โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษามณีปุระพิษณุปุระ

ดัชนี ภาษามณีปุระพิษณุปุระ

ษามณีปุระพิษณุปุระ (ইমার ঠার/বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী) เป็นภาษาในกลุ่มอินโด-อารยัน พูดในบางส่วนของแคว้นอัสสัม, ตรีปุระ, มณีปุระในประเทศอินเดีย และบางส่วนของบังกลาเทศ และพม่าต่างจากภาษามณีปุระหรือภาษาไมไตที่เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม.

27 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาอินโด-อารยันกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านภาษามหาราษฏรีภาษามณีปุระภาษามคธภาษาสันสกฤตภาษาอัสสัมภาษาฮินดีภาษาปรากฤตภาษาโอริยาภาษาเบงกาลีมหาภารตะรัฐมิโซรัมรัฐอรุณาจัลประเทศรัฐนาคาแลนด์รัฐเมฆาลัยหัสตินาปุระอักษรเบงกาลีอักษรเทวนาครีตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าตะวันออกกลางประเทศบังกลาเทศประเทศพม่าประเทศออสเตรเลียประเทศอังกฤษประเทศอินเดียประเทศแคนาดา

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ตที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโดอารยัน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน จากรายงานใน..

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามหาราษฏรี

ษามหาราษฏรี (Maharashtri; ภาษามราฐี: महाराष्ट्री प्राकृत) เป็นภาษาในอินเดียยุคกลางและยุคโบราณ พัฒนามาจากภาษาสันสกฤต เคยใช้พูดในบริเวณที่เป็นรัฐมหาราษฏระและส่วนอื่นๆของอินเดีย เป็นต้นกำเนิดของภาษามราฐี รวมทั้งภาษากอนกานี ภาษามัลดีฟส์และภาษาสิงหล จัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง และเป็นภาษาปรากฤตที่ใช้ในบทละครและแพร่หลายที่สุดด้วย โดยเฉพาะบทละครของกาลิทาสใช้พูดตั้งแต่ทางเหนือจากมัลวาและราชปุตนะไปจนถึงกฤษณะและบริเวณแม่น้ำตุงคภัทรทางใต้ ภาษามหาราษฏระเป็นหนึ่งในภาษาปรากฤตที่เข้ามามีบทบาทเมื่อเลิกใช้ภาษาสันสกฤตในการติดต่อสื่อสาร โดยแพร่หลายในช่วง..

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและภาษามหาราษฏรี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามณีปุระ

ษามณีปุระ หรือ ภาษาไมไต เป็นภาษากลางในรัฐมณีปุระทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และเป็นภาษาราชการของรัฐนี้ด้วย มีผู้พูดทั้งหมด 1,391,000 คน พบในอินเดีย 1,370,000 คน (พ.ศ. 2543) ในรัฐมณีปุระ รัฐอัสสัม รัฐนาคาแลนด์ รัฐตรีปุระ รัฐอุตตรประเทศ ผู้พูดภาษานี้จะพูดภาษาฮินดีได้ด้วย พบในบังกลาเทศ 15,000 คน (พ.ศ. 2546) จะพูดภาษาเบงกาลีหรือภาษาสิลเหติได้ด้วย พบในพม่า 6,000 คน (พ.ศ. 2474) จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า ในรัฐมณีปุระ มีรายการวิทยุออกอากาศด้วยภาษานี้ เขียนด้วยอักษรเบงกาลีหรืออักษรมณีปุระ เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เป็นภาษาที่มีการสอนถึงระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยแห่งอินเดีย และใช้เป็นภาษาในการสอนปริญญาตรีในรัฐมณีปุระ เป็นภาษาที่ต่างจากภาษามณีปุระพิษณุปุระที่เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและภาษามณีปุระ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามคธ

ษามคธ (อ่านว่า มะ-คด บางครั้งเรียก มาคธี, มคธี หรือ มคฮี) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่นๆรวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่นๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธ เรียกว่า ภาษาอรธมาคธี (แปลว่า ภาษากึ่งมคธ) ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธกับภาษาอรธมาคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี ภาษามคธยังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและภาษามคธ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัสสัม

อัสสัม (অসমীয়া โอสัมมิยะ; Assamese Language) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวพื้นเมืองในรัฐอัสสัม มีผู้พูดภาษานี้ในรัฐอรุณาจัลประเทศ และรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนืออื่นๆของอินเดีย รวมทั้งในประเทศภูฏาน และบังกลาเทศด้วย จัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนตะวันออก คำว่าอัสสัมเป็นภาษาอังกฤษหมายถึงกลุ่มชนที่อยู่ในหุบเขาพรหมบุตร แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า อาหม และเรียกภาษาของเขาว่า อาหมม.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและภาษาอัสสัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปรากฤต

ษาปรากฤต (Prakrit) เป็นภาษาโบราณกลุ่มหนึ่งในอินเดียสมัยโบราณ จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (อินเดีย-ยุโรป)ในสาขาย่อย ภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) โดยมากจะจัดเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการในกึ่งกลาง ระหว่างภาษาโบราณกับภาษาสมัยใหม่ ที่เรียก ภาษาปรากฤตนี้ ไม่ได้หมายจำเพาะไปที่ตัวภาษาหนึ่งภาษาใด แต่เป็นการเรียกภาษากลุ่มหนึ่งในระดับภาษาถิ่น และเป็นการยากที่จะระบุให้ชัดว่าภาษาปรากฤตคืออย่างไร และนักวิชาการด้านภาษาอินเดียก็ยังมีความเห็นไม่ลงรอยกัน บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาถิ่นอินเดียยุคใหม่ รวมทั้งในยุคกลาง หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาสันสกฤตและภาษาพระเวท บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาอินเดียยุคใหม่ ที่วิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤตยุคกลาง นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอว่า ภาษาปรากฤตคือภาษาถิ่นของภาษาสันสกฤต และยังมีความเห็นว่า ภาษาบาลี ก็อาจจัดอยู่ในกลุ่มภาษาปรากฤตก็ได้ หลักฐานภาษาปรากฤตที่เก่าแก่ที่สุด คือจารึกอโศก บนเสาอโศก ที่พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้สร้างขึ้น โดยใช้อักษรพราหมี ทว่าไม่ปรากฏว่ามีการใช้ภาษาปรากฤตในงานวรรณกรรมอย่างกว้างขวาง แต่กลับมีการใช้ในรูปของภาษาพูด ดังจะพบได้จากบทละครภาษาสันสกฤต ที่ให้ตัวละครในวรรณะสูงพูดภาษาสันสกฤต ขณะที่วรรณะต่ำจะพูดภาษาปรากฤต หรือภาษาอปรภรัมศะ คำว่า ปรากฤต ในภาษาสันสกฤต นั้น หมายถึง ธรรมชาติ ปกติ ดั้งเดิม หรือท้องถิ่น ฯลฯ นักภาษาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า ภาษาปรากฤต น่าจะหมายถึงภาษาที่มีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติตามกระบวนการทางภาษา ซึ่งตรงข้ามกับภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง ขัดเกลาแล้ว อันเป็นภาษาที่ได้รับการวางระเบียบกฎเกณฑ์โดยนักปราชญ์ ในแง่ของไวยากรณ์แล้ว ภาษาปรากฤตมีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษาสันสกฤตอย่างมาก ไม่มีทวิพจน์ มีการกน้อยกว่า และมีการแจกกริยาที่ง่ายกว่า และคำศัพท์ทั้งหมดในภาษาปรากฤตก็มาจากต้นกำเนิดในภาษาอินเดียโบราณ ภาษาอรรธมคธีเป็นรูปแบบโบราณของภาษามคธี ซึ่งใช้ในการเขียนเอกสารทางศาสนาเชน และมักเป็นตัวแทนของภาษาปรากฤต นักไวยากรณ์ของภาษาปรากฤตจะแสดงไวยากรณ์ของภาษาอรรธมคธีก่อน เพราะฉะนั้นในการเรียนภาษาปรากฤต มักจะเริ่มด้วยภาษาอรรธมคธี.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและภาษาปรากฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโอริยา

ภาษาโอริยา (Oriya, ଓଡ଼ିଆ oṛiā) เป็นภาษาที่ใช้ในรัฐโอริศาของอินเดีย และเนื่องจากมีการอพยพของแรงงาน รัฐคุชราต ก็มีคนพูดภาษาโอริยาพอสมควรด้วย (เมืองสุรัตเป็นเมืองที่มีคนพูดภาษาโอริยามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของอินเดีย) และเป็นภาษาราชการของอินเดียด้วย ภาษาโอริยาเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาอินโด-อารยัน และคาดว่าน่าจะพัฒนามาจากภาษาปรากฤตที่ใช้พูดในอินเดียเมื่อ 1,500 ปีก่อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาเบงกาลี ภาษาไมถิลี และภาษาอัสสัม เป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียน้อยที่สุดในบรรดาภาษาในอินเดียเหนือด้วยกัน แต่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธและศาสนาเชนมาก เขียนด้วยอักษรโอริยา อโอริยา.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและภาษาโอริยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบงกาลี

ษาเบงกาลี (বাংলা, บังคลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังคลาเทศ และรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ที่ติดกับบังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังคลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกาลี ในภาษาอังกฤษ Bengali ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกาลีเองเรียกภาษาว่า Bangla: บังคลา (বাঙলা), ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาบังคลา ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางกาลี (বাংলা) ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกาลีเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bongo: บองโก Banga: บางกา หรือ Bangla: บังคลา ในภาษาเบงกาลี "Bangadesh: บางกาเทศ" และ "Bangladesh: บังคลาเทศ" เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bongo: ปอจิม บองโก หรือ ประจิมบังกา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bongo: ปูร์โบ บองโก หรือ บูรพาบังกา) กลายเป็นประเทศบังคลาเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกาลีมากกว่า250ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อ เดือนกันยายน..

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและภาษาเบงกาลี · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและมหาภารตะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมิโซรัม

รัฐมิโซรัม คือหนึ่งในเจ็ดรัฐทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย แยกออกจากรัฐมณีปุระเมื่อปี..

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและรัฐมิโซรัม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอรุณาจัลประเทศ

ประเทศ รัฐอรุณาจัลประเทศ คือ ดินแดนใต้การปกครองของประเทศอินเดีย แต่ถูกเรียกร้องจากทางการจีนว่าเป็นดินแดนของตนในชื่อว่า ทิเบตใต้ (藏南 ซั่นหนาน) รัฐอรุณาจัลประเทศมีเขตติดต่อกับ รัฐอัสสัมและรัฐนาคาแลนด์ทางใต้ รัฐกะฉิ่น ประเทศพม่าทางตะวันออก ประเทศภูฏานทางตะวันตก และเขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีนทางทิศเหนือ อรุณาจัลประเทศมีความหมายว่า ดินแดนอาทิตย์อุทัย เนื่องจากตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศอินเดีย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าที่พูดตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เป็นเชื้อสายชาวทิเบต ชาวไท และชาวพม่า โดยมีประชากรร้อยละ 16 เป็นผู้อพยพ เป็นรัฐที่มีชื่อเสียงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มีงานศิลปหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและรัฐอรุณาจัลประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนาคาแลนด์

รัฐนาคาแลนด์ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและรัฐนาคาแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเมฆาลัย

รัฐเมฆาลัย (Meghalaya) คือหนึ่งในรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีเขตติดต่อกับประเทศบังกลาเทศทางทิศใต้และตะวันตก และรัฐอัสสัมทางทิศเหนือและตะวันออก ในปัจจุบันหนึ่งในสามของรัฐยังคงปกคลุมไปด้วยป่าไม้ นอกจากนี้แล้ว รัฐเมฆาลัยยังถือเป็นสถานที่ ๆ ฝนตกชุกที่สุดในโลกและเป็นสถานที่ ๆ ชื้นแฉะที่สุดในโลกอีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและรัฐเมฆาลัย · ดูเพิ่มเติม »

หัสตินาปุระ

วาดท้าวยุธิษฐิระเสด็จกลับกรุงหัสตินาปุระหลังสงครามทุ่งกุรุเกษตร กรุงหัสตินาปุระ (เทวนาครี: हस्‍तिनापुर) เป็นเมืองหนึ่งในเรื่องมหาภารตะ ปัจจุบันอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในอดีตมีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ อันประกอบไปด้ว.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและหัสตินาปุระ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเบงกาลี

อักษรเบงกาลี หรือ อักษรเบงกอล ใช้เขียนภาษาเบงกาลีและภาษาอัสสัม พัฒนามาจากอักษรพราหมีและจัดว่าใกล้เคียงกับอักษรเทวนาครี ปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 11 รูปแบบที่ใช้ในการพิมพ์ เริ่มใช้ใน พ.ศ. 2321เมื่อ ชาร์ล วิลกินส์ คิดค้นระบบการพิมพ์ด้วยอักษรเบงกาลี มีการปรับปรุงเล็กน้อยใน คริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและอักษรเบงกาลี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ใช้พูดในเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง พม่า ทิเบต ภาคเหนือของไทย ภาคกลางของจีน ภาคเหนือของเนปาล ภูฏาน อินเดียและปากีสถาน ภาษากลุ่มนี้มี 350 ภาษา ภาษาพม่ามีผู้พูดมากที่สุด (ประมาณ 32 ล้านคน) มีผู้พูดภาษาทิเบตทุกสำเนียงอีกราว 8 ล้านคน นักภาษาศาสตร์บางคนเช่น George van Driem เสนอให้จัดตระกูลทิเบต-พม่าขึ้นเป็นตระกูลใหญ่ และให้กลุ่มภาษาจีนมาเป็นกลุ่มย่อยแทนแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบังกลาเทศ

ังกลาเทศ (বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: ภาษามณีปุระพิษณุปุระและประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษาบิชนูปริยะภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »