โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระอารามหลวง

ดัชนี พระอารามหลวง

ระอารามหลวง หรือ วัดหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจำนวนในบัญชีเป็นพระอารามหลวง.

43 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2458พระบรมวงศานุวงศ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระพรหมเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม)พระมหากษัตริย์พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)พระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต)พระธรรมปัญญาบดี (พีร์ สุชาโต)พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก)พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)พระเทพวีราภรณ์ (สีนวล ปญฺญาวชิโร)พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)ราชกิจจานุเบกษารายชื่อพระอารามหลวงในประเทศไทยวัดวัดบวรนิเวศราชวรวิหารวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารวัดพระสิงห์วรมหาวิหารวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดราชโอรสารามราชวรวิหารวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหารวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารวัดเสนาสนารามราชวรวิหารสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)

พ.ศ. 2458

ทธศักราช 2458 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1915 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพ.ศ. 2458 · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมวงศานุวงศ์

ระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ 9 ภายในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบรมวงศานุวงศ์ หมายถึง พระประยูรญาติใหญ่น้อยทั้งหมดทุกราชสกุลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประกอบด้วย 2 คำ คือ.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหมเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม)

ระพรหมเวที นามเดิม สุเทพ บุษบก ฉายา ผุสฺสธมฺโม เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฎ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะภาค 15.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระพรหมเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม) · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์

กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์จะสืบทอดต่อกันมาโดยเชื้อพระวงศ์ เรียกว่าพระราชวงศ์ เมื่อสิ้นสุดการสืบทอดโดยเชื้อพระวงศ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะเป็นตันพระราชวงศ์ใหม่ หรือเป็นผู้สถาปนาพระราชวงศ์ พระมหากษัตริย์อาจมีคำเรียกแตกต่างกัน เช่น พระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ พระราชา เจ้ามหาชีวิต เป็นต้น กษัตริย์ ในสังคมฮินดู ยังหมายถึงวรรณะที่ 2 จาก 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระมหากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)

ระธรรมบัณฑิต ฉายา อภิพโล นามเดิมอภิพล บุญส่ง วิทยฐานะ ป..5, น..เอก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต)

ระธรรมรัตนดิลก นามเดิม เชิด ฉายา จิตฺตคุตฺโต เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม เจ้าคณะภาค 4 รองแม่กองธรรมสนามหลวง ฝ่ายธรรมศึกษา รองหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 3 เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และนักเทศน์ชื่อดัง.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมปัญญาบดี (พีร์ สุชาโต)

ระธรรมปัญญาบดี นามเดิม พีร์ ผ่องสุภาพ ฉายา สุชาโต เป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระธรรมปัญญาบดี (พีร์ สุชาโต) · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก)

ระธรรมไตรโลกาจารย์ นามเดิม พูนศักดิ์ ฉายา วรภทฺทโก นามสกุล มาเจริญ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) รองแม่กองธรรมสนามหลวง เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก) · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)

ระธรรมเจติยาจารย์ ว. นามเดิม บุญเรือง ฉายา ปุญฺญโชโต อายุ 80 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 8 (ธรรมยุต) และเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ท่านเป็นพระธรรมทูตรุ่นแรกที่เข้ารับการฝึกอบรมและออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ผู้มีส่วนสำคัญในการนำเอาพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่จนกระทั่งสามารถตั้งมั่นในอินโดนีเซียในปัจจุบัน ปัจจุบันพระธรรมเจติยาจารย์ยังเป็นกรรมการบริหารสถาบันฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) ซึ่งจะมีการฝึกอบรมทุกปีในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม เพื่อให้พระภิกษุมีความพร้อมก่อนจะออกเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ ปัจจุบันพระธรรมทูตได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว 13 รุ่น ด้านการปกครองคณะสงฆ์ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาค 8 (ธรรมยุต) ในวันที่ 10 กรกฎาคม..

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต) · ดูเพิ่มเติม »

พระเทพวีราภรณ์ (สีนวล ปญฺญาวชิโร)

ระเทพวีราภรณ์ (สีนวล ปญฺญาวชิโร) (นามเดิม: สีนวล เรืองอำพันธ์) (29 มิถุนายน 2482 - ปัจจุบัน) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 15.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพระเทพวีราภรณ์ (สีนวล ปญฺญาวชิโร) · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

หน้าปกพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: พระอารามหลวงและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)

กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ดินราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้ เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน รวมทั้งการค้ำประกันหนี้ของส่วนราชการและองค์การรัฐ สถาบันการเงินและรัฐวิสาหก.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและกระทรวงการคลัง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette, เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 นับเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและราชกิจจานุเบกษา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อพระอารามหลวงในประเทศไทย

รายชื่อพระอารามหลวงในประเทศไทย มีดังนี้.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและรายชื่อพระอารามหลวงในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัด · ดูเพิ่มเติม »

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ วัดประจำรัชกาลที่ ๙ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช).

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา โรงเรียนสงฆ์ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาต.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร

วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า มีพระภิกษุไทยคณะหนึ่ง เดินทางไปยังลังกาทวีป เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท พระสงฆ์ลังกากล่าวว่า ประเทศไทยก็มีรอยพระพุทธบาทอยู่แล้วที่เขาสุวรรณบรรพต จึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมให้ทรงทราบ และได้สืบหาจนพบรอยพระพุทธบาท เพื่อเป็นที่สักการบูชา เป็นศูนย์รวมแห่งพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ พระพุทธบาทสระบุรีเป็นพระอารามหลวง ที่พระมหากษัตริย์แทบทุกพระองค์ทรงทำนุบำรุงและเสด็จไปนมัสการตลอดมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2484 และเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2485 สร้างในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้สร้างวัดขึ้นบริเวณใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นอนุสรณ์การปกครองระบอบประชาธิปไตย และกำหนดให้แล้วเสร็จทันวันชาติ คือวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สร้างวัดขึ้นโดยให้ชื่อว่า วัดประชาธิปไตย ระหว่างการก่อสร้างพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ขณะมียศเป็นนาวาเอก หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์) ได้เดินทางไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย รวมทั้งกิ่งพระศรีมหาโพธิ 5 กิ่ง จากต้นที่สืบเนื่องมาจากต้นที่พระโคตมพุทธเจ้าเสด็จประทับ และตรัสรู้ พร้อมดินจากสังเวชนียสถานคือสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงปฐมเทศนา และที่ปรินิพพาน รัฐบาลได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์และดินดังกล่าวมาประดิษฐานที่วัดซึ่งกำลังสร้างนี้ ได้มีการตั้งนามวัดว่า วัดพระศรีมหาธาตุ และถวายเป็นเสนาสนะเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สถานะของวัดในปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดมหานิก.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า "วัดใหญ่" ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะสถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (100px) พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม 57, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน 248-, หน้า 2909 ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง".

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ปัจจุบันมี พระเทพวรมุนี เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี..

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (180px) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 8 สิงหาคม 2481, หน้า 1476 ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 28 ไร่ 3 งาน 26 ตารางว.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีจุดเด่นที่สำคัญคือ องค์พระปฐมเจดีย์ หรือ พระธมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย องค์พระปฐมเจดีย์ปัจจุบันนี้ เป็นพระเจดีย์ทรงลังกา แบบสุโขทัย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสร้างครอบเจดีย์เดิมถึงสององค์ ได้แก่ เจดีย์ทรงสถูปสาญจีตามแบบอินเดียยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และเจดีย์ทรงขอมโบราณ นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ในลานชั้นลดด้านทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์และพระอุโบสถมีพระประธาน พระพุทธรูปศิลาขาว ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทราวดี.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (/พระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม/) หรือ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม..

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร

มเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดญาณสังวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สังกัดธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นองค์ประธานจัดสร้างวัด ปัจจุบันพระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) เป็นรักษาการเจ้าอาว.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อวัดสลัก สร้างในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับและสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ. 2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลักเป็นวัดนิพพานาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่ทำสังคายนาในปี พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ” และใน พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง ในปลาย พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย และย้ายการบอกพระปริยัติธรรมมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา ใน พ.ศ. 2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หลังจากนั้น จะทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งจะได้พระราชทานนามว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” แต่อาคารหลังนี้มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดที่วัดบวรสถานสุทธาวาส ใน พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุและพระราชทานนามว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และมีมหาสีมาอันเป็นเสาศิลาจำหลักยอดเป็นรูปเสมาธรรมจักร 8 เสา ตั้งเป็นสีมาที่กำแพง 8 ทิศ “ราชบพิธ” หมายถึง พระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง บพิธ คำนี้มาจากภาษาบาลีคือ ปวิธะ ที่แปลว่าสร้าง ส่วน “สถิตมหาสีมาราม” หมายถึง พระอารามซึ่งมีสีมากว้างใหญ่ เป็นมหาสีมาล้อมรอบอาณาเขตของวัด วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ผนังกรุหินอ่อนในพระวิหาร (พระอุโบสถ) และปาสาณเจดีย์ (เบื้องหลัง) อันเป็นสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม "พระพุทธสิหิงคปฏิมากร" พระประธานพระวิหารหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้จำลองมาจากพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย ข้าราชการ ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก วัดราชประดิษฐฯ จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้นเพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่น ๆ ของฝ่ายธรรมยุตเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามสร้างขึ้นในที่ดินที่เคยเป็นสวนกาแฟของหลวงโดยก่อสร้างใน..

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร

วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมป้อมเพชร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระอัยกาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ให้ชื่อว่าวัดทอง เป็นวัดของฝ่ายวังหน้า ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็โปรดเกล้าให้บูรณะวัดนี้ทั้งหมด จึงถือว่า วัดนี้เป็นวัดประจำราชวงศ์จักรี ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัด ตัวโบสถ์จะตกท้องช้าง ทำให้คล้ายท้องเรือสำเภา ซึ่งเป็นการเปรียบพระพุทธศาสนาดั่งนาวาธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของโบสถ์สมัยอ.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวั.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร

ใน พระอุโบสถ และแท่นประดิษฐานพระพุทธนฤมลธรรโมภาส วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเลียนแบบโบสถ์คริสต.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร

วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดเสื่อ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยปฏิสังขรณ์ทั้งวัด แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2406 และพระราชทานนามใหม่ว่า วัดเสนาสนาราม เป็นวัดธรรมยุติกนิกาย ศาสนสถานที่สำคัญของวัดได้แก่ พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังเป็นไม้แกะสลักปิดทอง ประดับกระจกรูปช้างเอราวัณ ขนาบด้วยฉัตร เหนือเศียรช้างเอราวัณมีพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือรูปพระมหามงกุฏ ภายในพระอุโบสถมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นภาพวาดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกเหนือจากพระอุโบสถ ยังมีพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และพระวิหารพระอินทร์แปลงซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด ภายในพระวิหาร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งยังคงความงดงามจนถึงปัจจุบัน พระสัมพุทธมุนี เป็นพระประธานในพระอุโบสถ ประดิษฐานอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดพระมหามงกุฎ มีขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 2 นิ้ว สูงตลอดพระรัศมี 3 ศอก 1 นิ้ว ที่ซุ้มเรือนแก้วมีอักษรขอมจารึกไว้ รอบๆมีจิตรกรรมฝาผนังรูปเทพชุมนุม.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและวัดเสนาสนารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

มเด็จพระวันรัต ฉายา พฺรหฺมคุตฺโต (นามเดิม:จุนท์ พราหมณ์พิทักษ์) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ผู้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร และผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพวรวิหาร.

ใหม่!!: พระอารามหลวงและสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ ฉายา อมฺพโร เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 12 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พระอารามหลวงและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วัดหลวง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »