เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาแซลมอนชินูก

ดัชนี ปลาแซลมอนชินูก

ปลาแซลมอนชินูก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Oncorhynchus tshawytscha) เป็นสปีชีส์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสกุลปลาแซลมอนแปซิฟิก ตั้งชื่อตามชาวชินูก ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่เคยอาศัยอยู่ชายฝั่งแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ปลาแซลมอนชินูกยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก คือ คิงแซลมอน, ปลาแซลมอนควินแนต และ ปลาแซลมอนใบไม้ผลิ ปลาแซลมอนชินูกเป็นปลาน้ำกร่อยซึ่งกระจายพันธุ์อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ตลอดจนเครือข่ายแม่น้ำในภาคตะวันตกของอเมริกาเหนือ ตั้งแต่รัฐแคลิฟอร์เนียไปจนถึงรัฐอะแลสกา และยังกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชียบริเวณตอนเหนือของญี่ปุ่นไปจนถึงบริเวณทะเลไซบีเรียตะวันออกของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ปลาสายพันธุ์นี้ก็ยังพบได้ในส่วนอื่น ๆ ของโลกได้เช่นกัน อาทิในนิวซีแลนด์, ภูมิภาคปาตาโกเนีย เป็นต้น ปลาแซลมอนชินูกถือเป็นปลาเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง และมีกรดไขมันโอเมกา-3 ในปริมาณที่สูงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ผลิตปลาแซลมอนชินูกได้มากที่สุดโดยทำตลาดในชื่อว่า "คิงแซลมอน" ใน..

สารบัญ

  1. 16 ความสัมพันธ์: กรดไขมันโอเมกา-3มหาสมุทรแปซิฟิกรัฐอะแลสการัฐแคลิฟอร์เนียวงศ์ปลาแซลมอนสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์ทวีปอเมริกาเหนือทะเลไซบีเรียตะวันออกประเทศนิวซีแลนด์ปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำกร่อยปลาแซลมอนแปซิฟิกปาตาโกเนีย

  2. ปลาเศรษฐกิจ
  3. ปลาแซลมอน
  4. สกุลปลาแซลมอนแปซิฟิก

กรดไขมันโอเมกา-3

Chia เมล็ดที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมกา-3 (ω-3 หรือ omega-3) ซึ่งเป็นโครงสร้างไขมันสำคัญในสมองและจอประสาทตา ดร.อลัน ไรอัน จาก มาร์เท็ค ไบโอไซน์ส (Martek Biosciences) จะนำเสนอผลของการบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 ในเด็กอายุ 4 ขวบ ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายิ่งมีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 ในเลือดมากเท่าใด เด็กก็จะทำแบบทดสอบด้านการรับรู้ได้ดีเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าควรมีการผสมกรดไขมันโอเมกา-3 ในอาหารสำหรับเด็ก กรดไขมันโอเมกา-3 พบได้ในไขมันปลา แต่ผู้เชี่ยวชาญมากมายแนะนำว่าสตรีและเด็กควรบริโภคไขมันปลาในปริมาณจำกัด กรดไขมันโอเมกา-3 เป็นกลุ่มของกรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวสูง เป็นหนึ่งในกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ ซึ่งในสูตรโครงสร้างโมเลกุลจะมีพันธะคู่อยู่ไม่น้อยกว่า 3 แห่ง โดยพันธะคู่แรกจะอยู่ที่ตำแหน่งของคาร์บอนตัวที่ 3 นับจากปลายโมเลกุลด้านที่มีกลุ่มเมธิล (methyl group) เข้าไป ส่วนพันธะคู่ต่อไปจะอยู่ตรงตำแหน่งคาร์บอนถัดไปครั้งละ 3 ตำแหน่ง สารสำคัญในตัวมันมี 2 ตัว คือ Eicosopentaenoic (EPA) และ Docosahexaenoic (DHA) กรดไขมันโอเมกา-3 มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาเรียนรู้ รวมทั้งเกี่ยวกับเรตินาในการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อโภชนาการและสุขภาพของคนเรา เช่น ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล และไตรเอธิลกลีเซอรอล (triethylglycerol) ในพลาสมา ควบคุมระดับไลโปโปรตีน (lipoprotien) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและหน้าที่ของเกล็ดเลือด จึงมีแนวโน้มก่อให้เกิดผลดีในการลดอันตรายของโรคทางเดินหายใจ โรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจและโรคซึมเศร้า โอเมกา-3 พบมากในปลาทะเล และ ปลาน้ำจืดบางชน.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและกรดไขมันโอเมกา-3

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและมหาสมุทรแปซิฟิก

รัฐอะแลสกา

รัฐอะแลสกา (State of Alaska) รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐอเมริกา นับเป็นรัฐที่ 49 มีจำนวนประชากร 626,932 คน (พ.ศ. 2543) ชื่อ อะแลสกา นั้นน่าจะเพี้ยนมาจากคำในภาษาแอลิอุต ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "Alyeska" แปลว่า "ดินแดนที่ไม่ใช่เกาะ".

ดู ปลาแซลมอนชินูกและรัฐอะแลสกา

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ดู ปลาแซลมอนชินูกและรัฐแคลิฟอร์เนีย

วงศ์ปลาแซลมอน

วงศ์ปลาแซลมอน (Salmonidae) เป็นวงศ์ของปลาที่มีก้านครีบ ในปัจจุบัน สายพันธุ์ปลาที่อยู่ในวงศ์นี้มีเพียงแค่ ปลาแซลมอน, ปลาเทราต์, ปลาชาร์, ปลาขาวน้ำจืด และ ปลาเกรย์ลิง โดยปกติปลาในวงศ์นี้จะวางไข่ในน้ำจืด แต่ก็มีหลายกรณี ที่พวกมันใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเลและหวนกลับมาวางไข่ในน้ำจืด ซึ่งทำให้ปลาในวงศ์นี้ถูกจัดอยู่ในประเภทปลาน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้หาอาหารโดยการล่าสัตว์พวกกุ้งกั้งปู, แมลง และปลาขนาดเล็ก แม้ว่าสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดของปลาในวงศ์นี้จะมีความยาวเพียง 13 เซนติเมตรเมื่อโตเต็มที่ก็ตามที แต่ก็มีสายพันธุ์ที่สามารถมีความยาวได้ถึง 2 เมตรเมื่อโตเต็มที.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและวงศ์ปลาแซลมอน

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและสกุล (ชีววิทยา)

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและสัตว์

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและสัตว์มีแกนสันหลัง

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู ปลาแซลมอนชินูกและสปีชีส์

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและทวีปอเมริกาเหนือ

ทะเลไซบีเรียตะวันออก

แผนที่ทะเลไซบีเรียตะวันออก ทะเลไซบีเรียตะวันออก (Восто́чно-Сиби́рское мо́ре; East Siberian Sea) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของภูมิภาคไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เป็นทะเลในมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ระหว่างแหลมอาร์กติกทางเหนือ ชายฝั่งของไซบีเรียทางใต้ หมู่เกาะนิวไซบีเรียทางตะวันตก และแหลมบิลลิงส์ทางตะวันออก ทะเลไซบีเรียตะวันออกมีพื้นที่ 361,000 ตารางไมล์ ร้อยละ 70 ของพื้นที่มีความลึกไม่เกิน 50 เมตร ความลึกเฉลี่ย 66 เมตร และจุดที่ลึกที่สุดมีความลึก 358 เมตร อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0-2 องศาเซลเซียส (4 องศาเซลเซียสทางตอนใต้) ในฤดูร้อน และ -30 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว ทะเลแห่งนี้มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับทะเลลัปเตฟ แม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดที่ไหลลงทะเลแห่งนี้คือแม่น้ำคาลึยม.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและทะเลไซบีเรียตะวันออก

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและประเทศนิวซีแลนด์

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและปลาที่มีก้านครีบ

ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและปลาน้ำกร่อย

ปลาแซลมอนแปซิฟิก

ปลาแซลมอนแปซิฟิก (Pacific salmon) เป็นสกุลของปลาเศรษฐกิจสกุลหนึ่ง จำพวกปลาแซลมอน ใช้ชื่อสกุลว่า Oncorhynchus จัดอยู่ในวงศ์ Salmonidae อันดับ Salmoniformes โดยที่คำว่า Oncorhynchus มาจากภาษากรีกคำว่า nkos หมายถึง "ตะขอ" และ rynchos หมายถึง "จมูก" ซึ่งมาจากการที่ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้ม และมีส่วนปลายปาก (จมูก) งองุ้มเป็นดั้งขอ เป็นปลาแซลมอนที่กระจายพันธุ์อยู่ในตอนเหนือของแคลิฟอร์เนียตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอาร์กติก และมหาสมุทรแอตแลนติก พบได้ตั้งแต่อาร์กติก, อลาสกา, ทะเลเบริง, สหรัฐอเมริกา, เม็กซิโก จนถึงญี่ปุ่น เป็นปลาที่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง แต่เป็นปลาที่ต้องการแหล่งน้ำที่สะอาด มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง น้ำมีอุณหภูมิเย็นและไหลแรงซึ่งมักพบตามปากแม่น้ำต่าง ๆ ขณะที่ปลาเมื่ออยู่ในทะเลหรือมหาสมุทรก็มักจะว่ายตามผิวน้ำ และเช่นเดียวกับปลาแซลมอนสกุลและชนิดอื่น ๆ ที่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ จะว่ายกลับไปผสมพันธุ์และวางไข่ในแหล่งน้ำจืด อันเป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม แม้จะไกลแค่ไหนก็ตาม โดยแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาการวางไข่และเติบโตต่างกัน บางชนิดลูกปลาอาจใช้เวลา 5-7 เดือน ขณะที่บางชนิดอาจต้องใช้เวลานานถึง 1 ปี ในการอาศัยในแหล่งน้ำจืด จึงจะว่ายกลับไปยังทะเล และใช้ระยะเวลาการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 2-4 ปี แต่ทั้งหมดก็ต้องอาศัยการวางไข่ในแหล่งน้ำที่สะอาดเหมือนกัน เป็นปลาแซลมอนที่นิยมบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด ที่เป็นชนิดที่สำคัญ.

ดู ปลาแซลมอนชินูกและปลาแซลมอนแปซิฟิก

ปาตาโกเนีย

แผนที่ในปี ค.ศ. 1775 ปาตาโกเนีย (Patagonia) เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ปลายใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศอาร์เจนตินาและชิลี ประกอบด้วยบริเวณทางใต้ของเทือกเขาแอนดีส ไปถึงทางตะวันตกเฉียงใต้ จนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และส่วนตะวันออกของเทือกเขา ไปถึงหุบเขาตามแม่น้ำโคโลราโด ไปทางใต้จนถึงเมืองการ์เมนเดปาตาโกเนส บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก ส่วนทางตะวันตกรวมถึงเมืองบัลดีเบียไปจนถึงกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก คำว่า ปาตาโกเนีย มาจากคำว่า ปาตากอน (patagón)Antonio Pigafetta, Relazione del primo viaggio intorno al mondo, 1524: "Il capitano generale nominò questi popoli Patagoni." The original word would probably be in Magellan's native Portuguese (patagão) or the Spanish of his men (patagón).

ดู ปลาแซลมอนชินูกและปาตาโกเนีย

ดูเพิ่มเติม

ปลาเศรษฐกิจ

ปลาแซลมอน

สกุลปลาแซลมอนแปซิฟิก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Oncorhynchus tshawytscha