เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฟาบริเคเตอร์

ดัชนี ฟาบริเคเตอร์

ฟาบริเคเตอร์ คือ ชุดเครื่องมือร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์บนเว็บ รวมไปถึงเครื่องมือทบทวนโค้ดเชิงอนุพันธ์, เบราว์เซอร์บรรจุแบบกระจาย, เครื่องมือเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงเฮอรัลด์, ตัวติดตามบัคแบบประจักษ์ และวิกิเสียดทาน ฟาบริเคเตอร์ทำงานร่วมกับกิต, เมอร์คิวเรียล, และซับเวอร์ชั่น ชุดเครื่องมือนี้อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์เสรีภายใต้ลิขสิทธิ์อาปาเช่ เวอร์ชั่น 2 เดิมทีฟาบริเคเตอร์ถูกพัฒนาเป็นเครื่องมือภายในของเฟสบุ๊ก โดยอีวาน พรีสท์ลี่Fagerholm, F.; Johnson, P.; Guinea, A.

สารบัญ

  1. 10 ความสัมพันธ์: ฟรีบีเอสดีพินเทอเรสต์กิต (ซอฟต์แวร์)มูลนิธิวิกิมีเดียอูเบอร์ (บริษัท)ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์เสรีเบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)เฟซบุ๊กเคดีอี

  2. ซอฟต์แวร์ใช้สัญญาอนุญาตอะแพชี

ฟรีบีเอสดี

ฟรีบีเอสดี (FreeBSD) คือซอฟต์แวร์เสรีซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) สืบทอดมาจาก AT&T UNIX ผ่านทางสายของ Berkeley Software Distribution (BSD) คือ 386BSD และ 4.4BSD ฟรีบีเอสดีรองรับการทำงานบนซีพียูตระกูลหลักๆ หลายตระกูลด้วยกัน นอกจากตระกูล X86 ของอินเทลที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็ยังมี DEC Alpha, UltraSPARC ของ Sun Microsystems, Itanium (IA-64), AMD64 และ PowerPC ส่วนของตระกูลรองได้แก่คอมพิวแตอร์สถาปัตยกรรมแบบ PC-98 การรองรับสำหรับตระกูล ARM และ MIPS กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา จุดเด่นที่สำคัญของฟรีบีเอสดีคือประสิทธิภาพและเสถียรภาพ โลโก้ดั้งเดิมและตัวมาสคอตของโครงการฟรีบีเอสดีคือตัวดีม่อนสีแดงซึ่ง มาร์แชล เคิร์ก แมคคูสิก (Marshall Kirk McKusick) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การพัฒนาฟรีบีเอสดีเป็นแบบเบ็ดเสร็จทั้งระบบปฏิบัติการ กล่าวคือทั้งเคอร์เนล ยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้เช่น เชลล์ และดีไวซ์ไดรเวอร์อยู่ในทรีของระบบควบคุมเวอร์ชันของซอร์สโค้ด (CVS) เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากลินุกซ์ที่มีการพัฒนาเฉพาะส่วนของเคอร์เนลโดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ส่วนของยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้พัฒนาโดยกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มในโครงการของกนูและนำมารวมเข้าด้วยกันกับโปรแกรมประยุกต์กลายเป็นดิสทริบิวท์ชั่นซึ่งนำมาเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ใช้กัน ฟรีบีเอสดีได้รับการยกย่องว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงทางด้านเสถียรภาพและความอึด (แต่ไม่อืด) จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รันเซิร์ฟเวอร์อย่างแพร่หลาย ข้อยืนยันนี้ดูได้จากรายงานอัพไทม์ (เวลาจากการรีบูตครั้งล่าสุด) ในรายการ 50 อันดับของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีอัพไทม์นานที่สุดก็มฟรีบีเอสดีและBSD/OS ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความมั่นคงของฟรีบีเอสดีว่า ตลอดเวลาการปฏิบัติงานอันยาวนานนี้นอกจากจะไม่มีการแครชแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการอัปเดตเคอร์เนลแต่อย่างใด (หลังจากอัพเกรดเคอร์เนลจำเป็นต้องรีบูต).

ดู ฟาบริเคเตอร์และฟรีบีเอสดี

พินเทอเรสต์

นเทอเรสต์ (Pinterest) เป็นเครื่องมือที่ผู้คนใช้เก็บรวบรวมแนวความคิดสำหรับโครงการต่าง ๆ ที่พวกเขาสนใจ ผู้ใช้สามารถสร้างและแบ่งปันของที่สะสมไว้ (เป็น "บอร์ด") แบบเป็นที่คั่นหนังสือภาพ (เป็น "เข็มหมุด") ซึ่งพวกเขาใช้สำหรับวางแผน และจัดโครงการ, จัดกิจกรรม หรือบันทึกบทความและตำรา นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเช่นการบันทึกบางอย่างที่อาจไม่เข้ากันกับบอร์ด เว็บไซต์นี้ได้รับการก่อตั้งโดยเบน ซิลเบอร์แมนน์, พอล เซียอารา และอีวาน ชาร์ป ได้รับการบริหารจัดการโดยโคลด์บริลแลปส์ ตลอดจนได้รับทุนจากกลุ่มเล็ก ๆ ของผู้ประกอบการและนักลงทุน.

ดู ฟาบริเคเตอร์และพินเทอเรสต์

กิต (ซอฟต์แวร์)

กิต (Git) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบควบคุมรุ่นของซอฟต์แวร์ (revision control) โดยเริ่มแรกถูกพัฒนามาใช้สำหรับลินุกซ์ โดยลินุส โตร์วัลดส์ ไดเรกทอรีของกิตทุกตัวจะมีการเก็บประวัติทั้งหมด ปัจจุบันกิตดูแลโดย ฮูนิโอ ฮามาโน กิตเป็นซอฟต์แวร์ฟรีและแจกจ่ายในลักษณะของ GPL ชื่อของกิต ลินุสกล่าวว่ามาจากศัพท์สแลงในสำเนียงบริเตนหมายถึง "คนโง่" หรือ "คนที่ไม่น่าพอใจ" โดยเว็บไซต์ทางการของกิตได้ให้ความหมายหลายความหมาย โดยหนึ่งในนั้นได้ให้ความหมายว่าย่อมาจาก "Global Information Tracker".

ดู ฟาบริเคเตอร์และกิต (ซอฟต์แวร์)

มูลนิธิวิกิมีเดีย

ริษัทมูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation, Inc.; WMF) หรือ วิกิมีเดีย เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรและองค์กรการกุศลสัญชาติอเมริกัน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักจากการเข้าร่วมในขบวนการวิกิมีเดีย และเป็นเจ้าของชื่อโดเมนอินเทอร์เน็ตของโครงการส่วนใหญ่ของขบวนการ เช่น วิกิพีเดีย มูลนิธินี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.

ดู ฟาบริเคเตอร์และมูลนิธิวิกิมีเดีย

อูเบอร์ (บริษัท)

thumbnail อูเบอร์ (Uber) เป็นบริษัทเครือข่ายคมนาคม มีสำนักงานใหญ่ในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งดำเนินการในนครหลายประเทศ บริษัทใช้โปรแกรมประยุกต์สมาร์ตโฟนเพื่อรับคำขอโดยสารแล้วส่งคำขอโดยสารเหล่านั้นไปยังคนขับของตน ลูกค้าใช้แอพเพื่อขอโดยสารและติดตามตำแหน่งของพาหนะที่สงวนไว้ จนถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2557 มีบริการใน 53 ประเทศและกว่า 200 นครทั่วโลก มีมูลค่ากว่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แรกก่อตั้ง อูเบอร์เสนอให้เช่าเฉพาะรถหรูหราขนาดเต็มเท่านั้น และมีการใช้ชื่อ "อูเบอร์แบล็ก" เป็นบริการหลักของบริษัท (ตั้งตามบริการขนส่งเอกชน "แบล็กคาร์" ในนครนิวยอร์ก) ในปี 2555 บริษัทออกโครงการ "อูเบอร์เอ็กซ์" ซึ่งขยายบริการให้คนขับที่มีคุณสมบัติครบทุกคนและมีพาหนะที่ยอมรับได้ เนื่องจากขาดการวางระเบียบ อูเบอร์จึงคิดค่าบริการต่ำกว่าบริการแท็กซี่ดั้งเดิมบางแห่ง อูเบอร์ตกเป็นประเด็นการประท้วงที่กำลังดำเนินอยู่จากคนขับแท็กซี่ บริษัทแท็กซี่และรัฐบาลซึ่งเชื่อว่าอูเบอร์เป็นปฏิบัติการรถแท็กซี่มิชอบด้วยกฎหมายซึ่งใช้การประกอบธุรกิจไม่ยุติธรรมและละเมิดความปลอดภัยของผู้โดยสาร จนถึงเดือนธันวาคม 2557 มีการจัดประท้วงในประเทศเยอรมนี อินเดีย สเปน ฝรั่งเศสและอังกฤษ ฯลฯ ขณะที่มีบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับผู้โดยสาร.

ดู ฟาบริเคเตอร์และอูเบอร์ (บริษัท)

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู.

ดู ฟาบริเคเตอร์และซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ดู ฟาบริเคเตอร์และซอฟต์แวร์เสรี

เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)

ลนเดอร์ เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับงานคอมพิวเตอร์กราฟิกสามมิติ สามารถใช้สร้าง โมเดลสามมิติ, คลี่ UV, ทำพื้นผิว (Texture), จัดการการเคลื่อนไหวแบบใช้กระดูก, จำลองการไหลของน้ำ, จำลองผิวหนัง, คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน, เร็นเดอร์, พาทิเคิล, การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์อื่นๆ, การตัดต่อและตบแต่งวีดิทัศน์และภาพผ่านระบบ คอมโพสิต, และยังใช้สร้างแอปพลิเคชันแบบสามมิติได้อีกด้วย เบลนเดอร์ทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ, เช่น Microsoft Windows, Mac OS X, GNU/Linux, IRIX, Solaris, NetBSD, FreeBSD, OpenBSD และมีการพอร์ตอย่างไม่เป็นทางการไปยังระบบ BeOS, SkyOS, AmigaOS, MorphOS และ Pocket PC เบลนเดอร์มีคุณลักษณะทัดเทียมกับโปรแกรมสามมิติระดับสูงอื่นๆเช่น XSI, Cinema 4D, 3 ดีเอสแมกซ์, Lightwave และ Maya โดยมีคุณลักษณะสำคัญเช่นการจำลองกองวัตถุล้มกระทบ, การกระทบกันระหว่าง ของไหล, ผ้าถูกลมพัดพริ้ว และโครงสร้างยืดหยุ่นต่างๆ, มีระบบ modifier แบบเป็นชั้นสำหรับปรับโมเดล, ระบบจัดการภาพเคลื่อนไหวคุณภาพสูง, ระบบจัดการวัสดุและการคอมโพสิตแบบ node และรองรับ ภาษาไพทอน สำหรับเขียนสคริป Blender ต้องการ OpenGL ในการทำงาน ในปี..

ดู ฟาบริเคเตอร์และเบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)

เฟซบุ๊ก

ฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย เฟซบุ๊กก่อตั้งเมื่อวันพุธที่ 4 กุมภาพัน..

ดู ฟาบริเคเตอร์และเฟซบุ๊ก

เคดีอี

KDE หรือชื่อเต็ม K Desktop Environment เป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบเดสก์ท็อป (Desktop Environment) ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี พัฒนาบนทูลคิท Qt ของบริษัท Trolltech และทำงานได้บนระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์เกือบทุกรุ่น เช่น ลินุกซ์, BSD, AIX และ Solaris รวมถึงมีรุ่นที่ใช้งานได้บน Mac OS X และไมโครซอฟท์วินโดวส์ KDE มีโครงการพี่น้องที่พัฒนาไปพร้อมกันอย่าง KDevelop ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรแกรม และ KOffice ชุดโปรแกรมสำนักงาน ในรุ่น 4.1 ได้แก้ไขในเรื่องบั๊กทั้งหมดและหน้าตาของชุดตกแต่งพลาสมา รวมถึงการตั้งค่า TaskBar ดีมากยิ่งขึ้น และส่วนการติดต่อที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์กว่า KDE 4.0.X ปัจจุบันรุ่น 4.8.0.

ดู ฟาบริเคเตอร์และเคดีอี

ดูเพิ่มเติม

ซอฟต์แวร์ใช้สัญญาอนุญาตอะแพชี

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Phabricator