โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุดมศึกษา

ดัชนี อุดมศึกษา

อุดมศึกษา หมายถึง ระดับการศึกษารองจากระดับมัธยมศึกษา คำว่า อุดมศึกษา มีรากศัพท์มาจากศัพท์ภาษาบาลี "อุตม" หมายถึง สูงสุด และศัพท์ภาษาสันสกฤต ศิกฺษา หมายถึง การเล่าเรียน ดังนั้น คำว่า "อุดมศึกษา" จึงหมายถึง การเรียนขั้นสูง.

26 ความสัมพันธ์: บัณฑิตวิทยาลัยพ.ศ. 2553พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกระทรวงกลาโหมกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)ภาษาบาลีภาษาสันสกฤตมหาวิทยาลัยมัธยมศึกษารายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยวิทยาลัยวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกวิทยาลัยดุสิตธานีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย)สถาบันการอาชีวศึกษาสถาบันวิทยาลัยชุมชนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปริญญาตรีปริญญาโทปริญญาเอกโรงเรียนสาธิต

บัณฑิตวิทยาลัย

ัณฑิตวิทยาลัย หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาที่มีระดับการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทหรือปริญญาเอก) โดยทั่วไปบัณฑิตวิทยาลัย จะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย แต่สำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่ไม่มีระดับปริญญาตรี จะเรียกสถาบันนั้นว่า "บัณฑิตวิทยาลัย" แทน การเรียนในระดับบัณฑิตวิทยาลัย จะมีลักษณะที่แตกต่างจากระดับในมหาวิทยาลัยทั่วไป เพราะว่ารับผู้สำเร็จการศึกษามาแล้ว ในกรณีที่เน้นการวิจัย ก่อนการสำเร็จการศึกษาต้องเขียน "วิทยานิพนธ์" (thesis) ในกรณีของปริญญาโท ส่วนในระดับปริญญาเอก จะเรียกว่า "ดุษฎีนิพนธ์" (dissertation) สำหรับกรณีที่เป็นวุฒิทางวิชาชีพ ก็จะเน้นให้ทำปัญหาพิเศษในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ในสหรัฐจะเรียกบัณฑิตวิทยาลัยว่า "Graduate School" หรือ "Grad School" ในขณะที่ สหราชอาณาจักรและประเทศในเครือจักรภพ จะเรียกว่า "Postgraduate School" คำว่า "บัณฑิตวิทยาลัย" ไม่นิยมใช้เรียกสถาบันอุดมศึกษาด้านแพทยศาสตร.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและบัณฑิตวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: อุดมศึกษาและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: อุดมศึกษาและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงกลาโหม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและกระทรวงกลาโหม · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย (University) หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในหลายระดับรวมถึง ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและมหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

มัธยมศึกษา

มัธยมศึกษา (ย่อว่า ม; secondary education) เป็นลำดับการศึกษา ขั้นที่ 3 รองจากระดับ ประถมศึกษา โดยการศึกษาในขั้นนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพให้เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและรู้จักเลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาระดับนี้ใช้เวลาเรียนสามปี โดยผู้เรียนจะมีอายุระหว่าง 12 - 17 โดยผู้เรียนจบในระดับมัธยมศึกษานี้สามารถไปประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ หรือศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนเลือกเรียนกลุ่มวิชาการหรือวิชาชีพตามความถนัดของตนเอง ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผุ้เรียนสามารถเรียนกลุ่มวิชาที่ผู้เรียนชื่นชอบเพื่อยึดเป็นอาชีพได้.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและมัธยมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย แบ่งตามประเภทสถานศึกษ.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและรายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัย

วิทยาลัย (College) มีหลายความหมาย ความหมายหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในสังคมไทย หมายถึงสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะเฉพาะสาขาวิชา เช่น การจัดการ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ช่าง ดนตรี เป็นต้น การจัดการศึกษาของวิทยาลัยนั้นอาจจะบริหารงานเป็นเอกเทศ เช่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษา หรือเป็นหน่วยในสังกัดของมหาวิทยาลัย เช่น วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้ อีกความหมายหนึ่งของวิทยาลัยนั้น อาจจะหมายถึงสถานศึกษาทั่ว ๆ ไป เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หรือในชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียน เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญ (Assumption College) หรือโรงเรียนเซนต์คาเบรียล (St. Gabriel's College) เป็นต้น.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้าฯ กรมแพทย์ทหารบก และเป็นสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยดุสิตธานี

วิทยาลัยดุสิตธานี เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เริ่มแรกนั้นได้รับการก่อตั้งในชื่อ "โรงเรียนการโรงแรมดุสิตธานี" เมื่อปี..

ใหม่!!: อุดมศึกษาและวิทยาลัยดุสิตธานี · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย)

ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา: สกอ.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันการอาชีวศึกษา

ันการอาชีวศีกษา  (อังกฤษ: Vocational Education Institution) เป็นกลุ่มสถาบันรัฐในประเทศไทย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2555 เพื่อเปิดการสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปว.ช.) ตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปว.ส.) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และปริญญาตรี (ทล.บ.) โดยใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันวิทยาลัยชุมชน

ันวิทยาลัยชุมชน เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่เดิมคือ "สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน" ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลวิทยาลัยชุมชน 20 แห่งทั่วประเทศ WA.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและสถาบันวิทยาลัยชุมชน · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

้รับรางวัลโนเบลมาก แห่งหนึ่งในโลก สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยรัฐ คือ สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับอุดหนุนงบประมาณส่วนใหญ่จากรัฐ โดยผ่านรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น ในประเทศไทย หมายถึงสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (เดิมคือ ทบวงมหาวิทยาลัย) ประกอบด้วยทั้ง มหาวิทยาลัยจำกัดรับในระบบราชการ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ฯลฯ มหาวิทยาลัยจำกัดรับนอกระบบราชการ (สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล) เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยไม่จำกัดรับ ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในสหรัฐอเมริกา วิธีการสมัครเข้าเรียนใน มหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่แตกต่างกัน สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือค่าเรียน ชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำในสหรัฐอเมริกาคือ พับลิกไอวี โดยเปรียบเทียบกับ ไอวีลีก ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำ ในสหราชอาณาจักร สถาบันอุดมศึกษาเกือบทั้งหมดเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ยกเว้นเพียงแห่งเดียว คือมหาวิทยาลัยบัคกิ้งแฮม.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ

ันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ (national university) หรือที่เรียกว่า มหาวิทยาลัยนอกระบบ คือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีการบริหารการจัดการอิสระแยกจากระบบราชการ (autonomous university) แต่ยังได้รับเงินอุดหนุนทั่วไป (block grant) ที่รัฐจัดสรรให้เป็นรายปีโดยตรง เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อประกันคุณภาพการศึกษ.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ันอุดมศึกษาเอกชน คือ สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดทำการเรียนการสอนภายใต้การบริหารของหน่วยงานเอกชน ในประเทศไทย สถาบันอุดมศึกษาเอกชนอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา การวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม โดยหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนนั้น หลังจากได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว จะส่งหลักสูตรดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนพิจารณารับรองคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถบรรจุเข้ารับราชการในอัตราเงินเดือนเทียบเท่ากับสถาบันอุดมศึกษาของรั.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ก่อตั้งด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ปริญญาตรี

ปริญญาตรี หรือ ปริญญาบัณฑิต เป็นระดับการศึกษาย่อยในการอุดมศึกษา ต่อเนื่องจากชั้นมัธยมศึกษา คำว่า ตรี หมายถึง ชั้นที่สาม (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้นหรือขั้นของยศตำแหน่ง คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ต่ำกว่า โท สูงกว่า จัตวา) ระดับปริญญาตรี โดยทั่วไปเวลาสี่ปี แต่สามารถช่วง 2-6 ปีขึ้นอยู่กับภูมิภาคของโลก.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและปริญญาตรี · ดูเพิ่มเติม »

ปริญญาโท

ปริญญาโท (master's degree) เป็นปริญญาที่ให้แก่บุคคลซึ่งผ่านการศึกษาซึ่งแสดงความชำนาญหรือภาพรวมระดับสูง (high-order overview) ของสาขาการศึกษาหรือแขนงการประกอบวิชาชีพเฉพาะ ในขอบเขตที่ศึกษา ผู้ได้รับปริญญาโทถือว่ามีความรู้สูงในหัวข้อทฤษฎีและประยุกต์กลุ่มชำนัญพิเศษ ทักษะการวิเคราะห์ การประเมินเชิงวิจารณ์หรือการประยุกต์ทางวิชาชีพระดับสูง และความสามารถแก้ไขปัญหาซับซ้อนและคิดอย่างเคร่งครัดและเป็นอิสระ หมวดหมู่:ระดับปริญญา หมวดหมู่:ปริญญาโท.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและปริญญาโท · ดูเพิ่มเติม »

ปริญญาเอก

ปริญญาเอก (doctorate) เป็นปริญญาวิชาการหรือวิชาชีพซึ่งในประเทศส่วนใหญ่ให้ผู้ถือมีคุณสมบัติสอนในระดับมหาวิทยาลัยในสาขาเฉพาะของปริญญานั้น หรือทำงานในวิชาชีพเฉพาะ ในบางประเทศ ปริญญาสูงสุดในสาขาหนึ่ง ๆ เรียก ปริญญาสูงสุด (terminal degree) คำว่า "doctorate" มาจากภาษาละติน docere หมายถึง "สอน".

ใหม่!!: อุดมศึกษาและปริญญาเอก · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสาธิต

รงเรียนสาธิตเดิมในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-โอแคลร์มีกระจกบนชั้นข้างบนเพื่อให้อาจารย์สามารถดูห้องเรียนได้ โรงเรียนสาธิตเดิมในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-โอแคลร์มีกระจกไว้เพื่อให้อาจารย์สามารถสังเกตการณ์ห้องเรียนได้ โรงเรียนสาธิต คือ โรงเรียนประถมและมัธยมในกำกับของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อให้เป็นสถานฝึกปฏิบัติการทางการศึกษาและเป็นสถานที่ฝึกการปฏิบัติงานของนักศึกษาหรือเด็กฝึกงานเพื่อที่จะเป็นคุณครูในอนาคตหรือเพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยงานต่างๆ สำหรับโรงเรียนสาธิตในประเทศไทยนั้นจะเป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของคณะศึกษาศาสตร์หรือคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อให้เป็นสถานฝึกปฏิบัติการทางการศึกษาและเป็นสถานที่ฝึกการปฏิบัติงานของคณะศึกษาศาสตร์หรือคณะครุศาสตร์ก่อนที่นิสิตนักศึกษาจะสำเร็จการศึกษ.

ใหม่!!: อุดมศึกษาและโรงเรียนสาธิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ระดับอุดมศึกษาสถาบันอุดมศึกษา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »