โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

ดัชนี กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

56 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาอินโด-อารยันกลุ่มภาษาปามีร์ภาษาบาลูจิภาษาบาลีภาษาพัชโตภาษากัมกาตา-วิรีภาษากาลาซาอลาภาษามราฐีภาษามัลดีฟส์ภาษามาห์ลภาษามคธภาษายักโนบีภาษาสันสกฤตภาษาสิงหลภาษาสินธีภาษาสุมัสติภาษาออสซีเชียภาษาอัสกุนุภาษาอัสสัมภาษาอังคิกาภาษาอูรดูภาษาอเวสตะภาษาฮินดีภาษาทาจิกภาษาดารีภาษาดาเมลีภาษาคาวาร์-บาตีภาษาคุชราตภาษาตัตภาษาตาลิซภาษาซอกเดียภาษาซาฮาภาษาปัญจาบภาษาปาลูลาภาษาปาซายีภาษาแบกเตรียภาษาแคชเมียร์ภาษาโกฮิสถานภาษาโภชปุรีภาษาโอริยาภาษาโดมาอากีภาษาโควาร์ภาษาไมถิลีภาษาเบงกาลีภาษาเคิร์ดภาษาเตรกามีภาษาเปอร์เซียภาษาเปอร์เซียกลางภาษาเปอร์เซียโบราณภาษาเนปาล...ทะเลแคสเปียนตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประเทศอัฟกานิสถานประเทศอิหร่านประเทศปากีสถานเอเชียใต้ ขยายดัชนี (6 มากกว่า) »

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ตที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโดอารยัน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน จากรายงานใน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาปามีร์

กลุ่มภาษาปามีร์ (Pamir languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาอิหร่าน พูดโดยชาวปามีร์บนเทือกเขาปามีร์ ตามแนวแม่น้ำปันช์ รวมบริเวณทางใต้ของจังหวัดโกร์โน-บาดักชาน ของทาจิกิสถาน และบริเวณบาดักซานทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน มีกลุ่มของผู้พูดภาษาเหล่านี้ส่วนหนึ่งในปากีสถาน ภาษาซาริโกลีซึ่งเป็นกลุ่มภาษาปามีร์ ใช้พูดตามแนวชายแดนปากีสถาน-จีน และถือว่าเป็นภาษาที่อยู่ทางตะวันออกสุดของกลุ่มภาษาอิหร่าน สมาชิกของกลุ่มภาษาปามีร์รวมทั้งภาษาซุกนี ภาษาซาริโกลี ภาษายัซกุลยัม ภาษามุนจี ภาษาซังเลชิ-อิสกาซมี ภาษาวาคีและภาษายิดคา ทั้งหมดนี้เป็นกลุ่มภาษาอิหร่านใต้ และเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ภาษาบุลการ์ที่เป็นภาษาของบรรพบุรุษของชาวบัลแกเรีย เชื่อว่าเป็นกลุ่มภาษาปามีร์ แม้ว่าส่วนใหญ่จะจัดเป็นกลุ่มภาษาเตอร์กิก ชาวบุลการ์อพยพไปยังคาบสมุทรบอลข่านในพุทธศตวรรษที่ 12 รวมเข้ากับกลุ่มชนที่พูดภาษาสลาฟ และพัฒนาภาษาใหม่ที่เป็นกลุ่มภาษาสลาฟใต้ ซึ่งคือภาษาบัลแกเรียในปัจจุบัน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและกลุ่มภาษาปามีร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลูจิ

ษาบาลูจิ (Balochi language) เป็นภาษาที่พูดทางตะวันตกเฉียงเหนือในอิหร่าน เป็นภาษาหลักของชาวบาลูจิในบาลูจิสถานซึ่งอยู่ในปากีสถานตะวันตก อิหร่านตะวันออก และอัฟกานิสถานตอนใต้ เป็นภาษาราชการ 1 ใน 9 ภาษาของปากีสถาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาบาลูจิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพัชโต

ษาพัชโต (Pashto, Pashtoe, Pushto, Pukhto; پښتو, pax̌tō) หรือ ภาษาปุกโต หรือเรียกในเชิงประวัติศาสตร์ว่า ภาษาอัฟกัน (Afghani; افغاني, afğānī) และ ภาษาปาทาน (Pathani) เป็นภาษาแม่ของชาวปาทาน (Pashtun) ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศอัฟกานิสถานและแคว้นทางตะวันตกของประเทศปากีสถาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาพัชโต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากัมกาตา-วิรี

ษากัมกาตา-วิรี เป็นภาษากลุ่มนูริสถานที่ใหญ่ที่สุด มีสำเนียงหลักคือสำเนียงกาตา-วิรี กัมวิรี และมุมวิรี สองสำเนียงแรกมักแยกเป็นภาษาใหม่ต่างหาก ใช้พูดโดยชาวกาตา กอม กสโตและชาวเผ่าแบล็กโรบส์ในปากีสถานและอัฟกานิสถาน ในปากีสถานมีสำเนียงที่ต่างไปเรียกบัชกาลีหรือกาตีซึ่งได้มาจากภาษาโควาร์ ผู้พูดภาษานี้มีชาวกาตา 18,700 คน (15,000 คนในอัฟกานิสถานและมากกว่า 3,700 คนในปากีสถาน), และชาวกอมอีกราว 5,500 คน (หรือถึง 10,000คน) อยู่ในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาอินโด-อารยัน กลุ่มนูริสถาน อัตราการรู้หนังสือต่ำ ผู้ใช้เป็นภาษาแม่รู้เพียง1% และผู้ใช้เป็นภาษาที่สองรู้หนังสือ 15% - 25% สำเนียงกาตาวิรีมีการออกอากาศทางวิทยุในอัฟกานิสถาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษากัมกาตา-วิรี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากาลาซาอลา

ษากาลาซาอลา หรือภาษากาลาซา หรือ ภาษาไวกาลี เป็นภาษาของชาวกาลาซา ในนูริสถานซึ่งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดกุนาร์ ในอัฟกานิสถาน จัดอยู่ในตระกูลอินโด-ยุโรป สาขาอินโด-อิหร่าน มีผู้พูดประมาณ 1,500 คน รากศัพท์ของภาษานี้ ใกล้เคียงกับภาษาเตรกามีถึง 76-80%.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษากาลาซาอลา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามราฐี

ษามราฐี (मराठी) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลอินเดีย-ยุโรป หรืออินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ที่พูดกันในประเทศอินเดีย และใช้เป็นประจำรัฐอย่างเป็นทางการของรัฐมหาราษฏระและรัฐใกล้เคียง โดยใช้อักษรที่เรียกว่า อักษรเทวนาครี นอกจากนี้ภาษามราฐียังเป็นหนึ่งใน 18 ภาษาประจำชาติอย่างเป็นทางการของอินเดียด้วย โดยมีผู้ใช้เกือบร้อยล้านคน เฉพาะในรัฐมหาราษฏระ มีผู้ใช้ภาษามราฐีราว 90 ล้านคน ทั้งยังนับเป็นภาษาหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน จารึกภาษามราฐีที่เก่าที่สุด พบครั้งแรกในรัฐกรณาฏกะ เป็นจารึก ของอินเดีย สันนิษฐานจารึกไว้เมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษามราฐี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามัลดีฟส์

ษามัลดีฟส์ (Maldivian language) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันและเป็นภาษาราชการของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดประมาณ 300,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมัลดีฟส์ รวมทั้งภาษามาห์ล (Mahl dialect) ที่ใช้ในลักษทวีป ซึ่งเป็นดินแดนสหภาพของอินเดีย เรียกชื่อต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง ภาษาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของภาษามัลดีฟส์มีหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอาหรับ ที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลาม รวมทั้ง ภาษาสิงหล ภาษามาลายาลัม ภาษาฮินดี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส และ ภาษาอังกฤษ คาดว่าภาษามัลดีฟส์และภาษาสิงหลสืบมาจากภาษาเดียวกัน ซึ่งได้สูญพันธุ์ไป เมื่อเกิดภาษาใหม่ 2 ภาษาในช่วงประมาณ..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษามัลดีฟส์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาห์ล

ภาษามาห์ล (މަހަލް) หรือภาษามลิกุ พัส เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป มีผู้พูดในมลิกุ ประเทศอินเดีย ใกล้เคียงกับภาษามัลดีฟส์มาก แต่ใช้ชื่อต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง นักภาษาศาสตร์จัดให้เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาสิงหล ภาษาฮินดีและภาษามราฐี มาห์ล fr:Mahal.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษามาห์ล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามคธ

ษามคธ (อ่านว่า มะ-คด บางครั้งเรียก มาคธี, มคธี หรือ มคฮี) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่นๆรวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่นๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธ เรียกว่า ภาษาอรธมาคธี (แปลว่า ภาษากึ่งมคธ) ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธกับภาษาอรธมาคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี ภาษามคธยังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษามคธ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายักโนบี

ษายักโนบี (ชื่ออื่นๆคือ Yaghnabi, Yagnobi หรือ Yagnabi. - yaγnobī́ zivók (ในภาษาทาจิกเขียนด้วยอักษรซีริลลิกเป็น яғнобӣ зивок), ภาษารัสเซีย ягнобский язык /jagnobskij jazyk/, ภาษาทาจิก забони яғнобӣ /zabon-i yaġnobî/, ภาษาเปอร์เซีย زبان یغنابى /zæbān-e yæġnābī/, ภาษาออสเซติก ягнобаг æвзаг /jagnobag ævzag/, ภาษาเยอรมัน Jaghnobisch, Czech jaghnóbština, ภาษาสโลวัก jagnóbčina, ภาษายูเครน ягнобська мова /jahnobs’ka mova/, ภาษาโปแลนด์ jagnobski język) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พูดโดยชาวยักโนบีในหุบเขาทางเหนือของแม่น้ำยักนอบในเขตซาราฟซาน ประเทศทาจิกิสถาน จัดว่าเป็นลุกหลานของภาษาซอกเดี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษายักโนบี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิงหล

ษาสิงหล (සිංහල) เป็นภาษาของชาวสิงหล ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา เป็นภาษาในสาขาอินโด-อารยันของตระกูลอินโด-ยูโรเปียน มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษามัลดีฟส์ของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 15 ล้านคน เจ้าชายวิชายาและพรรคพวกนำชาวสิงหลอพยพเข้าสู่เกาะลังกาเมื่อราว 500 ปีก่อนพุทธศักราช วรรณคดีจำนวนมากในศรีลังกาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย การติดต่อกับชาวทมิฬทำให้มีศัพท์ภาษาทมิฬปนอยู่ นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมากเพราะเคยถูกปกครองโดยชาติเหล่านี้ เขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี รัฐบาลศรีลังกาประกาศให้ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการเมื่อปี พ.ศ. 2499 และบังคับให้โรงเรียนทุกโรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาสิงหล ทำให้ชาวทมิฬ ไม่พอใ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาสิงหล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสินธี

ษาสินธีเป็นภาษาของกลุ่มชนในเขตสินธ์ในเอเชียใต้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน แม้ว่าจะเป็นภาษาของชาวอารยัน แต่มีอิทธิพลจากภาษาของดราวิเดียนด้วย ผู้พูดภาษาสินธีพบได้ทั่วโลก เนื่องจากการอพยพออกของประชากรเมื่อปากีสถานแยกตัวออกจากอินเดียเมื่อ..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาสินธี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสุมัสติ

ษาสุมัสตีเป็นภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกของอัฟกานิสถาน อยู่ในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาอินโด-อิหร่าน กลุ่มดาร์ดิก มีผู้พูดราว 1,000 คน ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำกุนาร์ อัตราการรู้หนังสือต่ำคือ 1% ของผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม่และ 15-20 %ของผู้ที่ใช้เป็นภาษาที่สอง รากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาบันกาลามี 63 % และภาษาคาวาร์-บาตี 47% ได้รับอิทธิพลจากภาษาปาซายี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาสุมัสติ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาออสซีเชีย

หนังสือภาษาออสซีเชียตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2478 ใช้อักษรละติน กลุ่มชาติพันธ์แบ่งตามภาษาในเทือกเขาคอเคซัส ภาษาออสซีเชีย (Ossetic/Ossetian/Ossete language) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านใช้พูดในแถบออสซีเชียแถบเทือกเขาคอเคซัส โดยนอร์ทออสซีเชียอยู่ในรัสเซีย ส่วนเซาท์ออสซีเชียอยู่ในจอร์เจีย มีผู้พูดภาษานี้ราว 500,000 คน ภาษานี้มี 35 หน่วยเสียง เป็นพยัญชนะ 26 เสียง สระเดี่ยว 7 เสียง สระประสม 2 เสียง เขียนด้วยอักษรซีริลลิก ในช่วง..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาออสซีเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัสกุนุ

ษาอัสกุนุ เป็นภาษาในอัฟกานิสถานพูดโดยชาวอัสกุนุ ซานุและกรัมซานา ในหุบเขาเปช รอบๆวามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของอซาดาบัดในจังหวัดกุนาร์ ชื่อรวมของทั้งสามเผ่านี้คืออัสกุน ใช้เป็นครั้งแรกโดย George Scott Robertson เมื่อ..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาอัสกุนุ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอัสสัม

อัสสัม (অসমীয়া โอสัมมิยะ; Assamese Language) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวพื้นเมืองในรัฐอัสสัม มีผู้พูดภาษานี้ในรัฐอรุณาจัลประเทศ และรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนืออื่นๆของอินเดีย รวมทั้งในประเทศภูฏาน และบังกลาเทศด้วย จัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนตะวันออก คำว่าอัสสัมเป็นภาษาอังกฤษหมายถึงกลุ่มชนที่อยู่ในหุบเขาพรหมบุตร แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า อาหม และเรียกภาษาของเขาว่า อาหมม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาอัสสัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังคิกา

ษาอังคิกา เป็นภาษาของชาวอังหรืออังคาในรัฐพิหาร ฌารขัณฑ์ และเบงกอลตะวันตกในอินเดีย มีผู้พูดราว 30 ล้านคนในอินเดียและ 50 ล้านคนทั่วโลก มีผู้พูดภาษานีในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และส่วนอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในอังกฤษและสหรัฐด้วย ภาษาอังคิกาใกล้เคียงกับภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาอัสสัม จัดอยู่ในภาษาพิหารเช่นเดียวกับภาษาโภชปุรี ภาษามคธี ภาษาไมถิลีและภาษาวัชชิกะ ผู้พูดภาษาพิหารอื่นๆจะเข้าใจภาษาอังคิกาได้ง่าย สรหะ กวีคนแรกของภาษาฮินดีที่มีชีวิตเมื่อราว..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาอังคิกา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาอูรดู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอเวสตะ

ษาอเวสตะ (Avestan language) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ มีอายุไล่เลี่ยกับ ภาษาพระเวท หรือ ภาษาไวทิกะ ซึ่งเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์พระเวทของฝ่ายอินเดีย ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่บันทึกความเชื่อทางศาสนาของคนอิหร่านโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของชาตินี้ ใช้ในบทสวดมนต์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ภาษาอเวสตะจัดอยู่ในตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป สาขาย่อยอินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน)เป็นภาษากลุ่มอิหร่านที่เก่าสุดเท่าที่มีหลักฐาน เช่นเดียวกับภาษาเปอร์เซียโบราณ เขียนด้วยอักษรอเวสตะ ภาษานี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาอเวสตะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทาจิก

ษาทาจิก (Tajik Persian หรือ Tajik language หรือ Tajiki;Tadjik หรือ Tadzhik;,อักษรอาหรับเปอร์เซีย تاجیکی‎, tojikī โทจิกิ),тоҷикӣ) เป็นรูปแบบสมัยใหม่แบบหนึ่งของภาษาเปอร์เซีย ที่พูดในเอเชียกลาง เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ใน กลุ่มภาษาอิเรเนียน คนที่พูดภาษาทาจิกส่วนใหญ่อาศัยในประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน และตะวันตกของปากีสถาน แต่ผู้พูดภาษาทาจิกประมาณ 30,000 คน ใกล้ชายแดนประเทศทาจิกิสถานในประเทศจีน) เป็นภาษาราชการของประเทศทาจิกิสถาน ภาษาทาจิก ที่เป็นภาษาราชการของทาจิกิสถาน ต่างจากภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอิหร่านและอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งแยกดินแดนทางการเมือง การแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์และการจัดมาตรฐานทางภาษา รวมทั้งอิทธิพลของภาษารัสเซียและภาษากลุ่มเตอร์กิกที่อยู่รอบๆ มาตรฐานของภาษานี้ยึดตามสำเนียงตะวันตกเฉียงเหนือของทาจิกิสถานซึ่งเป็นเมืองเก่าของซามาร์คันฑ์ และได้รับอิทธิพลจากภาษาอุซเบกด้วย ภาษาทาจิกมีหน่วยคำในคำศัพท์ การออกเสียงและไวยากรณ์ซึ่งไม่มีในภาษาเปอร์เซียที่พูดในที่อื่น ซึ่งน่าจะเป็นมาจากการที่ถูกแบ่งแยกโดยภูมิศาสตร์เขตเทือกเขาของเอเชียกลาง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาทาจิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดารี

ษาดารี (Dari; ภาษาเปอร์เซีย: دری Darī, ออกเสียง) หรือ ภาษาเปอร์เซียดารี (Dari Persian; ภาษาเปอร์เซีย: فارسی دری - Fārsīy e Darī) หรือ ภาษาเปอร์เซียตะวันออก เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเปอร์เซียสำเนียงหนึ่งที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน และเป็นชื่อทางการที่รัฐบาลอัฟกานิสถานใช้ในรัฐธรรมนูญ ภาษาดารีเป็นภาษาราชการในอัฟกานิสถานรองจากภาษาพัชโต และใช้เป็นภาษากลางในอัฟกานิสถาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาดารี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดาเมลี

ษาดาเมลี เป็นภาษาที่มีผู้พูดราว 5,000 คนในหุบเขาโคเมลในตำบลชิตรัล จังหวัดฟรอนเทียร์ตะวันตกเฉียงเหนือ ประเทศปากีสถาน หุบเขานี้มีระยะทางสิบไมล์จากทางใต้ของโดรสไปจนถึงด้านตะวันตกของแม่น้ำชิตรัล ภาษาดาเมลีเป็นภาษาสำคัญในบริเวณนั้น ผู้ชายส่วนใหญ่พูดภาษาพาชตูเป็นภาษาที่สองและมีบางส่วนพูดภาษาโควาร์หรือภาษาอูรดู.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาดาเมลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาวาร์-บาตี

ษาคาวาร์-บาตี มีชื่อเรียกในเขตชิตรัลว่าอรันดุอิวาร์เพราะใช้พูดในหมู่บ้านอรันดู ซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่อยู่ด้านล่างของชิตรัลและข้ามแม่น้ำกุนาร์จากเบอร์กอตในอัฟกานิสถาน ในชิตรัลมีกองทหารตั้งอยู่ที่อรันดูเพื่อป้องกันการโจมตีของอัฟกานิสถาน มีผู้พูดภาษานี้ 9,000 คน อยู่ในปากีสถานเพียง 1,500 คน ที่เหลืออยู่ในอัฟกานิสถาน ภาษาคาวาร์-บาตียังไม่ได้รับการศึกษาจากนักภาษาศาสตร์อย่างละเอียด ที่มีศึกษาไว้คือ George Morgenstierne (1926) และ Kendall Deckor (1992) จัดให้อยู่ในกลุ่มดาร์ดิก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาคาวาร์-บาตี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคุชราต

ษาคุชราต (ગુજરાતી คุชราตี) คือภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลอินโด-ยุโรเปียน เป็นหนึ่งใน 22 ภาษาทางการ และ 14 ภาษาภูมิภาคของอินเดีย และเป็นหนึ่งในภาษาชนกลุ่มน้อยของปากีสถาน มีผู้พูดภาษาคุชราตประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก มากเป็นอันดับที่ 23 ของโลก โดยที่ 45.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในอินเดีย 150,000 คนในยูกันดา 100,000 คนในปากีสถาน 250,000 คนในแทนซาเนีย และ 50,000 คนในเคนยา ภาษาคุชราต คือภาษาหลักของรัฐคุชราตในอินเดีย รวมถึงพื้นที่สหภาพที่ติดกันคือ ดามานและดีอู และ ดาดราและนครหเวลี และยังเป็นภาษาของชุมชนชาวคุชราตในเมืองมุมไบ (บอมเบย์เดิม) นอกจากนี้ยังปรากฏประชาการจำนวนหนึ่งที่พูดภาษาคุชราตได้ในอเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร คุชราตเป็นภาษาแม่ของมหาตมะ คานธี "บิดาของอินเดีย" มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ "บิดาของปากีสถาน" และซาร์ดาร์ วัลลัภภัย ปาเทล "บุรุษเหล็กแห่งอินเดีย".

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตัต

ษาตัต (Tat language) หรือภาษาตาติ เป็นภาษาในภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ พูดโดยชาวตัตในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานและรัสเซีย รูปแบบการเขียนใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซียกลางหรือปะห์ลาวี มีสำเนียงที่เป็นของชาวยิวเรียกภาษายูฮูรี ซึ่งมาจากภาษาตัต ชาวตัตกล่าวว่าพวกเขาเป็นลูกหลานเปอร์เซียยุคซัสซาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาตัต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตาลิซ

ษาตาลิซ เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดกิลันและอาร์ดาบิลทางภาคเหนือของอิหร่าน และทางใต้ของอาเซอร์ไบจาน อยู่ในภาษากลุ่มอิหร่าน แบ่งเป็นสองสำเนียงคือสำเนียงเหนือ ในอาเซอร์ไบจานและอิหร่าน และสำเนียงใต้ ใช้พูดในอิหร่านเท่านั้น ภาษาตาลิซเหนือในอาเซอร์ไบจานเคยเป็นที่รู้จักในชื่อตาลิซอี คุซตัสบี มีผู้พูดราว 1.5 ล้านคน โดยอยู่ในอาเซอร์ไบจาน 1 ล้านคน บริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดของภาษาตาลิซอยู่ทางด้านเหนือของจังหวัดกิลันและจังหวัดอาร์ดาบิลในอิหร่านและทางใต้ของมาซิลลี เลนโกราย เลริกและและอัสตาราในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ภาษาตาลิซอยู่ในภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ ในทางประวัติศาสตร์ อาจติดตามย้อนไปได้จากยุคอิหร่านตอนกลางไปจนถึงยุคเมเดสในสมัยโบราณ ชาวตาลิซเรียกตนเองและภาษาของตนว่าโตลลิซซึ่งจุดกำเนิดของคำนี้ไม่แน่นอน แต่เก่ามาก น่าจะก่อนการอพยพของผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านเข้าสู่บริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลสาบแคสเปียน วรรณคดีทางตะวันตกเรียกตาลิซหรือตาเลซ ภาษาตาลิซมีสามสำเนียงคือ เหนือ (ในอาเซอร์ไบจานและอิหร่าน) กลาง (ในอิหร่าน) และใต้ (ในอิหร่าน)ภาษาตาลิซเหนือได้แยกตัวเองออกจากภาษาตาลิซกลางและใต้ไม่เฉพาะแต่ทางภูมิศาสตร์ แต่รวมถึงทางวัฒนธรรมและภาษาศาสตร์ด้วย ผู้พูดภาษาตาลิซเหนือมักพบในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานแต่ก็ยังมีในอิหร่านตามแนวชายแดน ในบริเวณทะเลสาบแคสเปียนของจังหวัดกิลัน ความหลากหลายของผู้พูดภาษาตาลิซในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานเกิดจากความหลากหลายของการพูดมากกว่าความหลากหลายของสำเนียง ภาษาตาเลชิหรือภาษาตาเลียชิ ภาษาโตลาชิ เป็นภาษาของชนชาติโบราณทางเหนือของอิหร่านที่เรียกตาเลซ ภาษานี้เคยใช้พูดทางใต้ของอาเซอร์ไบจานซึ่งแยกออกจากอิหร่านเพราะความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน ซึ่งเรียกสนธิสัญญาเตอร์กามันชี ทางเหนือของอิหร่านพบผู้พูดภาษาตาเลชิ 7 จังหวัด ในอาเซอร์ไบจานพบผู้พูดภาษาตาเลชิในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาตูร์กี การศึกษาเกี่ยวกับภาษาตาเลชิมีน้อยมาก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาตาลิซ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซอกเดีย

ษาซอกเดีย เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตอนกลางใช้พูดในบริเวณซอกเดียนา (หุบเขาที่ราบลุ่มแม่น้ำซาราฟฮาน) ปัจจุบันอยู่ในอุซเบกิสถานและทาจิกิสถาน เป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณคดี ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซียกลางและภาษาพาร์เทียน เป็นภาษาทางการค้าในเอเชียกลางและเป็นภาษากลางระหว่างพ่อค้าชาวจีนและชาวอิหร่าน ไม่พบหลักฐานของภาษาที่เก่ากว่าภาษานี้ ไวยากรณ์ของภาษาซอกเดียมีลักษณะอนุรักษนิยมมากกว่าภาษาเปอร์เซียกลาง ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและการค้าทำให้ภาษานี้ยังคงมีการใช้อยู่ในช่วง 100 ปีแรกหลังการแพร่เข้าสู่บริเวณนี้ของศาสนาอิสลามเมื่อ..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาซอกเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซาฮา

ษาซาฮาหรือภาษายากุต เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก มีผู้พูด 363,000 คน ในสาธารณรัฐซาฮาของรัสเซีย การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยาวิเศษณ์-กรรม-กริยา คำแสดงความเป็นเจ้าของมาก่อนคำที่เป็นเจ้าของ คำขยายตามหลังนามที่ถูกขยาย คำนามมีรุปเอกพจน์กับพหูพจน์ ไม่แบ่งเพศของนาม แต่มีการแยกสรรพนามบุรุษที่ 3 ระหว่างนามที่มีกับไม่มีชีวิต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาซาฮา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปัญจาบ

ษาปัญจาบ หรือ ปัญจาบี หรือ ปัญชาพี (อักษรคุรมุขี: ਪੰਜਾਬੀ Paṁjābī,อักษรชาห์มุขี: پنجابی Panjābī) เป็นภาษาของชาวปัญจาบ และภูมิภาคปัญจาบของประเทศอินเดีย และประเทศปากีสถาน ภาษาปัญจาบเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในกลุ่มย่อยอินโด-อิเรเนียน เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนภาษาเดียวที่เป็นภาษาวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์เกิดจากการออกเสียงพยัญชนะชุดต่าง ๆ ด้วยเสียงสูงต่ำที่ต่างกัน ในเรื่องของความซับซ้อนของรูปศัพท์ เป็นภาษาที่ใช้คำประกอบ (agglutinative language) และมักจะเรียงคำตามลำดับ 'ประธาน กรรม กิริยา' ชาวปัญจาบได้ถูกแบ่งระหว่างอินเดียและปากีสถานระหว่างการแบ่งอินเดียเมื่อพ.ศ. 2490 อย่างไรก็ดี ภาษาและวัฒนธรรมปัญจาบมักเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวปัญจาบอยู่รวมกันไม่ว่าจะสัญชาติหรือศาสนาใด มีชาวปัญจาบอพยพจำนวนมากในหลายประเทศเช่น สหรัฐ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ภาษาปัญจาบเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ที่ใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนา เป็นภาษาที่ใช้ในดนตรีภันคระที่แพร่หลายในเอเชียใต้.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปาลูลา

ษาปาลูลา หรือภาษาพาลูรา ภาษาอัศเรตี ภาษาดังคาริกวาร์ (ชื่อนี้ใช้โดยชาวโควาร์) มีผู้พูด 10,000 คน ในหุบเขาอัศเรตและบิโอรี เช่นเดียวกับในเทือกเขาปูร์(หรือปูริคัล) ในหุบเขาศิขิ และมีบางส่วนในหุบเขากัลกาตักในตำบลชิตรัล จังหวัดฟรอนเทียร์ตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ภาษาที่ใกล้เคียงกันมีผู้พูดในหมู่บ้านเซาในอัฟกานิสถาน และตำบลคีร์ หมู่บ้านคาลโกตประชาชนในหุบเขาอัศเรตมีความสำคัญเพราะเป็นทางเปิดหลักเข้าสู่ชิตรัล คนส่วนใหญ่เข้าสู่ชิตรัลผ่านทางยอดเขาโลวารี สูง 10,230 ฟุต เพื่อเชื่อมต่อระหว่างชิตรัลกับตำบลคีร์และส่วนอื่นๆของปากีสถาน จะเข้าสู่อัศเรตเพื่อตรวจเครื่องแต่งกาย ผู้คนในอัศเรตมีต้นกำเนิดจากชิลาสในลุ่มแม่น้ำสินธุ พวกเขาเป็นผู้เฝ้าทางเข้าสู่ชิตรัล มีหลักฐานสนับสนุนจากจารึกท้องถิ่นและบันทึกทางประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามนอกจากข้อเท็จจริงที่ว่าประชาชนในชิลาสปัจจุบันพูดภาษาชีนาที่ใกล้เคียงกันแล้ว ความเชื่อมต่ออย่างอื่นได้สูญหายไปหมด ภาษาปาลูลาอยู่ในกลุ่มดาร์ดิก ในหมู่บ้านบางแห่ง ผู้พูดภาษาปาลูลาเริ่มน้อยลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาษาโควาร์ที่มีผู้พูดมากกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้พูดภาษาปาลูลากลุ่มหลักในบิโอรีและอัศเรต ยังคงใช้ภาษาปาลูลา มีการตั้งสมาคมเพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาปาลูลา เพื่ออนุรักษ์ภาษา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ มีการพัฒนาระบบการเขียน พิมพ์หนังสือในช่วง..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาปาลูลา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปาซายี

ษาปาซายี หรือภาษาปาไซ เป็นภาษาที่ใช้พูดในอัฟกานิสถานภาคตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ในสาขาอินโด-อิหร่าน กลุ่มดาร์ดิก มีผู้พูด 216,842 คน ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม อัตราการรู้หนังสือต่ำ ผู้ใช้เป็นภาษาแม่รู้ต่ำกว่า 1% ผู้ใช้เป็นภาษาที่สองรู้หนังสือระหว่าง 15% - 25% มีสี่สำเนียง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาปาซายี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแบกเตรีย

ษาแบกเตรีย (Bactrian language) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านกลางที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในบริเวณแบกเตรียในเอเชียกลาง ซึ่งเคยเรียกว่าโตชาริสถานในอัฟกานิสถาน คาดว่าภาษานี้เป็นภาษาพูดของชาวแบกเตรียในยุคที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพไปถึงเมื่อราว..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาแบกเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแคชเมียร์

ษาแคชเมียร์หรือภาษากัศมีร์เป็นภาษากลุ่มดาร์ดิก ใช้พูดในแคชเมียร์ จัดอยู่ในตระกูลอินโด-ยุเปียน สาขาอินโด-อารยัน เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม ในยุคแรกเขียนด้วยอักษรสรทะ แล้วเปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับแบบเปอร์เซียภายหลัง วรรณกรรมภาษาแคชเมียร์มีมาก แต่ไม่ได้รับการสืบทอด ผู้พูดภาษานี้ก็ลดจำนวนลง ภาษานี้เพิ่งได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาราชการและมีการสอนในโรงเรียนได้ไม่นาน นิตยสารและหนังสือพิมพ์ภาษาแคชเมียร์มีเพียงฉบับเดียว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาแคชเมียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโกฮิสถาน

ภาษาโกฮิสถานเป็นภาษากลุ่มดาร์ดิกใช้พูดในตำบลโกฮิสถาน ประเทศปากีสถาน อยู่ในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาอินโด-อารยัน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศปากีสถาน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาโกฮิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโภชปุรี

ษาโภชปุรีเป็นภาษาที่พูดกันแพร่หลายทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย คือทางตะวันตกของรัฐพิหาร ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐฌารขัณฑ์ และบริเวณปุรวัณฉัลของอุตรประเทศรวมถึงทางใต้ของเนปาล ภาษาโภชปุรีมีผู้พูดในกายอานา ซูรินาม ฟิจิ ทรินิแดดฯ และมอริเชียสด้วย ภาษานี้ถือว่าไม่ใช่ภาษาถิ่นของภาษาฮินดี เตรียมจะรับรองสถานะเป็นภาษาประจำชาติอีกภาษาหนึ่ง ภาษาโภชปุรีมีคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู และภาษาตระกูลอินโด-อารยันอื่นๆในภาคเหนือของอินเดีย ภาษาโภชปุรีและภาษาใกล้เคียงได้แก่ ภาษาไมถิลีและภาษามคธีเป็นที่รู้จักโดยรวมว่าภาษาพิหาร ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออกเช่นเดียวกับภาษาเบงกาลีและภาษาโอริยา ภาษาถิ่นของภาษาโภชปุรีมีราว 3-4 ภาษาในภาคตะวันออกของรัฐอุตรประเท.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาโภชปุรี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโอริยา

ภาษาโอริยา (Oriya, ଓଡ଼ିଆ oṛiā) เป็นภาษาที่ใช้ในรัฐโอริศาของอินเดีย และเนื่องจากมีการอพยพของแรงงาน รัฐคุชราต ก็มีคนพูดภาษาโอริยาพอสมควรด้วย (เมืองสุรัตเป็นเมืองที่มีคนพูดภาษาโอริยามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของอินเดีย) และเป็นภาษาราชการของอินเดียด้วย ภาษาโอริยาเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาอินโด-อารยัน และคาดว่าน่าจะพัฒนามาจากภาษาปรากฤตที่ใช้พูดในอินเดียเมื่อ 1,500 ปีก่อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาเบงกาลี ภาษาไมถิลี และภาษาอัสสัม เป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียน้อยที่สุดในบรรดาภาษาในอินเดียเหนือด้วยกัน แต่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธและศาสนาเชนมาก เขียนด้วยอักษรโอริยา อโอริยา.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาโอริยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโดมาอากี

ษาโดมาอากี หรือภาษาโดมากี ภาษาโดมา เป็นภาษาที่ใช้พูดทางเหนือของประเทศปากีสถาน อยู่ในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาอินโด-อิหร่าน กลุ่มดาร์ดิก มีผู้พูดราว 500 คน (2532) พูดโดยชาวเบอริโช โดม หรือโดมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิม บริเวณที่ใช้พูดอยู่ทางเหนือของตำบลคิลคัต ของปากีสถาน ภายในไม่กี่หมู่บ้านในหุบเขาฮุนซ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาโดมาอากี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโควาร์

ษาโควาร์ จัดอยู่ในภาษากลุ่มดาร์ดิก มีผู้พูด 400,000 คน ในชิตรัล ประเทศปากีสถานทางตะวันตกฉียงเหนือ ในหุบเขายาซินและคูปิส ในคลิกิส บางส่วนของสวัตตอนบน เป็นภาษาที่สองในคลิกิสและฮันซา เชื่อกันว่ามีผู้พูดภาษาโควาร์จำนวนเล็กน้อยในอัฟกานิสถาน จีน อินเดีย ทาจิกิสถานและในกรุงอิสตันบูล ภาษาโควาร์มีลักษณะของภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นการใช้สรรพนาม.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาโควาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไมถิลี

ษาไมถิลี จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน มีผู้พูดในรัฐพิหารของอินเดีย และเตรายตะวันตกในเนปาล คำว่าไมถิลีมาจากมิถิลาซึ่งเป็นรัฐอิสระในสมัยโบราณ มีกลุ่มผู้พูดภาษาไมถิลีเป็นจำนวนมาก ภาษานี้อยู่ในกลุ่มอินเดียตะวันออก ที่มีพัฒนาการเป็นอิสระจากภาษาฮินดี เขียนด้วยอักษรไมถิลีซึ่งคล้ายกับอักษรเบงกาลีหรือเขียนด้วยอักษรเทวนาครี เคยเขียนด้วยอักษรตีราหุตี แต่เปลี่ยนมาใช้อักษรเทวนาครีในพุทธศตวรรษที่ 25-26 อักษรตีราหุตีเป็นต้นแบบของอักษรไมถิลี อักษรเบงกาลีและอักษรโอร.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาไมถิลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบงกาลี

ษาเบงกาลี (বাংলা, บังคลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังคลาเทศ และรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ที่ติดกับบังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังคลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกาลี ในภาษาอังกฤษ Bengali ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกาลีเองเรียกภาษาว่า Bangla: บังคลา (বাঙলা), ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาบังคลา ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางกาลี (বাংলা) ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกาลีเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bongo: บองโก Banga: บางกา หรือ Bangla: บังคลา ในภาษาเบงกาลี "Bangadesh: บางกาเทศ" และ "Bangladesh: บังคลาเทศ" เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bongo: ปอจิม บองโก หรือ ประจิมบังกา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bongo: ปูร์โบ บองโก หรือ บูรพาบังกา) กลายเป็นประเทศบังคลาเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกาลีมากกว่า250ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อ เดือนกันยายน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาเบงกาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเคิร์ด

ษาเคิร์ด (کوردی‎ คูร์ดี) มีผู้พูดราว 31 ล้านคน ในอิรัก (รวมทั้งในเขตปกครองตนเองของชาวเคิร์ด) อิหร่าน ตุรกี ซีเรีย เลบานอน จัดอยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ ตระกูลอินโด-ยุโรป ภาษาที่ใกล้เคียงคือ ภาษาบาโลชิ ภาษาคิเลกิ และภาษาตาเลียส ภาษาเปอร์เซียที่อยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้จัดเป็นภาษาใกล้เคียงด้วยแต่มีความแตกต่างมากกว่า 3 ภาษาข้างต้น.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาเคิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตรกามี

ษาเตรกามี เป็นภาษาของชาวเตรกามีในหมู่บ้านกัมบีร์และกาตาร์ในจังหวัดนูริสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน อยู่ในสาขาอินโด-อิหร่าน กลุ่มนูริสถาน มีผู้พูดประมาณ 1,000 คน (2537) ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม อัตรการรู้หนังสือต่ำ ผู้ใช้เป็นภาษาแม่รู้หนังสือต่ำกว่า 1% และผู้ใช้เป็นภาษาที่สองรู้หนังสือระหว่าง 5% - 15% รากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษากาลาซาอซาถึง 76% - 80%.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาเตรกามี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซียกลาง

ษาเปอร์เซียกลางหรือภาษาปะห์ลาวี เป็นภาษากลุ่มอิหร่าน ใช้พูดในยุคซัสซาเนียน พัฒนามาจากภาษาเปอร์เซียโบราณ เขียนด้วยอักษรปะห์ลาวี.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาเปอร์เซียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซียโบราณ

ร่างของคอลัมน์แรกของจารึกเบอิสตุน ภาษาเปอร์เซียโบราณ (Old Persian) เป็นภาษาในจารึกซึ่งค้นพบในบริเวณที่ตั้งของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน มีอายุราว 600-500 กว่าปีก่อนคริสตกาล ภาษานี้มีอายุไล่เลี่ยกับภาษาบาลีในอินเดีย และมีลักษณะโครงสร้างทางภาษาที่คล้ายกันมาก เปอร์เซียโบราณเป็นภาษาของชาวอิหร่านที่พัฒนาขึ้นในสมัยกลาง วิวัฒนาการมาจากภาษาอเวสตะซึ่งเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาเปอร์เซียโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเนปาล

ษาเนปาล เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่พูดในประเทศเนปาล ประเทศอินเดีย ประเทศภูฏาน และบางส่วนของประเทศพม่า เป็นภาษาราชการของประเทศเนปาล ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของเนปาลพูดภาษาเนปาลเป็นภาษาแม่ และชาวเนปาลอื่น ๆ หลายคนพูดเป็นภาษาที่สอง ชื่อของภาษาเนปาลในภาษาเนปาลคือ คาสกุรา (Khaskura) ชื่ออื่น ๆของภาษานี้มีมากมาย คนที่พูดภาษาอังกฤษเรียกว่า เนปาลี (Nepali) หรือ เนปาลีส (Nepalese) นอกจากนี้ คาสกุรา มีชื่ออื่น เช่น กอร์คาลี (Gorkhali) หรือ กูร์คาลี (Gurkhali) แปลว่าภาษาของชาวกุรข่า และพาร์ตาบิยา (Parbatiya) แปลว่าภาษาของภูเขาภาษาเนปาลมีวรรณกรรมขนาดเล็กในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวมถึง "อัธยาตมะ รามายณะ" (Adhyatma Ramayana) ประพันธ์โดย สุนทรานันทะ พร (Sundarananda Bara) (1833) ซึ่งเป็นการรวมนิทานพื้นเมืองที่ไม่ปรากฏผู้แต่ง และรามายณะ โดย ภานุภักตะ (Bhanubhakta) นอกจากนี้ยังมีผลงานแปลจากภาษาสันสกฤต รวมถึงไบเบิลด้ว.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและภาษาเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแคสเปียน

ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) เป็นทะเลปิดที่อยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป มีเนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 371,000 ตร.กม. และจุดลึกที่สุดลึกประมาณ 980 เมตร ทะเลแคสเปียนมีลักษณะร่วมของทั้งทะเลและทะเลสาบ บางครั้งจึงได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามน้ำในทะเลแคสเปียนกลับไม่ได้เป็นน้ำจืด มีปริมาณเกลือประมาณ 1.2% ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณเกลือในน้ำทะเลทั่วไป.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและทะเลแคสเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านและเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กลุ่มภาษาอินโด-อิราเนียนกลุ่มภาษาอินเดีย-อิหร่านภาษากลุ่มอินโด-อิราเนียนภาษากลุ่มอินโด-อิหร่านภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียนอินโด-อิราเนียนอินโด-อิหร่านอินโด-อิเรเนียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »