โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ป่าชายหาด

ดัชนี ป่าชายหาด

ป่าชายหาดที่มีสนทะเลขึ้น ที่รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นลักษณะของป่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นป่าละเมาะหรือป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายหรือเนินทรายริมทะเล หรือชายฝั่ง เป็นป่าที่มีขนาดเล็กเกิดขึ้นด้านหลังของสันทรายตามแนวชายฝั่ง น้ำทะเลท่วมไม่ถึง สภาพดินเป็นดินทรายและมีความเค็มสูง เป็นป่าที่มีความแตกต่างจากป่าทั่ว ๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพโดยทั่วไปแห้งแล้ง ใบไม้ในป่าจะเป็นลักษณะหงิกงอ แต่นี่คือลักษณะของป่าชายหาดที่สมบูรณ์ ป่าชายหาดเป็นป่าที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสลม, กระแสคลื่น รวมถึงไอเค็มจากทะเล, แสงแดดร้อนจัด, สภาพความชื้นสุดขั้วทั้งชื้นจัด, ชื้นน้อย และชื้นปานกลาง ระบบนิเวศจึงประกอบด้วยเนินทรายหรือหาดทรายและมีพืชประเภท ไม้เถาหรือไม้เลื้อย, ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นที่มีลำต้นคดงอ และมีความสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ห่างจากชายหาดออกไป ไม้ที่เป็นประเภทหญ้าหรือไม้เลื้อยได้แก่ หญ้าลิงลม, ผักบุ้งทะเล, หญ้าทะเล, เตย ซึ่งรากของไม้เหล่านี้จะช่วยในการยึดเกาะพื้นทรายทำให้พื้นทรายมีความแน่นหนาแข็งแรงมากขึ้น เพื่อที่จะให้รากของไม้ที่ใหญ่กว่า เช่น ไม้พุ่มได้เกาะต่อไป ประเภทของไม้พุ่ม ได้แก่ รักทะเล, ปอทะเล, เสมา, ซิงซี่, หนามหัน, กำจาย ขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ช่วยบังลมทะเลเป็นปราการให้แก่ไม้ชนิดที่ไม่สามารถทนเค็มได้ ประเภทของไม้ยืนต้น เช่น กระทิง, หูกวาง, โพทะเล, ตีนเป็ดทะเล, หยีน้ำ, มะนาวผี, ข่อย แต่ลำต้นไม่สูงมากนัก ใบมีความหงิกงอตามกระแสลม เรือนยอดอยู่ติดกัน และมักมีหนามแหลม บางพื้นที่อาจมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น ยางนา หรือตะเคียน ขึ้นอยู่ด้วยก็ได้ ในฤดูมรสุมช่วงที่เป็นเนินทรายอาจมีน้ำท่วมขังเป็นบ่อหรือแอ่ง จึงกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็ก และกลายเป็นแหล่งน้ำจืดที่เชื่อมโยงกับลำธาร ประโยชน์ของป่าชายหาด คือ ช่วยรักษาความสมดุลระหว่างนิเวศวิทยาชายฝั่งกับนิเวศวิทยาบนบก ช่วยป้องกันการกัดเซาะชายหาดและการทับถมกันของตะกอนชายหาดซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนตามสภาพของฤดูกาล ในประเทศไทย พบป่าชายหาดได้ทั่วไปตามฝั่งทะเลอ่าวไทย ในภาคตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชลบุรีไปจนถึงตราด ทางภาคใต้ตั้งแต่เพชรบุรีไปจนถึงมาเลเซีย รวมถึงตามเกาะแก่งต่าง ๆ กลางทะเล จนอาจกล่าวได้ว่า มีป่าชายหาดอยู่ทุกพื้นที่ ๆ มีทะเล ปัจจุบัน ป่าชายหาดถูกบุกรุกทำลายจากมนุษย์ สาเหตุมาจากการไม่เห็นค่าความสำคัญ ด้วยเห็นว่าเป็นเพียงพื้นที่รกร้างหรือเป็นวัชพืช โดยการนำเอาพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยว เช่น ปลูกบังกะโล, รีสอร์ต หรือบุกรุกเพื่อพื้นที่ทำการเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน หรือนากุ้ง.

13 ความสัมพันธ์: พระราชนิเวศน์มฤคทายวันระบบนิเวศป่าไม้ลู่ตูงวงศ์ปูบกหูกวางอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองปูลมใหญ่ปูไก่ปูเสฉวนบกป่าป่าไม้เขตร้อนนกชาปีไหนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

ระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศป่าไม้

ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest ecosystem) ระบบนิเวศป่าไม้เป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดในโลก และเป็นปัจจัยหลักที่เกื้อกูลการดำรงชีวิตของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่า ทั้งยังช่วยควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสม เนื่องจากเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอน การที่มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่าการแบ่งป่าเป็นผืนเล็กผืนน้อย และทำให้ป่าเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและระบบนิเวศป่าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ลู่ตูง

ลู่ตูง (Lutung) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับวานร (Primates) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Trachypithecus จัดอยู่ในจำพวกค่าง ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) โดยชื่อสามัญคำว่า "Lutung" มาจากภาษามลายู เนื่องจากมีความแตกต่างจากค่างสกุลที่พบในอนุทวีปอินเดี.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและลู่ตูง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปูบก

ปูบก (Land crab) เป็นวงศ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกปูวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gecarcinidae ปูในวงศ์ปูบก มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับปูทั่วไป เพียงแต่จะไม่มีหนามรอบกระดอง และรอบดวงตา มีขาเดินที่แข็งแรง และมีกรงเล็บขนาดใหญ่ เนื่องจากดำรงชีวิตอยู่บนบก จึงมีอวัยวะช่วยหายใจแตกต่างไปจากปูวงศ์อื่น โดยจะหายใจจากอากาศโดยตรง จึงมีเหงือกเป็นขุย มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมากคล้ายกับถุงลมในสัตว์บก และมีระบบขับถ่ายที่แตกต่างไปจากปูวงศ์อื่น คือ มีกระบวนการเปลี่ยนของเสียจากแอมโมเนีย ให้กลายเป็นกรดยูริก เก็บไว้ในเนื้อเยื่อ แตกต่างไปจากปูทั่วไปที่จะถ่ายลงน้ำ แต่การขยายพันธุ์ ปูตัวเมียก็จะไปวางไข่ทิ้งไว้ในน้ำ และลูกปูจะเลี้ยงตัวเองและพัฒนาตัวในน้ำในระยะต้น ก่อนที่จะขึ้นมาใช้ชีวิตอยู่บนบก ปูบก ดำรงชีวิตอยู่ในป่า หรือป่าชายหาดใกล้ชายหาด กินเศษซากอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ รวมถึง ใบไม้และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหารได้ด้วย ปูบก สามารถแบ่งได้เป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 6 สกุล ดังนี้ (บางข้อมูลแบ่งเพียง 3).

ใหม่!!: ป่าชายหาดและวงศ์ปูบก · ดูเพิ่มเติม »

หูกวาง

''Terminalia catappa'' หูกวาง เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดแอลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชายหาดหรือป่าชายหาดริมทะเล เพราะเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแบบดินร่วนปนทราย มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์ นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลากัด เนื่องจากใช้ใบแห้งหมักน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสารแทนนินในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ยังช่วยลดการสะท้อนแสงของน้ำ เพื่อให้ปลาสบายตา ไม่เสียสายตา รู้สึกปลอดภัย ไม่ใช้ปากคีดกระจก และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี หูกวางเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม หูกวางยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละจังหวัดหรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน (นราธิวาส), ดัดมือ หรือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและหูกวาง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง

อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีถนนเพชรเกษมตัดผ่าน แบ่งอุทยานแห่งชาติออกเป็นสองส่วนคือ เขาลำปีทางฝั่งตะวันออก และหาดท้ายเหมืองทางฝั่งตะวันตก.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง · ดูเพิ่มเติม »

ปูลมใหญ่

ปูลมใหญ่ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปูลม (Horn-eyed ghost crab) เป็นครัสเตเชียนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปูลม มีขนาดใหญ่ 7-10 เซนติเมตร กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด 6-8 เซนติเมตร เป็นสีเหลืองอ่อนมีลายสีม่วงเข้ม ส่วนของตามีก้านยื่นยาว ขาเรียวยาว วิ่งได้เร็ว กินซากพืชซากสัตว์ และสัตว์ขนาดเล็กบริเวณชายหาดเป็นอาหาร ส่วนใหญ่จะออกหากินเวลากลางคืน ขุดรูอาศัยบนพื้นทรายในป่าชายหาดหรือชายหาดตอนที่น้ำท่วมไม่ถึง แพร่กระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออกจนถึงฟิลิปปินและเกรตแบร์ริเออร์รีฟ.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและปูลมใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ปูไก่

ำหรับปูขนอย่างอื่นที่นิยมรับประทานกันเป็นอาหารจีน ดูที่: ปูก้ามขน ปูไก่ (Hairy leg mountain crab) เป็นปูชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปูบก (Gecarcinidae) มีกระดองเป็นรูปไข่ ด้านหน้าโค้งมนกลม เหนือเบ้าตามีปุ่มเล็ก ๆ ข้างละปุ่ม กระดองตอนหน้าระหว่างขอบตาแคบ ตัวผู้มีก้ามใหญ่และแข็งแรง ก้ามซ้ายมีขนาดใหญ่ ปลายก้ามหนีบอันบนยาวกว่าอันล่างขาเดินมี 4 คู่ ข้อสุดท้ายมีปลายแหลม ขอบหยักเป็นฟันเลื่อย ขาเดินทุกคู่ มีขนสีดำกระดองสีน้ำตาลปนเหลือง ก้ามสีน้ำตาลปนส้ม โคนขาเดินสีส้ม มีความยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในป่าใกล้ลำธารหรือน้ำตก หรือตามป่าชายหาด กินเศษซากต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก จนถึงอินโด-แปซิฟิก, หมู่เกาะโคโคส, ตูอาโมตัสทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบได้ตามเกาะต่าง ๆ ทางภาคใต้ เช่น หมู่เกาะสิมิลันและเกาะภูเก็ต แต่ปัจจุบันพบได้ยาก สามารถใช้เนื้อในการรับประทานได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมนักเนื่องจากในเนื้อมีกลิ่นกรดยูริกและแอมโมเนียจากของเสียจากระบบขับถ่ายของปู นอกจากนี้แล้วปูไก่ยังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น "ปูขน" หรือ "ปูภูเขา" และเหตุที่ได้ชื่อว่าปูไก่ เนื่องจากมีเสียงจากการกระทบกันของกล้ามปูเสียงดังคล้ายเสียงร้องของไก.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและปูไก่ · ดูเพิ่มเติม »

ปูเสฉวนบก

ปูเสฉวนบก (Land hermit crabs) เป็นปูเสฉวนในสกุล Coenobita (มาจากคำในภาษาละตินว่า coenobivm และคำในภาษากรีกโบราณว่า κοινόβιον แปลว่า "ชีวิตในประชาคม, อาราม") มีทั้งหมด 15 ชนิด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 นิ้ว มีรูปร่างหน้าตาคล้ายปูเสฉวนทั่วไป และอาศัยอยู่ในเปลือกหอย แต่ไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากระบบการหายใจถูกพัฒนาให้รับออกซิเจนโดยตรง ถ้าลงไปในน้ำจะสำลักน้ำตายได้เหมือนปูมะพร้าว (Birgus latro) แต่จะลงไปกินน้ำทะเลเพื่อต้องการเกลือแร่ อีกทั้งยังต้องการน้ำจืดอีกด้วย ปูเสฉวนบกมีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกาเหนือ, ทะเลแคริบเบียน, หมู่เกาะเบอร์มิวดา, ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย จะอาศัยอยู่บนบกหรือในป่าริมชายทะเล กินอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์เหมือนปูเสฉวนทั่วไป ปัจจุบันปูเสฉวนบกกำลังได้รับความนิยมในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้เลี้ยงนิยมใช้สีทาบนเปลือกหอยให้เป็นสีสันและลวดลายต่าง ๆ แต่เป็นปูที่ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการเลี้ยง เนื่องจากถึงแม้ว่าจะอาศัยอยู่บนบกก็ตาม แต่ในสถานที่เลี้ยงต้องใช้ความชุ่มชื้นด้วย และปูพื้นด้วยกรวดทรายและขอนไม้หรือมะพร้าวผุ และมีความจำเป็นต้องใช้แคลเซียมเพื่อเป็นแร่ธาตุด้วย ไม่เช่นนั้นอาจตายได้.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและปูเสฉวนบก · ดูเพิ่มเติม »

ป่า

ป่า ป่าไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน โดยทั่วไป หมายถึง บริเวณที่มีความชุ่มชื้น และปกด้วยใบไม้สีเขียว ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและป่า · ดูเพิ่มเติม »

ป่าไม้เขตร้อน

ป่าไม้เขตร้อนคือ ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมในบริเวณเขตร้อนของโลก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 1.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและป่าไม้เขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

นกชาปีไหน

thumb นกชาปีไหน หรือ นกกะดง (Nicobar pigeon, Nicobar dove) เป็นนกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) นับเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ในสกุล Caloenas ในขณะที่ชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยมีความใกล้ชิดกับนกโดโดที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วย นกชาปีไหน มีขนาดลำตัวเท่า ๆ กับไก่แจ้ มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 40-41 เซนติเมตร มีลำตัวขนาดใหญ่ แต่มีหัวขนาดเล็กและมีเนื้อนูนเป็นตุ่มบริเวณจมูก ขนตามลำตัวเป็นสีเขียวเหลือบเทา ขนหางสีขาว แต่จะมีขนบริเวณคอห้อยยาวออกมาเหมือนสร้อยคอ ซึ่งขนนี้จะยาวขึ้นเมื่อนกมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีขาขนาดใหญ่แข็งแรง เพราะเป็นนกที่ชอบเดินหากินตามพื้น นกชาปีไหน แม้จะเป็นนกที่หากินบนพื้นดินเป็นหลัก แต่ก็เป็นนกที่สามารถบินได้ มีรายงานว่าสามารถบินข้ามไปมาระหว่างเกาะต่าง ๆ ได้ เป็นนกที่หากตกใจจะบินหรือกระโดดขึ้นบนต้นไม้ และไม่ค่อยส่งเสียงร้องนัก นานครั้งจึงจะได้ยินเสียงร้องทีหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์เฉพาะหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณทะเลอันดามันและอินโด-แปซิฟิก เช่น หมู่เกาะนิโคบาร์, หมู่เกาะอันดามัน, หมู่เกาะโซโลมอนและปาเลา ในประเทศไทยจัดเป็นนกที่หาได้ยากมากชนิดหนึ่ง โดยจะอาศัยอยู่ในป่าดิบหรือป่าชายหาดของหมู่เกาะสิมิลัน, หมู่เกาะสุรินทร์ หรือหมู่เกาะอ่างทอง รวมถึงอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี เท่านั้น เป็นนกที่ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักรราช 2535 แต่ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยทางการของไทย เมื่อปี พ.ศ. 2538 พบว่านกชาปีไหนสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยสร้างรังแบบหยาบ ๆ รูปร่างคล้ายจาน โดยใช้กิ่งไม้และใบไม้แห้งวางไข่ ครั้งละเพียง 1 ฟอง มีขนาด 31.64x45.0 มิลลิเมตร น้ำหนัก 25.05 กรัม พ่อและแม่นกช่วยกันฟักไข่ มีระยะฟัก 25-29 วัน แม่นกสามารถจะวางไข่ชุดใหม่ต่อไปได้หลังจากลูกนกมีอายุได้ประมาณ 40 วัน ลูกนกออกจากไข่ไม่มีขนปกคลุมตัว จัดอยู่ในพวกอัลติเชียล (นกที่บินไม่ได้) พ่อและแม่นกช่วยกันเลี้ยงดูลูกนกจนมีอายุได้ 34-36 วัน ลูกนกจึงจะทิ้งรังและกินอาหารเองได้ ขนชุดแรกขึ้นปกคลุมตัวสมบูรณ์หมด เมื่อลูกนกมีอายุได้ 3 เดือน และเมื่อมีอายุ 7 เดือน มีการผลัดขนปีกชุดแรก และมีขนชุดใหม่งอกขึ้นมาแทนที.

ใหม่!!: ป่าชายหาดและนกชาปีไหน · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี และมีพื้นที่ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรในพื้นที่จังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี ที่อยู่ทางทิศตะวันตก ถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของผืนป่าตะวันตกของประเทศไทย และเป็นผืนป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม..

ใหม่!!: ป่าชายหาดและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Beach Forest

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »