โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พฤษภาทมิฬ

ดัชนี พฤษภาทมิฬ

หตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองที่มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็น นายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหาร รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน) และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีหัวหน้าคณะคือ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในขณะนั้นภายหลังการรัฐประหารได้เลือกนาย อานันท์ ปันยารชุน เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีและได้ร่างรัฐธรรมนูญจนมีการเลือกตั้งผลปรากฏว่านายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ตั้งขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในคณะ ร. ได้คะแนนมากที่สุด แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากถูกรัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีดำจากความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ทำให้ พล.อ.สุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเป็นการตระบัดสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายา "เสียสัตย์เพื่อชาติ" จากสื่อมวลชนในเวลาต่อมา จากผลดังกล่าว ทำให้ประชาชนหลายส่วนไม่พอใจการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.สุจินดา ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงทั้งการอดอาหาร การเดินขบวน และการชุมนุมในสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ทำให้รัฐบาลพล.อ.สุจินดาใช้คำสั่งสลายการชุมนุม เกิดการปะทะขึ้น มีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงรับสั่งให้พลเอกสุจินดา คราประยูรและพลตรีจำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้า โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งได้มีการเผยแพร่ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นอีก 4 วัน พล.อ.สุจินดา จึงได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก่อนการเลือกตั้งในเวลาต่อมา การชุมนุมในครั้งนี้ยังเป็นการชุมนุมที่ผู้ประท้วงมีโทรศัพท์มือถือใช้สื่อสารจนถูกเรียกว่าเป็น "ม็อบมือถือ" และรวมถึงการเรียกชื่อฝั่งพรรคซึ่งแตกออกเป็น 2 ฝั่งจากผู้สื่อข่าว โดยเรียกฝั่งพรรคที่เข้าไปทางรัฐบาลของพล.อ.สุจินดา ว่า "พรรคมาร" ส่วนฝั่งพรรคที่คัดค้านการมีอำนาจของพล.อ.สุจินดา เรียกว่า "พรรคเทพ".

113 ความสัมพันธ์: ชวน หลีกภัยชายชาติชาย ชุณหะวัณบีบีซี เวิลด์นิวส์พ.ศ. 2524พ.ศ. 2527พ.ศ. 2529พ.ศ. 2534พ.ศ. 2535พรรคชาติไทยพรรคพลังธรรมพรรคการเมืองพรรคกิจสังคมพรรคราษฎรพรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)พรรคสามัคคีธรรมพรรคความหวังใหม่พรรคประชากรไทยพรรคประชาธิปัตย์พรรคเอกภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพฤษภาทมิฬกรุงเทพมหานครกองทัพบกไทยการก่อการกำเริบโดยประชาชนการตรวจลงตราการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีชัย ฤชุพันธุ์ยูทูบยูเอชเอฟรัฐบุรุษรัฐสภารัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560รัฐประหารรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534รายชื่อสภานิติบัญญัติแบ่งตามประเทศรายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยรายนามนายกรัฐมนตรีไทยลานพระราชวังดุสิตวันพุธวีระกานต์ มุสิกพงศ์วงเวียนใหญ่ศาสตราจารย์สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 18สมบุญ ระหงษ์สมศักดิ์ โกศัยสุข...สหรัฐสัญญา ธรรมศักดิ์สื่อมวลชนสุจินดา คราประยูรสุนทร คงสมพงษ์สถานการณ์ฉุกเฉินสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีสถานีโทรทัศน์ไอทีวีสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสสนามกีฬากองทัพบกสนุก.คอมอาทิตย์ อุไรรัตน์อานันท์ ปันยารชุนอุกฤษ มงคลนาวินผู้บัญชาการทหารจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจำลอง ศรีเมืองถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)ทหารข้าราชการพลเรือนสามัญณรงค์ วงศ์วรรณคอนเสิร์ตคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 48คณะองคมนตรีไทยตำรวจฉลาด วรฉัตรซีเอ็นเอ็นประชาธิปไตยประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะปริญญา เทวานฤมิตรกุลนายกรัฐมนตรีโทรศัพท์เคลื่อนที่โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเฟซบุ๊กเหวง โตจิราการเหตุการณ์ 14 ตุลาเปรม ติณสูลานนท์10 มิถุนายน11 พฤษภาคม13 กันยายน15 พฤษภาคม17 พฤษภาคม17 เมษายน18 พฤษภาคม19 พฤษภาคม20 พฤษภาคม20 เมษายน21 พฤษภาคม22 พฤษภาคม22 มีนาคม23 พฤษภาคม24 พฤษภาคม26 พฤษภาคม4 พฤษภาคม7 พฤษภาคม7 เมษายน8 พฤษภาคม8 เมษายน9 พฤษภาคม ขยายดัชนี (63 มากกว่า) »

ชวน หลีกภัย

วน หลีกภัย (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 —) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 ดำรงตำแหน่งสองสมัย ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัต.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและชวน หลีกภัย · ดูเพิ่มเติม »

ชาย

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและชาย · ดูเพิ่มเติม »

ชาติชาย ชุณหะวัณ

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (5 เมษายน พ.ศ. 2463 — 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2541) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 17 และเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในหลายกระทรวงคือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงกลาโหม พลเอกชาติชาย เป็นผู้ก่อตั้งพรรคการเมือง 2 พรรค และได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค คือ พรรคชาติไทย และ พรรคชาติพัฒน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและชาติชาย ชุณหะวัณ · ดูเพิ่มเติม »

บีบีซี เวิลด์นิวส์

ีบีซี เวิลด์ นิวส์ (BBC World News; ชื่อเดิม: BBC World) เป็นช่องรายการข่าวนานาชาติของบีบีซี ช่องรายการนี้มีผู้ชมมากที่สุดในบรรดาช่องรายการของบีบีซี เปิดตัวครั้งแรกในชื่อ โทรทัศน์ภาคบริการโลกของบีบีซี (BBC World Service Television) เมื่อปีค.ศ. 1991 (ภายหลังเปลี่ยนเป็น บีบีซี เวิลด์ (BBC World) ในปีค.ศ. 1995) โดยออกอากาศรายการข่าว สารคดี รูปแบบการใช้ชีวิต และบทสัมภาษณ์ต่างๆ ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง คู่แข่งสำคัญของช่องรายการนี้คือ ซีเอ็นเอ็นนานาชาติ และยังต้องแข่งขันกับสถานีข่าวอื่นๆ อีก ข่าวโลกบีบีซี เป็นช่องรายการข่าวที่มีผู้ชมมากที่สุด นำหน้า ซีเอ็นเอ็น และยังเป็นหนึ่งในช่องรายการที่มีคนดูมากที่สุดในโลก ช่องรายการถูกส่งสัญญาณโดย Red Bee Media จากสถานีหลัก ณ The Broadcast Centre ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ BBC Media Village และส่วนหนึ่งของ BBC White City ที่ White City ในลอนดอนตะวันตก โดยมีห้องส่งจาก BBC Television Centre ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน BBC World News มีห้องข่าวแยกออกจากห้องข่าวของ BBC News ห้องข่าวนี้ส่งสัญญาณตั้งแต่เวลา 05.00 น. ถึง 00.30 น. (เวลาสหราชอาณาจักร) ทุกๆ วันจันทร์ถึงศุกร์ และตั้งแต่ 06.00 น. ถึง 00.30 น. ในวันเสาร์และอาทิตย์ ส่วนในเวลา 01.00 น. ถึง 05.00 น. จะส่งสัญญาณจากห้องส่งภายในสหราชอาณาจักร หรือ BBC News ถึงแม้ว่าห้องส่ง BBC World News ผลิตภาพในสัดส่วนภาพ 16:9 ในรูปแบบ SDTV ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับ BBC News แต่ BBC World News นั้นถูกส่งสัญญาณในสัดส่วนภาพ 4:3 ทำให้ภาพถูกแปลงให้เป็นสัดส่วนภาพ 14:9 สำหรับการออกอากาศทั้งในแบบดิจิตอลและอนาล็อก ทำให้ภาพที่ปรากฏมีแถบดำอยู่ด้านบนและล่างของภาพ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2009 ได้ปรับระบบการส่งภาพไปเป็นอัตราส่วน 16:9 พอดี BBC World News ได้รับรางวัล ช่องรายการข่าวนานาชาติดีเด่น ณ The Association for International Broadcasting Awards ในเดือนพฤศจิกายน ปีค.ศ. 2006 ในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 2008 ช่องรายการถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "BBC World News" จากชื่อเดิม BBC World โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรีแบรนด์ภาพลักษณ์ของ BBC มูลค่า 550,000 ปอนด์ ทำให้มีภาพลักษณ์ช่องใหม่ รูปแบบสีใหม่ BBC News ยังกล่าวอีกว่า การส่งสัญญาณจะย้ายจากสตูดิโอ N9 ไปเป็น N8 ซึ่งเคยเป็นห้องส่งของ BBC News Channel มาก่อน ในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2013 บีบีซีเวิลด์นิวส์ย้ายส่วนปฏิบัติการจาก BBC Television Centre ใน White City ลอนดอนตะวันตก ไปอยู่ที่ Broadcasting House ใจกลางกรุงลอนดอน โดยมี Nik Gowing เป็นผู้ประกาศข่าวคนสุดท้ายที่อ่านข่าวจากห้องส่งเดิม ส่วนผู้ประกาศข่าวคนแรกที่อ่านข่าวจากห้องส่งใหม่ คือ George Alagiah ในรายการ GMT http://www.youtube.com/watch?v.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและบีบีซี เวิลด์นิวส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2524

ทธศักราช 2524 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1981 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพ.ศ. 2524 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2527

ทธศักราช 2527 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1984 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพ.ศ. 2527 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2529

ทธศักราช 2529 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1986 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพ.ศ. 2529 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคชาติไทย

รรคชาติไทย (Chart Thai Party) เป็นอดีตพรรคการเมืองในประเทศไทย เคยมีบทบาททางการเมืองระดับชาติช่วงปี..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคชาติไทย · ดูเพิ่มเติม »

พรรคพลังธรรม

รรคพลังธรรม เป็นพรรคการเมืองขนาดกลาง หัวหน้าพรรคคนแรก คือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคพลังธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พรรคการเมือง

รรคการเมือง เรียกย่อว่า พรรค คือองค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นั่นคือมีแนวความคิดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งบุคคลเข้ารับเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตามแนวความคิดหรือนโยบายที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของกลุ่ม ลักษณะสำคัญที่สุดที่ทำให้พรรคการเมืองมีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มทางการเมืองอื่น ๆ ก็คือ พรรคการเมืองจะต้องมีความปรารถนาหรือต้องการที่จะเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโอกาสนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติจริง ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ๑)ความหมายของพรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดและผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

พรรคกิจสังคม

รรคกิจสังคม (Social Action Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยให้ชื่อว่า "กิจสังคม" โดยแปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ โดยนำชื่อพรรคมาจากพรรคการเมืองนี้ในประเทศอังกฤษ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 27,413 คน และมีสาขาพรรคจำนวน 4 สาขา หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ก่อตั้งพรรค และหัวหน้าพรรคคนแรกให้เหตุผลว.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคกิจสังคม · ดูเพิ่มเติม »

พรรคราษฎร

รรคราษฎร อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)

รรคราษฎร ชื่อเดิม พรรคสหชาติ ก่อตั้งขึ้นเป็นพรรคการเมือง ในปี..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคราษฎร (พ.ศ. 2529) · ดูเพิ่มเติม »

พรรคสามัคคีธรรม

รรคสามัคคีธรรม (Justice Unity Party) พรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เป็นลำดับที่ 30/2535 เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2535 ในช่วงก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย มีนาคม พ.ศ. 2535 มีการรวบรวมนักการเมืองจากหลายพรรค และมีบุคคลในพรรคที่ใกล้ชิดกับคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ ร. โดยมีนายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรครวมไทย และพรรคเอกภาพ เป็นหัวหน้าพรรค และ นาวาอากาศตรีฐิติ นาครทรรพ บิดาของ นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นเลขาธิการพรรค พรรคสามัคคีธรรม ได้ประกาศนโยบายของพรรคไว้ว่า "จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความมั่นคงทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อความผาสุกของประชาชนโดยถ้วนหน้า ทั้งนี้ โดยอาศัยวิธีการตามหลักการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข".

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคสามัคคีธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พรรคความหวังใหม่

ัญลักษณ์พรรคความหวังใหม่แบบเดิม พรรคความหวังใหม่ (New Aspiration Party; ย่อว่า ควม.) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งในประเทศไทย เคยมีบทบาททางการเมืองระดับประเทศระหว่างปี..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคความหวังใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคประชากรไทย

รรคประชากรไทย (Thai Citizen Party - TCP, ย่อว่า: ปชท.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2522 ณ บริเวณสนามชัยข้างพระบรมมหาราชวัง โดยมี นายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรค เพื่อการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้ง 29 ที่นั่ง จากจำนวน 32 ที่นั่งในกรุงเทพมหานคร และอีก 3 ที่นั่งในต่างจังหวัด พรรคประชากรไทยจัดเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีฐานเสียงที่สำคัญอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีบุคคลสำคัญอันเป็นเสมือนเอกลักษณ์ของพรรค คือ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค แต่หลังจากปี พ.ศ. 2540 แล้ว พรรคประชากรไทยมีบทบาทการเมืองในระดับประเทศลดลง อีกทั้งมีสมาชิกพรรคจำนวน 12 คน หันไปให้การสนับสนุนนายชวน หลีกภัย ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 ซึ่งขัดต่อความเห็นของนายสมัคร หัวหน้าพรรค ซึ่งเรียกกันว่า "กลุ่มงูเห่า" ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 นายสมัคร ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน มีหัวหน้าพรรค คือ นายสุมิตร สุนทรเวช น้องชายของนายสมัคร ที่ทำการพรรคตั้งอยู่ที่ ถนนศรีวรา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร มีสมาชิกพรรคจำนวน 69,852 คน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคประชากรไทย · ดูเพิ่มเติม »

พรรคประชาธิปัตย์

รรคประชาธิปัตย์ (Democrat Party - DP, ย่อ: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 2,895,933 คน นับเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย และมีสาขาพรรคจำนวน 175.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคประชาธิปัตย์ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคเอกภาพ

รรคเอกภาพ (Solidarity Party) เป็นพรรคการเมืองของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2526ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 22ง วันที่ 14 มีนาคม 2545 ในนาม พรรคประชาไทย โดยมีนายทวี ไกรคุปต์ เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พรรคประชาไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรครวมไทย และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น พรรคเอกภาพ โดยได้ยุบรวมพรรคการเมืองขนาดเล็ก จำนวน 3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม ของนายบุญชู โรจนเสถียร พรรคก้าวหน้า ของนายอุทัย พิมพ์ใจชน และพรรคประชาชน ของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เข้ามารวมกับพรรครวมไทยและมี..จากการรวมตัวในครั้งนี้จำนวน 61 คน และถือเป็นพรรคใหญ่อันดับ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น ในช่วงแรกของการจัดตั้งพรรค ได้มีการมอบหมายให้ ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรครวมไทย ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมี เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ หัวหน้าพรรคประชาชน ซึ่งมีจำนวน..เป็นอันดับ 2 เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกอีกด้วย โดยภายหลังจากการรวมพรรคกันไม่นาน พรรคก็เข้าร่วมรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เมื่อได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 2.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพรรคเอกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาทมิฬ

หตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองที่มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็น นายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหาร รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน) และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีหัวหน้าคณะคือ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในขณะนั้นภายหลังการรัฐประหารได้เลือกนาย อานันท์ ปันยารชุน เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีและได้ร่างรัฐธรรมนูญจนมีการเลือกตั้งผลปรากฏว่านายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ตั้งขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในคณะ ร. ได้คะแนนมากที่สุด แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากถูกรัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีดำจากความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ทำให้ พล.อ.สุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเป็นการตระบัดสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายา "เสียสัตย์เพื่อชาติ" จากสื่อมวลชนในเวลาต่อมา จากผลดังกล่าว ทำให้ประชาชนหลายส่วนไม่พอใจการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.สุจินดา ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงทั้งการอดอาหาร การเดินขบวน และการชุมนุมในสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ทำให้รัฐบาลพล.อ.สุจินดาใช้คำสั่งสลายการชุมนุม เกิดการปะทะขึ้น มีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงรับสั่งให้พลเอกสุจินดา คราประยูรและพลตรีจำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้า โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งได้มีการเผยแพร่ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นอีก 4 วัน พล.อ.สุจินดา จึงได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก่อนการเลือกตั้งในเวลาต่อมา การชุมนุมในครั้งนี้ยังเป็นการชุมนุมที่ผู้ประท้วงมีโทรศัพท์มือถือใช้สื่อสารจนถูกเรียกว่าเป็น "ม็อบมือถือ" และรวมถึงการเรียกชื่อฝั่งพรรคซึ่งแตกออกเป็น 2 ฝั่งจากผู้สื่อข่าว โดยเรียกฝั่งพรรคที่เข้าไปทางรัฐบาลของพล.อ.สุจินดา ว่า "พรรคมาร" ส่วนฝั่งพรรคที่คัดค้านการมีอำนาจของพล.อ.สุจินดา เรียกว่า "พรรคเทพ".

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและพฤษภาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพบกไทย

กองทัพบกไทย (คำย่อ: ทบ.; Royal Thai Army) เป็นเหล่าทัพที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพไทย ก่อตั้งเป็นกองทัพสมัยใหม่ขี้นในปี พ.ศ. 2417.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและกองทัพบกไทย · ดูเพิ่มเติม »

การก่อการกำเริบโดยประชาชน

การก่อการการกำเริบโดยประชาชน (People's uprising) เป็นคำศัพท์ทางการเมืองที่หมายถึง การลุกขึ้นต่อต้านอำนาจผู้ปกครองหรือภาครัฐอันกระทำโดยประชาชนที่พร้อมใจกันในประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นการต่อต้านในประเด็นที่ต่างกันออกไป เช่น การต่อต้านการสืบทอดอำนาจ การต่อต้านระบอบอำนาจนิยมแบบเบ็ดเสร็จ หรือการต้องการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นต้น ในบางครั้ง การก่อการการกำเริบโดยประชาชนอาจจะพัฒนาไปสู่การเป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นรูปเป็นร่างเป็นระบบที่มั่นคงขึ้นต่อไปได้ เช่น พรรคบอลเซวิคที่เกิดขึ้นหลังการกำเริบรัสเซีย เป็นต้น ตัวอย่างของการก่อการกำเริบโดยประชาชน เช่น การกำเริบฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1789-ค.ศ. 1799, เหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู, การก่อการกำเริบ 8888, การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550 ในทางการเมืองไทย ปรากฏการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนที่ปรากฏเด่นชัดได้แก่ การประท้วงการเลือกตั้งสกปรก พ.ศ. 2500, เหตุการณ์ 14 ตุลา และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและการก่อการกำเริบโดยประชาชน · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจลงตรา

การตรวจลงตรา หรือ วีซ่า (Visa) (Visa มาจากภาษาละติน หมายถึง เอกสารที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว) เป็นเอกสารซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งได้ออกให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งภายใต้การพิจารณาของประเทศนั้นๆ แต่เพียงผู้เดียว เพื่อเป็นการแสดงว่าได้อนุญาตให้ต่างด้าวบุคคลนั้นสามารถเดินทางเข้าประเทศผู้ได้ออกตรวจลงตรานั้นได้ ภายในช่วงระยะเวลาและขอบเขตของจุดประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ในการยื่นคำร้องขอรับการตรวจลงตรา ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองขณะเดินทางเข้าประเทศผู้ออกตรวจลงตรา ปกติแล้วจะมีการประทับตรวจลงตราไว้ในหนังสือเดินทาง อาจเป็นในรูปแบบแผ่นสติ๊กเกอร์ ตราประทับ หรืออาจอยู่ในรูปเอกสารอื่นใดที่ไม่ได้ประทับลงในหนังสือเดินทาง ในปัจจุบันการตรวจลงตราในบางประเทศเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ผ่านเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งจะไม่ปรากฏเครื่องหมายใดๆในหนังสือเดินทาง หรือไม่มีเอกสารที่แสดงถึงการได้รับตรวจลงตราแล้ว การตรวจลงตราอาจเป็นเอกสารที่แสดงว่าบุคคลหนึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าหรือเดินทางออกจากพื้นที่ของประเทศอันเป็นของผู้ออก การเดินทางในอดีตก่อนสงครามโลก ไม่ต้องใช้การตรวจลงตรา ครั้นมีสงครามเกิดความหวาดกลัวในเรื่องสายลับจึงทำให้ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องทำการตรวจสอบบุคคลก่อนที่จะอนุญาตให้เดินทางเข้าสู่ประเทศของตน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและการตรวจลงตรา · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ramkhamhaeng University; ชื่อย่อ: ม.ร. - RU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน อันเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และมีชื่อเสียงในด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์อย่างมาก.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและมหาวิทยาลัยรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

มีชัย ฤชุพันธุ์

มีชัย ฤชุพันธุ์ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติคนเดียวที่เป็นพลเรือน (ไม่ได้เป็นทหารหรือตำรวจ) รักษาการนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อดีตประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา และ รองนายกรัฐมนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธุ์ สมรสกับคุณหญิงอัมพร (เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) ฤชุพันธุ์ (ถึงแก่อนิจกรรม) มีบุตรี 2 คน คือ นางมยุระ ช่วงโชติ และ นางมธุรส โลจายะ หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลเอกสุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้รับการคัดเลือกจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี จึงทำให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งประมุขของทั้งฝ่ายบริหาร (รักษาการนายกรัฐมนตรี) และฝ่ายนิติบัญญัติ (ประธานรัฐสภา).

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและมีชัย ฤชุพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูทูบ

ูทูบ ตามสำเนียงอเมริกัน หรือ ยูทิวบ์ ตามสำเนียงบริเตน (YouTube) เป็นเว็บไซต์เผยแพร่วิดีโอโดยมีสำนักงานอยู่ที่แซนบรูโน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เว็ปไซต์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาจากอดีตพนักงาน 3 คนในบริษัทเพย์แพล อันประกอบด้วยแชด เฮอร์ลีย์ สตีฟ เชน และยาวีด คาริม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ยูทูบถูกกูเกิลซื้อไปในราคา 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ ยูทูบเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของกูเกิล เว็บไซต์ยังสามารถให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลด ดู หรือแบ่งปันวิดีโอได้.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและยูทูบ · ดูเพิ่มเติม »

ยูเอชเอฟ

ูเอชเอฟ (UHF) เป็นคลื่นความถี่สูงยิ่ง (Ultra-High Frequency) เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2491.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและยูเอชเอฟ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบุรุษ

รัฐบุรุษคือ บุคคลผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินในฐานะต่าง ๆ อาทิ ผู้นำทางการเมือง หรือผู้นำทางทหาร โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่งได้ประกอบคุณงามความดี ปฏิบัติราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และได้ช่วยเหลือจงรักภักดีต่อชาตินั้น ๆ จนเป็นที่ประจักษ์กันโดยทั่วไป.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและรัฐบุรุษ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภา

ผู้แทนราษฎรของออสเตรเลีย รัฐสภา เป็นสภานิติบัญญัติชนิดหนึ่ง รัฐสภาจะทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบันด้วย เช่น ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญ

มหากฎบัตร (Magna Carta) รัฐธรรมนูญ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบั..2525 ให้ความหมายว่า "รัฐธรรมนูญ" คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเท.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับ ร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 15 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 เพื่อใช้แทน ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ปีเดียวกันโดยมีนาย อุกฤษ มงคลนาวิน ประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 ซึ่งจัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่าง..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหาร

รัฐประหาร (coup d'état กูเดตา) เป็นการใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลอย่างฉับพลันและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปกติเกิดจากสถาบันของรัฐที่มีอยู่เดิมขนาดเล็กเพื่อโค่นรัฐบาลซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วเปลี่ยนเป็นองค์การปกครองใหม่ ไม่ว่าเป็นพลเรือนหรือทหาร รัฐประหารพิจารณาว่าสำเร็จแล้วเมื่อผู้ยึดอำนาจสถาปนาภาวะครอบงำ รัฐประหารไม่จำเป็นต้องเกิดความรุนแรงหรือเสียเลือดเนื้อ ศาลฎีกาตีความว่า รัฐประหารมิได้ขัดต่อกฎหมาย เพราะ "กฎหมายคือคำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์".

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534

รัฐประหาร 23 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสภานิติบัญญัติแบ่งตามประเทศ

นี่เป็นรายชื่อสภานิติบัญญัติแบ่งตามประเทศ มีทั้งระดับชาติ (national) และเหนือชาติ (supranational) ชื่อสภานิติบัญญัตินั้นผิดแผกกันไปในแต่ละแห่ง ที่นิยม คือ สมัชชาแห่งชาติ (national assembly) และรัฐสภา (parliament หรือ congress).

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและรายชื่อสภานิติบัญญัติแบ่งตามประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย

รายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไท.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและรายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามนายกรัฐมนตรีไทย

้านล่างนี้ คือ รายนามนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไท.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและรายนามนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

ลานพระราชวังดุสิต

ระบรมรูปทรงม้า ภาพถ่ายประมาณ สมัยรัชกาลที่ 6 พระบรมรูปทรงม้า และ ลานพระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน ภาพน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2485 หมุดคณะราษฎร พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนาม ของทหารรักษาพระองค์ ภาพแสดงที่ตั้งของหมุดคณะราษฎร (วงกลมสีเหลือง) พระลานพระราชวังดุสิต หรือที่นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นลานกว้างอยู่ด้านหน้าของพระที่นั่งอนันตสมาคมและสวนอัมพร ในเขตพระราชวังดุสิต ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ "พระบรมรูปทรงม้า" และหมุด 24 มิถุนายน 2475 ที่ระลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและลานพระราชวังดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

วันพุธ

วันพุธ เป็นวันลำดับที่ 4 ในสัปดาห์ อยู่ระหว่างวันอังคารกับวันพฤหัสบดี แต่ตามมาตรฐาน ISO 8601 กำหนดให้เป็นวันที่ 3 ของสัปดาห.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและวันพุธ · ดูเพิ่มเติม »

วีระกานต์ มุสิกพงศ์

วีระกานต์ มุสิกพงศ์ หรือชื่อเดิม วีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย มีฉายาว่า ไข่มุกดำ เป็นผู้นำเคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการทหาร เมื่อปี พ.ศ. 2550 และอดีตผู้ดำเนินรายการ ความจริงวันนี้ ทางเอ็นบีที.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและวีระกานต์ มุสิกพงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียนใหญ่

วงเวียนใหญ่ เป็นวงเวียนที่ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนอินทรพิทักษ์มาบรรจบกันในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นสถานีต้นทางของทางรถไฟสายแม่กลอง (วงเวียนใหญ่-มหาชัย).

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและวงเวียนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสตราจารย์

ตราจารย์ (อักษรย่อ ศ.) คือผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง ความหมายของ ศาสตราจารย์ (professor) แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) คำนี้หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือหมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพ หลายประเทศในทวีปยุโรป อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คำว่า ศาสตราจารย์ ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนจำกัด เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ สำหรับประเทศไทยคำว่า ศาสตราจารย์ สามารถใช้นำหน้าชื่อได้ตามที่บุคคลนั้นต้องการ ประเทศที่พูดภาษาสเปนในลาตินอเมริกา คำว่า ศาสตราจารย์ (profesor) ใช้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียน สถาบัน โรงเรียนเทคนิค โรงเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยไม่คำนึงถึงระดับของเนื้อหาวิชา หรือระดับชั้นหรืออายุของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งรวมไปถึงระดับอนุบาล ประถม มัธยมด้วยเป็นต้น ถึงเช่นนั้นก็ตาม ศาสตราจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยจะระบุว่าเป็น ศาสตราจารย์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและศาสตราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 18

มาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 18 (13 กันยายน พ.ศ. 2535 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 360 คน โดยมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตทั้งหมด จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 18 เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หลังจากนายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 และถือเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ในรอบปี หรือที่เรียกกันติดปากว่า "การเลือกตั้ง 2535/2" นั่นเอง การเลือกตั้งในครั้งนี้ ยังคงเป็นรูปแบบทางตรง แบบแบ่งเขตและรวมเขต ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งหนึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกินกว่า 3 คน และไม่น้อยกว่า 2 คน มีจำนวน..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 18 · ดูเพิ่มเติม »

สมบุญ ระหงษ์

ลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ (21 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 — 23 กันยายน พ.ศ. 2556) อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีต..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสมบุญ ระหงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมศักดิ์ โกศัยสุข

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2488 ที่ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นอดีตหนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และเป็นอดีตหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) เป็นผู้ที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นผู้นำสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคพรรคสังคมประชาธิปไตยไท.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสมศักดิ์ โกศัยสุข · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญา ธรรมศักดิ์

ตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ (5 เมษายน พ.ศ. 2450 — 6 มกราคม พ.ศ. 2545) เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา, คณบดีคณะนิติศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ,ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปลัดกระทรวงยุติธรรมรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 สิริอายุรวมได้ 94 ปี.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสัญญา ธรรมศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สื่อมวลชน

ื่อมวลชน (mass media) เป็นสื่อที่สามารถกระจายข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งหรือจากองค์กรหนึ่ง ไปยังมวลชนจำนวนมากโดยเฉพาะประชาชนทั้งประเทศ ในเวลาอันรวดเร็ว ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ตฯลฯ การเผยแพร่ในสื่อมวลชนส่วนหนึ่งต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อเวลา ซื้อพื้นที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อย่างไรก็ตามองค์กรสามารถใช้สื่อมวลชนแบบให้เปล่าได้ หากองค์กรนั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจแก่การเผยแพร่ หรือบังคับโดยข้อกฎหม.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสื่อมวลชน · ดูเพิ่มเติม »

สุจินดา คราประยูร

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุจินดา คราประยูร (เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2476) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูง.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสุจินดา คราประยูร · ดูเพิ่มเติม »

สุนทร คงสมพงษ์

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุนทร คงสมพงษ์ (1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2542) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 มีชื่อเรียกในสื่อสารมวลชนว่า บิ๊กจ๊อ.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสุนทร คงสมพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สถานการณ์ฉุกเฉิน

นการณ์ฉุกเฉิน (state of emergency) คือ สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งรัฐ หรืออันอาจทำให้รัฐตกอยู่ในภาวะคับขันหรือภาวะการรบหรือการสงคราม ซึ่งฝ่ายบริหารรัฐมีอำนาจประกาศว่าพื้นที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เช่นว่าโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายของรัฐนั้น ๆ ซึ่งให้อำนาจพิเศษในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน และมักเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อย่างไรก็ดี กฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ไม่เบ็ดเสร็จเท่ากฎอัยการศึกหรือกฎหมายที่ใช้ในสภาวะสงคราม การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมักมีภายหลังจากการเกิดภัยธรรมชาติ การก่อความไม่สงบ หรือการประกาศสงคราม ซึ่งอาจมีผลให้เจ้าหน้าที่บางฝ่ายต้องหยุดการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ลงชั่วคราว โดยอำนาจหน้าที่เช่นว่านั้นอาจรวมศูนย์ไปยังเจ้าหน้าที่อีกฝ่ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมสถานการณ์โดยไม่ชักช้า และอาจนำไปสู่การห้ามออกจากเคหสถาน (curfew) หรือการห้ามมั่วสุมชุมนุมกันเพื่อการใด ๆ ก็ดี ณ พื้นที่นั้นในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสถานการณ์ฉุกเฉิน · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี

นีโทรทัศน์ทีไอทีวี (Thailand Independent Television ชื่อย่อ: TITV) เป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟที่อยู่ในการกำกับดูแลโดย กรมประชาสัมพันธ์ ผู้ได้รับมอบอำนาจการออกอากาศจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในสถานะหน่วยงานรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit - SDU) ตั้งแต่เวลา 00.00 น. วันที่ 8 มีนาคม..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี

นีโทรทัศน์ไอทีวี (Independent Television ชื่อย่อ: itv) เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เวลา 19.00 น. โดยเริ่มต้นจากการนำเสนอ ข่าวภาคค่ำประจำวัน เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ การเป็น สถานีโทรทัศน์เพื่อข่าวสาร และสาระความรู้ โดยผู้ประกาศข่าวคู่แรกของสถานี คือ กิตติ สิงหาปัด และ เทพชัย หย่อง ออกอากาศทางช่อง 26และช่อง 29 โดยมี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ และผู้กำกับสัมปทาน เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 6 ที่ให้บริการแบบไม่ต้องเสียค่าบริการ แห่งประเทศไทย จนกระทั่งต้องยุติการออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 เนื่องจากไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทานส่วนต่างๆ และค่าปรับแก่ สปน.ได้ตามเวลาที่กำหน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสถานีโทรทัศน์ไอทีวี · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศแทนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ในวันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ก่อนแพร่ภาพอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนต่อม.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส · ดูเพิ่มเติม »

สนามกีฬากองทัพบก

นามกีฬากองทัพบก เป็นสนามฟุตบอลครบวงจร มีความจุทั้งหมด 20,000 ที่นั่ง ผ่านการรองรับการแข่งขันฟุตบอลระดับมาตรฐานสากลมามากมาย ทั้งในระดับสโมสรและทีมชาติ อาทิ การแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชียหรือเอเอฟซี แชมเปี้ยนชิพ อีกทั้งยังเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ดในไทยพรีเมียร์ลีก และทหารบก เอฟซี ในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ด้วย นอกจากนี้ยังเคยเป็นสถานแสดงคอนเสิร์ตของศิลปินต่างประเทศ อาทิ เดวิด โบอี อีกด้ว.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสนามกีฬากองทัพบก · ดูเพิ่มเติม »

สนุก.คอม

นุก.คอม (Sanook.com ตราสัญลักษณ์สะกดว่า Sanook!) เป็นเว็บท่าที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการ เว็บไซต์ สนุก.คอม ก่อตั้งโดย ปรเมศวร์ มินศิริ เมื่อปี..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและสนุก.คอม · ดูเพิ่มเติม »

อาทิตย์ อุไรรัตน์

อาทิตย์ อุไรรัตน์ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2481-) อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม อดีตเจ้าของโรงพยาบาลเอกชนในเครือพญาไท เขาได้รับฉายา "วีรบุรุษประชาธิปไตย" จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่ได้เสนอชื่อ อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีแทน พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ ที่กล่าวกันว่าจะมารับช่วงต่อรัฐบาล รสช. และเจ้าของฉายา "ดร.ไข่ผง" จากการเคยมีกิจการโรงงานผลิตไข่ผงที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัต.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและอาทิตย์ อุไรรัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

อานันท์ ปันยารชุน

อานันท์ ปันยารชุน (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 —) นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 18 และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และประเทศเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 และพฤษภาทมิฬ เขายังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ประจำปี..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและอานันท์ ปันยารชุน · ดูเพิ่มเติม »

อุกฤษ มงคลนาวิน

ตราจารย์พิเศษ อุกฤษ มงคลนาวิน อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตประธานวุฒิสภา อดีตประธานรัฐสภา ผู้ก่อตั้งสำนักงานทนายความอุกฤษ มงคลนาวิน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอิสระเพื่ออำนวยความยุติธรรม และเสริมสร้างสิทธิเสรีภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.ยส.จชต.) และกรรมการสภากาชาดไทยนอกจากนั้นยังดำรงตำแหน่งประธานพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อีกด้ว.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและอุกฤษ มงคลนาวิน · ดูเพิ่มเติม »

ผู้บัญชาการทหาร

ผู้บัญชาการทหาร (Commander-in-chief) คือ ผู้ที่สามารถใช้อำนาจสูงสุดหรือกองกำลังทหารทั้งปวงในประเทศ โดยทั่วไปผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้คือประมุขของรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลซึ่งอาจเป็นพลเรือนก็ได้ สำหรับในประเทศไทยมีตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ จอมทัพ ซึ่งเรียกว่า จอมทัพไทย โดยจอมทัพไทยไม่ใช่ยศทหาร ผู้ที่ดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย คือ พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งเป็นทั้งประมุขและผู้นำทหารทั้งประเทศ ทรงดำรงพระยศ จอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอาก.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและผู้บัญชาการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรสงคราม

ังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศด้วย นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตรซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีภูเขา 1 ลูก (เขายี่สาร) ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย ปลายปี พ.ศ. 2550 ผลการสำรวจดัชนีความมั่นคงของมนุษย์พบว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและจังหวัดสมุทรสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรปราการ

ังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและจังหวัดสมุทรปราการ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปทุมธานี

ังหวัดปทุมธานี (เดิมสะกดว่า ประทุมธานี) เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร เทศบาลที่ตั้งศาลากลางจังหวัด คือ เทศบาลเมืองปทุมธานี แต่เทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ เทศบาลนครรังสิต ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอธัญบุรี.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและจังหวัดปทุมธานี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนนทบุรี

ังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและจังหวัดนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จำลอง ศรีเมือง

ลตรี จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ 2 สมัย ผู้ก่อตั้ง และหัวหน้าพรรคพลังธรรมคนแรก เป็นแกนนำของผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ปี..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและจำลอง ศรีเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร)

นนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน (Thanon Ratchadamnoen) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและถนนราชดำเนิน (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ทหาร

ทหารในประเทศเคนยา ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ข้าราชการพลเรือนสามัญ

้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับปัจจุบันคือ พ.ศ. 2551) โดยการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือในบางกรณีอาจมีการมอบหมายให้กรมต้นสังกัด เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกฯ ซึ่งการสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.).

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและข้าราชการพลเรือนสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

ณรงค์ วงศ์วรรณ

ณรงค์ วงศ์วรรณ (25 ธันวาคม พ.ศ. 2468 -) หรือเป็นที่รู้จักว่า "พ่อเลี้ยงเมืองแพร่" อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้ง..มากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร แต่หัวหน้าพรรคไม่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและณรงค์ วงศ์วรรณ · ดูเพิ่มเติม »

คอนเสิร์ต

'''ไทยเทเนี่ยมในงาน MTV LIVE – Thaitanium Uncensored''' คอนเสิร์ต (Concert) คือการแสดงสด โดยมากหมายถึงดนตรี เป็นการแสดงต่อหน้าคนดู โดยอาจเป็นการแสดงของนักดนตรีคนเดียว หรือ อาจจะรวมหลายเครื่องดนตรี เช่น วงออร์เคสตรา, วงประสานเสียง หรือ วงดนตรี เราอาจเรียกการแสดงคอนเสิร์ตว่า โชว์ (Show) หรือ กิ๊ก (gig) ทัวร์ คอนเสิร์ต คือการทัวร์ของนักดนตรี กลุ่มดนตรี ศิลปิน ในหลายๆเมือง หลายๆสถานที่ โดยเฉพาะในวงการเพลงป็อปที่จะมีโปรเจกต์ใหญ่หลายเดือน หรือเป็นปี มีการทัวร์อีกประเภทหนึ่งที่มีจุดประสงค์เพื่อการโปรโมทอัลบั้ม ยอดขายของตัวศิลปิน เรียกว่า โปรโมทัวร.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและคอนเสิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

ณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ ร. (National Peace Keeping Council - NPKC) เป็นคณะนายทหารที่ก่อการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก, พลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก และพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ คณะ ร. ให้เหตุผลในการยึดอำนาจว.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 48

ลเอกสุจินดา คราประยูร''' นายกรัฐมนตรีคนที่ 19 หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 48 ของไทย (7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535) พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 7 เมษายน..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 48 · ดูเพิ่มเติม »

คณะองคมนตรีไทย

ณะองคมนตรีในประเทศไทย คือกลุ่มบุคคลที่ให้คำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ โดยในอดีตเคยใช้ชื่อ ปรีวีเคาน์ซิล (สภาที่ปฤกษาในพระองค์), องคมนตรีสภา, และ สภากรรมการองคมนตรี ตามลำดับ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและคณะองคมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

ตำรวจ

ตำรวจในประเทศอิตาลี ตำรวจ เป็นชื่อเรียกของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เรียกชื่อตามหน้าที่รับผิดชอบ เช่น ตำรวจกองปราบ ตำรวจดับเพลิง ตำรวจน้ำ ตำรวจตระเวนชายแดน ตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้ ตำรวจจราจร ตำรวจนครบาล ตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร ตำรวจลับ ตำรวจวัง ตำรวจสภา ตำรวจสันติบาล ตำรวจหลวง.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและตำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

ฉลาด วรฉัตร

รืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราดและกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ผู้ได้รับฉายาว่า "จอมอด".

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและฉลาด วรฉัตร · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอ็นเอ็น

ล นิวส์ เน็ตเวิร์ก (Cable News Network) หรือรู้จักกันในชื่อ ซีเอ็นเอ็น (CNN) เป็นเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ที่เสนอข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมง ก่อตั้งโดย เท็ด เทอร์เนอร์ เริ่มต้นออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ปัจจุบันบริหารงานโดยเทิร์นเนอร์บรอดแคสติงซิสเตม หน่วยงานในเครือไทม์วอร์เนอร์ ซึ่งสำนักงานใหญ่ที่เรียกว่า ศูนย์กลางซีเอ็นเอ็น (CNN Center) ตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย และมีห้องส่งอื่นๆ อยู่ที่นครนิวยอร์ก และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา จะส่งสัญญาณไปยังประเทศแคนาดาเพียงแห่งเดียว ส่วนซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศอยู่ใน 212 ประเทศทั่วโลกนั้น เป็นอีกช่องหนึ่งที่เรียกว่า ซีเอ็นเอ็นนานาชาติ (CNN International) ทั้งนี้ซีเอ็นเอ็นเป็นสถานีโทรทัศน์ข่าว ที่มีผู้ชมมากเป็นอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยมีคู่แข่งในประเทศที่สำคัญคือ ฟ็อกซ์นิวส์ และระดับนานาชาติคือ บีบีซี เวิลด์นิว.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและซีเอ็นเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ

ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ (9 สิงหาคม พ.ศ. 2495 -) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ครูประทีป อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร, นักสิทธิมนุษยชน ซึ่งปฏิบัติงานช่วยเหลือเด็กยากไร้ ภายในชุมชนแออัดคลองเตย, ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป และมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ประทีปเป็นผู้รับมอบรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี พ.ศ. 2521 นอกจากนี้ ประทีปยังเป็น นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตย โดยเข้าร่วมกับสมาพันธ์ประชาธิปไตย องค์กรหลักของผู้ชุมนุม ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อ พ.ศ. 2535 และเป็นหนึ่งในแกนนำชุดที่ 2 ของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มขององค์กร ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านรัฐประหาร ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ก่อขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ประทีปสมรสกับทัตซึยะ ฮาตะ นักสังคมสงเคราะห์ชาวญี่ปุ่น มีบุตรชายด้วยกันสองคนคือ อิสระและมิ่งบุญ ฮาต.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ · ดูเพิ่มเติม »

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง นักวิชาการกฎหมายชาวไทย ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มักแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในแง่มุมกฎหมายตามสื่อต่าง ๆ เสมอ ๆในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 มีบทบาทเป็นเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) แต่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์เมื่อทหารปราบประชาชนในวันที่ 18-20 พฤษภาคม และการชุมนุมที่ลาน สวป.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและปริญญา เทวานฤมิตรกุล · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของรัฐบาล เป็นตำแหน่งสูงสุด โดยมีพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ บางประเทศยังต้องเลือกประธานาธิบดีแล้วแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือบางประเทศอาจจะให้กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งก็ได้ แต่ในระบบสาธารณรัฐแบบประธานาธิบดีจะไม่มีนายกรัฐมนตรี เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เป็นต้น รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในขณะที่นายกรัฐมนตรีมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือมีหน้าที่อื่นให้ปฏิบัติ เช่น เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ ลาราชการ พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและนายกรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

โทรศัพท์เคลื่อนที่

ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและโทรศัพท์เคลื่อนที่ · ดูเพิ่มเติม »

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล; The Television Pool of Thailand - TPT., T.V.Pool) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย 4 ช่องคือ ไทยทีวีสีช่อง 3, ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, ททบ.5 และช่อง 7 สี.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เฟซบุ๊ก

ฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย เฟซบุ๊กก่อตั้งเมื่อวันพุธที่ 4 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและเฟซบุ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เหวง โตจิราการ

นายแพทย์ เหวง โตจิราการ (1 เมษายน พ.ศ. 2494 -) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน และแกนนำสมาพันธ์ประชาธิปไตย เป็นอดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและเหวง โตจิราการ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 14 ตุลา

หตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "3 ทรราช" เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้นหนังสือ มาร์ค เขาชื่อ...

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและเหตุการณ์ 14 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

เปรม ติณสูลานนท์

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี..

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและเปรม ติณสูลานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

10 มิถุนายน

วันที่ 10 มิถุนายน เป็นวันที่ 161 ของปี (วันที่ 162 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 204 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ10 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

11 พฤษภาคม

วันที่ 11 พฤษภาคม เป็นวันที่ 131 ของปี (วันที่ 132 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 234 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ11 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

13 กันยายน

วันที่ 13 กันยายน เป็นวันที่ 256 ของปี (วันที่ 257 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 109 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ13 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

15 พฤษภาคม

วันที่ 15 พฤษภาคม เป็นวันที่ 135 ของปี (วันที่ 136 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 230 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ15 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

17 พฤษภาคม

วันที่ 17 พฤษภาคม เป็นวันที่ 137 ของปี (วันที่ 138 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 228 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ17 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

17 เมษายน

วันที่ 17 เมษายน เป็นวันที่ 107 ของปี (วันที่ 108 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 258 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ17 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

18 พฤษภาคม

วันที่ 18 พฤษภาคม เป็นวันที่ 138 ของปี (วันที่ 139 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 227 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ18 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

19 พฤษภาคม

วันที่ 19 พฤษภาคม เป็นวันที่ 139 ของปี (วันที่ 140 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 226 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ19 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

20 พฤษภาคม

วันที่ 20 พฤษภาคม เป็นวันที่ 140 ของปี (วันที่ 141 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 225 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ20 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

20 เมษายน

วันที่ 20 เมษายน เป็นวันที่ 110 ของปี (วันที่ 111 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 255 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ20 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

21 พฤษภาคม

วันที่ 21 พฤษภาคม เป็นวันที่ 141 ของปี (วันที่ 142 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 224 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ21 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 พฤษภาคม

วันที่ 22 พฤษภาคม เป็นวันที่ 142 ของปี (วันที่ 143 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 223 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ22 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 มีนาคม

วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันที่ 81 ของปี (วันที่ 82 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 284 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ22 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 พฤษภาคม

วันที่ 23 พฤษภาคม เป็นวันที่ 143 ของปี (วันที่ 144 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 222 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ23 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

24 พฤษภาคม

วันที่ 24 พฤษภาคม เป็นวันที่ 144 ของปี (วันที่ 145 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 221 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ24 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

26 พฤษภาคม

วันที่ 26 พฤษภาคม เป็นวันที่ 146 ของปี (วันที่ 147 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 219 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ26 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

4 พฤษภาคม

วันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันที่ 124 ของปี (วันที่ 125 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 241 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ4 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

7 พฤษภาคม

วันที่ 7 พฤษภาคม เป็นวันที่ 127 ของปี (วันที่ 128 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 238 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ7 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

7 เมษายน

วันที่ 7 เมษายน เป็นวันที่ 97 ของปี (วันที่ 98 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 268 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ7 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

8 พฤษภาคม

วันที่ 8 พฤษภาคม เป็นวันที่ 128 ของปี (วันที่ 129 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 237 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ8 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

8 เมษายน

วันที่ 8 เมษายน เป็นวันที่ 98 ของปี (วันที่ 99 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 267 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ8 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

9 พฤษภาคม

วันที่ 9 พฤษภาคม เป็นวันที่ 129 ของปี (วันที่ 130 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 236 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พฤษภาทมิฬและ9 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Black May (1992)ม็อบมือถือสถานการณ์พรรคเทพ-พรรคมารพรรคเทพ พรรคมารพฤษภาประชาธรรมแผนไพรีพินาศเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »