โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หญ้าทะเล

ดัชนี หญ้าทะเล

หญ้าตะกานน้ำเค็ม (''Ruppia maritima'') หญ้าทะเล (Seagrass) เป็นกลุ่มของพืชดอกเพียงกลุ่มเดียว ที่ได้มีวิวัฒนาการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเล โดยมีลักษณะโครงสร้างภายนอกคล้ายคลึงกับหญ้าที่เจริญอยู่บนบก ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.ราก เป็นส่วนที่ใช้ในการดูดซึมสารอารหารและแร่ธาตุจากในดิน ทั้งยังช่วยในการยึดเกาะกับพื้นดินทำให้หญ้าทะเลมีความมั่นคง 2.เหง้า เป็นส่วนของลำต้นที่เจริญคืบคลานไปใต้พื้นผิวดิน 3.ใบ เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร มีรูปร่างแตกต่างกันตามแต่ชนิดของหญ้าทะเล มีทั้งชนิดที่ใบมีลักษณะเป็นแผ่นแบน และชนิดที่เป็นท่อกลม ใบของหญ้าทะเลใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิดของหญ้าทะเล หญ้าทะเล เดิมเคยเป็นพืชที่อยู่บนบกมาก่อน ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตโบราณแบบเดียวกับฟองน้ำหรือปะการัง จึงมีโครงสร้างแบบพืชบนบกในปัจจุบันปรากฏให้เห็น.

10 ความสัมพันธ์: ฟองน้ำพืชดอกการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศหญ้าชะเงาหญ้าตะกานน้ำเค็มหญ้าใบมะกรูดหญ้าใบมะกรูดขนอ่าวชาร์กปะการัง

ฟองน้ำ

ฟองน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายไดน้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร) ต้นกำเนิดของฟองน้ำอาจย้อนไปถึงยุคพรีคัมเบรียน (Precambrian) หรือประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว พิสูจน์โดยซากฟอสซิลของฟองน้ำ นอกจากนี้แล้ว ฟองน้ำยังถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนสูงสุดในบรรดาอาณาจักรสัตว์ทั้งหมดอีกด้วย โดยมีอายุยืนได้ถึงหมื่นปี.

ใหม่!!: หญ้าทะเลและฟองน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: หญ้าทะเลและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) คือการสืบพันธุ์ที่ต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (สเปิร์ม) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่) แล้วเกิดออกมาเป็นไซโกตและเจริญมาเป็นเอมบริโอในเวลาต่อม.

ใหม่!!: หญ้าทะเลและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) คือการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตโดยไม่มีการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งการสืบพันธุ์แบบนี้จะไม่มีการกลายพันธุ์หรือสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมขึ้น ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นต่ำและเป็นการสืบพันธุ์อย่างไม่สลับซับซ้อน ข้อดีของการสืบพันธุ์แบบนี้ได้แก่ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถเพิ่มจำนวนได้โดยไม่ต้องหาคู่ ในกรณีของสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรอเวลาและพลังงานในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์และการปฏิสนธิ เหมาะกับสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น.

ใหม่!!: หญ้าทะเลและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าชะเงา

หญ้าชะเงา() เป็นหญ้าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขึ้นเป็นกอสูง 1 เมตร มี 2-5 ใบ ใบแบนยาว แตกขึ้นมาจากไรโซม ก้านดอกยาว ม้วนงอเหมือนสปริง พบได้ทั้งบริเวณน้ำกร่อยและทะเล เป็นพืชท้องถิ่นในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก ในตำรายาไทยใช้เป็นยาฟอกโลหิต ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ลมในลำไส้.

ใหม่!!: หญ้าทะเลและหญ้าชะเงา · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าตะกานน้ำเค็ม

หญ้าตะกานน้ำเค็ม (wigeongrass) เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่งซึ่งไม่จัดเป็นพืชในทะเลแต่จัดเป็นพืชน้ำจืดที่ทนเค็มKantrud, H. A. (1991).

ใหม่!!: หญ้าทะเลและหญ้าตะกานน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าใบมะกรูด

หญ้าใบมะกรูด (paddle weed) เป็นพืชในวงศ์ Hydrocharitaceae จัดเป็นหญ้าทะเลชนิดหนึ่ง ใบแบนรูปไข่ แตกออกมาจากไรโซม มีเส้นใบที่ขวางใบมากกว่า 10 คู่ รากยาวได้ถึง 800 mm มีขนรากละเอียด พบได้ทั้งในบริเวณที่เป็นดินเลนปนดินทราย หรือดินเลนปนซากปะการัง น้ำกร่อย พืชชนิดนี้ช่วยยึดพื้นทรายและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอื่น เป็นอาหารของพะยูน Robert Brown เป็นผู้อธิบายทางอนุกรมวิธานของพืชชนิดนี้ครั้งแรก โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caulinia ovalis ต่อมา Joseph Dalton Hooker ได้มาอยู่ในสกุล Halophila เมื่อ..

ใหม่!!: หญ้าทะเลและหญ้าใบมะกรูด · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าใบมะกรูดขน

หญ้าใบมะกรูดขน (Ostenf.) เป็นหญ้าทะเลในวงศ์ Hydrocharitaceae ใบแบน บาง รูปไข่ ขอบใบมีรอยหยักและมีขนบนผิวใบทั้ง 2 ด้าน เส้นใบที่เป็นเส้นขวางใบมีไม่เกิน 8 คู่ มีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียเจริญบนแขนงของต้นเดียวกัน (monoecious) โดยมีกาบดอกหุ้มดอกทั้ง 2 ไว้ด้วยกัน หญ้าใบมะกรูดขนพบในน้ำที่มีระดับความลึก 6 -36 เมตร พบในเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตก Smithsonian Marine Station at Fort Pierce.

ใหม่!!: หญ้าทะเลและหญ้าใบมะกรูดขน · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวชาร์ก

อ่าวชาร์ก (Shark Bay) เป็นแหล่งมรดกทางธรรมชาติของโลกในเขตแกสคอยน์ (Gascoyne) รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย ห่างจากเมืองเพิร์ทไปทางเหนือ 800 กิโลเมตร จัดว่าเป็นจุดที่อยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ ได้รับการตั้งชื่อโดยวิลเลียม แดมเพียร์ หนึ่งในนักสำรวจชาวยุโรปที่มาถึงออสเตรเลียในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2242 กล่าวกันว่า อ่าวชาร์กเป็นสถานที่ที่แรกที่ชาวยุโรปเดินทางมาถึงในออสเตรเลีย โดยเป็นครั้งที่เดิร์ก ฮาร์ทอก นำเรือจอดเทียบที่นี่ในปี พ.ศ. 2159 (ค.ศ. 1616) และเป็นจุดเริ่มต้นของการสำรวจอย่างเป็นทางการจากผู้มาเยือนนอกทวีป อ่าวชาร์กครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 10,000 ตารางกิโลเมตร มีความลึกโดยเฉลี่ย 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ โดยชายฝั่งตื้น ๆ คาบสมุทร และเกาะที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ชายฝั่งบริเวณอ่าวมีความยาวมากกว่า 1,500 กิโลเมตร อ่าวชาร์กเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญในด้านของเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด เป็นถิ่นอาศัยของวัวทะเลประมาณ 10,000 ตัว คิดเป็นร้อยละ 12.5 ของจำนวนประชากรทั่วโลก เนื่องจากเป็นแหล่งอุดมไปด้วยหญ้าทะเลที่เป็นอาหาร และโลมาอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะที่มังกีเมีย (Monkey Mia) พื้นที่ของอ่าวเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในภาวะถูกคุกคาม 26 สายพันธุ์ เหตุที่ได้ชื่อว่า "อ่าวชาร์ก" ที่หมายถึง "อ่าวฉลาม" เป็นสถานที่กระจายพันธุ์แหล่งใหญ่ของปลาฉลามเสือ ซึ่งเป็นปลาฉลามกินเนื้อขนาดใหญ.

ใหม่!!: หญ้าทะเลและอ่าวชาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ปะการัง

ปะการัง หรือ กะรัง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยว ๆ จำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ หัวของปะการังหนึ่ง ๆ โดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพัน ๆ โพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อม ๆ กันตลอดหนึ่งคืนหรือหลาย ๆ คืนในช่วงเดือนเพ็ญ แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้น ๆ โดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐวอชิงตันและที่หมู่เกาะอะลูเชียนของอะแลสก.

ใหม่!!: หญ้าทะเลและปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »