โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาฮินดี

ดัชนี ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

47 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาอินโด-อารยันกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านกลุ่มภาษาจีนการทับศัพท์ภาษาฮินดีภาษาบาลีภาษาพรัชภาษามราฐีภาษามคธภาษาราชสถานภาษาศาสตร์ภาษาสันสกฤตภาษาหริยนวีภาษาอวธีภาษาอาหรับภาษาอูรดูภาษาฮินดูสตานีภาษาทักขินีภาษาขาริโพลีภาษาคุชราตภาษาตุรกีภาษาฉัตตีสครห์ภาษาปรากฤตภาษาโภชปุรีภาษาไมถิลีภาษาเบงกาลีภาษาเปอร์เซียมุมไบมุสลิมรัฐพิหารรัฐมหาราษฏระรัฐมัธยประเทศรัฐราชสถานรัฐหรยาณารัฐหิมาจัลประเทศรัฐอุตตรประเทศรัฐธรรมนูญรัฐคุชราตรัฐปัญจาบสมัยกลางหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์อักษรอาหรับอักษรเทวนาครีอักษรเปอร์เซียตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประเทศอินเดียโกลกาตาเอเชียใต้

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ตที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโดอารยัน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน จากรายงานใน..

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

การทับศัพท์ภาษาฮินดี

การทับศัพท์ภาษาฮินดีนี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา).

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและการทับศัพท์ภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพรัช

ษาพรัช (ब्रज भाषा; Braj Bhasa) หรือพรัช ภาษา หรือภาษาไทหาอาตี เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันใกล้เคียงกับภาษาฮินดี โดยมากมักถือเป็นสำเนียงของภาษาฮินดี และมีวรรณคดีภาษาฮินดีเขียนด้วยภาษานี้เป็นจำนวนมากก่อนจะเปลี่ยนไปใช้บบภาษาขาริโพลีลลเป็นสำเนียงมาตรฐานหลังจากได้รับเอกราช มีผู้พูดมากกว่า 42,000 คน ในบริเวณ พรัช ภูมีที่เคยเป็นรัฐในสมัยมหาภารตะ หลักฐานจากศาสนาฮินดูโบราณเช่น ภควัตคีตา อาณาจักรของกษัตริย์กัมส์อยู่ในบริเวณพรัช (รู้จักในชื่อวิรัชหรือวิราฏ) ซึ่งเป็นดินแดนที่พระกฤษณะเกิดและใช้ชีวิตวัยเด็กที่นั่น บริเวณดังกล่าวนี้อยู่ในบริเวณอังคระ-มถุรา ซึ่งขยายออกไปได้ไกลถึงเดลฮี ในอินเดียสมัยใหม่ ดินแดนนี้อยู่ทงตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอุตตรประเทศ ตะวันออกสุดของรัฐราชสถาน และทางใต้สุดของรัฐหรยณะ ปัจจุบัน พรัช ภูมีเป็นที่รู้จักในนามเขตวัฒนธรรมมากว่ารัฐในอดีต ภาษาพรัชเป็นภาษาพื้นเมืองของบริเวณนี้และมีกวีที่มีชื่อเสียงมากมาย ใกล้เคียงกับภาษาอวธีที่ใช้พูดในบริเวณใกล้เคียงคือเขตอวัธมาก.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาพรัช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามราฐี

ษามราฐี (मराठी) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลอินเดีย-ยุโรป หรืออินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ที่พูดกันในประเทศอินเดีย และใช้เป็นประจำรัฐอย่างเป็นทางการของรัฐมหาราษฏระและรัฐใกล้เคียง โดยใช้อักษรที่เรียกว่า อักษรเทวนาครี นอกจากนี้ภาษามราฐียังเป็นหนึ่งใน 18 ภาษาประจำชาติอย่างเป็นทางการของอินเดียด้วย โดยมีผู้ใช้เกือบร้อยล้านคน เฉพาะในรัฐมหาราษฏระ มีผู้ใช้ภาษามราฐีราว 90 ล้านคน ทั้งยังนับเป็นภาษาหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน จารึกภาษามราฐีที่เก่าที่สุด พบครั้งแรกในรัฐกรณาฏกะ เป็นจารึก ของอินเดีย สันนิษฐานจารึกไว้เมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษามราฐี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามคธ

ษามคธ (อ่านว่า มะ-คด บางครั้งเรียก มาคธี, มคธี หรือ มคฮี) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่นๆรวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่นๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธ เรียกว่า ภาษาอรธมาคธี (แปลว่า ภาษากึ่งมคธ) ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธกับภาษาอรธมาคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี ภาษามคธยังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษามคธ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราชสถาน

ษาราชสถาน เป็นภาษาหลักของภาษากลุ่มอินโด-อารยัน มีผู้พูดราว 80 ล้านคน (มี 36 ล้านคนตามข้อมูล พ.ศ. 2544) ในรัฐราชสถานและรัฐอื่นๆของอินเดีย มีสำเนียงหลัก 8 สำเนียงคือ พาคริ เสขวาตี ธุนธารี ฮารัวตี มาร์วารี เมวารี และวาคริ สำเนียงเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้พูดในราชสถาน แต่ก็มีพบใน คุชราต หรยณะ และรัฐปัญจาบ ภาษามัลวีที่อยู่ในกลุ่มราชสถาน มีผู้พูดในเขตมัลวาทางตะวันตกของรัฐมัธยประเทศ และจังหวัดปัญจาบและจังหวัดสินธ์ในปากีสถาน.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาราชสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาหริยนวี

ษาหริยนวี (อักษรเทวนาครี: हरियाणवी) (ہریانوی), (หรือ हरयाणवी) ชื่ออื่นๆคือ ภาษาชตุ ภาษาพังครุ เป็นภาษาถิ่นของภาษาฮินดี ใช้พูดทางตอนเหนือของรัฐหรยณะ และเดลฮี บางครั้งจะไม่นับภาษาหริยนวี เป็นภาษาใหม่ เพราะใกล้เคียงกับภาษาฮินดี และมีคำศัพท์จากภาษาอูรดูมาก วรรณคดีมีน้อย ส่วนมากเป็นเพลงพื้นบ้าน ภาษานี้มีหลากหลายสำเนียง ที่ต่างกันไปในระดับหมู่บ้าน แม้ว่าจะไม่ถูกแยกจากกันด้วยสิ่งกีดขวางทางภูมิศาสตร.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาหริยนวี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอวธี

ษาอวธี (अवधी) เป็นภาษาถิ่นของภาษาฮินดี ใช้พูดในเขตอวัธ ของรัฐอุตตรประเทศ และพบในรัฐพิหาร มัธยประเทศ เดลฮี รวมทั้งในประเทศเนปาลด้วย มีผู้พูดราว 20 ล้านคน.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาอวธี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดูสตานี

ภาษาฮินดูสตานี (เทวนาครี: हिन्दुस्तानी; อาหรับ: ہندوستانی) เป็นคำที่เกิดในสมัยที่อังกฤษครอบครองอินเดียและปากีสถาน โดยอังกฤษนำภาษาฮินดีกับภาษาอูรดูมารวมกันแล้วให้ชื่อว่าฮินดูสตานี เขียนได้ทั้งอักษรไกถี อักษรเทวนาครี และอักษรอาหรับ แต่คำศัพท์และไวยากรณ์ของสองภาษานั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจากภาษาฮินดีได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤตและภาษาปรากฤต แต่ภาษาอูรดูได้รับอิทธิพลมาจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ในทางภาษาศาสตร์จึงไม่ถือว่าเป็นภาษาใหม่ ปัจจุบันยังคงแยกเป็นภาษาฮินดีซึ่งเป็นภาษาทางการของอินเดีย และภาษาอูรดูซึ่งเป็นภาษาทางการของปากีสถาน ฮินดูสตานี.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาฮินดูสตานี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทักขินี

ภาษาทักขินี (ภาษาฮินดี: दक्खिनी) หรือภาษาเทจจนี (ภาษาอูรดู: دکنی) เป็นภาษาถิ่นของภาษาอูรดู ใช้พูดในเขตเดคคัน ทางใต้ของอินเดีย มีศูนย์กลางที่เมืองไฮเดอราบัด รัฐอันธรประเทศ พัฒนาขึ้นจากภาษาในอินเดีย และภาษาเปอร์เซีย มีลักษณะที่ผสมผสานกัน ระหว่างภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู ภาษามราฐี ภาษาคุชราต ภาษากันนาดา ภาษาเตลุกุ ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย และภาษาตุรกี เป็นภาษากลางของมุสลิมทางใต้ของอินเดีย ทักขินี.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาทักขินี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาขาริโพลี

ษาขาริโพลี หรือภาษาขาทิโพลี ภาษาขาทิ-โพลี หรือสำเนียงขารี (/ /; ภาษาฮินดี: खड़ी बोली; ภาษาอูรดู: كهڑى بولى, ตรงตัว "สำเนียงยืนพื้น")เป็นสำเนียงของภาษาฮินดีมีผู้พูดทางตะวันตกของรัฐอุตรประเทศและเดลฮีในประเทศอินเดีย สำเนียงนี้เป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษาอูรดูที่มีลักษณะทางภาษาศาสตร์ใกล้เคียงกับภาษาฮินดี.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาขาริโพลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคุชราต

ษาคุชราต (ગુજરાતી คุชราตี) คือภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลอินโด-ยุโรเปียน เป็นหนึ่งใน 22 ภาษาทางการ และ 14 ภาษาภูมิภาคของอินเดีย และเป็นหนึ่งในภาษาชนกลุ่มน้อยของปากีสถาน มีผู้พูดภาษาคุชราตประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก มากเป็นอันดับที่ 23 ของโลก โดยที่ 45.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในอินเดีย 150,000 คนในยูกันดา 100,000 คนในปากีสถาน 250,000 คนในแทนซาเนีย และ 50,000 คนในเคนยา ภาษาคุชราต คือภาษาหลักของรัฐคุชราตในอินเดีย รวมถึงพื้นที่สหภาพที่ติดกันคือ ดามานและดีอู และ ดาดราและนครหเวลี และยังเป็นภาษาของชุมชนชาวคุชราตในเมืองมุมไบ (บอมเบย์เดิม) นอกจากนี้ยังปรากฏประชาการจำนวนหนึ่งที่พูดภาษาคุชราตได้ในอเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร คุชราตเป็นภาษาแม่ของมหาตมะ คานธี "บิดาของอินเดีย" มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ "บิดาของปากีสถาน" และซาร์ดาร์ วัลลัภภัย ปาเทล "บุรุษเหล็กแห่งอินเดีย".

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตุรกี

ษาตุรกี (Türkçe ตืร์กเช หรือ Türk dili ตืร์ก ดิลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก เป็นภาษาที่มีผู้พูด 65 – 73 ล้านคนทั่วโลกซึ่งถือเป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีผู้พูดมากที่สุด ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี และมีกระจายอยู่ในไซปรัส บัลแกเรีย กรีซ และยุโรปตะวันออก และมีผู้พูดอีกหลายสิบล้านคนที่อพยพไปอยู่ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะเยอรมัน ต้นกำเนิดของภาษาพบในเอเชียกลางซึ่งมีการเขียนครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว ภาษาตุรกีออตโตมันได้แพร่ขยายไปทางตะวันตกซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน พ.ศ. 2471 หลังการปฏิรูปของอตาเตริ์กซึ่งเป็นปีแรกๆของยุคสาธารณรัฐใหม่ มีการปรับปรุงภาษาโดยแทนที่อักษรอาหรับในยุคออตโตมันด้วยอักษรละตินที่เพิ่มเครื่องหมายการออกเสียง มีการตั้งสมาคมภาษาตุรกีเพื่อลดการใช้คำยืมจากภาษาเปอร์เซียกับภาษาอาหรับ หันมาใช้คำดั้งเดิมของภาษากลุ่มเตอร์กิกแทน ลักษณะเด่นของภาษาตุรกีคือมีการเปลี่ยนเสียงสระและการเชื่อมคำแบบรูปคำติดต่อ การเรียงคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีการแบ่งเพศของคำนาม.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฉัตตีสครห์

ษาฉัตตีสครห์ (Chhattisgarhi; छत्तिसगढ़ी) มีผู้พูดราว 11.5 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐฉัตตีสครห์ และบริเวณใกล้เคียงในรัฐโอริศา รัฐมัธยประเทศ และรัฐพิหาร ใกล้เคียงกับภาษาบาเฆลและภาษาอวาธิ อยู่ในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาตะวันออกตอนกลาง เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ฉัตตีสครห์.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาฉัตตีสครห์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปรากฤต

ษาปรากฤต (Prakrit) เป็นภาษาโบราณกลุ่มหนึ่งในอินเดียสมัยโบราณ จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (อินเดีย-ยุโรป)ในสาขาย่อย ภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) โดยมากจะจัดเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการในกึ่งกลาง ระหว่างภาษาโบราณกับภาษาสมัยใหม่ ที่เรียก ภาษาปรากฤตนี้ ไม่ได้หมายจำเพาะไปที่ตัวภาษาหนึ่งภาษาใด แต่เป็นการเรียกภาษากลุ่มหนึ่งในระดับภาษาถิ่น และเป็นการยากที่จะระบุให้ชัดว่าภาษาปรากฤตคืออย่างไร และนักวิชาการด้านภาษาอินเดียก็ยังมีความเห็นไม่ลงรอยกัน บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาถิ่นอินเดียยุคใหม่ รวมทั้งในยุคกลาง หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาสันสกฤตและภาษาพระเวท บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาอินเดียยุคใหม่ ที่วิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤตยุคกลาง นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอว่า ภาษาปรากฤตคือภาษาถิ่นของภาษาสันสกฤต และยังมีความเห็นว่า ภาษาบาลี ก็อาจจัดอยู่ในกลุ่มภาษาปรากฤตก็ได้ หลักฐานภาษาปรากฤตที่เก่าแก่ที่สุด คือจารึกอโศก บนเสาอโศก ที่พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้สร้างขึ้น โดยใช้อักษรพราหมี ทว่าไม่ปรากฏว่ามีการใช้ภาษาปรากฤตในงานวรรณกรรมอย่างกว้างขวาง แต่กลับมีการใช้ในรูปของภาษาพูด ดังจะพบได้จากบทละครภาษาสันสกฤต ที่ให้ตัวละครในวรรณะสูงพูดภาษาสันสกฤต ขณะที่วรรณะต่ำจะพูดภาษาปรากฤต หรือภาษาอปรภรัมศะ คำว่า ปรากฤต ในภาษาสันสกฤต นั้น หมายถึง ธรรมชาติ ปกติ ดั้งเดิม หรือท้องถิ่น ฯลฯ นักภาษาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า ภาษาปรากฤต น่าจะหมายถึงภาษาที่มีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติตามกระบวนการทางภาษา ซึ่งตรงข้ามกับภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง ขัดเกลาแล้ว อันเป็นภาษาที่ได้รับการวางระเบียบกฎเกณฑ์โดยนักปราชญ์ ในแง่ของไวยากรณ์แล้ว ภาษาปรากฤตมีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษาสันสกฤตอย่างมาก ไม่มีทวิพจน์ มีการกน้อยกว่า และมีการแจกกริยาที่ง่ายกว่า และคำศัพท์ทั้งหมดในภาษาปรากฤตก็มาจากต้นกำเนิดในภาษาอินเดียโบราณ ภาษาอรรธมคธีเป็นรูปแบบโบราณของภาษามคธี ซึ่งใช้ในการเขียนเอกสารทางศาสนาเชน และมักเป็นตัวแทนของภาษาปรากฤต นักไวยากรณ์ของภาษาปรากฤตจะแสดงไวยากรณ์ของภาษาอรรธมคธีก่อน เพราะฉะนั้นในการเรียนภาษาปรากฤต มักจะเริ่มด้วยภาษาอรรธมคธี.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาปรากฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโภชปุรี

ษาโภชปุรีเป็นภาษาที่พูดกันแพร่หลายทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย คือทางตะวันตกของรัฐพิหาร ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐฌารขัณฑ์ และบริเวณปุรวัณฉัลของอุตรประเทศรวมถึงทางใต้ของเนปาล ภาษาโภชปุรีมีผู้พูดในกายอานา ซูรินาม ฟิจิ ทรินิแดดฯ และมอริเชียสด้วย ภาษานี้ถือว่าไม่ใช่ภาษาถิ่นของภาษาฮินดี เตรียมจะรับรองสถานะเป็นภาษาประจำชาติอีกภาษาหนึ่ง ภาษาโภชปุรีมีคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู และภาษาตระกูลอินโด-อารยันอื่นๆในภาคเหนือของอินเดีย ภาษาโภชปุรีและภาษาใกล้เคียงได้แก่ ภาษาไมถิลีและภาษามคธีเป็นที่รู้จักโดยรวมว่าภาษาพิหาร ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออกเช่นเดียวกับภาษาเบงกาลีและภาษาโอริยา ภาษาถิ่นของภาษาโภชปุรีมีราว 3-4 ภาษาในภาคตะวันออกของรัฐอุตรประเท.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาโภชปุรี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไมถิลี

ษาไมถิลี จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน มีผู้พูดในรัฐพิหารของอินเดีย และเตรายตะวันตกในเนปาล คำว่าไมถิลีมาจากมิถิลาซึ่งเป็นรัฐอิสระในสมัยโบราณ มีกลุ่มผู้พูดภาษาไมถิลีเป็นจำนวนมาก ภาษานี้อยู่ในกลุ่มอินเดียตะวันออก ที่มีพัฒนาการเป็นอิสระจากภาษาฮินดี เขียนด้วยอักษรไมถิลีซึ่งคล้ายกับอักษรเบงกาลีหรือเขียนด้วยอักษรเทวนาครี เคยเขียนด้วยอักษรตีราหุตี แต่เปลี่ยนมาใช้อักษรเทวนาครีในพุทธศตวรรษที่ 25-26 อักษรตีราหุตีเป็นต้นแบบของอักษรไมถิลี อักษรเบงกาลีและอักษรโอร.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาไมถิลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบงกาลี

ษาเบงกาลี (বাংলা, บังคลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังคลาเทศ และรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ที่ติดกับบังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังคลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกาลี ในภาษาอังกฤษ Bengali ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกาลีเองเรียกภาษาว่า Bangla: บังคลา (বাঙলা), ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาบังคลา ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางกาลี (বাংলা) ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกาลีเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bongo: บองโก Banga: บางกา หรือ Bangla: บังคลา ในภาษาเบงกาลี "Bangadesh: บางกาเทศ" และ "Bangladesh: บังคลาเทศ" เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bongo: ปอจิม บองโก หรือ ประจิมบังกา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bongo: ปูร์โบ บองโก หรือ บูรพาบังกา) กลายเป็นประเทศบังคลาเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกาลีมากกว่า250ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อ เดือนกันยายน..

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาเบงกาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

มุมไบ

มุมไบ มุมไบ (Mumbai; มราฐี: मुंबई;สัท.: /'mumbəi/) เดิมชื่อ บอมเบย์ (Bombay) ที่ตั้งอยู่บนริมฝั่งทะเลอาหรับในประเทศอินเดีย ท่ามกลางชายฝั่งที่ทอดยาวกับภูเขาสูงที่ปกคลุมด้วยป่าเขตร้อนชื้นและป่าผลัดใบ มุมไบมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองท่า และเป็นศูนย์กลางทางการค้า การท่องเที่ยว บอมเบย์ (Bombay) หรือมุมไบ เป็นเมืองท่าที่สำคัญทางฝั่งทะเลอาหรับของอินเดีย และเป็นเมืองหลวงของรัฐมหาราษฏระ ในช่วงเวลาระหว่าง..

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและมุมไบ · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐพิหาร

หาร คือ รัฐที่อยู่ในประเทศอินเดีย มีพุทธคยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ภาษาที่ใช้ในรัฐพิหาร คือ ภาษาฮินดีถูกแบ่งเป็นสองส่วนด้วยแม่น้ำคงคาซึ่งไหลผ่านจากตะวันตกไปตะวันออก เดิมคือแคว้นมคธ มีสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น พุทธคยา นาลันทา มีความสำคัญด้านคมนาคมขนส่งเพราะเป็นประตูสู่เนปาลและรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือ สินค้าเกษตรที่สำคัญคืออ้อย ปอ ชา มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำตาล สุราและเอทานอล.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและรัฐพิหาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมหาราษฏระ

รัฐมหาราษฏระ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ ติดต่อกับกับทะเลอาหรับทางทิศตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อ มุมไบ ผลิตผลสำคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ฝ้าย และแร่แมงกานีส มีอุตสาหกรรมสิ่งทอ และวิศวกรรมไฟฟ้า ม หมวดหมู่:รัฐมหาราษฏระ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและรัฐมหาราษฏระ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมัธยประเทศ

รัฐมัธยประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ไม่มีเขตติดต่อกับทะเลเนื่องจากตั้งอยู่ตรงกลางประเทศ รัฐมัธยประเทศได้เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและรัฐมัธยประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐราชสถาน

รัฐราชสถาน คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศติดกับประเทศปากีสถานทางทิศตะวันตะวันออกเฉียงเหนือ รา หมวดหมู่:รัฐราชสถาน หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2499.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและรัฐราชสถาน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐหรยาณา

รัฐหรยาณา คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ตอนเหนือของประเทศ เป็นดินแดนที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งของทุ่งกุรุเกษตรในมหาภารตะ ห หมวดหมู่:รัฐหรยาณา หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2509.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและรัฐหรยาณา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐหิมาจัลประเทศ

รัฐหิมาจัลประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ตอนเหนือของประเทศ ติดกับเขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน เป็นรัฐที่มีชื่อเสียงทางด้านสิ่งทอและหัตถกรรม เป็นรัฐที่มีปัญหาคอรับชันน้อย รัฐบาลท้องถิ่นมีนโยบายส่งเสริมให้เยาวชนทุกคนได้เรียนชั้นประถมศึกษา และส่งเสริมเทคโนโลยีชีวภาพ หิมา หมวดหมู่:รัฐหิมาจัลประเทศ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2514.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและรัฐหิมาจัลประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอุตตรประเทศ

รัฐอุตตรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของประเทศโดยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศเนปาลทางทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญในศาสนาฮินดู เช่น เมืองพาราณสี อโยธยา (เมืองเกิดของพระราม) มธุรา (เมืองเกิดของพระกฤษณะ) และอัลลาลาบัดหรือเมืองโกสัมพีในสมัยพุทธกาล อุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐอุตตรประเทศ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2377.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและรัฐอุตตรประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญ

มหากฎบัตร (Magna Carta) รัฐธรรมนูญ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบั..2525 ให้ความหมายว่า "รัฐธรรมนูญ" คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเท.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐคุชราต

รัฐคุชราต คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศติดกับประเทศปากีสถานและทะเลอาหรับ รัฐคุชราต เป็นแหล่งอุตสาหกรรมแหล่งแรกๆในอินเดีย จนได้ชื่อว่าแมนเชสเตอร์ตะวันออก เป็นบ้านเกิดของมหาตมะ คานธี เป็นรัฐที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชากรมากกว่า 80% ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เมืองสุรัตเป็นศูนย์กลางการเจียระไนเพชรระดับโลก คุช หมวดหมู่:รัฐคุชราต หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2503.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและรัฐคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปัญจาบ

ปัญจาบ (Punjab) คือรัฐหนึ่งทางเหนือของอินเดีย มีเมืองหลวงชื่อ จัณฑีครห์ มีประชากรอยู่ประมาณ 24 ล้านคน และรัฐนี้เป็นศูนย์กลางของชาวซิกข์ โดยมีสถานที่สำคัญ คือ สุวรรณวิหารหรือวัดทอง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวซิกข์ ระบบแผนผังเมืองนี้ มีการจัดพื้นที่แยกเป็นเขตที่อยู่อาศัย เขตอุตสาหกรรม เขตธุรกิจที่ชัดเจน แต่ละส่วนไม่ปะปนกัน มีห้างสรรพสินค้า มีร้านขายของ มีร้านสะดวกซื้อ มีสินค้าบางอย่างที่นำเข้ามาจากไทย แต่ราคาแพงมาก ค่าครองชีพสูง เมืองมีการออกแบบที่สวยมาก ถือได้ว่าเป็นเมืองที่สวยอีกเมืองหนึ่งในอินเดีย โดยนักออกแบบผังเมืองชาวต่างชาติ คือ เลอกอร์บูซีเย สถาปนิกชาวสวิส, มาแชย์ นอวิตสกี สถาปนิกชาวโปแลนด์ และแอลเบิร์ต เมเยอร์ นักวางผังเมืองชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและรัฐปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (Andaman and Nicobar Islands; अंडमान और निकोबार द्वीपसमूह; আন্দামান ও নিকোবর দ্বীপপুঞ্জ; அந்தமான் நிக்கோபார் தீவுகள்; అండమాన్ నికోబార్ దీవులు) เป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่มีเกาะรวมกันทั้งหมด 572 เกาะ ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ในบรรดาเกาะทั้งหมดมีเพียง 38 เกาะเท่านั้นที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ราว 350,000 คน มีเนื้อที่ประมาณ 8,293 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 92 ของพื้นที่ปกคลุมไปด้วยป่าฝนหนาทึบ โดยมีเกาะนิโคบาร์ใหญ่เป็นศูนย์กลางทางใต้ และมีเกาะอันดามันเป็นศูนย์กลางทางตอนเหนือ และเป็นที่ตั้งของเมืองพอร์ตแบลร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของดินแดนสหภาพ เมืองพอร์ตแบลร์ตั้งอยู่ทางด้านชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะอันดามัน และเมืองพอร์ตแบลร์อยู่ห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 450 กิโลเมตร ห่างจากเมืองเจนไน 1,190 กิโลเมตร และห่างจากเมืองโกลกาตาราว 1,255 กิโลเมตร หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย ทางการอินเดียได้จัดให้หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์เป็นดินแดนสหภาพแห่งหนึ่ง ปัจจุบันอินเดียยังได้ให้ความสำคัญแก่หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ในฐานะจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของกองทัพเรืออินเดียอีกด้ว.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเปอร์เซีย

อักษรเปอร์เซีย (الفبای فارسی‎, UniPers: Alefbâye Fârsi) หรือ Perso-Arabic alphabet เป็นระบบการเขียนที่ใช้ในภาษาเปอร์เซี.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและอักษรเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

โกลกาตา

นนสายหนึ่งในเมืองโกลกาตา หอสมุดแห่งชาติในเมืองโกลกาตา โกลกาตา (Kolkata; কলকাতা) หรือชื่อเดิม กัลกัตตา (Calcutta) เป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฮูคลี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เมืองนี้มีจำนวนประชากร 4,580,544 คน (พ.ศ. 2544) ซึ่งหากนับรวมในเขตเมืองรอบนอกด้วยก็จะมีจำนวนมากกว่า 14 ล้านคน ทำให้เมืองนี้เป็นกลุ่มเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ โกลกาตาเคยเป็นเมืองหลวงของอินเดียในสมัยการปกครองของอังกฤษ จึงทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษาสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง (จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการย้ายเมืองหลวงไปนิวเดลี) โดยถือเป็นเมืองหนึ่งที่มีระบบระบายน้ำเก่าแก่ที่สุดในโลก ด้วยมีอายุกว่า 150 ปี อย่างไรก็ตาม โกลกาตาประสบกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจเป็นเวลานานติดต่อกันหลายปีหลังจากอินเดียได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2490 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา การฟื้นฟูและการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ได้นำไปสู่ความเจริญเติบโตของเมืองอย่างเต็มที่ แต่ก็เช่นเดียวกับเมืองใหญ่แห่งอื่น ๆ ในอินเดีย โกลกาตาต้องเผชิญกับปัญหาเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหามลภาวะ ปัญหาการจราจรติดขัด เป็นต้น นอกจากนี้ โกลกาตายังมีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์การปฏิวัติ ตั้งแต่การเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ไปจนถึงขบวนการฝ่ายซ้ายและสหภาพการค้าต่าง ๆ อีกด้วย เป็นไปได้ว่าชื่อโกลกาตาและ "กัลกัตตา" นั้นอาจจะมาจาก กาลิกาตา ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านสามแห่ง (กาลิกาตา สุตนุติ และโคพินทปุระ) ในพื้นที่แถบนี้ก่อนการเข้ามาของอังกฤษ ซึ่งสันนิษฐานว่า "กาลิกาตา" นั้นเป็นรูปในภาษาอังกฤษของคำว่า กาลีเกษตร ("ดินแดนของพระแม่กาลี") หรือมาจากคำในภาษาเบงกาลีว่า กิกิลา ("ที่ราบ") หรืออาจมีต้นกำเนิดจากคำพื้นเมืองที่ใช้เรียกชื่อคลองธรรมชาติสายหนึ่ง คือ คาล ตามด้วย กัตตา แม้ว่าในภาษาเบงกาลีซึ่งเป็นภาษาของท้องถิ่นจะเรียกชื่อเมืองนี้ว่า "โกลกาตา" มาตลอด แต่ชื่อภาษาอังกฤษของเมืองก็เพิ่งถูกเปลี่ยนจาก "กัลกัตตา" เป็น "โกลกาตา" ตามการออกเสียงในภาษาดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2544 นี้เอง บางคนมองว่านี่เป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อลบล้างสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดจากการปกครองของอังกฤษ.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและโกลกาตา · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: ภาษาฮินดีและเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HindiHindi languageภาษาฮินดี : กำเนิดและวิวัฒนาการฮินดีประวัติภาษาฮินดี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »