สารบัญ
9 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรแปซิฟิกวงศ์ปลาแซลมอนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำกร่อยปลาแซลมอนปลาแซลมอนแปซิฟิกแม่น้ำเฟรเซอร์
- ปลาแซลมอน
- สกุลปลาแซลมอนแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.
ดู ปลาแซลมอนซ็อกอายและมหาสมุทรแปซิฟิก
วงศ์ปลาแซลมอน
วงศ์ปลาแซลมอน (Salmonidae) เป็นวงศ์ของปลาที่มีก้านครีบ ในปัจจุบัน สายพันธุ์ปลาที่อยู่ในวงศ์นี้มีเพียงแค่ ปลาแซลมอน, ปลาเทราต์, ปลาชาร์, ปลาขาวน้ำจืด และ ปลาเกรย์ลิง โดยปกติปลาในวงศ์นี้จะวางไข่ในน้ำจืด แต่ก็มีหลายกรณี ที่พวกมันใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเลและหวนกลับมาวางไข่ในน้ำจืด ซึ่งทำให้ปลาในวงศ์นี้ถูกจัดอยู่ในประเภทปลาน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้หาอาหารโดยการล่าสัตว์พวกกุ้งกั้งปู, แมลง และปลาขนาดเล็ก แม้ว่าสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดของปลาในวงศ์นี้จะมีความยาวเพียง 13 เซนติเมตรเมื่อโตเต็มที่ก็ตามที แต่ก็มีสายพันธุ์ที่สามารถมีความยาวได้ถึง 2 เมตรเมื่อโตเต็มที.
ดู ปลาแซลมอนซ็อกอายและวงศ์ปลาแซลมอน
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ดู ปลาแซลมอนซ็อกอายและสัตว์มีแกนสันหลัง
ปลาที่มีก้านครีบ
ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.
ดู ปลาแซลมอนซ็อกอายและปลาที่มีก้านครีบ
ปลาน้ำกร่อย
ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.
ดู ปลาแซลมอนซ็อกอายและปลาน้ำกร่อย
ปลาแซลมอน
วาดปลาแซลมอนชนิดต่าง ๆ ปลาแซลมอน http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID.
ดู ปลาแซลมอนซ็อกอายและปลาแซลมอน
ปลาแซลมอนแปซิฟิก
ปลาแซลมอนแปซิฟิก (Pacific salmon) เป็นสกุลของปลาเศรษฐกิจสกุลหนึ่ง จำพวกปลาแซลมอน ใช้ชื่อสกุลว่า Oncorhynchus จัดอยู่ในวงศ์ Salmonidae อันดับ Salmoniformes โดยที่คำว่า Oncorhynchus มาจากภาษากรีกคำว่า nkos หมายถึง "ตะขอ" และ rynchos หมายถึง "จมูก" ซึ่งมาจากการที่ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้ม และมีส่วนปลายปาก (จมูก) งองุ้มเป็นดั้งขอ เป็นปลาแซลมอนที่กระจายพันธุ์อยู่ในตอนเหนือของแคลิฟอร์เนียตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอาร์กติก และมหาสมุทรแอตแลนติก พบได้ตั้งแต่อาร์กติก, อลาสกา, ทะเลเบริง, สหรัฐอเมริกา, เม็กซิโก จนถึงญี่ปุ่น เป็นปลาที่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง แต่เป็นปลาที่ต้องการแหล่งน้ำที่สะอาด มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง น้ำมีอุณหภูมิเย็นและไหลแรงซึ่งมักพบตามปากแม่น้ำต่าง ๆ ขณะที่ปลาเมื่ออยู่ในทะเลหรือมหาสมุทรก็มักจะว่ายตามผิวน้ำ และเช่นเดียวกับปลาแซลมอนสกุลและชนิดอื่น ๆ ที่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ จะว่ายกลับไปผสมพันธุ์และวางไข่ในแหล่งน้ำจืด อันเป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม แม้จะไกลแค่ไหนก็ตาม โดยแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาการวางไข่และเติบโตต่างกัน บางชนิดลูกปลาอาจใช้เวลา 5-7 เดือน ขณะที่บางชนิดอาจต้องใช้เวลานานถึง 1 ปี ในการอาศัยในแหล่งน้ำจืด จึงจะว่ายกลับไปยังทะเล และใช้ระยะเวลาการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 2-4 ปี แต่ทั้งหมดก็ต้องอาศัยการวางไข่ในแหล่งน้ำที่สะอาดเหมือนกัน เป็นปลาแซลมอนที่นิยมบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด ที่เป็นชนิดที่สำคัญ.
ดู ปลาแซลมอนซ็อกอายและปลาแซลมอนแปซิฟิก
แม่น้ำเฟรเซอร์
แม่น้ำเฟรเซอร์ (Fraser River) เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดในรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาร็อกกี ไหลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ระหว่างเทือกเขาร็อกกีกับทิวเขาแคริบู ใกล้เขตแดนสหรัฐอเมริกา และไหลไปทางตะวันตก ตัดผ่านเทือกเขาโคสต์ทำให้เกิดหุบผาชันเป็นแนวยาว แล้วไหลลงสู่ช่องแคบจอร์เจียทางตอนใต้ของเมืองแวนคูเวอร์ แม่น้ำมีความยาว 1,375 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำยาวเป็นอันดับ 10 ของแคนาดา แม่น้ำสายนี้อเล็กซานเดอร์ แมกเคนซี เป็นผู้ค้นพบใน..
ดู ปลาแซลมอนซ็อกอายและแม่น้ำเฟรเซอร์
ดูเพิ่มเติม
ปลาแซลมอน
- ปลาแซลมอน
- ปลาแซลมอนชินูก
- ปลาแซลมอนซ็อกอาย
- ปลาแซลมอนแอตแลนติก
สกุลปลาแซลมอนแปซิฟิก
- ปลาเทราต์บิวะ
- ปลาเรนโบว์เทราต์
- ปลาแซลมอนชินูก
- ปลาแซลมอนซ็อกอาย
- ปลาแซลมอนแปซิฟิก
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Oncorhynchus nerkaRed salmonSockeye salmonปลาแซลมอนแดง