โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ป่าชายหาด

ดัชนี ป่าชายหาด

ป่าชายหาดที่มีสนทะเลขึ้น ที่รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นลักษณะของป่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นป่าละเมาะหรือป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายหรือเนินทรายริมทะเล หรือชายฝั่ง เป็นป่าที่มีขนาดเล็กเกิดขึ้นด้านหลังของสันทรายตามแนวชายฝั่ง น้ำทะเลท่วมไม่ถึง สภาพดินเป็นดินทรายและมีความเค็มสูง เป็นป่าที่มีความแตกต่างจากป่าทั่ว ๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพโดยทั่วไปแห้งแล้ง ใบไม้ในป่าจะเป็นลักษณะหงิกงอ แต่นี่คือลักษณะของป่าชายหาดที่สมบูรณ์ ป่าชายหาดเป็นป่าที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสลม, กระแสคลื่น รวมถึงไอเค็มจากทะเล, แสงแดดร้อนจัด, สภาพความชื้นสุดขั้วทั้งชื้นจัด, ชื้นน้อย และชื้นปานกลาง ระบบนิเวศจึงประกอบด้วยเนินทรายหรือหาดทรายและมีพืชประเภท ไม้เถาหรือไม้เลื้อย, ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นที่มีลำต้นคดงอ และมีความสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ห่างจากชายหาดออกไป ไม้ที่เป็นประเภทหญ้าหรือไม้เลื้อยได้แก่ หญ้าลิงลม, ผักบุ้งทะเล, หญ้าทะเล, เตย ซึ่งรากของไม้เหล่านี้จะช่วยในการยึดเกาะพื้นทรายทำให้พื้นทรายมีความแน่นหนาแข็งแรงมากขึ้น เพื่อที่จะให้รากของไม้ที่ใหญ่กว่า เช่น ไม้พุ่มได้เกาะต่อไป ประเภทของไม้พุ่ม ได้แก่ รักทะเล, ปอทะเล, เสมา, ซิงซี่, หนามหัน, กำจาย ขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ช่วยบังลมทะเลเป็นปราการให้แก่ไม้ชนิดที่ไม่สามารถทนเค็มได้ ประเภทของไม้ยืนต้น เช่น กระทิง, หูกวาง, โพทะเล, ตีนเป็ดทะเล, หยีน้ำ, มะนาวผี, ข่อย แต่ลำต้นไม่สูงมากนัก ใบมีความหงิกงอตามกระแสลม เรือนยอดอยู่ติดกัน และมักมีหนามแหลม บางพื้นที่อาจมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น ยางนา หรือตะเคียน ขึ้นอยู่ด้วยก็ได้ ในฤดูมรสุมช่วงที่เป็นเนินทรายอาจมีน้ำท่วมขังเป็นบ่อหรือแอ่ง จึงกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็ก และกลายเป็นแหล่งน้ำจืดที่เชื่อมโยงกับลำธาร ประโยชน์ของป่าชายหาด คือ ช่วยรักษาความสมดุลระหว่างนิเวศวิทยาชายฝั่งกับนิเวศวิทยาบนบก ช่วยป้องกันการกัดเซาะชายหาดและการทับถมกันของตะกอนชายหาดซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนตามสภาพของฤดูกาล ในประเทศไทย พบป่าชายหาดได้ทั่วไปตามฝั่งทะเลอ่าวไทย ในภาคตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชลบุรีไปจนถึงตราด ทางภาคใต้ตั้งแต่เพชรบุรีไปจนถึงมาเลเซีย รวมถึงตามเกาะแก่งต่าง ๆ กลางทะเล จนอาจกล่าวได้ว่า มีป่าชายหาดอยู่ทุกพื้นที่ ๆ มีทะเล ปัจจุบัน ป่าชายหาดถูกบุกรุกทำลายจากมนุษย์ สาเหตุมาจากการไม่เห็นค่าความสำคัญ ด้วยเห็นว่าเป็นเพียงพื้นที่รกร้างหรือเป็นวัชพืช โดยการนำเอาพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยว เช่น ปลูกบังกะโล, รีสอร์ต หรือบุกรุกเพื่อพื้นที่ทำการเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน หรือนากุ้ง.

18 ความสัมพันธ์: กระทิง (พรรณไม้)มะนาวผียางนารักทะเลรัฐอานธรประเทศหญ้าลอยลมหญ้าทะเลหยีน้ำหูกวางผักบุ้งทะเลข่อยตะเคียนตีนเป็ดน้ำปอทะเลป่าโพทะเลเสมาเตยหอม

กระทิง (พรรณไม้)

กระทิง หรือ สารภีทะเล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ เช่น กากะทิง (ภาคกลาง), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีแนน (ภาคเหนือ) กระทิงราย (ชุมชนกระทิงลาย,โรงเรียนเมืองพัทยา 1 (เชิญ พิศลยบุตรราษฎร์บำเพ็ญ)) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20 – 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง การดูแลรักษาทำได้โดยชอบดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด กระทิงเป็นพืชมีพิษ เมื่อรับประทานราก เปลือก และใบเข้าไปจะมีผลต่อหัวใ.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและกระทิง (พรรณไม้) · ดูเพิ่มเติม »

มะนาวผี

มะนาวผี หรือ กรูดผี เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rutaceae ต้นสีน้ำตาลเข้ม มีหนามแหลมตามต้น เนื้อไม้สีเทา ใบเดี่ยว มีกลิ่นเหมือนมะนาว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย สีเขียว เกสรตัวผู้สีเหลือง ผลเดี่ยว รูปไข่ ปลายผลมีปุ่มออกมาเล็กน้อย สีเขียวอมเหลือง มีต่อมน้ำมันที่ผิว นิยมใช้ทำเครื่องเรือนต่าง.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและมะนาวผี · ดูเพิ่มเติม »

ยางนา

งนา เป็นไม้ยืนต้นเขตร้อน สูงถึง 40-50 เมตร ในพบในประเทศไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีก คือ กาตีล (เขมร ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบน นครราชสีมา) จ้อง (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมร) ชันนา (ชุมพร) ทองหลัก (ละว้า) ยาง (กลาง,ตะวันออกเฉียงเหนือ) ยางกุง (เลย) ยางขาว (กลาง,ลำปาง) ยางควาย (หนองคาย) ยางตัง (ชุมพร,ใต้) ยางเนิน (จันทบุรี) ยางแม่น้ำ (กลาง) ยางหยวก (กลาง,หนองคาย) ราลอย (ส่วย สุรินทร์) และ ลอยด์ (โซ่ นครพนม)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: ป่าชายหาดและยางนา · ดูเพิ่มเติม »

รักทะเล

ผลรักทะเล ภาพใกล้ๆของดอกรักทะเลในรัฐอันธรประเทศ อินเดีย รักทะเล (Sea Lettuce; Merambong) ภาษาฮาวายเรียก Naupaka kahakai ภาษาตองกาเรียก Ngahu เป็นพืชมีดอกในวงศ์ Goodeniaceae พบในชายฝั่งเขตร้อนในแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นที่พบได้ทั่วไปในเกาะคริสต์มาสและเป็นวัชพืชในบางประเทศ ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามชายหาด รากแผ่กว้าง ใบดก หนา มันวาว ป้องกันการสูญเสียน้ำ ใบแตกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว บานเป็นรูปพัดครึ่งวงกลม ผลกลมสีขาว ลอยน้ำได้ สามารถเป็นพืชบุกเบิกในพื้นที่ใหม่ได้ รักทะเลมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร โดยรากใช้แก้พิษอาหารทะเล ใบตำพอกแก้ปวดบวม ใช้เป็นยาสูบได้.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและรักทะเล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอานธรประเทศ

รัฐอานธรประเทศ คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นรัฐที่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมในอินเดียใต้ อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ พืชสวน เคมีภัณฑ์ เป็นแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญเป็นอันดับสองในอินเดีย เมืองไฮเดอราบาดเป็นที่ตั้งของสนามบินระดับชาติและนานาชาต.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและรัฐอานธรประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าลอยลม

หญ้าลอยลม เป็นหญ้าที่ขึ้นตามชายหาด ลำต้นทอดเกาะติดกับผืนทราย ลำต้นเหนียวขึ้นทอดต่อกันเป็นร่างแหคลุมพื้นทราย โดยหยั่งรากยึดเป็นจุด ๆ ใบงอกจากต้นเป็นรูปดาวกระจาย เมื่อถูกทรายกลบจะแทงยอดใหม่ขึ้นมาใหม่ได้ และใบที่หลุดออกจากต้นก็จะปลิวตามลมแล้วไปงอกเป็นต้นใหม่ได้เช่นกัน ใบแข็ง ป้องกันการสูญเสียน้ำ ระบบรากและลำต้นแบบร่างแหช่วยยึดผืนทรายและหาน้ำ และคอยดักเศษไม้เศษใบไว้ย่อยสลายสะสมเป็นสารอินทรีย์หน้าผิวดิน ช่อดอกออกเป็นรัศมีทุกทาง เมื่อผลแก่ ช่อผลจะหลุดจากต้น.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและหญ้าลอยลม · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าทะเล

หญ้าตะกานน้ำเค็ม (''Ruppia maritima'') หญ้าทะเล (Seagrass) เป็นกลุ่มของพืชดอกเพียงกลุ่มเดียว ที่ได้มีวิวัฒนาการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเล โดยมีลักษณะโครงสร้างภายนอกคล้ายคลึงกับหญ้าที่เจริญอยู่บนบก ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.ราก เป็นส่วนที่ใช้ในการดูดซึมสารอารหารและแร่ธาตุจากในดิน ทั้งยังช่วยในการยึดเกาะกับพื้นดินทำให้หญ้าทะเลมีความมั่นคง 2.เหง้า เป็นส่วนของลำต้นที่เจริญคืบคลานไปใต้พื้นผิวดิน 3.ใบ เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร มีรูปร่างแตกต่างกันตามแต่ชนิดของหญ้าทะเล มีทั้งชนิดที่ใบมีลักษณะเป็นแผ่นแบน และชนิดที่เป็นท่อกลม ใบของหญ้าทะเลใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิดของหญ้าทะเล หญ้าทะเล เดิมเคยเป็นพืชที่อยู่บนบกมาก่อน ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตโบราณแบบเดียวกับฟองน้ำหรือปะการัง จึงมีโครงสร้างแบบพืชบนบกในปัจจุบันปรากฏให้เห็น.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและหญ้าทะเล · ดูเพิ่มเติม »

หยีน้ำ

หยีน้ำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 15-25 เมตร ดอกสีม่วงอมชมพู รูปร่างของดอกคล้ายดอกแคแต่เล็กกว่า ผลเป็นฝักสั้นและแบน เป็นพืชตระกูลถั่ว จึงมีไรโซเบียมอยู่ในปมราก ช่วยในการตรึงไนโตรเจน เป็นพืชพื้นเมืองในอินเดีย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ Indian Beech, Pongam Oiltree, Karanj (ภาษาฮินดี), ಹೊಂಗೆ Honge (ภาษากันนาดา), புங்கை Pungai (ภาษาทมิฬ), కానుగ Kānuga (ภาษาเตลูกู), नक्तमाल Naktamāla (ภาษาสันสกฤต) พืชชนิดนี้ใช้ทำไบโอดีเซลในอินเดี.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและหยีน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

หูกวาง

''Terminalia catappa'' หูกวาง เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดแอลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชายหาดหรือป่าชายหาดริมทะเล เพราะเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแบบดินร่วนปนทราย มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์ นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลากัด เนื่องจากใช้ใบแห้งหมักน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสารแทนนินในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ยังช่วยลดการสะท้อนแสงของน้ำ เพื่อให้ปลาสบายตา ไม่เสียสายตา รู้สึกปลอดภัย ไม่ใช้ปากคีดกระจก และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี หูกวางเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม หูกวางยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละจังหวัดหรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน (นราธิวาส), ดัดมือ หรือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและหูกวาง · ดูเพิ่มเติม »

ผักบุ้งทะเล

ผักบุ้งทะเลริมหาด อ่าวต้นไทร เกาะพีพีดอน ผักบุ้งทะเล เป็นไม้ล้มลุกเถาเลื้อย ลำต้นทอดไปตามยาวบนพื้นดิน มักขึ้นใกล้ทะเล ผิวเถาเรียบสีเขียวและม่วง ใบเป็นรูปหัวใจปลายเว้าเข้าหากัน ตามเถาและใบมียางสีขาว ดอกจะออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 2 - 6 ดอก แต่จะทยอยกันบานทีละดอกเท่านั้น ลักษณะของดอกเป็นรูปปากแตรยาวประมาณ 2.5 นิ้ว มีสีม่วงอมชมพู ม่วงอมแดง ชมพูหรือม่วง ผักบุ้งทะเลมีพิษ ถ้ารับประทานจะเกิดอาการเมา คลื่นไส้ วิงเวียน และ เสียชีวิตได้.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและผักบุ้งทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ข่อย

อย มีชื่อทางการค้าคือ Siamese rough bush, Tooth brush tree ส่วนชื่อพื้นเมืองอื่นได้แก่ กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), ข่อย (ทั่วไป), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี), ข่อย(ร้อยเอ็ด), สะนาย (เขมร).

ใหม่!!: ป่าชายหาดและข่อย · ดูเพิ่มเติม »

ตะเคียน

ตะเคียน หรือ ตะเคียนทอง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ไม้ตะเคียน สามารถพบในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศกัมพูชา, ประเทศอินเดีย, ประเทศลาว, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศพม่า, ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ตะเคียนยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) แคน (ตะวันออกเฉียงเหนือ, เลย) จะเคียน (เหนือ) จืองา (มลายู นราธิวาส) จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ตะเคียนใหญ่ (กลาง) ตะเคียนทอง (กลาง, ประจวบคีรีขันธ์) ไพร (ละว้า เชียงใหม่).

ใหม่!!: ป่าชายหาดและตะเคียน · ดูเพิ่มเติม »

ตีนเป็ดน้ำ

ตีนเป็ดน้ำ หรือ ตีนเป็ดทะเล (Suicide tree, Pong-pong, Othalanga) มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า ตุม (กาญจนบุรี), พะเนียงน้ำ หรือ สั่งลา (กระบี่), มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส)เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กชนิดหนึ่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีลักษณะเป็นทรงพุ่มกลม ใบแน่น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีน้ำยางสีขาว กลีบดอกมีความสวยงาม มีสีขาว เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ดี ต้องการแดดและความชื้นสูง สูงเต็มที่ประมาณ 12 เมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนใต้ของจีน พบจนถึงนิวแคลิโดเนีย มักขึ้นในป่าชายเลนหรือบริเวณที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณชายทะเล ตีนเป็ดน้ำมีผลทรงกลม คล้ายผลส้ม มีสีเขียว แต่ทว่ามีพิษ รับประทานมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ อีกทั้งยางก็มีพิษ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการทำเป็นสารเคมีฆ่าเหาได้.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและตีนเป็ดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปอทะเล

ปอทะเล เป็นไม้ยืนต้น ใบรูปหัวใจ ขอบใบหยักถี่ ใต้ใบมีขนอ่อน ๆปกคลุม ดอกสีเหลือง บานตอนสาย พอตกเย็นจะกลายเป็นสีแดงแล้วหลุดร่วงไป ผลแห้ง แตก พบปอทะเลในบริเวณรอยต่อระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและปอทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ป่า

ป่า ป่าไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน โดยทั่วไป หมายถึง บริเวณที่มีความชุ่มชื้น และปกด้วยใบไม้สีเขียว ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและป่า · ดูเพิ่มเติม »

โพทะเล

''Thespesia populnea'' สำหรับอำเภอที่จังหวัดพิจิตร ดูที่: อำเภอโพทะเล โพทะเล (ชื่อสามัญ: Portia Tree) เป็นชนิดของไม้ดอกในตระกูล Malvaceae เป็นต้นไม้ขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม โพทะเล เป็นพืชในสกุลเดียวกับปอทะเลและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แหล่งอาศัยเป็นแบบเดียวกัน ดอกสีเหลือง บานตอนเช้า แก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเช่นกัน แต่ดอกโพทะเลไม่มีวงกลมสีแดงภายในดอกแบบเดียวกับปอทะเล ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุมทำให้น้ำระเหยออกจากใบได้ช้า ผลกลม เมื่อแก่เต็มที่เป็นผลแห้ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วยติดอยู่ที่ขั้วผล ชื่อสามัญของโพทะเลในภาษาต่างๆ ได้แก่ Indian Tulip Tree, Pacific Rosewood, Seaside Mahoe (ใน ฟลอริดา), เบิฮ์สมุทร (បើស​សមុទ្រ) หรือ เจฺรยสมุทร (ជ្រៃ​សមុទ្រ) (ภาษาเขมร), Surina Suriya (ภาษาสิงหล), เบอบารู หรือ บารู บารู (ภาษามลายู), Milo หรือ Miro (ภาษาในกลุ่มโพลีเนเซียหลายภาษา), Makoi (ภาษาราปานุย), Gangaraavi (ภาษาเตลูกู), ปูวรสุ: பூவரசு (ภาษาทมิฬ), ปูวรสุ: പൂവരശ്‌ (ภาษามาลายาลัม), PakuR (ภาษาเบงกาลี) และ Plaksa (ภาษาสันสกฤต).

ใหม่!!: ป่าชายหาดและโพทะเล · ดูเพิ่มเติม »

เสมา

มา หรือ นิ้วมือผี เป็นพืชในวงศ์ Cactaceae ลำต้นแบนหนา ด้านบนโค้ง ส่วนโคนต้นเรียวกลม มีหนามเป็นจุดๆ เมื่ออ่อนสีเขียว แก่เป็นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดเล็ก อวบน้ำ เห็นได้เฉพาะกิ่งที่แตกใหม่ พอแก่ใบจะร่วงหมด ดอกเดี่ยว สีแดงอมส้ม ผลเดี่ยวกลม เนื้อนุ่ม แก่แล้วเป็นสีส้มอมแดง มีเกล็ดคล้ายใบอยู่รอบผล ใช้เป็นไม้ประดับ เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศเปรู มีปลูกในอเมริกากลาง สหรัฐอเมริกา อินเดียและอินโดนีเซีย เป็นพืชที่แมลงอินจีมาอาศัยอยู่และใช้เลี้ยงแมลงอินจีในเชิงอุตสาหกรรม โดยตัดกิ่งของนิ้วมือผีมาแขวนในร่มและใช้เลี้ยงแมลง แมลงอินจีเป็นแมลงที่ผลิตชาดอินจีหรือชาดลิ้นจี.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและเสมา · ดูเพิ่มเติม »

เตยหอม

ตยหอม เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม ค่อนข้างแข็ง เป็นมันเผือก ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและเตยหอม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Beach Forest

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »