โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)

ดัชนี พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)

ระธรรมเจติยาจารย์ ว. นามเดิม บุญเรือง ฉายา ปุญฺญโชโต อายุ 80 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 8 (ธรรมยุต) และเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ท่านเป็นพระธรรมทูตรุ่นแรกที่เข้ารับการฝึกอบรมและออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ผู้มีส่วนสำคัญในการนำเอาพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่จนกระทั่งสามารถตั้งมั่นในอินโดนีเซียในปัจจุบัน ปัจจุบันพระธรรมเจติยาจารย์ยังเป็นกรรมการบริหารสถาบันฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) ซึ่งจะมีการฝึกอบรมทุกปีในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม เพื่อให้พระภิกษุมีความพร้อมก่อนจะออกเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ ปัจจุบันพระธรรมทูตได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว 13 รุ่น ด้านการปกครองคณะสงฆ์ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาค 8 (ธรรมยุต) ในวันที่ 10 กรกฎาคม..

16 ความสัมพันธ์: พระราชาคณะพระราชาคณะชั้นธรรมพระธรรมทูตพระธรรมโสภณ (โกศล สิรินฺธโร)กรุงเทพมหานครฐานานุกรมวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหารวิปัสสนาธุระสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)สหรัฐธรรมยุติกนิกายประเทศออสเตรเลียนักธรรมชั้นเอกเจ้าอาวาสเจ้าคณะภาคเปรียญธรรม 4 ประโยค

พระราชาคณะ

ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานด้วยพระองค์เองหรือไม่ก็โปรดเกล้าให้ผู้แทนพระองค์เป็นผู้มอบแทน พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรอง พระราชาคณะ หมายถึงพระภิกษุที่ได้รับสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่าพระสังฆราชาคณะ หมายความว่าเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ ต่อมาในสมักรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนเป็นพระราชาคณะ ความหมายยังคงเดิม มีคำนำหน้าราชทินนามว่าพระ แต่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่าเจ้าคุณหรือท่านเจ้าคุณ ถ้าเป็นสมเด็จพระราชาคณะเรียกว่าท่านเจ้าประคุณ แยกเป็นลำดับดังนี้ พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และพระราชาคณะ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชาคณะชั้นธรรม

ระราชาคณะชั้นธรรม เป็นสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย มีศักดิ์รองลงมาจากพระราชาคณะเจ้าคณะรอง และสูงกว่าพระราชาคณะชั้นเท.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และพระราชาคณะชั้นธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมทูต

ระธรรมทูต (อ่านว่า -ทำมะทูด) หรือ พระธรรมจาริก หมายถึง ภิกษุที่เดินทางไปแสดงธรรมในที่ต่าง ๆ ทำหน้าที่เหมือนทูตทางธรรมหรือทูตของพระศาสนา พระธรรมทูตเริ่มมีครั้งแรกเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจนมีพระสาวกมากรูปแล้วจึงส่งพระสาวกเหล่านั้นไปประกาศธรรมในทิศต่างๆ โดยตรัสว่า "เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชุมชน เพื่ออนุเคราะห์แก่ประชุมชน" ดังนี้เป็นต้น พระธรรมจาริก มีความหมายเดียวเช่นเดียวกันกับพระธรรมทูต แต่เป็นคำบัญญัติที่เกิดที่หลังคำว่าพระธรรมทูต ปัจจุบันแบ่งพระธรรมทูตออกเป็น 2 ประเภทคือ พระธรรมทูตในประเทศ กับ พระธรรมทูตต่างประเท.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และพระธรรมทูต · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมโสภณ (โกศล สิรินฺธโร)

ระธรรมโสภณ หรือ หลวงพ่อใหญ่ นามเดิม โกศล โพธิ์งาม ฉายา สิรินฺธโร (30 มิถุนายน พ.ศ. 2467) เป็นพระภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดสุรินทร์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนวัดสุทธจินดา,เจ้าสำนักเรียนวัดสุทธจินดา, ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดสุทธจินดา, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 8 (ธรรมยุต) ดูแลคณะสงฆ์ 6 จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย เลย สกลนคร หนองบัวลำภูและ บึงกาฬ.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และพระธรรมโสภณ (โกศล สิรินฺธโร) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ฐานานุกรม

ระราชาคณะตั้งแต่ชั้นสามัญขึ้นไป สามารถตั้งพระฐานานุกรมของตนได้ตามอัธยาศัย (ในพระบรมราชานุญาต) ฐานานุกรม คือชื่อเรียกลำดับตำแหน่งสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย ซึ่งภิกษุผู้มีตำแหน่งทางการปกครองหรือมีสมณศักดิ์สูงบางตำแหน่งมีสิทธิ์ตั้งพระรูปอื่นให้เป็นฐานากรมได้ตามศักดิ์ที่ได้รับพระบรมราชานุญาต เช่น พระสงฆ์ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ สามารถตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง พระราชาคณะชั้นสามัญตั้งฐานานุกรมได้ 3 ตำแหน่ง เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึงสมเด็จพระสังฆราชทรงตั้งฐานานุกรมได้ 15 ตำแหน่ง ฐานานุกรมนั้นมีตำแหน่งที่เป็นหลัก 3 ตำแหน่ง คือ พระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา หากพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ที่มีสิทธิ์ตั้งฐานานุกรมเป็นผู้ที่มีสมณศักดิ์ตั้งแต่พระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป พระฐานานุกรมที่ท่านเหล่านั้นตั้ง จะเรียก "พระครู" นำหน้าตำแหน่งฐานานุกรมนั้นทุกตำแหน่ง เช่น พระครูปลัด พระครูสังฆรักษ์ เป็นต้น สิทธิในการให้พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์สามารถแต่งตั้งพระฐานานุกรมได้ จะมีระบุไว้ในสัญญาบัตรพระราชทานสมณศักดิ์ ว่าให้สามารถตั้งได้เท่านั้นเท่านี้รูป ซึ่งพระสงฆ์ผู้ได้รับพระราชทานสิทธิในการตั้งพระฐานานุกรม จะตั้งหรือไม่ตั้งก็ได้ หรือจะตั้ง แต่ตั้งเพียงจำนวนเท่าที่เห็นควรก็ได้ ไม่จำต้องตั้งทั้งหมด ตำแหน่งเหล่านี้เดิมมีพัดยศของหลวงพระราชทานมาให้ แต่ปัจจุบันนี้ต้องจัดทำเอง โดยพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ที่มีสิทธิ์แต่งตั้งฐานานุกรมจะแต่งตั้งพระสงฆ์รูปใดในศิษยานุศิษย์ของตน ก็สุดแล้วแต่อัธยาศัย ทางการไม่ได้เกี่ยวข้องในการแต่งตั้งพระฐานานุกรม เพียงแต่รับรู้เท่านั้น ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งในลักษณะนี้เรียกว่า พระฐานานุกรม ทุกรูปจัดเป็นพระมีสมณศักดิ์เหมือนพระสมณศักดิ์ที่ทรงแต่งตั้ง พระในตำแหน่งเหล่านี้บางทีเรียกประทวนสัญญาบัตร บ้าง ฐานาประทวน บ้าง และเนื่องจากสมณศักดิ์เหล่านี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้พระราชทานเอง ดังนั้นเมื่อพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ที่ได้ตั้งฐานานุกรมไว้มรณภาพ ตำแหน่งฐานานุกรมต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นอันสิ้นสุดไปด้วย เรียกกันในภาษาปากว่า พระครูม่าย หรือ ฐานาม่าย จนกว่าจะได้รับแต่งตั้งฐานานุกรมใหม่ ในอดีต ตำแหน่งฐานานุกรมบางตำแหน่งมีลำดับสมณศักดิ์สูงกว่าพระมหาเปรียญ จึงมีบางครั้งที่พระมหาเปรียญก็อาจได้รับแต่งตั้งฐานานุกรมบ้าง ซึ่งเรียกกันในภาษาปากว่า ฐานาทรงเครื่อง หรือ พระครูทรงเครื่อง คือมีทั้งตำแหน่งมหาเปรียญและฐานานุกรมในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และฐานานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2484 และเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2485 สร้างในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้สร้างวัดขึ้นบริเวณใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นอนุสรณ์การปกครองระบอบประชาธิปไตย และกำหนดให้แล้วเสร็จทันวันชาติ คือวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สร้างวัดขึ้นโดยให้ชื่อว่า วัดประชาธิปไตย ระหว่างการก่อสร้างพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ขณะมียศเป็นนาวาเอก หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์) ได้เดินทางไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย รวมทั้งกิ่งพระศรีมหาโพธิ 5 กิ่ง จากต้นที่สืบเนื่องมาจากต้นที่พระโคตมพุทธเจ้าเสด็จประทับ และตรัสรู้ พร้อมดินจากสังเวชนียสถานคือสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงปฐมเทศนา และที่ปรินิพพาน รัฐบาลได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์และดินดังกล่าวมาประดิษฐานที่วัดซึ่งกำลังสร้างนี้ ได้มีการตั้งนามวัดว่า วัดพระศรีมหาธาตุ และถวายเป็นเสนาสนะเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิปัสสนาธุระ

วิปัสสนาธุระ หมายถึง งานด้านวิปัสสนา, งานด้านบำเพ็ญวิปัสสนกรรมฐาน วิปัสสนาธุระ คืองานที่มุ่งอบรมปัญญาให้เกิดโดยการปล่อยวางภาระทั้งปวง ทำกายใจให้เบา ยินดีในเสนาสนะที่เงียบสงบ พิจารณาถึงความเสื่อมไปสิ้นไปในสังขารร่างกายจนเห็นสามัญลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ชัดเจน เจริญอบรมวิปัสสนาต่อเนื่องไปไม่ขาดสายจนถึงวิโมกข์คืออนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และสุญญตวิโมกข์จนก้าวสู่หลักชัยคือวิมุตติคว้าอรหัตผลได้บรรลุกิจจ์ วิปัสสนาธุระ เป็นงานที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ภิกษุปฏิบัติอย่างหนึ่งใน 2 อย่าง คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุร.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และวิปัสสนาธุระ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)

มเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ เช่น ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช สังฆมนตรี รองประธานสังฆสภา กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นต้น.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมยุติกนิกาย

ตราคณะธรรมยุต ธรรมยุติกนิกาย หรือ คณะธรรมยุต เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทำให้มีพระวิจารณญาณเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ได้มีการประชุมและมีมติให้เรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ว่า "มหานิกาย".

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และธรรมยุติกนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

นักธรรมชั้นเอก

นักธรรมชั้นเอก (ชื่อย่อ น.ธ.เอก; dhamma scholar advanced level) เป็นระดับการศึกษา พุทธศาสนาในประเทศไทย แผนกธรรม โดยเป็นชั้นสูงสุดของการศึกษาระดับพื้นฐานของพระสงฆ์ สามเณรในประเทศไทย แบ่งชั้นเรียนออกเป็น 3 ชั้น คือ นักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท และ นักธรรมชั้นเอก ทั้ง ๓ ชั้นนี้เป็นการศึกษาสำหรับฝ่าย พระภิกษุสามเณรโดยเฉ.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และนักธรรมชั้นเอก · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าอาวาส

้าอาวาส คือพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองวัด มีหน้าที่ปกครองดูแลอำนวยกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับวัด กฎหมายกำหนดให้วัดหนึ่งมีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง แต่จะมีรองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้หลายรูปตามควรแก่ฐานะของวัด เจ้าอาวาสเป็น พระสังฆาธิการ และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และเจ้าอาวาส · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าคณะภาค

้าคณะภาค เป็นพระสังฆาธิการที่ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งจากสมเด็จพระสังฆราช โดยผ่านมติการเห็นชอบของมหาเถรสมาคม มีอำนาจหน้าที่การปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม ในเขตจังหวัดของตน เจ้าคณะภาค คือพระสังฆาธิการผู้ปกครองคณะสงฆ์ระดั.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และเจ้าคณะภาค · ดูเพิ่มเติม »

เปรียญธรรม 4 ประโยค

''ในภาพ:หนังสือมงคลัตถทีปนี จัดพิมพ์โดยมหามกุฏราชวิทยาลัย หลักสูตรเปรียญธรรม 4 ประโยค'' เปรียญธรรม 4 ประโยค (ชื่อย่อ ป.ธ.4) เป็นระดับชั้นการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย เรียกผู้สอบผ่านในชั้นนี้ว่า เปรียญโท กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิผู้สอบได้ในชั้นนี้ให้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนต้น.

ใหม่!!: พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง ปุญฺญโชโต)และเปรียญธรรม 4 ประโยค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระธรรมเจติยาจารย์พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือน ปุญญโชโต)พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือน ปุญฺญโชโต)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »