ป่าชายหาดและหยีน้ำ
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ป่าชายหาดและหยีน้ำ
ป่าชายหาด vs. หยีน้ำ
ป่าชายหาดที่มีสนทะเลขึ้น ที่รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นลักษณะของป่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นป่าละเมาะหรือป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายหรือเนินทรายริมทะเล หรือชายฝั่ง เป็นป่าที่มีขนาดเล็กเกิดขึ้นด้านหลังของสันทรายตามแนวชายฝั่ง น้ำทะเลท่วมไม่ถึง สภาพดินเป็นดินทรายและมีความเค็มสูง เป็นป่าที่มีความแตกต่างจากป่าทั่ว ๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพโดยทั่วไปแห้งแล้ง ใบไม้ในป่าจะเป็นลักษณะหงิกงอ แต่นี่คือลักษณะของป่าชายหาดที่สมบูรณ์ ป่าชายหาดเป็นป่าที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสลม, กระแสคลื่น รวมถึงไอเค็มจากทะเล, แสงแดดร้อนจัด, สภาพความชื้นสุดขั้วทั้งชื้นจัด, ชื้นน้อย และชื้นปานกลาง ระบบนิเวศจึงประกอบด้วยเนินทรายหรือหาดทรายและมีพืชประเภท ไม้เถาหรือไม้เลื้อย, ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นที่มีลำต้นคดงอ และมีความสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ห่างจากชายหาดออกไป ไม้ที่เป็นประเภทหญ้าหรือไม้เลื้อยได้แก่ หญ้าลิงลม, ผักบุ้งทะเล, หญ้าทะเล, เตย ซึ่งรากของไม้เหล่านี้จะช่วยในการยึดเกาะพื้นทรายทำให้พื้นทรายมีความแน่นหนาแข็งแรงมากขึ้น เพื่อที่จะให้รากของไม้ที่ใหญ่กว่า เช่น ไม้พุ่มได้เกาะต่อไป ประเภทของไม้พุ่ม ได้แก่ รักทะเล, ปอทะเล, เสมา, ซิงซี่, หนามหัน, กำจาย ขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ช่วยบังลมทะเลเป็นปราการให้แก่ไม้ชนิดที่ไม่สามารถทนเค็มได้ ประเภทของไม้ยืนต้น เช่น กระทิง, หูกวาง, โพทะเล, ตีนเป็ดทะเล, หยีน้ำ, มะนาวผี, ข่อย แต่ลำต้นไม่สูงมากนัก ใบมีความหงิกงอตามกระแสลม เรือนยอดอยู่ติดกัน และมักมีหนามแหลม บางพื้นที่อาจมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น ยางนา หรือตะเคียน ขึ้นอยู่ด้วยก็ได้ ในฤดูมรสุมช่วงที่เป็นเนินทรายอาจมีน้ำท่วมขังเป็นบ่อหรือแอ่ง จึงกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็ก และกลายเป็นแหล่งน้ำจืดที่เชื่อมโยงกับลำธาร ประโยชน์ของป่าชายหาด คือ ช่วยรักษาความสมดุลระหว่างนิเวศวิทยาชายฝั่งกับนิเวศวิทยาบนบก ช่วยป้องกันการกัดเซาะชายหาดและการทับถมกันของตะกอนชายหาดซึ่งเกิดจากการหมุนเวียนตามสภาพของฤดูกาล ในประเทศไทย พบป่าชายหาดได้ทั่วไปตามฝั่งทะเลอ่าวไทย ในภาคตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชลบุรีไปจนถึงตราด ทางภาคใต้ตั้งแต่เพชรบุรีไปจนถึงมาเลเซีย รวมถึงตามเกาะแก่งต่าง ๆ กลางทะเล จนอาจกล่าวได้ว่า มีป่าชายหาดอยู่ทุกพื้นที่ ๆ มีทะเล ปัจจุบัน ป่าชายหาดถูกบุกรุกทำลายจากมนุษย์ สาเหตุมาจากการไม่เห็นค่าความสำคัญ ด้วยเห็นว่าเป็นเพียงพื้นที่รกร้างหรือเป็นวัชพืช โดยการนำเอาพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยว เช่น ปลูกบังกะโล, รีสอร์ต หรือบุกรุกเพื่อพื้นที่ทำการเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน หรือนากุ้ง. หยีน้ำ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 15-25 เมตร ดอกสีม่วงอมชมพู รูปร่างของดอกคล้ายดอกแคแต่เล็กกว่า ผลเป็นฝักสั้นและแบน เป็นพืชตระกูลถั่ว จึงมีไรโซเบียมอยู่ในปมราก ช่วยในการตรึงไนโตรเจน เป็นพืชพื้นเมืองในอินเดีย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ Indian Beech, Pongam Oiltree, Karanj (ภาษาฮินดี), ಹೊಂಗೆ Honge (ภาษากันนาดา), புங்கை Pungai (ภาษาทมิฬ), కానుగ Kānuga (ภาษาเตลูกู), नक्तमाल Naktamāla (ภาษาสันสกฤต) พืชชนิดนี้ใช้ทำไบโอดีเซลในอินเดี.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ป่าชายหาดและหยีน้ำ
ป่าชายหาดและหยีน้ำ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ป่าชายหาดและหยีน้ำ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ป่าชายหาดและหยีน้ำ
การเปรียบเทียบระหว่าง ป่าชายหาดและหยีน้ำ
ป่าชายหาด มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ หยีน้ำ มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (18 + 22)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ป่าชายหาดและหยีน้ำ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: