โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แนวภาพยนตร์

ดัชนี แนวภาพยนตร์

แนวภาพยนตร์ ในทางทฤษฎีภาพยนตร์ ภาพยนตร์ถูกจัดแบ่งออกเป็นแนว ๆ โดยแนวภาพยนตร์หนึ่งแนวมีความหมายถึงภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาจากองค์ประกอบของเรื่องราวที่คล้าย ๆ กัน.

7 ความสัมพันธ์: ฟิล์มนัวร์ภาพยนตร์ชีวประวัติภาพยนตร์สยองขวัญภาพยนตร์สั้นภาพยนตร์สารคดีภาพยนตร์โลดโผนแอนิเมชัน

ฟิล์มนัวร์

ปสเตอร์ Miller's Crossing โปสเตอร์ Femme Fatale ฟิล์มนัวร์ (Film Noir) ชื่อเรียกประเภทของภาพยนตร์ประเภทหนึ่ง โดยที่คำว่า "Noir" เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า "ดำ" หากจะแปลกันตรง ๆ ตัว ฟิล์มนัวร์ จึงแปลว่า "ฟิล์มดำ" หรือ "ภาพยนตร์ดำ" หรือ "ภาพยนตร์มืด" ภาพยนตร์ที่จะจัดให้อยู่ในประเภทฟิล์มนัวร์ นั้น จะเป็นภาพยนตร์ที่ใช้แสงและสีมืดทึบ หรือขาวดำเป็นหลัก แสดงให้เห็นถึงด้านมืดในใจมนุษย์ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องราวที่เกิดในเรื่อง ก็ไม่ได้บ่งบอกว่าใครดี ใครเลวกว่ากัน ทุก ๆ คนมีปนกันไปทั้งดีและเลว เอกลักษณ์อีกประการของฟิล์มนัวร์ ก็คือ ผู้หญิงที่เป็นตัวเอกในเรื่อง จะเป็นผู้หญิงที่มีเสน่ห์ทางเพศอย่างร้ายกาจ และจะหลอกล่อผู้ชายให้ตกเป็นเหยื่อของเธอได้ ตัวอย่างของภาพยนตร์ประเภทฟิล์มนัวร์ ได้แก่ Citizen Kane ของ ออร์สัน เวลส์ ในปี พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941), The Third Man ของ คาร์รอล รีด ในปี พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941), The Big Sleep ของ โฮเวิร์ด ฮอกส์ ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) เป็นต้น สำหรับภาพยนตร์ฟิล์มนัวร์ ในยุคปัจจุบันนี้ ได้แก่ Chinatown ของ โรมัน โปลันสกี้ ในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974), The Postman Always Rings Twice ของ บ๊อบ ราเฟลสัน ในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981), Miller's Crossing ของ โจเอล โคแฮน ในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990), Naked Lunch ของ เดวิด โครเนนเบิร์ก ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991), L.A. Confidential ของ เคอติส แฮนซัน ในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1997), Dark City ในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) ของ อเล็ก โพรยาส, Midnight in the Garden of Good and Evil ของ คลินต์ อีสต์วูด ในปีเดียวกัน, Memento ของ คริสโตเฟอร์ โนแลน ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000), Femme Fatale ของ ไบรอัน เดอ พัลม่า ในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002), Sin City ของ แฟรงก์ มิลเลอร์ และ โรเบิร์ต โรดริเกวซ ในปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005), Planet Terror ของ โรเบิร์ต โรดริเกวซ ในปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) เป็นต้น ในส่วนของภาพยนตร์ฮ่องกง เช่น The Longest Nite ของตู้ ฉีฟง ในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) เป็นต้น สำหรับภาพยนตร์ไทยนั้น ภาพยนตร์ที่สามารถจัดให้อยู่ในประเภทฟิล์มนัวร์ได้นั้น มี กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน ในปี พ.ศ. 2534 เป็นเรื่องแรก จากนั้นในอีกหลายปีต่อมาถึงมี ดอกไม้ในทางปืน ในปี พ.ศ. 2542 โดยผู้กำกับคนเดียวกัน คือ มานพ อุดมเดช ออกมา และก็ยังมี ห้องน้ำ ภาพยนตร์แผ่นของอาร์.เอส.ฟิล์ม, เฉือน ของ ก้องเกียรติ โขมศิริ ในปี พ.ศ. 2552, นาคปรก ในปี พ.ศ. 2553 และ ฝนตกขึ้นฟ้า ของ เป็นเอก รัตนเรือง ในปี พ.ศ. 2554 เป็นต้น.

ใหม่!!: แนวภาพยนตร์และฟิล์มนัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์ชีวประวัติ

นตร์ชีวประวัติ (Biographical film หรือเรียกอย่างสั้นว่า biopic) เป็นภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูง ที่เล่าเรื่องชีวิตของคน มักมีโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว คือเล่าตั้งแต่เกิดจนตายโดยเน้นช่วงสำคัญในชีวิตคนแต่ละประเภทแตกต่างกัน หากเป็นศิลปิน อาจเล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน หากเป็นกีฬา หนังอาจถ่ายทอดความกดดันในเกมแข่งขัน หรือหากเป็นนักรบ หนังก็อาจเล่าถึงช่วงเวลาที่ถือเป็นความพ่ายแพ้ที่สุดในชีวิต ภาพยนตร์ชีวประวัติที่มีชื่อเสียงเช่น Edvard Munch (พ.ศ. 2537) เล่าชีวิตของ เอ็ดเวิร์ด มุงค์ ศิลปินชาวนอร์เวย์, American Spendor (พ.ศ. 2546) เล่าชีวิตของ ฮาร์วีย์ เพ็กการ์ นักวาดการ์ตูน, La Vie en Rose (พ.ศ. 2550) เล่าชีวิตของ อีดิธ เพียฟ นักร้องชื่อดังชาวฝรั่งเศส, Nightwatching (พ.ศ. 2550) เล่าเรื่องของจิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ แรมบรัง.

ใหม่!!: แนวภาพยนตร์และภาพยนตร์ชีวประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์สยองขวัญ

260px ภาพยนตร์สยองขวัญ (Horror film) เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งเน้นทำให้ผู้ชมรู้สึกหวาดกลัว, เสียวไส้ และรู้สึกสยองขวัญ ภาพยนตร์เหล่านี้มักใช้วิธีการสร้างฉากที่ทำให้ตกใจ ด้วยการใช้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความตายหรือสิ่งที่เหนือธรรมชาติ จึงมักมีความคาบเกี่ยวกันกับความเป็นแฟนตาซีกับนิยายวิทยาศาสตร์ ความน่ากลัวเหล่านี้ยังใช้สิ่งกระตุ้นเช่นดนตรีสร้างความตื่นเต้นกระตุกอารมณ์ ภาพยนตร์สยองขวัญมักเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับฝันร้ายของผู้ชม, ความหวาดกลัวที่ซ่อนอยู่, ความเกลียดและความกลัวของสิ่งที่ไม่รู้จัก แม้ว่าการจัดการกับสิ่งเหล่านี้จะทำด้วยสิ่งที่เหนือธรรมชาติในท้องเรื่อง หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วย, ฆาตกรต่อเนื่อง, โรคระบาด และลัทธิเหนือจริง ก็อาจนิยามกับสิ่งเหล่านี้ว่าความสยองขวัญได้เช่นกัน.

ใหม่!!: แนวภาพยนตร์และภาพยนตร์สยองขวัญ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์สั้น

นตร์สั้น หรือ หนังสั้น (Short film, หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Short) เป็นประเภทของภาพยนตร์อย่างหนึ่งที่เหมือนกับภาพยนตร์ทั่วไป ที่เล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงเฉกเช่นภาพยนตร์ความยาวปกติ เพียงแต่ว่าเป็นการเล่าเรื่องประเด็นสั้น ๆ หรือประเด็นเดียวให้ได้ใจความ มาตรฐานของภาพยนตร์สั้น คือ มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 40 นาที สำหรับในประเทศไทย ภาพยนตร์สั้นเรื่องแรกเกิดขึ้นในสมัยของรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป ความยาว 1 นาทีโดยช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ (Lumiere) ของฝรั่งเศส ผู้ผลิตและพัฒนากล้องถ่ายภาพยนตร์สำคัญรายหนึ่งของโลก ปัจจุบัน ภาพยนตร์สั้นได้รับความสนใจและตื่นตัวอย่างมาก มีผู้สร้าง ผู้ผลิตหลายรายมากขึ้น และในการแจกรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 80 ในปี ค.ศ. 2012 ที่เป็นการแจกรางวัลให้แก่ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2011 ก็เป็นครั้งแรกด้วยที่มีการแจกรางวัลให้แก่ภาพยนตร์ประเภทนี้ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 รางวัล คือ ภาพยนตร์สั้น (Live Action) และแอนิเมชั่นสั้น (Animated).

ใหม่!!: แนวภาพยนตร์และภาพยนตร์สั้น · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์สารคดี

นตร์สารคดี เป็น ภาพยนตร์ (ที่อาจจะออกอากาศทางโทรทัศน์) ที่ไม่ใช่เรื่องแต่งมีเจตนาเพื่อบันทึกในแง่มุมความเป็นจริง โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อสอน ให้ความรู้ หรือบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร.

ใหม่!!: แนวภาพยนตร์และภาพยนตร์สารคดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์โลดโผน

นตร์โลดโผน (action film, action movie) เป็นประเภทภาพยนตร์ที่ซึ่งตัวเอก (อาจมีคนเดียวหรือมากกว่านั้น) ถูกผลักดันเข้าสู่ชุดความท้าทายต่าง ๆ ได้แก่ ความรุนแรง การไล่ล่าอย่างบ้าคลั่ง การต่อสู้ระยะประชิด และการใช้ทักษะทางร่างกายในการต่อสู้ ภาพยนตร์โลดโผนมีแนวโน้มที่จะแสดงภาพตัวเอกที่มีเชาวน์ไวและกำลังดิ้นรนให้พ้นความยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ตัวร้าย หรือการไล่ล่า แต่โดยทั่วไปก็มักลงเอยด้วยชัยชนะของตัวเอก แม้ว่าฉากโลดโผนจะเป็นส่วนประกอบที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ มานาน แต่ประเภท "ภาพยนตร์โลดโผน" ก็เพิ่งจะเริ่มพัฒนาขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1970 ร่วมกับการเพิ่มขึ้นของฉากเสี่ยงอันตรายและผลพิเศษ (special effect) นี้เอง ทุกวันนี้ ความก้าวหน้าด้านกระบวนจินตภาพใช้คอมพิวเตอร์สร้างหรือซีจีไอ (computer-generated imagery, CGI) ทำให้ผู้ผลิตภาพยนตร์สามารถสร้างตอนโลดโผนและผลพิเศษทางภาพ (visual effect) อื่น ๆ ได้ถูกกว่าและง่ายกว่าในอดีตที่จำเป็นต้องอาศัยความเพียรของตัวแสดงเสี่ยงแทนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ผู้ชมมักมีปฏิกิริยาคละเคล้ากันไปต่อภาพยนตร์โลดโผนที่มีปริมาณซีจีไอมากอย่างมีนัยสำคัญ โดยภาพยนตร์ที่ใช้แอนิเมชันในการสร้างเหตุการณ์ที่ไม่สมจริงและไม่น่าเชื่ออย่างยิ่งมักได้รับการวิพากษ์วิจารณ์บ่อยครั้ง ภาพยนตร์แนวนี้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาพยนตร์ผจญภัยและภาพยนตร์ระทึกขวัญ (thriller film) และอาจมีองค์ประกอบของบันเทิงคดีแนวจารกรรมและจารกรรมอยู่ด้ว.

ใหม่!!: แนวภาพยนตร์และภาพยนตร์โลดโผน · ดูเพิ่มเติม »

แอนิเมชัน

ตัวอย่างแอนิเมชันของเครื่องจักรรูปทรงวงกลม แอนิเมชัน (animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูงโดยการนำภาพนิ่งมาเรียงต่อกัน การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในการคำนวณสร้างภาพจะเรียกการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน หากใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป หรือหรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุดหรือสตอปโมชัน (stop motion) โดยหลักการแล้ว ไม่ว่าจะสร้างภาพ หรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่า ภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา ในทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบแอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต มีหลายรูปแบบไฟล์เช่น GIF APNG MNG SVG แฟลช และไฟล์สำหรับเก็บวีดิทัศน์ประเภทอื่น.

ใหม่!!: แนวภาพยนตร์และแอนิเมชัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ประเภทของภาพยนตร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »