โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บารมี

ดัชนี บารมี

รมี (pāramī; pāramitā) ปฏิปทาอันยวดยิ่ง มีความหมาย 2 ประการ ประการแรก คือ บรม แปลว่าดีเลิศ สูงสุด และประการต่อมาหมายถึง การไป คือ ไปให้ถึงอีกฝังหนึ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น.

18 ความสัมพันธ์: พระพุทธเจ้าพระอสีติมหาสาวกพละ 5ญาณวิริยะศีลสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)สัจจะสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอุเบกขาอธิษฐานฌานทานขันติปัญญาเมตตาเถรวาทเนกขัมมะ

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: บารมีและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระอสีติมหาสาวก

ระอสีติมหาสาวก คือ พระสาวกผู้ใหญ่ 80 องค์ของพระพุทธเจ้.

ใหม่!!: บารมีและพระอสีติมหาสาวก · ดูเพิ่มเติม »

พละ 5

ละ หรือ พละ 5 คือ กำลัง ห้า ประการ ได้แก.

ใหม่!!: บารมีและพละ 5 · ดูเพิ่มเติม »

ญาณ

ญาณ (ñāṇa; jñāna ชญาน) แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง มีการกล่าวถึงญาณในหลายลักษณะ หรืออาจจัดแบ่งญาณได้เป็น ญาณ 3 (3 หมวด) และ ญาณ 16 (ในวิปัสสนาญาณ) ดังนี้.

ใหม่!!: บารมีและญาณ · ดูเพิ่มเติม »

วิริยะ

วิริยะ (วิริย; วีรฺย) แปลว่า ความเพียร ความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ ภาวะของผู้กล้า เป็นแนวทางให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์ หมายถึง การลงมือปฏิบัติลงมือทำงานที่ตนชอบที่ตนรัก ทำด้วยความพากเพียรพยายาม ทำด้วยความสนุก กล้าหาญ กล้าเผชิญกับความทุกข์ยาก ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น หากมีอุปสรรคข้อขัดข้องใดๆ ก็เพียรกำจัดปัดเป่าไปให้หมดสิ้นไป โดยไม่ย่อท้อ ไม่สิ้นหวัง เดินหน้าเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายคือ ความสำเร็จ "วิริยะ" เป็นเหตุให้กล้าลงมือทำงานและกล้าเผชิญปัญหาอุปสรรคต่างๆ ขณะทำงาน ตรงกันข้าม หากขาดความเพียรพยายามเสียแล้วก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า วิริยารัมภะ หมายถึง การปรารภความเพียร คือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว วิริยารัมภกถา เป็น ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (ข้อ5 ในกถาวัตถุ10).

ใหม่!!: บารมีและวิริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ศีล

ีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์ และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในขั้นสูงต่อไปได้ ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้ว.

ใหม่!!: บารมีและศีล · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร ฉายา ปยุตฺโต หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.

ใหม่!!: บารมีและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

สัจจะ

"สัจจะ" แปลว่า ความสัตย์ ความซื่อ ถ้าขยายความตามศัพท์แยกได้ 3 ลักษณะคือ มีความจริง ความตรง และความแท้จริง คือ ไม่เล่น ตรง คือ ความประพฤติทางกาย วาจา ตรงไม่บิดพลิ้ว ไม่บ่ายเบี่ยง แท้ คือ ไม่เหลวไหล ตรงข้ามกับคำว่า อสัจ ซึ่งแปลว่า ไม่จริง บิดพลิ้ว แต่ถ้าในทางปฏิบัติสัจจะ คือ ความรับผิดชอบ หมายความว่า ถ้าจะทำอะไรแล้ว ต้องตั้งใจทำจริง ทำอย่างสุดความสามารถให้เป็นผลสำเร็จ การที่ใครจะสามารถสร้างตัวขึ้นมาได้นั้น ต้องมีสัจจะเป็นพื้นฐาน เพราะคนที่มีสัจจะ เป็นพื้นฐานจะมีความรับผิดชอบต่องานที่ทำทุกอย่าง ไม่ปล่อยผ่านกับสิ่งที่ได้รับมา จะทำทุกสิ่ง ที่มาถึงมืออย่างสุดกำลัง และเต็มความสามาร.

ใหม่!!: บารมีและสัจจะ · ดูเพิ่มเติม »

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

ใหม่!!: บารมีและสัทธรรมปุณฑรีกสูตร · ดูเพิ่มเติม »

อุเบกขา

อุเบกขา (ภาษาบาลี: อุเปกขา ภาษาสันสกฤต: อุเปกษา) แปลว่า ความวางเฉย ความวางใจ เป็นกลาง อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่นไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแสหรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้เป็นต้น ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือเป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคงไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผลถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้.

ใหม่!!: บารมีและอุเบกขา · ดูเพิ่มเติม »

อธิษฐาน

อธิษฐาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: บารมีและอธิษฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ฌาน

น (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก.

ใหม่!!: บารมีและฌาน · ดูเพิ่มเติม »

ทาน

ทาน หมายถึง การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ วัตถุที่พึงให้ ทานที่แปลว่า การให้, การแบ่งปัน, การเสียสละ, การเอื้อเฟื้อ หมายถึงการให้ทานด้วยจิตใจที่ดีงาม มุ่งเพื่อบูชาพระคุณ เช่นที่ให้แก่บิดามารดา ถวายแก่พระสงฆ์ เป็นต้นบ้าง มุ่งเพื่อสงเคราะห์ เช่นที่ให้แก่คนตกทุกข์ได้ยาก ให้แก่คนทั่วไปด้วยความกรุณาสงสารบ้าง ทานที่แปลว่า วัตถุที่พึงให้ ย่อมาจาก "ทานวัตถุ" หมายถึงสิ่งของสำหรับให้สำหรับเสียสละให้ผู้อื่น ได้แก่สิ่งของที่ถวายพระ สิ่งของที่ควรนำไปให้เพื่อตอบแทนบุญคุณแก่ผู้มีพระคุณ เช่นพ่อแม่ ครู อาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ เรียกว่าไทยทาน บ้าง ไทยธรรม บ้าง มี 10 อย่าง ทานสูตร ได้แก่ อาหาร, น้ำ, เครื่องนุ่งห่ม, ยานพาหนะ, มาลัยและดอกไม้, ของหอม (ธูปเทียน), เครื่องลูบไล้ (สบู่เป็นต้น), ที่นอน, ที่อยู่อาศัย, และประทีป (ไฟหรือไฟฟ้า) การให้ทานวัตถุ 10 อย่างนี้มีผลอานิสงส์มากเพราะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์อย่างเดียว ไม่มีโทษ ไม่มีพิษภัยแก่ผู้รับ การเลือกของที่จะให้บัณฑิตสรรเสริญ ด้วยจิตใจที่ดีงาม ทานเป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า "ทานมัย" คือบุญที่เกิดจากการให้ เป็นสังคหวัตถุ คือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจกันไว้ได้ และเป็นบ่อเกิดแห่งบารมีที่เรียกว่า ทานบารมี การให้ทานมีวัตถุประสงค์สำคัญในการคลายความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ความโลภในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้เกิดความ ใส สว่าง สะอาดของจิตใจขึ้นม.

ใหม่!!: บารมีและทาน · ดูเพิ่มเติม »

ขันติ

ันติ (kṣānti',กษันติ) หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม.

ใหม่!!: บารมีและขันติ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญา

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย ในสังคีติสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่า ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ.

ใหม่!!: บารมีและปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

เมตตา

ในศาสนาพุทธ เมตตา เป็นหลักธรรมหนึ่งในพรหมวิหาร 4 ซึ่งประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา โดยเป็นปัจจัยให้เกิดพรหมวิหารอื่นได้.

ใหม่!!: บารมีและเมตตา · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: บารมีและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เนกขัมมะ

นกขัมมะ แปลว่า การออก, การออกบวช, และ ละเว้นจากการทำบาป ใช้คำว่า เนกขัม ก็มี เนกขัมมะ หมายถึงการละเหย้าเรือนออกไปบวชเป็นพระเป็นนักบวช, การละชีวิตทางโลกไปสู่ชีวิตอันบริสุทธิ์ เป็นการปลดเปลื้องตนจากโลกียวิสัยไปบำเพ็ญเพียรเพื่อความปลอดจากการทำบาป ปกติใช้เรียกการออกบวชของนักบวชทุกประเภทและใช้ได้ทั้งชายและหญิง เนกขัมมะ ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นบารมีอย่างหนึ่งเรียกว่า เนกขัมมบารมี คือบารมีที่เกิดจากการออกบว.

ใหม่!!: บารมีและเนกขัมมะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

บารมี 10

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »