โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2

ดัชนี กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วชี้ (Second metacarpal bone or Metacarpal bone of the index finger) เป็นกระดูกฝ่ามือซึ่งมีความยาวที่สุด รองรับนิ้วชี้ และที่ฐานมีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 ฐานของกระดูกนี้ยืดยาวไปทางด้านบนและด้านใกล้กลาง (medialward) เกิดเป็นสันนูนเด่น กระดูกนี้มีหน้าประกบซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกชิ้นอื่น 4 หน้า โดย 3 หน้าอยู่ทางด้านบน และอีกด้านหนึ่งอยู่ด้านอัลนา (ด้านใกล้นิ้วกลาง) หน้าประกบที่อยู่ทางพื้นผิวด้านบน.

12 ความสัมพันธ์: กระดูกฝ่ามือกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5กระดูกทราพีซอยด์กระดูกทราพีเซียมกระดูกแคปปิเตตกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัสจุดเกาะปลายนิ้วชี้

กระดูกฝ่ามือ

กระดูกมือข้างซ้าย มุมมองจากด้านหลังมือ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones/Metacarpus) เป็นกลุ่มของกระดูกมือที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกข้อมือ (Carpus) และกระดูกนิ้วมือ (Phalanges) โดยจะมีจำนวน 5 ชิ้น เพื่อรองรับกระดูกนิ้วมือทั้ง 5.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และกระดูกฝ่ามือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือ (First metacarpal bone; metacarpal bone of the thumb) เป็นกระดูกฝ่ามือ (metacarpal bones) ที่รองรับนิ้วหัวแม่มือ โดยลักษณะสำคัญคือจะสั้นและกว้างกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นอื่นเล็กน้อย และขอบด้านฝ่ามือมีความโค้งเข้าหาตัวฝ่ามือ ตัวกระดูกด้านหลังมือ (dorsal surface) มีลักษณะแบนและกว้าง และไม่มีสันเหมือนในกระดูกฝ่ามือชิ้นอื่นๆ พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) เว้าจากบนลงล่าง ขอบทางด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) จะเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อออพโพเนนส์ พอลิซิส (Opponens pollicis muscle) ขณะที่ขอบทางด้านที่ติดกับนิ้วชี้จะให้เป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะด้านข้าง (lateral head) กล้ามเนื้ออินเตอร์ออสเซียสด้านหลังมือ (Dorsal interosseus muscles) ที่ยึดระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ทางด้านฐานกระดูกจะเป็นรอยเว้าที่รองรับกับกระดูกทราพีเซียม (greater multangular) ส่วนด้านข้างไม่มีหน้าประกบที่เกิดข้อต่อ แต่ด้านเรเดียล (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) มีปุ่มกระดูกสำหรับจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) ขณะที่ทางด้านหัวกระดูกจะมีลักษณะโค้งนูนน้อยกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นอื่น และมีความกว้างในทางด้านข้างมากกว่าทางแนวหน้าหลัง พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) มีส่วนนูนซึ่งเป็นข้อต่อ 2 อัน โดยอันที่อยู่ด้านข้างกว่ามีขนาดใหญ่กว่า ข้อต่อทั้งสองเกิดกับกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) 2 ชิ้นที่อยู่ในเอ็นกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (flexor pollicis brevis muscle).

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วกลาง (Third metacarpal bone or Metacarpal bone of the middle finger) เป็นกระดูกฝ่ามือชิ้นที่รองรับนิ้วกลาง และมีขนาดเล็กกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 เล็กน้อย ที่พื้นผิวด้านหลังมือของฐานของกระดูกนี้จะมีส่วนที่ยื่นลงมาทางด้านเรเดียส (ด้านที่ติดกับนิ้วชี้) เรียกว่า สไตลอยด์ โพรเซส (styloid process) ซึ่งยื่นขึ้นมาประกอบกับทางด้านหลังของกระดูกแคปปิเตต (capitate) และด้านปลายของสไตลอยด์ โพรเซสมีพื้นผิวขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis muscle) หน้าประกบซึ่งเกิดข้อต่อด้านกระดูกข้อมือ (carpal) ด้านหลังมีลักษณะเว้า ด้านหน้าแบน เกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกแคปปิเตต นอกจากนี้ที่ด้านเรเดียส (ด้านที่ติดนิ้วชี้) มีลักษณะเป็นหน้าประกบเรียบ เว้า ซึ่งเกิดข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ ด้านอัลนา (ด้านที่ติดนิ้วนาง) มีหน้าประกบรูปวงรีขนาดเล็ก 2 อันซึ่งเกิดข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 ด้ว.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วนาง (Fourth metacarpal bone or Metacarpal bone of the ring finger) เป็นกระดูกฝ่ามือที่รองรับนิ้วนาง มีขนาดเล็กและสั้นกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 ที่ฐานของกระดูกมีขนาดเล็กและเป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นผิวด้านบนมีหน้าประกบ 2 หน้า อันที่ใหญ่กว่าอยู่ทางด้านใกล้กลาง (ด้านที่ติดกับนิ้วก้อย) จะเกิดข้อต่อกับกระดูกฮาเมต (hamate) ส่วนหน้าประกบอันเล็กกว่าซึ่งอยู่ทางด้านข้าง (ด้านที่ติดกับนิ้วกลาง) จะเกิดข้อต่อกับกระดูกแคปปิเตต (capitate) และทางด้านเรเดียส (ด้านติดกับนิ้วกลาง) ยังมีหน้าประกบรูปวงรีอีก 2 หน้า ซึ่งเกิดรอยต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 (third metacarpal) และทางด้านอัลนา (ด้านติดกับนิ้วก้อย) ก็มีหน้าประกบเว้า ซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 (fifth metacarpal) ด้ว.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วก้อย (Fifth metacarpal bone or Metacarpal bone of the little finger) เป็นกระดูกฝ่ามือชิ้นที่อยู่ด้านข้างลำตัวที่สุด รองรับนิ้วก้อ.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีซอยด์

กระดูกทราพีซอยด์ (Trapezoid bone; lesser multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือชิ้นหนึ่งในสัตว์สี่เท้า (tetrapod) รวมทั้งมนุษย์ มีขนาดเล็กที่สุดในกระดูกข้อมือแถวปลาย มีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างเหมือนลิ่ม โดยมีปลายด้านหลังกว้าง และพื้นผิวด้านฝ่ามือแคบ กระดูกนี้มีหน้าประกบเกิดเป็นข้อต่อ 4 หน้าซึ่งแต่ละหน้าแยกกันด้วยขอบแหลมคม รากศัพท์ของ ทราพีซอยด์ (trapezoid) มาจากภาษากรีก trapezion แปลว่า สี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ ซึ่งมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้าหรือขอบ หากแปลตามตัวอักษรอาจแปลได้ว่า โต๊ะขนาดเล็ก มาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ และ -oeides หมายถึง รูปร่าง.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และกระดูกทราพีซอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีเซียม

กระดูกทราพีเซียม (Trapezium bone; Greater multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวปลาย อยู่ภายในข้อมือ กระดูกทราพีเซียมมีลักษณะเด่นคือจะมีร่องลึกทางด้านฝ่ามือ กระดูกชิ้นนี้จะตั้งอยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) ของข้อมือ ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 (first metacarpal bone) รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษากรีก trapezion ซึ่งหมายความตามตัวอักษรว่า รูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ (irregular quadrilateral) หรือมาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ หรือมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้า หรือ ขอ.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และกระดูกทราพีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกแคปปิเตต

กระดูกแคปปิเตต (Capitate bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ กระดูกนี้นับว่าเป็นกระดูกข้อมือที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ตรงกลางของข้อมือ ส่วนบนมีลักษณะเป็นหัวกระดูกกลม ซึ่งรับกับส่วนของกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกลูเนท (lunate) และถัดลงมาเป็นส่วนคอดเรียกว่า คอกระดูก และด้านล่างเป็นตัวกระดูก รากศัพท์ของชื่อกระดูก มาจากภาษาละติน capitātus แปลว่า มีหัว มาจาก capit- แปลว่า หัว.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และกระดูกแคปปิเตต · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส

ในทางกายวิภาคศาสตร์ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส (Flexor carpi radialis muscle; FCR) เป็นกล้ามเนื้อในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอและกางมือออก.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus; ECRL) เป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ข้อมือ กล้ามเนื้อนี้ค่อนข้างยาวเริ่มจากด้านข้างของกระดูกต้นแขน (humerus) และไปยึดเกาะกับฐานของกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 (2nd metacarpal) ในตอนแรกกล้ามเนื้อนี้จะวิ่งมาด้วยกันกับกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis) แต่จะกลายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อก่อน แล้ววิ่งอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (extensor carpi radialis brevis).

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

จุดเกาะปลาย

กาะปลาย (insertion) เป็นจุดที่กล้ามเนื้อเกาะกับผิวหนัง, กระดูก หรือกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ ตำแหน่งจุดเกาะปลายเป็นโครงสร้างที่จะเคลื่อนที่เมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อจะเป็นจุดที่เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) มาเกาะกับกระดูก ปลายอีกด้านหนึ่งของกล้ามเนื้อเราจะเรียกว่า จุดเกาะต้น (origin) โดยทั่วไป จุดเกาะปลายมักจะอยู่ส่วนปลาย (distal) มากกว่าจุดเกาะต้น แต่เนื่องจากร่างกายมีความสามารถในการเคลื่อนไหวสลับทิศทางกันได้ จึงไม่จำเป็นที่จุดนั้นๆ จะเป็นจุดเกาะปลายเสมอไป.

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และจุดเกาะปลาย · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วชี้

ผู้ชายกำลังชี้ไปที่ผู้หญิงคนหนึ่งในระหว่างการโต้แย้งทางการเมือง นิ้วชี้ (index finger; หรือชื่อเรียกอื่น forefinger, pointer finger, trigger finger, digitus secundus, digitus II และ ฯลฯ) เป็นนิ้วมือแรกในการนับจำนวนของมือมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ระหว่างนิ้วมือแรกกับนิ้วมือที่สามคือนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลาง ซึ่งเป็นนิ้วมือที่มีความคล่องตัวและมีความละเอียดอ่อนมากที่สุด แต่ไม่ได้เป็นนิ้วที่ยาวที่สุดเนื่องด้วยสั้นกว่านิ้วกลาง โดยที่อาจมีความสั้นหรือยาวกกว่านิ้วนาง เมื่อเทียบกับอัตราส่วนของนิ้วมือ "index finger" ในภาษาอังกฤษแท้จริงแล้วหมายถึง "นิ้วสำหรับชี้" จากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า indicate ซึ่งมีชื่อทางกายวิภาคคือ "นิ้วชี้" หรือ "นิ้วหลักที่สอง".

ใหม่!!: กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2และนิ้วชี้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Second metacarpalSecond metacarpal bone

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »