โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิหารนักบุญเปโตร

ดัชนี มหาวิหารนักบุญเปโตร

มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica of Saint Peter, Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าเซนต์ปีเตอร์สบาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่งในกรุงโรม นครรัฐวาติกัน (อีกสามมหาวิหาร คือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง).

44 ความสัมพันธ์: พระสันตะปาปาพระเยซูการ์โล มาแดร์โนมหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเรมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพงมหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมมหาวิหารเอกมุขมณฑลโรมมุขนายกมีเกลันเจโลสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมเด็จพระราชินีนาถคริสตีนาแห่งสวีเดนสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5สันตะสำนักสถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันอัครทูตอาวีญงอาวีญงปาปาซีอิกเนเชียสแห่งแอนติออกผังอาสนวิหารจักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จัน โลเรนโซ แบร์นีนีจาโกโม บารอซซี ดา วิญญอลาคริสตจักรคีตกวีซีโมนเปโตรประเทศฝรั่งเศสปีเอตะนครรัฐวาติกันแอนติออกแท่นบูชาโรมโรมันคาทอลิกโจวันนี ปีแอร์ลุยจี ดา ปาเลสตรีนาโถงทางเข้าโบสถ์คริสต์โดนาโต ดันเจโล บรามันเตโคลอสเซียมเยรูซาเลมเฮกตาร์เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การ์โล มาแดร์โน

้านหน้ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ การ์โล มาแดร์โน (Carlo Maderno; ค.ศ. 1556 - 30 มกราคม ค.ศ. 1629) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี-สวิสเกิดที่ตีชีโน (Ticino) ที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ส่วนที่พูดภาษาอิตาลี การ์โล มาแดร์โนถือกันว่าเป็นบิดาแห่งสถาปัตยกรรมบาโรก งานของมาแดร์โนด้านหน้าของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ วัดซานตาซูซานนา (Santa Susanna) และวัดซานตันเดรอาเดลลาวัลเล (Sant'Andrea della Valle) ถือกันว่าเป็นกุญแจสำคัญของการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมบาโรกของอิตาลี การ์โล มาแดร์โนมักจะรู้จักว่าเป็นพี่ชายของประติมากรสเตฟาโน มาแดร์โน (Stefano Maderno) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและการ์โล มาแดร์โน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร

มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร (Basilica di Santa Maria Maggiore) ในภาษาอังกฤษมักเรียกว่า St.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและมหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง

้านหน้ามหาวิหาร มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง (Basilica di San Paolo fuori le Mura; Basilica of St Paul Outside the Walls/St Paul-without-the-Walls) เป็นหนึ่งในสี่มหาวิหารเอกหรือมหาวิหารสันตะปาปา อีกสามแห่งที่เหลือ ได้แก่ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปโตร.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม

วาดมหาวิหารนักบุญเปโตรเดิมสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเชื่อกันว่าจะเป็นภาพมหาวิหารเมื่อราว ค.ศ. 1450 มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม เป็นสิ่งก่อสร้างซึ่งเคยตั้งอยู่ ณ จุดที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหารนักบุญเปโตรหลังปัจจุบันในกรุงโรมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึง 16 การก่อสร้างมหาวิหาร ซึ่งตั้งอยู่เหนือเซอร์คัสเนโรในอดีต เริ่มต้นขึ้นระหว่างรัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ชื่อ "มหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม" ถูกใช้สืบมานับตั้งแต่การก่อกร้างมหาวิหารปัจจุบันเพื่อแยกสิ่งก่อสร้างทั้งสองนี้.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและมหาวิหารนักบุญเปโตรเดิม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารเอก

มหาวิหารเอก (Basilica maior) คือมหาวิหารชั้นสูงสุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งมีอยู่ 4 แห่งคือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี และมหาวิหารนักบุญเปโตรในนครรัฐวาติกัน มหาวิหารใด ๆ นอกจาก 4 แห่งข้างต้นนี้ถือว่าเป็นมหาวิหารรอง (Basilica minor).

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและมหาวิหารเอก · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑลโรม

ตราประจำตำแหน่งพระสันตะปาปา มุขมณฑลโรม (Diocese of Rome) เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศอิตาลี มุขนายกประจำมุขมณฑลนี้มีตำแหน่งเป็นพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นประมุขพระองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและมุขมณฑลโรม · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถคริสตีนาแห่งสวีเดน

มเด็จพระราชินีนาถคริสติน่าแห่งสวีเดน เป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟ อดอล์ฟที่ 2 แห่งสวีเดน ประสูติในปี ค.ศ. 1626 ในพระราชวังสตอกโฮลม์ ประเทศสวีเดน พระนางมีบุคลิกลักษณะเหมือนผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โปรดการทรงม้า การลุกนั่งแบบผู้ชายและฉลองพระองค์สั้นผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทเรียกพระนางว่า เจ้าชายคริสติน.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและสมเด็จพระราชินีนาถคริสตีนาแห่งสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12

มเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 (Pius Papa XII) พระสันตะปาปาพระองค์ที่ 260 พระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1939 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีพระนามเดิมว่า เอวเจนีโอ มาเรีย จูเซปเป โจวันนี ปาเชลลี ก่อนได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา พระองค์เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการกรมการคริสตจักรวิสามัญ เอกอัครสมณทูตประจำประเทศเยอรมนี (ค.ศ. 1917 - 1929) และพระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งรัฐ ในช่วงนี้พระองค์ได้แสดงพระปรีชาสามารถในการทำสนธิสัญญากับชาติยุโรปและละตินอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความตกลง ไรช์คอนคอร์ดัท กับรัฐบาลนาซีเยอรมนี เพื่อปกป้องคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศเยอรมนีเวลานั้น และการที่พระองค์ไม่เอ่ยถึงชะตากรรมของชาวยิวต่อสาธารณชน ก็ทำให้พระองค์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก แต่นอกจากนั้นเบื้องหลัง พระสันตปาปาได้มีส่วนรู้ร่วมเห็นกับการลอบสังหารฮิตเลอร์ของเหล่าผู้บัญชาการระดับสูงเยอรมันที่มีความเกลียดต่อฮิตเลอร์ทั้งในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ได้ให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขาว่าจะเป็นผู้ประสานงานกับอังกฤษให้ยอมรับรัฐบาลชุดใหม่หลังนาซีถูกโค่นล้ม เนื่องจากความหวังที่จะหยุดยั้งการฆ่าล้างเผ่าของนาซีในทวีปยุโรป การกระทำของพระองค์นั้นเกือบจะตกเป็นเป้าหมายของนาซี เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง พระองค์เน้นพระกรณียกิจด้านการส่งเสริมสันติภาพและการปรองดอง รวมทั้งใช้มาตรการที่อ่อนโยนต่อประเทศฝ่ายอักษะ ในสมณสมัยของพระองค์เป็นช่วงที่มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกอย่างรุนแรงในประเทศค่ายตะวันออก ในด้านบทบาททางการเมืองในประเทศอิตาลี พระองค์มีส่วนสำคัญในการต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอิตาลี และให้ตัดขาดผู้สนับสนุนพรรคนี้ออกจากศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที 12 ยังใช้สิทธิ์การไม่ผิดพลั้งโดยอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปาเพื่อประกาศในสมณธรรมนูญ Munificentissimus Deus ปี..

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5

thumb สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 (Nicholas V) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1447 ถึง ค.ศ. 1455 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1940 นิโคลัสที่ 5.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและสมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

สันตะสำนัก

ม่มีความสัมพันธ์ สันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 251(Holy See) หรือที่บางตำราเรียกว่า อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 753 คือมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในกรุงโรม และเนื่องจากกรุงโรมมีความสำคัญที่สุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก บิชอปแห่งโรมจึงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาอันเป็นตำแหน่งประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดด้วย สันตะสำนักเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึง “สันตะสำนัก” จึงหมายถึงองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด และเป็นอาณาจักรทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายนานาชาติว่าเป็นรัฐอิสระที่มีประมุขเป็นพระสันตะปาปาและสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอื่นได้ สันตะสำนักแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ระดับ ได้แก.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและสันตะสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่น.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน ในพระสันตะปาปา (Arcibasilica Papale di San Giovanni in Laterano) หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน (Basilica di San Giovanni in Laterano) หรือเรียกอย่างสั้นว่า มหาวิหารลาเตรัน เป็นมหาวิหารเอกในกรุงโรมและเป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งกรุงโรม นับเป็นมหาวิหารที่เก่าแก่ที่สุดและมีตำแหน่งสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่แห่งในกรุงโรม และมีสถานะเป็นโบสถ์แม่ของโบสถ์ทั้งปวงในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน เป็นมหาวิหารที่เก่าแก่มากที่สุดและมีความอาวุโสสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่ในพระสันตะปาปาซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในโรม มีลำดับศักดิ์อยู่เหนือแม้กระทั่งมหาวิหารนักบุญเปโตร และเป็นเพียงอาสนวิหารเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีฐานะเป็น อัครมหาวิหาร และเนื่องจากเป็นอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุด จึงได้รับการยกย่องให้เป็นอาสนวิหารแม่ของศาสนจักรโรมันคาทอลิก หัวหน้าพระคนบัจจุบันคือ พระคาร์ดินัลอากอสตีโน วัลลี ซึ่งเป็นคาร์ดินัลใหญ่แห่งมุขมณฑลโรม ในขณะที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นแคนันกิตติมศักดิ์ (honorary canon) ประจำมหาวิหารฯ โดยตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งแคนันกิตติมศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งที่สืบทอดในหมู่ประมุขแห่งฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ด้านหน้าบริเวณทางเข้า มีศิลาจารึกเป็นภาษาละตินขนาดใหญ่ว่า Clemens XII Pont Max Anno V Christo Salvatori In Hon SS Ioan Bapt et Evang ซึ่งแปลอย่างย่อได้ว่า "สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 12 ในปีที่ 5 แห่งสมณสมัย ได้ทรงอุทิศอาคารหลังนี้แก่พระคริสต์เจ้าผู้ช่วยให้รอด ด้วยเกียรติของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร" หรือมีความหมายก็คือ เดิมดี มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระเยซู และในหลายศตวรรษต่อมาก็ประกาศร่วมอุทิศให้แก่นักบุญยอห์นทั้งสอง คือยอห์นผู้ให้บัพติศมาและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครมหาวิหารฯตั้งอยู่ในกรุงโรม แต่อยู่นอกเขตแดนของนครรัฐวาติกันประมาณ 4 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะไม่ได้อยู่ในวาติกัน แต่อัครมหาวิหารแห่งนี้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในฐานะสมบัติของสันตะสำนัก จากผลของสนธิสัญญาลาเตรัน..

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

อาวีญง

อาวีญง (Avignon) เป็นเมืองหลัก (Chef-lieu) ของเขตจังหวัดโวกลูซ แคว้นพรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ ทางภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโรน ประกอบด้วยประชากรทั้งหมด 94,787 คน (ณ ปีค.ศ. 2010) ในจำนวนนี้มีประมาณ 12,000 คนทีอาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่าของอาวีญง ในปัจจุบันเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และยังเป็นเมืองหลวงของจังหวัดโวกลูซ อาวีญงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองแห่งพระสันตะปาปา" เนื่องจากในอดีตนั้นเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสันตะปาปา (รวมทั้งพระสันตะปาปาเท็จ) ตั้งแต่ปีค.ศ. 1309 - ค.ศ. 1423 ในช่วงของการแตกแยกครั้งใหญ่ของคริสตจักร (Catholic Schism) นอกจากนี้อาวีญงยังเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองในประเทศฝรั่งเศสที่ยังมีกำแพงเมืองเก่าที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และยังมีศูนย์ประวัติศาสตร์ พระราชวังพระสันตะปาปา สะพานอาวีญง ซึ่งยังอยู่ในสภาพดี ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก เมื่อปีค.ศ. 1995 ในนาม Historic Centre of Avignon: Papal Palace, Episcopal Ensemble and Avignon Bridge (Centre historique d’Avignon: Palais des papes, ensemble épiscopal et Pont d’Avignon).

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและอาวีญง · ดูเพิ่มเติม »

อาวีญงปาปาซี

พระราชวังพระสันตะปาปาแห่งอาวีญง อาวีญงปาปาซี (Avignon Papacy) หรือ สมณสมัยอาวีญง คือช่วงเวลาที่พระสันตะปาปา 7 พระองค์ประทับ ณ เมืองอาวีญง ราชอาณาจักรฝรั่งเศส แทนการประทับที่กรุงโรมตามปกติ สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างองค์พระสันตะปาปากับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ภายหลังจากความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8 กับพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส และการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 11 ผู้สืบทอดตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาต่อจากสมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8 และดำรงสมณศักดิ์ได้เพียง 8 เดือน การประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาให้อาร์ชบิชอปแบร์ทร็อง ชาวฝรั่งเศส ขึ้นดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ในปี..

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและอาวีญงปาปาซี · ดูเพิ่มเติม »

อิกเนเชียสแห่งแอนติออก

นักบุญอิกเนเชียสแห่งแอนติออก (St.) บาทหลวงชาวซีเรีย ดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งแอนติออกราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคริสตจักรให้เป็นระบบ ทั้งในด้านเทววิทยา คริสตจักรวิทยา พิธีศักดิ์สิทธิ์ และบทบาทหน้าที่ของมุขนายก.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและอิกเนเชียสแห่งแอนติออก · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Otto III, Holy Roman Emperor Otto III, Holy Roman Emperor) (ค.ศ. 980 - 23 มกราคม ค.ศ. 1002) ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์ออทโทผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 996 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1002 ออทโทที่ 3 เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิออทโทที่ 2 และธีโอฟานู.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและจักรพรรดิออทโทที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จัน โลเรนโซ แบร์นีนี

ีอันโลเรนโซ แบร์นินี (Gian Lorenzo Bernini) (Giovanni Lorenzo Bernini, 7 ธันวาคม พ.ศ. 2141 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2223) เป็นประติมากรและสถาปนิกบาโรกที่มีชื่อเสียงในกรุงโรม เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและจัน โลเรนโซ แบร์นีนี · ดูเพิ่มเติม »

จาโกโม บารอซซี ดา วิญญอลา

ห้าระบบ บันทึกไว้โดย วิกโนลา หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ''Regole delle cinque ordini d'architettura''. จาโกโม บารอซซี ดา วิญญอลา (Giacomo Barozzi da Vignola, แปลได้เป็นว่า นายจาโกโม บารอซซี จากเมืองวิญญอลา แต่ได้รับการเรียกขานจากคนโดยทั่วไปตามชื่อเมืองเกิดของเขาว่า วิกโนลา, 1 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1507 - 7 กันยายน, ค.ศ. 1573) เป็นสถาปนิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในยุคศตวรรษที่ 16 ของอิตาลี ในรูปแบบของ แมนเนอริสม์ ผลงานที่สำคัญที่สุดสองชิ้นของเขาได้แก่ วิลล่า ฟาร์เนซ (Villa Farnese) ที่เมือง คาปราโรลา และ วัดเจซู ที่ โรม นักเขียนสามคนที่ได้เผยแพร่เนื้อหาของ อิตาเลียน เรเนซองส์ ไป ทั่วทั้งยุโรปตะวันตกได้แก่ วิญญอลา (Vignola), เซบาสติอาโน เซอริโอ (Sebastiano Serlio) อันเดรอา ปัลลาดิโอ (Andrea Palladio).

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและจาโกโม บารอซซี ดา วิญญอลา · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คีตกวี

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1820 คีตกวี เป็นคำศัพท์ทางดนตรีที่พบได้บ่อยครั้ง หมายถึง ผู้ประพันธ์ดนตรี มักจะใช้เรียกผู้ที่แต่งและเรียบเรียงดนตรีบางประเภท โดยเฉพาะ ดนตรีคลาสสิก โดยที่ผู้แต่งเพลงมักจะแต่งทั้งท่วงทำนองหลัก และแนวประสานทั้งหมด เพื่อให้นักดนตรีเป็นผู้นำบทเพลงนั้นไปบรรเลงอีกทอดหนึ่ง โดยนักดนตรีจะต้องบรรเลงทุกรายละเอียดที่คีตกวีได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด คำว่า คีตกวี ในภาษาไทยนี้ นิยมใช้เรียก ผู้ประพันธ์ดนตรีในแนวดนตรีคลาสสิกของตะวันตก โดยแปลมาจากคำว่า composer นั่นเอง อย่างไรก็ดี บางท่านอาจใช้คำว่า ดุริยกวี แต่ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน สำหรับผู้ที่แต่งเพลงในแนวดนตรีอื่นๆ มักจะเรียกว่า นักแต่งเพลง หรือ ครูเพลง เท่านั้น คีตกวี อาจไม่จำเป็นต้องประพันธ์ดนตรีลงในแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นผู้บรรเลงบทประพันธ์นั้นเป็นครั้งแรก และในภายหลังมีผู้อื่นนำไปใช้บรรเลงตามก็ได้ชื่อว่า คีตกวี เช่นกัน โดยทั่วไปเราจะรู้จัก คีตกวี ในฐานะที่เป็น นักแสดงดนตรี แม้ว่าหลายท่านจะมีผลงานการประพันธ์ดนตรี มากกว่าผลงานการบรรเลงก็ตาม เช่น เบโทเฟิน, โมซาร์ท, วากเนอร์ ฯลฯ.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและคีตกวี · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอตะ

ปีเอตะ" โดย มีเกลันเจโล ปีเอตะโดยลุยส์ จิเมเนซ ปีเอตะ (Pietà; pietas) มาจากภาษาอิตาลี ที่แปลว่า ความสงสาร คือหัวเรื่องของศิลปะในศาสนาคริสต์ที่เป็นรูปพระแม่มารีย์ประคองร่างพระเยซูที่เพิ่งอัญเชิญลงจากกางเขน ส่วนใหญ่จะพบในงานประติมากรรม Pietà เป็นหัวเรื่องหนึ่งในชุด “แม่พระระทมทุกข์” (Our Lady of Sorrows) และเป็นฉากหนึ่งใน “พระทรมานของพระเยซู” ซึ่งเป็นฉากที่มีพระแม่มารีย์ นางมารีย์ชาวมักดาลา และบุคคลอื่นล้อมพระศพพระเยซู (หลังจากที่อัญเชิญลงจากกางเขน) ด้วยความความโศกเศร้า ฉากนี้ตามความเป็นจริงแล้วควรจะเรียกว่า “Lamentation” แต่บางที่ก็จะใช้คำว่า “Pietà” แทน คำว่า “pietas” สืบมาจากประเพณีของชาวโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่มีการตึอกชกหัวและ "แสดงอารมณ...ความรักอันใหญ่หลวงและความกลัวอำนาจของเทพเจ้าโรมัน" ปีเอตะเริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปีเอตะแบบเยอรมันและโปแลนด์จะเน้นรอยแผลของพระเยซู.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและปีเอตะ · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

แอนติออก

ที่ตั้งของ “แอนติออก” ในประเทศตุรกีปัจจุบัน แอนติออก (Ἀντιόχεια ἡ ἐπὶ Δάφνῃ, Ἀντιόχεια ἡ ἐπὶ Ὀρόντου หรือ Ἀντιόχεια ἡ Μεγάλη; Antiochia ad Orontem; Antioch หรือ Great Antioch หรือ Syrian Antioch) เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนฝั่ง แม่น้ำออรอนตีส ในประเทศตุรกีปัจจุบัน แอนติออกตั้งอยู่ใกล้กับเมืองใหม่อันทาเคีย แอนติออกก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชโดยเซลิวคัสที่ 1 นิคาเตอร์ขุนพลในพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แอนติออกเจริญขึ้นมาจนในที่สุดก็เป็นเมืองคู่แข่งของอะเล็กซานเดรีย และเป็นเมืองเอกของตะวันออกใกล้ และเป็นเมืองศูนย์กลางของประวัติศาสตร์ยุคแรกของคริสต์ศาสน.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและแอนติออก · ดูเพิ่มเติม »

แท่นบูชา

แท่นบูชา แท่นบูชา (altar) เป็นโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้วางสิ่งของที่ใช้ในพิธีมิสซาในคริสต์ศาสนสถาน ต้องจัดวางไว้ให้เด่นที่สุดในโบสถ์ และไม่ใช่เป็นโต๊ะวางสิ่งของจิปาถะ แท่นบูชาใช้วางผ้ารองศีล ผ้าเช็ดกาลิกส์ หนังสือมิสซา ถ้วยกาลิกส์ และแผ่นปัง แท่นบูชามีประโยชน์ใช้สอยทางสถาปัตยกรรมในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรม และไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งอาคาร บนแท่นบูชานี้ จะต้องจัดให้สามารถนำภาชนะศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สำหรับภาคถวายมาวางไว้ได้อย่างสะดวกในเวลาประกอบพิธี เช่น จานรองศีล พร้อมแผ่นปัง กาลิกส์ที่มีเหล้าองุ่น นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิธีมิสซา ไมโครโฟน และสิ่งอื่นเท่าที่จำเป็น แท่นบูชาไม่ใช่โต๊ะวางของ จึงควรมีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นสำหรับภาคถวายเท่านั้น แท่นบูชาของคริสตชนในสมัยแรกเป็นโต๊ะไม้เคลื่อนที่ได้ ต่อมาเป็นแบบตั้งอยู่กับที่ และในจารีตละตินให้เป็นแบบทำศิลาหรือหินเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมของพระศาสนจักรที่รับสืบทอดกันมา และให้สอดคล้องกับ สัญลักษณ์จากพระคัมภีร์เกี่ยวกับแท่นบูชาจะต้องทำด้วยหิน และหินธรรมชาติด้วย ซึ่งแท่นหรือหินเป็นรูปแบบที่ชาวอิสราเอลใช้เป็นที่ถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า แท่นบูชามี 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โจวันนี ปีแอร์ลุยจี ดา ปาเลสตรีนา

thumb โจวานนี เปียร์ลุยจี ปาเลสตรินา (Giovanni Pierluigi da Palestrina; 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1525 หรือ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1526 – 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1594) คีตกวีชาวอิตาเลียนในช่วงปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ปาเลสตรินาเกิดที่เมืองปาเลสตรินา เป็นเมืองเล็กๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโรม และอยู่ในอาณาจักรพระสันตะปาปา เริ่มงานจากการเป็นนักร้องเสียงประสานในโบสถ์ และได้เริ่มฝึกหัดออร์แกนและเรียบเรียงดนตรีสวด ผลงานประพันธ์ของปาเลสตรินาเป็นที่ประทับใจสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 3 ที่ทรงเคยเป็นบิชอปแห่งปาเลสตรินา จึงทรงแต่งตั้งให้เขาเป็นผู้อำนวยการดนตรี เขาได้ผลิตผลงานเพลงด้านศาสนาออกมาเป็นจำนวนหลายร้อยชิ้น ปาเลสตรินาเสียชีวิตในวันที่ 2 กุมภาพัน..1594 ด้วยอาการเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ที่กรุงโรม.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและโจวันนี ปีแอร์ลุยจี ดา ปาเลสตรีนา · ดูเพิ่มเติม »

โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์

แผนผังโบสถ์คอราที่แสดงทั้งโถงทางเข้าโบสถ์ทั้งด้านนอกและด้านใน แผนผังคริสต์ศาสนสถานที่แสดงโถงทางเข้าโบสถ์เป็นสีเทา โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์, หน้า 92 (narthex) คือ บริเวณทางเข้าของโบสถ์คริสต์ เป็นบริเวณรับรองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตก ตอนปลายสุดของบริเวณกลางโบสถ์ที่ตรงกันข้ามกับบริเวณที่ตั้งของแท่นบูชาเอก ตามปกติแล้วโถงทางเข้าโบสถ์เป็นส่วนหนึ่งของคริสต์ศาสนสถาน แต่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวสิ่งก่อสร้างหลัก ตัวโถงทางเข้าโบสถ์อาจจะตั้งอยู่ภายในตัวอาคารและแยกจากบริเวณกลางโบสถ์ด้วยฉากหรือราว หรืออาจจะสร้างเป็นองค์ประกอบภายนอกเช่นมุขทางเข้า จุดประสงค์ของการมีโถงทางเข้าโบสถ์ก็เพื่อให้เป็นบริเวณสำหรับผู้ไม่มีสิทธิเข้าร่วมพิธี เช่น ผู้ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป หรือผู้ที่มีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการมีโอกาสเข้าร่วมพิธีในบริเวณที่จัดให้เฉพาะ บริเวณนี้มักจะเป็นที่ตั้งของอ่างล้างบาปเพื่อให้เด็กหรือผู้ใหญ่สามารถทำรับศีลล้างบาปก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณหลักของโบสถ์ ฉะนั้นตามปกติแล้วบริเวณนี้จึงเป็นสถานที่สำหรับผู้มีทำบาป ในศาสนาคริสต์ตะวันออก บางครั้งก็จะใช้เป็นที่ทำพิธีแก้บาปเช่นพิธีระหว่างสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ รัสเซียนออร์ทอดอกซ์มักจะทำพิธีศพในบริเวณนี้.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและโถงทางเข้าโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โดนาโต ดันเจโล บรามันเต

โดนาโต ดันเจโล บรามันเต โดนาโต ดันเจโล บรามันเต (ค.ศ. 1444 - 11 มีนาคม ค.ศ. 1514) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี ซึ่งเป็นผู้นำรูปแบบหรือสไตล์ที่เรียกว่าเออร์ลี่เรเนซองส์เข้ามาในเมืองมิลาน และไฮเรเนซองส์สู่โรม ซึ่ง ณ โรมแห่งนี้ เขาได้ทำการออกแบบผลงานที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกได้แก่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter's Basilica) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1987 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอิตาลี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นมาร์เค.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและโดนาโต ดันเจโล บรามันเต · ดูเพิ่มเติม »

โคลอสเซียม

ลอสเซียม (Colosseum), โคลิเซียม (Coliseum) หรือทวิอัฒจันทร์ฟลาเวียน (Flavian Amphitheatre; Amphitheatrum Flavium; Anfiteatro Flavio หรือ Colosseo) เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปี 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและโคลอสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เฮกตาร์

กตาร์ คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ha จากภาษาอังกฤษ hectare 1 เฮกตาร์ มีค่าเท่ากับ.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและเฮกตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต

“เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต” มาเรีย คลีเม็นทินา โซบิเอสกา พระชายา หลุมศพของเจ้าชายเจมส์ เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต หรือ ผู้อ้างสิทธิ(ภาษาอังกฤษ: James Francis Edward Stuart หรือ The Old Pretender หรือ The Old Chevalier) (10 มิถุนายน ค.ศ. 1688 – 1 มกราคม ค.ศ. 1766) เจมส์ได้รับการขนานพระนามว่า The Old Pretender (ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์) เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษผู้ถูกปลดจากราชบัลลังก์อังกฤษ และ สมเด็จพระราชินีแมรีแห่งโมดีนา ในฐานะที่เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เจมส์ ฟรานซิสจึงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชอาณาจักรอังกฤษ และราชอาณาจักรสกอตแลนด์ในนาม เจมส์ที่ 3 แห่งอังกฤษ และ เจมส์ที่ 8 แห่งสกอตแลนด์ เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1701 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงประกาศว่าเจมส์ ฟรานซิสเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ สกอตแลนด์และไอร์แลน.

ใหม่!!: มหาวิหารนักบุญเปโตรและเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Basilica of Saint PeterSt Peter's BasilicaSt. Peter's Basilicaมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์วิหารเซนต์ปีเตอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »