โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระพุทธเจ้า

ดัชนี พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

63 ความสัมพันธ์: ชมพูทวีปบารมีพระพรหมพระพุทธโฆสะพระกกุสันธพุทธเจ้าพระกัสสปพุทธเจ้าพระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้าพระรามพระรามสัมพุทธเจ้าพระราหูพระศรีอริยเมตไตรยพระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคตพระสัทธรรมวิทยาตถาคตพระสุมังคลสัมพุทธเจ้าพระอชิตเถระพระธยานิพุทธะพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้าพระติสสสัมพุทธเจ้าพระประภูตรัตนะพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนรสีหสัมพุทธเจ้าพระนารทสัมพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์พระโกนาคมนพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุทั้ง 7พระไตรปิฎกภาษาบาลีพระเวทโพธิสัตว์พระเจ้าปเสนทิโกศลพระเทวเทพสัมพุทธเจ้าพราหมณ์พุทธวงศ์พุทธศักราชพุทธเกษตรกระทิง (พรรณไม้)กษัตริย์กิเลสภความหายานมหาปุริสลักขณะมโนรถปูรณีศาสดาศาสนาพุทธศาสนาฮินดูสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)สาละอรรถกถาอริยสัจ 4อาทิพุทธะ...อนาคตวงศ์จันทน์จำปาท้าววสวัตตีดุสิตตรัสรู้ตถาคตปฏิทินสุริยคติไทยปฏิทินจันทรคติไทยประเทศปากีสถานไทรย้อยใบแหลมเถรวาทเทวทูต ขยายดัชนี (13 มากกว่า) »

ชมพูทวีป

มพูทวีป มีความหมายได้ 2 ประการ ประการแรกหมายถึง ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศในปัจจุบัน มีชื่อเรียกทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า “เอเชียใต้”, “อนุทวีปอินเดีย”, หรือ “ภารตวรรษ” (Bharatavarsa) ประการที่สองหมายถึงทวีปใหญ่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเนรุซึ่งเป็น 1 ใน 4 ทวีปของชาวภารตะ (อุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและชมพูทวีป · ดูเพิ่มเติม »

บารมี

รมี (pāramī; pāramitā) ปฏิปทาอันยวดยิ่ง มีความหมาย 2 ประการ ประการแรก คือ บรม แปลว่าดีเลิศ สูงสุด และประการต่อมาหมายถึง การไป คือ ไปให้ถึงอีกฝังหนึ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและบารมี · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธโฆสะ

ระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระพุทธโฆสะ · ดูเพิ่มเติม »

พระกกุสันธพุทธเจ้า

ระกกุสันธพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 22 ในพุทธวงศ์ แต่เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกในภัทรกัปนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระกกุสันธพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระกัสสปพุทธเจ้า

ระกัสสปะพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์นี้ ทรงจุติลงมาในโลกมนุษย์หลังจากสิ้นสุดศาสนาของพระโกนาคมพุทธเจ้าแล้ว โดยนับตั้งแต่อายุมนุษย์ลดลงจากสองหมื่นปีเหลือ 10 ปี แล้วเพิ่มขึ้นจนถึงสองหมื่นปีอีกครั้ง พระองค์จึงเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระกัสสปพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า

ระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า มีปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ว่า หลังจากหมดยุคศาสนาของพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้าแล้ว เกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเลยอยู่นานถึง 8 กัปป์ หลังจากนั้นเกิดแผ่นดินใหม่ ชื่อว่า มัณฑกัปป์ จะมีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์บังเกิดขึ้น องค์แรก คือ พระนารทะสัมพุทธเจ้า องค์ถัดไปคือ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า ในสมัยพระสมณโคตมะพุทธเจ้า นี้ ท่านคือ โสณพราหมณ์ โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวด โดยมีปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นมาณพ ชื่อว่า มาฆมานพ อาชีพเป็นพ่อค้าทางเรือสำเภา วันหนึ่ง นำของชิ้นหนึ่งไปขายได้กำไร 10 เท่าและนำเงินทองที่ได้มานั้นใส่เรือ แต่ประสบเหตุเรือล่ม ทรัพย์สินที่ได้มาจมหายทั้งหมด แต่ตัวเองสามารถเอาตัวรอดมาได้ ครั้นต่อมา ก็นำของชนิดเดิมไปขายอีกได้กำไร 10 เท่าอีก นำทรัพย์กลับมาบ้านได้ 7 วันก็เพลิงไหม้ บ้านและทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก ต่อมาก็นำสินค้าชนิดเดิมไปขายก็ได้กำไรมา 10 เท่าแต่ว่าพอนำทรัพย์กลับมาบ้านแล้ว กลับถูกโจรปล้นทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมด แต่ก็ยังไม่ละความพยายามนำของชิ้นเดิมไปขายอีก ก็ได้กำไร 10 เท่าอีกเช่นเดิม แต่คราวนี้พอนำเงินกลับมาบ้าน ก็ถูกเรียกเก็บทรัพย์สินทั้งหมดนั้นเข้าสู่ท้องพระคลัง มาฆมาณพ เมื่อเสียทรัพย์ถึง 4 ครั้งก็ทะเลาะกับภรรยา จนถึงขั้นต้องหย่าร้างกัน ได้ทรัพย์สินจากการแบ่งกับภรรยาเป็นผ้าแดง 1 ผืน และทอง 1 แสน ออกจากบ้านเดินทางไปเรื่อยๆ จนถึงเมืองโกสัมพี ครั้งนั้น มีพระสาวก รูปหนึ่งของ พระกกุสันธะพุทธเจ้า ออกจากญาณสมาบัติ ก็ตรวจดูสรรพสัตว์ ด้วยทิพยจักษุ ก็พบ มาฆมาณพ เข้าข่ายญาณก็ทราบว่าอนาคตจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เหาะไปโปรดในทางที่มาณพกำลังเดินทางมา เมื่อมาณพเดินมาพบพระสาวกนี้ ก็เกิดเลื่อมใส จิตใจปลาบปลื้ม จึงได้ถวายทรัพย์สินทั้งหมดและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระสาวกได้รับของและกล่าวอนุโมทนาแล้ว ก็เหาะกลับไป ในที่ที่ถวายทานเกิดต้นกัลปพฤกษ์ 1 ต้น และมาณพนั้นก็ได้อาศัยต้นไม้นี้เลี้ยงชีพสืบมา วันหนึ่งกษัตริย์เมืองโกสัมพี พร้อมทั้งเหล่าข้าราชบริพาร เสด็จผ่านมาเห็นมาณพอยู่ใต้ต้นกัลปพฤกษ์ ก็เกิดความสนใจเข้าไปทอดพระเนตร ก็ถูกเทวดา ที่ทำหน้าที่รักษาอยู่ไม่ให้เข้าไป พระองค์จึงทรงกริ้ว สั่งให้ทหารทำการเผา แต่ก็เกิดมีดอกบัวเกิดขึ้นมารองรับมาณพนั้น จึงสั่งให้ทหารจับมาณพ ไปโยนทิ้งลงน้ำ ก็เกิดอัศจรรย์มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ ทำให้มาณพนั้นไม่ได้รับอันตรายใดๆ กษัตริย์จึงถามกับมาณพนั้นว่า ใครให้ต้นกัลปพฤกษ์มา มาณพจึงเล่าความจริงให้ฟัง แต่กษัตริย์ไม่เชื่อ รับสั่งให้มาณพนำพระสาวกรูปนั้นมายืนยัน มาณพจึงอธิษฐานถึงพระสาวกนั้น พระสาวกรูปนั้นทราบด้วยทิพยจักษุ ก็เหาะมาและบอกกล่าวถึงโทษของการประทุษร้ายมาณพนี้ จะทำให้บ้านเมืองจมลงในแผ่นดิน กษัตริย์ได้ฟังดังนั้นก็กลัว จึงขอโทษและยกให้มาณพเป็นน้องชายของพระองค์ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง 60 ศอก มีพระชนมายุ 5 พันปี และมีพระพุทธรัศมีสีทอง สว่างทั้งกลางวันและกลางคืน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระรามสัมพุทธเจ้า

ระรามะสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ กล่าวถึงว่า หลังจากที่หมดยุคศาสนาของ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่นดินถูกทำลาย และได้เกิดแผ่นดินใหม่จนนับไม่ถ้วนแล้ว จนถึงแผ่นดินใหม่เรียกว่า มัณฑกัปป์มีพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นมา 2 พระองค์ได้แก่ พระรามะสัมพุทธเจ้า และพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้นต้องบำเพ็ญบารมี อย่างยิ่งยวด โดยพระรามะสัมพุทธเจ้า พระองค์นี้ ครั้งหนึ่งย้อนกลับไปในสมัย พระกัสสปะพุทธเจ้า พระองค์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ชื่อว่า นารทมาณพ วันหนึ่งได้พบกับ พระกัสสปะพุทธเจ้า เกิดความยินดี เลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงทำการสักการบูชาด้วยการใช้ผ้า 2 ผืนชุบน้ำมันพันตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าทั้ง 2 ข้าง และจุดไฟ ถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงเวลาเช้ามืด ครั้นนารทมาณพดับจิตแล้วได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตและจุดที่ทำการเผาร่างกายนั้นบังเกิดดอกบัวผุดขึ้น ครั้งนั้น พระกัสสปะพุทธเจ้า จึงตรัสพยากรณ์ว่า มาณพนี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในมัณฑกัปป์นี้ ด้วยอานิสงส์ที่บูชาร่างกายเป็นปรมัตถบารมีนี้จึงทำให้พระองค์มีพระวรกายสูง 80 ศอกและมีพระชนมายุ 9 หมื่นปี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระรามสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระราหู

ระราหู (राहु ราหู) เป็นอสูรและเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งตามคติของศาสนาฮินดูและศาสนาพุท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระราหู · ดูเพิ่มเติม »

พระศรีอริยเมตไตรย

ระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย (Metteyya เมตฺเตยฺย; मैत्रेय ไมเตฺรย) เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าเมื่อศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าสิ้นสุดไปแล้ว โลกจะล่วงเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย อายุขัยของมนุษย์ลดลงจนเหลือ 10 ปี ก็เข้าสู่ยุคมิคสัญญี ผู้สลดใจกับความชั่วก็หันมารวมกลุ่มกันทำความดี จากนั้นอายุขัยเพิ่มขึ้นถึง 1 อสงไขยปี แล้วจึงลดลงอีกจนเหลือ 80,000 ปี ในยุคนี้จะมีพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีครบ 80 อสงไขยแสนมหากัป ลงมาตรัสรู้เป็น พระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระศรีอริยเมตไตรย · ดูเพิ่มเติม »

พระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต

ระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธมหายาน พระนามของพระองค์หมายถึงพระผู้สถิตอย่างศานติในแสงสว่างที่เลิศกว่าแสงอื่นอีกพันชนิด รูปของพระองค์เป็นพระพุทธรูปในปางแสดงเทศนาหรือพนมมือ เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวพุทธมหายานที่นับถือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในคัมภีร์สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไวปุลยสมบูรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตร พระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ประทานธารณีมนต์ต่างๆแก่พระอวโลกิเตศวร ซึ่งพระอวโลกิเตศวรได้นำมาเผยแผ่แก่มนุษยโลกอีกทีหนึ่ง นอกจากนั้น ยังเป็นผู้ช่วยเหลือให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญบารมีผ่านภูมิที่ 1 ไปถึงภูมิที่ 8 ได้สำเร็.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต · ดูเพิ่มเติม »

พระสัทธรรมวิทยาตถาคต

ระสัทธรรมวิทยาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธมหายาน พระนามของพระองค์หมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้ทรงรอบรู้แจ้งในพระธรรมอันประเสริฐ บางคัมภีร์ระบุพระนามของพระองค์เป็น พระสัทธรรมประภาตถาคต ไม่ปรากฏพระพุทธรูปของพระองค์เป็นพิเศษ โดยมากจะนับถือพระองค์คู่ไปกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในคัมภีร์สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไวปุลยสมบูรณอภิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตร กล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นพระพุทธเจ้าในอดีต ตรัสรู้ในกาลที่ล่วงมาแล้วนานมาก แต่ยังทรงมีจิตเมตตาต่อสัตว์โลกจึงได้เนรมิตรพระโพธิสัตว์จำนวนมากมาโปรดสัตว์รวมทั้งพระอวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงแนวคิดของมหายานเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์แบบหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์เกิดจากพระพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสัทธรรมวิทยาตถาคต · ดูเพิ่มเติม »

พระสุมังคลสัมพุทธเจ้า

ระสุมังคลสัมพุทธเจ้าปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ครั้นเมื่อศาสนาของพระติสสะสัมพุทธเจ้าเสื่อมในมัณฑกัปป์เดียวกันนี้จะมีพระพุทธเจ้า องค์ถัดไป ชื่อว่า พระสุมังคลสัมพุทธเจ้า โดยพระโพธิสัตว์ในสมัยของพระโคตมพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็น ช้างปาลิไลยก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสุมังคลสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระอชิตเถระ

ระอชิตเถระ เป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรีที่ถูกส่งมาทูลถามปัญหาทั้ง 16 ต่อพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณเจดีย์ โดยอชิตมาณพเป็นหัวหน้าคณะศิษย์ทั้ง 16 ของพราหมณ์พาวรี ต่อมาทั้งหมดได้บรรลุธรรมและอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยพระพุทธเจ้าเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยนับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญของพระพุทธศาสนา ต่อมาพราหมณ์พาวรี ได้ทราบข่าวว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ผู้เป็นราชโอรสของพระเจ้าศากยะผนวช ปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แสดงธรรมสั่งสอนประชาชน มีคนเชื่อและเลื่อมใสยอมเป็นสาวกปฏิบัติตามคำสั่งสอนเป็นจำนวนมาก พราหมณ์พาวรีมีความประสงค์จะทราบข้อเท็จจริง จึงเรียกมาณพผู้เป็นศิษย์ 16 คน มีอชิตมาณพเป็นหัวหน้า ผูกปัญหาให้คนละหมวด ให้ไปลองกราบทูลถามดู อชิตมาณพพร้อมด้วยมาณพอีก 15 คนลาพราหมณ์พาวรีผู้เป็นอาจารย์ แล้วพากันไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดาที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ กราบทูลขอโอกาสถามปัญหาคนละหมวด เมื่อพระบรมศาสดาทรงประทานอนุญาตแล้ว อชิตมาณพผู้เป็นหัวหน้าจึงกราบทูลปัญห.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระอชิตเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระธยานิพุทธะ

ระธยานิพุทธะ ศิลปะทิเบต พระธยานิพุทธะหรือพระฌานิพุทธะ (บางแห่งเรียกพระชินพุทธะ) เป็นพระพุทธเจ้าในคติความเชื่อของมหายาน เชื่อว่าอวตารมาจากพระอาทิพุทธะ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌานของอาทิพุทธะ ไม่ได้ลงมาสร้างบารมีเหมือนพระมานุสสพุทธะ (พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์) ดำรงในสภาวะสัมโภคกาย มีแต่พระโพธิสัตว์ที่เห็นพระองค์ได้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระธยานิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า

อนาคตวงศ์ระบุว่า พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า (ธมฺมราชสมฺพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตถัดจากพระรามสัมพุทธเจ้า หลัสิ้นศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยแล้ว แผ่นดินถูกทำลาย เกิดสุญกัปยาวนานถึงหนึ่งอสงไขย จากนั้นจะมีมัณฑกัปซึ่งมีพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นมา 2 พระองค์ได้แก่ พระรามสัมพุทธเจ้า และพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้านี้ก็คือพระเจ้าปเสนทิโกศลนั่นเอง โดยย้อนกลับไปในภัทรกัปนี้ในสมัยของพระโกนาคมนพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เกิดเป็นมาณพชื่อว่า สุททะ มีอาชีพขายดอกบัว โดยเก็บดอกบัวมาขายวันละ 2 ดอก เช้าวันหนึ่ง มาณพก็ทำการเก็บดอกบัว 2 ดอกมาขายตามปกติ พระโกนาคมนะพุทธเจ้าทรงบิณฑบาต ก็ทรงทราบด้วยญาณว่า มาณพนี้เป็น วงศ์แห่งพุทธเจ้า จึงแย้มพระโอษฐ์ มาณพหนุ่มเห็นเช่นนั้นก็แปลกใจ จึงทูลถาม ว่าพระองค์ทอดพระเนตรและแย้มพระโอษฐ์เพราะเหตุใด พระโกนาคมนพุทเจ้า จึงตรัสว่าตัวท่านนี่แหละคือน้องของตถาคต มาณพหนุ่มได้ฟังเช่นนั้น ก็ยิ่งแปลกใจมากขึ้น ทูลถามว่า ข้าเป็นน้องของท่านเมื่อใด พระโกนาคมนะพุทธเจ้าจึงได้ทำนายว่า ในมัณฑกัปป์หนึ่งท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล พระนามว่าพระธรรมราชา เมื่อสุททมาณพได้ยินเช่นนั้นจึงเกิดความปีติยินดี จึงได้ถวายดอกบัว 2 ดอกนั้นด้วยความเคารพ พระโกนาคมนพุทธเจ้าได้แสดงพุทธปาฏิหาริย์ขึ้นนั่งบนดอกบัว ด้วยมาณพกลัวพระพุทธองค์ร้อน จึงได้ทำที่บังแดดด้วยผ้า 2 ผืนและไม้อ้อ 4 ลำ และได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระพุทธองค์ได้ทรงนั่งอยู่บนดอกบัวนี้จนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น อานิสงค์การถวายดอกบัวนี้ เมื่อพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าดำเนินไปไหนจะมีดอกบัวเท่าจักรรถผุดจากพื้นดินรองรับเสมอ และทุกอิริยาบถของพระองค์จะมีห้องแก้ว 7 ประการเพื่อบังแดดและน้ำค้างด้วยผลทานที่ท่านถวายผ้าบังแดดนั้นเอง พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 5 หมื่นปี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมสามีสัมพุทธเจ้า

ระธรรมสามีสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยในเรื่อง อนาคตวงศ์ มีกล่าวถึงว่า หลังจากมัณฑกัป ที่มี พระรามะสัมพุทธเจ้า และ พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ จนแผ่นดินล่วงไป กว่า 3 อสงไขย เกิดแผ่นดินเรียกว่า สารกัป มีพระพุทธเจ้าบังเกิดมา 1 พระองค์มีชื่อว่า พระธรรมสามีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์โดยมีตัวอย่างการบำเพ็ญ ปรมัตถบารมีอย่างยิ่งยวดพระชาติหนึ่ง ย้อนไปในสมัย พระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็น มหาเสนาบดี ชื่อว่า โพธิอำมาตย์ ในพระเจ้ากิงกิสสราช มีอยู่วันหนึ่งพระกัสสปะพุทธเจ้าได้ออกจากฌาณสมาบัติ กษัตริย์พระเจ้ากิงกิสสราชทราบความได้ดำริอยากถวายทานแด่พระพุทธองค์ ซึ่งจะทำให้ได้ผลบุญหาที่สุดมิได้ จึงให้ทหารตีกลองร้องปล่าว ห้ามมิให้ชาวเมืองถวายทานแด่พุทธองค์ก่อนตน พร้อมทั้งคาดโทษและจัดให้มีทหารกั้นอณาเขตโดยรอบ ครั้งนั้นโพธิอำมาตย์ได้ทราบก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าจะถวายทานแด่พระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน ด้วยความปรารถนานี้ท่านจึงไม่เกรงกลัวต่ออาญาที่จะได้รับเลย จึงได้ไปบอกบุตรและภรรยาให้เตรียมเครื่องไทยทานและผ้าหนึ่งผืน ครั้นรุ่งเช้า โพธิอำมาตย์ได้เดินทางไปยังสถานที่ที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ทหารที่ทำหน้าที่เฝ้าอยู่จึงสอบถามถึงกิจธุระ โพธิอำมาตย์จึงตอบด้วยความสัจจริงว่าต้องการถวายทานแด่พุทธองค์ ด้วยเหตุนี้จึงถูกทหารจับตัวมัดมือไปเข้าเฝ้าพระเจ้ากิงกิสสราช และได้รับโทษประหาร พระกัสสปะพุทธเจ้าทรงทราบด้วยญาณว่า โพธิอำมาตย์นี้เป็นพระบรมโพธิสัตว์ พระองค์หนึ่ง จึงเนรมิตรกายอีกพระองค์หนึ่งเสด็จไปที่ป่าช้าลานประหาร โดยให้โพธิอำมาตย์ เห็นเพียงผู้เดียว และทรงเทศนาสั่งสอน ให้ละและอย่าอาลัยในชีวิตเลย เมื่อโพธิอำมาตย์ได้ฟังก็เกิดปลื้มใจจนหาที่เปรียบมิได้ จึงยกเครื่องไทยธรรมพร้อมผ้าของตนและของภรรยาที่ฝากมา ถวายด้วยกิริยาเบญจางคประดิษฐ์ และอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต พระกัสสปะพุทธเจ้าได้รับของและตรัสพุทธพยากรณ์ว่า จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตข้างหน้าอย่างแน่นอน และเสด็จกลับเสวยเครื่องไทยธรรม ขณะนั้นโพธิอำมาตย์ได้ถูกเพชฌฆาตตัดศีรษะขาด มหัศจรรย์เกิดแผ่นดินไหวเป็นเหตุให้เศวตฉัตรของพระเจ้ากิงกิสสราชหัก ในที่ประหารนั้นบังเกิดวิมานทองพร้อมด้วยนางสวรรค์ 1000 ขุมทอง 16 ขุม และต้นกัลปพฤกษ์ 1 ต้น ภรรยาโพธิอำมาตย์ได้ใช้สมบัติที่เกิดขึ้นนี้เลี้ยงชีพจนหมดอายุขัย ฝ่ายโพธิอำมาตย์ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตมีทิพยสมบัติอันมากด้วยผลแห่งมหาทานนี้ เมื่อครั้นโพธิอำมาตย์สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์มีพระวรกายสูง 80 ศอก มีพระชนมายุ 1 แสนปี ด้วยผลบุญที่พระองค์สละชีวิต มีไม้รังเป็นมหาโพธิ พุทธรัศมีสว่างไสวดุจดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มีเศวตฉัตรกว้างและสูงประมาณ 3 โยชน์ (1 โยชน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระติสสสัมพุทธเจ้า

ระติสสสัมพุทธเจ้า ปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ครั้นเมื่อศาสนาของพระนรสีหสัมพุทธเจ้า เสื่อมลง แผ่นดินถูกทำลายไป และเกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระพุทธเจ้า บังเกิดเรียกว่า สุญญกัปป์ จนแผ่นดินนี้ถูกทำลายไป เกิดแผ่นดินใหม่ชื่อว่ามัณฑกัปป์จะมีพระพุทธเจ้า สองพระองค์เกิดขึ้นองค์หนึ่งนามว่า พระติสสสัมพุทธเจ้า โดยในสมัย พระโคตมพุทธเจ้า ท่านเสวยพระชาติเป็นช้างชื่อ นาฬาคิรีอีกองค์หนึ่งนามว่า พระสุมังคละสัมพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระติสสสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระประภูตรัตนะ

ระประภูตรัตนะ เป็นพระพุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายมหายาน นิยมนับถือในประเทศจีน แต่ไม่พบในอินเดีย ในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตรกล่าวว่าเป็นพระพุทธเจ้าในอดีตที่จะปรากฏพระองค์ทุกครั้งที่มีการแสดงพระสัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งรวมทั้งในการแสดงพระสูตรนี้ของพระศากยมุนีพุทธเจ้าด้วย เป็นหนึ่งในคำสอนที่ยืนยันความเชื่อของฝ่ายมหายานว่าความเป็นพระพุทธเจ้ามิได้สิ้นสุดลงที่การปรินิพพานแต่จะคงอยู่ในโลกต่อไปในอนาคตอันยาวนานด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระประภูตรัตนะ · ดูเพิ่มเติม »

พระปัจเจกพุทธเจ้า

ระปัจเจกพุทธเจ้า (ปจฺเจกพุทฺธ; ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรมเช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็นวิเวกเอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ และจะอุบัติขึ้นเฉพาะในช่วงระหว่างพุทธันดร กล่าวคือ ในช่วงเวลาเมื่อโลกว่างจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาลแห่งพุทธาภิสมัยในปัจจุบันนี้ ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามมาตังคะเสด็จอุบัติขึ้นและปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้วจากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้วซึ่งการประสูติกาลของพระโพธิสัตว์นั้น) พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้ายๆกัน คือ เป็นพระชาติมาจากราชามหากษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดีแต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ๆเบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8 พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็นนิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าคราวเดียวกันถึง 500 พระองค์ก็มี พระปัจเจกพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตนและปรนนิบัติธรรมเป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดในพระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะกระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตรในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อและเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้นก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขาแห่งฤๅษี(หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า) พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย".

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนรสีหสัมพุทธเจ้า

ระนรสีหสัมพุทธเจ้า ปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ครั้นเมื่อศาสนาของพระเทวเทพสัมพุทธเจ้า เสื่อมลง ในมัณฑกัปป์เดียวกันนี้จะมีพระพุทธเจ้า อีกพระองค์หนึ่งนามว่า พระนรสีหสัมพุทธเจ้าโดยในสมัย พระโคตมพุทธเจ้า ท่านคือโตไทยพราหมณ์ โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวด โดยมีปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยช่วงระหว่าง พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระโคตมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นมาณพ ชื่อว่า นันทมาณพ มีอาชีพเป็นพ่อค้า ครั้งนั้น มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งกำลังบิณฑบาตอยู่ มาณพนี้ได้พบก็บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงเอาผ้ากัมพลสีแดงผืนหนึ่งกับทองคำแสนตำลึง ทำเป็นเครื่องไทยธรรมถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า และตั้งจิตอธิษฐานด้วยผลทานที่กระทำนี้ขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต พระปัจเจกพุทธเจ้ารับเครื่องไทยธรรมนั้นไว้และนำผ้ามาคลุมกายโดยรอบ ยังเหลือแค่พระหัตถ์กับพระบาทเท่านั้น เมื่อมาณพเห็นดังนั้น จึงตั้งจิตอธิษฐานอีกว่า ขอให้มีเดชานุภาพแผ่ทั่วราชอาณาจักร พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงอนุโมทนาและก็จากไป ระหว่างทางพระปัจเจกพุทธเจ้าได้พบหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งหญิงสาวนี้พอเห็นพระ ห่มผ้าแดงก็สอบถามว่าผ้าที่สวยงามนี้ใครเป็นผู้ถวาย พระปัจเจกพุทธเจ้าก็บอกถึง มาณพ และความปรารถนา 2 ประการของมาณพนั้น ความปรารถนาหนึ่ง คือ เป็นพระพุทธเจ้า และอีกความปรารถนาหนึ่งคือ เป็นกษัตริย์ เมื่อหญิงสาวได้ยินดังนั้น จึงทำบุญตามมาณพนั้นและปรารถขอเมื่อมาณพนั้นเป็นกษัตริย์แล้วก็ขอให้ตนได้เป็นมเหสีแห่งกษัตริย์นั้น และด้วยบุญนี้ทั้งสองคนจึงได้อยู่กินเป็นสามีภรรยากันในชาตินี้ และยังสร้างศาลาหลังหนึ่งไว้ พร้อมจ้างช่างมาแกะสลักรูปพระปัจเจกพุทธเจ้าประดิษฐานไว้ในศาลา ฝ่ายหญิงยังโกนเอาผมชุบน้ำมันหอม ทำเป็นไส้ปทีปสักการบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อทั้งสอง สิ้นอายุขัยเกิดในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เสวยทิพยสมบัติอยู่นาน จนสิ้นอายุขัยก็จุติเป็น บรมกษัติย์แห่ง เมืองทวารวดี ฝ่ายหญิงก็เกิดในตระกูลเศรษฐี พออายุได้ 16 ปีก็ได้มาเป็นมเหสีแห่งกษัตริย์นามว่า พระมงคลราชเทวี มียศถาบรรดาศักดิ์พร้อมด้วยบริวารถึง 1 ล้าน ส่วนกษัตริย์ ก็มีสนมถึง 16 ล้านด้วยกัน วันหนึ่ง กษัตริย์มีพระประสงค์ทดลองบุญของ พระมงคลราชเทวี ให้ประจักษ์แก่เหล่าสนมทั้งหลาย จึงสั่งให้สนมเตรียมสำรับคนละที่และมาบริโภคตรงหน้าพระที่นั่ง สนมทุกคนก็บริโภคเป็นปกติ หาได้มีความแปลกประหลาดอันใด แต่พอพระมงคลราชเทวี ทรงนั่งและล้างพระหัตถ์ รับเอาอาหารขึ้นเข้าไปในพระโอษฐ์ ปรากฏว่านิ้วพระหัตถ์ของนางกลายเป็นทองคำทุกนิ้ว เป็นอย่างนี้ทุกคำที่เสวย ด้วยผลบุญที่กระทำอย่างประณีตแต่ปางก่อน พอเหล่าสนมเห็นดังนั้น จึงรู้ว่าพระมเหสี มีบุญหาควรเทียบเทียมไม่ ตั้งแต่วันนั้นมาจึงเกิดความยำเกรงต่อมเหสีเป็นอันมาก พระนรสีหสัมพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง 60 ศอก มีพระชนมายุ 8 หมื่นปี มีรัศมีรุ่งเรืองสว่างไสว มีไม้แคฝอยเป็นมหาโพธิ มีต้นกัลปพฤกษ์ ต้นหนึ่งพร้อมข้าวสาลีอันหอมให้มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภค ผิวพรรณมนุษย์เป็นสีทอง พระองค์เสด็จไปที่ใดก็จะมีเศวตฉัตรแก้วบังเกิดอยู่ตลอดเวล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระนรสีหสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนารทสัมพุทธเจ้า

ระนารทสัมพุทธเจ้า มีปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ว่า หลังจากหมดยุคศาสนาของพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้าแล้ว เกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเลยอยู่นานถึง 8 กัปป์ หลังจากนั้นเกิดแผ่นดินใหม่ ชื่อว่า มัณฑกัปป์ จะมีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์บังเกิดขึ้น องค์แรก คือ พระนารทพุทธเจ้า องค์ถัดไปคือ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวดโดยปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นกษัตริย์มีพระนามว่า พระยาสิริคุตตมหาราช ครองเมือง มัลลนคร มีพระราชอัครมเหสี นามว่า ลัมภุราชเทวี มีพระราชโอรสและพระราชธิดา นามว่า นิโครธกุมารและโคตมีกุมารีตามลำดับ วันหนึ่งมี พราหมณ์ 8 ท่าน มาทูลขอราชสมบัติและพระนคร พระองค์ก็พระราชทานด้วยจิตใจที่ปลาบปลื้มยินดี และพาครอบครัวออกบวช ไปอาศัยอยู่ที่อาศรมในป่า ในครั้งนั้นมียักษ์ชื่อว่า ยันตะ ร่างกายสูงถึง 120 ศอก มาขอพระราชโอรสและธิดาทั้งสอง พระองค์ เพื่อเป็นอาหาร และ ยันตะยักษ์ ยังกล่าวอีกว่า ถ้าได้ถวายพระราชโอรสและพระราชธิดาแล้ว อนาคตจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน เมื่อพระยาสิริคุตตมหาราชได้ฟังเช่นนั้นเกิดความปลาบปลื้มเป็นอย่างมาก จึงตอบว่า ไม่ใช่ไม่รักลูกทั้งสองแต่ท่านเป็นผู้ที่รักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าสิ่งใด จึงตัดใจสละพระกุมารีทั้ง 2 ให้ยักษ์และหลั่งน้ำเหนือมือของยักษ์ พร้อมทั้งประกาศแก่เทวดาและพระแม่ธรณีให้เป็นสักขีพยาน แห่งมหาทานนี้ เมื่อยักษ์ได้รับมอบพระกุมารีทั้งสองไปแล้ว ก็เคี้ยวกินต่อหน้าต่อตาพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เห็นเลือดที่ไหลจากปากของยักษ์ ก็มิได้หวาดกลัวเลยด้วยจิตใจอันเปี่ยมด้วยยินดี ด้วยมหาทานบารมีที่พระองค์มิได้หวาดหวั่นใจเลยนี้ทำให้พระองค์มีพุทธรัศมีเหมือนสายฟ้าในกลีบเมฆรูปร่างเหมือนดอกบัวตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน พระวรกายสูง 20 ศอก มีพระชนมายุ 1 หมื่นปี มีไม้จันทร์เป็นมหาโพธิ ในศาสนาของพระองค์ คนในยุคนั้นจะมีรูปร่างอันสวยงามน่ายินดี ด้วยบุญที่ท่านให้ลูกเป็นทาน และยังมีภักษาหาร 7 ประการบังเกิดขึ้น มนุษย์ก็ได้อาศัยภักษาหารนี้เลี้ยงชี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระนารทสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระโกนาคมนพุทธเจ้า

ระโกนาคมนพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 23 ในพุทธวงศ์ และเป็นพระองค์ที่ 2 ในภัททกัปนี้ ที่พระองค์มีพระนามเช่นนี้เนื่องจากขณะที่พระองค์ประสูติฝนทองได้ตกลงมาทั่วทั้งชมพูทวีป พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดภิยโยสราชกุมารและอุดรราชกุมาร พร้อมด้วยบริวาร พระกายสูง 80 ศอก มีพระชนมายุ 30,000 พรรษาจึงเสด็จปรินิพพาน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระโกนาคมนพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระไภษัชยคุรุทั้ง 7

ระไภษัชยคุรุทั้ง 7 เป็นกลุ่มของพระพุทธเจ้าตามคติของมหายานกลุ่มหนึ่ง มีจำนวน 7 พระองค์ เป็นที่นับถือกันมาในทิเบตและเนปาล โดยพระพุทธะแต่ละองค์จะมีโลกธาตุหรือพุทธเกษตรเป็นของตนเองเช่นเดียวกับแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะ ในบรรดาพระพุทธเจ้ากลุ่มนี้ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาเป็นที่นับถือมากที.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระไภษัชยคุรุทั้ง 7 · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. ออนไลน์. เข้าถึงได้จากhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระไตรปิฎกภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระเวทโพธิสัตว์

ระเวทโพธิสัตว์ เป็นเทพธรรมบาลผู้ปกป้องพุทธศาสนาตามความเชื่อของชาวพุทธมหายานในจีน ตรงกับพระขันธกุมารของศาสนาฮินดู มีหน้าที่กำราบผู้จะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย คอยดูแลวัดวาอารามต่างๆ ลักษณะของพระองค์จะแต่งกายแบบนักรบจีน ในมือถือคทา โดยในสมัยโบราณ ผู้เดินทางที่จะไปค้างคืนตามวัดจะสังเกตรูปปั้นของพระเวทโพธิสัตว์ในวัดว่าถือคทาอย่างไร ถ้าถือไว้ในมือหรือประนมมือแสดงว่าอนุญาตให้เข้าพักได้ แต่ถ้าถือจรดพื้นแสดงว่าไม่อนุญาตให้เข้าพัก ในคัมภีร์ปัจจุบันสมัยภัทรกัลป์สหัสพุทธนามสูตร ได้ระบุว่าพระเวทโพธิสัตว์จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายในกัปป์ปัจจุบันคือภัทรกัปปป์ มีพระนามเมื่อตรัสรู้แล้วว่า พระรุจิพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเวทโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าปเสนทิโกศล

ปเสนทิ (ปะ-เส-นะ-ทิ; Pasenadi) หรือ ประเสนชิต (ปฺระ-เส-นะ-ชิด; Prasenajit) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโกศลจากราชวงศ์อิกษวากุ เสวยราชย์อยู่ ณ เมืองสาวัตถี สืบต่อจากพระบิดา คือ พระเจ้าสัญชัยมหาโกศล ถือเป็นอุบาสกที่สำคัญพระองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า และทรงสร้างวิหารอารามไว้หลายแห่ง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเจ้าปเสนทิโกศล · ดูเพิ่มเติม »

พระเทวเทพสัมพุทธเจ้า

ระเทวเทพสัมพุทธเจ้า มีปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ว่าหลังจากหมดยุคของ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้าแล้ว แผ่นดินถูกทำลายจนเกิดแผ่นดินใหม่ เรียกว่า มัณฑกัปป์ คือจะมีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์บังเกิดขึ้น หนึ่งคือ พระเทวเทพสัมพุทธเจ้า โดยในสมัยพระโคตมพุทธเจ้า ท่านคือ สุภพราหมณ์ และอีกหนึ่งคือ พระนรสีหสัมพุทธเจ้า โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวด โดยมีปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยพระโกนาคมนะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นช้าง ชื่อว่า พระยาฉัททันต์ เป็นพระยาช้างมงคลสีขาวดังเงินยวง อาศัยอยู่ริมสระฉัททันต์ในป่าหิมพานต์ ครั้งหนึ่ง พระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นสาวกแห่ง พระโกนาคมนะพุทธเจ้า พระเถระนี้ได้เข้าสู่ปรินิพพานที่ริมสระฉัททันต์นั้น พระยาช้างซึ่งมีความปรารถนาพระสัพพัญญูอยู่แล้ว ได้เดินไปพบพระสรีระก็เกิดความปีติยินดี จึงตั้งจิตจะปลงสรีระกายของเถระนี้ จึงประกาศแก่เหล่าเทวดาขอให้มาช่วย และขอเลื่อยทิพย์อันหนึ่งด้วยบุญเก่าที่เคยทำไว้ พระยาช้างอธิษฐานดังนี้ ก็ปรากฏเลื่อยทิพย์อันหนึ่งลอยมาตกตรงหน้า พระยาช้างจึงตัดงาทั้งสองข้าง โดยข้างหนึ่งทำโกศ อีกข้างหนึ่งทำเชิงตะกอนรูปขนนกยูง พระยาช้างเอาขนบนศีรษะมาทำไส้ประทีปจุดบูชาสักการะ ฝ่ายช้างบริวารจำนวน 8 หมื่น 4 พัน มากระทำสมโภชถึง 7 วัน 7 คืน เอาแก่นจันทน์แดงมีกลิ่นหอมมารอง พร้อมทั้งยกพระศพขึ้นบนศีรษะของตนและเอาเพลิงจุดเผาพระศพ ครั้นพระสรีระเมื่อเผาแล้วพระธาตุต่างๆ ก็ลอยหายขึ้นไปบนฟ้า ไม่มีเศษอันใดตกลงสู่พื้นเลย โดยพระยาช้างได้ตั้งจิตอธิษฐานถึงบุญที่ตนตัดงาทั้งสอง ขอบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระยาช้างสิ้นใจตายก็ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นเทพบุตร มีทิพยสมบัติอันมาก พระเทวเทพสัมพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง 80 ศอก มีพระชนมายุ 8 หมื่นปี มีไม้จำปาเป็นศรีมหาโพธิ พุทธรัศมี ฉัพพรรณรังสี(6 สี) สัณฐานเหมือนช่อฝักบัวสว่างไสวทั่วโลกธาตุ ด้วยบุญบารมีของท่าน จะบังเกิดต้นกัลปพฤกษ์และข้าวสาลีที่มีกลิ่นหอม ประชาชนอาศัยข้าวสาลีนี้ ไม่ได้ทำการเกษตร ค้าขาย ผิวพรรณมนุษย์มีสีทองโดยปกติ งามด้วยตัวของตัวเองแม้ไม่แต่งตัว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเทวเทพสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พราหมณ์

ราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้น พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธวงศ์

ทธวงศ์ (พุทฺธวํส) หมายถึง สายของพระพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพุทธวงศ์ไว้คราวประทับ ณ นิโครธาราม ระหว่างการเสด็จนิวัตกรุงกบิลพัสดุ์ (หลังตรัสรู้) การสืบสายพุทธวงศ์ไม่ได้มาจากการสืบสายโลหิตหรือการชิงอำนาจปราบดาภิเษกอย่างการสืบราชสมบัติ แต่มาจากสั่งสมบำเพ็ญบารมีและรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต ในการสังคายนาครั้งที่ 1 ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์สาวกที่ร่วมสังคายนาได้จัดให้เรื่อง "พุทธวงศ์" นี้เป็นคัมภีร์หนึ่งในหมวดอปทาน ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ศาสนาพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แต่พระพุทธเจ้าในอดีตที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงนับเข้าในพุทธวงศ์ของพระองค์มีอยู่ 24 พระองค์ เพราะ 24 พระองค์นี้เป็นผู้ประทานพยากรณ์ว่าพระโคตมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อรวมพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น 25 พระองค์ในพุทธวง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศักราช

ทธศักราช ย่อว.. เป็นศักราชที่เริ่มนับเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพาน ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในเช่น ในประเทศไทยเป็นปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธศักราช · ดูเพิ่มเติม »

พุทธเกษตร

ทธเกษตร (อาณาจักรแห่งพระพุทธเจ้า) หรือ วิสุทธิภูมิ (ดินแดนบริสุทธิ์) ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน คือดินแดนที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้นด้วยปณิธานของแต่ละพระองค์ แดนพุทธเกษตรไม่ใช่นิพพาน แต่มีลักษณะคล้ายสวรรค์ เป็นภูมิที่สาวกของพระพุทธเจ้าใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธเกษตร · ดูเพิ่มเติม »

กระทิง (พรรณไม้)

กระทิง หรือ สารภีทะเล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ เช่น กากะทิง (ภาคกลาง), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีแนน (ภาคเหนือ) กระทิงราย (ชุมชนกระทิงลาย,โรงเรียนเมืองพัทยา 1 (เชิญ พิศลยบุตรราษฎร์บำเพ็ญ)) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20 – 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง การดูแลรักษาทำได้โดยชอบดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด กระทิงเป็นพืชมีพิษ เมื่อรับประทานราก เปลือก และใบเข้าไปจะมีผลต่อหัวใ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกระทิง (พรรณไม้) · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

กิเลส

กิเลส (กิเลส; क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกิเลส · ดูเพิ่มเติม »

ภควา

วา (भगवा) หรือ ภควานฺ (भगवान्) เป็นสมัญญาของพระเจ้าในศาสนาแบบอินเดีย โดยพุทธศาสนิกชนใช้คำนี้หมายถึงพระพุทธเจ้า ชาวฮินดูลัทธิไวษณพใช้หมายถึงองค์อวตารของพระวิษณุ (เช่น พระกฤษณะ) ลัทธิไศวะใช้หมายถึงพระศิวะJames Lochtefeld (2000), "Bhagavan", The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Vol.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและภควา · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มหาปุริสลักขณะ

มหาปุริสลักขณะ (บาลี: mahapurisalakkhana) หรือมหาปุริสลักษณะ (สันสกฤต: mahapurisalaksana) เป็นลักษณะที่บ่งบอกให้รู้ว่าผู้ที่เกิดมาแล้วมีลักษณะพิเศษสามสิบสองอย่างนี้จะได้เป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งหรือที่เรียกว่า "พระโพธิสัตว์" คือสัตว์ที่อาจตรัสรู้ ลักษณะดังกล่าวได้แก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมหาปุริสลักขณะ · ดูเพิ่มเติม »

มโนรถปูรณี

มโนรถปูรณี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในอังคุตตรนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก โดยอธิบายเนื้อหาและแจกแจงคำศัพท์ ในพระสูตรที่จัดหมวดหมู่เป็นนิบาต ทั้ง 11 นิบาต ของอังคุตตรนิกาย กล่าวคือ คือเอกนิบาต, ทุกนิบาต, ติกนิบาต, จตุกกนิบาต, ปัญจกนิบาต, ฉักกนิบาต, สัตตกนิบาต, อัฎฐกนิบาต, นวกนิบาต, ทสกนิบาต, และเอกาทสกนิบาต รวมทั้งสิ้นอังคุตตรนิกาย มีทั้งหมด 9,557 สูตร พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงคัมภีร์มโนรถปูรณีขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาเก่าภาษาสิงหลที่สืบมาแต่เดิมเป็นหลัก เมื่อราว..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมโนรถปูรณี · ดูเพิ่มเติม »

ศาสดา

ือผู้ก่อตั้งศาสนา หรือผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่ เช่น พระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ศาสนายูดาห์มีโมเสสเป็นศาสดา เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและศาสดา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร ฉายา ปยุตฺโต หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

สาละ

ละ เป็นพืชในวงศ์ Dipterocarpaceae เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู เป็นที่ประทับของพระเจ้า และเป็นสัญลักษณ์แห่งอินทรา ในทางพุทธศาสนา ต้นสาละคือต้นที่พระพุทธมารดายืนเหนี่ยวกิ่งในขณะประสูติไม่ใช่ต้นสาละลังกา เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความสำคัญในอินเดีย ใช้ในการก่อสร้างโดยเฉพาะกรอบประตูและหน้าต่าง ใบอ่อนและตาดอกในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสาละ · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอริยสัจ 4 · ดูเพิ่มเติม »

อาทิพุทธะ

ระวัชรธารพุทธะ พระอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าที่พบในคติความเชื่อของพุทธศาสนามหายานบางกลุ่ม ไม่พบในฝ่ายเถรวาท โดยเชื่อว่าอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก กำเนิดขึ้นพร้อมกับโลก อยู่ในโลกชั่วนิรันดร์ เป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่งในโลก และเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับบนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐ์ มีสถานะเสมอปรมาตมันในศาสนาฮินดูราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 15-16.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอาทิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

อนาคตวงศ์

อนาคตวงศ์ (อนาคตวํส) เป็นวรรณกรรมบาลีของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอนาคตวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

จันทน์

''Pterocarpus santalinus'' จันทน์ (Sandalwood) เป็นชื่อของไม้หอมหลายชนิด ชื่อมาจากภาษาสันสกฤต “candanam” ที่มาจากภาษากรีก “sandanon” ชื่อในภาษาต่าง ๆ ก็ได้แก่: ถ้ากล่าวถึงตามความหมายที่แท้จริงแล้วก็จะเป็นไม้ต้นที่มาจากสกุล Santalum ของวงศ์ย่านตีเมียที่ใช้เพราะเป็นไม้ที่มีน้ำมันหอม (essential oil) ไม้ชนิดนี้มีสีเหลือง หนัก และมีลายละเอียด (fine-grained) จันทน์เป็นไม้เห็นคุณค่าของกลิ่นหอมและคุณสมบัติว่าเป็นยามาเป็นเวลาหลายพันปี บางครั้งไม้ชนิดอื่นที่มีน้ำมันหอมแต่คนละตระกูลก็เรียกว่า “จันทน์” ด้วย จันทน์เป็นไม้ที่มีต้นกำเนิดจากอเมริกากลางและอเมริกาใต้และแคริบเบียน น้ำมันที่ได้จากจันทน์กลั่นที่ประเทศเฮต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและจันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จำปา

ำปา มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย และมีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า จุมปา,จุ๋มป๋า (ภาคเหนือ) จำปากอ (มลายู-ใต้) จำปาเขา จำปาทอง (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี)จำปาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 20 ฟุตมีสีน้ำตาลปนขาวเล็กน้อย กิ่งเปราะ ใบสีเขียวใหญ่เป็นมัน ดอกเริ่มแย้มจะมีกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะมีดอกมากในช่วงฤดูฝน ปลูกนานกว่า 3 ปี จึงจะออกดอก จำปาเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ไม่ชอบที่น้ำขังจะทำให้ตายได้ ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วน โปร่ง อุดมสมบูรณ์ และจำปาเป็นไม้ที่มีประโยชน์ทางด้านสมุนไพร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและจำปา · ดูเพิ่มเติม »

ท้าววสวัตตี

ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี หรือ ท้าววสวัตตี(อ่านว่า วะ-สะ-วัด-ตี) ในพระพุทธศาสนาเป็นเทพบุตรมาร จึงถูกพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า มารผู้มีบาป เป็นจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ที่ได้ชื่อว่าเป็นมารเพราะชอบมาผจญผู้ที่จะทำความดีต่าง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและท้าววสวัตตี · ดูเพิ่มเติม »

ดุสิต

ต คือสวรรค์ชั้นที่ 4 ในฉกามาพจร มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

ตรัสรู้

ตรัสรู้ หมายถึง การรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการรู้สภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงในหลักอริยสัจ 4.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและตรัสรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ตถาคต

ตถาคต เป็นพระนามที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าพระนามหนึ่ง เรียกเต็มว่า พระตถาคต ตถาคต แปลได้หลายนัย คือแปลว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและตถาคต · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินสุริยคติไทย

ปฏิทินสุริยคติไทย คือปฏิทินอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นระบบปฏิทินสุริยคติอ้างวันเดือนปีตรงตามปฏิทินเกรกอเรียนที่มีจำนวนวัน 365 หรือ 366 วันในแต่ละปี โดยปรับเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติไทยเดิมเมื่อ พ.ศ. 2431 (จุลศักราช 1240) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้งสิบสองในปฏิทินตั้งชื่อโดยกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ในปฏิทินไทยจะมีการแสดงปีปฏิทินสุริยคติไทยเป็นหลักแสดงในรูปแบบปีพุทธศักราช และในหลายปฏิทินมักจะมีการแสดงวันพระ วันข้างขึ้น ข้างแรม ปีจีน และคริสต์ศักราชคู่กัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปฏิทินสุริยคติไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจันทรคติไทย

ปฏิทินจันทรคติไทย (อังกฤษ: Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปฏิทินจันทรคติไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ไทรย้อยใบแหลม

ทรย้อยใบแหลม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไทร (Weeping fig, Ficus tree) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสันแตกต่างกันตามชนิดย่อ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไทรย้อยใบแหลม · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เทวทูต

ทวทูต หมายถึง ทูตของเทพ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนให้ระลึกถึงธรรมดาของชีวิต จนเกิดความสังเวชแล้วเร่งทำความดี ใน "ทูตสูตร" พระโคตมพุทธเจ้าตรัสว่าเทวทูตมี 3 จำพวก ได้แก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเทวทูต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Buddhaสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธพระพุทธเจ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสัมมาสัมพุทธะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุึทธเจ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธพระพุทธองค์พุทธะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »