เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์

ดัชนี โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์

แผนผังโบสถ์คอราที่แสดงทั้งโถงทางเข้าโบสถ์ทั้งด้านนอกและด้านใน แผนผังคริสต์ศาสนสถานที่แสดงโถงทางเข้าโบสถ์เป็นสีเทา โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์, หน้า 92 (narthex) คือ บริเวณทางเข้าของโบสถ์คริสต์ เป็นบริเวณรับรองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตก ตอนปลายสุดของบริเวณกลางโบสถ์ที่ตรงกันข้ามกับบริเวณที่ตั้งของแท่นบูชาเอก ตามปกติแล้วโถงทางเข้าโบสถ์เป็นส่วนหนึ่งของคริสต์ศาสนสถาน แต่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวสิ่งก่อสร้างหลัก ตัวโถงทางเข้าโบสถ์อาจจะตั้งอยู่ภายในตัวอาคารและแยกจากบริเวณกลางโบสถ์ด้วยฉากหรือราว หรืออาจจะสร้างเป็นองค์ประกอบภายนอกเช่นมุขทางเข้า จุดประสงค์ของการมีโถงทางเข้าโบสถ์ก็เพื่อให้เป็นบริเวณสำหรับผู้ไม่มีสิทธิเข้าร่วมพิธี เช่น ผู้ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป หรือผู้ที่มีความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการมีโอกาสเข้าร่วมพิธีในบริเวณที่จัดให้เฉพาะ บริเวณนี้มักจะเป็นที่ตั้งของอ่างล้างบาปเพื่อให้เด็กหรือผู้ใหญ่สามารถทำรับศีลล้างบาปก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณหลักของโบสถ์ ฉะนั้นตามปกติแล้วบริเวณนี้จึงเป็นสถานที่สำหรับผู้มีทำบาป ในศาสนาคริสต์ตะวันออก บางครั้งก็จะใช้เป็นที่ทำพิธีแก้บาปเช่นพิธีระหว่างสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ รัสเซียนออร์ทอดอกซ์มักจะทำพิธีศพในบริเวณนี้.

สารบัญ

  1. 10 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์มุขทางเข้าศาสนาคริสต์ตะวันออกสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์สถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์อ่างล้างบาปคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์โบสถ์คริสต์

  2. สถาปัตยกรรมคริสต์ศาสนสถาน
  3. ส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้าง

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ดู โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์และบริเวณกลางโบสถ์

มุขทางเข้า

มุขทางเข้าของถ้ำสองที่ถ้ำอชันตะ มุขทางเข้า (porch) คือส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนที่ปกคลุมทางเข้าไปในตัวสิ่งก่อสร้าง ตัวส่วนประกอบจะอยู่ภายนอกผนังของตัวสิ่งก่อสร้างหลักที่อาจจะล้อมรอบด้วยฉาก ระแนงสาน หน้าต่างกว้าง หรือกำแพงที่บางเบาทีก็จะยื่นออกมาจากตัวสิ่งก่อสร้าง ลักษณะการสร้างมุขทางเข้าก็มีด้วยกันหลายแบบที่ขึ้นอยู่กับลักษณะของการก่อสร้างของแต่ละสมัยและของแต่ละท้องถิ่น จุดประสงค์ของการมีมุขทางเข้าก็เพื่อให้มีบริเวณให้ผู้ที่จะเข้าไปในตัวสิ่งก่อสร้างได้มีที่หยุดพักก่อนที่จะเข้าไปในอาคารหรือใช้หลบแดดหลบฝน แต่บางครั้งมุขทางเข้าก็อาจจะมีขนาดใหญ่ เช่น ระเบียงคลุม (Verandah) ที่มักจะที่อาจจะแล่นตลอดแนวด้านหน้าหรือด้านข้างของตัวสิ่งก่อสร้างหลักก็ได้.

ดู โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์และมุขทางเข้า

ศาสนาคริสต์ตะวันออก

นาคริสต์ตะวันออก เป็นกลุ่มคริสตจักรที่พัฒนาในคาบสมุทรบอลข่าน ยุโรปตะวันออก เอเชียไมเนอร์ และตะวันออกกลาง ซึ่งนิยมใช้เพื่อเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์ตะวันตกที่มีพัฒนาการในทวีปยุโรปตะวันตก การแยกระหว่างตะวันตก-ตะวันออกนี้มีมาตั้งแต่การแตกจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในบางครั้งก็นิยมเรียกคริสตจักรเหล่านี้ว่า "ออร์โธด็อกซ์" กลุ่มคริสตจักรที่อยู่ในจำพวกนี้ ได้แก.

ดู โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์และศาสนาคริสต์ตะวันออก

สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

ัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2, 252-3, 395-6 (Holy Week) เป็นสัปดาห์สำคัญในปีพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ตรงกับสัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรต ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลา 1 สัปดาห์ก่อนวันอีสเตอร์ ในสัปดาห์นี้มีวันสำคัญหลายวัน ได้แก่ วันอาทิตย์ใบลาน วันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ประเสริฐ และวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่รวมวันอีสเตอร์ สำหรับนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มจากวันเสาร์ลาซารัส (ก่อนวันอาทิตย์ใบลาน).

ดู โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์และสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ดู โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์และสถาปัตยกรรมกอทิก

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ดู โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์

ซนต์มาร์ค ที่เวนิส ประเทศอิตาลี รูปแบบสถาปัตยกรรมบีเซินทีน สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ หรือ สถาปัตยกรรมไบแซนทีน (Byzantine architecture; /bī-ˈzanˌtēn/merriam-webster.com.) คือสถาปัตยกรรมที่เริ่มประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 ลักษณะอาคารส่วนใหญ่เป็นโดมคลุมบนเนื้อที่กลม สี่เหลี่ยม หรือรูปหลายเหลี่ยม บางครั้งมีการจัดรูปทรงภายนอกเป็นโดมหลายอัน ต่างขนาดกัน ลดหลั่นกันไป โดยส่วนใหญ่ยึดหลักสมดุลชนิด 2 ข้างเท่ากันรอบแกนใดแกนหนึ่ง เช่น โบสถ์เซนต์มาร์ค ที่เวนิส ประเทศอิตาลี.

ดู โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์และสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์

อ่างล้างบาป

อ่างล้างบาปที่มหาวิหารวอมส์ ประเทศเยอรมนี อ่างล้างบาปสมัยกลาง จากเมือง Norrköping ประเทศสวีเดน อ่างล้างบาป (Baptismal font) คือภาชนะที่ใช้ทำพิธีบัพติศมาสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ “พิธีบัพติศมา” ก็มีหลายแบบ -- พรมน้ำ รดน้ำ หรือจุ่มลงไปในน้ำทั้งตัว อย่างคำในภาษากรีกว่า βαπτιζω คำนี้แปลว่าดำลงไป แต่อ่างล้างบาปโดยทั่วไปจะเล็กเกินกว่าที่จะใช้วิธีนี้ได้นอกจากกับเด็กทารก.

ดู โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์และอ่างล้างบาป

คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์

ริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ หรือ ศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย (Русская Православная Церковь; Russian Orthodox Church) ในยุคก่อนปี..

ดู โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์และคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ดู โถงทางเข้าโบสถ์คริสต์และโบสถ์คริสต์

ดูเพิ่มเติม

สถาปัตยกรรมคริสต์ศาสนสถาน

ส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้าง

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Narthexปฏิมณฑลนาร์เธ็กซ์