โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาพยนตร์ศึกษา

ดัชนี ภาพยนตร์ศึกษา

ห้องฉายภาพยนตร์ ที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ วอชิงตัน ดี.ซี. ภาพยนตร์ศึกษา เป็นสาขาวิชาทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีภาพยนตร์ ประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ และวิธีวิพากษ์ภาพยนตร์ บางครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งในสื่อมวลชนศึกษา (Media studies) และมักถูกเปรียบเทียบได้กับสาขาโทรทัศน์ศึกษา ภาพยนตร์ศึกษาจะไม่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิตภาพยนตร์มากนัก แต่เน้นทางด้านการสำรวจการเล่าเรื่อง (narrative) เชิงศิลปะ วัฒนธรรม ทางด้านเศรษฐกิจ และผลกระทบทางการเมืองต่อวงการภาพยนตร์ ในมุมมองของแสวงหาค่านิยมทางสังคมและอุดมการณ์ ภาพยนตร์ศึกษาจะใช้วิธีเชิงวิพากษ์สำหรับการวืเคราะห์การผลิต กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี บริบทและการสร้างภาพยนตร์ ในแง่นี้ภาพยนตร์ศึกษามีอยู่ในสาขาที่ผู้สอนมักไม่เป็นนักการศึกษาหรืออาจารย์หลักเสมอไป แต่จะเป็นผลงานภาพยนตร์ที่สำคัญของบุคคลจะทำหน้าที่ดังกล่าว นอกจากนี้ในการศึกษาภาพยนตร์ สายอาชีพที่เป็นไปได้ ได้แก่ นักวิจารณ์หรือทางด้านการผลิตภาพยนตร์ ทฤษฎีภาพยนตร์มักจะรวมถึงการศึกษาความขัดแย้งระหว่างสุนทรียศาสตร์ของงานฮอลลีวูดเชิงภาพและการวิเคราะห์เนื้อหาบทภาพยนตร์ โดยรวมการศึกษาในด้านภาพยนตร์กำลังเติบโตเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ วารสารวิชาการที่เผยแพร่ผลงานภาพยนตร์ศึกษา ได้แก่วารสาร Sight & Sound (สถาบันภาพยนตร์อังกฤษ), Screen (มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด), Cinema Journal (มหาวิทยาลัยเทกซัส), Film Quarterly (มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย) และ Journal of Film and Video (มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์).

42 ความสัมพันธ์: ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลาฟร็องซัว ทรูว์โฟการวิจารณ์ภาพยนตร์การผลิตภาพยนตร์มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสตินมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียมอสโกมาร์ติน สกอร์เซซีมนุษยศาสตร์ยูทูบลอสแอนเจลิสไทมส์วิลเลียม เชกสเปียร์ศิลปศาสตร์สัตยชิต รายสุนทรียภาพสถาบันภาพยนตร์อังกฤษสตีเวน สปีลเบิร์กสแตนลีย์ คูบริกสไปค์ ลีออร์สัน เวลส์อะกิระ คุโรซาวะอัลเฟรด ฮิตช์ค็อกอัตวิสัยอิงมาร์ เบิร์กแมนอุดมศึกษาฮอลลีวูดผู้กำกับภาพยนตร์จอร์จ ลูคัสจอห์น ฟอร์ดคริสโตเฟอร์ โนแลนประเทศออสเตรียประเทศเยอรมนีนาซีเยอรมนีแนวภาพยนตร์โลกที่สามเทศกาลภาพยนตร์เทศกาลภาพยนตร์กานเควนติน แทแรนติโนเซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์

ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา

ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา (Francis Ford Coppola; 7 เมษายน ค.ศ. 1939) เป็นผู้กำกับ นักเขียนบท และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากผลงานกำกับภาพยนตร์ เดอะก็อดฟาเธอร์ และ Apocalypse Now นอกเหนือจากผลงานภาพยนตร์แล้ว เขายังเป็นนักธุรกิจเจ้าของโรงบ่มไวน์ ธุรกิจโรงแรม และนิตยสาร คอปโปลาเกิดที่โรงพยาบาลเฮนรี ฟอร์ด ในดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน จึงมีชื่อกลางว่า "ฟอร์ด" ตามชื่อของเฮนรี ฟอร์ด; can be viewed at http://www.youtube.com/watch?v.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว ทรูว์โฟ

ฟร็องซัว รอล็อง ทรูว์โฟ (François Roland Truffaut; 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 - 21 ตุลาคม ค.ศ. 1984) เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกภาพยนตร์นิวเวฟฝรั่งเศส และถึงแม้ปัจจุบันนี้เขาจะตายไปแล้ว ทรูว์โฟก็ยังเป็นที่จำจดว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างมากในวงการภาพยนตร์ฝรั่งเศสอยู.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและฟร็องซัว ทรูว์โฟ · ดูเพิ่มเติม »

การวิจารณ์ภาพยนตร์

การวิจารณ์ภาพยนตร์ หรือ การวิพากษ์ภาพยนตร์ เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของภาพยนตร์และสื่อภาพยนตร์ คำศัพท์นี้มักใช้สลับกับคำว่า 'การรีวิวภาพยนตร์' (film review) การรีวิวภาพยนตร์ มีความหมายแฝงถึงการแนะนำซึ่งมุ่งเป้าหมายที่ผู้บริโภค มักจะเขียนเชิงพรรณนาและตัดสินภาพยนตร์ใหม่เพียงเรื่องเดียว การวิจารณ์ภาพยนตร์ ไม่ได้มีรูปแบบของการรีวิว มักเป็นการวิเคราะห์ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ของการพัฒนาและเชื่อมโยงกับบริบทดั้งเดิม ความสำคัญและความหมายของภาพยนตร์ในเชิงคุณค่าและประสบการณ์จากการพัฒนาผ่านประเด็นหลักของภาพยนตร์ (เช่น แก่นเรื่อง การเล่าเรื่อง ตัวละคร) การเชื่อมโยงกับองค์ประกอบของภาพยนตร์ และการเชื่อมโยงกับสังคมและวัฒนธรรม โดยทั่วไปการวิจารณ์ภาพยนตร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การวิจารณ์ทางสื่อมวลชนซึ่งมักปรากฏในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร สื่อมวลชนอื่นที่เป็นที่นิยม และหนังสือ และการวิจารณ์เชิงวิชาการโดยนักวิชาการที่มีการค้นคว้าทฤษฎีภาพยนตร์และตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการ การวิจารณ์ภาพยนตร์เชิงวิชาการมักไม่ใช้รูปแบบของการรีวิว แต่มักจะวิเคราะห์ภาพยนตร์และแสดงมุมมองต่าง ๆ ในทางประวัติศาสตร์หรือภูมิหลังของภาพยนตร์ตามประเภทภาพยนตร์ (genre) นั้นๆ หรือประวัติของภาพยนตร์ของภาพยนตร์ทั้งหม.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและการวิจารณ์ภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การผลิตภาพยนตร์

การผลิตภาพยนตร์, การทำภาพยนตร์ หรือ การสร้างภาพยนตร์ (filmmaking หรือ film production) เป็นกระบวนการในการผลิตภาพยนตร์ ที่อาจแยกออกเป็นหลายขั้นตอนอย่าง เรื่องราวเบื้องต้น แนวคิด หรือการดำเนินการผ่านขั้นตอนเขียนบท คัดเลือกนักแสดง ถ่ายทำ บันทึกเสียง และการผลิตซ้ำ การตัดต่อ และการฉายผลงานที่เสร็จสิ้นก่อนฉายให้ผู้ชม และจัดแสดง การผลิตภาพยนตร์มีเกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ ของโลก ที่แตกต่างกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม บริบททางการเมือง และการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายและเทคนิคภาพยนตร์ โดยทั่วไปแล้วการผลิตภาพยนตร์จะมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก และอาจใช้เวลาหลายเดือนถึงหลายปีจนกว่าจะเสร็.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและการผลิตภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์

มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) เป็นระบบมหาวิทยาลัยในรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งมีอยู่ 3 แห่ง ได้แก.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

The seal of the University of California 1868 ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ทั้ง 10 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) เป็นระบบของกลุ่มมหาวิทยาลัย 10 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีนักศึกษาทั้งหมด 191,000 คน และศิษย์เก่าในปัจจุบันมากกว่า 1,340,000 คน โดยมหาวิทยาลัยที่ตั้งแห่งแรกคือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2411 และล่าสุดคือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมอร์เซด ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน

น้ำพุอีสต์มอลล์ และหอนาฬิกามหาวิทยาลัยเทกซัส มหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน (The University of Texas at Austin) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลตั้งอยู่ที่เมืองออสติน ใน รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) เป็นหนึ่งในระบบของมหาวิทยาลัยเทกซัสที่มีด้วยกันทั้งหมด 9 วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทกซัสได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่มีนักศึกษามากที่สุด ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีนักศึกษามากกว่า 50,000 คน และอาจารย์และเจ้าหน้าที่มากกว่า 20,000 คน มหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน ในปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย

ตึกจอร์จฟินลีย์โบวาร์ด มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ห้องสมุดโดฮีนี มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (University of Southern California) หรือในชื่อว่า ยูเอสซี (USC) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่เก่าแก่สุดในรัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) โดยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยในปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ติน สกอร์เซซี

มาร์ติน สกอร์เซซี (Martin Scorsese) เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์รางวัลออสการ์ชาวอเมริกัน นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้สร้างและนักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ เขาเป็นผู้ก่อตั้ง World Cinema Foundation และยังได้รับรางวัลความสำเร็จในชีวิตจาก AFI เขาได้รับหลายรางวัลจากรางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลบาฟต้าและรางวัลจากสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์อเมริกัน สกอร์เซซียังเป็นประธาน Film Foundation มูลนิธิไม่แสวงหาประโยชน์ ที่รักษาและป้องการเสื่อมสลายของภาพยนตร์ ผลงานของสกอร์เซซี มีเนื้อหาอย่างเช่นความเป็นชาวอเมริกัน-อิตาลี แนวความคิดเรื่องโรมันคาทอลิกเกี่ยวกับความสำนึกผิดและการไถ่บาป ความเป็นลูกผู้ชายและความรุนแรง สกอร์เซซีมีผลงานอันโดดเด่นอย่างเช่น Taxi Driver, Raging Bull และ Goodfellas ที่ทั้งสามเรื่องได้นักแสดงอย่างโรเบิร์ต เดอ นิโรมาแสดง เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง The Departed.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและมาร์ติน สกอร์เซซี · ดูเพิ่มเติม »

มนุษยศาสตร์

นักปรัชญาเพลโต มนุษยศาสตร์ (humanities) เป็นกลุ่มของสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาวะแห่งมนุษย์โดยส่วนใหญ่ใช้กรรมวิธีเชิงวิเคราะห์, วิจารณญาณ หรือการคาดการณ์ซึ่งแตกต่างจากการเข้าสู่ปัญหาด้วยกรรมวิธีเชิงประจักษ์ด้วยธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ โดยธรรมเนียมทั่วไปมนุษยศาสตร์รวมถึงสาขาวิชาภาษาศาสตร์โบราณและภาษาศาสตร์สมัยใหม่, วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรี บางครั้งมีการรวมเอาสาขาวิชาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ได้แก่ มานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา แม้ว่าสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกจัดไว้ในสาขาสังคมศาสตร์ นักวิชาการที่อยู่ในสายของสาขาวิชานี้ บางครั้งอาจเรียกตนเองว่าเป็น "นักมนุษยนิยม" อย่างไรก็ตามคำดังกล่าวก็ได้ใช้เรียกนักปรัชญาสาขามนุษยนิยมแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและมนุษยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูทูบ

ูทูบ ตามสำเนียงอเมริกัน หรือ ยูทิวบ์ ตามสำเนียงบริเตน (YouTube) เป็นเว็บไซต์เผยแพร่วิดีโอโดยมีสำนักงานอยู่ที่แซนบรูโน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เว็ปไซต์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาจากอดีตพนักงาน 3 คนในบริษัทเพย์แพล อันประกอบด้วยแชด เฮอร์ลีย์ สตีฟ เชน และยาวีด คาริม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ยูทูบถูกกูเกิลซื้อไปในราคา 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ ยูทูบเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของกูเกิล เว็บไซต์ยังสามารถให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลด ดู หรือแบ่งปันวิดีโอได้.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและยูทูบ · ดูเพิ่มเติม »

ลอสแอนเจลิสไทมส์

ลอสแอนเจลิสไทมส์ (Los Angeles Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ตีพิมพ์ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและลอสแอนเจลิสไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและวิลเลียม เชกสเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปศาสตร์

ลปศาสตร์ทั้ง 7 – ภาพจาก Hortus deliciarum ของ Herrad von Landsberg (คริสต์ศตวรรษที่ 12) ศิลปศาสตร์ (Liberal arts) หมายถึง การศึกษาที่มุ่งจะให้ความรู้ทั่วไป และทักษาเชิงปัญญา มิใช่วิชาชีพเฉพาะด้าน หรือความทักษะเชิงช่าง เดิมนั้น คำว่า "ศิลปศาสตร์" เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต (ศิลฺป + ศาสฺตฺร) หมายถึง วิชาความรู้ทั้งปวง ในภายหลังใช้ในความหมายเดียวกับ Liberal Arts ในภาษาอังกฤษ ดังระบุคำนิยามไว้ข้างต้น ในประวัติศาสตร์การศึกษาของตะวันตกนั้น ศิลปศาสตร์ 7 อย่าง อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ไตรศิลปศาสตร์ (trivium) และ จตุรศิลปศาสตร์ (quadrivium) การศึกษาในกลุ่ม ไตรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ได้แก่ ไวยากรณ์ ตรรกศาสตร์ และวาทศาสตร์ (rhetoric) ส่วนการศึกษากลุ่ม จตุรศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ได้แก่ เลขคณิต เรขาคณิต ดนตรี และดาราศาสตร์) ศิลปศาสตร์นั้นถือเป็นหลักสูตรแกนของมหาวิทยาลัยสมัยกลาง คำว่า liberal ในคำว่า liberal arts นั้น มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า liberalis หมายถึง "เหมาะแก่เสรีชน" (ชนชั้นสูงด้านสังคมและการเมือง) ซึ่งตรงกันข้ามกันศิลปะการรับใช้หรือบริการ (servile arts) ในเบื้องต้นคำว่าศิลปศาสตร์ในแนวคิดของตะวันตก จึงเป็นตัวแทนของทักษะและความรู้ทั่วไป ที่จำเป็นต้องใช้ในหมู่ชนชั้นสูงในสังคม ขณะที่ศิลปะบริการนั้น เป็นตัวแทนของความรู้และทักษะของพ่อค้าผู้เชี่ยวชาญ ที่จำเป็นต้องรู้ในหมู่ผู้รับใช้ชนชั้นสูง หรือขุนนาง.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและศิลปศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตยชิต ราย

ัตยชิต ราย (সত্যজিৎ রায়; Satyajit Ray) (2 พฤษภาคม ค.ศ. 1921 - 23 เมษายน ค.ศ. 1992) เป็นผู้สร้างภาพยนตร์เบงกอลชาวอินเดีย เขาได้รับการยกย่องเป็น 1 ในผู้สร้างภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในวงการภาพยนตร์ในศตวรรษที่ 20 สัตยชิตเกิดในเมืองกัลกัตตา (ปัจจุบันคือ โกลกาตา) ในครอบครัวชาวเบงกอลในโลกแห่งศิลปะและอักษร เขาเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นศิลปินโฆษณา หลังจากนั้นได้เข้าสู่วงการสร้างภาพยนตร์อิสระ หลังจากรู้จักกับผู้สร้างภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส ฌอง เรอนัวร์และได้ดูภาพยนตร์อิตาลีที่ชื่อ Bicycle Thieves ในระหว่างเยี่ยมเมืองลอนดอน สัตยชิตกำกับภาพยนตร์ 37 เรื่อง รวมถึงภาพยนตร์ สารคดีและภาพยนตร์สั้น เขายังเป็นนักเขียนนวนิยาย ผู้โฆษณา ผู้วาดภาพประกอบ นักออกแบบกราฟิกและนักวิจารณ์ภาพยนตร์ ผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาเรื่อง Pather Panchali (1955) ได้รับ 11 รางวัลระดับนานาชาติ รวมถึงในสาขาสารคดีมนุษย์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ร่วมไปกับภาพยนตร์ Aparajito (1956) และ Apur Sansar (1959) ที่เป็น 3 เรื่องใน The Apu Trilogy สัตยชิตยังเขียนสคริปต์ คัดเลือกนักแสดง ทำเพลงประกอบ ถ่ายภาพ กำกับศิลป์ ตัดต่อและออกแบบไตเติลเครดิตและอื่น ๆ เขาได้รับรางวัลใหญ่หลายครั้งในอาชีพการงาน รวมถึง 32 รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติอินเดีย หลายรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์และงานแจกรางวัล และยังได้รับรางวัลเกียรติยศ รางวัลออสการ์ในปี 1992.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและสัตยชิต ราย · ดูเพิ่มเติม »

สุนทรียภาพ

นทรียภาพ คือความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะที่แต่ละบุคคลสามารถเข้าใจและรู้สึกได้ หรือเป็นความรู้สึกและความเข้าใจของแต่ละบุคคลที่มีต่อความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ สุนทรียภาพ (aesthetics) เป็นคำในภาษากรีก เดิมหมายถึงการรับรู้ทางความรู้สึก (sense perception) จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 บอมการ์เทิน (Baumgarten) นักปรัชญาชาวเยอรมันได้ให้ความหมายใหม่โดยหมายถึง การรับรู้และชื่นชมความงาม เป็นที่ทราบดีว่าสุนทรียภาพเป็นเรื่องของอัตวิสัย (subjective) ซึ่งแต่ละคนย่อมให้คุณค่าสุนทรียภาพแตกต่างกันไป (Whittick, A., 1974: 11) ดังเช่นความหมายของสุนทรียภาพในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและสุนทรียภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันภาพยนตร์อังกฤษ

ันภาพยนตร์อังกฤษ (The British Film Institute (BFI); คำย่อ: บีเอฟไอ) เป็นองค์กรการกุศลและภาพยนตร์ ตามกฎหมายของสหราชอาณาจักร ทำหน้าที่ส่งเสริมและรักษาผลงานภาพยนตร์และโทรทัศน์ของสหราชอาณาจักร  ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับพระบรมราชานุญาต (Royal Charter) .

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและสถาบันภาพยนตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สตีเวน สปีลเบิร์ก

ตีเวน อัลลัน สปีลเบิร์ก เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1946 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ผู้สร้างหนัง สปีลเบิร์กรับรางวัลออสการ์ 3 ครั้ง.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและสตีเวน สปีลเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

สแตนลีย์ คูบริก

สแตนลีย์ คูบริก (Stanley Kubrick) (26 กรกฎาคม ค.ศ. 1928 – 7 มีนาคม ค.ศ. 1999) เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ทรงอิทธิพลชาวอเมริกัน-อังกฤษ นักเขียนบท ผู้สร้าง และนักถ่ายภาพ เขามีผลงานกำกับที่มักมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ขัดแย้งอยู่หลายเรื่อง การทำงานของเขามีความละเอียดละออใส่ใจในการเลือกคัดสรร การทำงานที่เชื่องช้า และมีความหลากหลายในประเภทของภาพยนตร์ที่เขาทำ เขานิยมใช้ชีวิตอย่างสันโดษในชีวิตส่วนตัว หมวดหมู่:ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว หมวดหมู่:บุคคลจากแมนแฮตตัน หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ หมวดหมู่:เสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หมวดหมู่:ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักเขียนบทชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและสแตนลีย์ คูบริก · ดูเพิ่มเติม »

สไปค์ ลี

ลตัน แจ็กสัน "สไปค์" ลี (Shelton Jackson "Spike" Lee) ผู้กำกับภาพยนตร์แนวอิสระ ผู้อำนวยการสร้าง นักเขียน และนักแสดงชาวอเมริกัน นอกจากนี้ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาของผลิตภัณฑ์ไนกี้ และมิวสิกวิดีโอให้กับศิลปินนักร้อง เช่น พรินซ์, ไมเคิล แจ็กสัน, แอนิตา เบเกอร์, พับลิกเอเนมี สไปค์ ลี ยังเป็นอาจารย์สอนวิชาภาพยนตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ผลงานกำกับภาพยนตร์ของสไปค์ ลี มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกีดกันทางเชื้อชาติ บทบาทของสื่อมวลชน อาชญากรรมในเมืองใหญ่ ความยากจน และประเด็นทางการเมือง โด่นเด่นด้วยฉากที่มีสีสันฉูดฉาดและมุมกล้องที่น่าเวียนหัว ภาพยนตร์หลายเรื่องถ่ายทำในบรูกลิน นิวยอร์ก ซึ่งเป็นย่านที่เขาเติบโตม.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและสไปค์ ลี · ดูเพิ่มเติม »

ออร์สัน เวลส์

อร์จ ออร์สัน เวลส์ (George Orson Welles) (6 พฤษภาคม, ค.ศ. 1915 - 10 ตุลาคม, ค.ศ. 1985) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน เคยได้รับรางวัลอเคเดมีอวอร์ด,นักเขียนบท,ผู้กำกับละคร,โปรดิวซ์เซอร์ภาพยนตร์ และนักแสดงหนัง,ละครและวิท.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและออร์สัน เวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

อะกิระ คุโรซาวะ

อะกิระ คุโรซาวะ เป็นผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และผู้เขียนบทภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น กำกับและเขียนภาพยนตร์หนังเรื่องแรกชื่อ Sugata Sanshiro ฉายในปี 1943 และภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่เขากำกับคือเรื่อง Madadayo ในปี 1993 คุโรซาวะเป็นผู้กำกับได้รับรางวัลด้านภาพยนตร์มากมาย และยังได้รับรางวัล Oscar for Lifetime Achievement ภาพยนตร์ของคุโรซาวะมีอิทธิพลต่อผู้กำกับรุ่นต่อ ๆ มาอย่างมาก.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและอะกิระ คุโรซาวะ · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก

อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก (Alfred Hitchcock; 13 สิงหาคม 1899 — 29 เมษายน 1980) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงมากในแนวระทึกขวัญหรือ ทริลเลอร์ ฮิตช์ค็อกได้เริ่มต้นกำกับภาพยนตร์ในอังกฤษ ก่อนที่จะไปกำกับที่อเมริกาในปี 1939 ฮิตช์ค็อกถือเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่เป็นตำนานบนแผ่นฟิล์มของฮอลลีวู้ดและของโลก ในด้านการทำภาพยนตร์แนวทริลเลอร์ และผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นหลัง ๆ ต่อมา ก็มีหลายคน ที่ยกย่องฮิตช์ค็อกซ์ และเอาสไตล์ของฮิตช์ค็อกเป็นต้นแบบในการทำหนัง ถึงแม้ภายในช่วงชีวิตของฮิตช์ค็อกเมื่ออยู่ในอเมริกานั้นเขาจะโด่งดังและมีชื่อเสียงมาก แต่กลับไม่ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีนักจากนักวิจารณ์ในสมัยนั้น ภาพยนตร์ของเขาส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้น จะเน้นทางด้านความแฟนตาซี และความหวาดกลัวของมนุษย์ในรูปแบบต่าง ๆ และชอบใช้เหตุการณ์ที่มีตัวละครที่ไม่รู้ประสีประสา ให้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของตัวละครนั้น ๆ ซึ่งนักวิจารณ์หลายคนกล่าวว่า ฮิตช์ค็อกนั้นไม่ได้กำกับภาพยนตร์แต่กำกับอารมณ์ของคนดูมากกว่า และตัวฮิตช์ค็อกเองก็เคยกล่าวว่า เขาสนุกกับการได้เล่นกับความรู้สึกของคนดู ฮิตช์ค็อกเปิดเผยว่า เมื่อตอนอายุได้ 5 ขวบ เขาจำได้ว่าเคยถูกพ่อส่งตัวไปให้ตำรวจจับเข้าคุกเป็นเวลา 10 นาที เป็นการลงโทษเนื่องจากความซุกซน นั่นทำให้เขาหวาดกลัวมาก และเป็นอิทธิพลส่งผลให้ผลงานภาพยนตร์แต่ละเรื่องของเขา เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือนักสืบผู้เชี่ยวชาญจะไม่ใช่ตัวละครสำคัญหรือเป็นเงื่อนไขในการคลี่คลายปมลับเลย ซ้ำในบางเรื่องยังทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงกว่าเดิมหรือยุ่งยากยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนี้แล้ว อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก ยังมีรูปแบบการมีส่วนร่วมในภาพยนตร์ของตัวเองที่ไม่เหมือนใคร ไม่เพียงแต่กำกับเท่านั้น เขายังมักปรากฏตัวในหนังแต่ละเรื่องด้วย โดย การเดินผ่านไปมาหน้ากล้อง หรือโผล่มาเป็นตัวประกอบในฉากต่าง ๆ ซึ่งทางภาษาภาพยนตร์เรียกว่า cameo.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและอัลเฟรด ฮิตช์ค็อก · ดูเพิ่มเติม »

อัตวิสัย

อัตวิสัย หรือ จิตวิสัย (subjectivity) หมายถึงมุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย อัตวิสัยเป็นทัศนะที่มีความเชื่อว่า การมีอยู่ หรือ ความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่กับตัวเราเองเป็นคนตัดสิน เช่น คุณได้กลิ่นน้ำหอมยี่ห้อนี้แล้วหอม แต่ในคนอื่นเมื่อได้กลิ่นแล้วเหม็นก็ได้.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

อิงมาร์ เบิร์กแมน

แอนสต์ อิงมาร์ เบิร์กแมน (Ernst Ingmar Bergman; 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 — 30 กรกฎาคม ค.ศ. 2007) เป็นผู้กำกับหนังและละครชาวสวีเดน ถือเป็นผู้กำกับที่มีอิทธิพลต่อผู้กำกับรุ่นหลัง ๆ มากคนหนึ่ง หนังของเขาส่วนใหญ่มักจะใช้ทุนสร้างไม่สูงมากนัก มีความลุ่มลึกและโครงเรื่องซับซ้อน.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและอิงมาร์ เบิร์กแมน · ดูเพิ่มเติม »

อุดมศึกษา

อุดมศึกษา หมายถึง ระดับการศึกษารองจากระดับมัธยมศึกษา คำว่า อุดมศึกษา มีรากศัพท์มาจากศัพท์ภาษาบาลี "อุตม" หมายถึง สูงสุด และศัพท์ภาษาสันสกฤต ศิกฺษา หมายถึง การเล่าเรียน ดังนั้น คำว่า "อุดมศึกษา" จึงหมายถึง การเรียนขั้นสูง.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและอุดมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

ฮอลลีวูด

ป้ายฮอลลีวูด ฮอลลีวูด (Hollywood) เป็นชื่อเขตในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เหมือนกับเป็นถนนหรือเขตหนึ่งเท่านั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลางนครลอสแอนเจลิส เนื่องจากว่าฮอลลิวูดนั้นมีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์ของโรงถ่ายทำภาพยนตร์ และดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ชื่อของฮอลลีวูดจึงมักจะถูกเรียกเป็นชื่อแทนของโรงภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทุกวันนี้มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวนมากที่ได้แพร่กระจายไปรอบๆพื้นที่ของแคลิฟอร์เนียและทางตะวันตกของนครลอสแอนเจลิส แต่อุตสาหรรมภาพยนตร์หลักๆที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การใส่เทคนิคพิเศษ ผู้สนับสนุน การผลิตขั้นสุดท้าย และบริษัททางด้านแสงประกอบ ยังคงอยู่ในฮอลลีวูด โรงละครสำคัญๆทางประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดหลายแห่งถูกใช้เป็นสถานที่ชุมนุมและเวทีคอนเสิร์ตในงานเปิดตัวสำคัญๆระดับยักษ์ใหญ่ของโลกและยังเป็นเจ้าภาพในการประกาศรางวัลออสการ์หรือที่เรียกกันติดปากว่ารางวัลออสการ์นั่นเอง ฮอลลีวูดเป็นสถานที่ที่คนทั่วโลกต้องการมาเยือนทั้งนักผจญราตรีและนักท่องเที่ยวทั้งหลาย และยังเป็นที่ตั้งของถนน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม (Hollywood Walk of Fame) ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย ฮอลลีวูด ค.ศ. 1885 โรงแรมฮอลลีวูด ค.ศ. 1905 ใน ค.ศ. 1853 กระท่อมอิฐหลังเล็กๆหลังหนึ่งได้กลายมาเป็นฮอลลีวูดในทุกวันนี้ ในราวปี ค.ศ. 1870 ชุมชนเกษตรกรรมได้เจริญขึ้นมาในพื้นที่แห่งนี้พร้อมๆกับผลผลิตที่เจริญงอกงามมากในช่วงนั้น ที่มาของชื่อฮอลลีวูด ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดนั้นน่าจะมาจากชื่อของต้น Tyon ท้องถิ่นหรือเรียกกันว่า "แคลิฟอร์เนียฮอลลี่" ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ปกคลุมเนินเขาในสมัยนั้นและยังออกผลเบอร์รี่สีแดงกระจายอยู่ทั่วไปในช่วงหน้าหนาวของทุกปีอีกด้วย จากนั้นความเชื่อนี้และความเชื่อในเรื่องของที่มาของคำว่าฮอลลี่นี้ก็มีคนเชื่อถือมากขึ้นเรื่อยๆแต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด บ้างก็ว่าชื่อของฮอลลีวูดนี้เป็นชื่อที่ตั้งโดย เอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ บิดาแห่งฮอลลีวูด ซึ่งทั้งเขาและกีกี้ ภรรยาของเขาได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นขณะที่มาฮันนีมูนกัน ตามบันทึกของมากาเร็ต เวอร์จิเนีย ไวท์ลี่ย์ บ้างก็ว่ามาจาก ฮาร์วี่ย์ วิลคอกซ์ ที่ได้มาซื้อที่ดินในบริเวณนี้และก็พัฒนาเป็นชุมชุนขึ้นมา โดยดาเออิดา ภรรยาของเขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งบนรถไฟที่บอกว่าเธอได้ตั้งชื่อบ้านพักฤดูร้อนที่รัฐโอไฮโอว่า ฮอลลีวูด ดาเออิดาชอบชื่อนี้และก็เอามาตั้งเป็นชื่อของชุมชนที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ คำว่าฮอลลีวูดนี้ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในแผนที่ของวิลคอกซ์สำหรับการแบ่งสรรพื้นที่และปรากฏในเอกสารของบันทึกเขตปกครองของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 ตามคำพูดของจอร์แดน แมกซ์เวลล์นั้น ชื่อของฮอลลีวูดนั้นอ้างอิงมาจากไม้กายสิทธิ์ Druidic ซึ่งทั้งไม้กายสิทธิ์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูดนั้นเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคน ราวปี ค.ศ. 1900 คณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า Cahuenga ได้จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ หนังสือพิมพ์ โรงแรม และตลาดสองแห่งด้วยจำนวนประชากรเพียง 500 คน ซึ่งในขณะนั้น ลอสแอนเจลิสมีประชากรประมาณ 100,000 คนและมีเมืองที่ทอดผ่านสวนผลไม้รถส้มเป็นระยะทางกว่า 7 ไมล์ มีชื่อเส้นทางเดินรถเพียงชื่อเดียวจากใจกลางของ Prospent Avenue ที่พาดผ่านแต่มีการให้บริการไม่บ่อยนักและต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง แต่บ้านสำหรับการบรรจุหีบห่อผลไม้รสส้มในสมัยก่อนนั้นอาจจะกลายเป็นจุดสำคัญที่นำความเจริญและการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้นมาสู่ผู้อยู่อาศัยในย่านฮอลลีวูด โรงแรมฮอลลีวูดอันเป็นโรงแรมใหญ่โรงแรมแรกของฮอลลีวูดที่มีชื่อเสียงนั้น เปิดบริการในปี ค.ศ. 1902 โดยเอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ เพื่อขายเป็นที่พักอาศัยเป็นจำนวนมากท่ามกลางฟาร์มปศุสัตว์ ตั้งอยู่หน้า Prospect Avenue และด้านข้างฝั่งตะวันตกของ Highland Avenue ปี ค.ศ. 1903 ฮอลลีวูดรวมเป็นเทศบาลแห่งหนึ่ง และในปี ค.ศ. 1904 รถบรรทุกวิ่งจากลอสแอนเจลิสมายังฮอลลีวูดคันใหม่ก็เปิดให้ใช้บริการ ระบบนี้เรียกว่า Hollywood Boulevard ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางไป-กลับลอสแอนเจลิสได้อย่างมาก ปี ค.ศ. 1910 มีการพยายามจะรักษาระดับการขายน้ำอย่างพอเพียง ชาวเมืองจึงโหวตให้ฮอลลีวูดผนวกเป็นส่วนหนึ่งของนครลอสแอนเจลิส จึงทำให้ระบบชลประทานเพื่อการพัฒนาเมืองนั้นถูกเปิดเป็น Los Angeles Aqueduct และต่อน้ำทางท่อจากแม่น้ำโอเว่นในหุบเขาโอเว่น นอกจากนั้น การโหวตครั้งนี้ก็ยังมีเหตุผลมาจากกาารต้องการให้ฮอลลิวูดกลายเป็นทางระบายน้ำเสียของนครลอสแอนเจลิสอีกด้วย หลังจากรวมกับนครลอสแอนเจลิสแล้ว ชื่อ Prospect Avenue ก็เปลี่ยนมาเป็น Hollywood Boulevard รวมทั้งหมายเลขถนนในพื้นที่แห่งนี้ เช่น จาก 100 Prospect Avenue ที่ Vermont Avenue กลายเป็น 6400 Hollywood Boulevard และ 100 Cahuenga Boulevard ที่ Hollywood Bouvelard เป็น 1700 Cahuenga Boulevard เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและฮอลลีวูด · ดูเพิ่มเติม »

ผู้กำกับภาพยนตร์

วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ขณะกำกับภาพยนตร์ในกองถ่ายเรื่องเปนชู้กับผี ผู้กำกับภาพยนตร์ คือผู้ที่มีหน้าที่กำกับในขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ โดยผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่สร้างจินตนาการจากบทหนัง แล้วถ่ายทอดความคิดทางด้านศิลปะออกมาตามแบบที่ตนเองต้องการ และเป็นคนสั่งฝ่ายอื่น ๆ ในกองถ่าย อย่างเช่น ฝ่ายผู้กำกับภาพ ผู้กำกับการแสดง ฝ่ายเทคนิค นักแสดง ออกมาอยู่ในองค์ประกอบทางศิลป์ที่ตนเองต้องการบนแผ่นฟิล์มหรือในระบบดิจิตอล อย่างไรก็ดี ผู้กำกับภาพยนตร์อาจจะควบคุมทุกอย่างตามที่ตนคิดไว้ไม่ได้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ฉายในโรง เพราะผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ จะเป็นคนกำหนดงบประมาณที่จะให้ผู้กำกับใช้จ่ายได้ หรือสั่งตัดต่อหนังในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเข้าโรงฉายหากหนังมีความยาวเกินไป หรือเพื่อดึงการจัดเรตหนังให้ต่ำลงมา หรือบางฉากอาจจะมีการเพิ่มโฆษณาเข้าไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แปลกหากผู้กำกับจะมีปัญหาให้คุยกับผู้อำนวยการสร้างเสมอ.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและผู้กำกับภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ลูคัส

อร์จ วอลตัน ลูคัส จูเนียร์ (George Walton Lucas, Jr.; เกิด 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1944) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้อำนวยการสร้าง ผู้เขียนบทภาพยนตร์ ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ชุดมหากาพย์สตาร์ วอร์ส และอินเดียน่า โจนส์ อีกทั้งเป็นหนึ่งในบรรดาผู้กำกับและผู้ผลิตที่ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจอุตสาหกรรมทางภาพยนตร์ โดยมีผลกำไรสุทธิที่ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี..

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและจอร์จ ลูคัส · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ฟอร์ด

อห์น ฟอร์ด (John Ford: 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 - 31 สิงหาคม ค.ศ. 1973) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายไอร์แลนด์ เขาโด่งดังจากภาพยนตร์ในแนวคาวบอย อย่างเช่นเรื่อง Stagecoach, The Searchers, และ The Man Who Shot Liberty Valance และภาพยนตร์ดัดแปลงจากบทประพันธ์คลาสสิกอเมริกันในศตวรรษที่ 20 อย่าง The Grapes of Wrath เขาได้รับรางวัลออสการ์ สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม 4 ครั้ง (1935, 1940, 1941, 1952) ถือเป็นสถิติที่ได้รับรางวัลนี้มากที่สุด หนึ่งในการกำกับของเขา คือเรื่อง How Green Was My Valley ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในอาชีพการทำงานของเขาที่ยาวนาน 50 ปี ฟอร์ดกำกับภาพยนตร์มากกว่า 140 เรื่อง (ถึงแม้ว่าภาพยนตร์เงียบเกือบทั้งหมดจะสูญหาย) และเขายังเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในบุคคลสำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้สร้างภาพยนตร์ในรุ่นของเขา ผลงานภาพยนตร์ของฟอร์ด มักร่วมงานกับผู้ร่วมงานอย่าง อิงมาร์ เบิร์กแมน และออร์สัน เวล.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและจอห์น ฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ โนแลน

ริสโตเฟอร์ เอ็ดเวิร์ด โนแลน (Christopher Edward Nolan) เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและคริสโตเฟอร์ โนแลน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แนวภาพยนตร์

แนวภาพยนตร์ ในทางทฤษฎีภาพยนตร์ ภาพยนตร์ถูกจัดแบ่งออกเป็นแนว ๆ โดยแนวภาพยนตร์หนึ่งแนวมีความหมายถึงภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาจากองค์ประกอบของเรื่องราวที่คล้าย ๆ กัน.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและแนวภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

โลกที่สาม

คำว่า "โลกที่สาม" กำเนิดระหว่างสงครามเย็น นิยามประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ทั้งนาโตหรือกลุ่มคอมมิวนิสต์ สหรัฐ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ชาติยุโรปตะวันตกและพันธมิตรเป็นโลกที่หนึ่ง ส่วนสหภาพโซเวียต จีน คิวบาและพันธมิตรเป็นโลกที่สอง คำนี้เป็นวิธีจำแนกประเทษในโลกออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ โดยยึดการแบ่งแยกทางการเมืองและเศรษฐกิจ ปกติโลกที่สามถูกมองว่ารวมหลายประเทศอดีตอาณานิคมในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา โอเชียเนียและเอเชีย บางครั้งถือเอาสมนัยกับประเทศในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในทฤษฎีพึ่งพาของนักคิดอย่างราอูล พรีบิช (Raúl Prebisch), วัลเทอร์ รอดนีย์ (Walter Rodney), ทีโอโตนีโอ ดอส ซานโตส (Theotonio dos Santos) และอังเดร กุนเดอร์ แฟรงค์ โลกที่สามเชื่อมกับการแบ่งเศรษฐกิจเป็นประเทศ "ขอบนอก" ในระบบโลกที่มีประเทศ "แกน" ครอบงำ เนื่องจากประวัติศาสตร์ความหมายและบริบทที่วิวัฒนาอย่างซับซ้อน จึงไม่มีบทนิยามของ "โลกที่สาม" อย่างชัดเจนหรือเป็นที่ยอมรับ บางประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์ เช่น คิวบา ถือว่าเป็น "โลกที่สาม" ่บ่อยครั้ง เพราะประเทศโลกที่สามยากจนทางเศรษฐกิจ ไม่เป็นอุตสาหกรรม จึงเป็นคำเหมาเรียกประเทศยากจนว่า "ประเทศโลกที่สาม" กระนั้น คำว่า "โลกที่สาม" ยังมักใช้รวมประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างบราซิล อินเดียและจีนซึ่งปัจจุบันเรียกเป็นส่วนหนึ่งของ BRIC ในอดีต ประเทศยุโรปบางประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและประเทศเหล่านี้ส่วนน้อยที่ร่ำรวยมาก ได้แก่ ไอร์แลนด์ ออสเตรีย สวีเดน ฟินแลนด์และสวิสเซอร์แลนด์ ในช่วงทศวรรษหลังนับแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการสิ้นสุดของสงครามเย็น มีการใช้คำว่า "โลกที่สาม" แทนประเทศด้อยพัฒนา โกลบอลเซาท์ และประเทศกำลังพัฒนา แต่มโนทัศน์ดังกล่าวล้าสมัยแล้วในปีล่าสุดเพราะไม่เป็นตัวแทนของสถานภาพการเมืองหรือเศรษฐกิจของโลกอีกต่อไป หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเมือง หมวดหมู่:การจำแนกหมวดหมู่ประเทศ หมวดหมู่:การเมืองแบ่งตามภูมิภาค หมวดหมู่:อภิธานศัพท์สงครามเย็น.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและโลกที่สาม · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลภาพยนตร์

ทศกาลภาพยนตร์ (film festival) คือเทศกาลที่นำเสนอหรือแสดงภาพยนตร์ ภาพยนตร์ที่นำมาฉายมักเป็นภาพยนตร์ปัจจุบัน และขึ้นอยู่กับจุดเน้นของแต่ละเทศกาลภาพยนตร์ โดยอาจจะรวมภาพยนตร์ต่างชาติที่สร้างนอกประเทศของประเทศที่จัดงานเทศกาลภาพยนตร์ก็ได้ บางครั้งอาจเน้นรูปแบบเฉพาะ เช่น เทศกาลภาพยนตร์แอนิเมชัน หรือ เฉพาะเจาะจงบางเรื่อง เช่น เทศกาลภาพยนตร์สำหรับเกย์และเลสเบี้ยน โดยมากเทศกาลภาพยนตร์จะจัดขึ้นแบบประจำปี.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและเทศกาลภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลภาพยนตร์กาน

ทศกาลภาพยนตร์กาน (Cannes Film Festival; Festival de Cannes) เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเทศกาลหนึ่ง และมีอิทธิพลรวมทั้งชื่อเสียงมากที่สุดเทียบเคียงกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน งานจัดขึ้นทุกปี ราวเดือนพฤษภาคม ที่ Palais des Festivals et des Congrès ในเมืองกาน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและเทศกาลภาพยนตร์กาน · ดูเพิ่มเติม »

เควนติน แทแรนติโน

วนติน เจอโรม แทแรนติโน (Quentin Jerome Tarantino) เกิดวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1963 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน นักเขียนบท โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับภาพ และนักแสดง ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 เขาเป็นผู้สร้างภาพยนตร์อิสระ ใช้เส้นเรื่องแบบไม่เป็นเส้นตรง สุนทรียศาสตร์แห่งความรุนแรง ผลงานที่เป็นที่รู้จักเช่น My Best Friend's Birthday (1987), Reservoir Dogs (1992), Pulp Fiction (1994), Jackie Brown (1997), Kill Bill (Vol. 1, 2003; Vol. 2, 2004), Death Proof (2007) และ Inglourious Basterds (2009) ผลงานของเขาทำให้ได้รับรางวัลออสการ์ รางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลบาฟต้า และรางวัลปาล์มดอร์ และเขายังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอมมีและรางวัลแกรมมี ในปี 2007 นิตยสารโททอลฟิล์ม ให้เขาเป็นอันดับ 12 ของผู้กำกับที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและเควนติน แทแรนติโน · ดูเพิ่มเติม »

เซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์

เซียร์เกย์ มีไคโลวิช ไอเซนสไตน์ (Sergei Mikhailovich Eisenstein; Сергей Михайлович Эйзенштейн) (26 มกราคม ค.ศ. 1898 - 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948) เป็นผู้กำกับนักปฏิวัติวงการภาพยนตร์ชาวโซเวียต เป็นนักทฤษฎีภาพยนตร์ ผลงานภาพยนตร์เงียบของเขาอย่างเช่น Strike, โบรเนโนเซตส์โปติออมกิน และ ออคเตียบร์ และผลงานมหากาพย์อิงประวัติศาสตร์อย่าง อะเลคซันดร์ เนฟสกี และ Ivan the Terrible ผลงานของเขาเป็นอิทธิพลให้แก่วงการผู้สร้างภาพยนตร์ยุคแรก หมวดหมู่:ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวโซเวียต.

ใหม่!!: ภาพยนตร์ศึกษาและเซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »