โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระพุทธเจ้า

ดัชนี พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

407 ความสัมพันธ์: ชวาหะร์ลาล เนห์รูชัมภละบั้งไฟพญานาคบารมีบาตรบุญนิธิบุดดะชูชก กัณหา ชาลีชีวกโกมารภัจจ์ชีนบยูช้างเผือกพรหมภูมิพระพระบรมบรรพตพระบรมสารีริกธาตุพระบรมธาตุพระพุทธมหาทานพุทธะพระพุทธรูปพระพุทธสิกขีทศพลที่ 1พระพุทธอุทานพระกกุสันธพุทธเจ้าพระกษิติครรภโพธิสัตว์พระกัสสปพุทธเจ้าพระภัททากัจจานาเถรีพระภัททิยเถระพระมหากัจจายนะพระมหามัยมุนีพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์พระมหาเจดีย์ธรรมสถิตย์พระมังคลพุทธเจ้าพระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้าพระรามสัมพุทธเจ้าพระราหุลพระราหูพระลักษมณ์พระรามพระวัชรปาณีโพธิสัตว์พระวิปัสสีพุทธเจ้าพระศรีอริยเมตไตรยพระสมันตภัทรโพธิสัตว์พระสรณังกรพุทธเจ้าพระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคตพระสัทธรรมวิทยาตถาคตพระสิทธัตถพุทธเจ้าพระสิขีพุทธเจ้าพระสุชาตพุทธเจ้าพระสุมังคลสัมพุทธเจ้าพระสุมนพุทธเจ้าพระสุเมธพุทธเจ้าพระสงฆ์พระอมิตาภพุทธะ...พระอรหันต์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระอัสสชิเถระพระอัตถทัสสีพุทธเจ้าพระองคุลิมาลเถระพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าพระจูฬปันถกเถระพระธรรม (ศาสนาพุทธ)พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้าพระธรรมทัสสีพุทธเจ้าพระธาตุพระธาตุหลวงพระธาตุขามแก่นพระทีปังกรพุทธเจ้าพระคันธกุฎีพระตัณหังกรพุทธเจ้าพระติสสพุทธเจ้าพระติสสสัมพุทธเจ้าพระประภูตรัตนะพระปัจเจกพุทธเจ้าพระปิยทัสสีพุทธเจ้าพระปุสสพุทธเจ้าพระปทุมพุทธเจ้าพระปทุมุตรพุทธเจ้าพระนรสีหสัมพุทธเจ้าพระนันทะพระนารทพุทธเจ้าพระนารทสัมพุทธเจ้าพระนางตาราพระนิชิเร็งพระแก้วดอนเต้าพระแม่องค์ธรรมพระโพธิสัตว์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าพระโกนาคมนพุทธเจ้าพระโสภิตพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุพระไภษัชยคุรุทั้ง 7พระไตรปิฎกภาษาบาลีพระเมธังกรพุทธเจ้าพระเยซูพระเรวตพุทธเจ้าพระเวสสภูพุทธเจ้าพระเวทโพธิสัตว์พระเจ้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์พระเจ้าหุวิชกะพระเจ้าห้าพระองค์พระเจ้าจักรพรรดิพระเทวเทพสัมพุทธเจ้าพระเครื่องพะโคพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้พุทธบัญญัติพุทธพจน์พุทธมามกะพุทธรักษาญี่ปุ่นพุทธรัตนะพุทธวงศ์พุทธศาสนิกชนพุทธคยาพุทธเกษตรฎีกากบิลพัสดุ์กฐินกระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ)กวนอิมกามนิตการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยการจาริกแสวงบุญการขอฝนการคว่ำบาตร (ศาสนาพุทธ)การคิดวิเคราะห์การตัดขาดจากศาสนาการแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิการเดินทางข้ามเวลากาลทานกาสาวพัสตร์กุสินาราญาตัตถจริยาภาษาพม่าภิกษุภความกุฏพันธนเจดีย์มฤคทายวันมหาชาติมหายานมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหาสังฆิกะมหาปวารณามหาเวสสันดรชาดกมหีศาสกะมอญร้องไห้มุฮัมมัดมธุรัตถวิลาสินีมนตร์มเหสียักษ์ยุคยุคมืดของกัมพูชารหัสยลัทธิรัตนะรัตนตรัยราชคฤห์รายชื่อสถานที่สำคัญในสมัยพุทธกาลรายชื่อผู้ได้รับรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทยรายชื่อธงในประเทศกัมพูชารายพระนามพระพุทธเจ้าในอดีตรายพระนามเทวดาจีนรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยรายนามพระโพธิสัตว์รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 17ริเวอร์ ฟินิกซ์ลัทธิบัวขาวลัทธิอนุตตรธรรมลัทธิเซียนเทียนเต้าลงโบสถ์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรวัดบุปผาราม (จังหวัดตราด)วัดบูรพาภิรมย์วัดพระบรมธาตุวรวิหารวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารวัดพระพุทธวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารวัดพระธาตุช่อแฮวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารวัดพระธาตุจอมกิตติวัดพระธาตุจอมจ้อวัดพระธาตุจอมแจ้ง (แพร่)วัดพระธาตุดอยหยวกวัดพระธาตุดอยคำวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ววัดพระธาตุปูแจวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวงวัดพระธาตุแช่แห้งวัดพระธาตุเชิงชุมวัดพระแท่นศิลาอาสน์วัดพระแท่นดงรังวรวิหารวัดพระเขี้ยวแก้ววัดพานิชธรรมิการามวัดมหาพฤฒารามวรวิหารวัดมหาธาตุวัดราชบูรณะ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)วัดวังทองแดงวัดวังตะคร้อวัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย)วัดศรีบูรพาวัดศรีสมสนุกบ้านคุยวัดสว่างบึงทองวัดสะแล่งวัดสำปะซิววัดสำนักวัดสิริมหากัจจายน์วัดถ้ำเขาสายวัดดาวเรืองวัดคุ้งตะเภาวัดปฐมพานิชวัดใหญ่ชัยมงคลวัดโพธิสมพรวัดโพธิ์ชัยสามขาวัดโพธิ์ธาตุวัดไสยาศน์วัดไทยลุมพินีวัดเส้าหลินวัดเขาวงพระจันทร์วัดเขาสมโภชน์วันมาฆบูชาวันวิสาขบูชาวันออกพรรษาวันอัฏฐมีบูชาวันอาสาฬหบูชาวันโกนวันเข้าพรรษาวิญญูชน (ศาสนาพุทธ)วิริยะวิหารวิทยาราชวิปัสสนาธุระศักราชศาสดาศาสนาพุทธศาสนาพุทธกับจิตวิทยาศาสนาพุทธแบบทิเบตศาสนาแบบอินเดียศิรินุช เพ็ชรอุไรสมาธิ (ศาสนาพุทธ)สมโพธิ แสงเดือนฉายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสวนลุมพินีสะดึงสัทธรรมปฏิรูปสังกัสสะสังคายนาในศาสนาพุทธสังฆทานสังโยชน์สังเวชนียสถานสัตตมหาสถานสัปปุริสธรรมสาวกสาวัตถีสำนักสงฆ์ราวรังงามสิทธารถะสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพีสุรพร ใจรักสุขาวดีสุขาวดี (นิกาย)สีชมพูสถูปสาญจีสติ (จิตวิทยา)หญ้ากุศะหญ้าฝรั่นหมู่บ้านปิปราห์วาหลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกันหอพระแก้วหีนยานอกาลิโกอวตารอสัมปทานชาดกอสงไขยอะเดย์อัตตาอาทิพุทธะอาณาจักรในอินเดียโบราณอำเภอลองอำเภอลี้อำเภอแม่แจ่มอุปสมบทอุโบสถอจละอจินไตยอนันตริยกรรมอนาคาริก ธรรมปาละอนาคตวงศ์อนุพุทธะอนุโมทนากถาอเวจีฮีมานซู โซนิผงปถมังจังหวัดนครพนมจามรีจิตวิทยาเชิงบวกจิตตคหบดีธรรมบาลธรรมจักรธรรมคุปต์ธัมมจักกัปปวัตนสูตรธุดงค์ธงชาติทิเบตธงศาสนาพุทธถูปารหบุคคลทำวัตรทีกษาภูมิท้าววสวัตตีท้าวสักกะขบวนการ 969ดิอะเมซิ่งเรซ 4คันถธุระคืบพระสุคตคุยหลัทธิงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษตรัสรู้ตะกรุดตักบาตรเทโวติสรณคมนูปสัมปทาตู่พุทธพจน์ตถาคตตถาคตครรภ์ตปุสสะ ภัลลิกะต้นพระศรีมหาโพธิ์ฉัพพรรณรังสีซันเฉียซูเปอร์ฮีโรปฏิบัติบูชาปฐมเทศนาประวัติพระพุทธเจ้าประวัติศาสตร์อินเดียประวัติศาสตร์เภสัชกรรมประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุปรัชญาปารมิตาปราสาทนาคพันธ์ปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิปรินิพพานปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอลปัพพาชนียกรรมปัญญาสชาดกปัญจวัคคีย์ปาพจน์ปาฏิปุคคลิกทานปางพระพุทธรูปปางพระเกศธาตุปางอุ้มบาตรปางปฐมเทศนาปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ปางโปรดพุทธบิดาปุจฉาวิสัชนานกการเวก (เทพปกรณัม)นกกาเหว่านกยูงนกต้อยตีวิดนรกภูมินวกรรมนวังคสัตถุศาสน์นาคนาคารชุนะนิทานนิคหกรรมนครวัดแฟนพันธุ์แท้ 2002แก่นพุทธศาสน์แก้วสามประการแมงสี่หูห้าตาแทนคุณ จิตต์อิสระโกลาหลโรคถ้ำมองโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาโรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษาโลโกตตรวาทโจ๊กโคราฆปุระไกรไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็นไทหย่าไทโคราชไดซะกุ อิเกะดะไดโงะฮนซงไตรลักษณ์ไซอิ๋วไซอิ๋ว 3D ตอน กำเนิดราชาวานรไซคลอปส์ คีกันต์เบญจศีลเชียงรุ่งเรลิกเวอร์โก้ ชากะเสาอโศกเสาตรานติกะเสถียร โพธินันทะเสน่ห์เห้งเจียเอหิภิกขุอุปสัมปทาเอตทัคคะเทวทหะเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์เทศกาลกินเจเทศนาวิธีเคอานู รีฟส์เง็กเซียนฮ่องเต้เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5TITV Everest 200715 พฤษภาคม15 ค่ำ เดือน 11 ขยายดัชนี (357 มากกว่า) »

ชวาหะร์ลาล เนห์รู

วาหะร์ลาล เนห์รู (जवाहरलाल नेहरू ชวาหรลาล เนหรู; Jawaharlal Nehru; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 – 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1964) รัฐบุรุษของอินเดีย และนายกรัฐมนตรีคนแรก หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 17 ปี ตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและชวาหะร์ลาล เนห์รู · ดูเพิ่มเติม »

ชัมภละ

วาดของ Tamonten, ผู้เป็นจตุโลกบาลทางทิศเหนือเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ชัมภละ เป็นเทพเจ้าที่ชาวทิเบตให้ความเคารพนับถือมาก่อนจะนับถือพุทธศาสนา โดยเป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง เมื่อหันมานับถือพุทธศาสนาแล้ว เทพชัมภละกลายเป็นยิดัมสังกัดรัตนโคตร รูปบูชาของท่านเป็นเพศชาย กายสีน้ำเงิน มี 6 แขน รูปร่างอ้วน ถือเพชรนิลจินดาหรือถุงเงิน บางแห่งกำหนดให้เป็นภาคสำแดงของกุเวระหรือมหากาฬ อิตถีภาวะของชัมภละคือวสุธาราถือว่าเป็นเทวีแห่งแผ่นดิน กายสีเหลือง มีแขน 2-6 ข้าง ตามแต่ความเชื่อ ถือรวงข้าวและอุ้มแจกันใส่เพชรพลอย ในเนปาลมีกายสีขาว ถือรวงข้าว ปีกนกยูงและลูกศร เชื่อกันว่าท่านเป็นเทพีแห่งโลกที่เป็นประจักษ์พยานในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและบิดน้ำออกจากมวยผมเพื่อขับไล่พวกมาร เช่นเดียวกับพระธรณีตามความเชื่อของชาวพุทธในไท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและชัมภละ · ดูเพิ่มเติม »

บั้งไฟพญานาค

กล่าวกันว่าบั้งไฟพญานาคเป็นดวงไฟที่พุ่งขึ้นกลางลำน้ำโขง (ภาพจำลอง) ภาพถ่ายกระสุนส่องวิถีเปิดหน้ากล้องนาน 30 วินาที ในคืนวันออกพรรษาปี 2555 ที่บ้านตาลชุม อำเภอรัตนวาปี บั้งไฟพญานาค หรือก่อนปี 2529 เรียก บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ที่กล่าวกันว่าเห็นที่แม่น้ำโขง ลักษณะเป็นลูกกลมเรืองแสงลอยขึ้นจากน้ำขึ้นไปในอากาศ จำนวนลูกไฟมีรายงานระหว่างหลายสิบถึงหลายพันลูกต่อคืน บั้งไฟพญานาคเกิดช่วงวันออกพรรษาทุกปี ในปี 2555 ผู้จัดการออนไลน์ ลงข่าวที่มีช่างภาพไปถ่ายภาพบั้งไฟพญานาค ช่างภาพเล่าว่า จากสายตาพวกเขาเห็นตรงกันว่าลูกไฟนั้นขึ้นจากน้ำ แต่ภาพที่บันทึกด้วยการเปิดหน้ากล้อง 5–30 วินาทีเป็นภาพต่อเนื่องเหมือนเลเซอร์ซึ่งมีจุดเริ่มอยู่บนบกของฝั่งลาวที่ห่างจากไทยประมาณ 1 กิโลเมตร ช่างภาพอีกคนว่า บริเวณที่จัดไว้ให้ชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคนั้นมืดมาก ในปี 2558 มีผู้คาดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้มีเงินสะพัดกว่า 150 ล้านบาท นอกจาก "บั้งไฟพญานาค" แล้ว ยังมีปรากฏารณ์ลูกไฟโดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในบริเวณอื่นของโลก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและบั้งไฟพญานาค · ดูเพิ่มเติม »

บารมี

รมี (pāramī; pāramitā) ปฏิปทาอันยวดยิ่ง มีความหมาย 2 ประการ ประการแรก คือ บรม แปลว่าดีเลิศ สูงสุด และประการต่อมาหมายถึง การไป คือ ไปให้ถึงอีกฝังหนึ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและบารมี · ดูเพิ่มเติม »

บาตร

ตรพระ บาตรเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร เป็นของที่พระภิกษุและสามเณรใช้ในการบิณฑบาต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและบาตร · ดูเพิ่มเติม »

บุญนิธิ

ญนิธิ (อ่านว่า บุน-นิ-ทิ) แปลว่า ขุมทรัพย์คือบุญ หมายถึง บุญที่ทำสะสมไว้มาก ๆ จนพอกพูนเป็นบุญกองใหญ่ ท่านเปรียบบุญเหมือนกับขุมทรัพย์ด้วยเหตุผลว่า ขุมทรัพย์นั้นสามารถนำประโยชน์มาให้แก่ผู้เป็นเจ้าของได้มาก เช่นนำมากินใช้ นำมาปกป้องกำจัดปัดเป่าอันตรายทั้งปวงได้ และอยู่กับที่ไม่ถูกทำลายได้ง่าย บุญก็มีลักษณะเช่นนั้น คือเป็นสมบัติส่วนตัวของผู้ทำ โจรลักไปไม่ได้ น้ำท่วมไม่ได้ ติดตามอำนวยผลให้ผู้ทำไปทุกภพทุกชาติ ทำให้เจ้าของบุญได้เสวยผลบุญตลอดเวลา ทำให้ได้สมบัติที่ชอบใจทั้งปวง ทำให้ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ แม้ความปรารถนาจะเป็นพระอรหันต์ เป็นพระพุทธเจ้าก็สำเร็จได้ด้วยบุญน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและบุญนิธิ · ดูเพิ่มเติม »

บุดดะ

"บุดดะ" (เป็นชื่อของผลงานมังงะ (นิยายภาพ) ของเทะซึกะ โอะซะมุ ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเดียวของเขาที่สร้างขึ้นเพื่อตีความพุทธประวัติของพระสิทธัตถะโคดมพุทธเจ้า ศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ ข้อวิจารณ์ที่มังงะเรื่องนี้ได้รับบ่อยครั้งเป็นเรื่องของความกล้าของผู้ประพันธ์ในการตีความพุทธประวัติใหม่ให้แตกต่างจากที่บันทึกไว้ในวงการศาสนา มังงะเรื่องนี้ได้รับรางวัลบุงเงชุนจู มังงะ อวอร์ด ในปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและบุดดะ · ดูเพิ่มเติม »

ชูชก กัณหา ชาลี

ูชก กัณหา ชาลี เป็นภาพยนตร์ไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติสุดท้ายในทศชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นเรื่องการเผยแผ่ทานบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยบริษัท ไทยสากลธุรกิจ จำกัด ของ ณรงค์ สันติสกุลชัยพร กำกับการแสดงโดย รัตน์ เศรษฐภักดี นำแสดงโดยสมบัติ เมทะนี ในบทบาทพระเวสสันดร ร่วมด้วย พิศมัย วิไลศักดิ์ ในบทพระนางมัทรี ส่วนบทชูชก รับบทโดย ประพัตร์ มิตรภักดี และนางอมิตาดา ภรรยาของชูชกรับบทโดย สุชีรา สุภาเสพ สำหรับกัณหาและชาลี รับบทโดย 2 พี่น้อง..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและชูชก กัณหา ชาลี · ดูเพิ่มเติม »

ชีวกโกมารภัจจ์

หมอ ชีวกโกมารภัจจ์ (อ่านว่า ชี-วะ-กะ-โก-มา-ระ-พัด) บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เรื่องราวขีวิตของท่านมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ตลอดชีวิตของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้บำเพ็ญแต่คุณงามความดี ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้โดยไม่เลือกฐานะ จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งปวงในทาง "เป็นที่รักของปวงชน".

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและชีวกโกมารภัจจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีนบยู

วนแห่พิธีชีนบยูที่มัณฑะเลย์ การแต่งกายของผู้เข้าพิธีชีนบยู ชีนบยู (สามารถออกเสียงว่า ชีนปยู) เป็นพิธีกรรมของชาวพม่า โดยเฉพาะเด็กชายในช่วงที่ก่อนจะบวชเป็นสามเณร ในศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท พิธีชีนบยู หมายถึงการเฉลิมฉลองเครื่องหมายของสามเณร เมื่อเสร็จพิธีแห่ชีนบยูเด็กชายผู้เข้าร่วมพิธีกรรมจะเข้าบวชเป็นสามเณร เป็นการบวชของเด็กชายอายุต่ำกว่า 20 ปี พิธีชีนบยูถือเป็นหน้าที่สำคัญของบิดา มารดาที่ต้องทำให้บุตรชายของตน โดยการปล่อยให้บุตรของตนออกตามรอยคล้ายตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบวช และให้ประพฤติตนอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าสำหรับพิธีกรรมชาวพม่าส่วนใหญ่นิยมจัดระยะสั้น หรือบางส่วนนิยมจัดตอนบวชเป็นพระสงฆ์ต่อเมื่ออายุครบ 20 ปี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและชีนบยู · ดูเพิ่มเติม »

ช้างเผือก

้างเผือกปัจจัยนาเคนทร์ในจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์หิมพานต์ ช้างเผือก (White Elephant) คือช้างที่มีลักษณะต่างจากช้างธรรมดาทั่วไป ด้วยมีนัยน์ตา และเล็บสีขาว รวมถึงสีผิวที่อ่อนกว่าช้างธรรมทั่วไป อาจจะเป็นสีชมพูหรือสีขาวก็ได้ โดยที่มิใช่เป็นสัตว์เผือก จัดได้ว่ามีลักษณะที่หาได้ยาก จึงเป็นที่เชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ และเป็นเครื่องมงคลชนิดหนึ่งในสัปตรัตนะแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว (ช้างเผือก ชื่อ อุโบสถ) ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คฤหบดีแก้ว และ ปรินายกแก้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

พรหมภูมิ

อรูปพรหม (ฉบับกรุงศรี) พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก ถือเป็นดินแดนของพระพรหม ซึ่งเป็นภพภูมิที่สถิตย์อยู่เสวยสุขของพระพรหมผู้อุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่ความสุขอันเกิดจากฌานเท่านั้น (แบ่งชั้นตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุ) ในภพภูมินี้ตามคัมภีร์กล่าวว่าปราศจากความสุขที่เนื่องด้วยกามราคะ พรหมภูมิอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ รูปพรหม และ อรูปพรหม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพรหมภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

พระ

ระ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระ · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมบรรพต

รมบรรพต หรือ ภูเขาทอง เป็นเจดีย์บนภูเขาจำลองตั้งอยู่ในวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร จากพระราชประสงค์เดิมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงดำริให้สร้างพระปรางค์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกของพระนคร คล้ายพระเจดีย์วัดภูเขาทองที่กรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องจากโครงสร้างมีน้ำหนักมาก ดินเลนในบริเวณนั้นไม่สามารถรองรับได้ องค์ปรางค์จึงทะลายลงมา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแบบให้เป็นภูเขาทองขึ้นดั่งเช่นในปัจจุบัน ซึ่งพระองค์ได้ทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระบรมบรรพต · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมสารีริกธาตุ

ระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานเมล็ดข้าวสาร พระบรมสารีริกธาตุ (शरीर; Śarīra) เรียกโดยย่อว่าพระบรมธาตุ คือ พระอัฐิของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนปรินิพพาน ให้คงเหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธบริษัท พระบรมธาตุมีสองลักษณะคือ พระบรมธาตุที่ไม่แตกกระจาย และที่แตกกระจาย มีขนาดเล็กสุดประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด ชาวพุทธเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุดในศาสนาพุทธ จึงนิยมกระทำการบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ โดยเชื่อว่ามีอานิสงส์ประดุจได้กระทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งนี้ คำว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" เป็นศัพท์เฉพาะใช้เรียกเฉพาะพระธาตุของพระพุทธเจ้า หากเป็นของพระอรหันตสาวกจะเรียกว่า "พระธาตุ" เท่านั้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระบรมสารีริกธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมธาตุ

ระบรมธาตุ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระบรมธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธมหาทานพุทธะ

พระพุทธมหาทานพุทธะ หรือ องค์พระแก้วเรืองใส (1988-ปัจจุบัน) เป็นพระพุทธรูปประจำสถานมหาทาน ซึ่งชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า พระใส ชาวบ้านเชื่อกันว่า พระใสตั้งแต่โบราณ กำเนิดมาจากหินเรืองแสงที่มีออร่ามาก และในสมัยนั้นพระพุทธเจ้าในสมัยนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นจึงตรัสว่า ต่อไปหินดังกล่าวนี้จะเป็นหินอัศจรรย์ ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน ผ่านมาหลายยุคกาล หินดังกล่าวก็กลายเป็นพุทธรูปใส ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ โซล เกาหลีใต้ หมวดหมู่:พระพุทธรูป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระพุทธมหาทานพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธรูป

ระพุทธรูป หมายถึง รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่างๆ เช่น ศิลา งา ไม้ หรือวัสดุอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้การปั้นหรือหล่อด้วยโลหะก็ได้ โดยทั่วไป คำว่า พระพุทธรูปมักจะหมายถึง รูปขนาดใหญ่พอที่จะวางบูชาได้ สำหรับรูปขนาดเล็กมักจะเรียกว่า พระเครื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบสามารถเรียกว่า พระพุทธรูป ได้เช่นกัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระพุทธรูป · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธสิกขีทศพลที่ 1

ทธศาสนิกชนบางกลุ่มในประเทศไทยเชื่อว่า พระพุทธสิกขีทศพลที่ 1 หรือ สมเด็จองค์ปฐม คือพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระองค์แรกในโลก เมื่ออสงไขยนับไม่ถ้วนก่อนหน้าพระโคตมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกทั้งของนิกายเถรวาทและมหายาน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระพุทธสิกขีทศพลที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธอุทาน

ระพุทธอุทาน หรือ พุทธอุทาน คือคำอุทานของพระพุทธเจ้า ที่เปล่งออกจากพระโอษฐ์ด้วยความปีติโสมนัสด้วยมหากิริยาจิต (จิตที่ไม่ประกอบด้วยกิเลส ทั้งกุศลและอกุศล) พระพุทธเจ้าทรงเปล่งพระพุทธอุทานหลายครั้งตลอดพระชนมชีพของพระองค์ ซึ่งบางครั้งเป็นบทประพันธ์คาถา บางครั้งเป็นคำตรัสร้อยแก้วแบบธรรมดา ซึ่งคาถาอุทานที่พระองค์ตรัสไว้มีจำนวนมากต่างกรรมต่างวาระกัน ทำให้การปฐมสังคายนาพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าหลังพุทธปรินิพพาน ต้องมีการแยกหมวดหมู่สำหรับรวบรวมพระพุทธพจน์ที่เป็นพระพุทธอุทานไว้โดยเฉ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระพุทธอุทาน · ดูเพิ่มเติม »

พระกกุสันธพุทธเจ้า

ระกกุสันธพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 22 ในพุทธวงศ์ แต่เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกในภัทรกัปนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระกกุสันธพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระกษิติครรภโพธิสัตว์

ระกษิติครรภโพธิสัตว์ (อ่านว่า /พฺระ-กะ-สิ-ติ-คับ-พะ-โพ-ทิ-สัด/, क्षितिगर्भ;; กฺษิติครฺภ) เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นพระภิกษุมหายาน นามของพระโพธิสัตว์องค์นี้อาจแปลได้ว่า "ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Treasury"), คลังแห่งแผ่นดิน ("Earth Store"), "บ่อเกิดแห่งแผ่นดิน"("Earth Matrix"), หรือ "ครรภ์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Womb") พระกษิติครรภโพธิสัตว์ได้รับมอบหมายจากพระศากยมุนีพุทธเจ้าให้เป็นผู้แสดงธรรมโปรดสัตว์ในกามภูมิ 6 ในช่วงที่พระองค์ปรินิพพานไปแล้วและพระศรีอริยเมตไตรยยังไม่ได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระกษิติครรภมีปณิธานสำคัญในการช่วยสัตวโลกทั้งหมดให้พ้นจากนรกภูมิ หากนรกยังไม่ว่างจากสัตว์นรกก็จะยังไม่ขอตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสัตว์ผู้ทุกข์ยากในอบายภูมิ มีนรกทั้งปวง เป็นต้น เช่นเดียวกับการเป็นผู้คุ้มครองเด็กทั้งหลาย และเทพอุปถัมภ์ของเด็กที่เสียชีวิตและทารกที่ตายจากการแท้งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น รูปลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ปกติมักทำเป็นรูปพระภิกษุมหายาน มีรัศมีเปล่งรอบพระเศียรซึ่งปลงพระเกศาแล้ว หัตถ์หนึ่งทรงจับไม้เท้าซึ่งใช้เปิดประตูนรก อีกหัตถ์หนึ่งทรงถือแก้วจินดามณี (แก้วสารพัดนึก) เพื่อประทานแสงสว่างท่ามกลางความมืด สำหรับในประเทศไทยเอง มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย (佛眼禪林弘法基金會:地藏道場) พุทธมณฑลสาย 6 ได้สร้างวัดหรือธรรมสถาน เพื่ออุทิศแด่องค์พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์โดยเฉพาะ โดยสร้างองค์พระกษิติครรภ์ ด้วยหินแกรนิตแกะสลักสูงรวมฐาน 13.99 เมตร และพระกษิติครรภ์ 6 ปาง ที่มีคติมาจากปุณฑริกสมาธิสูตร (蓮華三昩經) ที่ว่าพระกษิติครรภ์นิรมาณกายไปโปรดสัตว์ทั้ง 6 ภูมิ พร้อมพญายมราชทั้ง 10 ซึ่งในสูตรฝ่ายมหายานกล่าวว่า เป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ 10 พระองค์ นิรมาณกายมาโปรดสัตว์ และปฏิมากรรมหินแกะสลักนายนิรยบาล เป็นหินแกะสลักสูงใหญ่กว่าคนอีกรวมทั้งสิ้น 25 องค์โดยช่างฝีมือจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคติของพุทธมหายานแบบจีน และเผยแพร่กษิติครรภโพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (地藏本願經) และ กษิติครรภ์โพธิสัตว์ทศจักรสูตร (地藏十輪經) ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของพระกษิติครรภ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกษิติครรภมณฑล ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระกษิติครรภโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระกัสสปพุทธเจ้า

ระกัสสปะพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์นี้ ทรงจุติลงมาในโลกมนุษย์หลังจากสิ้นสุดศาสนาของพระโกนาคมพุทธเจ้าแล้ว โดยนับตั้งแต่อายุมนุษย์ลดลงจากสองหมื่นปีเหลือ 10 ปี แล้วเพิ่มขึ้นจนถึงสองหมื่นปีอีกครั้ง พระองค์จึงเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระกัสสปพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระภัททากัจจานาเถรี

ตำหนักพระนางพิมพา พระภัททากัจจานาเถรี หรือพระนามเดิม พระนางยโสธรา (พระนางพิมพา หรือ พระนางยโสธราพิมพา) เป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระนางได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีและบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระภัททากัจจานาเถรี · ดูเพิ่มเติม »

พระภัททิยเถระ

ระภัททิยะ หรือ พระภัททิยเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก พระภัททิยะ เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระภัททิยเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากัจจายนะ

รูปปั้นของพระมหากัจจายนะหรือพระสังกัจจายน์ พระมหากัจจายนะ (มหากจฺจายน, มหากาตฺยายน) เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระอสีติมหาสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร ในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระสังกัจจายน์" หรือ "พระสังกระจาย" พระมหากัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งในกรุงอุชเชนี ได้ศึกษพระเวทตามอย่างตระกูลพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเป็นศิษย์ของอสิตดาบสแห่งเขาวินธัย (ผู้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธิตถะจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือพระพุทธเจ้าในอนาคต) พระมหากัจจายนะพร้อมด้วยมิตรอีก 7 คนได้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมเทศนา และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในระหว่างฟังธรรมนั้นเอง หลังจากนั้นท่านจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า และได้เผยแผ่ศาสนาพุทธอยู่ในแคว้นอวันตีจนมีผู้เข้ามาเป็นสาวกในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร บรรพที่ 6 ว่าด้วยการพยากรณ์ ได้กล่าวถึงพุทธพยากรณ์ว่า พระมหากัจจายนะ พระสุภูติ พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ (ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น) หลังจากได้สดับพระสูตรนี้แล้ว จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระมหากัจจายนะ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหามัยมุนี

ระมหามัยมุนี หรือ มหาเมียะมุนี (မဟာမြတ်မုနိ ရုပ်ရှင်တော်မြတ်ကြီး) เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศพม่า และเป็นหนึ่งในห้าศาสนวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ของพม่า คำว่า มหามัยมุนี แปลว่า "ผู้รู้อันประเสริฐ" (The Great Sage) เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ อดีตราชธานีของพม่าในยุคราชวงศ์คองบอง เดิมทีเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของยะไข่ มีตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาลโดยกษัตริย์แห่งเมืองยะไข่ องค์พระทำจากทองสัมฤทธิ์หนัก 6.5 ตัน มีการสร้างบนฐานสูง รวมองค์พระมีความสูงทั้งหมดกว่า ไหล่กว้าง และรอบเอวกว้าง Schober, p.263 ก่อนสร้างกษัตริย์ผู้สร้างทรงพระสุบินว่า พระพุทธเจ้า เสด็จมาประทานพรให้พระพุทธปฏิมาองค์นี้เป็นตัวแทนของพระองค์ เพื่อเป็นเครื่องสืบพระพุทธศาสนาไปในภายภาคหน้าSchober, p.268 โดยในอดีตแม้เมืองยะไข่จะถูกโจมตีโดยกษัตริย์เมืองอื่นที่ทรงแสนยานุภาพอย่างไร ก็ไม่อาจที่จะเคลื่อนย้ายองค์พระมหามัยมุนีนี้ออกจากเมืองได้ ต้องมีเหตุให้ขัดข้องทุกครั้งไป จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเจ้าปดุง แห่งราชวงศ์คองบองสามารถตียะไข่ได้ และได้อัญเชิญพระมหามัยมุนีออกจากยะไข่ได้ในปี พ.ศ. 2327 โดยล่องมาตามแม่น้ำอิระวดีมายังเมืองมัณฑะเลย์ พระมหามัยมุนีจึงได้มาประดิษฐานอยู่ที่เมืองมัณฑเลย์เป็นการถาวรนับแต่นั้นเป็นต้นมา ด้วยความเชื่อว่าพระพุทธมหามัยมุนีนี้เป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต ด้วยเหตุที่ได้รับประทานพร หรือบางตำนานก็กล่าวว่าได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า จึงมีประเพณีล้างพระพักตร์ถวายโดยทุกเช้าในเวลาประมาณ 04.00 น. พระมหาเถระและสาธุชนทั่วไปที่ศรัทธาจะมาทำพิธีล้างพระพักตร์ด้วยน้ำอบน้ำหอมผสมทานาคาอย่างดี พร้อมกับใช้แปรงทองแปรงที่พระโอษฐ์เสมือนหนึ่งแปรงพระทนต์ถวายพระพุทธเจ้า ก่อนใช้ผ้าจากศรัทธาสาธุชนที่ถวายมาเช็ดจนแห้งสนิท แล้วนำกลับคืนแก่สาธุชนผู้นั้นไปบูชาต่อ พร้อมใช้พัดทองโบกถวายเป็นอันดี เสมือนหนึ่งได้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังทรงพระชนมชีพอยู่ อนึ่ง องค์พระมหามัยมุนีมีการปิดทองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนเป็นรอยย่นตะปุ่มตะป่ำไปทัวทั้งองค์ ซึ่งหากเอานิ้วกดลงไปจะรู้สึกได้ถึงความอ่อนนิ่มของทองคำเปลวที่ปิดทับซ้อนกันนับเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ ชั้น ตลอดระยะเวลาเนิ่นนานหลายศตวรรษ ทำให้พระมหามัยมุนีมีอีกพระนามหนึ่งว่า "พระเนื้อนิ่ม" แต่น่าแปลกที่ว่าแม้จะมีการปิดทองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนองค์พระใหญ่ขึ้นเพียงใดก็ตาม แต่พระพักตร์ขององค์พระมหามัยมุนีก็ยังแลดูใหญ่ตามองค์พระอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งที่ไม่ได้มีการปิดทองที่องค์พระพักตร์เลยแม้แต่น้อย สำหรับในประเทศไทย ที่วัดหัวเวียง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ได้มีองค์พระจำลองของพระมหามัยมุนีนี้เป็นพระประธานของวัด และอีกองค์หนึ่งคือพระมหามัยมุนีสายสัมพันธ์ 2 แผ่นดิน ที่ ประดิษฐานพลับพลาชั่วคราว ณ วัดพระธาตุดอยแต ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งมีขนาดเท่าองค์จริง และได้ทำพิธีในวัดพระมหามัยมุนีองค์จริงโดยพระสังฆนายกแห่งประเทศพม่า และได้มอบให้พระสงฆ์เมืองมัณฑะเลย์ จำนวน 108 รูป ทำพิธีตลอด 3 วัน (14-16 มีนาคม 2557) และได้อัญเชิญมาประเทศไทยเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่าง 2 ประเทศ และทุกเช้าวันพระจะมีพิธีสรงพระพักตรโดยพระสงฆ์ผู้ได้รับมอบหมายจากประเทศพม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระมหามัยมุนี · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์

ระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์อัครสาวกของพระอมิตาภพุทธะเช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า ใกล้เคียงกับความหมายของพระสมันตภัทรโพธิสัตว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาเจดีย์ธรรมสถิตย์

รรมสถิตย์ เป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งมีความหมายว่า “สถานที่ตั้งแห่งธรรมะ” คณะสงฆ์และคณะกรรมการ วัดป่าเลไลยก์ เห็นสมควรที่จะใช้ชื่อนี้ เพราะ วัดป่าเลไลยก์ จะได้เป็นสถานที่สถิตย์อยู่ของพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ชาวพุทธผู้ศรัทธาได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนค้นคว้า ฝึกปฏิบัติขัดเกลาตน ที่นี้ พระมหาเจดีย์ธรรมสถิตย์ ได้ออกแบบก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทยเป็นอนุสรณ์ของเราชาวพุทธทั้งหลายให้ได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมคำสอนของพระองค์ ทางวัดป่าเลไลยก์จึงได้ก่อสร้างพระมหาเจดีย์ธรรมสถิตย์นี้ ถัดไปจากอุโบสถหลังเดิม แยกเป็นสัดส่วนได้ดังนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระมหาเจดีย์ธรรมสถิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมังคลพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระโกณฑัญญะพุทธเจ้าอันตรธานไป เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติถึงอสงไขยหนึ่ง เรียกว่า ภาละอสงไขย ล่วงมาถึงสารมัณฑกัปหนึ่ง จึงมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น 4 พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกในสารมัณฑกัปนี้ทรงพระนามว่า พระมังคละพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระมังคลพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า

ระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า มีปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ว่า หลังจากหมดยุคศาสนาของพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้าแล้ว เกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเลยอยู่นานถึง 8 กัปป์ หลังจากนั้นเกิดแผ่นดินใหม่ ชื่อว่า มัณฑกัปป์ จะมีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์บังเกิดขึ้น องค์แรก คือ พระนารทะสัมพุทธเจ้า องค์ถัดไปคือ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า ในสมัยพระสมณโคตมะพุทธเจ้า นี้ ท่านคือ โสณพราหมณ์ โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวด โดยมีปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นมาณพ ชื่อว่า มาฆมานพ อาชีพเป็นพ่อค้าทางเรือสำเภา วันหนึ่ง นำของชิ้นหนึ่งไปขายได้กำไร 10 เท่าและนำเงินทองที่ได้มานั้นใส่เรือ แต่ประสบเหตุเรือล่ม ทรัพย์สินที่ได้มาจมหายทั้งหมด แต่ตัวเองสามารถเอาตัวรอดมาได้ ครั้นต่อมา ก็นำของชนิดเดิมไปขายอีกได้กำไร 10 เท่าอีก นำทรัพย์กลับมาบ้านได้ 7 วันก็เพลิงไหม้ บ้านและทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก ต่อมาก็นำสินค้าชนิดเดิมไปขายก็ได้กำไรมา 10 เท่าแต่ว่าพอนำทรัพย์กลับมาบ้านแล้ว กลับถูกโจรปล้นทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมด แต่ก็ยังไม่ละความพยายามนำของชิ้นเดิมไปขายอีก ก็ได้กำไร 10 เท่าอีกเช่นเดิม แต่คราวนี้พอนำเงินกลับมาบ้าน ก็ถูกเรียกเก็บทรัพย์สินทั้งหมดนั้นเข้าสู่ท้องพระคลัง มาฆมาณพ เมื่อเสียทรัพย์ถึง 4 ครั้งก็ทะเลาะกับภรรยา จนถึงขั้นต้องหย่าร้างกัน ได้ทรัพย์สินจากการแบ่งกับภรรยาเป็นผ้าแดง 1 ผืน และทอง 1 แสน ออกจากบ้านเดินทางไปเรื่อยๆ จนถึงเมืองโกสัมพี ครั้งนั้น มีพระสาวก รูปหนึ่งของ พระกกุสันธะพุทธเจ้า ออกจากญาณสมาบัติ ก็ตรวจดูสรรพสัตว์ ด้วยทิพยจักษุ ก็พบ มาฆมาณพ เข้าข่ายญาณก็ทราบว่าอนาคตจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เหาะไปโปรดในทางที่มาณพกำลังเดินทางมา เมื่อมาณพเดินมาพบพระสาวกนี้ ก็เกิดเลื่อมใส จิตใจปลาบปลื้ม จึงได้ถวายทรัพย์สินทั้งหมดและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระสาวกได้รับของและกล่าวอนุโมทนาแล้ว ก็เหาะกลับไป ในที่ที่ถวายทานเกิดต้นกัลปพฤกษ์ 1 ต้น และมาณพนั้นก็ได้อาศัยต้นไม้นี้เลี้ยงชีพสืบมา วันหนึ่งกษัตริย์เมืองโกสัมพี พร้อมทั้งเหล่าข้าราชบริพาร เสด็จผ่านมาเห็นมาณพอยู่ใต้ต้นกัลปพฤกษ์ ก็เกิดความสนใจเข้าไปทอดพระเนตร ก็ถูกเทวดา ที่ทำหน้าที่รักษาอยู่ไม่ให้เข้าไป พระองค์จึงทรงกริ้ว สั่งให้ทหารทำการเผา แต่ก็เกิดมีดอกบัวเกิดขึ้นมารองรับมาณพนั้น จึงสั่งให้ทหารจับมาณพ ไปโยนทิ้งลงน้ำ ก็เกิดอัศจรรย์มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ ทำให้มาณพนั้นไม่ได้รับอันตรายใดๆ กษัตริย์จึงถามกับมาณพนั้นว่า ใครให้ต้นกัลปพฤกษ์มา มาณพจึงเล่าความจริงให้ฟัง แต่กษัตริย์ไม่เชื่อ รับสั่งให้มาณพนำพระสาวกรูปนั้นมายืนยัน มาณพจึงอธิษฐานถึงพระสาวกนั้น พระสาวกรูปนั้นทราบด้วยทิพยจักษุ ก็เหาะมาและบอกกล่าวถึงโทษของการประทุษร้ายมาณพนี้ จะทำให้บ้านเมืองจมลงในแผ่นดิน กษัตริย์ได้ฟังดังนั้นก็กลัว จึงขอโทษและยกให้มาณพเป็นน้องชายของพระองค์ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง 60 ศอก มีพระชนมายุ 5 พันปี และมีพระพุทธรัศมีสีทอง สว่างทั้งกลางวันและกลางคืน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระรามสัมพุทธเจ้า

ระรามะสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ กล่าวถึงว่า หลังจากที่หมดยุคศาสนาของ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่นดินถูกทำลาย และได้เกิดแผ่นดินใหม่จนนับไม่ถ้วนแล้ว จนถึงแผ่นดินใหม่เรียกว่า มัณฑกัปป์มีพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นมา 2 พระองค์ได้แก่ พระรามะสัมพุทธเจ้า และพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้นต้องบำเพ็ญบารมี อย่างยิ่งยวด โดยพระรามะสัมพุทธเจ้า พระองค์นี้ ครั้งหนึ่งย้อนกลับไปในสมัย พระกัสสปะพุทธเจ้า พระองค์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ชื่อว่า นารทมาณพ วันหนึ่งได้พบกับ พระกัสสปะพุทธเจ้า เกิดความยินดี เลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงทำการสักการบูชาด้วยการใช้ผ้า 2 ผืนชุบน้ำมันพันตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าทั้ง 2 ข้าง และจุดไฟ ถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงเวลาเช้ามืด ครั้นนารทมาณพดับจิตแล้วได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตและจุดที่ทำการเผาร่างกายนั้นบังเกิดดอกบัวผุดขึ้น ครั้งนั้น พระกัสสปะพุทธเจ้า จึงตรัสพยากรณ์ว่า มาณพนี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในมัณฑกัปป์นี้ ด้วยอานิสงส์ที่บูชาร่างกายเป็นปรมัตถบารมีนี้จึงทำให้พระองค์มีพระวรกายสูง 80 ศอกและมีพระชนมายุ 9 หมื่นปี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระรามสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระราหุล

ระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า "'ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมารทรงตั้งพระนามโอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า "ราหุล" อันแปลว่า "บ่วง" อย่างไรก็ดี ตามพระวินัยของนิกายสรวาสติวาทว่าพระนาม "ราหุล" มิได้มาจากรากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "บ่วง" แต่มาจากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "จันทรคราส" หรือที่ในภาษาไทยว่า "ราหู" อนึ่ง ในพระไตรปิฎกพระธรรมบท มีตอนหนึ่งว่า ความปิติปราโมทย์ที่บุรุษได้รับจากภริยาและบุตร คือ "ราหุ" (แปลว่า "บ่วง") ที่ร้อยรึงชีวิตครอบครัวผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าทุกข์หรือสุข พระราหุลกุมารทูลขอราชสมบัติจากพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและเสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ แคว้นมคธ ก็ทรงนิวัติกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระบิดาและพระญาติประยูร และมีเหล่าสาวกติดตามเสด็จมาด้วย วันหนึ่งพระนางยโสธราทรงได้พระราหุล และมีรับสั่งให้พระกุมารราหุลไปทูลขอพระราชสมบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาพระราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย พระกุมารราหุลจึงเป็นสามเณรรูปแรกในพุทธศาสนา พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าวพระราหุลได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงเสียพระทัยมาก เพราะทรงหวังให้พระราหุลเป็นรัชทายาทสืบราชสันติวงศ์ต่อไป พระองค์จึงเสด็จไปตัดพ้อต่อว่าพระพุทธเจ้า และทูลขอว่า ต่อไปถ้าจะบวชให้ใครอีก ขอให้มารดาบิดาของผู้จะบวชอนุญาตเสียก่อน พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นไปตามคำทูลขอ โดยมีข้อกำหนดว่า ผู้ที่จะเข้ามาบวช "จะต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้บังคับบัญชาเสียก่อน" สามเณรราหุลบรรพชาเมื่ออายุ 7 ปี พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้ฟังมากมายหลายเรื่อง เมื่ออายุครบ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปยังป่าอันธวัน แขวงเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี หลังจากได้ฟัง "จูฬราหโลวาทสูตร" จากพระพุทธองค์ ก็สำเร็จบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระราหุลเถระ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า "เอตทัคคะ"(ผู้เลิศกว่าคนอื่นในด้านใคร่การศึกษา) คือ ชอบการศึกษาหรือขยันหมั่นในการเล่าเรียน พระราหุลเถระนิพพานเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานระบุชัด ทราบเพียงว่า ท่านปรินิพพานก่อนพระอัครสาวกทั้งสอง และก่อนพระพุทธเจ้า โดยการทูลลาพระพุทธเจ้าไปนิพพานที่สวรรค์ชั้นดาวดึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระราหุล · ดูเพิ่มเติม »

พระราหู

ระราหู (राहु ราหู) เป็นอสูรและเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งตามคติของศาสนาฮินดูและศาสนาพุท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระราหู · ดูเพิ่มเติม »

พระลักษมณ์พระราม

นักแสดงสวมหัวโขนฝ่ายอสูรพงศ์จากเรื่องพระลักษมณ์พระราม พระลักษมณ์พระราม (ພະລັກພະລາມ, อักขรวิธีเดิม: ພຣະລັກພຣະຣາມ), พระรามชาดก (ພຣະຣາມຊາດົກ) หรือ รามเกียรติ์ (ລາມມະກຽນ, อักขรวิธีเดิม: ຣາມມະກຽນ) เป็นมหากาพย์ลาวที่ดัดแปลงมาจาก รามายณะ ของวาลมีกิ มีความใกล้เคียงกับ ฮิกายัตเซอรีรามา (Hikayat Seri Rama.) อันเป็นรามายณะฉบับมลายู มหากาพย์นี้เคยสูญหายไปพร้อมกับศาสนาฮินดู แต่ภายหลังได้กลับมาอีกครั้งในรูปแบบชาดกของพระพุทธศาสนา ซึ่งเคยแพร่หลายและเป็นที่นิยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระลักษมณ์พระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระวัชรปาณีโพธิสัตว์

ระวัชรปาณีโพธิสัตว์ หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ถือสายฟ้า หลักฐานฝ่ายบาลีถือว่าเป็นยักษ์ที่คอยคุ้มครองพระพุทธเจ้า ส่วนทางมหายานถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ชั้นสูงองค์หนึ่ง มักปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์และพระปัทมปาณิโพธิสัตว์ ความเชื่อเกี่ยวกับพระวัชรปาณิอาจวิวัฒนาการมาจากพระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์ที่ถือสายฟ้าเช่นกัน และอาจจะพัฒนามาจากความเชื่อเกี่ยวกับพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ชาวพุทธมหายานถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่คุ้มครองนาคที่ควบคุมเมฆฝน และนิยมสร้างรูปของท่านไว้ที่ประตูทางเข้าวัดเพื่อขับไล่ความชั่วร้าย พระวัชรปาณีมีชื่อจีนว่ากิมกังผ่อสัก จัดอยู่ในกลุ่มเจ็ดพระมหาโพธิสัตว์ตามความเชื่อของชาวจีน แต่มีความสำคัญน้อยกว่าพระอวโลกิเตศวรและพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์มาก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิปัสสีพุทธเจ้า

ระวิปัสสีพุทธเจ้า (Vipassī Buddha; Vipaśyīn Buddha; 毗婆尸佛) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 19 ในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า ตรัสรู้เมื่อ 91 มหากัปที่แล้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระวิปัสสีพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระศรีอริยเมตไตรย

ระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย (Metteyya เมตฺเตยฺย; मैत्रेय ไมเตฺรย) เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าเมื่อศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าสิ้นสุดไปแล้ว โลกจะล่วงเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย อายุขัยของมนุษย์ลดลงจนเหลือ 10 ปี ก็เข้าสู่ยุคมิคสัญญี ผู้สลดใจกับความชั่วก็หันมารวมกลุ่มกันทำความดี จากนั้นอายุขัยเพิ่มขึ้นถึง 1 อสงไขยปี แล้วจึงลดลงอีกจนเหลือ 80,000 ปี ในยุคนี้จะมีพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีครบ 80 อสงไขยแสนมหากัป ลงมาตรัสรู้เป็น พระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระศรีอริยเมตไตรย · ดูเพิ่มเติม »

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์

ระสมันตภัทรโพธิสัตว์ (समन्तभद्र Samantabhadra; ཀུན་ཏུ་བཟང་པོ། Kun-tu bzang-po; Qamugha Sain, 普賢菩薩 Pŭxián púsà; ふげん Fugen; Phổ Hiền Bồ Tát) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของพระองค์ท่านแปลว่า ดี รุ่งเรือง หรือเป็นมงคล ท่านมักปรากฏในพุทธมณฑลในฐานะตัวแทนของพระไวโรจนพุทธะ จึงเป็นตัวแทนของความกรุณาและสมาธิที่ดิ่งลึก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระสรณังกรพุทธเจ้า

ระสรณังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปคือ พระทีปังกรพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายของกัปนั้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสรณังกรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต

ระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธมหายาน พระนามของพระองค์หมายถึงพระผู้สถิตอย่างศานติในแสงสว่างที่เลิศกว่าแสงอื่นอีกพันชนิด รูปของพระองค์เป็นพระพุทธรูปในปางแสดงเทศนาหรือพนมมือ เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวพุทธมหายานที่นับถือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในคัมภีร์สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไวปุลยสมบูรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตร พระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ประทานธารณีมนต์ต่างๆแก่พระอวโลกิเตศวร ซึ่งพระอวโลกิเตศวรได้นำมาเผยแผ่แก่มนุษยโลกอีกทีหนึ่ง นอกจากนั้น ยังเป็นผู้ช่วยเหลือให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญบารมีผ่านภูมิที่ 1 ไปถึงภูมิที่ 8 ได้สำเร็.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต · ดูเพิ่มเติม »

พระสัทธรรมวิทยาตถาคต

ระสัทธรรมวิทยาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธมหายาน พระนามของพระองค์หมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้ทรงรอบรู้แจ้งในพระธรรมอันประเสริฐ บางคัมภีร์ระบุพระนามของพระองค์เป็น พระสัทธรรมประภาตถาคต ไม่ปรากฏพระพุทธรูปของพระองค์เป็นพิเศษ โดยมากจะนับถือพระองค์คู่ไปกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในคัมภีร์สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไวปุลยสมบูรณอภิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตร กล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นพระพุทธเจ้าในอดีต ตรัสรู้ในกาลที่ล่วงมาแล้วนานมาก แต่ยังทรงมีจิตเมตตาต่อสัตว์โลกจึงได้เนรมิตรพระโพธิสัตว์จำนวนมากมาโปรดสัตว์รวมทั้งพระอวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงแนวคิดของมหายานเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์แบบหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์เกิดจากพระพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสัทธรรมวิทยาตถาคต · ดูเพิ่มเติม »

พระสิทธัตถพุทธเจ้า

ระสิทธัตถพุทธเจ้า (Siddhattha Buddha) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 16 ในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า ตรัสรู้เมื่อ 94 มหากัปที่แล้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสิทธัตถพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสิขีพุทธเจ้า

ระสิขีพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เมื่อ 31 กัปที่แล้วมธุรัตถวิลาสินี,, อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ นับเป็นพระองค์ที่ 20 ในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสิขีพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสุชาตพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระสุเมธพุทธเจ้า ล่วงไปแล้ว ในมัณฑกัป เดียวกัน พระพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นอีกพระองค์ทรงพระนามว่า พระสุชาตพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสุชาตพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสุมังคลสัมพุทธเจ้า

ระสุมังคลสัมพุทธเจ้าปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ครั้นเมื่อศาสนาของพระติสสะสัมพุทธเจ้าเสื่อมในมัณฑกัปป์เดียวกันนี้จะมีพระพุทธเจ้า องค์ถัดไป ชื่อว่า พระสุมังคลสัมพุทธเจ้า โดยพระโพธิสัตว์ในสมัยของพระโคตมพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็น ช้างปาลิไลยก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสุมังคลสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสุมนพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระมังคละพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสุมนะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในอันตรกัปถัดมาในสารมัณฑกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสุมนพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสุเมธพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระปทุมุตระพุทธเจ้าล่วงไปได้ 30,000 กัป ล่วงถึงมัณฑกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ 2 องค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระสุเมธพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสุเมธพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสงฆ์

ระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอมิตาภพุทธะ

ระอมิตาภพุทธะ (अमिताभ बुद्ध) เป็นพระธยานิพุทธะที่ประทับในแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นพุทธเกษตรแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์มีรูปกายเป็นสีแดง นับถือกันมากในนิกายสุขาวดี ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือเจ้าแม่กวนอิม แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในนิกายเถรวาท เพราะไม่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกภาษาบาลี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระอมิตาภพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอรหันต์

ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน; arahant; अर्हत् arhat) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการัณฑวยูหสูตฺร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอัสสชิเถระ

ระอัสสชิ หรือ พระอัสสชิเถระ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวก พระอัสสชิ เมื่อได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล ด้วยความเป็นผู้มีมารยาทน่าเลื่อมใสของท่าน ทำให้ท่านเป็นภิกษุรูปแรกที่ทำให้อุปติสสมาณพ ซึ่งต่อมาคือพระสารีบุตร เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้กล่าวคาถาสำคัญยิ่งคาถาหนึ่งในพระพุทธศาสนาคือพระคาถา เย ธมฺมา เหตุปฺปภว... พระคาถานี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระคาถาสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะกล่าวถึงความเป็นเหตุผลและจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนาไว้ในคาถาเดียว ท่านดำรงอายุพอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระอัสสชิเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า

มื่อศาสนาของพระปิยทัสสีพุทธเจ้าได้อันตรธานไปแล้ว ในวรกัปเดียวกันนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์ที ๒ ได้อุบัติขึ้น ทรงพระนามว่าพระอัตถทัสสีทัสสีพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระองคุลิมาลเถระ

องคุลิมาล หรือ พระองคุลิมาลเถระ เป็นบุคคลสำคัญในยุคต้นแห่งพุทธศาสนา โดยเฉพาะตามพุทธประวัติพุทธฝ่ายเถรวาท เดิมนั้นเป็นโจรปล้นฆ่าคน แต่ภายหลังมีศรัทธาในพุทธศาสนา ได้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งมียังบทสวดของท่านอีกด้วย ชื่อ อังคุลิมาลปริตร คำว่า องคุลิมาล นั้นมาจากคำว่า อังคุลี (นิ้วมือ) + มาลา (มาลัย สร้อยคอ สาย แถว) แปลว่า ผู้มีนิ้วมือเป็นมาลัย แต่เดิมนั้นองคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี มารดาของชื่อ นางมันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลา และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิมาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้ 1,000 คนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล เมื่อฆ่าจนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก เรื่องราวขององคุลิมาลมีการเล่าขยายความเอาไว้ในเรื่อง กามนิต ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป กวีชาวเดนมาร์ก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระองคุลิมาลเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระโสภิตะพุทธเจ้าอันตรธานไป เป็นช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้าถึงอสงไขยหนึ่ง เรียกว่า ชัยยะอสงไขย ล่วงมาถึงวรกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๓ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระอโนมทัสสีพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระจูฬปันถกเถระ

ระจูฬปันถก หรือ พระจูฬปันถกเถระ, พระจุลลปันถกะ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็น 1 ในพระอสีติมหาสาวก ของพระพุทธเจ้า พระจูฬปันถก เป็นน้องชายของพระมหาปันถก ท่านบวชตามการสนับสนุนของพี่ชาย เมื่อแรกบวชท่านเป็นคนมีปัญญาทึบมาก ไม่สามารถท่องมนต์หรือเข้าใจอะไรได้เลย จึงทำให้ท่านถูกพระพี่ชายของท่านขับไล่ออกจากสำนัก เมื่อพระพุทธเจ้าทราบความจึงได้ให้ประทานผ้าเช็ดพระบาทสีขาวบริสุทธิ์ให้ท่านไปลูบ จนในที่สุดท่านพิจารณาเห็นว่าผ้าขาวเมื่อถูกลูบมีสีคล้ำลง จึงนำมาเปรียบกับชีวิตของคนเราที่ไม่มีความยั่งยืน ท่านจึงได้เจริญวิปัสสนาและบรรลุเป็นพระอรหันต์เพราะสิ่งที่ท่านพบจากการลูบผ้าขาวนั่นเอง เมื่อท่านบรรลุพระอรหันต์ ท่านได้ปฏิสัมภิทาญาณชำนาญในการใช้มโนมยิทธิ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เป็นเอตทัคคะในด้านชำนาญในมโนมยิทธิ พระจูฬปันถก เป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ปัญญาในการตรัสรู้ไม่เกี่ยวกับปัญญาในการจำเรียนรู้ทั่วไป (สัญญา) ปัญญาในการตรัสรู้คือภาวนามยปัญญา กล่าวคือความสามารถที่จะใช้ปัญญาแยบคายที่เกิดจากใช้ปัญญาภายในพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริงของโลกได้ด้วยตนเอง การท่องจำหรือเรียนหนังสือไม่เก่งจึงไม่ใช่อุปสรรคในการตรัสรู้ธรรม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระจูฬปันถกเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรม (ศาสนาพุทธ)

ระธรรมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 454 หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า "มุขปาฐะ" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่แต่งภายหลังเพื่อขยายความอีก ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่ทรงเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ อาจพอกล่าวได้ว่าการเรียนรู้พระธรรม ก็คือการเรียนรู้ธรรมดาโลก และเรียนรู้สิ่งที่เป็นปกติที่มีบ่อเกิดที่มาว่ามาอย่างไร เป็นไปได้อย่างไร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระธรรม (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า

อนาคตวงศ์ระบุว่า พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า (ธมฺมราชสมฺพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตถัดจากพระรามสัมพุทธเจ้า หลัสิ้นศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยแล้ว แผ่นดินถูกทำลาย เกิดสุญกัปยาวนานถึงหนึ่งอสงไขย จากนั้นจะมีมัณฑกัปซึ่งมีพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นมา 2 พระองค์ได้แก่ พระรามสัมพุทธเจ้า และพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้านี้ก็คือพระเจ้าปเสนทิโกศลนั่นเอง โดยย้อนกลับไปในภัทรกัปนี้ในสมัยของพระโกนาคมนพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เกิดเป็นมาณพชื่อว่า สุททะ มีอาชีพขายดอกบัว โดยเก็บดอกบัวมาขายวันละ 2 ดอก เช้าวันหนึ่ง มาณพก็ทำการเก็บดอกบัว 2 ดอกมาขายตามปกติ พระโกนาคมนะพุทธเจ้าทรงบิณฑบาต ก็ทรงทราบด้วยญาณว่า มาณพนี้เป็น วงศ์แห่งพุทธเจ้า จึงแย้มพระโอษฐ์ มาณพหนุ่มเห็นเช่นนั้นก็แปลกใจ จึงทูลถาม ว่าพระองค์ทอดพระเนตรและแย้มพระโอษฐ์เพราะเหตุใด พระโกนาคมนพุทเจ้า จึงตรัสว่าตัวท่านนี่แหละคือน้องของตถาคต มาณพหนุ่มได้ฟังเช่นนั้น ก็ยิ่งแปลกใจมากขึ้น ทูลถามว่า ข้าเป็นน้องของท่านเมื่อใด พระโกนาคมนะพุทธเจ้าจึงได้ทำนายว่า ในมัณฑกัปป์หนึ่งท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล พระนามว่าพระธรรมราชา เมื่อสุททมาณพได้ยินเช่นนั้นจึงเกิดความปีติยินดี จึงได้ถวายดอกบัว 2 ดอกนั้นด้วยความเคารพ พระโกนาคมนพุทธเจ้าได้แสดงพุทธปาฏิหาริย์ขึ้นนั่งบนดอกบัว ด้วยมาณพกลัวพระพุทธองค์ร้อน จึงได้ทำที่บังแดดด้วยผ้า 2 ผืนและไม้อ้อ 4 ลำ และได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระพุทธองค์ได้ทรงนั่งอยู่บนดอกบัวนี้จนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น อานิสงค์การถวายดอกบัวนี้ เมื่อพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าดำเนินไปไหนจะมีดอกบัวเท่าจักรรถผุดจากพื้นดินรองรับเสมอ และทุกอิริยาบถของพระองค์จะมีห้องแก้ว 7 ประการเพื่อบังแดดและน้ำค้างด้วยผลทานที่ท่านถวายผ้าบังแดดนั้นเอง พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 5 หมื่นปี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมสามีสัมพุทธเจ้า

ระธรรมสามีสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยในเรื่อง อนาคตวงศ์ มีกล่าวถึงว่า หลังจากมัณฑกัป ที่มี พระรามะสัมพุทธเจ้า และ พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ จนแผ่นดินล่วงไป กว่า 3 อสงไขย เกิดแผ่นดินเรียกว่า สารกัป มีพระพุทธเจ้าบังเกิดมา 1 พระองค์มีชื่อว่า พระธรรมสามีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์โดยมีตัวอย่างการบำเพ็ญ ปรมัตถบารมีอย่างยิ่งยวดพระชาติหนึ่ง ย้อนไปในสมัย พระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็น มหาเสนาบดี ชื่อว่า โพธิอำมาตย์ ในพระเจ้ากิงกิสสราช มีอยู่วันหนึ่งพระกัสสปะพุทธเจ้าได้ออกจากฌาณสมาบัติ กษัตริย์พระเจ้ากิงกิสสราชทราบความได้ดำริอยากถวายทานแด่พระพุทธองค์ ซึ่งจะทำให้ได้ผลบุญหาที่สุดมิได้ จึงให้ทหารตีกลองร้องปล่าว ห้ามมิให้ชาวเมืองถวายทานแด่พุทธองค์ก่อนตน พร้อมทั้งคาดโทษและจัดให้มีทหารกั้นอณาเขตโดยรอบ ครั้งนั้นโพธิอำมาตย์ได้ทราบก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าจะถวายทานแด่พระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน ด้วยความปรารถนานี้ท่านจึงไม่เกรงกลัวต่ออาญาที่จะได้รับเลย จึงได้ไปบอกบุตรและภรรยาให้เตรียมเครื่องไทยทานและผ้าหนึ่งผืน ครั้นรุ่งเช้า โพธิอำมาตย์ได้เดินทางไปยังสถานที่ที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ทหารที่ทำหน้าที่เฝ้าอยู่จึงสอบถามถึงกิจธุระ โพธิอำมาตย์จึงตอบด้วยความสัจจริงว่าต้องการถวายทานแด่พุทธองค์ ด้วยเหตุนี้จึงถูกทหารจับตัวมัดมือไปเข้าเฝ้าพระเจ้ากิงกิสสราช และได้รับโทษประหาร พระกัสสปะพุทธเจ้าทรงทราบด้วยญาณว่า โพธิอำมาตย์นี้เป็นพระบรมโพธิสัตว์ พระองค์หนึ่ง จึงเนรมิตรกายอีกพระองค์หนึ่งเสด็จไปที่ป่าช้าลานประหาร โดยให้โพธิอำมาตย์ เห็นเพียงผู้เดียว และทรงเทศนาสั่งสอน ให้ละและอย่าอาลัยในชีวิตเลย เมื่อโพธิอำมาตย์ได้ฟังก็เกิดปลื้มใจจนหาที่เปรียบมิได้ จึงยกเครื่องไทยธรรมพร้อมผ้าของตนและของภรรยาที่ฝากมา ถวายด้วยกิริยาเบญจางคประดิษฐ์ และอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต พระกัสสปะพุทธเจ้าได้รับของและตรัสพุทธพยากรณ์ว่า จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตข้างหน้าอย่างแน่นอน และเสด็จกลับเสวยเครื่องไทยธรรม ขณะนั้นโพธิอำมาตย์ได้ถูกเพชฌฆาตตัดศีรษะขาด มหัศจรรย์เกิดแผ่นดินไหวเป็นเหตุให้เศวตฉัตรของพระเจ้ากิงกิสสราชหัก ในที่ประหารนั้นบังเกิดวิมานทองพร้อมด้วยนางสวรรค์ 1000 ขุมทอง 16 ขุม และต้นกัลปพฤกษ์ 1 ต้น ภรรยาโพธิอำมาตย์ได้ใช้สมบัติที่เกิดขึ้นนี้เลี้ยงชีพจนหมดอายุขัย ฝ่ายโพธิอำมาตย์ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตมีทิพยสมบัติอันมากด้วยผลแห่งมหาทานนี้ เมื่อครั้นโพธิอำมาตย์สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์มีพระวรกายสูง 80 ศอก มีพระชนมายุ 1 แสนปี ด้วยผลบุญที่พระองค์สละชีวิต มีไม้รังเป็นมหาโพธิ พุทธรัศมีสว่างไสวดุจดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มีเศวตฉัตรกว้างและสูงประมาณ 3 โยชน์ (1 โยชน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า

มื่อศาสนาพระอัตถทัสสีพุทธเจ้าอันตรธานไปแล้ว ในวรกัปเดียวกันนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายของกัปนี้ได้อุบัติขึ้น ทรงมีพระนามว่า พระธรรมทัสสีพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระธรรมทัสสีพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระธาตุ

ระธาตุ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

พระธาตุหลวง

ระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี (ທາດຫລວງ หรือ ພຣະທາດຫລວງ) นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่าพระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่างแยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็นภาพประธานในดวงตร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระธาตุหลวง · ดูเพิ่มเติม »

พระธาตุขามแก่น

ระธาตุขามแก่น พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2000 ปี ตั้งแต่ พ.ศ 500 ต่อมาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ชื่อ เพี้ยเมืองแพน (ปัจจุบันคือ จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้มาตั้งเมืองขามแก่นที่ บ้านขาม พุทธศตวรรษที่ 5 พระยาหลังเขียว หรือโมริย กษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ (เมืองโมรีย์อยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา) สร้างพระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระธาตุขามแก่น · ดูเพิ่มเติม »

พระทีปังกรพุทธเจ้า

ระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในโลกเมื่อ 4 อสงไขยแสนกัปที่แล้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระทีปังกรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระคันธกุฎี

ระคันธกุฎี (บนเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์) คันธกุฎี หรือ พระมูลคันธกุฎี (Mulagandhakuti; แปลว่า กุฎีที่มีกลิ่นหอม) เป็นชื่อเรียกสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ เรียกเต็มว่า "พระมูลคันธกุฎี" ในพุทธประวัติ เล่าว่าสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าทุกแห่งจะมีผู้นำของหอมนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้หอม ดอกไม้หอม เป็นต้น มาบูชาพระพุทธเจ้ามิได้ขาด โดยประดับไว้ภายในที่ประทับบ้าง วางเรียงรายอยู่โดยรอบบ้าง โดยมุ่งบูชาพระพุทธเจ้าด้วยกลิ่นหอมจึงปรากฏว่าหลังวัดที่ประทับจะมีดอกไม้ที่แห้งแล้วถูกนำไปทิ้งไว้เป็นกองใหญ่ด้วยมีจำนวนมาก พระคันธกุฎีมิใช่จะมีกลิ่นหอมเท่านั้น ยังถูกสร้างขึ้นอย่างวิจิตรพิสดารเท่าที่มนุษย์จะทำกันได้ด้วยแรงศรัท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระคันธกุฎี · ดูเพิ่มเติม »

พระตัณหังกรพุทธเจ้า

ระตัณหังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกในสารมณฑกัป ของเมื่อ 4 อสงไขยกับแสนกัปที่แล้ว พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปคือ พระเมธังกรพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ ของกัปนั้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระตัณหังกรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระติสสพุทธเจ้า

ระติสสพุทธเจ้า (Tissa Buddha) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 17 ในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า ตรัสรู้เมื่อ 92 มหากัปที่แล้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระติสสพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระติสสสัมพุทธเจ้า

ระติสสสัมพุทธเจ้า ปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ครั้นเมื่อศาสนาของพระนรสีหสัมพุทธเจ้า เสื่อมลง แผ่นดินถูกทำลายไป และเกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระพุทธเจ้า บังเกิดเรียกว่า สุญญกัปป์ จนแผ่นดินนี้ถูกทำลายไป เกิดแผ่นดินใหม่ชื่อว่ามัณฑกัปป์จะมีพระพุทธเจ้า สองพระองค์เกิดขึ้นองค์หนึ่งนามว่า พระติสสสัมพุทธเจ้า โดยในสมัย พระโคตมพุทธเจ้า ท่านเสวยพระชาติเป็นช้างชื่อ นาฬาคิรีอีกองค์หนึ่งนามว่า พระสุมังคละสัมพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระติสสสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระประภูตรัตนะ

ระประภูตรัตนะ เป็นพระพุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายมหายาน นิยมนับถือในประเทศจีน แต่ไม่พบในอินเดีย ในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตรกล่าวว่าเป็นพระพุทธเจ้าในอดีตที่จะปรากฏพระองค์ทุกครั้งที่มีการแสดงพระสัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งรวมทั้งในการแสดงพระสูตรนี้ของพระศากยมุนีพุทธเจ้าด้วย เป็นหนึ่งในคำสอนที่ยืนยันความเชื่อของฝ่ายมหายานว่าความเป็นพระพุทธเจ้ามิได้สิ้นสุดลงที่การปรินิพพานแต่จะคงอยู่ในโลกต่อไปในอนาคตอันยาวนานด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระประภูตรัตนะ · ดูเพิ่มเติม »

พระปัจเจกพุทธเจ้า

ระปัจเจกพุทธเจ้า (ปจฺเจกพุทฺธ; ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรมเช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็นวิเวกเอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ และจะอุบัติขึ้นเฉพาะในช่วงระหว่างพุทธันดร กล่าวคือ ในช่วงเวลาเมื่อโลกว่างจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาลแห่งพุทธาภิสมัยในปัจจุบันนี้ ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามมาตังคะเสด็จอุบัติขึ้นและปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้วจากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้วซึ่งการประสูติกาลของพระโพธิสัตว์นั้น) พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้ายๆกัน คือ เป็นพระชาติมาจากราชามหากษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดีแต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ๆเบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8 พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็นนิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าคราวเดียวกันถึง 500 พระองค์ก็มี พระปัจเจกพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตนและปรนนิบัติธรรมเป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดในพระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะกระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตรในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อและเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้นก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขาแห่งฤๅษี(หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า) พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย".

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระปิยทัสสีพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระสุชาตพุทธเจ้าได้อันตรธานไปแล้ว ได้เกิดเป็นสุญญกัปถึง ๑,๘๐๐ กัป จึงเกิดกับใหม่เรียกว่า วรกัป ซึ่งเป็นกัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๓ พระองค์ พระองค์แรกคือ พระปิยทัสสีพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระปิยทัสสีพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระปุสสพุทธเจ้า

ระปุสสพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งที่ตรัสรู้เมื่อ 92 กัปที่แล้ว และนับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 18 ในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า เรื่องราวของพระองค์ปรากฏในคัมภีร์พุทธวงศ์และมธุรัตถวิลาสินี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระปุสสพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระปทุมพุทธเจ้า

ระปทุมพุทธเจ้า หลังจากพระศาสนาของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าได้ล่วงไปแล้ว จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระปทุมะพุทธเจ้า ซึ่งอยู่ในอันตรกัปถัดมาในวรกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระปทุมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระปทุมุตรพุทธเจ้า

ระปทุมุตรพุทธเจ้า หลังจากพระศาสนาของพระนารทะพุทธเจ้าอันตรธานไปแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ว่างจากพระพุทธเจ้าถึงหนึ่งอสงไขยกัป เรียกว่า รุจิอสงไขย เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงมัณฑกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ 1 พระองค์ ทรงพระนามว่า พระปทุมุตระพุทธเจ้า (พระองค์ทรงอุบัติขึ้นเพียงพระองค์เดียว แต่เปรียบเสมือนมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ 2 พระองค์ บางตำราก็ว่าเป็นสารกัป).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระปทุมุตรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนรสีหสัมพุทธเจ้า

ระนรสีหสัมพุทธเจ้า ปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ครั้นเมื่อศาสนาของพระเทวเทพสัมพุทธเจ้า เสื่อมลง ในมัณฑกัปป์เดียวกันนี้จะมีพระพุทธเจ้า อีกพระองค์หนึ่งนามว่า พระนรสีหสัมพุทธเจ้าโดยในสมัย พระโคตมพุทธเจ้า ท่านคือโตไทยพราหมณ์ โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวด โดยมีปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยช่วงระหว่าง พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระโคตมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นมาณพ ชื่อว่า นันทมาณพ มีอาชีพเป็นพ่อค้า ครั้งนั้น มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งกำลังบิณฑบาตอยู่ มาณพนี้ได้พบก็บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงเอาผ้ากัมพลสีแดงผืนหนึ่งกับทองคำแสนตำลึง ทำเป็นเครื่องไทยธรรมถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า และตั้งจิตอธิษฐานด้วยผลทานที่กระทำนี้ขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต พระปัจเจกพุทธเจ้ารับเครื่องไทยธรรมนั้นไว้และนำผ้ามาคลุมกายโดยรอบ ยังเหลือแค่พระหัตถ์กับพระบาทเท่านั้น เมื่อมาณพเห็นดังนั้น จึงตั้งจิตอธิษฐานอีกว่า ขอให้มีเดชานุภาพแผ่ทั่วราชอาณาจักร พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงอนุโมทนาและก็จากไป ระหว่างทางพระปัจเจกพุทธเจ้าได้พบหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งหญิงสาวนี้พอเห็นพระ ห่มผ้าแดงก็สอบถามว่าผ้าที่สวยงามนี้ใครเป็นผู้ถวาย พระปัจเจกพุทธเจ้าก็บอกถึง มาณพ และความปรารถนา 2 ประการของมาณพนั้น ความปรารถนาหนึ่ง คือ เป็นพระพุทธเจ้า และอีกความปรารถนาหนึ่งคือ เป็นกษัตริย์ เมื่อหญิงสาวได้ยินดังนั้น จึงทำบุญตามมาณพนั้นและปรารถขอเมื่อมาณพนั้นเป็นกษัตริย์แล้วก็ขอให้ตนได้เป็นมเหสีแห่งกษัตริย์นั้น และด้วยบุญนี้ทั้งสองคนจึงได้อยู่กินเป็นสามีภรรยากันในชาตินี้ และยังสร้างศาลาหลังหนึ่งไว้ พร้อมจ้างช่างมาแกะสลักรูปพระปัจเจกพุทธเจ้าประดิษฐานไว้ในศาลา ฝ่ายหญิงยังโกนเอาผมชุบน้ำมันหอม ทำเป็นไส้ปทีปสักการบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อทั้งสอง สิ้นอายุขัยเกิดในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เสวยทิพยสมบัติอยู่นาน จนสิ้นอายุขัยก็จุติเป็น บรมกษัติย์แห่ง เมืองทวารวดี ฝ่ายหญิงก็เกิดในตระกูลเศรษฐี พออายุได้ 16 ปีก็ได้มาเป็นมเหสีแห่งกษัตริย์นามว่า พระมงคลราชเทวี มียศถาบรรดาศักดิ์พร้อมด้วยบริวารถึง 1 ล้าน ส่วนกษัตริย์ ก็มีสนมถึง 16 ล้านด้วยกัน วันหนึ่ง กษัตริย์มีพระประสงค์ทดลองบุญของ พระมงคลราชเทวี ให้ประจักษ์แก่เหล่าสนมทั้งหลาย จึงสั่งให้สนมเตรียมสำรับคนละที่และมาบริโภคตรงหน้าพระที่นั่ง สนมทุกคนก็บริโภคเป็นปกติ หาได้มีความแปลกประหลาดอันใด แต่พอพระมงคลราชเทวี ทรงนั่งและล้างพระหัตถ์ รับเอาอาหารขึ้นเข้าไปในพระโอษฐ์ ปรากฏว่านิ้วพระหัตถ์ของนางกลายเป็นทองคำทุกนิ้ว เป็นอย่างนี้ทุกคำที่เสวย ด้วยผลบุญที่กระทำอย่างประณีตแต่ปางก่อน พอเหล่าสนมเห็นดังนั้น จึงรู้ว่าพระมเหสี มีบุญหาควรเทียบเทียมไม่ ตั้งแต่วันนั้นมาจึงเกิดความยำเกรงต่อมเหสีเป็นอันมาก พระนรสีหสัมพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง 60 ศอก มีพระชนมายุ 8 หมื่นปี มีรัศมีรุ่งเรืองสว่างไสว มีไม้แคฝอยเป็นมหาโพธิ มีต้นกัลปพฤกษ์ ต้นหนึ่งพร้อมข้าวสาลีอันหอมให้มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภค ผิวพรรณมนุษย์เป็นสีทอง พระองค์เสด็จไปที่ใดก็จะมีเศวตฉัตรแก้วบังเกิดอยู่ตลอดเวล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระนรสีหสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนันทะ

ระนันทเถรศากยะ หรือ พระนันทเถระ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระนันทเถรศากยะเป็นพระประยูรญาติของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยท่านเป็นพระภาดา ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระมาตุจฉาของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนันทเถรศากยะ ออกผนวชด้วยความจำใจ เพราะมีความเกรงใจต่อพระพุทธเจ้าที่ชวนท่านออกผนวชในวันที่ท่านจะอภิเษกสมรสกับนางชนบทกัลยาณี ทำให้ในช่วงแรกที่ท่านออกผนวชท่านไม่ได้มีความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมเลยเพราะความกระสันใคร่จะลาผนวช แต่หลังจากท่านได้สติแล้วจึงได้ตั้งใจบำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหันต์ได้ในที่สุด โดยหลังบรรลุธรรมแล้วท่านกลับกลายเป็นผู้ที่มีความสำรวมระวังอินทรีย์เป็นอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องท่านให้เป็นพระเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้ทรงอินทรีย์สังวร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระนันทะ · ดูเพิ่มเติม »

พระนารทพุทธเจ้า

หลังจากพระศาสนาของพระปทุมพุทธเจ้าล่วงไปแล้ว จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนารทพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายในวรกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระนารทพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนารทสัมพุทธเจ้า

ระนารทสัมพุทธเจ้า มีปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ว่า หลังจากหมดยุคศาสนาของพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้าแล้ว เกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเลยอยู่นานถึง 8 กัปป์ หลังจากนั้นเกิดแผ่นดินใหม่ ชื่อว่า มัณฑกัปป์ จะมีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์บังเกิดขึ้น องค์แรก คือ พระนารทพุทธเจ้า องค์ถัดไปคือ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวดโดยปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นกษัตริย์มีพระนามว่า พระยาสิริคุตตมหาราช ครองเมือง มัลลนคร มีพระราชอัครมเหสี นามว่า ลัมภุราชเทวี มีพระราชโอรสและพระราชธิดา นามว่า นิโครธกุมารและโคตมีกุมารีตามลำดับ วันหนึ่งมี พราหมณ์ 8 ท่าน มาทูลขอราชสมบัติและพระนคร พระองค์ก็พระราชทานด้วยจิตใจที่ปลาบปลื้มยินดี และพาครอบครัวออกบวช ไปอาศัยอยู่ที่อาศรมในป่า ในครั้งนั้นมียักษ์ชื่อว่า ยันตะ ร่างกายสูงถึง 120 ศอก มาขอพระราชโอรสและธิดาทั้งสอง พระองค์ เพื่อเป็นอาหาร และ ยันตะยักษ์ ยังกล่าวอีกว่า ถ้าได้ถวายพระราชโอรสและพระราชธิดาแล้ว อนาคตจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน เมื่อพระยาสิริคุตตมหาราชได้ฟังเช่นนั้นเกิดความปลาบปลื้มเป็นอย่างมาก จึงตอบว่า ไม่ใช่ไม่รักลูกทั้งสองแต่ท่านเป็นผู้ที่รักในพระโพธิญาณยิ่งกว่าสิ่งใด จึงตัดใจสละพระกุมารีทั้ง 2 ให้ยักษ์และหลั่งน้ำเหนือมือของยักษ์ พร้อมทั้งประกาศแก่เทวดาและพระแม่ธรณีให้เป็นสักขีพยาน แห่งมหาทานนี้ เมื่อยักษ์ได้รับมอบพระกุมารีทั้งสองไปแล้ว ก็เคี้ยวกินต่อหน้าต่อตาพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เห็นเลือดที่ไหลจากปากของยักษ์ ก็มิได้หวาดกลัวเลยด้วยจิตใจอันเปี่ยมด้วยยินดี ด้วยมหาทานบารมีที่พระองค์มิได้หวาดหวั่นใจเลยนี้ทำให้พระองค์มีพุทธรัศมีเหมือนสายฟ้าในกลีบเมฆรูปร่างเหมือนดอกบัวตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน พระวรกายสูง 20 ศอก มีพระชนมายุ 1 หมื่นปี มีไม้จันทร์เป็นมหาโพธิ ในศาสนาของพระองค์ คนในยุคนั้นจะมีรูปร่างอันสวยงามน่ายินดี ด้วยบุญที่ท่านให้ลูกเป็นทาน และยังมีภักษาหาร 7 ประการบังเกิดขึ้น มนุษย์ก็ได้อาศัยภักษาหารนี้เลี้ยงชี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระนารทสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระนางตารา

ระนางตาราเขียวหรือพระศยามตาราโพธิสัตว์ Kumbm, Gyantse, Tibet, 2536 พระนางตารา พระโพธิสัตว์ตารา หรือ พระแม่ตารา เป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนา โดยมีสายการปฏิบัติสืบทอดอย่างต่อเนื่องในวัชรยาน คำว่าตารามาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงข้าม การบูชาพระนางเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 ในอินเดียเหนือและแพร่หลายที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยถือว่าเป็นชายาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในอินเดีย เนปาล และ ทิเบต ส่วนชาวพุทธในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นภาคหญิงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แทน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระนางตารา · ดูเพิ่มเติม »

พระนิชิเร็ง

อนุสาวรีย์พระนิชิเร็น ด้านนอกฮอนโนะจิ ใน อำเภอเทะระมะชิ กรุงเกียวโต พระนิชิเร็ง (日蓮) หรือ พระนิชิเร็งไดโชนิน (ใช้ในนิกายนิชิเร็งโชชู) เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่น ซึ่งนิกายนิชิเร็งโชชูเชื่อว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าแท้จริง ท่านคือผู้สถาปนาและริเริ่มเผยแผ่คำสอน "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว" บนพื้นฐานของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็ง ซึ่งปัจจุบันได้แตกกิ่งก้านออกไปเป็นนิกายย่อย ๆ ประมาณ 32 นิกายในญี่ปุ่น และมีหลายลัทธิยืมคำสอนของท่านไปใช้ด้วย นิกายหลัก ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือนิชิเร็งโชชูและนิชิเร็งชู แต่นิกายแรกจะเป็นที่รู้จักมากกว่าเพราะมีสานุศิษย์กระจายอยู่ทั่วโลกแม้แต่ในเมืองไทย ตลอดชีวิตของพระนิชิเร็ง ท่านทุ่มเทเผยแผ่คำสอน โดยท่านเรียกร้องให้ชาวญี่ปุ่นละทิ้งคำสอนของนิกายและความเชื่อต่าง ๆ หันมายึดมั่นในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแต่เพียงพระสูตรเดียว เพราะท่านกล่าวว่าเป็นพระสูตรที่สูงส่งที่สุดและเป็นเจตนาที่แท้จริงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า เมื่อทำเช่นนั้นแล้วจึงจะช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นสงบสุข มั่นคง รอดพ้นจากปัญหานานาประการทั้งจากภัยธรรมชาติ ฤดูกาลแปรปรวน โรคระบาด เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง กบฏภายใน และภัยจากจักรวรรดิมองโกล ซึ่งญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ในขณะนั้น แต่หนทางในการเผยแผ่คำสอนของพระนิชิเร็งไม่เรียบง่าย บางครั้งถึงขั้นต้องแลกกับชีวิต ด้วยเหตุนี้วงการพุทธศาสนามหายานจึงสดุดีท่านว่า ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑรีกสูตร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระนิชิเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

พระแก้วดอนเต้า

ระแก้วดอนเต้า เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของไทยเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ วัสดุหยกสีเขียวเข้มขนาดหน้าตัก.๕ นิ้ว สูง ๘ นิ้ว ฐานสูง ๑๗.๗๕ นิ้ว ฐานกว้างตอนบน ๗.๗๕ นิ้ว ฐานกว้างตอนล่าง ๑.๗๕ นิ้ว ศิลปะแบบเชียงแสนตอนปลาย นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง ประดิษฐานอยู่ในกุฏิพระแก้ว วัดพระธาตุลำปางหลวง พระแก้วดอนเต้า วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระแก้วที่สวยงามมากองค์หนึ่ง เป็นพระศิลปะเชียงแสนสิงห์สาม ปลายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี(สะดือ) พระพักตร์เป็นรูปทรงรีหรือรูปไข่ พระเกศเป็นต่อม พระกรรณยาวสยายปลายโค้งบานออก องค์พระประทับนั่งสมาธิราบมือประสานบนตัก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระแก้วดอนเต้า · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่องค์ธรรม

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา พระแม่องค์ธรรม (老母 เหลาหมู่)สายทอง (พงศาธรรม ๑), ศุภนิมิต ผู้แปล, กรุงเทพฯ: ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป., หน้า 9 คือพระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว รวมถึงลัทธิศาสนาต่าง ๆ ในประเทศจีนที่สืบมาจากลัทธินี้ด้วย เช่น ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระแม่องค์ธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า

หลังจากพระศาสนาพระทีปังกรพุทธเจ้าอันตรธานไป เกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิเลยอยู่ถึง 1 อสงไขยสุญกัป เรียกว่า เสละอสงไขย จากนั้นเกิดแผ่นดินใหม่ มีชื่อว่า สารกัป มีพระพุทธเจ้ามาเกิด 1 พระองค์ ชื่อ พระโกณฑัญญพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระโกณฑัญญพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโกนาคมนพุทธเจ้า

ระโกนาคมนพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 23 ในพุทธวงศ์ และเป็นพระองค์ที่ 2 ในภัททกัปนี้ ที่พระองค์มีพระนามเช่นนี้เนื่องจากขณะที่พระองค์ประสูติฝนทองได้ตกลงมาทั่วทั้งชมพูทวีป พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดภิยโยสราชกุมารและอุดรราชกุมาร พร้อมด้วยบริวาร พระกายสูง 80 ศอก มีพระชนมายุ 30,000 พรรษาจึงเสด็จปรินิพพาน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระโกนาคมนพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโสภิตพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระเรวตะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโสภิตะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายในสารมัณฑกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระโสภิตพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระไภษัชยคุรุ

วัดโฮรีว พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ไม่พบในฝ่ายเถรวาท พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพฑูรย์ พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระไภษัชยคุรุ · ดูเพิ่มเติม »

พระไภษัชยคุรุทั้ง 7

ระไภษัชยคุรุทั้ง 7 เป็นกลุ่มของพระพุทธเจ้าตามคติของมหายานกลุ่มหนึ่ง มีจำนวน 7 พระองค์ เป็นที่นับถือกันมาในทิเบตและเนปาล โดยพระพุทธะแต่ละองค์จะมีโลกธาตุหรือพุทธเกษตรเป็นของตนเองเช่นเดียวกับแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะ ในบรรดาพระพุทธเจ้ากลุ่มนี้ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาเป็นที่นับถือมากที.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระไภษัชยคุรุทั้ง 7 · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. ออนไลน์. เข้าถึงได้จากhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระไตรปิฎกภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระเมธังกรพุทธเจ้า

ระเมธังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ ในสารมณฑกัปของเมื่อ 4 อสงไขยกับแสนกัปที่แล้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเมธังกรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเรวตพุทธเจ้า

ระเรวตพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง หลังจากศาสนาของพระสุมนะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเรวตะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในอันตรกัปถัดมาซึ่งเป็นสารมัณฑกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเรวตพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเวสสภูพุทธเจ้า

ระเวสสภูพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เมื่อ 31 กัปที่แล้วมธุรัตถวิลาสินี,, อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ นับเป็นพระองค์ที่ 21 ในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเวสสภูพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเวทโพธิสัตว์

ระเวทโพธิสัตว์ เป็นเทพธรรมบาลผู้ปกป้องพุทธศาสนาตามความเชื่อของชาวพุทธมหายานในจีน ตรงกับพระขันธกุมารของศาสนาฮินดู มีหน้าที่กำราบผู้จะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย คอยดูแลวัดวาอารามต่างๆ ลักษณะของพระองค์จะแต่งกายแบบนักรบจีน ในมือถือคทา โดยในสมัยโบราณ ผู้เดินทางที่จะไปค้างคืนตามวัดจะสังเกตรูปปั้นของพระเวทโพธิสัตว์ในวัดว่าถือคทาอย่างไร ถ้าถือไว้ในมือหรือประนมมือแสดงว่าอนุญาตให้เข้าพักได้ แต่ถ้าถือจรดพื้นแสดงว่าไม่อนุญาตให้เข้าพัก ในคัมภีร์ปัจจุบันสมัยภัทรกัลป์สหัสพุทธนามสูตร ได้ระบุว่าพระเวทโพธิสัตว์จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายในกัปป์ปัจจุบันคือภัทรกัปปป์ มีพระนามเมื่อตรัสรู้แล้วว่า พระรุจิพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเวทโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 — 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466) มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย" พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาในปี 2536 มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "พระบิดาของกองทัพเรือไทย" และในปี 2544 แก้ไขเป็น "องค์บิดาของทหารเรือไทย" ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ได้มีการจัดสร้างศาลและพระอนุสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมทั้งสิ้น 217 แห่งทั่วประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หรือที่พระตำหนักที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหุวิชกะ

ภาพพระเจ้าหุวิษกะบนเหรียญกษาปน์ทองคำ พระเจ้าหุวิษกะ (Huviṣka; กุษาณะ: Οοη ϸ κι) เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งจักรวรรดิกุษาณะในเอเชียใต้ ในราวพุทธศตวรรษที่ 7 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้ากนิษกะมหาราช นักโบราณคดีอังกฤษสันนิษฐานว่าพระองค์เป็นผู้สร้างพระมหาโพธิเจดีย์ เนื่องจากพบเครื่องกัปปิยะภัณฑ์ทองคำจำนวนมากที่พระองค์สร้างถวายอุทิศไว้ใต้พระแท่นพุทธบัลลังก์ภายในพระมหาโพธิเจดีย์ที่พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระเจ้าหุวิษกะครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 683 - พ.ศ. 723 รวมระยะเวลา 40 ปี หมวดหมู่:บุคคลในศาสนาพุทธ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเจ้าหุวิชกะ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าห้าพระองค์

ระเจ้าห้าพระองค์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเจ้าห้าพระองค์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจักรพรรดิ

ระเจ้าจักรพรรดิ (จกฺกวตฺติ) คือจักรพรรดิผู้ปกครองทวีปทั้ง 4 ในความเชื่อของพระพุทธศาสนา เป็นผู้รักษาศีล เป็นธรรมราชา ปกครองด้วยทศพิธราชธรรม มีพระโอรสนับพัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ปรารถนาสงคราม ไม่ประสงค์เครื่องบรรณาการ พระเจ้าจักรพรรดิมีแต่ผู้เคารพนับถือ พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก พระเจ้าจักรพรรดิมีลักษณะของมหาบุรุษเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ทรงเลือกปกครองแผ่นดิน ยามใดที่มีพระพุทธศาสนา พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงบำรุงอุปัฎฐากพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ช่วยเผยแพร่พระธรรม แต่ยามใดที่ไม่มีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงรวบรวมผืนแผ่นดิน ผู้คนให้เป็นปึกแผ่น ทรงปกครองโดยธรรม สั่งสอนประชาชนทั้งมวล พระเจ้าจักรพรรดิทรงขยันในการสร้างบารมีมาก ถึงแม้จะเป็นพระมหาจักรพรรดิก็ยังทรงสร้างพระบารมีไม่หยุดหย่อน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

พระเทวเทพสัมพุทธเจ้า

ระเทวเทพสัมพุทธเจ้า มีปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ว่าหลังจากหมดยุคของ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้าแล้ว แผ่นดินถูกทำลายจนเกิดแผ่นดินใหม่ เรียกว่า มัณฑกัปป์ คือจะมีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์บังเกิดขึ้น หนึ่งคือ พระเทวเทพสัมพุทธเจ้า โดยในสมัยพระโคตมพุทธเจ้า ท่านคือ สุภพราหมณ์ และอีกหนึ่งคือ พระนรสีหสัมพุทธเจ้า โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวด โดยมีปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยพระโกนาคมนะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นช้าง ชื่อว่า พระยาฉัททันต์ เป็นพระยาช้างมงคลสีขาวดังเงินยวง อาศัยอยู่ริมสระฉัททันต์ในป่าหิมพานต์ ครั้งหนึ่ง พระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นสาวกแห่ง พระโกนาคมนะพุทธเจ้า พระเถระนี้ได้เข้าสู่ปรินิพพานที่ริมสระฉัททันต์นั้น พระยาช้างซึ่งมีความปรารถนาพระสัพพัญญูอยู่แล้ว ได้เดินไปพบพระสรีระก็เกิดความปีติยินดี จึงตั้งจิตจะปลงสรีระกายของเถระนี้ จึงประกาศแก่เหล่าเทวดาขอให้มาช่วย และขอเลื่อยทิพย์อันหนึ่งด้วยบุญเก่าที่เคยทำไว้ พระยาช้างอธิษฐานดังนี้ ก็ปรากฏเลื่อยทิพย์อันหนึ่งลอยมาตกตรงหน้า พระยาช้างจึงตัดงาทั้งสองข้าง โดยข้างหนึ่งทำโกศ อีกข้างหนึ่งทำเชิงตะกอนรูปขนนกยูง พระยาช้างเอาขนบนศีรษะมาทำไส้ประทีปจุดบูชาสักการะ ฝ่ายช้างบริวารจำนวน 8 หมื่น 4 พัน มากระทำสมโภชถึง 7 วัน 7 คืน เอาแก่นจันทน์แดงมีกลิ่นหอมมารอง พร้อมทั้งยกพระศพขึ้นบนศีรษะของตนและเอาเพลิงจุดเผาพระศพ ครั้นพระสรีระเมื่อเผาแล้วพระธาตุต่างๆ ก็ลอยหายขึ้นไปบนฟ้า ไม่มีเศษอันใดตกลงสู่พื้นเลย โดยพระยาช้างได้ตั้งจิตอธิษฐานถึงบุญที่ตนตัดงาทั้งสอง ขอบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระยาช้างสิ้นใจตายก็ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นเทพบุตร มีทิพยสมบัติอันมาก พระเทวเทพสัมพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง 80 ศอก มีพระชนมายุ 8 หมื่นปี มีไม้จำปาเป็นศรีมหาโพธิ พุทธรัศมี ฉัพพรรณรังสี(6 สี) สัณฐานเหมือนช่อฝักบัวสว่างไสวทั่วโลกธาตุ ด้วยบุญบารมีของท่าน จะบังเกิดต้นกัลปพฤกษ์และข้าวสาลีที่มีกลิ่นหอม ประชาชนอาศัยข้าวสาลีนี้ ไม่ได้ทำการเกษตร ค้าขาย ผิวพรรณมนุษย์มีสีทองโดยปกติ งามด้วยตัวของตัวเองแม้ไม่แต่งตัว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเทวเทพสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเครื่อง

ระเครื่องราง นิยมเรียกโดยย่อว่า พระเครื่อง หมายถึง พระพุทธรูปขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อาจจะรวมถึงรูปสมมติขนาดเล็กของพระสงฆ์อริยบุคคล พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพระเครื่อง · ดูเพิ่มเติม »

พะโค

(ပဲခူးမြို့, Bago หรือ Pegu) หรือชื่อในอดีตคือ หงสาวดี (ဟံသာဝတီ, หงสาวะโตย; Hongsawatoi, Hanthawaddy, Hanthawady, Hanthawadi หรือ Handawaddy) เป็นเมืองหลวงของเขตหงสาวดี ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของประเทศพม่า นครหงสาวดีเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ และอาณาจักรตองอูของชาวพม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพะโค · ดูเพิ่มเติม »

พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

ทธชยันตี 2600 ปี หรือ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ (Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2555 การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า และประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน) ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ระยะเวลาจัดงานตั้งแต่ เทศกาลวิสาขบูชา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธบัญญัติ

ทธบัญญัติ คือ บัญญัติของพระพุทธเจ้า, ข้อบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ได้แก่ วินัยของภิกษุและภิกษุณี พุทธบัญญัติ หมายถึงกฎระเบียบ ข้อบังคับที่พระพุทธเจ้าตั้งไว้เป็นพุทธอาณาคือระเบียบการปกครองภิกษุและภิกษุณี ที่เรียกโดยทั่วไปว่าพระวินัย พุทธบัญญัติ เกิดขึ้นจากการที่มีภิกษุหรือภิกษุณีประพฤติไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม หรือประพฤติเสียหายขึ้นจนชาวบ้านพากันตำหนิโพนทะนา ทรงรับทราบแล้วจึงให้ประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความจริงแล้วจึงทรงบัญญัติเป็นข้อห้ามไว้ การบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้ามีลักษณะเช่นนี้ทั้งหม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธพจน์

ทธพจน์ หรือ พุทธวจนะ (พุทฺธวจน) แปลว่า พระดำรัสหรือคำพูดของพระพุทธเจ้า ในอลคัททูปมสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมะ ได้แก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธพจน์ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธมามกะ

ทธมามกะ แปลว่า ผู้ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นของเรา หมายถึงผู้ประกาศตนว่าขอถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ หรือผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา การประกาศตนเป็นพุทธมามกะนั้นอาจจัดทำเป็นพิธีเหมือนการประกาศตนเป็นอุบาสกอุบาสิกาในสมัยพุทธกาล เรียกว่า พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ นิยมทำกันในวาระดังนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธมามกะ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธรักษาญี่ปุ่น

ทธรักษาญี่ปุ่น, ธรรมรักษา หรือ เยอรมัน (parrot's beak, parakeet flower, parrot's flower, parrot's plantain, false bird-of-paradise) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heliconia psittacorum เป็นพืชหลายปี (perennial plant) ชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอเมริกาใต้และแคริบเบียน โดยถือเป็นพืชประจำถิ่นในปานามา, โคลอมเบีย, เวเนซุเอลา, ตรินิแดดและโตเบโก, กายอานา, ซูรินาม, เฟรนช์เกียนา, บราซิล, โบลิเวีย และปารากวัย และมีรายงานว่าสามารถขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติในเลสเซอร์แอนทิลลีส, เปอร์โตริโก, ฮิสปันโยลา, จาเมกา, แกมเบีย และไทย พุทธรักษาญี่ปุ่นมักได้รับการปลูกเป็นไม้ประดับเขตร้อนในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกนอกเหนือจากถิ่นกำเนิดของมัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธรักษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

พุทธรัตนะ

ทธรัตนะ สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธรัตนะ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธวงศ์

ทธวงศ์ (พุทฺธวํส) หมายถึง สายของพระพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพุทธวงศ์ไว้คราวประทับ ณ นิโครธาราม ระหว่างการเสด็จนิวัตกรุงกบิลพัสดุ์ (หลังตรัสรู้) การสืบสายพุทธวงศ์ไม่ได้มาจากการสืบสายโลหิตหรือการชิงอำนาจปราบดาภิเษกอย่างการสืบราชสมบัติ แต่มาจากสั่งสมบำเพ็ญบารมีและรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต ในการสังคายนาครั้งที่ 1 ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์สาวกที่ร่วมสังคายนาได้จัดให้เรื่อง "พุทธวงศ์" นี้เป็นคัมภีร์หนึ่งในหมวดอปทาน ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ศาสนาพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แต่พระพุทธเจ้าในอดีตที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงนับเข้าในพุทธวงศ์ของพระองค์มีอยู่ 24 พระองค์ เพราะ 24 พระองค์นี้เป็นผู้ประทานพยากรณ์ว่าพระโคตมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อรวมพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น 25 พระองค์ในพุทธวง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศาสนิกชน

ทธศาสนิกชน (Buddhist) แปลว่า คนที่นับถือศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า พุทธมามกะ ซึ่งหมายถึง ผู้ประกาศตนว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของตน พุทธศาสนิกชน หมายถึง คนที่ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เต็มใจที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมคือ เว้นจากการทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้หมดจดจากกิเลส ด้วยการบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เช่น ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาเพื่อขัดเกลา อบรม บ่มเพาะกาย วาจา ใจให้งดงามเรียบร้อย ให้สงบนิ่ง และให้พ้นจากความเศร้าหมองต่างๆ พุทธศาสนิกชน ที่พึงประสงค์คือผู้ปฏิบัติตนให้เป็นผู้รู้ ผู้ฉลาด ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่งมงาย ไม่ประมาทมัวเมา ไม่หลงไปตามกระแสกิเล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

พุทธคยา

ทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple, बोधगया) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธคยา · ดูเพิ่มเติม »

พุทธเกษตร

ทธเกษตร (อาณาจักรแห่งพระพุทธเจ้า) หรือ วิสุทธิภูมิ (ดินแดนบริสุทธิ์) ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน คือดินแดนที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้นด้วยปณิธานของแต่ละพระองค์ แดนพุทธเกษตรไม่ใช่นิพพาน แต่มีลักษณะคล้ายสวรรค์ เป็นภูมิที่สาวกของพระพุทธเจ้าใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและพุทธเกษตร · ดูเพิ่มเติม »

ฎีกา

ีกา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและฎีกา · ดูเพิ่มเติม »

กบิลพัสดุ์

ซากกรุงกบิลพัสด์ประเทศเนปาล กบิลพัสดุ์ (Kapilavatthu กปิลวัตถุ; Kapilavastu กปิลวัสตุ; Kapilavastu) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะ เป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงเจริญเติบโตและประทับอยู่จนกระทั่งพระชนมายุ 29 ปี ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญกัน กบิลพัสดุ์ แปลตามศัพท์ว่า "ที่อยู่ของกบิลดาบส"เพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อ กบิล พวกเจ้าศากยะได้มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกบิลพัสดุ์ · ดูเพิ่มเติม »

กฐิน

กฐินเป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ กฐิน (บาลี: กน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกฐิน · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ)

ันทรสมุทรบนดวงจันทร์ ที่ปรากฏภาพคล้ายกระต่าย กระต่ายจันทร์ เป็นความเชื่อรวมกันของหลายชนชาติ ที่เชื่อว่าบนดวงจันทร์มีกระต่ายอาศัยอยู่ โดยพิจารณาจากจันทรสมุทร (หลุมดำบนดวงจันทร์) แล้วเกิดเป็นพาเรียโดเลีย (จินตภาพ) รูปกระต่ายขึ้นมา ความเชื่อนี้มีในหลายชนชาติทั่วโลก เช่น แอฟริกา, ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น รวมถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในปกรณัมของฮินดู พระจันทร์ เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ เป็นผู้ถือกระต่ายไว้ในพระหัตถ์ เนื่องจากคำว่ากระต่ายในภาษาสันสกฤต คือ "ศศะ" ดังนั้นจึงเรียกดวงจันทร์ว่า "ศศิน" (ศศินฺ) แปลว่า "ซึ่งมีกระต่าย" ในปกรณัมของจีน ภาพที่ปรากฏบนดวงจันทร์ คือ กระต่ายขาวกำลังตำข้าวในครก กระต่ายนี้เชื่อกันว่าเป็นผู้รับใช้เซียนหรือผู้วิเศษ โดยมีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ หรือเป็นสัตว์เลี้ยงของฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ในชาดก ซึ่งเป็นนิทานของพุทธศาสนา มีเรื่องหนึ่งเล่าว่า มีชายคนหนึ่งหลงทางในป่า ขณะที่หมดสติไปเพราะความหิวและยากลำบาก มีสัตว์ป่า 3 ชนิดมาพบเข้า ได้แก่ หมี, หมาจิ้งจอก และกระต่าย สัตว์ทั้ง 3 ตกลงกันที่จะช่วยชายผู้นี้ หมีนำปลามาให้ ขณะที่หมาจิ้งจอกนำองุ่นมาให้ แต่กระต่ายไม่อาจหาอะไรมาได้ เพราะกินเป็นแต่หญ้า จึงเสียสละตัวเองกระโดดเข้ากองไฟเพื่อเป็นอาหารให้แก่ชายผู้นี้ พระอินทร์จึงวาดภาพกระต่ายจารึกไว้บนดวงจันทร์เพื่อระลึกถึง อย่างไรก็ตามชาดกเรื่องนี้ได้มีรายละเอียดต่างไปเล็กน้อย ๆ เช่น ชายผู้นี้บ้างก็ว่าเป็นพระพุทธเจ้า หรือเป็นพราหมณ์บ้าง หรือกระทั่งว่า กระต่ายตัวนี้คือพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าก็มี ในชนชาติฮอตเทนทอต ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเร่ร่อนล่าสัตว์ ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เรื่องราวของกระต่ายบนดวงจันทร์ช่วยอธิบายอาการปากแหว่งเพดานโหว่ ตั้งแต่เกิดของมนุษย์ ตามตำนานพระจันทร์ส่งกระต่ายลงมายังโลกเพื่อบอกกับมนุษย์ว่าเมื่อเธอตายจะกลับฟื้นขึ้นอีกครั้ง และมนุษย์ก็เช่นกัน แต่กระต่ายไม่ใส่ใจจึงจำข้อความผิด ๆ ถูก ๆ ไปบอกมนุษย์ว่า พระจันทร์ตายแล้ว จะไม่ฟื้นคืนมาใหม่ และมนุษย์ก็จะเป็นเช่นเดียวกับเธอ เมื่อพระจันทร์ทราบว่ากระต่ายทำอะไรลงไป เธอโกรธมากและพยายามจะใช้ขวานจามหัวกระต่าย แต่พลาดไปโดนริมฝีปากบนของกระต่ายแทน กระต่ายบาดเจ็บก็ตอบแทนเธอด้วยการข่วนเข้าที่ใบหน้าด้วยอุ้งเล็บ ทำให้เกิดรอยปื้นดำปรากฏบนดวงจันทร์ดังที่เห็นกันทุกวันนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกระต่ายจันทร์ (ความเชื่อ) · ดูเพิ่มเติม »

กวนอิม

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์" เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกวนอิม · ดูเพิ่มเติม »

กามนิต

กามนิต (Der Pilger Kamanita) เป็นวรรณกรรมประเภทนวนิยายอิงพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงมาก ประพันธ์ในปี ค.ศ. 1906 โดยคาร์ล แอดอล์ฟ เกลเลอโรป นักประพันธ์ชาวเดนมาร์ก ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1917 หนังสือกามนิตได้รับการยกย่องให้เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ฉบับภาษาไทยแปลโดยเสฐียรโกเศศ–นาคะประทีป ในปี พ.ศ. 2473 มีรูปประกอบโดยอาจารย์ช่วง มูลพินิจ โดยแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ (The Pilgrim Kamanita) ซึ่งแปลมาจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน (Der Pilger Kamanita) อีกทอดหนึ่ง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกามนิต · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย

ษาบาลี หรือภาษามคธ เป็นภาษาที่จารึกพระไตรปิฎก ด้วยเป็นภาษาที่คนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลนิยมใช้กันทั่วไป จึงเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น หลังจากพุทธปรินิพพานมีการทำปฐมสังคายนา พระเถระได้ตกลงกันใช้ภาษาบาลีสำหรับจดจำพระไตรปิฎก พระสงฆ์สายเถรวาทจึงต้องศึกษาภาษาบาลีให้เข้าใจลึกซึ้งและสามารถเทียบเคียงสอบทานกับพระไตรปิฎกที่เก็บไว้ในสถานที่ต่างกันได้ เพื่อรักษาการแปลความหมายจากพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกให้ถูกต้องไม่บิดเบือน และหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันเทวประภาส มากคล้าย เปรียญ..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

การจาริกแสวงบุญ

นักแสวงบุญมุสลิมที่มักกะหฺ การจาริกแสวงบุญ (Pilgrimage) ทางด้านศาสนาและจิตวิญญาณ “การจาริกแสวงบุญ” คือการเดินทางหรือการแสวงหาสิ่งที่มีความสำคัญทางจริยธรรมต่อจิตใจ บางครั้งก็จะเป็นการเดินทางไปยังศาสนสถานที่มีความสำคัญต่อความเชื่อหรือความศรัทธาของผู้นั้น สมาชิกของศาสนาหลักของโลกมักจะร่วมในการเดินทางไปแสวงบุญ ผู้ที่เดินทางไปทำการจาริกแสวงบุญเรียกว่านักแสวงบุญ พระพุทธศาสนามีสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าสำหรับนักแสวงบุญอยู่สี่แห่ง: ลุมพินีวันที่ตั้งอยู่ในแคว้นอูธในประเทศเนปาลที่เป็นสถานที่ประสูติ, พุทธคยาที่ตั้งอยู่ในรัฐพิหารในประเทศอินเดียที่เป็นสถานที่ตรัสรู้, สารนาถที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองพาราณสีในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียซึ่งเป็นสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และ กุสินาราที่ตั้งอยู่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินครในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในศาสนาเอบราฮัมที่ประกอบด้วยศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาบาไฮ ถือว่าดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในอิสราเอลปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง ในราชอาณาจักรอิสราเอล และ ราชอาณาจักรยูดาห์ การเดินทางไปยังศูนย์กลางของสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อบางแห่งถูกยกเลิกไปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อการสักการะพระเยโฮวาห์จำกัดอยู่แต่เพียงที่วัดแห่งเยรุซาเล็มเท่านั้น “การจาริกแสวงบุญ” บนแผ่นดินใหญ่ของกรีซก็จะเป็นการเดินทางไปยังเดลฟี หรือโหรซูสที่โดโดนา และทุกสี่ปีระหว่างสมัยกีฬาโอลิมปิค เทวสถานซูสก็จะเต็มไปด้วยผู้มาแสวงบุญจากดินแดนต่างๆ ทุกมุมเมืองของกรีซ เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชไปถึงอียิปต์ พระองค์ก็ทรงหยุดยั้งทุกสิ่งทุกอย่างลงชั่วคราว และทรงนำผู้ติดตามไม่กี่คนลึกเข้าไปในทะเลทรายลิเบียเพื่อไปปรึกษาโหรที่อัมมุน ระหว่างสมัยการปกครองของราชวงศ์ทอเลมีต่อมา ศาสนสถานไอซิสที่ฟิเล (Philae) ก็มักจะได้รับเครื่องสักการะที่มีคำจารึกภาษากรีกจากผู้มีความเกี่ยวพันที่อยู่จากบ้านเมืองเดิมในกรีซ แม้ว่า “การจาริกแสวงบุญ” มักจะอยู่ในบริบทของศาสนา แต่การจาริกแสวงบุญก็แปรเปลี่ยนไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวกับกับศาสนาได้เช่นการเดินทางไปแสดงความเคารพคนสำคัญของลัทธินิยมเช่นในกรณีที่ทำกันในประเทศคอมมิสนิสต์ ตัวอย่างเช่นการเดินทางไปเยี่ยมชมที่บรรจุศพเลนิน (Lenin's Mausoleum) ที่จัตุรัสแดงก่อนที่สหภาพโซเวียตจะแตกแยกออกจากกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะเดียวกับที่เรียกว่า “การจาริกแสวงบุญ”.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและการจาริกแสวงบุญ · ดูเพิ่มเติม »

การขอฝน

การขอฝน เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน เกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม ที่อยู่ในหลายชนชาติ และหลายวัฒนธรรม เมื่อฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือต้องการน้ำในการทำการเกษตร888 ในรัสเซีย หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองดอร์ปาท ให้ผู้ชายสามคนปีนขึ้นต้นเฟอร์ คนหนึ่งถือค้อนเคาะถังเล็ก ๆ ทำเป็นเสียงฟ้าร้อง คนที่สองถือดุ้นฟืนติดไฟสองดุ้น เคาะให้กระทบกัน ไฟจะแตกกระจาย คล้ายฟ้าแลบ คนที่สามถือที่ใส่น้ำ ขึ้นไปโปรยไปมารอบต้นไม้ คล้ายกับว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว ที่ตำบลฮิตาคิ ในประเทศญี่ปุ่น ผู้คนจะพากันไปขอน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลราอิชิน เอาน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่กลับหมู่บ้าน จะหยุดพักไม่ได้ เชื่อกันว่าหยุดที่ใดฝนจะตกที่นั่น บางแห่งจะตั้งขบวนไปขอไฟจากพระในวัดบนภูเขา สวดอ้อนวอนแล้ว เอาไฟไปโบกตามทุ่งนา เชื่อว่าจะทำให้ฝนจะตกเหมือนกัน และที่หมู่บ้านริมทะเลสาบรอบภูเขาฟูจี นับถือทะเลสาบว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เอาของสกปรกไปทิ้ง แต่เมื่อต้องการฝนตก จะเอาเอากระดูกวัวกระดูกควายโยนลงทะเลสาบ เชื่อกันว่าจะทำให้เทพเจ้าโกรธ บันดาลฝนให้ตก ที่หมู่บ้านนิโนเฮ ถือขวดเหล้าสาเกไปถวายพระที่ศาลเจ้าโกเงน บนภูเขาโอริซูเน เมื่อพระดื่มเหล้าสาเกแล้ว ก็จะช่วยกันจับพระไปผลักตกบ่อน้ำ เมื่อเห็นพระตะเกียกตะกายขึ้น ก็จะช่วยกันผลักให้ตกลงไปอีก เพราะเชื่อว่าเทพเจ้าไม่อยากเห็นพระทรมาน จึงจะรีบบันดาลให้ฝนตก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและการขอฝน · ดูเพิ่มเติม »

การคว่ำบาตร (ศาสนาพุทธ)

การประท้วงครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2550) การคว่ำบาตรของพระสงฆ์ในพระวินัยปิฎกด้วย (บาลี: นิกฺกุชฺชยกมฺม) มีที่มาจากศัพท์ในจุลวรรค พระวินัยปิฎก ที่กล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์สามารถมีมติลงโทษคว่ำบาตรอุบาสกอุบาสิกาได้เพื่อให้มีสติสำนึกผิดในความผิดที่กระทำต่อพระพุทธศาสนา การคว่ำบาตรในทางพระวินัยจึงถือเป็นการตักเตือนด้วยความปรารถนาดี โดยพระสงฆ์สามารถทำการคว่ำบาตรได้เฉพาะกับชาวพุทธเท่านั้นตามข้อกำหนดในพระวินัยปิฎกและตามสภาพที่เป็นจริงในทางปฏิบัต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและการคว่ำบาตร (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

การคิดวิเคราะห์

ประติมากรรม "The Thinker" (พ.ศ. 2422-2432) โดยออกัสต์ โรแดง ประติมากรชาวฝรั่งเศส (พ.ศ. 2383 - 2460) ที่มีการจำลองไปตั้งตามมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา-วิจัยสำคัญรวมทั้งพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เกือบทุกทวีปทั่วโลกไม่น้อยกว่า 30 แห่ง การคิดวิเคราะห์, การคิดเชิงวิพากษ์ หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) เป็นกระบวนการทางจิตสำนึกเพื่อวิเคราะห์ หรือ ประเมินข้อมูล ในคำแถลง หรือ ข้อเสนอที่มีผู้แถลงหรืออ้างว่าเป็นความจริง การคิดวิเคราะห์เป็นรูปแบบของกระบวนการที่สะท้อนให้เห็นความหมายของคำแถลง (statement) และการตรวจสอบหลักฐานที่ได้รับการไต่ตรองด้วยเหตุและผล แล้วจึงทำการตัดสินคำแถลงหรือข้อเสนอที่ถูกอ้างว่าเป็นความจริงนั้น การคิดวิเคราะห์อาจทำได้จากการรวบรวมข้อมูล การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ หลักแห่งเหตุและผล หรือการสื่อความ การคิดวิเคราะห์ต้องมีพื้นฐานของคุณค่าเชิงพุทธิปัญญาที่สูงเลยไปจากการเป็นเพียงการแบ่งเนื้อหาที่รวมไปถึง ความกระจ่างชัด ความแม่นยำ ความต้องตรงเนื้อหา หลักฐาน ความครบถ้วนและความยุติธรรม ความหมายหรือนิยามการคิดวิเคราะห์มีมากมายและหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ไปในแนวเดียวกันคือการใช้เหตุผล หลักฐานและตรรกะมาวิเคราะห์ให้แน่ชัดก่อนลงความเห็นหรือตัดสิน พระพุทธเจ้าได้ใช้วิธีการสอนที่อาจนับเป็นการคิดวิเคราะห์ที่เรียกว่า "ปุจฉาวิสัชนา" ด้วยการให้พระสงฆ์ใช้ "วิจารณญาน" ถามตอบซักไซ้ไล่เลียงค้านกันไปมาจนได้คำตอบซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการคิดวิเคราะห์ โดยทรงให้หลักแห่งความเชื่อที่ไม่งมงายไว้ในพระสูตรชื่อ กาลามสูตร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและการคิดวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

การตัดขาดจากศาสนา

การตัดขาดจากศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเททพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 204 (excommunication) คือการตำหนิโทษทางศาสนา เพื่อขับไล่บุคคลหนึ่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของศาสนจักร คำว่า excommunication หมายถึง การไม่ร่วมสมานฉันท์ (communion).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและการตัดขาดจากศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 1 ในจุดหมายแสวงบุญที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธ การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ คือการเดินทางของพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาเพื่อไปสักการะสถานที่สำคัญในพระพุทธประวัติหรือสถูปเจดีย์ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา ในดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล (หรือที่คือดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน) โดยสถานที่สำคัญที่ถือได้ว่าเป็นจุดหมายหลักของชาวพุทธคือสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ฯ สารนาถ สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และกุสินารา สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งนอกจากสังเวชนียสถานแล้ว ยังมีสถานที่สำคัญอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ทั้งที่เป็นมหาสังฆารามในอดีต หรือเมืองสำคัญในสมัยพุทธกาลที่มีความเกี่ยวข้องปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งบางแห่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก เช่นที่ พุทธคยา ถ้ำอชันตา-เอลโลล่า เป็นต้น เดิมนั้นการเดินทางไปสักการะยังสถานที่ต่าง ๆ ในดินแดนพุทธภูมิเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องมีความศรัทธาตั้งมั่นอย่างมากจึงจะสามารถไปนมัสการได้ครบทุกแห่ง ในปัจจุบันการเดินทางสะดวกสบายขึ้น และมีวัดพุทธนานาชาติอยู่ในจุดสำคัญ ๆ ของพุทธสถานโบราณต่าง ๆ ทำให้ชาวพุทธจากทั่วโลกนิยมไปนมัสการพุทธสถานในดินแดนพุทธภูมิเป็นจำนวนมากในแต่ละปี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและการแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

การเดินทางข้ามเวลา

การเดินทางข้ามเวลา (time travel) เป็นแนวคิดเรื่องการเคลื่อนที่ (ที่มักจะทำให้เกิดขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์) ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความแตกต่างกันในห้วงเวลา หรือ ระหว่างห้วงเวลาหนึ่งไปยังอีกห้วงเวลาหนึ่ง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเคลื่อนที่ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความแตกต่างกันในพื้นที่ หรือ ปริภูมิ (space) ในลักษณะย้อนสู่อดีตหรือมุ่งสู่อนาคต โดยไม่จำต้องประเชิญห้วงเวลาที่คั่นระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดหมายปลายทาง ซึ่งอาจอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า "จักรกลข้ามเวลา" (time machine) Brave New Words: The Oxford Dictionary of Science Fiction by Jeff Prucher (2007),.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและการเดินทางข้ามเวลา · ดูเพิ่มเติม »

กาลทาน

กาลทาน (อ่านว่า กาละทาน) แปลว่า ทานที่ถวายตามกาล, ทานที่ทรงอนุญาตให้รับได้ตามกาล คำว่า กาลทาน หมายถึงทานหรือสิ่งของที่มีกำหนดระยะเวลาถวายภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุรับทานเช่นนั้นได้ หากถวายก่อนหรือหลังระยะกาลนั้นไม่ถือว่าเป็นกาลทานที่กำหนดไว้ว่าเป็นกาลทาน คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกาลทาน · ดูเพิ่มเติม »

กาสาวพัสตร์

กาสาวพัสตร์ (อ่านว่า กาสาวะพัด) แปลว่า ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด (kasāva กาสาว; काषाय kāṣāya กาษาย;;;; cà-sa) เป็นคำเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่ม ผ้านุ่งห่มของพระสงฆ์ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแก่นขนุนหรือสีกรัก ก็เรียกว่าเป็นผ้ากาสวพัสตร์ทั้งสิ้น ถือว่าเป็นของสูง เป็นของพระอริยะ เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานอนุญาตให้พระสาวกใช้ได้ จัดเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง คำว่า กาสาวพัสตร์ ในความหมายรวมๆ ก็คือผ้าเหลืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา เช่น แม่พูดกับลูกว่า “ลูกเอ๋ย บวชให้แม่ได้เห็นชายผ้าเหลืองสักพรรษานะลูก” คำว่า ผ้าเหลือง ในที่นี้ก็คือผ้ากาสาวพัสตร์ นั่นเอง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกาสาวพัสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กุสินารา

กุสินารา หรือ กุศินคร (कुशीनगर, کُشی نگر, Kusinaga, Kushinagar) เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์ ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและกุสินารา · ดูเพิ่มเติม »

ญาตัตถจริยา

ญาตัตถจริยา แปลว่า การประพฤติประโยชน์ต่อญาติ, การบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ญาติ ญาตัตถจริยา เป็นคำเรียกพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงปฏิบัติประการหนึ่งใน ๓ ประการ ญาตัตถจริยา หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติหน้าที่สงเคราะห์ญาติในฐานะที่เป็นญาติ กล่าวคือทรงสงเคราะห์พระบิดา พระมารดา ตลอดถึงพระประยูรญาติ พระบรมวงศานุวงศ์ให้ได้เข้าถึงพระรัตนตรัย เข้าถึงธรรม จึงถึงให้ได้บวชในพระศาสนาและบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นต้นว่าเสด็จไปโปรดพระบิดาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้ได้ไม่นาน เสด็จไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสด็จไปห้ามพระญาติสองฝ่ายมิได้รบพุ่งกันเพราะเหตุแย่งน้ำทำนา ประทานอุปสมบทให้แก่พระนันนทะ พระนางรูปนันทา ซึ่งเป็นพระอนุชา และพระภคินีต่างพระมารดา ทรงแนะนำสั่งสอนจนได้เป็นพระอรหันต์ทั้งสององ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและญาตัตถจริยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพม่า

ษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (MLCTS: myanma bhasa) เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ 'my' และรหัส SIL คือ BMS.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและภาษาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

ภควา

วา (भगवा) หรือ ภควานฺ (भगवान्) เป็นสมัญญาของพระเจ้าในศาสนาแบบอินเดีย โดยพุทธศาสนิกชนใช้คำนี้หมายถึงพระพุทธเจ้า ชาวฮินดูลัทธิไวษณพใช้หมายถึงองค์อวตารของพระวิษณุ (เช่น พระกฤษณะ) ลัทธิไศวะใช้หมายถึงพระศิวะJames Lochtefeld (2000), "Bhagavan", The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Vol.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและภควา · ดูเพิ่มเติม »

มกุฏพันธนเจดีย์

มกุฏพันธนเจดีย์ เป็นสถูปโบราณที่ถูกสร้างขึ้นตรง สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของ พระพุทธเจ้า มกุฏพันธนเจดีย์ ได้ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช บริเวณด้านตะวันออกของ เมืองกุสินารา หรือปัจจุบันคือ 'ตำบลกาเซีย' รัฐอุตตรประเทศ ตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระพุทธ สรีระของพระพุทธเจ้าใน วันอัฏฐมีบูชา เดิมทีบริเวณมกุฏพันธนเจดีย์เป็นเชิงตะกอนไม้จันทร์หอมเพื่อใช้สำหรับถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชจึงทรงสั่งให้สร้างพระสถูปครอบบริเวณนั้นลง แต่สมัยต่อมาเมืองกุสิรานาถูกรุนรานและพระสถูปองค์นี้ถูกทำลายลงเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง ภายหลังได้มีการค้นพบเป็นซากพระสถูปขนาดใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งต่อมารัฐบาลอินเดียได้เข้ามาบูรณะซ่อมแซมพระสถูปองค์นี้ไว้อย่างดี ถ้าวัดรอบฐานของพระสถูปองค์นี้มีความยาวทั้งหมด 46.14 เมตร ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลาง 37.18 เมตร หมวดหมู่:วันอัฏฐมีบูชา หมวดหมู่:พุทธประวัติ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมกุฏพันธนเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

มฤคทายวัน

มฤคทายวัน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมฤคทายวัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาชาติ

มหาชาติ แปลว่า ชาติที่ยิ่งใหญ่, การเกิดครั้งยิ่งใหญ่ หมายถึงการเกิดของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ซึ่งเป็นการเกิดเพื่อบำเพ็ญบารมีครั้งสุดท้ายก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อมา มหาชาติที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะการเกิดครั้งสุดท้ายนี้พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีสำคัญคือทานบารมีซึ่งเป็นการทำให้บารมีอื่นสมบูรณ์ไปด้วย เปรียบเหมือนการประทับตราในหนังสือสำคัญทำให้เกิดความสมบูรณ์ใช้บังคับตามกฎหมายได้ และในชาติสุดท้ายนี้ พระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีอื่น ๆ ครบทั้งสิบประการ จึงถือได้ว่าเป็นการเกิดครั้งสำคัญยิ่งใหญ่กว่าทุกชาติที่ผ่านมา มหาชาติได้รับการประพันธ์เป็นบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองแล้วนำไปเทศน์เป็นทำนองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกการเทศน์เช่นนี้ว่า เทศน์มหาชาติ เรียกเต็มว่า เทศน์มหาชาติเรื่องเวสสันดรชาดก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมหาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยไทยสุริยะ วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยพัฒนา เริ่มแรกนั้นได้รับการก่อตั้งในชื่อ “วิทยาลัยไทยเทคนิค” เมื่อปี พ.ศ. 2505 ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยกรุงเทพ” และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 18 ธันวาคม..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมหาวิทยาลัยกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสังฆิกะ

มหาสังฆิกะ (महासांघिक mahāsāṃghika) เป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่แยกออกมาจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมหรือฝ่ายเถรวาทเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 2 โดยแยกตัวออกไปทำสังคายนาต่างหาก ในระยะแรกนิกายนี้ไม่ได้รุ่งเรืองมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งกับฝ่ายเถรวาทอย่างรุนแรง ต่อมาจึงมีอิทธิพลที่เมืองปาฏลีบุตร เวสาลี แคว้นมคธ ไปจนถึงอินเดียใต้ มีนิกายที่แยกออกไป 5 นิกาย คือ นิกายโคกุลิกวาท นิกายเอกัพโยหาริกวาท นิกายปัญญตติกวาท นิกายพหุสสุติกวาท และนิกายเจติยวาท และถือเป็นต้นกำเนิดของมหายานในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมหาสังฆิกะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาปวารณา

วันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนา ตรงกับวันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา 3 เดือน คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำการปวารณา คือ ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน หมายถึงยอมมอบตนให้สงฆ์กล่าวตักเตือน ในข้อบกพร่องที่ภิกษุทั้งหลายได้เห็นได้ยิน หรือมีข้อสงสัย ด้วยจิตเมตตา เพื่อจักได้สำรวมระวังปรับปรุงแก้ไขตนเอง เพื่อความเจริญของพระธรรมวินัยและความผาสุกในการอยู่ร่วมกัน วันที่พระสงฆ์ทำมหาปวารณานี้ เรียก "ตามที่เข้าใจกันทั่วไป" ว่า วันออกพรรษ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมหาปวารณา · ดูเพิ่มเติม »

มหาเวสสันดรชาดก

มหาเวสสันดรชาดก เป็นชีวประวัติเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ในการบำเพ็ญทานบารมี ก่อนจะทรงอุบัติเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "มหาชาติชาดก" ในการเทศนา เรียกว่า "เทศน์มหาชาติ".

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมหาเวสสันดรชาดก · ดูเพิ่มเติม »

มหีศาสกะ

นิกายมหิสาสกวาท หรือ นิกายมหีศาสกะ เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่หลักฐานฝ่ายบาลีกล่าวว่าแยกมาจากเถรวาท ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายสรวาสติวาท อาจารย์ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิกายนี้เป็นพราหมณ์ เมื่อมาบวชได้นำหลักธรรมในพระเวทมาผสมกับพระพุทธพจน์ แพร่หลายทางภาคตะวันตกและภาคใต้ของอินเดีย โดยเฉพาะแคว้นอวันตี วนวาสี มหาสมณฑล เกรละ และมีอิทธิพลในลังกาด้วย พระพุทธชีวะได้แปลวินัยของนิกายนี้เป็นภาษาจีน หลักธรรมของนิกายนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากนิกายอื่นๆ หลายประการ เช่น ไม่มีอันตรภพ ผู้สำเร็จอรหันต์แล้วไม่เสื่อมแต่พระโสดาบันเสื่อมได้ การบูชาสถูปเจดีย์ได้บุญน้อย การถวายทานให้คณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานมีผลมากกว่าถวายทานต่อพระพุทธเจ้าองค์เดียว เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมหีศาสกะ · ดูเพิ่มเติม »

มอญร้องไห้

มอญร้องไห้ในงานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มอญร้องไห้ หรือ นางร้องไห้ เป็นพิธีกรรมของชาวมอญ เป็นการแสดงความเคารพอาลัยและยกย่องคุณงามความดีของผู้ตาย โดยการประกอบพิธีจะมีวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลง และจะมีคนมาร้องเพลงสวดสรรเสริญ เนื้อหาของเพลงนั้นไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าผู้ตายเป็นใครและมีคุณงามความดีมากน้อยเพียงใ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมอญร้องไห้ · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมุฮัมมัด · ดูเพิ่มเติม »

มธุรัตถวิลาสินี

มธุรัตถวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถา อธิบายความในพุทธวงศ์ แห่งขุททกนิกาย ผลงานของพระพุทธทัตตะ ซึ่งเป็นพระอรรถกถาจารย์รุ่นหลังพระพุทธโฆสะ เนื้อหาหลักของคัมภีร์นี้ ก็เพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวที่ปรากฏในหมวดพุทธวงศ์ ซึ่งว่าด้วยพุทธประวัติ พระจริยาวัตร และพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้าพระองค์ต่าง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมธุรัตถวิลาสินี · ดูเพิ่มเติม »

มนตร์

มนตร์ (मन्त्र) หรือ มนต์ (manta) คำศักดิ์สิทธิ์หรือคำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล พบในศาสนาแบบอินเดีย ทั้งศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ ศาสนาซิกข์ โดยทั่วไปมักเป็นคำสรรเสริญสิ่งศักดิ์สิท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มเหสี

มเหสี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและมเหสี · ดูเพิ่มเติม »

ยักษ์

รูปปั้นยักษ์ '''ทศกัณฐ์''' ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นยักษ์จากเรื่องรามเกียรติ์ ยักษ์ เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ยักษ์ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในขณะที่ความเชื่อในบริเวณอื่นๆของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ชอบของสดคาว ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุค

หลายศาสนามีความเชื่อว่าโลกแบ่งออกเป็นหลายยุค (युग).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและยุค · ดูเพิ่มเติม »

ยุคมืดของกัมพูชา

มืดของกัมพูชา เริ่มขึ้นหลังจากอาณาจักรเขมรเริ่มอ่อนแอลง ประเทศราชประกาศตัวเป็นอิสระ เกิดความวุ่นวายในราชอาณาจักร จนในที่สุดการล่มสลายของอาณาจักรเขมร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและยุคมืดของกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

รหัสยลัทธิ

รหัสยลัทธิ หรือลัทธิรหัสยนิยม (mysticism) คือลัทธิหรือความเชื่อที่ว่ามีรหัสยภาวะ (mystery) เป็นภาวะความจริงหรือคุณค่าบางอย่างซึ่งบุคคลจะรู้ได้ด้วยการใช้ความสามารถพิเศษเหนือกว่าการรับรู้โดยทั่วไปของมนุษย์ เช่น การเข้าฌาน การเข้าถึงพระเจ้า เป็นต้น ผู้ที่เข้าถึงรหัสยภาวะนี้ได้เรียกว่ารหัสยิก (mystic).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรหัสยลัทธิ · ดูเพิ่มเติม »

รัตนะ

รัตนะ แปลว่า แก้ว หมายถึงอัญมณีหรื่อแร่ธาตุที่มีค่า, คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ประเสริฐสุด มีค่าสูงสุด หาได้ยาก เช่น เพชร พลอย มุกดามณี รัตนะ ในคำวัดหมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยเรียกเต็มว่า พระไตรรัตน์ บ้าง พระรัตนตรัย บ้าง รัตนะ นิยมนำมาใช้ประกอบกับคำอื่นเพื่อแสดงว่าคนนั้นสิ่งนั้นมีความสำคัญและมีค่ามาก เช่น รัตนโกสินทร์ รัตนบรรลังก์ รัตนกวี นารีรัตน์ บุรุษรัตน์ หัตถีรัตน์ เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรัตนะ · ดูเพิ่มเติม »

รัตนตรัย

ระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรัตนตรัย · ดูเพิ่มเติม »

ราชคฤห์

ราชคฤห์ (ราชคห; राजगिर ราชคริ; राजगीर ราชคีร; Rajgir; راجگیر) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร ราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง ไฟล์:Rajgirbuddha.jpg|พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ไฟล์:Vulturepeak.jpg|พระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ ไฟล์:Sattapanni.jpg|ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา ไฟล์:Tapodarama.jpg|ตโปธาราม บ่อน้ำโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ไฟล์:Vulturepeak1.jpg|พระมูลคันธกุฎิยอดเขาคิชกูฏ เมื่อมองจากสันติสถูป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและราชคฤห์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถานที่สำคัญในสมัยพุทธกาล

รายชื่อต่อไปนี้ เป็นรายชื่อสถานที่สำคัญในสมัยพุทธกาล เรียงตามลำดับเหตุการณ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรายชื่อสถานที่สำคัญในสมัยพุทธกาล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผู้ได้รับรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย

รายชื่อผู้ได้รับรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม การประกวดภาพยนตร์ไท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรายชื่อผู้ได้รับรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศกัมพูชา

ตารางเบื้องล่างต่อไปนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับธงต่างๆ ที่ใช้อยู่ในกัมพูชาอย่างสังเขป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรายชื่อธงในประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระพุทธเจ้าในอดีต

ระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วหลายพระองค์ มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน อุปมาว่าจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ล่วงไปแล้วมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในมหาสมุทรทั้งสี่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเรื่องพุทธวิสัยเป็นอจินไตย คือเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน ในพุทธวงศ์ หมวดพุทธปกิณณกกัณฑ์ซึ่งว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพุทธวงศ์ 3 พระองค์ และในพุทธวงศ์ 25 พระองค์ รวมเป็น 28 พระองค์ดังนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรายพระนามพระพุทธเจ้าในอดีต · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเทวดาจีน

ทความนี้รวบรวมเทพเจ้าของจีนต่าง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรายพระนามเทวดาจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามพระโพธิสัตว์

ระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิสัตว์สำคัญตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายานมีดังนี้ พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ พระจันทรประภาโพธิสัตว์ และพระสุริยประภาโพธิสัตว์ พระจุนทีโพธิสัตว์ พระนางตารา พระนาคารชุนะ พระปัทมสัมภวะ พระนางปรัชญาปารมิตา พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ นางวสุธระ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ พระศรีอริยเมตไตรย พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอากาศครรภโพธิสัตว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรายนามพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เป็นรางวัลที่จัดเป็นประจำทุกปีโดย สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ (สสภช) เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เขียนบทภาพยนตร์ที่ทำผลงานได้โดดเด่นและดีเยี่ยม เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 1 จัดขึ้นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 17

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 17 ประจำปี พ.ศ. 2550 จัดโดยสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ จัดขึ้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ณ โรงละครสยามนิรมิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีภาพยนตร์ส่งเข้าประกวด 43 เรื่อง โดย 2 เรื่องที่ถอนตัวไปร่วมประกวดคือ "ตำนานสมเด็จพระเนรศวร ภาค 1 และ 2" ของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (จากซ้าย) '''สนธยา ชิตมณี''' ผู้ได้รับรางวัลผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ''ไชยา'' '''เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์''' ผู้ได้รับรางวัลผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ''รักแห่งสยาม'' '''มาช่า วัฒนพานิช''' ผู้ได้รับรางวัลผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ''แฝด'' และ '''อัครา อมาตยกุล''' ผู้ได้รับรางวัลผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ''ไชยา'' ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้ชนะรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม อัครา อมาตยกุล ผู้ชนะรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมมาช่า วัฒนพานิช ผู้ชนะรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมสนธยา ชิตมณี ผู้ชนะรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ ผู้ชนะรางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ผู้ชนะรางวัล จะเน้นด้วย ตัวหน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 17 · ดูเพิ่มเติม »

ริเวอร์ ฟินิกซ์

ริเวอร์ จูด ฟินิกซ์ (River Jude Phoenix) เกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1970 เป็นนักแสดงชาวอเมริกันที่เคยได้รับเข้าชิงรางวัลออสการ์และรางวัลลูกโลกทองคำ มีน้องชายชื่อ วาคีน ฟินิกซ์ เป็นนักแสดงเช่นกัน ริเวอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1993 เหตุเพราะเสพยาเกินขน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและริเวอร์ ฟินิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบัวขาว

ลัทธิบัวขาว (白蓮教 ไป๋เหลียนเจี้ยว) เป็นขบวนการทางศาสนาและการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หยวน เป็นลัทธิบูชาพระแม่องค์ธรรมเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด และรอคอยยุคพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นอุตมรัฐที่เชื่อว่าสังคมจะรุ่งเรืองสงบสุขตลอดไป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและลัทธิบัวขาว · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเซียนเทียนเต้า

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา ลัทธิเซียนเทียนเต้า (先天道 Xiāntiān Dào) เป็นลัทธิศาสนาหนึ่งที่หวง เต๋อฮุย ก่อตั้งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง โดยสืบความเชื่อมาจากลัทธิบัวขาวในสมัยราชวงศ์หยวน นอกจากนี้ยังรับคำสอนมาจากลัทธิหลัวด้วย ลัทธิเซียนเทียนเต้าเป็นต้นกำเนิดของอีก 5 ลัทธิที่แยกตัวออกมาภายหลัง ได้แก่ ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและลัทธิเซียนเทียนเต้า · ดูเพิ่มเติม »

ลงโบสถ์

ลงโบสถ์ หมายถึงการลงไปทำกิจวัตรประจำวันคือทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นพร้อมกันที่อุโบสถของภิกษุสามเณร เช่นใช้ว่า "การลงโบสถ์ถือเป็นกิจประจำของพระสงฆ์ เพราะเหมือนกับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างที่เคยปฏิบัติมาในครั้งพุทธกาล" ลงโบสถ์ ในสำนวนไทยถูกใช้ในความหมายทำนองว่าเข้ากันไม่ได้หรือไม่ลงรอยกันเช่นใช้ว่า "ตอนนี้พวกเขาไม่ลงโบสถ์กันเสียแล้ว" "จะลงโบสถ์กันได้อย่างไร ทะเลาะกันบ่อยออกปานนั้น".

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและลงโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

ระสุภูติกราบทูลอาราธนาพระโคตมพุทธเจ้าแสดงวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ภาพจากม้วนหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรที่พบในถ้ำผาม่อเกา ประเทศจีน วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (Diamond Sutra) เป็นชื่อพระสูตรสำคัญหมวดปรัชญาปารมิตาของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เชื่อกันว่าพระสูตรหมวดปรัชญาปารมิตานี้เป็นพระสูตรมหายานรุ่นแรก ๆ ที่เกิดขึ้น เนื้อหาสาระสำคัญเป็นเรื่องราวการเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากับพระสุภูติซึ่งเป็นพระอรหันตสาวก ที่พระเชตวันมหาวิหาร ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ จะต้องกระทำด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นการอรรถาธิบายถึงหลักศูนยตา ความว่างเปล่าปราศจากแก่นสารของอัตตาตัวตนและสรรพสิ่งทั้งปวง แม้ธรรมะและพระนิพพานก็มีสภาวะเป็นศูนยตาด้วยเช่นเดียวกัน สรรพสิ่งเป็นแต่เพียงสักว่าชื่อเรียกสมมติขึ้นกล่าวขาน หาได้มีแก่นสารแท้จริงอย่างใดไม่ เพราะสิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุปัจจัยประชุมพร้อมกันเป็นแดนเกิด หาได้ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง เช่นนี้สิ่งทั้งปวงจึงเป็นมายา พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีพึงมองเห็นสรรพสิ่งในลักษณะเช่นนี้ เพื่อมิให้ยึดติดในมายาของโลก ท้ายที่สุด พระพุทธองค์ได้สรุปว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพึงยังจิตมิให้บังเกิดความยึดมั่นผูกพันในสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะสังขตธรรมนั้นอุปมาดั่งภาพมายา ดั่งเงา ดั่งความฝัน ดั่งฟองในน้ำ และดั่งสายฟ้าแลบ เกิดจากการอิงอาศัยไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารจีรังยั่งยืน แนวคิดเรื่องศูนยตานี้ได้พัฒนาต่อไปโดยท่านคุรุนาคารชุนแห่งนิกายมาธยมิกะ จนกลายเป็นความคิดหลักทางพุทธปรัชญาที่ลึกล้ำและโดดเด่นในโลกจนทุกวันนี้ พระสูตรนี้มีแปลเป็นภาษาไทยโดย เสถียร โพธินันท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร · ดูเพิ่มเติม »

วัดบุปผาราม (จังหวัดตราด)

วัดบุปผาราม เดิมชื่อ วัดปลายคลอง ตั้งอยู่ เนินหย่อง หมู่ที่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดบุปผาราม (จังหวัดตราด) · ดูเพิ่มเติม »

วัดบูรพาภิรมย์

วัดบูรพาภิรมย์ ตั้งอยู่ที่ บ้านโนนสว่าง หมู่ที่ 6 ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดบูรพาภิรมย์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระบรมธาตุวรวิหาร

วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ 6 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท เป็นวัดเก่า สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตั้งอยู่ที่บ้านท้ายเมือง ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท อยู่ห่างจากตัวเมืองชัยนาท 4 กม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระบรมธาตุวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา โรงเรียนสงฆ์ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระพุทธ

วัดพระพุทธ นราธิวาส วัดพระพุทธ นราธิวาส วัดพระพุทธ นราธิวาส วัดพระพุทธ ตั้งอยู่ที่ บ้านใหญ่ หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ภายในวัดมีศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ชื่อ พ่อท่านพระพุทธ พระพุทธไสยาสน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุช่อแฮ

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ บนเนื้อที่ 175 ไร่ บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นสิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่ การเดินทางมาเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ ถนนสายหลัก คือ ถนนช่อแฮ เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสี่แยกใจกลางเมืองแพร่ เข้าสู่ถนนช่อแฮ และตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ สนามบินจังหวัดแพร่ หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแต (กวีรัตน์) หมู่บ้านมุ้ง สถานที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮอยู่ในบริเวณเขตเทศบาลตำบลช่อแฮ ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร จากตัวเมืองจังหวัดแพร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 96 ง วันที่ 19 กันยายน..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุช่อแฮ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ปัจจุบันมี พระเทพวรมุนี เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (180px) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 8 สิงหาคม 2481, หน้า 1476 ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 28 ไร่ 3 งาน 26 ตารางว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุจอมกิตติ

วัดพระธาตุจอมกิตติ วัดพระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่บนยอดดอยน้อย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1.5 กิโลเมตร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุจอมกิตติ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุจอมจ้อ

วัดพระธาตุจอมจ้อ เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม และยังเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอเทิง ตั้งอยู่ที่ ม.20 บ้านเวียงจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง หางจากที่ว่าการอำเภอเทิงไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบสถาปัตยกรรมล้านน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุจอมจ้อ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุจอมแจ้ง (แพร่)

วัดพระธาตุจอมแจ้ง เดิมเรียกว่า พระธาตุจวนแจ้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ในพ.ศ. 1331 สร้างพระธาตุจอมแจ้งสีทอง สูง 29 เมตร ฐานกว้าง 10 เมตร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ตำบลป่าแดง เป็นพิพิธภัณฑ์ของจังหวัดแพร่ มีตำนานว่าพระพุทธเจ้าเสด็จถึงสถานที่นี้จวนสว่าง (เวลาใกล้รุ่ง) พอดี สถานที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า รวบรวมสิ่งของโบราณที่หาดูได้ยาก พระธาตุจอมแจ้ง จอมแจ้ง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุจอมแจ้ง (แพร่) · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุดอยหยวก

วัดพระธาตุดอยหยวก ตั้งอยู่บ้านหนุน หมู่ที่ 6 ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดพะเยา เป็นปูชนียสถานที่มีความสำคัญคู่อำเภอปง และเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเกศา และพระอัฐิจักษุ (กระดูกริมตาข้างขวา) ของพระพุทธเจ้า ระยะทางจากตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร พ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุดอยหยวก · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุดอยคำ

วัดพระธาตุดอยคำ เป็นวัดสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ อายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี ตั้งอยู่บริเวณดอยคำ ด้านหลังอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร วัดพระธาตุดอยคำมีความสูงจากระดับที่ราบเชียงใหม่ราว 140 เมตร และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 465 เมตร วัดพระธาตุดอยคำมีลานชมวิวที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์รอบเมืองเชียงใหม่ และยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าห้าร้อยปี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุดอยคำ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว

วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว เป็นวัดในจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่บนดอยแห่งหนึ่งบริเวณเส้นทางไปดงมะดะ บนยอดดอยเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์รอบ ๆ ตัวเมืองของจังหวัดเชียงราย ซึ่งสวยงามและกลางวันและกลางคืน เป็นวัดที่เก่าแก่ ถูกสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาลราว 1,000 กว่าปี มีตำนานเก่าแก่เรื่อง แมงสี่หูห้าตา และ ควายเผือกแก้วเขาแสง ในเจดีย์ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นข้อมือนิ้วก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้าและเขาของควายเผือกแก้วเขาแสงอีกด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุปูแจ

วัดพระธาตุปูแจ ตั้งอยู่ที่บ้านบุญเริง หมู่ที่ 4 บ้านบุญเริง ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานแห่งชาติ พระธาตุปูแจประดิษฐานในเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 4 เมตร สูง 4 เมตร บรรจุพระธาตุตาตุ่มข้างขวา (กระดูกข้อเท้า)ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นโบราณสถานที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดแพร่ สร้างมาแต่โบราณนานหลายร้อยปี หลายยุคหลายสมัย และมีเจ้าผู้ครองนครแพร่หลาย ๆ พระองค์ได้ บูรณปฏิสังขรณ์เป็นประจำเสมอมา งานนมัสการพระธาตุปูแจ หรืองานขึ้นพระธาตุ ตรงกับวันขึ้น 11-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี (เดือน5 เหนือ).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุปูแจ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง

วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง เป็นสถานที่ตั้งพระธาตุนารายณ์เจงเวง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร ตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พระธาตุนารายณ์เจงเวง สกลนคร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุแช่แห้ง

ระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง (100px) วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุแช่แห้ง · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุเชิงชุม

ระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมหนองหาน ถนนเจริญเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จะมีงานมนัสการพระธาตุประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือนยี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระธาตุเชิงชุม · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระแท่นศิลาอาสน์

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่บนเนินเขาเต่า บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด วัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏข้อความกล่าวถึงพระแท่นศิลาอาสน์ แต่เพิ่งมีปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปี พ.ศ. 2283 ได้แสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์ได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว จนเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง และทางราชการได้นำพระแท่นศิลาอาสน์ไปประดิษฐานไว้ในตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แสดงถึงความศรัทธาเลื่อมใสและความสำคัญขององค์พระแท่นศิลาอาสน์ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สังกัดธรรมยุตินิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระแท่นศิลาอาสน์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร

วัดพระแท่นดงรัง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จาก กรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ถึงบริเวณแยกตลาดท่าเรือ เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 3081 ระหว่างกิโลเมตรที่ 9-10 สถานที่แห่งนี้เป็นวัดโบราณซึ่งมีแท่นหินขนาดใหญ่ ที่มีตำนานที่แต่งขึ้นในภายหลังเพื่อเป็นเครื่องเจริญศรัทธากล่าวไว้ว่าเป็นพระแท่นศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน หรือเป็นปูชนียสถานจำลองเครื่องหมายเหตุการณ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ สาลวโนทยาน ประเทศอินเดีย พระแท่นบรรทมของวัดนี้ จึงเป็นพระแท่นจำลอง สร้างเป็นหินแท่งทึบหน้าลาดรูปคล้ายแท่นหรือเตียงนอน เดิมมีต้นรังอยู่ริมพระแท่นข้างละต้น โน้มยอดเข้าหากัน ในบริเวณวัดยังมีโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ เช่น บ่อบ้วนพระโอษฐ์ วิหารพระอานนท์ ฯลฯ และยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ทุก ๆ ปีประมาณกลางเดือน 4 ของไทยจะมีงานนมัสการอย่างยิ่งใหญ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระเขี้ยวแก้ว

วัดศรีทัลฒามัลลิกาววิหาร (ශ්‍රී දළදා මාළිගාව) หรือวัดพระเขี้ยวแก้วเมืองกัณฏิ เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (สยามวงศ์) ตั้งอยู่ริมทะเลสาบกัณฏิ เมืองกัณฏิ ประเทศศรีลังกา เป็นวัดที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวาของพระพุทธเจ้า และมีส่วนให้เมืองกัณฏิได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก วัดพระเขี้ยวแก้ว สร้างโดยพระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 1 พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุดท้ายของประเทศศรีลังกา© UNESCO World Heritage Centre.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพระเขี้ยวแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

วัดพานิชธรรมิการาม

วัดพานิชธรรมิการาม เป็นวัดในตำบลหนองเต่า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดพานิชธรรมิการาม · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร

วัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่บน ถนนมหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ เป็นชื่อเรียกของวัดที่ที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดมหาธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชบูรณะ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ติดกับวัดมหาธาตุทางบริเวณทิศตะวันออก ห่างจากพระราชวังโบราณ เพียงเล็กน้อย จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. 1967 วัดราชบูรณะมีชื่อเสียงและความโด่งดังมากในเรื่องการถูกกลุ่มคนร้ายจำนวนหนึ่ง ลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน ในปี พ.ศ. 2499 และช่วงชิงทรัพย์สมบัติจำนวนมากมายมหาศาลหลบหนีไป ต่อมากรมศิลปากรเข้าทำการบูรณะขุดแต่งต่อภายหลัง พบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองจำนวนมากมาย ปัจจุบันทรัพย์สมบัติภายในกรุถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องราชบูรณะ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดราชบูรณะ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) · ดูเพิ่มเติม »

วัดวังทองแดง

วัดวังทองแดง ตั้งอยู่ที่ บ้านวังทองแดง หมู่ที่ 1 ตำบลวังทองแดง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นวัดของพระพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ตั้งชื่อตามหมู่บ้าน มีประวัติการก่อสร้างตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดวังทองแดง · ดูเพิ่มเติม »

วัดวังตะคร้อ

วัดวังตะคร้อ ตั้งอยู่ที่ บ้านวังตะคร้อ หมู่ที่4 ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดวังตะคร้อ · ดูเพิ่มเติม »

วัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย)

ระอจนะ วัดศรีชุม เป็นที่เลื่องลือว่ามีเอกลักษณ์และมนต์เสนห์เฉพาะตัว วัดศรีชุม เป็นโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ตัววัดเป็นโบราณสถานตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกกำแพงเมืองวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในมณฑป พระพุทธอจนะ เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์ชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมและสักการะอย่างไม่ขาดสาย ในปัจจุบันทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ไม่ห่างจากตัวโบราณสถานนัก มีวัดสร้างใหม่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ใช้ชื่อว่าวัดศรีชุมเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย) · ดูเพิ่มเติม »

วัดศรีบูรพา

วัดศรีบูรพา ตั้งอยู่ที่ บ้านนาขาม หมู่ที่ 2 ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดศรีบูรพา · ดูเพิ่มเติม »

วัดศรีสมสนุกบ้านคุย

วัดศรีสมสนุกบ้านคุย ตั้งอยู่ที่ บ้านคุย หมู่ที่ 6 ตำบลสามขา อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดศรีสมสนุกบ้านคุย · ดูเพิ่มเติม »

วัดสว่างบึงทอง

วัดสว่างบึงทอง ตั้งอยู่ที่ บ้านคำโพนทอง หมู่ที่ 7 ตำบลสามขา อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดสว่างบึงทอง · ดูเพิ่มเติม »

วัดสะแล่ง

วัดสะแล่ง หรือ วัดป่าสุคันธธรรมาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นวัดเก่าแก่สมัยเดียวกับวัดพระธาตุศรีดอนคำ และเป็นที่บรรจุพระธาตุพระอุระพระพุทธเจ้า พระอุโบสถเป็นทรงล้านนาประยุกต์ ประวัติความเป็นมาของวัดมีว่า วัดนี้สร้างในสมัยพระนางจามเทวี เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีโบราณวัตถุเป็นพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรทวารวดี จนถึงอยุธยาตอนปล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดสะแล่ง · ดูเพิ่มเติม »

วัดสำปะซิว

วัดสำปะซิว (ワット・サンパシウ; Wat Sampa Siw) ตั้งอยู่ที่ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่รู้จักในฐานะวัดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนถึงตัวละครการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง โดราเอม่อน ปรากฏขึ้นที่อุโบสถวัด อาทิ โดเรม่อนตกกระทะทองแดง, โดเรม่อนเฝ้าพระพุทธเจ้า, โดเรม่อนเล่นน้ำ และโนบิตะตกนรก ซึ่งสร้างสรรค์ภาพขึ้นโดยรักเกียรติ เลิศจิตรสกุล โดยมีภาพตัวละครดังกล่าวที่เขียนขึ้นที่วัดแถวธาร ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เขียนภาพโดยศิลปินคนเดียวกัน ซึ่งทีมงานถ่ายทำสารคดีจากประเทศญี่ปุ่นได้เดินทางมาถ่ายทำเรื่องราวที่น่าสนใจเหล่านี้ในเวลาต่อมา ทั้งนี้ พระมหาอนันต์ กุสลาลงกาโร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสที่ทราบในภายหลังก็เข้าใจว่าผู้วาดมีเจตนาดี ด้วยการสอดแทรกหลักธรรมะ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับเด็กที่มาเยี่ยมชม ทาง วิศรุต อินแย้ม ซึ่งเป็นผู้อำนวยการการท่องเที่ยวของจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าใจว่าผู้สร้างสรรค์คงมีกุศโลบายสร้างปริศนาธรรมเพื่อสอดแทรกหลักธรรมะด้านการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว โดยภาพดังกล่าวสร้างความน่าสนใจต่อผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดสำปะซิว · ดูเพิ่มเติม »

วัดสำนัก

วัดสำนัก ตั้งอยู่หมู่ 7 บ้านสำนัก ตำบลวังทองแดง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีประวัติการสร้างตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

วัดสิริมหากัจจายน์

วัดสิริมหากัจจายน์ หรือ วัดธาตุ เป็นวัดราษฎร์ นิกายเถรวาท (มหานิกาย) ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนอง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดสิริมหากัจจายน์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดถ้ำเขาสาย

วัดถ้ำเขาสาย เป็นวัดตั้งอยู่ที่เขาสาย หรือภูเขาสาย ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นวัดเก่า อยู่ใกล้วัดหูแกง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดถ้ำเขาสาย · ดูเพิ่มเติม »

วัดดาวเรือง

วัดดาวเรือง ตั้งอยู่ที่ บ้านดอนหัน หมู่ที่ 9 ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดดาวเรือง · ดูเพิ่มเติม »

วัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย และเป็น 1 ใน 9 วัดศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รับสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นมาปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี และประทับชำระคณะสงฆ์ จัดการหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งวัดคุ้งตะเภา เป็นเพียงวัดแห่งเดียวในปริมณฑลเมืองพิชัยและสวางคบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสถาปนาวัดในปีนั้น ตำนานวัดเล่าสืบกันมานับร้อยปีว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้คนย้ายกลับมาตั้งครัวเรือน สร้างวัดและศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ณ ริมคุ้งสำเภา พร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดคุ้งตะเภา" ปัจจุบันทางราชการได้นำชื่อคุ้งตะเภาไปใช้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบลคุ้งตะเภาสืบมาจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เคยเป็นวัดที่สถิตย์ของพระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาตั้งแต่โบราณ โดยเป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และสองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสององค์นั้นจัดได้ว่าเป็น 2 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ คือ พระพุทธสุวรรณเภตรา และ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภาเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3 (สำนักปฏิบัติธรรมภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม)หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ และเป็นวัดประจำตำบลที่มีสถิติพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากที่สุดในตำบลคุ้งตะเภา เป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนศึกษาของคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาโดยพฤตินัย โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักเลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ฝ่ายการศึกษาคณะสงฆ์ สำนักศาสนศึกษาประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคุ้งตะเภา (อปต.) ซึ่งเป็นหน่วยอบรมฯ ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) เป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา (จร.).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

วัดปฐมพานิช

วัดปฐมพานิช ตั้งอยู่ในตำบลบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี วัดปฐมพานิชเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟบ้านหมี่ มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่มีชื่อว่า เจดีย์ก้าวหน้ามหามงคล ซึ่งสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งจะสามารถมองเห็นได้แต่ไกล เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวัดที่อยู่ในเขตชุมชนเทศบาลเมืองบ้านหมี่ วัดแห่งนี้มีสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตต่างๆมากมาย มีสังขารหลวงปู่สุด เจ้าอาวาสวัดปฐมพานิชที่ได้มรณภาพไปแล้วแต่สังขารไม่เน่าเปลื่อยทางวัดก็ได้เก็บรักษาสังขารของท่านเอาไว้ให้ศิษยานุศิษย์ และผู้ที่เคารพได้กราบไหว้ และนอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนอีก สถานที่พักผ่อนจิตใจของชาวพุทธ มีสระบัวและสวนปฏิบัติธรรมทั้งหมด 60 ไร่ แล้วพระที่มีชื่อเสียงของวัดปฐมพานิชที่ผ่านพิธีกรรมการปรุกเสกจาก 108 เกจิอาจารย์ทั่วฟ้าเมืองไทย อาทิเช่น หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงปู่ถมยา หลวงพ่อเภา หลวงปู่สุต หลวงปู่ศรี หลวงพ่อเพี้ยน อาจารย์ธวัชชัย เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และพระมหาเถระอีกมากมาย รายละเอียดพระที่ผ่านพิธีมหามงคล มีดังนี้ 1.พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์หลวงปู่สุตพิมพ์หลังแบบมีเส้นเกษา ปี๒๕๑๘ 2.หลวงปู่สุตรุ่นแรกปี 2509 3.รูปเหมือนหลวงปู่สุต เนื้อทอง เนื้อเงิน นวโลหะ 4.หลวงปู่สุตรุ่น 80 พรรษา และ 90 พรรษา เนื้อเงินและนวโลหะ 5.หลวงปู่สุตปี 2535 2536 และพระเครื่องที่โด่งดังแห่งภาคกลางอีกมากมายที่เป็นที่ต้องการของตลาดพระ นอกจากนี้วัดปฐมพานิช ยังเป็นวัดที่พ่อค้า แม่ค้า เข้ามากราบเพื่อขอพรต่อการค้าขาย เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดของพ่อค้าที่เจริญรุ่งเรื่องร่ำรวย แล้วสร้างวัดขึ้นถวายพระเกจิอาจารย์ในสมัยนั้น จึงเป็นที่นิยมกันดังกล่าว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดปฐมพานิช · ดูเพิ่มเติม »

วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ "วัดป่าแก้ว" หรือ "วัดเจ้าไท" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดใหญ่ชัยมงคล · ดูเพิ่มเติม »

วัดโพธิสมพร

วัดโพธิสมพร ตั้งอยู่ที่ บ้านบอนเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลสามขา อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดโพธิสมพร · ดูเพิ่มเติม »

วัดโพธิ์ชัยสามขา

วัดโพธิ์ชัยสามขา ตั้งอยู่ที่ บ้านสามขา หมู่ที่ 3 ตำบลสามขา อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดโพธิ์ชัยสามขา · ดูเพิ่มเติม »

วัดโพธิ์ธาตุ

วัดโพธิ์ธาตุ ตั้งอยู่ที่ บ้านชุมแพ หมุ่ที่ 10 ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย เดิมชื่อ วัดธาตุ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 68 ตารางวา น..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดโพธิ์ธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

วัดไสยาศน์

วัดไสยาศน์ ตั้งอยู่ที่ บ้านไสยาศน์ หมู่ที่ 2 ตำบลวังทองแดง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่ก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดไสยาศน์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดไทยลุมพินี

วัดไทยลุมพินี (Royal Thai Monastery Lumbini Nepal) เป็นวัดไทยแห่งแรกในประเทศเนปาล ที่ตั้งอยู่ภายในปริมณฑลสังเวชนียสถานเขตลุมพินีวัน บริเวณสถานที่ประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทางเขตตะวันตกสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ใกล้กับชายแดนประเทศอินเดี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดไทยลุมพินี · ดูเพิ่มเติม »

วัดเส้าหลิน

วัดเส้าหลินหรือสำนักเส้าหลิน (เส้าหลินซื่อ; แต้จิ๋ว: เสี้ยวลิ้มยี่; ฮกเกี้ยน: เชี้ยวหลิมซี; คำแปล: วัดป่าบนเขาเส้าซื่อ) เป็นวัดทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความเก่าแก่อายุมากกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน หนึ่งในจำนวนห้ายอดเขาอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีน เป็นเทือกเขาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดทั้งในด้านของประวัติศาสตร์และในแวดวงยุทธภพ ประกอบด้วยยอดเขาน้อยใหญ่จำนวน 72 ยอด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือในกลุ่มของเขาไท่ซื่อ จำนวน 36 ยอด และกลุ่มของเขาเส้าซื่อ จำนวน 36 ยอด ในอำเภอเติงเฟิง เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองเจิ้งโจวและเมืองลั่วหยาง บริเวณรอบ ๆ วัดเส้าหลินเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ใช้สำหรับฝึกวิทยายุทธของหลวงจีน รายล้อมด้วยป่าเจดีย์หรือถ่าหลิน ซึ่งเป็นสุสานของอดีตเจ้าอาวาสและหลวงจีน ซึ่งมีมาตั้งแต่ในยุคสมัยของราชวงศ์ถัง วัดเส้าหลินมีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในประเทศจีนและในต่างประเทศ ได้รับการกล่าวขานในเรื่องของกระบวนท่าวิทยายุทธ เพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งวิชาการต่อสู้และศิลปะการป้องกันตัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน ปรากฏชื่อในนิยายกำลังภายในหลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งล้วนแต่กล่าวถึงวิชาเพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินอยู่เสมอ โดยเฉพาะนิยายกำลังภายในของกิมย้งเช่น มังกรหยก, จอมใจจอมยุทธ์, จิ้งจอกภูเขาหิมะ เป็นต้น ปัจจุบันมีหลวงจีนที่บวชเพื่อศึกษาธรรมะและกังฟูจำนวน 180 รูป มีหลวงจีน ซือ หย่งซิน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลจีนได้ร้องขอต่อองค์กรยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และได้รับการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ร่วมกับโบราณสถานอีก 5 แห่ง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดเส้าหลิน · ดูเพิ่มเติม »

วัดเขาวงพระจันทร์

วัดเขาวงพระจันทร์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใน ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันมี พระมงคลภาวนาวิกรม พระราชาคณะชั้นสามัญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ซึ่งชาวลพบุรีจะเรียนท่านว่า หลวงปู่ฟัก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดเขาวงพระจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดเขาสมโภชน์

วัดเขาสมโภชน์ เป็นวัดในตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวัดเขาสมโภชน์ · ดูเพิ่มเติม »

วันมาฆบูชา

ปุรณมี วันมาฆบูชา (มาฆปูชา; Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวันมาฆบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันวิสาขบูชา

วันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า '''"วันพระพุทธเจ้า"''' วันวิสาขบูชา (วิสาขปุณฺณมีปูชา; Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติRequest for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวันวิสาขบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันออกพรรษา

ออกจาริกเพื่อปฏิบัติธรรม และโปรดพุทธศาสนิกชนตามสถานที่ต่าง ๆ ก่อนจะกลับเข้าจำพรรษาอีกครั้งในปีถัดไปเพื่อความเข้าใจ: วันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา 3 เดือน ของพระภิกษุ ตามคัมภีร์เรียกว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา นั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เราเรียกกันว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เข้าใจกันทั่วไป แต่ตามพระวินัยบัญญัติ พระภิกษุทั้งหลายยังต้องอยู่ในจำพรรษาในคืนวันนั้น (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) อีกคืนหนึ่ง จะไปค้างแรมที่อื่นเลยไม่ได้ ต้องให้ผ่านอรุณเข้าวันใหม่ (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) เสียก่อนสรุปว่า "วันออกพรรษา" ตามที่เรียกและเข้าใจกันทั่วไป (และจะกล่าวถึงต่อไปในบทความนี้) คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ส่วน "วันออกพรรษาจริง" ตามพระวินัย คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 "วันออกพรรษา" (ตามที่เข้าใจกัน) เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรม คือ การปวารณาในวันนี้ วันออกพรรษา (ออกปุริมพรรษา) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย การปวารณา ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระภิกษุโดยเฉพาะ เรียกว่า เป็นญัตติกรรมวาจา (สังฆกรรม) ประเภทหนึ่ง ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาส (3 เดือน) สามารถว่ากล่าวตักเตือนและชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและนำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่ตนเองที่ตั้งใจปฏิบัติตนเป็นอุบาสก-อุบาสิกา ส่วนพระสงฆ์จำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาส (3 เดือน) หรือในวันถัดไปคือ วันออกพรรษา(จริง) (คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยนิยมไปทำบุญตักบาตร เรียกว่า บุญเทศกาลบาตรเทโว หรือ บาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากเทวโลก ลงมายังโลกมนุษย์หลังจากการโปรดเทพบุตร อดีตพระพุทธมารดา พระนางสิริมหามายา บนสวรรค์ดาวดึงส์ (ชั้นที่ 2) ในพรรษาที่ 7 เสด็จลงมายังเมืองสังกัสสะ พร้อมกับทรงแสดงไตรโลกวิวรณปาฏิหาริย์ (ทรงปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้ง 3. เอดการ์ด, มิดท์การ์ด, เอิร์ท) กฐินกาล คือ ช่วงเวลาที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ เริ่มตั้งแต่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง) เป็นช่วงเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ในช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปี เป็นการนำผ้าจีวร ถวายพระพุทธรูปและพระสงฆ์ในวัดต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวันออกพรรษา · ดูเพิ่มเติม »

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวันอัฏฐมีบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวันอาสาฬหบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันโกน

วันโกน คือ วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ 1 วัน, วันโกน-วันพร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวันโกน · ดูเพิ่มเติม »

วันเข้าพรรษา

ประกอบความดีในช่วงนี้อีกด้วย วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ဝါဆို) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางศาสนพุทธที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา" นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวันเข้าพรรษา · ดูเพิ่มเติม »

วิญญูชน (ศาสนาพุทธ)

วิญญูชน แปลว่า ผู้รู้แจ้ง, ผู้รู้โดยแจ่มแจ้งชัดเจน วิญญูชน ใช้หมายถึงคนฉลาด, นักปราชญ์ ผู้รอบรู้, ผู้มีปัญญา, ผู้รู้ผิดรู้ชอบ วิญญูชน คือผู้ประกอบด้วยหลักนักปราชญ์คือ สุ จิ ปุ ลิ ประกอบด้วยปัญญาพินิจ มีหลักโยนิโสมนสิการ คือเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธี ถูกระบบ พิจารณาไตร่ตรองรอบคอบ แล้วสามารถแยกแยะผิดถูก ชั่วดี ควรไม่ควร เหมาะไม่เหมาะเป็นต้นได้อย่างถูกต้องแจ่มแจ้ง วิญญูชน เป็นผู้สามารถที่จะรู้ธรรมของพระพุทธเจ้าได้ ดังบทบาลีว่า ปจจตต เวทิตพโพ วิญญูหิ - พระธรรมอันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวิญญูชน (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

วิริยะ

วิริยะ (วิริย; วีรฺย) แปลว่า ความเพียร ความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ ภาวะของผู้กล้า เป็นแนวทางให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์ หมายถึง การลงมือปฏิบัติลงมือทำงานที่ตนชอบที่ตนรัก ทำด้วยความพากเพียรพยายาม ทำด้วยความสนุก กล้าหาญ กล้าเผชิญกับความทุกข์ยาก ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น หากมีอุปสรรคข้อขัดข้องใดๆ ก็เพียรกำจัดปัดเป่าไปให้หมดสิ้นไป โดยไม่ย่อท้อ ไม่สิ้นหวัง เดินหน้าเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายคือ ความสำเร็จ "วิริยะ" เป็นเหตุให้กล้าลงมือทำงานและกล้าเผชิญปัญหาอุปสรรคต่างๆ ขณะทำงาน ตรงกันข้าม หากขาดความเพียรพยายามเสียแล้วก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า วิริยารัมภะ หมายถึง การปรารภความเพียร คือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว วิริยารัมภกถา เป็น ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (ข้อ5 ในกถาวัตถุ10).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวิริยะ · ดูเพิ่มเติม »

วิหาร

วิหาร คืออาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคล้ายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า คู่กับอุโบสถ แต่ไม่มีวิสุงคามเหมือนพระอุโบสถ คำว่า วิหาร แต่เดิมใช้ในความหมายว่า วัด เช่นเดียวกับคำว่า อาราม อาวาส เช่น เวฬุวัน วิหาร เชตวันมหาวิหาร วิหารมีหลายแบบ เช่น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาราช

วิทยาราชทั้งห้าและกลุ่มเทพโลกบาล วิทยาราช (विद्याराज; หมิงหวัง) เป็นชื่อของเทพประเภทที่สามในศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน รองจากจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามลำดับ ชื่อในภาษาสันสกฤตแปลว่า "เจ้าแห่งความรู้" ภาษาจีนได้แปลชื่อดังกล่าวด้วยคำว่า 明 (หมิง) ซึ่งหมายความได้ทั้งแสงสว่างและความรอบรู้ ศาสนาพุทธแบบทิเบตเรียกว่า "เหรุกะ" สำหรับวิทยาราชที่เป็นเพศหญิง มีชื่อเรียกตามภาษาสันสกฤตว่า วิทยาราชินี (หมิงเฟย์) แต่การจำแนกวิทยราชตามเพศเช่นนี้มักจะถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวิทยาราช · ดูเพิ่มเติม »

วิปัสสนาธุระ

วิปัสสนาธุระ หมายถึง งานด้านวิปัสสนา, งานด้านบำเพ็ญวิปัสสนกรรมฐาน วิปัสสนาธุระ คืองานที่มุ่งอบรมปัญญาให้เกิดโดยการปล่อยวางภาระทั้งปวง ทำกายใจให้เบา ยินดีในเสนาสนะที่เงียบสงบ พิจารณาถึงความเสื่อมไปสิ้นไปในสังขารร่างกายจนเห็นสามัญลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ชัดเจน เจริญอบรมวิปัสสนาต่อเนื่องไปไม่ขาดสายจนถึงวิโมกข์คืออนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และสุญญตวิโมกข์จนก้าวสู่หลักชัยคือวิมุตติคว้าอรหัตผลได้บรรลุกิจจ์ วิปัสสนาธุระ เป็นงานที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ภิกษุปฏิบัติอย่างหนึ่งใน 2 อย่าง คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและวิปัสสนาธุระ · ดูเพิ่มเติม »

ศักราช

ักราช (อังกฤษ: era) ช่วงเวลาที่จัดขึ้นตามการอ้างอิงของช่วงเวลานั้น โดยแบ่งได้ตามการอ้างอิงหรือการเรียกของบุคคลทั่วไป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและศักราช · ดูเพิ่มเติม »

ศาสดา

ือผู้ก่อตั้งศาสนา หรือผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่ เช่น พระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ศาสนายูดาห์มีโมเสสเป็นศาสดา เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและศาสดา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

นาพุทธกับจิตวิทยา (Buddhism and psychology) เหลื่อมกันทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติในศตวรรษที่ผ่านมา โดยมีความเกี่ยวข้องกันหลัก ๆ 4 อย่าง คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและศาสนาพุทธกับจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาแบบอินเดีย

นาแบบอินเดีย (Indian religions) คือศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์Adams, C. J.,, Encyclopædia Britannica, 2007.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและศาสนาแบบอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ศิรินุช เพ็ชรอุไร

รินุช เพ็ชรอุไร (ชื่อเล่น: ก้อย) นักแสดงละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ละครเวที และครูสอนการแสดงชาวไทย ปัจจุบันเป็นผู้กำกับละครเวที และแสดงละครโทรทัศน์ เช่น ปิ่นอนงค์, ธรณีนี่นี้ใครครอง, แม่ยายคงกระพัน, สุสานคนเป็น และ แค้นเสน่หา เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและศิรินุช เพ็ชรอุไร · ดูเพิ่มเติม »

สมาธิ (ศาสนาพุทธ)

มาธิ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต แต่สมาธิในความหมายของการฝึกปฏิบัติ คือการทำใจให้นิ่ง ซึ่งต่างจากร่างกายที่ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจนั้นตรงกันข้าม คือจิตใจหวั่นไหวย่อมอ่อนแอ แต่หากหยุดนิ่งเฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง เหมือนการรวมโฟกัสของแสงให้เป็นจุดเดียวกัน ย่อมมีพลังที่จะจุดไฟให้ติดได้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสมาธิ (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

สมโพธิ แสงเดือนฉาย

มโพธิ แสงเดือนฉาย (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 —) เป็นผู้อำนวยการสร้าง และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ไชโยโปรดักชั่นส์ จำกัด มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ในแนวสัตว์ประหลาด, แฟนตาซี ที่ต้องใช้สเปเชียลเอฟเฟกส์ต่าง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสมโพธิ แสงเดือนฉาย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ตราจารย์ (พิเศษ) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ: 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับกาญจนาภิเษก,; สิ้นพระชนม์: 2 มกราคม พ.ศ. 2551 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เป็นสมเด็จพระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ พระองค์มีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี และได้เข้าประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 02:54 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 84 พรรษ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง นายกองใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

สวนลุมพินี

วนลุมพินี หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า สวนลุม เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสวนลุมพินี · ดูเพิ่มเติม »

สะดึง

ึงวงกลม สะดึง (Embroidery hoop; Embroidery frame) คือกรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น หรืออาจจะหมายถึงกรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร สะดึงมี 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสะดึง · ดูเพิ่มเติม »

สัทธรรมปฏิรูป

ัทธรรมปฏิรูป หมายถึง พระสัทธรรมเทียม พระสัทธรรมปลอม เมื่อพระสัทธรรม คือคำสอนของพระพุทธเจ้า เลือนหายไป ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม หรือ สัทธรรมปฏิรูป เกิดขึ้นจากเหตุผล 5 ประการ คือ พุทธบริษัท 4 (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสัทธรรมปฏิรูป · ดูเพิ่มเติม »

สังกัสสะ

ังกัสสะ (Sankassa) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองที่เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์เสด็จไปทรงจำพรรษาที่ 7 หลังการตรัสรู้ ณ ดาวดึงส์ เพื่อทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดา ปัจจุบันสังกัสสะตั้งอยู่ที่หมู่บ้านสังกิสสะ บะสันตะปุระ (Sankissa Basantapura) ในจังหวัดฟารุกาหบาท (Farrukhabad) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองแห่งนี้ไม่ค่อยมีผู้แสวงบุญไปจาริกเท่าใดนัก เนื่องจากการเดินทางไปยังหมู่บ้านแห่งนี้ในปัจจุบันเป็นไปด้วยความยากลำบาก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสังกัสสะ · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาในศาสนาพุทธ

ในศาสนาพุทธ สังคายนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 487-8 (สํคายนา) คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามศัพท์ "สังคายนา" หมายถึง สวดพร้อมกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สังคีติ” แปลว่า สวดพร้อมกัน มาจากคำว่า คายนา หรือ คีติ แปลว่า การสวด สํ แปลว่า พร้อมกัน คำนี้มีมูลเหตุมาจากวิธีการสังคายนาพระธรรมวินัย ที่เรียกว่าวิธีการร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัย หรือประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีวิธีการคือนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงจำไว้มาแสดงในที่ประชุมพระสงฆ์ จากนั้นให้มีการซักถามกัน จนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าเป็นอย่างนั้นแน่นอน เมื่อได้มติร่วมกันแล้วในเรื่องใด ก็ให้สวดขึ้นพร้อมกัน การสวดพร้อมกันแสดงถึงการลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ และเป็นการทรงจำกันไว้เป็นแบบแผนต่อไป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสังคายนาในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สังฆทาน

ังฆทาน (สงฺฆทาน) เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่ การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่นการถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือ แม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้ ทานพิธีที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ที่เข้าลักษณะของสังฆทาน ก็จัดว่าเป็นสังฆทานได้ เช่น การตักบาตร การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าป่า เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสังฆทาน · ดูเพิ่มเติม »

สังโยชน์

ังโยชน์ (samyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสังโยชน์ · ดูเพิ่มเติม »

สังเวชนียสถาน

ังเวชนียสถาน (อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน) แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ สังเวชนียสถาน หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสังเวชนียสถาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตตมหาสถาน

ัตตมหาสถาน คือ สถานที่สำคัญ 7 แห่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข หลังจากได้ตรัสรู้ธรรมวิเศษแล้วเป็นเวลาแห่งละ 1 สัปดาห์ เรียงตามลำดับดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสัตตมหาสถาน · ดูเพิ่มเติม »

สัปปุริสธรรม

ัปปุริสธรรม หรือ สัปปุริสธรรม 7 หมายถึง ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี ธรรมของผู้ดี สัปปุริสธรรม มีบรรยายไว้หลายลักษณะ เช่น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสัปปุริสธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สาวก

วก แปลว่า ผู้ฟัง คือผู้ฟังตามครูบาอาจารย์ผู้สั่งสอนหลักธรรม ใช้สำหรับบุรุษ ถ้าเป็นสตรีใช้ว่า สาวิกา สาวก ในคำวัดใช้หมายถึงผู้ฟังโอวาทนุสาสนี หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยเคารพ ใช้เรียกทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ เช่นใช้ว่า พระอรหันตสาวก พระสงฆ์สาวก ภิกษุสาวก ภิกษุณีสาวิกาและใช้หมายถึงลูกศิษย์ของศาสดาอื่นๆ ด้วย เช่นวสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร สาวกของพราหมณ์พาวรี สาวก ในคำไทยใช้หมายรวมไปถึงลูกศิษย์ ลูกน้อง ผู้ติดตามนักบวชนักบุญผู้มีชื่อเสียงตลอดถึงผู้มีอำนาจ เช่นใช้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสาวก · ดูเพิ่มเติม »

สาวัตถี

วัตถี (Sāvatthī สาวัตถี; श्रावस्ती Śrāvastī ศราวัสตี; Sravasti) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขาย การทหาร เป็นเมืองมหาอำนาจใหญ่ควบคู่กับเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธในสมัยโบราณ ปัจจุบันเมืองนี้เหลือเพียงซากโบราณสถาน คนอินเดียในปัจจุบันลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองสวัตถีในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมืองราชคฤห์และพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับพระเจ้าพิมพิสาร นอกจากนี้เมืองสาวัตถีนับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง 19 พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาขององคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสาวัตถี · ดูเพิ่มเติม »

สำนักสงฆ์ราวรังงาม

ำนักสงฆ์ราวรังงาม เป็นชนิดวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่บ้านราวรังงาม หมู่ที่ 4 ตำบลวังทองแดง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสำนักสงฆ์ราวรังงาม · ดูเพิ่มเติม »

สิทธารถะ

"สิทธารถะ" เป็นคำในภาษาสันสกฤตสำหรับ "สิทธัตถะ" สำหรับศาสดาองค์ปัจจุบันของพุทธศาสนา ดู "สิทธัตถะ" right สิทธารถะ (Siddhartha) เป็นวรรณกรรมภาษาเยอรมันที่ประพันธ์โดย แฮร์มันน์ เฮสเซอ ขณะเดินทางมาที่ประเทศอินเดีย โดยเป็นที่รู้จักกันดีว่าเขาเป็นผู้ที่ลุ่มหลงและแตกฉานในหลักคิดแนวปรัชญาตะวันออก นวนิยายเรื่องนี้มีเนื้อหามุ่งไปสู่การค้นหาสัจธรรมของการเวียนว่ายตายเกิด หรือนั่นหมายถึงความเพียรที่จะใฝ่รู้ว่า "อัตตา"คือสิ่งใด ชีวิตมนุษย์เกิดขึ้นมาทำไมและเพื่ออะไร และนิพพานคืออะไร โดยในเรื่องนี้สื่อภาพของสังคมของอินเดียในยุคสมัยที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่และเสด็จออกเผยแผ่ศาสนาพุทธไปทั่วชมพูทวีป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสิทธารถะ · ดูเพิ่มเติม »

สุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี

นางสุชาดา เป็นธิดาของเสนานีกุฏมพี (อรรถกถาว่าเสนียะ) ในหมู่บ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนาง โดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ 2 ประการ คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสุชาดา ธิดาของเสนานีกุฎุมพี · ดูเพิ่มเติม »

สุรพร ใจรัก

รพร ใจรัก (ชื่อเล่น: ภา) เป็นนักพากย์หญิงชาวไทย มักพากย์ทั้งนางเอกและนางร้ายในทีมพากย์พันธมิตร แทบทุกเรื่อง เธอจะพากย์เป็นนางเอกคู่กับ ปริภัณฑ์ วัชรานนท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสุรพร ใจรัก · ดูเพิ่มเติม »

สุขาวดี

ตรกรรมฝาผนัง ''พุทธเกษตรของพระอมิตาภะ'' ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเบอร์มิงแฮม ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน สุขาวดี (सुखावती สุขาวตี) คือพุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโลก สุขาวดีไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นภูมิที่สาวกของพระอมิตาภะใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสุขาวดี · ดูเพิ่มเติม »

สุขาวดี (นิกาย)

ระอมิตาภพุทธะและพระโพธิสัตว์ 2 องค์คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ขวา) และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (ซ้าย) ในวัดใกล้กับเมือง Meinong, มณฑลเกาสง, ไต้หวัน นิกายสุขาวดี (浄土教, Jōdokyō; 정토종, jeongtojong; Tịnh Độ Tông) เป็นนิกายในศาสนาพุทธที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน แม้จะมีกำเนิดมาจากพระสูตรที่มาจากประเทศอินเดีย แต่ในอินเดียไม่ได้เป็นนิกายเอกเทศ นิกายนี้พระฮุ่นเจียงตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 9 สมัยราชวงศ์ตั้งจิ้น คำสอนของท่านเน้นการเจริญพุทธสติถึงพระอมิตาภพุทธะและปรารถนาไปเกิดในแดนสุขาวดี ในจีนเรียกนิกายนี้ว่า นิกายวิสุทธิภูมิ (จิ้งถู่จง).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสุขาวดี (นิกาย) · ดูเพิ่มเติม »

สีชมพู

ีชมพู เป็นสีที่เกิดจากการผสมสีแดงและสีขาว ในบางครั้งจะถูกกล่าวถึงในลักษณะสีแดงอ่อน สีชมพูมักจะถูกใช้ในการกล่าวถึงลักษณะของเด็กหญิง ซึ่งนิยมใช้ควบคู่กับ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ที่จะแสดงถึงเด็กชาย ในภาษาเหนือ เรียกสีชมพูว่า "จมออน" (จม-ออน).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสีชมพู · ดูเพิ่มเติม »

สถูปสาญจี

ูปสาญจี (Sanchi) คำว่า สาญจี คือ ชื่อหมู่บ้านเล็กๆ ในเขต Raisen ของรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 46 กิโลเมตร จากเมือง Bhopal และ 10 กิโลเมตรจากเมือง Vidisha ในส่วนกลางของรัฐมัธยประเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานทางพระพุทธศาสนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 12 และเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญในการแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ สถูปแห่งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กลุ่มพุทธสถานแห่งสาญจี (Buddhist Monuments at Sanchi) ซึ่งเป็นมรดกโลกที่รักษาไว้เป็นอย่างดี โดยเปิดทำการให้สาธารณะเข้าชมในเวลา 8.00 -17.00 น. มหาสถูปสาญจี คือ โครงสร้างหินเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งสร้างโดยคำสั่งของพระเจ้าอโศกมหาราช ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 แกนกลางของสถูป คือ โครงสร้างอิฐรูปครึ่งวงกลมที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ด้านบนของสถูปปัก ฉัตรวลี (ร่มหลายชั้นที่ปักอยู่บนยอดสถูป) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความสำคัญของสถูปนี้ สถูปแห่งนี้จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติและที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ ซุ้มประตูทั้ง 4 ด้านแกะสลักและตกแต่งอย่างหรูหรา และมีราวระเบียงล้อมรอบทั้งสถูป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสถูปสาญจี · ดูเพิ่มเติม »

สติ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (Mindfulness แปลตามความหมายที่ใช้ได้ว่า "ความเป็นผู้มีสติ" "สติ" และ "การเจริญสติ") เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่มีการตัดสิน" ซึ่งสามารถฝึกได้โดยวิธีปฏิบัติกรรมฐาน ที่ดัดแปลงมาจากการเจริญอานาปานสติของชาวพุทธ เป็นวิธีการที่เริ่มเกิดความนิยมในโลกตะวันตกเพราะโปรแกรม Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) ของ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและสติ (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

หญ้ากุศะ

หญ้ากุศะ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmostachya bipinnata) เป็นหญ้าในวงศ์ Gramineae (Poaceae) มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดียและเนปาล ชอบขึ้นในที่แห้งแล้งริมฝั่งแม่น้ำ โดยจะขึ้นเป็นกอเหง้าใหญ่ ใบอวบรูปยาวเหมือนหอก ขอบใบคม ดอกเป็นช่อรูปพีระมิด หรือเป็นแท่งตั้งตรง แข็ง สีน้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอดฤดูฝน ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และแยกกอ หญ้ากุศะเป็นหญ้าชนิดหนึ่งซึ่งถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก เนื่องจากเป็นหญ้าที่ปรากฏในพุทธประวัติว่า ในวันก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ เจ้าชายสิทธัตถะได้รับถวายหญ้าชนิดนี้จำนวน 8 กำมือจากพราหมณ์โสตถิยะ และเจ้าชายสิทธัตถะได้นำหญ้ากุศะไปปูรองนั่งเป็นพุทธบัลลังก์ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ ทำให้ชาวพุทธถือว่าหญ้านี้มีความสำคัญมาก และจัดให้หญ้านี้เป็นต้นไม้สำคัญชนิดหนึ่งในพุทธประวัติ ชาวฮินดูนับถือว่าหญ้านี้มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน โดยนำหญ้านี้มาประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในวันแรม 15 ค่ำ​เดือน 9 หรือที่เรียกว่า กุโศตปาฎนีอมาวสยา เพื่อเป็นการบูชาพระกฤษณะ เทพเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู หญ้ากุศะยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร คือ ใช้ทั้งต้นเป็นยาฝาดสมาน​ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ รากมีรสหวาน เป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำได้อีกด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและหญ้ากุศะ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น หรือ สรั่น บรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและหญ้าฝรั่น · ดูเพิ่มเติม »

หมู่บ้านปิปราห์วา

หมู่บ้านปิปราห์วา (Piprahwa Village) หมู่บ้านเล็ก ๆ ใน รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ซึ่งมีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งสถูปที่เคยบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้า หมู่บ้านแห่งนี้เคยเป็นส่วนหนิ่งของ กรุงกบิลพัสดุ์ ที่สร้างขึ้นใหม่แทนที่เดิมที่ถูกกองทัพของ พระเจ้าวิฑูทภะ แห่ง แคว้นโกศล ทำลายจนเสียหายโดยเมื่อคราวถวายพระเพลิงพุทธสรีระได้มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนโดย โทณพราหมณ์ ทางกรุงกบิลพัสดุ์ได้มาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุพร้อมกับสร้างพระสถูปครอบผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมาในราว เดือนมกราคม พ.ศ. 2441 เจ้าของที่ดินชาวอังกฤษนามว่า W.C.Peppe ได้ขุดค้นพบสถูปและผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุโดยบังเอิญระหว่างทำการปรับแต่งหน้าดินจากนั้นจึงได้มีการบูรณะสถูปแห่งนี้พร้อมกับนำผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไปถอดภาษาอินเดียโบราณที่ อังกฤษ จนทราบว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจึงได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2443 พระองค์ทรงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุส่วนหนึ่งไปประดิษฐานที่หอพระมณเฑียรธรรม ในพระบรมมหาราชวัง และอีกส่วนหนึ่งไปบรรจุที่พระบรมบรรพต หมวดหมู่:พระพุทธศาสนา.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและหมู่บ้านปิปราห์วา · ดูเพิ่มเติม »

หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน

หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน (Basic Points Unifying the Theravāda and the Mahāyāna) เป็นคำแถลงว่าด้วยหลักความเชื่อที่มีร่วมกันอันสำคัญยิ่ง ซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ระหว่างการประชุมใหญ่ครั้งของพุทธเถรสมาคมโลก (World Buddhist Sangha Council, อักษรย่อ WBSC).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและหลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน · ดูเพิ่มเติม »

หอพระแก้ว

หอพระแก้ว (ຫໍພຣະແກ້ວ) คือสถานที่เคยประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ปัจจุบันเหลือเพียงพระแท่นที่ประดิษฐาน เพราะพระแก้วมรกตองค์ปัจจุบันได้รับการอัญเชิญลงมาประทับที่กรุงธนบุรีในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นผู้อัญเชิญ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและหอพระแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

หีนยาน

หีนยาน (บาลี; हीनयान Hīnayāna) แปลว่า ยานชั้นเลวหรือยานชั้นต่ำ เป็นคำที่คณาจารย์ฝ่ายมหายานใช้เรียกแนวการปฏิบัติใด ๆ ในศาสนาพุทธที่ไม่ได้ยึดแนวทางแบบพระโพธิสัตว์ แต่เน้นการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นเฉพาะตนแบบพระสาวกหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเรียกอีกอย่างว่าสาวกยานและปัจเจกยาน ต่างจากมหายานซึ่งเป็นแนวทางที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีมุ่งบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์จำนวนมากได้พ้นทุกข์ตามไปด้วย แนวทางอย่างหลังนี้จึงเรียกว่า มหายาน แปลว่ายานใหญ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและหีนยาน · ดูเพิ่มเติม »

อกาลิโก

อกาลิโก แปลว่า (พระธรรม)ไม่ประกอบด้วยกาล อกาลิโก หมายความว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติโดยไม่จำกัดกาลเวลา ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลทุกเมื่อทุกโอกาส ให้ผลตามลำดับแห่งการปฏิบัติ คือได้บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น ได้บรรลุถึงระดับใหนก็ให้ผลในระดับเมื่อนั้น ทั้งความจริงความแท้แห่งพระธรรมนี้ไม่มีกำหนดอายุกาล จริงแท้อยู่ตลอดกาล จริงแท้อย่างนั้นทุกยุคทุกสมัย ด้วยเหตุนี้ พระธรรมจึงได้ชื่อว่า อกาลิโก (ไม่ขึ้นกับกาล) อกาลิโก เป็นธรรมคุณคือคุณของพระธรรมประการที่ 3 ในจำนวน 6 ประการ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอกาลิโก · ดูเพิ่มเติม »

อวตาร

กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอวตาร · ดูเพิ่มเติม »

อสัมปทานชาดก

อสัมปทานชาดก เป็นชาดกที่ว่าด้วยการไม่รับของ ทำให้เกิดความแตกร้าว เป็นชาดกลำดับที่ 131.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอสัมปทานชาดก · ดูเพิ่มเติม »

อสงไขย

อสงไขย (असंख्येय อสํเขฺยย) หมายถึง นับไม่ถ้วน, ไม่ง่ายที่จะนับ, หรือเป็นจำนวนธรรมชาติเท่ากับหนึ่งโกฏิยกกำลัง 20 (10,000,00020) หรือ 10140 (เลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 ต่อท้ายทั้งหมด 140 ตัว) บางตำรากล่าวว่าหมายถึงเลข 10^ ซึ่งมีหลายความหมาย พระพุทธภัทระตีความว่า a.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอสงไขย · ดูเพิ่มเติม »

อะเดย์

อะเดย์ (a day) เป็นนิตยสารเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปในสังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน เป็นนิตยสารที่เป็นต้นแบบนิตยสารทางเลือกของวัยรุ่น ถึงขั้นวงการนิตยสารไทยยกให้นิตยสารอะเดย์เป็นดั่งนิตยสาร 'ขวัญใจเด็กแนว' นิตยสารอะเดย์ ผลิตโดย บริษัท เดย์ โพเอ็ทส์ จำกัด (Day Poets Co. Ltd.) โดยบริษัทก่อตั้งขึ้นโดยบุคคล 3 คน ได้แก่ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์, นิติพัฒน์ สุขสวย และ ภาสกร ประมูลวงศ์ ด้วยความเชื่อที่ว่า "ทำหนังสือเหมือนทำชีวิต" จนถึง..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอะเดย์ · ดูเพิ่มเติม »

อัตตา

อัตตา (อตฺตา; อาตฺมนฺ) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์) ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเรียกความเชื่อเรื่องอัตตาว่าสัสสตทิฐิ ถือเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง และเรียกว่าอัตตวาทุปาทาน ซึ่งถือเป็นความยึดมั่นถือมั่นประการหนึ่ง อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอัตตา · ดูเพิ่มเติม »

อาทิพุทธะ

ระวัชรธารพุทธะ พระอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าที่พบในคติความเชื่อของพุทธศาสนามหายานบางกลุ่ม ไม่พบในฝ่ายเถรวาท โดยเชื่อว่าอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก กำเนิดขึ้นพร้อมกับโลก อยู่ในโลกชั่วนิรันดร์ เป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่งในโลก และเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับบนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐ์ มีสถานะเสมอปรมาตมันในศาสนาฮินดูราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 15-16.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอาทิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรในอินเดียโบราณ

อาณาจักรในอินเดียโบราณ หรือ มหาชนบททั้งสิบหก เป็นอาณาจักรในอินเดียโบราณ 16 อาณาจักร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอาณาจักรในอินเดียโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอลอง

อำเภอลอง (25px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอำเภอลอง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอลี้

ลี้ (20px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดลำพูน มีเนื้อที่เกือบครึ่งหนึ่งของจังหวัด เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังมีโบราณสถานหลายแห่งน่าเที่ยวชม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอำเภอลี้ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่แจ่ม

แม่แจ่ม (55px) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอำเภอแม่แจ่ม · ดูเพิ่มเติม »

อุปสมบท

อุปสมบท (อ่านว่า อุปะ-, อุบปะ-) แปลว่า การเข้าถึง คือการบวช เป็นศัพท์เฉพาะในศาสนาพุทธ ใช้หมายถึงการบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี เรียกเต็มว่า อุปสมบทกรรม อุปสมบทเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงวางหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติไว้รัดกุมและละเอียดมากโดยทรงบัญญัติให้สวดอนุสาวนาไม่ต้องระบุนามแต่ระบุเพียงโคตร (สกุล) ได้และสวดประกาศครั้งละ 2-3 รูปได้โดยมีอุปัชฌายะ และทรงอนุญาตให้นับอายุผู้บวชว่าครบ 20 ปี โดยคิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ศาสนทายาทที่ดีไว้สืบสานพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยจะถือเป็นประเพณีเลยว่า ลูกชายของครอบครัวเป็นพุทธต้องบวชสักครั้งในชีวิตเพื่อให้แม่เกาะชายผ้าเหลือง ชดใช้ค่าน้ำนม อันเป็นสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาโดยเปลี่ยนจากผู้นับถือพระรัตนตรัยขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรั.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอุปสมบท · ดูเพิ่มเติม »

อุโบสถ

อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะ ใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้าง ขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอุโบสถ · ดูเพิ่มเติม »

อจละ

ฟุโดเมียวโอ (อจลนาถ) ที่โอะคุโนะอิน เขาโคยะ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น อจละ (अचल; อ่านว่า /อะ-จะ-ละ/, 不動明王; Bùdòng Míngwáng) เป็นวิทยราชองค์หนึ่งในศาสนาพุทธฝ่ายวัชรยาน หรือนิกายชินงนของศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นสัญลักษณ์ของผู้ทำลายสิ่งลวงตาและปกป้องพุทธศาสนา รูปลักษณ์ของอจละแสดงถึงการอยู่นิ่ง การไม่เคลื่อนที่ ในขณะที่เกิดอารมณ์โกรธ ช่วยเหลือเหล่ามนุษย์ เป็นสัญลักษณ์ของการควบคุมตนเอง ตามนัยของคำว่า "อจละ" ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า "ไม่เคลื่อนไหว" ถือเป็นเทพเจ้าที่ทำงานให้กับพระไวโรจนพุทธะ อจละนับเป็นวิทยราชซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางที่สุดในบรรดาวิทยราชทั้งห้าผู้สถิตในครรภโกษธาตุ นามอื่นๆ ของอจละในภาษาสันสกฤตได้แก่ "อจลวิทยราช", "อจลนาถ", "อารยาจลนาถ" และ "จัณฑมหาโรศนะ" รูปลักษณ์ของอจละในภาพวาดหรือตามรูปปั้น มีลักษณะเป็นรูปบุคคลถือดาบซึ่งมีปลายด้ามเป็นรูปวัชระในมือขวา ใช้การในปราบสิ่งชั่วร้าย มือซ้ายถือเชือกเพื่อการจับมัดสิ่งชั่วร้าย ด้านหลังล้อมรอบด้วยเปลวไฟเป็นประภามณฑล และมักปรากฏในท่ายืนหรือนั่งบนหินแสดงถึงการไม่เคลื่อนไหว ทรงผมมัดเป็นเปียอยู่เจ็ดปมและปลายผมวางบนไหล่ซ้าย เป็นสัญลักษณ์ของผู้รับใช้พระพุทธเจ้า ที่มุมปากมีเขี้ยวสองข้าง ด้านหนึ่งชี้ลงแสดงถึงการปฏิบัติตัวบนโลก และข้างหนึ่งชี้ขึ้นแสดงถึงการค้นหาความจริง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอจละ · ดูเพิ่มเติม »

อจินไตย

อจินไตย แปลว่า สิ่งที่ไม่ควรคิด อจินไตย มาจากคำว่า อะ + จินไตย (พึงคิดพิจารณา) แปลว่า ไม่พึงคิดหริอจำแนกตรรกะลงไปได้ หมายถึง สิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน มี 4 อย่างได้แก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอจินไตย · ดูเพิ่มเติม »

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอนันตริยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

อนาคาริก ธรรมปาละ

อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala) (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2407 มรณภาพ 29 เมษายน พ.ศ. 2476) เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ และเป็นผู้เรียกร้องเอาพุทธสถานในอินเดียกลับคืนมาเป็นของชาวพุทธ ท่านเกิดในครอบครัวผู้มั่งคั่ง บิดาชื่อว่า เดวิด เหววิตรเน เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียของท่านเซอร์ เอดวินด์ อาโนลด์ ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยากอุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพุทธศาสนาที่อินเดีย จึงออกเดินทางสู่อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความครอบครองของพวกมหันต์ จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงทำการอธิษฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า จะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียและนำพุทธคยากลับคืนมาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลกให้ได้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอนาคาริก ธรรมปาละ · ดูเพิ่มเติม »

อนาคตวงศ์

อนาคตวงศ์ (อนาคตวํส) เป็นวรรณกรรมบาลีของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอนาคตวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุพุทธะ

อนุพุทธะ หมายถึง สาวกผู้รับคำสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปฏิบัติตามจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงเรียกอีกอย่างว่าสาวกพุทธะ โดยคำว่า อนุพุทธะ มาจากศัพท์ว่า อนุ (ตาม) + พุทธะ (ผู้รู้) แปลว่า ผู้ตรัสรู้ตาม อนุพุทธะ จัดเป็นพุทธะประเภทหนึ่งในพุทธะ 3 ประเภท คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอนุพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

อนุโมทนากถา

อนุโมทนากถา เป็นบทสวดมนต์ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่สวดเพื่อมุ่งประสงค์ให้ผู้ถวายทานแก่พระสงฆ์เกิดความยินดีในทาน หรือเพื่อแสดงธรรมแก่ผู้ถวาย ในสมัยพุทธกาล พระสูตรสำคัญ ๆ เกิดจากคำอนุโมทนากถาของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่ผู้ถวายทานตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จไปรับบิณฑบาต ปัจจุบันพระสงฆ์มีบทสวดสำหรับอนุโมทนาโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะตัดตอนมาจากพระสูตรในพระไตรปิฎก ซึ่งมีบทที่พระสงฆ์ใช้สวดเป็นประจำไม่กี่พระสูตร แต่บทที่พระสงฆ์สวดนำเป็นปกติทุกครั้งก่อนที่จะสวดเนื้อหาในพระสูตรคือบทอนุโมทนารัมภกถา และบทสามัญญานุโมทนากถา (แปลว่าบทสวดเริ่มต้นและบทสวดปกติ) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ยถา-สัพพี ซึ่งเป็นบทสวดที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์ โดยบทยถาเป็นการให้พรอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บทสัพพีมีเนื้อหากล่าวถึงการอำนวยมงคลและอวยพรให้ผู้ถวายทานปราศจากอันตรายทั้งหลาย อนุโมทนากถา นอกจากจะหมายถึงบทสวดภาษาบาลีของพระสงฆ์แล้ว ยังอาจหมายถึงคำกล่าวของพระสงฆ์ที่แสดงในงานต่าง ๆ เพื่อขอบคุณเจ้าภาพอีกด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอนุโมทนากถา · ดูเพิ่มเติม »

อเวจี

''อเวจี'' ตามคติญี่ปุ่น อเวจี หรือ อวิจี (บาลี, สันสกฤต อวีจิ; 無間地獄 ตรงกับ むげんじごく และ 阿鼻地獄 ตรงกับ あびじごく) คือ ชื่อของนรกซึ่งเป็นหนึ่งใน มหานรก 8 ขุม มีปรากฏเป็นบันทึกในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา โดยอเวจีมหานรกนั้น เป็นนรกขุมลึกที่สุด ตามรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต "อวีจิ" แปลว่า "ปราศจากคลื่น"หรือ"ไม่มีการหยุดพัก" (ลงโทษไม่มีการพัก) เป็นนรกขุมที่ต่ำที่สุดที่ผู้กระทำอนันตริยกรรมจะไปเกิด อนันตริยกรรมหรือคุรุกรรมที่ทำให้เกิดในนรกภูมินี้ ได้แก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและอเวจี · ดูเพิ่มเติม »

ฮีมานซู โซนิ

ีมานซู โซนิ (Himanshu Soni.) เป็นนักแสดงชายชาวอินเดียที่มีชื่อเสียงจากการแสดงเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ,พระพุทธเจ้า ในภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและฮีมานซู โซนิ · ดูเพิ่มเติม »

ผงปถมัง

ผงปถมัง หรือ ปถมัง ชื่อวิชาไสยศาสตร์โบราณของไทย ว่าด้วยการทำผงด้วยเวทมนตร์คาถา โดยใช้แท่งดินสอพองเขียนอักขระลงบนกระดานชนวน เริ่มจากลงนะปถมังหรือนะทรงแผ่นดิน บางแห่งเรียกนะปัดตลอด แล้วลบบังเกิดเป็นนะโมพุทธายะ เป็นองค์พระ เป็นมะอะอุ เป็นอุณาโลม เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึงสูญนิพพานจึงเป็นอันสิ้นสุด โดยระหว่างการลงอักขระและลบในขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องมีการบริกรรมสูตร ซึ่งเป็นพระคาถาสำหรับการลงอักขระและลบอักขระต่าง ๆ กล่าวกันว่าเป็นอุบายในการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งในสมัยโบราณ ผงดินสอพองที่ได้จากการเขียนและลบอักขระตามคัมภีร์ปถมังนี้ เรียกว่าผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางด้านอิทธิฤทธิ์อยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้ ชื่อวิชานี้ปรากฏในวรรณกรรมเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนด้วย ผงอิทธิเจ (อ่านว่า ผง-อิด-ทิ-เจ) และผงปถมํ (อ่านว่า ผง-ปัด-ถะ-มัง) เป็นผง ใช้สำหรับสร้างพระพิมพ์ ประกอบด้วยสูตรการเขียนผง ผงอื่นๆ จากพระสงฆ์ชื่อดัง ว่านหลายชนิด เช่น ว่านนางกวัก ว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ว่านเพชรกลับ เศษพระชำรุดจากพระผงพระสมเด็จกรุต่างๆ เช่น วัดใหม่อมตรส วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ผงปถมํวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ผงปถมํจากหลวงปู่หิน หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ผงปถมํจาก วัดสามปลื้ม ผงปถมํจาก วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ในครั้งแรก การทดลองพิมพ์พระ เนื้อพระเปราะ แตกและหักง่าย พิมพ์ออกมาแล้วไม่สวยบ้างจึงใช้น้ำมนต์และน้ำมันตั้งอิ้วเป็นตัวประสานผง จนประสบผลสำเร็จ ผลปรากฏต่อมาว่าพระผง เนื้อดี เป็นมันแกร่ง คล้ายพระกรุวัดใหม่อมตรส และที่สำคัญเป็นที่เลื่องลือมากในพุทธคุณ มีความเชื่อด้านเมตตามหานิยม หน้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและผงปถมัง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครพนม

ังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและจังหวัดนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

จามรี

มรี (Yak, Grunting ox; як; 犛牛; พินอิน: Máoniú; มองโกล: Сарлаг; ฮินดี: याक) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์วัวและควาย (Bovidae).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและจามรี · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาเชิงบวก

ตวิทยาเชิงบวก (Positive psychology) เป็นสาขาย่อยใหม่ของจิตวิทยาที่ใช้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์และการแทรกแซงที่มีประสิทธิผล เพื่อช่วยให้บุคคลมีชีวิตที่น่าพอใจ โดยสร้างความเจริญก้าวหน้าสำหรับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และค้นหาเสริมสร้างอัจฉริยภาพกับความสามารถเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขมากยิ่งขึ้น ศาสตร์นี้เพ่งความสนใจไปที่การพัฒนาตนเองแทนที่การรักษาโรค ซึ่งมักจะเป็นจุดสนใจของจิตวิทยาสาขาอื่น ๆ เป็นวิทยาการที่ค่อนข้างใหม่ งานประชุมครั้งแรกเกี่ยวกับศาสตร์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและจิตวิทยาเชิงบวก · ดูเพิ่มเติม »

จิตตคหบดี

จิตตคหบดี เป็นมหาอุบาสกคนสำคัญในสมัย พุทธกาล ถือกำเนิดในตระกูลของเศรษฐีที่ นครมัจฉิกาสณฑ์ แคว้นมคธ โดยท่านมีชื่อเมื่อแรกเกิดว่า จิตตกุมาร ที่แปลว่า กุมารผู้ทำให้เกิดความวิจิตร เพราะวันที่ท่านเกิดได้มีเหตุอัศจรรย์ คือมีฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงมาทั่วนคร วันหนึ่ง พระมหานามะ หนึ่งใน ปัญจวัคคีย์ ได้จาริกมายังนครมัจฉิกาสณฑ์ จิตตคหบดีได้พบพระมหานามะจึงเกิดความเลื่อมใส จึงได้นิมนต์มายังเรือนของตนพร้อมกับถวายภัตตาหาร เมื่อพระมหานามะฉันเสร็จจึงได้นิมนต์ท่านไปยัง สวนอัมพาฏกวัน หรือสวนมะกอก เพื่อถวายเป็นพระอาราม ต่อมาจิตตคหบดีได้บรรลุเป็นโสดาบัน พระมหานามะได้จาริกไปที่อื่นโดยมอบหมายให้พระสุธรรม เป็นผู้ดูแลอารามแห่งนี้แทน คราวหนึ่ง จิตตคหบดีได้ฟังพระธรรมเทศนาจาก พระสารีบุตร จนสำเร็จเป็นอนาคามีบุคคล แล้วท่านได้ชักชวนชาวเมือง 3,000 คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่ เชตวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ โดยจัดเตรียมทานไปมากมาย แต่แทบไม่ได้ใช้สอยเลย เพราะเหล่าเทวดาได้จัดเตรียมข้าวปลาอาหารจำนวนมากไว้ก่อนแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงมอบหมายให้ พระอานนท์ พุทธอุปัฏฐากจัดหาสถานที่เก็บสิ่งของเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นโรงครัวแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่องจิตตคหบดีให้เป็นเลิศกว่าอุบาสกทั้งหลายในทางเป็นธรรมกถิกะหรือนักบรรยายธรรม หมวดหมู่:เอตทัคคะ หมวดหมู่:บุคคลในพุทธประวัติ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและจิตตคหบดี · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมบาล

นาพุทธในประเทศจีนนับอดีตกาลมา นับถือกันว่า ธรรมบาลยี่สิบสี่พระองค์ คือเหล่าพระโพธิสัตว์กลุ่มหนึ่งตั้งจิตปรารถนาให้ปวงสรรพสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีโดยสะดวก จึงพร้อมกันตั้งปณิธานเป็นผู้คุ้มครองอารักขาพระธรรมแห่งพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพุทธบริษัทผู้ดำเนินตามพระรัตนตรัย พระโพธิสัตว์ผู้เป็นธรรมบาลคุ้มครองพระศาสนาเหล่านี้ มีปรากฏพระนามอยู่ในสุวรรณประภาโสตตมราชาสูตร(กิมกวงเม้งจุ้ยเส่งอ้วงเก็ง) ฝ่ายมหายาน พระสูตรนี้ กล่าวถึงเหล่าพระโพธิสัตว์ ท้าวจตุโลกบาลและเหล่าทวยเทพทั้งหลายซึ่งปรากฏชื่อทั้งหมดมี 24 พระองค์ พร้อมกันตั้งปณิธานต่อเบื้องหน้าพระพักตร์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอถึงรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและประกาศตนเป็นธรรมบาลคุ้มครองพระสัทธรรมและเหล่าพุทธบริษัท ให้บำเพ็ญบุญบารมีโดยยิ่งขึ้น พระสูตรนี้จึงเป็นที่มาของพิธีบูชาเทพธรรมบาลโพธิสัตว์ (พิธีก้งจูเทียน)ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและธรรมบาล · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมจักร

รรมจักรมีกำ 8 ซี่ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ 8 ในทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรอันใช้เป็นเครื่องหมายของคณะสงฆ์ไทย มีกำ 12 ซี่ ธรรมจักรมีกำ 12 ซี่ ในตราสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ สัญลักษณ์ธรรมจักรซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายของอนุศาสนาจารย์ของกองทัพสหรัฐอเมริกา ธงธรรมจักร ธงสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ วงล้อแห่งชีวิต (Wheel of life) หรือ ธรรมจักร (Dharmachakra; Wheel of Dhamma) ในศาสนาพุทธและฮินดู เป็นสัญลักษณ์แทนวัฏจักรเวียนว่ายตายเกิด หรือวงเวียนแห่งการ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธองค์ ลักษณะของธรรมจักรดั้งเดิมมีสองรูปแบบ คือมี หกซี่ หรือบางครั้งห้าซี่ และรูปแบบที่กำเนิดในพุทธศาสนาคือ แปดซี่ สอดคล้องกับ มรรคแปด หรือรูปพระหัถต์ รหัสยูนิโค้ด ซึ่งเป็นรหัสตัวอักษรสากลสำหรับคอมพิวเตอร์ เรียกวงล้อแห่งชีวิตว่า "Wheel of Dhamma" (วงล้อแห่งธรรม) และมีซี่แปดซี่ มีรหัสคือ "U+2638" และมีลักษณะดังนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและธรรมจักร · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมคุปต์

รรมคุปต์ หรือ ธรรมคุปตวาท แยกมาจากนิกายมหีศาสกะ ในเวลาใกล้เคียงกับนิกายสรวาสติวาท โดยแตกต่างจากนิกายแม่ที่เรื่องการถวายทาน นิกายนี้เห็นว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่สถูปเจดีย์มีผลมากกว่าถวายต่อสงฆ์ หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับนิกายมหาสังฆิกะมากกว่านิกายมหีศาสกะ แพร่หลายในเอเชียกลางและจีน พระวินัยของนิกายนี้เป็นต้นแบบของนิกายวินัยในจีน นักวิชาการถือว่านิกายนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิกายเถรวาท แต่นิกายเถรวาทถือว่านิกายนี้เป็นฝ่ายอาจริยวาทและอธรรมวาที ในคัมภีร์กถาวัตถุปรากฏข้อมูลว่าเถรวาทกับธรรมคุปต์เห็นต่างกันหลายเรื่อง เช่น อานิสงส์ของการทำทาน การบูชาพระเจดีย์ วิมุตติของพระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวก อภิญญาของศาสนาในศาสนาอื่น เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและธรรมคุปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและธัมมจักกัปปวัตนสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ธุดงค์

'''ธุดงค์''' หมายถึงข้อถือวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส 13 ข้อ ของพุทธศาสนิกชน ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะแค่การถือกลดออกเดินจาริกไปยังป่าเขาเพื่อวิเวกของพระสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบันคำว่าธุดงค์ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งแตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก การถือธุดงค์ตามความหมายในพระไตรปิฎกสามารถเลือกสมาทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการเดินถือกรดบาตรไปที่ต่าง ๆ เช่น การถืออรัญญิกังคะ (อยู่ป่า) โสสานิกังคะ (อยู่ป่าช้า) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความวิเวกปราศจากความวุ่นวายจากสังคม เพื่อมุ่งต่อการปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มงวด การจาริกของพระสงฆ์ในประเทศไทย มักเข้าใจปะปนกับคำว่า ธุดงค์ ทั้งนี้เนื่องจากบางข้อของธุดงควัตร เช่น อรัญญิกังคะ หมายถึงการอยู่ในบริเวณป่า ทำให้พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะต้องเดินทางไปหาที่วิเวกในบริเวณป่าและไม่อยู่ติดที่เป็นเวลานาน ธุดงค์ (ธุตงฺค, Dhutanga) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและธุดงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติทิเบต

งชาติทิเบต สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติเขตปกครองตนเองทิเบต เริ่มปรากฏการใช้เมื่อ พ.ศ. 2455 โดยทะไลลามะองค์ที่ 13 แห่งทิเบต ทรงออกแบบขึ้น โดยรวมเอาธงประจำกองทัพของชาวทิเบตในทุกเขตแขวงมาสร้างขึ้นเป็นธงเดียว ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ธงนี้ได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพชาวทิเบตทั้งหมดมาจนถึง พ.ศ. 2493 เนื่องจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้บุกเข้ายึดครองทิเบต และสถาปานาดินแดนแห่งนี้เป็นเขตปกครองตนเองพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนThe flag was not completely banned from 1951 to 1959 as exceptional case exists, see Melvyn C. Goldstein, Dawei Sherap, and William R. Siebenschuh,, University of California Press, 2004, pp174-175 ในปัจจุบัน ธงนี้ยังคงใช้เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น ซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ส่วนในสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งรวมถึงเขตปกครองตนเองทิเบตในปัจจุบัน ถือว่าเป็นธงนอกกฎหมาย เพราะเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการเรียกร้องเอกราชของชาวทิเบต อย่างไรก็ตาม การแสดงธงชาติทิเบตในฮ่องกงนั้น รัฐบาลท้องถิ่นมองว่าเป็นการแสดงออกถึงเสรีภาพของชาวทิเบต เนื่องจากว่าเขตบริหารพิเศษฮ่องกงนั้นมีกฎหมายบางส่วนที่บทบัญญัติใช้ในเขตการปกครองของตนแยกจากกฎหมายหลักของสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและธงชาติทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ธงศาสนาพุทธ

งศาสนาพุทธที่ใช้ทั่วไปเป็นสากลมีชื่อเรียกว่า ธงฉัพพรรณรังสี เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (เทียบแบบสากลคือราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและธงศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ถูปารหบุคคล

ูปารหบุคคล คือบุคคลผู้ควรแก่สถูปหรือเจดีย์ ได้แก่ บุคคลผู้สมควรที่จะสร้างสถูปหรือเจดีย์บรรจุอัฐิไว้เพื่อเป็นที่ระลึกและกราบไหว้บูชา ถูปะ แปลว่า กระหม่อม, ยอด, จอม, หน้าจั่ว ใช้หมายถึง เนิน โดม สถูป หรือเจดีย์ ที่มียอดสูงซึ่งสร้างครอบหรือบรรจุของควรบูชา เช่น อัฐิของบุคคลที่ควรบูชากราบไหว้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและถูปารหบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

ทำวัตร

ทำวัตร หมายถึงการทำกิจที่พึงทำตามหน้าที่ หรือตามธรรมเนียม เป็นคำย่อมาจากคำว่าทำกิจวัตรประจำอันเป็นธรรมเนียมปกติ เรียกการไหว้พระสวดมนต์ของพระสงฆ์ตามปกติในตอนเช้าและตอนเย็นหรือตอนค่ำว่า ทำวัตรเช้า และ ทำวัตรเย็น การทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นเป็นธรรมเนียมเลียนแบบมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งพระสงฆ์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อรับฟังโอวาทเป็นกิจวัตรประจำวัน การทำวัตรมีจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งคือเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้านั่นเอง ทำวัตร อีกความหมายหนึ่งคือการที่ภิกษุสามเณรนำธูปเทียนแพไปสักการะพระเถระผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในโอกาสต่างๆ เช่น เพื่อขอลาสิกขา เพื่อขอลาไปอยู่ที่อื่น เพื่อขอขมาในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อรายงานตัว การทำวัตรผู้ใหญ่แบบนี้ถือป็นธรรมเนียมของพระสง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและทำวัตร · ดูเพิ่มเติม »

ทีกษาภูมิ

ทีกษาภูมิเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญแห่งหนึ่งในพระพุทธศาสนาตั้งอยู่ที่ นาคปุระ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและทีกษาภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าววสวัตตี

ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี หรือ ท้าววสวัตตี(อ่านว่า วะ-สะ-วัด-ตี) ในพระพุทธศาสนาเป็นเทพบุตรมาร จึงถูกพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า มารผู้มีบาป เป็นจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ที่ได้ชื่อว่าเป็นมารเพราะชอบมาผจญผู้ที่จะทำความดีต่าง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและท้าววสวัตตี · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวสักกะ

การดำเนินตามทางสายกลางน่าจะเป็นทางที่จะทำให้ตรัสรู้ได้มากกว่าการทรมานตนเอง สักกะ (สกฺก) หรือ ศักระ (शक्र ศกฺร; ความหมาย: ผู้องอาจ ผู้สามารถ) เป็นชื่อของเทพผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในจักรวาลวิทยาของศาสนาพุทธ ปรากฏนามในภาษาบาลีว่า สกฺโก เทวานํ อินฺโท (शक्रो देवानं इन्द्रः ศกฺโร เทวานํ อินฺทฺรห์) หมายถึง "สักกะผู้เป็นใหญ่เหนือทวยเทพทั้งหลาย" ในคัมภีร์ทางศาสนาพุทธ คำว่า "สักกะ" ถือเป็นวิสามานยนาม ไม่อาจใช้เรียกเทพองค์อื่นได้ ในทางตรงกันข้าม คำว่า อินฺท (ภาษาบาลี) หรือ อินฺทฺร (ภาษาสันสกฤต) ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่" ใช้หมายถึงท้าวสักกะอยู่บ่อยครั้ง เทพสักกะมักเรียกขานว่า "ท้าวสักกเทวราช" หรือย่อว่า "ท้าวสักกะ" ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก ท้าวสักกะเป็นที่รู้จักในนาม "ตี้ซื่อเทียน" (帝釋天) หรือ "ซื่อถีหฺวันอิน" (釋提桓因) ในภาษาจีน และ "ไทชะกุเท็น" (帝釈天) ในภาษาญี่ปุ่น สำหรับในประเทศจีนแล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบว่าท้าวสักกะคือเง็กเซียนฮ่องเต้ (玉皇大帝) หรือจักรพรรดิหยกในลัทธิเต๋า ด้วยถือว่าเทพทั้งสององค์นี้มีวันประสูติเป็นวันเดียวกัน คือ ในวันที่ 9 เดือนที่ 1 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (โดยปกติจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตามปฏิทินสุริยคติ) ในฤคเวท อันเป็นวรรณคดีภาษาสันสกฤตในศาสนาฮินดู คำว่า "ศักระ" อันเป็นนามของท้าวสักกะในภาษาสันสกฤตนั้น ใช้แทนตัวเทพอินทระหรือพระอินทร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ในศาสนาพุทธ ตำนานและบุคลิกลักษณะของท้าวสักกะแตกต่างไปจากพระอินทร์ในพระเวทอย่างสิ้นเชิง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นที่สถิตของท้าวสักกะตั้งอยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุ ซึ่งตามคติเรื่องไตรภูมิ ถือว่าภูเขาแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของโลก อันมีพระอาทิตย์และพระจันทร์เวียนโคจรโดยรอบ สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุดที่เชื่อมต่อกับมนุสสภูมิ (โลกมนุษย์) โดยตรง ท้าวสักกะมีชีวิตที่ยาวนานเช่นเดียวกับเทพทั้งหลาย หากแต่ก็มีวาระที่จะหมดอายุขัยตามแรงบุญของตนเองเช่นกัน ในยามที่ท้าวสักกะจะต้องจุติ (ตาย) เมื่อจิตดับไปแล้ว จะบังเกิดท้าวสักกะองค์ใหม่ (ซึ่งอาจเป็นเทพองค์อื่น) ขึ้นแทนที่ท้าวสักกะองค์เดิมทันที เรื่องราวของท้าวสักกะในทางพระพุทธศาสนาทั้งไม่ว่าจะในอดีตหรือในปัจจุบัน (ในช่วงที่บันทึกพระไตรปิฎก) ปรากฏอยู่ในชาดกและพระสูตรต่าง ๆ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในหมวดสังยุตตนิกาย ชื่อท้าวสักกะปรากฏในพระสูตรหลายตอน และมักมีบทบาทเป็นผู้กราบทูลขอคำปรึกษาจากพระโคดมพุทธเจ้าในปัญหาธรรมต่าง ๆ ถือกันว่าพระองค์เป็นธรรมบาล (ผู้คุ้มครองธรรม) ในพุทธศาสนาร่วมกับเหล่าพรหมทั้งหล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและท้าวสักกะ · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการ 969

วนการ 969 (969 Movement; ၉၆၉ သင်္ကေတ) เป็นขวนการชาตินิยมต่อต้านในสิ่งที่เห็นว่าเป็นการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามในสังคมพม่าที่นับถือศาสนาพุทธ เลข 969 เป็นสัญลักษณ์หมายถึงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้า 9 ประการ เลข 6 แสดงคุณลักษณะ 6 ประการของพระธรรม และเลข 9 ตัวสุดท้าย แสดงถึงคุณลักษณะของพระสงฆ์ 9 ประการ ในอดีต พระรัตนตรัยและธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของชาวพุทธ และกลายเป็นตัวเลข 969 ซึ่งเป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่ง ขบวนการนี้มีปฏิกิริยาที่รุนแรงภายในพม่า สื่อในระดับนานาชาติ เช่น สเตรทไทม์กล่าวว่าพระวีระทูมีส่วนรับผิดชอบต่อความรุนแรงต่อต้านมุสลิม แม้จะปฏิญาณว่าจะทำงานเพื่อสันติภาพ แต่ยังมีผู้ติเตียนด้วยความสงสัย ขบวนการนี้ถูกกล่าวว่าเป็นขบวนการต่อต้านอิสลามหรือหวาดกลัวอิสลาม ผู้สนับสนุนขบวนการนี้เป็นชาวพุทธซึ่งปฏิเสธว่าไม่ได้ต่อต้านอิสลาม ภิกษุวีระทูกล่าวว่าเป็นขบวนการปกป้องที่มีเป้าหมายที่ชาวเบงกาลีซึ่งก่อการร้ายต่อชาวพุทธยะไข่ อเล็กซ์ บุกบินเดอร์ได้กล่าวใน The Atlantic เชื่อมโยงจุดเริ่มต้นของขบวนการนี้กับหนังสือที่เขียนในราว..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและขบวนการ 969 · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 4

อะเมซิ่ง เรซ 4 (The Amazing Race 4) เป็นฤดูกาลที่ 4 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส โดยฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลแรกที่รางวัลเอ็มมีมีการแจกรางวัลประเภทเรียลลิตี้โชว์การแข่งขันและรายการก็คว้ามาได้แบบผูกขาดอยู่รายการเดียวจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและดิอะเมซิ่งเรซ 4 · ดูเพิ่มเติม »

คันถธุระ

ันถธุระ หมายถึง งานด้านคันถะ, งานด้านการเล่าเรียน, งานเกี่ยวกับคัมภีร์หรือตำรา โดยรวมคืองานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยการเล่าเรียนพระพุทธพจน์บทใดบทหนึ่งหรือพระไตรปิฎกทั้งหมดตามความสามารถแห่งสติปัญญาของตน แล้วท่องบ่น ทรงจำ สอนกันบอกกันต่อ ๆ ไป เพื่อรักษาพระพุทธพจน์ไว้ รวมถึงการแนะนำสั่งสอน เผยแพร่พระพุทธพจน์แก่บุคคลทั่วไป ตลอดทั้งการจัดทำและการรักษาตำราและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วย คันถธุระเป็นงานที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ภิกษุปฏิบัติอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและคันถธุระ · ดูเพิ่มเติม »

คืบพระสุคต

ืบพระสุคต เป็นภาษาพระวินัย เป็นชื่อมาตราวัด มีปรากฏหลายแห่งในพระวินัย เช่น ความสูงของพระพุทธเจ้า ความสูงของเตียง ขนาดจีวร เป็นต้น สันนิษฐานว่าเดิมคงทรงกำหนดด้วยนิ้วพระหัตถ์ของพระองค์โดยประมาณและเทียบกับนิ้วช่างไม้ในสมัยนั้น จึงมีข้อสันนิษฐานกันมากมาย เช่น ๑ คืบพระสุคตเท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลางสมัยนั้นหรือเท่ากับ ๑ ศอก คืบช่างไม้ดูจะสูงและยาวเกินความจริง จึงไม่เป็นที่ยอมรับ ในปัจจุบันได้ข้อยุติว่าให้ถือตามมาตราวัดเป็นเมตร คือ "๑ คืบพระสุคตเท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร" ๒ คืบพระสุคตเท่ากับ ๕๐ เซนติเมตร หรือ ๑ ศอกช่างไม้ ดังนั้น ๑ เมตรจึงเท่ากับ ๔ คืบพระสุคตหรือ ๒ ศอกช่างไม้ มตินี้เป็นที่ยอมรับกัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและคืบพระสุคต · ดูเพิ่มเติม »

คุยหลัทธิ

หลัทธิ (Esotericism/Esoterism) หมายถึง แนวคิดหรือความรู้แบบหนึ่งที่ถูกสงวนไว้ให้รับรู้หรือเปิดเผยได้กับคนเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผู้สนใจเป็นพิเศษ ขบวนการทางศาสนาที่มีแนวคิดแบบคุยหลัทธิ เช่น ลัทธิการเล่นแร่แปรธาตุ โหราศาสตร์ ไญยนิยม วัชรยาน ไสยศาสตร์ ลัทธิเซียนเทียนเต้า ลัทธิอนุตตรธรรม เจตนิยม เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและคุยหลัทธิ · ดูเพิ่มเติม »

งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ

งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ หรือ พุทธชยันตี 2500 ปี (2500th Buddha Jayanti Celebration) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสที่ครบรอบ 2500 ปีแห่งการปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังเรียกว่างานฉลองกึ่งพุทธกาล เนื่องจากความเชื่อโบราณว่าพระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ 5000 ปี แล้วจักเสื่อมสลายลง งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในประเทศไทย ได้มีการเตรียมการล่วงหน้ากว่า 5 ปี นับแต่ปี พ.ศ. 2495 มีการสร้างอนุสรณ์สถานพุทธมณฑล และการจัดกิจกรรมมากมายเพื่อเฉลิมฉลองพร้อมกันกับประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า เนปาล และประเทศที่มีประชากรนับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลก โดยในประเทศอื่นใช้คำว่า "พุทธชยันตี 2500 ปี".

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

ตรัสรู้

ตรัสรู้ หมายถึง การรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการรู้สภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงในหลักอริยสัจ 4.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและตรัสรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ตะกรุด

ตะกรุด เป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน เพื่อความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ดีในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ป้องกันภยันตราย ภัยพิบัติทั้งปวง รวมทั้งด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ กลับดวง พลิกชะตา เลื่อนยศ ร้ายกลายเป็นดี ฯลฯ ตะกรุดได้ถูกสร้างโดยอ้างถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เพราะหากทำวัตถุบูชาเป็นรูปพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อนำไปในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สนามรบ อาจจะไม่บังควร ตะกรุดทำมาจากวัสดุต่าง ๆ ตามตำราของครูบาอาจารย์แต่ละท่าน แต่ที่พบโดยทั่วไปจะเป็นการนำโลหะแผ่นบางๆ อาจจะเป็น ทองคำ เงิน นาก ตะกั่ว หรือโลหะผสมอื่น ๆ มาลงอักขระเลขยันต์ด้วยเหล็กจารแสดงความหมายที่แตกต่างกันออกไป แล้วม้วนให้เป็นท่อกลมโดยมีช่องว่างตรงแกนกลางสำหรับร้อยเชือกติดตัว อาจนำมาหลอมรวมกันแล้วทำเป็นตะกรุดหล่อโบราณ ทำจากรางน้ำฝน ทำจากกาน้ำ ทำจากใบลาน ตัดเป็นแผ่นก่อนแช่น้ำแล้วนำมาม้วนเป็นท่อกลม ทำจากหนังสัตว์ เช่น หนังเสือ หนังหน้าผากเสือ หนังงู หนังเสือดาว หนังลูกวัวอ่อนตายในท้องแม่ หรือจากกระดูกสัตว์ ตะกรุดกระดูกช้าง ตะกรุดจากเขาวัวเผือก หรือจากไม้มงคลต่างๆ เช่น ไม้ไผ่ ซึ่งมีทั้งไผ่ตันและไผ่รวก ไม้คูน ไม้ขนุน ตะกรุดส่วนใหญ่ที่เป็นโลหะ จะมีความเชื่อที่แตกแขนงออกไปอีก เช่น ถ้าเป็นตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านเมตตา มักจะทำโดยใช้แผ่นทองหรือแผ่นเงิน ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางคงกระพัน จะใช้แผ่นทองแดง ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านแคล้วคลาด มักจะใช้แผ่นตะกั่ว เป็นต้น รูปแบบของตะกรุดก็มีพัฒนาการเรื่อยมาจากดอกใหญ่หนาสำหรับการออกศึกสงคราม ก็ค่อย ๆ ลดขนาดลง บางทีก็จัดทำเป็นดอกเล็ก ๆ ในลักษณะเครื่องรางติดตัวหรือสามารถตอกฝังเข้าไปในร่างกายได้ ปัจจุบันก็มีรูปแบบใหม่ขึ้นมาโดยทำมาจากปลอกลูกปืน อาศัยนัยว่า แม่ไม่ฆ่าลูก แล้วอาจจะถักด้วยเชือก ด้ายมงคล พอกด้วยผงยาจินดามณี แล้วนำไปจุ่มหรือชุบรักปิดทองตามตำรา ตะกรุดใช้บูชาอยู่ 2 แบบ คือใช้คล้องคอ หรือใช้คาดเอว โดยดอกตะกรุดจะขนานกันไปในแนวนอน ตะกรุดหากเป็นดอกเดียว เรียกว่า ตะกรุดโทน หากเป็นสองดอกจะเป็น ตะกรุดแฝด หรือเป็นโลหะสามชนิดเรียกว่า ตะกรุดสามกษัตริย์ หาก 16 ดอกเรียกว่า ตะกรุดโสฬส ดังจะเห็นได้จากพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก คล้องไว้ด้วยตะกรุดดอกใหญ่ เรียงเป็นแนวยาวพาดพระอังสะ ในลักษณะการเฉียงลงถึงบั้นพระองค์ มีสายตะกรุด 16 ดอก คล้องเป็นแนวยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งพระองค์ท่านสะพาย 2 เส้น หมวดหมู่:วัตถุมงคล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและตะกรุด · ดูเพิ่มเติม »

ตักบาตรเทโว

ตักบาตรเทโว ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) คำว่า เทโว เรียกกร่อนมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ 4) โดยลงมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่ 2) จนบรรลุโสดาปัตติผล (สาเหตุที่พระศาสดาไม่เสด็จไปแสดงธรรมในชั้นดุสิต  เพราะเทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ไม่สามารถขึ้นไปในชั้นดุสิตได้ ด้วยศักดานุภาพที่น้อยกว่า เพื่อให้โอกาสฟังธรรมแก่เทวดาเหล่านั้น)  ครั้นถึงวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนครอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ 14 เรื่องยมกปาฏิหาริย์ เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จากhttp://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและตักบาตรเทโว · ดูเพิ่มเติม »

ติสรณคมนูปสัมปทา

ระอุปัชฌาย์ให้ '''ติสรณคมนูปสัมปทา''' แก่ผู้บวชเป็นสามเณร ติสรณคมนูปสัมปทา, ไตรสรณคมนูปสัมปทา, ติสรณคมนอุปสัมปทา หรือ ไตรสรณคมนอุปสัมปทา แปลว่า การอุปสมบทด้วยการเข้าถึงไตรสรณะ หมายถึงการบวชเป็นภิกษุโดยการรับไตรสรณคมน์ หมายถึงการอุปสมบทเป็นภิกษุแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทเอง เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมา ทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรให้เป็นภิกษุได้โดยวิธีให้กุลบุตรนั้นรับไตรสรณคมน์เท่านั้น ซึ่งการบวชแบบนี้สำเร็จได้โดยบุคคล คือ พระสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็สามารถบวชกุลบุตรได้ ต่อมาทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทโดยสงฆ์ คือ ให้ทำเป็นสังฆกรรมที่เรียกว่าแบบญัตติจตุตถกรรมวาจา จึงเลิกวิธีบวชพระแบบติสรณคมนูปสัมปทา แต่ทรงอนุญาตให้ใช้วิธีนี้บวชสามเณร ซึ่งถือปฏิบัติกันมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและติสรณคมนูปสัมปทา · ดูเพิ่มเติม »

ตู่พุทธพจน์

ตู่พุทธพจน์ หมายถึง การอ้างพระพุทธพจน์ผิด ๆ ถูก ๆ ตู่พุทธพจน์ ใช้เรียกการที่พูดหรือเขียนข้อความหรือข้อธรรมไปตามความคิดเห็นของตนเองแล้วอ้างว่านี่เป็นพระพุทธพจน์ เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ จะอ้างด้วยไม่รู้ ด้วยเข้าใจผิด หรือด้วยจงใจก็ตาม หากข้อที่อ้างถึงนั้นมิใช่พระพุทธพจน์ มิใช่พระดำรัสของพระพุทธเจ้า หรือใช่บ้างไม่ใช่บ้าง หรือนำมาอ้างผิด ๆ ถูก ๆ ชื่อว่าตู่พุทธพจน์ได้ทั้งสิ้น เรียกการตู่พุทธพจน์แบบนี้อีกอย่างหนึ่งว่า จับใส่พระโอษฐ์ ตู่พุทธพจน์ จัดเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะ ไม่ควร เป็นกรรมหนัก คล้ายกับกล่าวตู่พระพุทธเจ้าด้วยคำไม่จริง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและตู่พุทธพจน์ · ดูเพิ่มเติม »

ตถาคต

ตถาคต เป็นพระนามที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าพระนามหนึ่ง เรียกเต็มว่า พระตถาคต ตถาคต แปลได้หลายนัย คือแปลว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและตถาคต · ดูเพิ่มเติม »

ตถาคตครรภ์

ในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานมีการตีความ ตถาคตครรภ์ (Tathāgatagarbha) หรือ พุทธธาตุ (佛性 ฝอซิ่ง) แตกต่างกันในแต่ละสำนัก โดยทั่วไปถือว่า ตถาคตครรภ์ เป็นภาวะบริสุทธิ์ดั้งเดิมที่มีอยู่ในจิตทั้งหลาย ภาวะนี้จึงเป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์ (พีชะ) ที่จะพัฒนาไปสู่การตรัสรู้ต่อไป คำว่า ตถาคตครรภ์ เป็นคำสมาสมาจากคำว่า ตถาคต (พระพุทธเจ้า) + ครรภ์ (สารัตถะ) ตถาคตครรภ์ จึงหมายถึงสารัตถะของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ 佛性 ในภาษาจีนหมายถึงธรรมชาติของพระพุทธเจ้า ส่วนนิกายวัชรยานนิยามใช้คำว่าสุคตครรภ์ พระสูตรมหายานที่กล่าวถึง "ตถาคตครรภ์" มีหลายพระสูตร ได้แก่ ตถาคตครรภสูตร ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร มหายานมหาปรินิรวาณสูตร ลังกาวตารสูตร อวตังสกสูตร มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและตถาคตครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตปุสสะ ภัลลิกะ

ตปุสสะ ภัลลิกะเป็นพ่อค้าสองพี่น้องชาวอุกกละชนบท เป็นบุตรของกฏุมพีในอสิตัญชนนคร ทั้งสองเป็นเทววาจิกอุบาสก (อ่านว่า ทฺ-เว-) ปฐมอุบาสกคู่แรกที่ยึดถือรัตนะ 2 คือถึงพระพุทธกับพระธรรม เป็นสรณะ ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า เพราะช่วงนั้นพระพุทธเจ้ายังตรัสรู้ใหม่ๆ ยังไม่ได้ประกาศพระศาสนาและยังไม่มีพระภิกษุเลย และทรงกำลังเสวยวิมุติสุขหลังจากทรงตรัสรู้ตามที่ต่างๆในอุรุเวลาเสนานิคมเป็นเวลา 7 สัปดาห์ ตปุสสะและภัลลิกะได้รับเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย ผู้ถึงสรณะก่อนใคร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและตปุสสะ ภัลลิกะ · ดูเพิ่มเติม »

ต้นพระศรีมหาโพธิ์

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เหนือพระแท่นวัชรอาสนพุทธบัลลังก์ สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต้นโพธิ์ที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าเคยประทับและตรัสรู้ ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่าต้นโพธิ์เปรียบได้กับพุทธอุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่ง ทำให้พันธ์ุต้นโพกลายเป็นพันธ์ไม้ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธเสมอมานับแต่สมัยพุทธกาล ต้นโพธิ์ในพระพุทธประวัติสองต้นคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ และต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ซึ่งอานันทโพธิ์ยังคงยืนต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำว่า "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" นั้น อาจหมายถึงต้นที่อยู่ที่พุทธคยา ต้นโพธิ์ที่สืบมาจากหน่อโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา หรือต้นโพธิ์ที่เป็นอุเทสิกเจดีย์อื่น ๆ ก็ได้ เช่น ต้นโพตามวัดต่าง ๆ ในปัจจุบันต้นพระศรีโพธิ์สำคัญที่ยังคงยืนต้นอยู่ในปัจจุบันมี 3 ต้นด้วยกัน คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา, ต้นพระชัยศรีมหาโพธิ์เมืองอนุราธปุระ, และต้นอานันทโพธิ์วัดพระเชตวันมหาวิหาร แต่ต้นโพธิ์พระเจ้าอโศกแห่งเมืองอนุราธปุระ ที่นำหน่อพันธ์มาจากพุทธคยา ได้รับการเคารพนับถือและปฏิบัติบูชาด้วยความเคารพอย่างสูงมาตลอดตั้งแต่สองพันปีโดยไม่ขาดช่วง มีการทำกำแพงทองคำและมีชาวพุทธผู้ศรัทธามาทำการสักการะตลอดเวลา ซึ่งต่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาที่ถูกทำลายและล้มลงตามธรรมชาติหลายครั้ง และต้นอานันทโพธิ์ที่วัดเชตวันที่ขาดช่วงการดูแลจากชาวพุทธหลังจากพระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย แม้ในประเทศไทย จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่ากับชาวพุทธในศรีลังกา แต่ปรากฏตามความเชื่อในประเทศไทยว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำปีเกิดสำหรับผู้ที่เกิดปีมะเส็ง สำหรับชาวล้านนายังมีความเชื่ออีกว่า ต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ช่วยขจัดความทุกข์ได้ จึงมีประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์ และเครื่องประกอบพิธีกรรม ใต้ต้นโพธิ์ โดยผูกคติกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่ใช่ความหมายเดิมของการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ตามคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่สืบหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ในประเทศไทยยังคงมีอยู่หลายต้น เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่วัดต้นศรีมหาโพธิ์ (ที่เชื่อว่านำเข้ามาปลูกสมัยทวาราวดี), วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (ปลูกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นต้น แม้การทำลายต้นโพธิ์ตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจะระบุว่าเป็นการทำบาปและหลบหลู่พระรัตนตรัย แต่ในมหาสมณวินิจฉัย ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวว่าเฉพาะต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เป็นอุทเทสิกเจดีย์เท่านั้น ต้นโพที่งอกทั่วไปและไม่ได้เป็นอุเทสิกาเจดีย์ คือไม่มีผู้เคารพบูชาในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า (เช่นเดียวกับพระพุทธรูป).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและต้นพระศรีมหาโพธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฉัพพรรณรังสี

ฉัพพรรณรังสี คือสีที่แผ่ออกจากพระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี 6 สี คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและฉัพพรรณรังสี · ดูเพิ่มเติม »

ซันเฉีย

นิกายซันเจีย ก่อตั้งโดยพระภิกษุซินซิง เป็นนิกายที่เกิดขึ้นตามสภาพสังคมของจีนก่อนสมัยราชวงศ์สุย เป็นความพยายามกอบกู้พุทธศาสนาที่ใกล้ถึงจุดเสื่อม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและซันเฉีย · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์ฮีโร

หล่าซูเปอร์ฮีโรของมาร์เวล กำลังสู้กับเหล่าซูเปอร์ฮีโรของดีซีคอมิกส์ ซูเปอร์ฮีโร (superhero) หรือ ยอดมนุษย์ ในภาษาไทย เป็นลักษณะของตัวละครที่แต่งขึ้นที่มีลักษณะพิเศษ และมีความสามารถพิเศษเหนือมนุษย์ทั่วไป โดยมักจะมีลักษณะเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่มีสีโดดเด่น โดยตัวละครซูเปอร์ฮีโรตัวแรกที่สร้างจากค่ายดีซีคอมิกส์คือซูเปอร์แมน ในปี พ.ศ. 2481 ค่ายการ์ตูนที่มีชื่อเสียงคือ ดีซีคอมิกซ์ ที่สร้างซูเปอร์แมนและแบทแมน และอีกค่ายที่มีชื่อเสียงคือ มาร์เวลคอมิกส์ ที่เป็นผู้สร้าง สไปเดอร์แมน และ เอ็กซ์เมน โดยคำว่า "ยอดมนุษย์" ในภาษาไทย ผู้บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาคือสมโพธิ แสงเดือนฉาย นักสร้างภาพยนตร์ชาวไทยที่มีส่วนในการสร้างซีรีส์อุลตร้าแมน โดยมีความหมายสื่อถึง พระพุทธเจ้าที่สามารถผจญเอาชนะมาร คือ ความชั่ว ได้ เพราะแก่นของซูเปอร์ฮีโรคือความดีย่อมชนะความชั่ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและซูเปอร์ฮีโร · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติบูชา

ปฏิบัติบูชา แปลว่า บูชาด้วยการปฏิบัติ เป็นคู่กับ อามิสบูชา คือบูชาด้วยสิ่งของ ปฏิบัติบูชา หมายถึงการบูชาด้วยการปฏิบัติตามแบบที่ท่านทำ ปฏิบัติตามคำที่ท่านสอน ได้แก่ท่านปฏิบัติมาอย่างไรก็ปฏิบัติตาม ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร ก็ทำตามด้วยความเต็มใจ ด้วยการประพฤติดีปฏิบัติชอบ กระทำแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ เช่นปฏิบัติตามคำสั่งสอน คำเตือน คำแนะนำของพระพุทธเจ้า ของบิดามารดา ของครูอาจารย์ เป็นต้น ปฏิบัติบูชา เป็นการบูชาอย่างหนึ่งใน 2 อย่าง แต่ปฏิบัติบูชาเป็นการบูชาที่สำคัญยิ่ง ยอดเยี่ยมกว่าอามิสบู.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปฏิบัติบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ปฐมเทศนา

ระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ที่ขุดพบในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนาที่งามที่สุดในโลกhttp://www.pharm.chula.ac.th/computer/web_india_1/idia1_09_esipat2/9_esipat2.htm อิสิปตนมฤคทายวัน สมัยหลังพุทธกาล. ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ออนไลน์. เรียกข้อมูลเมื่อ 12-6-52 (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ) ปฐมเทศนา (อ่านได้หลายอย่าง คือ "ปะ-ถม-มะ-เท-สะ-นา", "ปะ-ถม-มะ-เทด-สะ-หนา", "ปะ-ถม-เทด-สะ-หนา") แปลว่า การแสดงธรรมครั้งแรก เป็นคำเรียกเทศน์กัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อวันเพ็ญกลางเดือน 8 (วันอาสาฬหบูชา) ปฐมเทศนา มีชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เรียกสั้นๆ ว่า ธรรมจักร ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงเรื่อง อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั่นเอง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปฐมเทศนา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติพระพุทธเจ้า

ประวัติพระพุทธเจ้า (The Life of Buddha) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติ ที่เล่าเรื่องราวประวัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดำเนินการผลิตโดย ดร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและประวัติพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อินเดีย

ประวัติศาสตร์อินเดีย อารยธรรมอินเดีย อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและประวัติศาสตร์อินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม

ลังยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม มีวิวัฒนาการไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และเภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทั้งแผนตะวันตกและตะวันออกมาช้านาน โดย "การแพทย์" สามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขา ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม พยาบาล ทันตกรรม เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรก การแพทย์ของทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกจะอยู่ในรูปองค์รวม โดยมี "แพทย์" เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรักษา การปรุงยา การดูแล จนกระทั่งเมื่อวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ได้มีการจำแนกวิชาชีพออกตามความชำนาญมากขึ้น เพื่อฝึกหัดให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านแต่ละสาขา ระบบการแพทย์ในสมัยโบราณมักผูกพันกับอำนาจลี้ลับ เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกับการสังเกต ทดลอง วิเคราะห์ และหาความเชื่อมโยง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมสัตว์ในการบริบาลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และได้นำมาดัดแปลงตามความเหมาะสม เกิดแนวคิดและถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน และพัฒนาขึ้นเป็นระบบ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในแต่ละภูมิภาค ในสมัยโบราณ การจัดทำเภสัชตำรับขึ้นครั้งแรกเกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีการบันทึกโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม นับเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก และเริ่มมีการแบ่งสายวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ส่วนในจีน การแพทย์มักมีความผูกพันกับธรรมชาติ และใช้ปรัชญาของจีนร่วมในการรักษา ในอียิปต์เริ่มมีการจดบันทึกเภสัชตำรับเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ปาปิรุสอีเบอร์" ตลอดจนบูชาเทพเจ้าในการบำบัดโรคกว่า 10 องค์ ในสมัยกรีกโบราณ ชาวกรีกได้บูชาเทพแอสคลีปิอุส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการแพทย์ เช่นเดียวกับพระธิดา คือ เทพีไฮเจีย เทพีแห่งสุขอนามัย โดยพระองค์จะถือถ้วยยาและงูไว้ งูเป็นสัญลักษณ์ในการดูดพิษของชาวกรีกโบราณ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน กรีกมีนักปราชญ์มากมาย จึงใช้ปรัชญาและทฤษฎีในการบำบัดรักษาโรคทั่วไป ส่วนในยุคโรมัน ซึ่งได้รับวิทยาการถ่ายทอดจากกรีก ได้ใช้ปรัชญาจากนักปราชญ์ในการบริบาลผู้ป่วยสืบต่อมา สมัยจักรวรรดิโรมัน กาเลนนับเป็นบุคคลสำคัญในการบริบาลผู้ป่วย โดยกาเลนจะปรุงยาด้วยตนเองเสมอจนถือว่ากาเลนเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม" ในสมัยกลาง เมื่อโรมันเสื่อมอำนาจลง วิทยาการด้านการแพทย์เสื่อมถอยลง แต่วิทยาการทางการแพทย์ตะวันตกยังคงได้รับการถ่ายทอดจากชาวอาหรับที่มาค้าขายด้วย ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม (Magna Charta of the Profession of Pharmacy) เมื่อ ค.ศ. 1240 ห้ามมิให้ดำเนินการตั้งร้านยาหรือธุรกิจเกี่ยวกับการขายยา ยกเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และให้แยกวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมอย่างเด็ดขาดเป็นครั้งแรก การจำแนกเภสัชกรรมออกจากเวชกรรม เรียกข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและประวัติศาสตร์เภสัชกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า “ผ้าพระบฎ” (หรือ พระบต) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียนภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช แก่นแท้อยู่ที่การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทน ตามตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีว่า ในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ (เรียกว่า พระบฎ หรือ พระบต) ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง จึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือนยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนครมีรอดชีวิต 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งปากพนัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของพระบฎที่รอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงโปรดให้ชาวเมืองนครจัดเครื่องประโคมแห่แหนผ้าห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ จึงเป็นประเพณีประจำเมืองนครสืบมาจนทุกวันนี้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา เรียกว่า “แห่พระบฎขึ้นธาตุ” มีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 คือ วันมาฆบูชา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่มีโอกาสกระทำพุทธบูชาในวันวิสาขบูชาได้มีโอกาสแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาตามศรัทธาด้วย ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของเมืองนครจึงมีปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันเพ็ญเดือน 3 (วันมาฆบูชา) และในวันเพ็ญเดือน 6 (วันวิสาขบูชา) สืบมาจนทุกวันนี้ เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุกระทำกันโดยพร้อมเพรียงเป็นขบวนที่เอิกเกริกเพียงขบวนเดียว ต่อมา ประชาชนมาจากหลายทิศหลายทาง แต่ละคนต่างเตรียมผ้ามาเองทำให้การแห่ผ้าขึ้นธาตุไม่พร้อมเพรียงเป็นขบวนเดียวกัน เพราะใครจะแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็ได้ตามสะดวกตลอดทั้งวัน เมื่อขบวนแห่มาถึงวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ก็แห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ แล้วนำผ้าเข้าสู่วิหารม้า ซึ่งมีบันไดขึ้นสู่ลานภายในกำแพงแก้วล้อมฐานพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อนำผ้าขึ้นห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด หมวดหมู่:ประเพณีในศาสนาพุทธของไทย หมวดหมู่:จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาปารมิตา

ระปรัชญาปารมิตา ปรัชญาปารมิตาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 429-430 (อักษรเทวนาครี: प्रज्ञा पारमिता, Shes-rab-pha-rol-phyin ་ཤེས་རབ་ཕ་རོལ་, 般若波羅蜜多/般若波罗蜜多, Pinyin: bō'ruò-bōluómìduō; hannya-haramitta (般若波羅蜜多, hannya-haramitta?) banya-paramilda (般若波羅蜜多/반야파라밀다); Bát Nhã Ba La Mật Đa) เป็นพระสูตรสำคัญชุดหนึ่งในนิกายมหายาน ที่สำคัญ เช่น มหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ในทางศิลปกรรมช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 -12 มักแสดงในเชิงบุคลาธิษฐานเป็นรูปพระโพธิสัตว์ชื่อ "พระปรัชญาปารมิตา" มีฐานะเป็นมารดาของพระพุทธเจ้า หรือเป็นภาคสำแดงของพระอักโษภยพุทธะ เป็นสัญลักษณ์ของสุญญต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปรัชญาปารมิตา · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทนาคพันธ์

ระน้ำตรงกลางของปราสาทนาคพันธ์ ถนนไปที่วัด ปราสาทนาคพันธ์ (ប្រាសាទនាគព័ន្ធ บฺราสาทนาคพันฺธ; Neak Pean / Neak Poan) เป็นปราสาทขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฐานกลมที่มีลักษณะซ้อนลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้น ๆ ชั้นสุดท้ายเป็นรูปพญานาค 7 เศียร 2 ตัว โอบล้อมฐานของปราสาทโดยหันส่วนหัวไปทางทิศตะวันออก และส่วนหาง วนอ้อมฐานมาบรรจบกันทางทิศตะวันตก ที่ฐานของปราสาทจำหลักรูปดอกบัวรองรับตัวปราสาท และมีรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประดิษฐานอยู่ที่ปราสาททั้ง 4 ทิศ ปราสาทนาคพันธ์ สร้างอยู่กลางสระสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีบ่อน้ำขนาดเล็กตั้งอยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศ แต่ละบ่อมีส่วนที่เชื่อมต่อกับสระใหญ่ตรงกลางเพื่อให้น้ำจากสระใหญ่สามารถไหลไปสู่บ่อเล็กได้ การก่อสร้างปราสาทนาคพันธ์น่าจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนา ผังของปราสาทเป็นลักษณะการจำลองของสระอโนดาต สระอโนดาตเป็นสระน้ำบนสวรรค์มีน้ำที่ใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา มีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า น้ำในสระอโนดาตจะไหลออกตามช่องภูเขาที่ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศของสระ ซึ่งปากช่องของภูเขาแต่ละลูกจะเป็นรูปหน้าของสัตว์ 4 ชนิด คือ สิงห์ ช้าง ม้า และวัว ใน "ย้อนรอยอารยะเมืองพระนคร" ซึ่งเขียนโดย ชากส์ คูมาร์เชย์ และแปลโดยอาจารย์วีระ ธีรภัทร ได้กล่าวถึงรูปจำหลักในทิศทั้ง 4 ของปราสาทนาคพันธ์ว่า ที่สระน้ำทางทิศตะวันตกมีหินสลักเป็นรูปหัวมนุษย์ สระน้ำทางทิศเหนือมีหินสลักเป็นรูปหัวช้าง สระน้ำทางทิศตะวันออกมีหินสลักเป็นรูปหัวม้า และสระน้ำทางทิศใต้มีหินสลักเป็นรูปหัวสิงห์ จะเห็นว่าช่างขอมจำหลักรูปหน้าสัตว์ประจำทิศในแต่ละทิศตามคติความเชื่อเรื่องสระอโนดาต แต่ในทิศตะวันตกกลับจำหลักรูปหน้าคนแทนหน้าวัว คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างปราสาทนาคพันธ์มีทั้งความเชื่อทางพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูปะปนกัน ตัวปราสาทกลางสระสร้างตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ แต่ไม่ปรากฏรูปพระพุทธเจ้ากลับมีรูปสลักของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแทน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปราสาทนาคพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิ

ระปรางค์กู่ เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ที่ ถนนบรรณาการ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีฐานสี่เหลี่ยม สร้างด้วยศิลาแลง วางซ้อนกันจากฐานถึงยอด ภายในบรรจุพระพุทธรูปดินเผา เชื่อกันว่าเป็นอโรยาศาล (โรงพยาบาล) ในสมัยก่อน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ปรินิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่อนุปาทิเสนนิพพาน จิตรกรรมฝาผนังวัดท่าถนน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปรินิพพาน แปลว่า การดับรอบ ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด คือ การดับสนิท ดับด้วยไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์ มีความหมายเดียวกับคำว่า นิพพาน บางครั้งใช้หมายถึง อนุปาทิเสนนิพพาน แปลว่า การดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์ (อนุปาทิเสสนิพพาน คู่กับ สอุปาทิเสสนิพพาน แปลว่า ดับกิเลสแต่ยังดำรงชีวิตอยู่ เช่น การตรัสรู้) ปรินิพพาน นิยมใช้หมายถึง การดับขันธ์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนของพระอรหันตสาวกที่เหลือนิยมใช้นิพพานเฉย ๆ ทั้งนี้ นัยว่าเพื่อเป็นการยกย่องพระพุทธเจ้า แต่ในภาษามคธใช้เหมือนกันทั้งสองศัพท์ คือ ใช้สลับกันก็มี ปรินิพพาน สำหรับพระพุทธเจ้านิยมเพิ่มคำว่า "เสด็จดับขันธ์" หรือ "เสด็จดับขันธ" ไว้หน้าด้วย เช่นใช้ว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา".

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปรินิพพาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล

ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล เป็นหนังสือที่เขียนโดยวินทร์ เลียววาริณ ในปี พ.ศ. 2548.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล · ดูเพิ่มเติม »

ปัพพาชนียกรรม

ปัพพาชนียกรรม (อ่านว่า ปับพาชะนียะกำ ใช้ว่า บัพพาชนียกรรม ก็ได้) คือการลงโทษพระภิกษุที่กระทำผิดโดยการขับออกจากคณะสงฆ์ ในทางศาสนาพุทธ ปัพพาชนียกรรมหมายถึงการขับภิกษุออกจากหมู่คณะ การไล่ภิกษุออกจากวัด เป็นกรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงไล่เสีย จัดเป็นนิคหกรรมคือการลงโทษภิกษุอย่างหนึ่งใน 6 อย่าง วิธีทำกรรมนี้ต้องทำเป็นสังฆกรรม คือ ญัตติจตุตถกรรม ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ประพฤติเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร คลุกคลีกับคฤหัสถ์ เป็นผู้วิบัติทางศีลอาจาระ และทิฐิ กล่าวติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปัพพาชนียกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญาสชาดก

ปัญญาสชาดก เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องเอกที่พระเถระนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวปรัมปราที่เป็นนิทานพื้นถิ่นแพร่หลายในยุคนั้น แล้วนำมารจนาเป็นชาดกขึ้นในระหว่างปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปัญญาสชาดก · ดูเพิ่มเติม »

ปัญจวัคคีย์

ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ปัญจวัคคีย์ คือ กลุ่มนักบวชที่ตั้งขึ้นมา เป็นนักบวชที่ปรากฏอยู่ในศาสนาพุทธในฐานะภิกษุชุดแรกที่เข้ามาบวชเป็นสาวก มีทั้งหมด 5 รูป ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ แต่เดิมปัญจวัคคีย์เป็นนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ ๆ ทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นรุ่นแรก ได้เป็นภิกษุรุ่นแรกและได้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกในพระพุทธศาสนา เฉพาะโกณฑัญญะเป็นผู้เคยทำนายลักษณะพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตอนประสูติใหม่ ส่วนอีก 4 ท่าน เป็นบุตรของพราหมณ์ที่ทำนายลักษณะของพระพุทธเจ้าร่วมกับโกณฑัญญะ เพราะมีความเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้ออกบวชตาม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู เรียกว่า มีราตรีนาน คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใคร และได้บวชก่อนผู้อื่นในพระพุทธศานา จากนั้นพระพุทธองค์ทรงประทาน ปกิณณกเทศนา สั่งสอนที่เหลืออีก 4 ท่าน ให้บรรลุโสดาบันแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความดังนี้ ขณะสดับพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน สามารถละสังโยชน์ครบ 10 ประการ ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปัญจวัคคีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ปาพจน์

ปาพจน์ แปลว่า คำเป็นประธาน หมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่คือพระธรรมวินัยซึ่งถือว่าเป็นศาสดาแทนองค์พระพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปาพจน์ · ดูเพิ่มเติม »

ปาฏิปุคคลิกทาน

ปาฏิปุคคลิกทาน (ปฏิปุคฺคลิกทาน) เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระภิกษุอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเจาะจงตัวผู้รับถวายสิ่งของ เช่น ถวายเฉพาะเจาะจงตัวพระภิกษุที่ตนเคารพนับถือ หรือที่ตนตั้งใจไว้ก่อนแล้วโดยเจตนาจำเพาะเจาะจง เช่น จะถวายแก่พระภิกษุรูปหนึ่งรูปใดผู้ทรงพรรษากาลที่ตนพบก่อน (โดยละเว้นพระภิกษุผู้นวกะ) เป็นต้น ปาฏิปุคคลิกทาน เป็นทานถวายแก่พระภิกษุที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์ไม่มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่า ดูก่อนอานนท์!...

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปาฏิปุคคลิกทาน · ดูเพิ่มเติม »

ปางพระพุทธรูป

ปางพระพุทธรูป คือ ลักษณะของรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าในอิริยาบถต่าง ๆ ซึ่งสร้างขึ้นตามความเชื่อในพุทธประวัติ โดยช่างสมัยโยนก (คันธารราฐ) ราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. 863-1023) เป็นชาวกรีกพวกแรกที่กำหนดรูปแบบปางพระพุทธรูป ต่อมาช่างชาวอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งเป็นชาวกลิงคราฐข้างฝ่ายใต้ รวมทั้งในยุคสมัยต่าง ๆ ในภายหลังได้คิดปางพระพุทธรูปเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปางพระพุทธรูป · ดูเพิ่มเติม »

ปางพระเกศธาตุ

ปางพระเกศธาตุ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นแนบพระเศียร เป็นกิริยาเสยพระเกศา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดเรียกว่า ปางต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปางพระเกศธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ปางอุ้มบาตร

ระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ที่เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารรัชกาลที่ 2 ปางอุ้มบาตร เป็นชื่อเรียกของพุทธลักษณะของพระพุทธรูป ทำนั่งขัดสมาธิอย่างปางสมาธิ หรือยืน แต่พระหัตถ์ทั้งสองประคองถือบาตร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปางอุ้มบาตร · ดูเพิ่มเติม »

ปางปฐมเทศนา

ลักษณะพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ปางปฐมเทศนา เป็นพระพุทธรูปลักษณะประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายทำประคองพระหัตถ์ขวา วางบนพระเพลา (ตัก) หรือถือชายจีวร พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัตถ์ เป็นเครื่องหมายว่าพระธรรมจักร มีเครื่องประกอบทำเป็นรูปวงล้อ (ธรรมจักร) กับรูปกวางไว้ตรงพุทธบัลลังก์ และบางทีมีปัญจวัคคีย์พนมมือด้วย (พระพุทธรูปปางนี้ที่ไทยเราเอามาสมมุติเรียกว่า พระคันธารราฐสำหรับขอฝน).

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปางปฐมเทศนา · ดูเพิ่มเติม »

ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์

มกปาฏิหาริย์สถูป เมืองสาวัตถี สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนบัลลังก์ ห้อยพระบาททั้งสองวางบนดอกบัวที่รองรับ พระชานุ (เข่า) ยกตั้งแบบประทับบนพระเก้าอี้ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปางแสดงยมกปาฏิหาริย์ · ดูเพิ่มเติม »

ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์ไว้เสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาทรงประทานโอวาทปาติโมก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ปางโปรดพุทธบิดา

ปางโปรดพุทธบิดา เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าประคองบาตร พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วพระหัต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปางโปรดพุทธบิดา · ดูเพิ่มเติม »

ปุจฉาวิสัชนา

ปุจฉาวิสัชนา แปลว่า ถามตอบกัน หมายถึงการถามและตอบกันไปมา เป็นการหาความรู้ความเข้าใจจากอีกฝ่ายหนึ่ง ปุจฉาวิสัชนาจึงเป็นคำเรียกการเทศน์ที่มีการถามตอบกันเช่นนั้นว่า เทศน์ปุจฉาวิสัชนา คือพระรูปหนึ่งเป็นผู้ถาม อีกรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบ โดยถามกันในเรื่องธรรมบ้าง เรื่องอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังบ้าง ปุจฉาวิสัชนาเป็นวิธีสอนอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า โดยทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์หรือผู้เข้าเฝ้าถามปัญหาได้ และพระองค์ทรงตอบเอง เป็นทางเกิดปัญญาอย่างหนึ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนาได้ซักไซ้ไล่เลียงถามจนกระทั่งได้คำตอบที่พอใจ เป็นวิธีการให้ความรู้ตรงแก่ผู้สงสัยในเรื่องนั้น ๆ และเป็นการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในการเรียนการสอน หรือการสนทน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและปุจฉาวิสัชนา · ดูเพิ่มเติม »

นกการเวก (เทพปกรณัม)

ำหรับ ปักษาวายุ ความหมายอื่นดูที่: ปักษาวายุ ประติมากรรมรูปนกการเวกตามศิลปะจีน ยุคเซี่ยตะวันตก นกการเวก หรือ ปักษาวายุภักษ์ (แปลว่า "นกกินลม"; สันสกฤต: कलविङ्क; kalaviṅka) เป็นนกในเทพปกรณัมของตะวันออก ปรากฏในป่าหิมพานต์ เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่า บินได้สูงเหนือเมฆ มีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินแล้วจะต้องหยุดฟัง นอกจากนี้ยังปรากฏมีมาในพระบาลีว่าเสียงของพระพุทธเจ้านั้นเหมือนเสียงพรหม แจ่มใสชัดเจน อ่อนหวาน สำเนียงเสนาะ ไม่แตก ลึกซึ้ง มีกังวาลไพเราะและเหมือนเสียงนกการเวก ส่วนอาหารของนกการเวกนั้น มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ปัญจสุทนีว่า นกการเวก กินน้ำมะม่วงสุกเป็นอาหาร แต่โดยที่นกชนิดนี้หายากหลงเข้าใจกันแต่ว่าอยู่บนท้องฟ้ากินลมเป็นอาหาร ตามวรรณคดีไตรภูมิพระร่วงนั้น กล่าวว่าขนนกการเวกนั้นเป็นที่ต้องการเพราะกลายเป็นทองคำได้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนกการเวก (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

นกกาเหว่า

นกกาเหว่า หรือ นกดุเหว่า (Asian koel) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) พบในเอเชียใต้ จีน เอเชียอาคเนย์รวมทั้งประเทศไทย เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นนกปรสิตที่วางไข่ให้กาและนกอื่น ๆ เลี้ยง เป็นนกจำพวกคัคคูที่ไม่เหมือนพันธุ์อื่น ๆ เพราะโดยมากกินผลไม้ (frugivore) เมื่อเติบใหญ่ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ชื่อว่า "กาเหว่า" และชื่ออื่น ๆ อีกหลายภาษารวมทั้งชื่ออังกฤษว่า "koel" เป็นชื่อเลียนเสียงนก เป็นนกที่ใช้เป็นสัญลักษณ์อย่างมากมายในวรรณกรรมอินเดี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนกกาเหว่า · ดูเพิ่มเติม »

นกยูง

นกยูง (Peacock, Peafowl) เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ มีจุดเด่นคือ เพศผู้มีขนหางยาวที่มีสีสันสวยงาม ที่เมื่อแผ่ขยายออกเพื่ออวดเพศเมียจะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ที่เรียกว่า "รำแพน" นกยูงใช้ชื่อสกุลว่า Pavo ชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสมตามริมลำธารในป่า มีพฤติกรรมมักร้องตอนเช้าหรือพลบค่ำ กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออกผ่านพม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซียและชวา นกยูงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ นกยูงไทยตัวผู้ขณะรำแพน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนกยูง · ดูเพิ่มเติม »

นกต้อยตีวิด

นกต้อยตีวิด หรือ นกกระต้อยตีวิด หรือ นกกระแตแต้แว้ด หรือ นกแต้แว้ด (red-wattled lapwing) เป็นนกที่สีสวยน่าดู พบได้ตามพื้นที่โล่งเกือบทุกสภาพทั่วประเทศ อยู่ในวงศ์นกหัวโต (Charadriidae) วงศ์ย่อย Vanellinae หรือ Charadriinae มีเสียงร้องเตือนภัยแหลมดังที่ไม่เหมือนใครว่า "แตแต้แวด" หรือตามคนพูดภาษาอังกฤษว่า did he do it หรือ pity to do it ทำให้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามเสียงร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ เป็นนกที่มักจะเห็นเป็นคู่ ๆ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ แต่อาจจะอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ในฤดูหนาวที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนกต้อยตีวิด · ดูเพิ่มเติม »

นรกภูมิ

ลของมัจจุราชในนรก ภาพจากสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา นรกภูมิ หรือเรียกโดยย่อว่า "นรก" (निरय, นิรย; नरक, นรก; 那落迦, นาเหลาเจี๋ย; 地獄, จิโกะกุ; ငရဲ, งาเย; neraka เนอรากา) คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามศาสนาพุทธเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดทันทีหรือถูกลงโทษตามคำพิพากษาของพญายมราช ตามไตรภูมิกถาแล้ว นรกภูมิเป็นดินแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นภพหนึ่งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า "ไตรภพ" หรือ "ไตรภูมิ" นรกของทางพุทธศาสนาต่างจากนรกของทางตะวันตกในสองประการ คือ สัตว์โลกมิได้ถูกส่งตัวไปเกิดและลงโทษในนรกภูมิตามคำพิพากษาของเทพ แต่เป็นเพราะบาปกรรมที่ตนได้กระทำเมื่อมีชีวิต และระยะเวลาถูกลงโทษในนรกนั้นเป็นไปตามโทษานุโทษ มิได้ชั่วกัปชั่วกัลป์เหมือนอย่างนรกของฝรั่ง กระนั้นก็นานเอาการอยู่ ซึ่งเมื่อพ้นโทษจากนรกแล้วจะได้กลับไปเกิดในโลกที่สูงขึ้นตามแต่กรรมดีที่ได้กระทำไว้หรือตามแต่ผลกรรมที่เหลืออยู่ แล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนรกภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

นวกรรม

นวกรรม แปลว่า การทำให้ใหม่ คือการก่อสร้าง โดยปกติเป็นงานของชาวบ้าน พระสงฆ์มีหน้าที่อำนวยการหรือควบคุมดูแลให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังเช่นพระมหาโมคคัลคานะได้รับมอบหมายจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้อำนวยการก่อสร้างบุพพารามของนางวิสาขา เรียกภิกษุผู้ทำหน้าที่นี้ว่า นวกัมมัฏฐายี (ผู้อำนวยการก่อสร้าง) บ้าง นวกัมมิกะ (ผู้ดูแลนวกรรม) บ้าง นวการ (ผู้ก่อสร้าง) บ้าง ในทางพุทธศาสนา นวกรรม หมายถึงงานสาธารณูปการ คืองานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การบูรณะปฏิสังขร การดูแลจัดการวัดเรื่องเสนาสนะและถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด รวมถึงการทำให้วัดสะอาดร่มรื่นเป็นต้น เรียกรวมว่า งานนวกรรม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนวกรรม · ดูเพิ่มเติม »

นวังคสัตถุศาสน์

นวังคสัตถุศาสน์ (อ่านว่า นะวังคะสัดถุสาด แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ 9 อย่าง คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนวังคสัตถุศาสน์ · ดูเพิ่มเติม »

นาค

นาคสะดุ้ง ประติมากรรมตามบันไดทางขึ้นโบสถ์ของวัดไทย ตามความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นาค (नाग Nāga) เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่ ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษะ (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนาค · ดูเพิ่มเติม »

นาคารชุนะ

ระนาคารชุนะ รูปปั้นของพระนาคารชุนะ ในวัดพุทธแบบทิเบตแห่งหนี่งในสหราชอาณาจักร นาคารชุนะ (नागार्जुन; Nāgārjuna; నాగార్జునా;; มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลก ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนาคารชุนะ · ดูเพิ่มเติม »

นิทาน

นิทาน (นิทาน, Fable) ในภาษาไทย มีใช้อย่างน้อย ๒ ความหมาย คือ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนิทาน · ดูเพิ่มเติม »

นิคหกรรม

นิคหกรรม (อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ) แปลว่า การข่ม เป็นวิธีการลงโทษภิกษุตามพระธรรมวินัยเพื่อให้เข็ดหลาบ นิคหกรรม ใช้สำหรับลงโทษภิกษุผู้ทำเสียหาย เช่นก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง ทำความอื้ฉาว มีศีลวิบัติ ติเตียนพระรัตนตรัย เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชีพเป็นต้น นิคหกรรม เป็นกิจที่พึงทำอย่างหนึ่งของผู้ปกครองหมู่คณะ เป็นคำคู่กับปัคหะคือการยกย่อง ทั้งสองอย่างนี้เป็นเครื่องมือในการปกครอง มีความสำคัญเท่าๆ กัน ทั้งนี้เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์ เมื่อมีผู้ประพฤติมิชอบ สมควรแก่นิคหกรรม พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตให้สงฆ์ทำนิคหกรรมแก่ผู้นั้นตามพระธรรมวินัย นิคหกรรม ในปัจจุบัน มีกฎของคณะสงฆ์เพื่อการนี้เรียกว่า กฎนิคหกรรม แต่ใช้ในกรณีความผิดที่ร้ายแรง หรือ คุรุกาบัติ และต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยเท่านั้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนิคหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

นครวัด

นครวัด (អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อนๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่นๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและนครวัด · ดูเพิ่มเติม »

แฟนพันธุ์แท้ 2002

รายการแฟนพันธุ์แท้ในปี 2002 ได้มีการปรับเปลี่ยนโลโก้ของรายการใหม่ และปรับเปลี่ยนฉากใหม่ โดยเป็นธีมสีทองและสีเขียว ให้รู้สึกถึงความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น และได้ปรับเปลี่ยนกติกาให้เป็นต้นแบบของกติกาในปัจจุบัน คือ ได้ปรับเปลี่ยนเกมในรอบแรก จากเกมตีไฟตอบคำถาม เป็นเกม 3 วินาที โดยในปี 2002 นี้ มีรายการแฟนพันธุ์แท้ทั้งหมด 35 เรื่อง เป็นเรื่องใหม่ 29 เรื่อง เรื่องเก่าที่นำมาจัดแข่งขันใหม่ 6 เรื่อง มีสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ทั้งหมด 31 ท่าน ตอบคำถามสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ผิด 5 ท่าน โดยในการชิงชัยสุดยอดแฟนพันธุ์แท้แห่งปี 2002 ได้มีสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ร่วมเข้าชิงชัยทั้งหมด 30 ท่าน และสุดยอดแฟนพันธุ์แท้แห่งปี 2002 ก็คือ สมมาตร ศรีสมาจารย์ สุดยอดแฟนพันธุ์แท้มอเตอร์ไซค์ นั่นเอง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและแฟนพันธุ์แท้ 2002 · ดูเพิ่มเติม »

แก่นพุทธศาสน์

แก่นพุทธศาสน์ เป็นหนังสือที่รวบรวมปาฐกถาของพุทธทาสภิกขุที่แสดง ณ โรงพยาบาลศิริราช รวม 3 ครั้ง ระหว่าง..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและแก่นพุทธศาสน์ · ดูเพิ่มเติม »

แก้วสามประการ

แก้วสามประการ (triratna; 三寶) คือสิ่งประเสริฐสุดตามความเชื่อในศาสนาต่าง ๆ มีดังนี้.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและแก้วสามประการ · ดูเพิ่มเติม »

แมงสี่หูห้าตา

วาดแมงสี่หูห้าตาตามตำนวนวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว จังหวัดเชียงราย โดย พระครูบาสนอง สุมะโน เมื่อปี พ.ศ. 2528 แมงสี่หูห้าตา เป็นชื่อสัตว์ประหลาดตัวหนึ่งในตำนานว่าด้วยวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้ว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย มีลักษณะเหมือนหมีสีดำตัวอ้วน มีหูสองคู่และตาห้าดวง รับประทานถ่านไฟร้อนเป็นอาหาร และถ่ายมูลเป็นทองคำ ตำนานของแมงสี่หูห้าตานั้นเกี่ยวข้องกับการสร้างวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วของจังหวัดเชียงราย และเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชายหลงรักอนุภรรยามากกว่าเอกภรรยาด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและแมงสี่หูห้าตา · ดูเพิ่มเติม »

แทนคุณ จิตต์อิสระ

แทนคุณ จิตต์อิสระ มีชื่อเดิมคือ เอกชัย บูรณผานิต (แซ่ผ่าง) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอนภาษาจีน เป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้เรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีน ในปี2005 และได้รับเชิญให้เป็นพิธีกรในรายการเดียวกันนี้ ในปี 2007-2008 ภายหลังได้จัดตั้ง "สถาบันฮั่นอี้ หรือ โรงเรียนนวัตกรรมภาษาและปัญญามนุษย์" ในปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและแทนคุณ จิตต์อิสระ · ดูเพิ่มเติม »

โกลาหล

กลาหลแปลว่าความแตกตื่น ในทางพระพุทธศาสนาหมายถึงการแตกตื่นของเหล่าเทวดา มี 5 อย่าง คือ กัปปโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีกแสนปีโลกธาตุและจักรวาลจะสิ้นแล้ว จักกวัตติโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีกร้อยปีพระเจ้าจักรพรรดิ์จะประสูติ พุทธโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีกพันปีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลก มังคลโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีก12ปีพระพุทธเจ้าจะตรัสบอกมงคล โมเนยยโกลาหล ๑ แตกตื่นว่าอีก7ปีพระพุทธเจ้าจะตรัสบอกโมเนยยะปฏิบัติ โกลาหลอาจใช้ในความหมายว่าวุนว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและโกลาหล · ดูเพิ่มเติม »

โรคถ้ำมอง

ทพเมอร์คิวรีกับ Herse ลอบดู Aglaulus แอบถายโรคถ้ำมอง (Voyeurism) หรือ ความชอบแอบดู หรือ การแอบดู เป็นความสนใจหรือข้อประพฤติทางเพศที่จะแอบดูคนอื่นทำการในที่ลับ เช่นถอดเสื้อผ้า มีกิจกรรมทางเพศ หรือการอื่น ๆ ที่ปกติพิจารณาว่าเป็นเรื่องควรทำเป็นการส่วนตัว คนแอบดูปกติจะไม่ทำอะไรโดยตรงกับบุคคลที่เป็นเป้า ผู้บ่อยครั้งจะไม่รู้ว่ากำลังถูกแอบดู จุดสำคัญของการแอบดูก็คือการเห็น แต่อาจจะรวมการแอบถ่ายรูปหรือวิดีโอ คำภาษาอังกฤษมาจากคำฝรั่งเศสว่า voyeur ซึ่งหมายความว่า "บุคคลที่ดู" คนแอบดูชายมักจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Peeping Tom" ซึ่งเป็นคำมาจากตำนานของ Lady Godiva ซึ่งเป็นหญิงที่ขี่ม้าเปลือยกายไปในเวลากลางคืน เพื่อขอการปลดเปลื้องหนี้ภาษีจากสามีของเธอสำหรับคนเช่าที่ดินของเขา โดยมีชายคนหนึ่งมองเห็น แต่ว่า จริง ๆ แล้ว คำนี้มักจะใช้กับชายที่แอบดูคนอื่น และโดยทั่วไปไม่ใช่ในที่สาธารณะเหมือนอย่างในตำนาน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและโรคถ้ำมอง · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา

รงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา หมายถึง โรงเรียนเอกชนที่วัดเป็นผู้ถือใบอนุญาต ตาม พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษา

รงเรียนวังน้ำคู้ศึกษา (Wangnamkoosuksa School; ย่อ: ว.ศ.) เป็นโรงเรียนสหศึกษา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2519, เมื่อ 20 สิงหาคม 2559 จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านบางขวัญม้า ตำบลวังน้ำคู้ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและโรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

โลโกตตรวาท

ลโกตตรวาท หรือ โลโกตตระ เป็นหนึ่งใน 20 นิกายในศาสนาพุทธยุคแรก เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาทที่แตกแขนงมาจากสำนักมหาสังฆิกะ นิกายโลโกตตรวาทเป็นนิกายที่มีกล่าวถึงเฉพาะหลักฐานทางฝ่ายภาษาสันสกฤตเท่านั้น ไม่มีกล่าวถึงในหลักฐานของฝ่ายบาลี เคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในมัธยมประเทศของประเทศอินเดีย นิกายโลโกตตรวาทเน้นหลักธรรมที่ว่า โลกียธรรมเท่านั้นที่ไร้แก่นสาร ส่วนโลกุตรธรรมเป็นของจริง กล่าวคือ ไม่มีสิ่งใดแท้จริงในโลกนี้ เว้นแต่ความว่าง (สุญญตา) สองอย่าง คือ ศูนฺยตาของบุคคล และศูนฺยตาของสรรพสิ่ง พระพุทธเจ้าคือผู้อยู่เหนือโลก (โลโกตตร: โลก + อุตฺตร) ชีวิตในชาติต่างๆ ของพระองค์ รวมทั้งการปรากฏให้เห็นทางกายภาพเป็นเพียงภาพเท่านั้น พระองค์มิใช่มนุษย์ธรรมดา ผู้ถือนิกายโลโกตตระ เรียกว่า โลโกตตรวาทิน คัมภีร์สำคัญที่หลงเหลืออยู่อย่างสมบูรณ์ของนิกายโลโกตตรวาท คือ คัมภีร์มหาวัสตุอวทาน ที่แต่งขึ้นด้วยภาษาสันสกฤตผสม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและโลโกตตรวาท · ดูเพิ่มเติม »

โจ๊ก

ก เป็นข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ นิยมรับประทานกันในหลายประเทศในเอเชีย ในบางวัฒนธรรมจะรับประทานโจ๊กเป็นอาหารเช้าหรืออาหารมื้อค่ำแทนอาหารหลักในบางมื้อ ส่วนเทศกาลวันตรุษจีนจะมีข้อห้ามกินโจ๊กเพราะการกินโจ๊กวันตรุษจีนเหมือนกับการขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวยเนื่องจากคนจนจะนิยมกินโจ๊ก โจ๊กยังสามารถทำได้ในหม้อธรรมดาหรือหม้อหุงข้าว คำว่า congee ในภาษาอังกฤษน่าจะมีความเป็นไปได้ว่ามาจากคำในภาษาดราวิเดียน คำว่า kanji และเว็บสเตอร์ดิกชันนารี ระบุว่าคำว่า Congee มาจากอินเดีย ส่วนคำว่า โจ๊ก ในภาษาไทย เลียนเสียงมาจากภาษาจีนกวางตุ้ง จุ๊ก (粥 dzuk7) บ้างก็ว่ามาจากคำว่า ล่าปาเจี๋ย (腊八节) ซึ่งแปลว่า "เทศกาลลาป่า" อันเป็นประเพณีตั้งแต่โบราณ ตั้งแต่ยุคสามราชาห้าจักรพรรดิ (2852 ก่อนคริสตกาล ถึง 2070 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นการล่าสัตว์เพื่อบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้า ตามคติของพุทธศาสนาแบบมหายานของจีน เล่าว่า เจ้าชายสิทธัตถะขณะกำลังบำเพ็ญทุกรกิริยาจนกระทั่งสลบไป หญิงเลี้ยงวัวคนหนึ่งมาพบเข้าได้นำอาหารที่ติดตัวมาผสมกับนมวัวรวมกับผลไม้ป่าหลายชนิดป้อนให้เจ้าชายสิทธัตถะให้รับประทานจนกระทั่งฟื้นคืนสติ และได้ตรัสรู้ในคืนนั้นสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจีน ในยุคราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 ถึง ค.ศ. 1644) เล่ากันว่าจูหยวนจาง ปฐมจักรพรรดิขณะยังมีสถานะเป็นสามัญชน เป็นผู้ที่มีความเป็นอยู่แร้นแค้นมาก วันหนึ่งได้ขุดรูหนูเพื่อจับหนูกิน แต่ได้ไปพบข้าวฟ่างและธัญพืชหลายชนิด จึงนำมาต้มรวมกัน เรียกว่า ล่าปาโจว (腊八粥; แปลว่า ข้าวต้มล่าปา) ในประเทศไทยบางพื้นที่ออกเสียงคำว่า "โจว" (节) เพี้ยนเป็น "โจ๊ก" จนกลายมาเป็นโจ๊กดังในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและโจ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

โคราฆปุระ

ตำแหน่งที่ตั้งเมืองโคราฆปุระในประเทศอินเดีย โคราฆปุระ (Gorakhpur, เทวนาครี: गोरखपुर, อูรดู: گۋڙکھ پور) เป็นเมืองหลวงของอำเภอโคราฆปุระในภาคตะวันออกของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ใกล้กับพรมแดนประเทศเนปาล โคราฆปุระเป็นเมืองศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญและมีชื่อเสียงไม่ว่าจะเป็น ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน หรือศาสนาสิกข์ โดยชื่อเมืองในปัจจุบันเรียกตามชื่อ โยคีโคราฆชนาถ (Gorakshanath) บริเวณแคว้นนี้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของอารยธรรมอารยันตามคัมภีร์พระเวท ผู้ปกครองดินแดนในบริเวณนี้ในอดีต คือ กษัตริย์ราชวงศ์ สุริยวงศ์ (Solar Dynasty) โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่อโยธยา กษัตริย์สุริยวงศ์นี้ได้ปกครองติดต่อกันอย่างยาวนาน โดยเฉพาะที่รู้จักกันดี คือ พระรามในเรื่อง รามเกียรติ์เป็นหนึ่งในกษัตริย์ราชวงศ์นี้ ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีเมืองนี้ เมืองสำคัญในขณะนั้นคือ เวสาลี โกสัมพี พาราณสี และราชคฤห์ ในขณะที่อโยธยากลายเป็นเมืองเล็ก แคว้นนี้ในสมัยพุทธกาลเป็นอาณาเขตของแคว้นโกศล (Kosala) พระพุทธเจ้าทรงถือครองเพศบรรพชิตที่ริมแม่น้ำในบริเวณใกล้ที่ตั้งเมืองในปัจจุบันนี้ ก่อนที่เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ และพระมหาวีระศาสดาของศาสนาเชนได้เดินทางผ่านบริเวณนี้เช่นเดียวกัน ปัจจุบันเมืองโคราฆปุระเป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจ อุตสาหกรรม และการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของรัฐอุตตรประเท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและโคราฆปุระ · ดูเพิ่มเติม »

ไกร

ำหรับกร่างชนิดอื่น ดูที่: ไทรทอง ไกร หรือ กร่าง (บาลี: นิโครธ; สันสกฤต: บันยัน; ฮินดี: บาร์คาด; Bengal fig, Indian fig, Banyan tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ในสกุล Ficus เช่นเดียวกับโพ (F. religiosa) และไทรย้อยใบแหลม (F. benjamina) ในวงศ์ Moraceae.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไกร · ดูเพิ่มเติม »

ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น

อน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ISBN: 9789749985854 ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เป็นหนังสือแต่งโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา มีเนื้อหาทั้งทางวิทยาศาสตร์และหลักการทางพุทธศาสนา จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์อมรินทร์ หนังสือได้รับการพิมพ์ซ้ำถึง 40 ครั้ง ยอดพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 100,000 เล่ม ต่อมา ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้ท้วงติงเนื้อหาที่ผิดพลาดในเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น จักรวาลวิทยา (cosmology) ในหน้า 31 ทฤษฎีสตริง (string theory) ในหน้า 39 ทฤษฎีเคออส (chaos theory) ในหน้า 128 และทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relativity) ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในเล่มเมื่อกล่าวถึงแสงและเวลา เป็นต้น ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ออกมาทักท้วงว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาไม่ถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์หล.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น · ดูเพิ่มเติม »

ไทหย่า

ทหย่า คือกลุ่มชนชาวไทกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีถิ่นอาศัยเดิมในตำบลโมซาเจียง อำเภอซินผิง จังหวัดยิ่วซี มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ชาวจีนเรียกคนไทกลุ่มนี้ว่าฮวาเย่าไต แปลว่าไทเอวลาย ชาวไทหย่าบางส่วนได้อพยพมายังสิบสองปันนา บางส่วนเข้าสู่พม่าและไทยมีประชากร 60,000 คน พูดภาษาไท (ไทตะวันตกเฉียงใต้) ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษากัม-ไท ตระกูลภาษาไท-กะได ชื่อของชาวไทหย่าหรือไตหย่า ซึ่งแท้จริงแล้วคือชื่อเมืองหย่าในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของชาวไทกลุ่มนี้ จึงเรียกว่าไทหย่าหรือไตหย่า มีผู้กล่าวไว้เพื่อจะดึงดูดศาสนิกไว้ว่าเป็นคำที่พวกไทด้วยกันเรียกชาวไทพวกหนึ่งที่มิได้นับถือพระพุทธศาสนา ซ้ำอธิบายด้วยว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาพบพวกนี้ ทรงเห็นว่าเป็นพวกกิเลสหนาและโของประเทศจีนง่เขลาจนไม่สามารถจะเข้าใจพุทธวจนะ เปรียบดังเหล่าเวไนยสัตว์ ที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเป็นดอกบัวใต้น้ำลึกมาก ไม่สามารถที่จะโผล่ขึ้นมารับแสงดวงอาทิตย์ได้ เป็นพวกที่พระพุทธเจ้าเองก็ไม่สามารถจะสอนได้ พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยไม่สอน คนไทพวกนี้จึงถูกเรียกว่า "ไทหย่า" เป็นพวกไม่มีศาสนาจนทุกวันนี้ ชาวไทหย่ายังนับถือศาสนาคริสต์อยู่ร้อยละ 96 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 3 และไม่มีศาสนาอยู่ร้อยละ 1 ชื่อชาวไท หรือไตนั้นมาจากกลุ่มชนที่อยู่เทือกเขาภาคเหนือของไทย พม่า และตอนใต้ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน มีภาษาในตระกูลไทเช่นเดียวกัน ชาวไตหรือไทนั้นมีหลายกลุ่ม อพยร่นลงมาจนถึง 12 ปันนา เป็นหนึ่งในอณาจักรน่านเจ้าในอดีต พระพทธเจ้าไม่เคยมาสอนหรือเจอกลุ่มไทหย่า ตามที่อ้าง ไทหย่าเป็นกลุ่มที่ไม่ได้อพยมาจาก 12 ปันนาสู่ประเทศไทย อาศัยเมืองที่แยกกันตรงนั้นเรียกเมืองหย่า ต่อมาส่วนหนึ่งนับถือศาสนาคริสต์จึงอพยจาก 12 ปันนาเข้าสู่ประเทศไท.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไทหย่า · ดูเพิ่มเติม »

ไทโคราช

ทเบิ้ง ไทเดิ้ง หรือไทโคราช เป็นกลุ่มชนพื้นถิ่นที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไทโคราช · ดูเพิ่มเติม »

ไดซะกุ อิเกะดะ

ซาขุ อิเคดะ หรือ เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไดซะกุ อิเกะดะ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโงะฮนซง

งะฮนซง เป็นสิ่งสักการบูชาสูงสุดของศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็งโชชู คำว่า "ได" (大) แปลว่า "ยิ่งใหญ่, สูงสุด" ส่วน "โงะฮนซน" (御本尊) หมายถึง สิ่งสักการะ คำว่า "ไดโงะฮนซง" จึงแปลว่า "สิ่งสักการะสูงสุด" ไดโงะฮนซนมีลักษณะเป็นรูปมัณฑละ (มณฑล) จารึกภาษาจีนและภาษาสันสกฤต ซึ่งทำจากไม้การบูร โดยหลักแล้วมัณฑละดังกล่าวประกอบด้วยนามของพุทธะ พระโพธิสัตว์ เทพในพุทธศาสนา และคุรุอาจารย์ต่างๆ ในศาสนาพุทธเป็นจำนวนมาก รายล้อมรอบอักษรคันจิ (อักษรจีน) ที่อยู่ศูนย์กลางมัณฑละ ซึ่งจารึกเป็นคาถาว่า "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวนิชิเร็ง" ตามประวัติกล่าวว่าโงะฮนซงถูกจารึกขึ้นโดยพระนิชิเร็ง (หรือ "นิชิเร็งไดโชนิง" ในหมู่สานุศิษย์แห่งนิกายนิชิเร็งโชชู) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1279 เป็นการจำลองธรรมสภาในห้วงอวกาศขณะที่พระโคดมพุทธเจ้า (ฝ่ายมหายานนิยมเรียกว่า "พระศากยมุนีพุทธะ") แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ปัจจุบันไดโงะฮนซงประดิษฐานอยู่ ณ โฮอันโดะ วัดไทเซคิจิ จังหวัดชิซุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น อันเป็นศูนย์กลางใหญ่ของศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็งโชชู สานุศิษย์แห่งนิกายนิชิเร็งโชชูถือว่าไดโงะฮนซงคือการรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคคลและธรรม และคือจุดมุ่งหมายในการมาเกิดของพระนิชิเร็งไดโชนิง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไดโงะฮนซง · ดูเพิ่มเติม »

ไตรลักษณ์

ตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ ถูกบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไตรลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไซอิ๋ว

วาดเรื่องไซอิ๋ว จากพระราชวังฤดูร้อน ที ประเทศจีน แสดงภาพตัวละครเอกของเรื่อง (จากซ้าย) ซุนหงอคง, ม้ามังกร, พระถังซัมจั๋ง, ตือโป๊ยก่าย, ซัวเจ๋ง ไซอิ๋ว (ซีโหยวจี้; Journey to the West แปลตรงตัวว่า บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก) เป็นนิยายคลาสสิกของจีน แต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590 ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย อู๋เฉิงเอิน ไซอิ๋วเป็นเรื่องของการเดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนาของหลวงจีนชื่อ พระถังซำจั๋ง (อ้างอิงจากผู้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ มีนามว่าพระเสวียนจั้ง 玄奘大師) โดยมีสัตว์ 3 ตัวเป็นเพื่อนร่วมทาง คือ เห้งเจีย (ลิง) ตือโป๊ยก่าย (หมู) และซัวเจ๋ง (ปีศาจปลา) ซึ่งระหว่างการเดินทางต้องพบกับการขัดขวางของเหล่าปิศาจมากมาย ด้วยเนื้อหาที่เป็นการผจญภัย และมีสัตว์เป็นตัวเอก ทำให้ไซอิ๋วได้รับความนิยมจากหมู่เยาวชนมากที่สุดในวรรณกรรมเอกทั้ง 4 เรื่อง เป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับสามก๊ก(三國演義) ความฝันในหอแดง (紅樓夢) และซ้องกั๋ง (水滸傳) การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ดราก้อนบอล เป็นหนึ่งในงานที่ได้รับอิทธิพลจากไซอิ๋ว หลักฐานภาพจิตรกรรมฝาฝนังตุนหวง พระเสวียนจั้ง เดินทางมีสัมภาระจูงเสือเดินทางไปด้ว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไซอิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

ไซอิ๋ว 3D ตอน กำเนิดราชาวานร

ซอิ๋ว 3D ตอน กำเนิดราชาวานร หรือ ไซอิ๋ว ตอนกำเนิดราชาวานร (อังกฤษ: The Monkey King) เป็นภาพยนตร์จีนที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไซอิ๋ว 3D ตอน กำเนิดราชาวานร · ดูเพิ่มเติม »

ไซคลอปส์ คีกันต์

ซคลอปส์ คีกันต์ หรือ ไซคลอปส์ ไจแอนท์ เป็นตัวละครในเซนต์เซย่าภาคเจ้านรกฮาเดส เป็น 1 ใน 108 สเป็คเตอร์ มีบทบาทในภาคแซงค์ทัวรี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและไซคลอปส์ คีกันต์ · ดูเพิ่มเติม »

เบญจศีล

ญจศีล หรือ ปัญจสีล แปลว่า ศีล 5 เป็นศีลหรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามพระโอวาทของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาพระองค์ปัจจุบันแห่งศาสนาพุทธ แต่ทั้งนี้เบญจศีลเป็นหลักการที่มีมาและเป็นที่สั่งสอนทั่วไปก่อนพระพุทธโคดมอุบัติแล้วราชบัณฑิตยสถาน, 2548: 363.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเบญจศีล · ดูเพิ่มเติม »

เชียงรุ่ง

แผนที่เชียงรุ่ง แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านเชียงรุ่ง เชียงรุ่ง หรือในภาษาจีนคือ จิ่งหง, เจียงฮุ่ง หรือออกเสียงในภาษาไทลื้อว่า เจงฮุ่ง (ไทลื้อใหม่: ᦵᦋᧂᦣᦳᧂᧈ ;) คือเมืองเอกในเขตปกครองตนเองชนชาติไท - สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีชายแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศพม่า และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับประเทศลาว.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเชียงรุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เวอร์โก้ ชากะ

วอร์โก้ ชากะ ตัวละครจากการ์ตูนเรื่องเซนต์เซย่า เป็นโกลด์เซนต์ประจำราศีกันย์ ผู้ดูแลปราสาทหญิงพรหมจรรย์ 1 ใน 12 ปราสาทแห่งแซงทัวรี่ มีพลังคอสโม่ที่สูงส่งและมีจริยาวัตรเหมือนนักบวชในพุทธศาสนา จนได้ฉายาว่า "บุรุษผู้ใกล้เคียงเทพเจ้า".

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเวอร์โก้ ชากะ · ดูเพิ่มเติม »

เสาอโศก

อโศก (Pillars of Ashoka; अशोक स्तंभ อโศก สฺตํภ) เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "เสาอโศก") ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ได้นำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า "สตฺยเมว ชยเต" (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน ไฟล์:Asokanpillar1.jpg|หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เมืองเวสาลี ไฟล์:AshokaLions.jpg|หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราชที่สารนาถ ไฟล์:Emblem of India.svg|รูปเสาอโศกซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินของอินเดี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเสาอโศก · ดูเพิ่มเติม »

เสาตรานติกะ

ตรานติกะ หรือสุตตวาท เป็นพระพุทธศาสนานิกายหนึ่ง คัมภีร์ฝ่ายสันสกฤตระบุว่าแยกมาจากนิกายสรวาสติวาท ส่วนฝ่ายบาลีว่าแยกมาจากนิกายสังกันติกะ เหตุที่แยกออกมาเพราะเมื่อคณาจารย์ฝ่ายสรวาสติวาทหันไปนับถือพระอภิธรรมปิฎกมากขึ้น แต่มีบางส่วนเห็นแย้งว่าพระสุตตันตปิฎกสำคัญกว่า กลุ่มนี้จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ นิกายทั้ง 2 นี้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนมีกล่าวโต้แย้งปรัชญาซึ่งกันและกัน นิกายนี้แพร่หลายอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย เชื่อว่าผู้ก่อตั้งนิกายนี้คือพระกุมารลาตะ ไม่มีคัมภีร์ของนิกายนี้เหลืออยู่ คงมีแต่ที่กล่าวพาดพิงถึงในคัมภีร์ของนิกายสรวาสติวาทเท่านั้น ปรัชญาของนิกายนี้เชื่อว่าความจริงมีสองอย่างคือวัตถุกับจิตใจ เน้นเรื่องอนิจจัง ทุกอย่างไม่เที่ยงทั้งภาวะและอภาวะ ชีวิตเป็นเพียงลำดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความรู้ทั้งหลายจะรู้ได้เฉพาะอนุมานประมาณเท่านั้น เพราะจิตไม่อาจยึดความจริงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ นิกายนี้ถือว่าเฉพาะวิญญาณขันธ์ในขันธ์ห้าเท่านั้นที่ไปเกิดใหม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับนิกายสางมิตียะ เชื่อว่าทุกคนมีธาตุแห่งพุทธะอยู่ในตัวเช่นเดียวกับความเชื่อของฝ่ายมหายาน นิกายนี้เมื่อแพร่หลายไปที่ญี่ปุ่นเรียกว่านิกายโจจิต.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเสาตรานติกะ · ดูเพิ่มเติม »

เสถียร โพธินันทะ

อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาคนหนึ่งของไทย ผู้บุกเบิกการศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน และอดีตเลขาธิการคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเสถียร โพธินันทะ · ดูเพิ่มเติม »

เสน่ห์

วามสวย จัดเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง เสน่ห์ คือลักษณะที่ชวนให้รัก หรือเครื่องที่ทำให้บุคคลอื่นรัก การที่มีคนเราทำให้เกิดเป็นความสุขอย่างหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันบุคคลที่มีแต่คนเกลียด ก็ย่อมจะเป็นสาเหตุของการเกิดความทุกข์ได้ ในทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมหมวดที่หนึ่งที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงมีชื่อว่า สังคหวัตถุ ๔ เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวน้ำใจของมนุษย์ หากผู้ใดปฏิบัติได้ครบทุกข้อจัดว่าเป็น ยอดมหาเสน่ห์ซึ่ง.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเสน่ห์ · ดูเพิ่มเติม »

เห้งเจีย

alt.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเห้งเจีย · ดูเพิ่มเติม »

เอหิภิกขุอุปสัมปทา

อหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นชื่อเรียกวิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสมัยพุทธกาลยุคต้นๆ โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยพระองค์เอง โดยการตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ตรัสเพียงเท่านี้ ก็เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว เพราะคำตรัสขึ้นต้นว่า เอหิ ภิก... จึงเรียกการอุปสมบทแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา เรียกผู้ได้รับการอุปสมบทว่า เอหิภิกขุ การอุปสมบทแบบนี้ทรงประทานแก่พระอัญญาโกณฑัญญมหาเถระเป็นท่านแรก จึงถือว่าท่านเป็นปฐมสาวกหรือเป็นปฐมเถระในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อมีผู้มาขอบวชมากขึ้นพระพุทธองค์จึงได้ทรงเลิกวิธีอุปสมบทแบบนี้ และทรงเปลี่ยนวิธีใหม่เป็น ติสรณคมนูปสัมปทา และเป็นวิธีญัตติจตุตถกรรมวาจาซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเอหิภิกขุอุปสัมปทา · ดูเพิ่มเติม »

เอตทัคคะ

อตทัคคะ หมายถึง ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เป็นตำแหน่งที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแต่งตั้งให้พระสาวกของพระองค์ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถเด่นกว่าท่านอื่น ๆ ในด้านนั้น ๆ และตำแหน่งเอตทัคคะแต่ละตำแหน่งทรงแต่งตั้งเพียงรูปเดียวท่านเดียวเท่านั้น ในแต่ละพุทธบริษัทแต่ละฝ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเอตทัคคะ · ดูเพิ่มเติม »

เทวทหะ

ทวทหะ (Devadaha) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ 1 ใน มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่ประสูติของพระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และเป็นเมืองพี่เมืองน้องในฐานะพระประยูรญาติของศากยวงศ์และโกลิยวงศ์แห่งแคว้นสักกะ (กรุงกบิลพัสดุ์) และโกลิยะ (กรุงเทวทหะ) เมืองแห่งนี้ ปัจจุบันเหลือเพียงซากโบราณสถานอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือของประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเทวทหะ · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

ทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ 13.49 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมตำบลท่าอิฐ และตำบลท่าเสา (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าเสา) มีประชากรในปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลกินเจ

ทศกาลกินเจ หรือ กินแจ (九皇勝會 Jiǔ huán Shèng huì; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องเซ่งโห่ย; Nine Emperor Gods Festival หรือ 九皇大帝誕; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องไต่เต้ตั้น) หรือบางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน ปัจจุบัน เทศกาลกินเจจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซียและอาจมีในบางประเทศเอเชีย เช่น ภูฏาน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศจีน(ประกอบด้วยฮ่องกงและมฑทณไต้หวัน) ซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเทศกาลกินเจ · ดูเพิ่มเติม »

เทศนาวิธี

ทศนาวิธี หรือ พุทธลีลาในการสอน หมายถึง การสอนของพระพุทธเจ้าในแต่ละครั้ง ที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๔ ประการ.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเทศนาวิธี · ดูเพิ่มเติม »

เคอานู รีฟส์

อานู ชาลส์ รีฟส์ (Keanu Charles Reeves); เกิดเมื่อวันพุธที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1964 ใน กรุงเบรุต, ประเทศเลบานอน แม่ของเขาเป็นชาวอังกฤษ พ่อของเขาเป็นชาวอเมริกันที่มีเชื้อสายฮาวาย จีน โปรตุเกส และอังกฤษ ปัจจุบันรีฟส์ทำงานในสหรัฐอเมริกา แต่ถือสัญชาติแคนาดา ทั้งที่สามารถเลือกสัญชาติได้สามแบบคือ อเมริกันตามพ่อ หรืออังกฤษตามแม่ หรือแคนาดาตามถิ่นที่อยู่ แต่รีฟส์เลือกแคนาดาเพราะเป็นประเทศที่เขาเติบโตและเริ่มอาชีพนักแสดง นอกจากนั้นเขายังเล่นกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งได้คล่องแคล่ว และเป็นผู้เล่น MVP ของทีมสมัยเมื่ออยู่ที่โรงเรียนมัธยม ชื่อ เคอานู หมายถึง ลมเย็นที่พัดเหนือภูเขาในภาษาฮาวาเอียน และมีความหมายลึกซึ้งคือ ผู้ที่ซาบซึ้งในพระเจ้า เขามีน้องสาวชื่อ คิม (Kim) อาศัยอยู่ในเมือง Capri ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเคอานู รีฟส์ · ดูเพิ่มเติม »

เง็กเซียนฮ่องเต้

ง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นเทพเจ้าสูงสุดของจีน เทวรูปและรูปวาดขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้จะทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับจักรพรรดิจีน คือมีพระมาลา ด้านหน้ามีเส้นร้อยไข่มุกเป็นแถวห้อยลงมาหน้าพระพักตร์ พระหัตถ์ทรงพระป้ายซือฮุดหน้าพระอุระ ด้านหลังมีพนักงานสองคนคอยโบกพัด ด้านหน้ามีองครักษ์สององค์ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น พระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าสูงสุดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นม.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเง็กเซียนฮ่องเต้ · ดูเพิ่มเติม »

เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5

ัญลักษณ์ในการประกาศรางวัล "เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5" ออกแบบโดย Mafia_BR เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 เป็นกิจกรรมที่จัดโดยสมาชิกเว็บไซต์ พันทิปดอตคอม โต๊ะเฉลิมไทย เพื่อยกย่อง เชิดชู ผลงานดีเด่น ทางด้านภาพยนตร์ ตลอดปี พ.ศ. 2550 โดยประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงในสาขาต่างๆ ไปในวันที่ 26 มกราคม..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

TITV Everest 2007

thumb แผนการปีนเขา TITV Everest 2007 มีชื่อเต็มว่า TITV The Everest: The Unlimited Spirit of Thailand 2007 ชื่อไทย “ปฏิบัติการเกียรติยศ สู่ยอดเอเวอเรสต์” เป็นโครงการส่งนักปีนเขาชาวไทย ขึ้นไปปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ ในปี พ.ศ. 2550 ให้การสนับสนุนโดยสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี กรมประชาสัมพันธ์ และกองทัพเรือไทย โดยมีการส่งทีมงานไปถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องหลังการปีนเขา และส่งมาตัดต่อเป็นรายการสารคดีเรียลลิตี้โชว์ ฉายทางโทรทัศน์ในประเทศไทย การปีนเขามีกำหนด 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยใช้เวลาฝึกฝนร่างกาย และปรับตัวเป็นเวลา 45 วัน และเริ่มต้นปีนจากแคมป์ฐาน ใช้เวลา 39 วัน จนถึงยอดเขา มีเป้าหมายที่จะนำธงชาติไทย ธงธรรมจักร และธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ไปปักบนยอดเขา เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โครงการนี้เกิดจากแนวคิดของชิบ จิตนิยม ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เมื่อครั้งไปเยิ่ยมชมวัดไทยลุมพินีเมื่อกลางปี 2550 โดยในครั้งแรกจะนำนายทหารหน่วยรบพิเศษของกองทัพเรือ 3 คน กองทัพอากาศ 3 คน และเจ้าหน้าที่ทีไอทีวี 1 คน อุปสมบทที่วัดไทยลุมพินี และเดินเท้านำธงธรรมจักรขึ้นไปประดับบนยอดเขา ต่อมาได้ยกเลิกแนวคิดนี้ไปด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับการดื่มน้ำและรับประทานอาหารของพระภิกษุ ในปี 2007 มีนักปีนเขาจำนวนมากที่ขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยขึ้นจากทางทิศเหนือ จากทิเบต ประเทศจีน และหลีกเลี่ยงการขึ้นจากทางทิศใต้ จากประเทศเนปาลเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองไม่มั่นคง dpa - Deutsche Presse-Agentur แต่สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเลือกเส้นทางนี้ โดยให้เหตุผลว่าต้องการเดินทางจากประเทศเนปาล ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 450,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 15 ล้านบาท) ใช้เวลาเตรียมการทั้งสิ้น 4 เดือน นิตยสาร Nature Explorer ฉบับเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและTITV Everest 2007 · ดูเพิ่มเติม »

15 พฤษภาคม

วันที่ 15 พฤษภาคม เป็นวันที่ 135 ของปี (วันที่ 136 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 230 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและ15 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

15 ค่ำ เดือน 11

15 ค่ำ เดือน 11 เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายเมื่อ11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของ จิระ มะลิกุล เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากความเชื่อ ของชาวท้องถิ่นในแถบอีสาน เกี่ยวกับปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นการเรียกขานลูกไฟประหลาดสีชมพูจำนวนมาก ที่พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ในคืนวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยลูกไฟนั้นไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นสูงประมาณ 20-30 เมตร แล้วก็หายไป โดยไม่มีการโค้งลงมา เช่นเดียวกับไฟที่เกิดจากพลุทั่วไป และเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่แน่นอน ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นภาพยนตร์อื้อฉาวแห่งปี..

ใหม่!!: พระพุทธเจ้าและ15 ค่ำ เดือน 11 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Buddhaสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธพระพุทธเจ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสัมมาสัมพุทธะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุึทธเจ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธพระพุทธองค์พุทธะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »