สารบัญ
9 ความสัมพันธ์: ชาลส์ เทต รีกันวงศ์ปลาหลังเขียวสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาหลังเขียวปลาหมากผางปลาที่มีก้านครีบปลาแชดปีเตอร์ เบลเกอร์
- ปลาเศรษฐกิจ
ชาลส์ เทต รีกัน
ลส์ เทต รีกัน (Charles Tate Regan) นักมีนวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 ที่เมืองเชอร์บอร์น มณฑลดอร์เซต จบการศึกษาจากโรงเรียนดาร์บีและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ.
ดู ปลามงโกรยและชาลส์ เทต รีกัน
วงศ์ปลาหลังเขียว
วงศ์ปลาหลังเขียว (วงศ์: Clupeidae) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหลังเขียว (Clupeiformes) โดยมากปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาทะเล นิยมทำเป็นปลากระป๋อง เช่น ปลาซาร์ดีน (Sardina pilchardus) เป็นต้น แต่ก็มีหลายชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis), ปลาหมากผาง หรือ ปลามงโกรยน้ำจืด (Tenualosa thibaudeaui) เป็นต้น ปลาวงศ์นี้มีลักษณะสำคัญคือ ลำตัวค่อนข้างแบนข้าง ริมฝีปากบนเป็นแผ่นกระดูกบาง ๆ มีฟันซี่เล็กละเอียด หรืออาจไม่มีเลยในบางชนิด มีเกล็ดบางแบบขอบเรียบ ปกคลุมทั่วตัว ครีบมีขนาดเล็กไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางมักเว้าลึก ส่วนมากมักมีเกล็ดที่ด้านท้องเป็นสันคม ลำตัวมักเป็นสีเงินแวววาว และด้านหลังเป็นสีเขียวเรื่อ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาไทย โดยมากกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 5 วงศ์ (ดูในตาราง) ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกปลาในวงศ์นี้รวม ๆ กันว่า ปลาเฮร์ริง, ปลาแชด หรือปลาซาร์ดีน เป็นต้น ขณะที่ในภาษาไทยจะเรียกรวม ๆ กันว่า ปลากุแล, ปลากุแลกล้วย, ปลาอกแล, ปลาหมากผาง, ปลาตะลุมพุก, ปลามงโกรย หรือปลาหลังเขียว เป็นต้น.
ดู ปลามงโกรยและวงศ์ปลาหลังเขียว
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ดู ปลามงโกรยและสัตว์มีแกนสันหลัง
อันดับปลาหลังเขียว
อันดับปลาหลังเขียว (อันดับ: Clupeiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Clupeiformes เป็นปลาที่มีถุงลมมีท่อนิวเมติกเชื่อมต่อไปยังลำไส้ เส้นข้างลำตัวมักขาด แต่มีเกล็ดและครีบเช่นปลาในอันดับอื่น ๆ โดยมากแล้วมักจะมีลำตัวสีเงิน และมีส่วนหลังสีเขียว อันเป็นที่มาของชื่อ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยมากแล้วจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร โดยผ่านซี่กรองเหงือก และไม่มีฟัน แต่ก็มีบางชนิดหรือบางวงศ์ที่กินเนื้อเป็นอาหารและมีฟัน เช่นกัน พบทั้งหมด 6 วงศ์ ประมาณ 300 ชนิด ซึ่งปลาในอันดับนี้จะมีชื่อที่เป็นที่รู้จักกันในภาษาไทยเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาหลังเขียว", "ปลาตะลุมพุก", "ปลามงโกรย", "ปลากะตัก", "ปลาไส้ตัน", "ปลาทราย", "ปลากล้วย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "Herring", "Sardine", "Anchovy" หรือ " Shad" เป็นต้น พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะถูกจับนำมาบริโภคในฐานะปลาเศรษฐกิจและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ปลากระป๋องหรือน้ำปลา เป็นต้น โดยคำว่า Clupeiformes นั้นมาจากภาษาละติน "clupea" หมายถึง "ปลาซาร์ดีน" กับคำว่า "forma" หมายถึง "แหลมคม".
ดู ปลามงโกรยและอันดับปลาหลังเขียว
ปลาหมากผาง
ำหรับปลาที่เป็นปลาทะเลหรือปลาน้ำกร่อยดูที่: ปลามงโกรย ปลาหมากผาง (Freshwater herring, Mekong shad, Laotian shad) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa thibaudeaui อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae).
ปลาที่มีก้านครีบ
ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.
ดู ปลามงโกรยและปลาที่มีก้านครีบ
ปลาแชด
ปลาแชด (Shad ITIS) เป็นวงศ์ย่อยของปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alosinae พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ประมาณ 30 ชนิด พบได้ทั้งในทะเล, ชายฝั่ง, แม่น้ำ หรือในแหล่งน้ำจืด และในที่ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง แบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ เช่น Alosa (ปลาแฮร์ริ่งแม่น้ำ), Hilsa (ปลามงโกรย) หรือ Tenualosa (ปลาตะลุมพุก).
ปีเตอร์ เบลเกอร์
ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..
ดู ปลามงโกรยและปีเตอร์ เบลเกอร์
ดูเพิ่มเติม
ปลาเศรษฐกิจ
- ปลากะพงเหลืองห้าเส้น
- ปลาจะละเม็ดขาว
- ปลาฉลาม
- ปลาฉลามหางยาว
- ปลาช่อนทะเล
- ปลาช่อนเหนือ
- ปลาซาร์ดีน
- ปลาซาร์ดีนทะเลสาบ
- ปลาซ่ง
- ปลาดาบลาวยาว
- ปลาตะลุมพุกฮิลซา
- ปลาทิลาเพีย
- ปลาทู
- ปลาทูน่า
- ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ
- ปลาทูน่าครีบยาว
- ปลาทูน่าครีบเหลือง
- ปลานวลจันทร์เทศ
- ปลามงโกรย
- ปลาลัง
- ปลาลิ่น
- ปลาสลิด
- ปลาสวาย
- ปลาสเตอร์เจียน
- ปลาสเตอร์เจียนขาว
- ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก
- ปลาอีโต้มอญ
- ปลาเฉา
- ปลาเผาะ
- ปลาเรนโบว์เทราต์
- ปลาเฮร์ริง
- ปลาเฮร์ริงน้ำจืด
- ปลาแซลมอน
- ปลาแซลมอนชินูก
- ปลาแซลมอนแอตแลนติก
- ปลาแมกเคอเรล
- ปลาแรด
- ปลาแฮลิบัต
- ปลาโอแถบ
- ปลาไน
- วงศ์ปลากะพงแดง
- วงศ์ปลาตูหนา
- วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่
- วงศ์ย่อยปลากะรัง
- อันดับปลาซีกเดียว
- อันดับปลาหนัง
- อันดับปลาไหล
หรือที่รู้จักกันในชื่อ HilsaHilsa keleeKelee shadTenualosa keleeมงโกรยลินโกรยปลาลินโกรย