เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภาษาเรียง

ดัชนี ภาษาเรียง

ษาเรียง (Riang language) มีผู้พูดทั้งหมด 15,500 คน พบในพม่า 12,500 คน (พ.ศ. 2551) ในรัฐฉาน พบในจีน 3,000 คน (พ.ศ. 2538) ในมณฑลยูนนาน จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรเหนือ สาขาย่อยปะหล่อง ผู้พูดภาษานี้ในพม่าส่วนใหญ่พูดภาษาไทใหญ่ได้ด้วย เขียนด้วยอักษรละติน.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษามอญ-เขมรภาษาไทใหญ่มณฑลยูนนานรัฐชานอักษรละติน

  2. ภาษาในประเทศพม่า

กลุ่มภาษามอญ-เขมร

กลุ่มภาษามอญ-เขมร เป็นกลุ่มของภาษาพื้นเมืองในแถบอินโดจีน อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกเช่นเดียวกับกลุ่มภาษามุนดาในอินเดีย การแบ่งกลุ่มย่อยของภาษาในกลุ่มนี้ ตามการแบ่งของ Diffloth ที่เขียนไว้ใน Encyclopedia Britannica เมื่อ..

ดู ภาษาเรียงและกลุ่มภาษามอญ-เขมร

ภาษาไทใหญ่

ษาไทใหญ่ หรือ ภาษาฉาน (ไทใหญ่:, ความไท, /kwáːm.táj/; Shan language) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้พูดที่แน่นอน เนื่องจากสงครามระหว่างพม่ากับไทใหญ่ ทำให้การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับชาวไทใหญ่ทำได้ยาก คาดว่ามีผู้พูดราว 4-30 ล้านคน มีอักษรเป็นของตนเอง 2 ชนิดคือ อักษรไทใหญ่ ใช้ในพม่า และอักษรไทใต้คง ใช้ในจีน แม้ว่าจะมีคำกล่าวว่า "อย่ากิ๋นอย่างม่าน อย่าตานอย่างไต" ซึ่งเปรียบเทียบวิถีชีวิตของชาวพม่าที่ให้ความสำคัญกับการกินอยู่ ซึ่งแตกต่างจากชาวไทใหญ่ที่ให้ความสำคัญแก่การทำบุญ ถึงกระนั้นไทใหญ่ก็รับวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนถึงคำในภาษาพม่าเข้ามามาก จนคำไทใหญ่หลายถิ่นเป็นกวามไตลอแล คือไทใหญ่พูดคำพม่าปนไปหมด เช่นที่เมืองสีป้อและเมืองยางเป็นต้น.

ดู ภาษาเรียงและภาษาไทใหญ่

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม.

ดู ภาษาเรียงและมณฑลยูนนาน

รัฐชาน

รัฐชาน หรือ รัฐฉาน (ရှမ်းပြည်နယ်, ช้าน ปหฺยี่แหน่; ไทใหญ่:; เมิ้งไต๊) บ้างเรียก รัฐไทใหญ่ เป็นรัฐหนึ่งในประเทศพม.

ดู ภาษาเรียงและรัฐชาน

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ดู ภาษาเรียงและอักษรละติน

ดูเพิ่มเติม

ภาษาในประเทศพม่า