะประกอบด้วยไขกระดูกแดง (red bone marrow) ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิตองค์ประกอบของเลือด (ที่เรียกกันว่า การกำเนิดเซลล์เม็ดเลือด (hematopoiesis)) กระดูกเนื้อโปร่งนี้จะเป็นที่อยู่ของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ เนื้อเยื่อกระดูกอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กระดูกเนื้อแน่น (cortical bone) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นผิวแข็งชั้นนอกของกระดูก.

ใหม่!!: กระดูกสั้นและกระดูกเนื้อโปร่ง · ดูเพิ่มเติม »

ไขกระดูก

กระดูก เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่พบได้ในกระดูกชั้นใน ไขกระดูกในกระดูกชิ้นใหญ่ของคนผลิตเม็ดเลือดแดงใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วไขกระดูกมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เช่นในผู้ใหญ่น้ำหนัก 65 กิโลกรัม จะมีไขกระดูกโดยประมาณ 2.6 กิโลกรัม ส่วนสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic compartment) ของไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง 500,000 ล้านเซลล์ต่อวันโดยประมาณ ซึ่งใช้ระบบไหลเวียนไขกระดูก (bone marrow vasculature) เป็นท่อสู่ระบบไหลเวียนของร่างกาย ไขกระดูกยังเป็นส่วนหลักของระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ที่ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ซึ่งช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างก.

ใหม่!!: กระดูกสั้นและไขกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Short boneกระดูกแบบสั้น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »