เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาน้ำกร่อย

ดัชนี ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

สารบัญ

  1. 17 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาตูหนาสปีชีส์ทะเลดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคลองปลาปลากะพงขาวปลาสอดปลาทะเลลึกปลาตาเหลือกปลาน้ำจืดปลาน้ำเค็มปลาแซลมอนน้ำกร่อยน้ำจืดน้ำเค็มแม่น้ำ

  2. มีนวิทยา
  3. ระบบนิเวศในน้ำ

วงศ์ปลาตูหนา

วงศ์ปลาตูหนา (True eel, Freshwater eel) เป็นวงศ์ของปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Anguillidae (/แอน-กิล-ลิ-ดี้/) โดยมาจากภาษาลาตินว่า "Ae" หมายถึง ปลาไหล ซึ่งปลาวงศ์นี้มักจะถูกเรียกรวมกันว่า ปลาตูหนา มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Anguilla และมีทั้งหมด 15 ชนิด กระจายทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกจนถึงออสเตรเลีย พบในประเทศไทยประมาณ 3–4 ชนิด ปลาวงศ์นี้มีฟันคม ปากกว้าง เขี้ยวเล็กละเอียดบนขากรรไกรเป็นร้อย ๆ ซี่ จมูกมีรูเล็ก ๆ เหมือนหลอด 2 ข้าง ใช้สำหรับดมกลิ่นเพื่อนำทางและหาอาหาร ซึ่งปลาตูหนามีประสิทธิภาพในการดมกลิ่นได้ดีกว่าปลาฉลามเสียอีก ครีบอกเป็นรูปกลมรี ครีบหลังยาวติดต่อกับครีบหางที่มนและครีบก้นที่ยาว ลำตัวดูภายนอกเหมือนไม่มีเกล็ด มีเมือกลื่นปกคลุมทั้งตัว แต่แท้จริงมีเกล็ดขนาดเล็กมากเรียงซ้อนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โดยไม่มีเส้นข้างลำตัว เลือดและน้ำเหลืองของปลาตูหนามีพิษ ซึ่งอาจฆ่าสุนัขให้ตายได้ เป็นปลานักล่า สามารถจับกุ้ง, ปู หรือสัตว์เปลือกแข็ง รวมทั้งปลาต่าง ๆ กิน มักอาศัยในแหล่งน้ำใส มีตอไม้, โพรงไม้ หรือซอกหินอยู่มาก อาจขุดรูอยู่ก็ได้ นอกจากบริเวณปากแม่น้ำแล้ว ยังเคยพบไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาอีกด้วย เป็นปลาที่มีวงจรชีวิตแบบ ปลาสองน้ำ คือออกไปวางไข่ในทะเลลึก ปลาวัยอ่อนจึงอพยพกลับมาเลี้ยงตัวที่ชายฝั่งหรือป่าชายเลนก่อนเข้ามาเติบโตในน้ำจืดที่ไกลจากทะเลนับร้อย ๆ กิโลเมตร ลูกปลามีตัวใส เรียวยาวดูคล้ายวุ้นเส้น โดยปกติแล้วเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ แต่จะดุร้ายมากเมื่อถูกจับได้ มีรายงานว่าปลาบางตัวมีอายุมากได้ถึง 105 ปี และอาจยาวได้ถึง 8 ฟุต ในทะเลสาบน้ำจืดที่นิวซีแลนด์พบบางตัวมีน้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์Flesh Ripper, "River Monsters".

ดู ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลาตูหนา

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ดู ปลาน้ำกร่อยและสปีชีส์

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ดู ปลาน้ำกร่อยและทะเล

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ดู ปลาน้ำกร่อยและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

คลอง

ลองในประเทศฝรั่งเศส คลอง (canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง.

ดู ปลาน้ำกร่อยและคลอง

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ดู ปลาน้ำกร่อยและปลา

ปลากะพงขาว

ปลากะพงขาว เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อยู่ในวงศ์ปลากะพงขาว (Latidae) มีรูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างยืดหดได้ มุมปากอยู่เลยไปทางหลังนัยน์ตา ฟันเป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ขอบกระดูกแก้มเป็นหนามแหลม ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกแข็งและคม คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีขาวเงินปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน มีขนาดความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร หนักได้ถึง 60 กิโลกรัม โดยปลาที่พบในทะเลจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาที่พบในน้ำจืด พบกระจายทั่วไปในชายฝั่งทะเลของทวีปเอเชียไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยเป็นปลาที่อพยพไปมาระหว่างทะเลกับน้ำจืด โดยพ่อแม่ปลาจะว่ายจากชายฝั่งเข้ามาวางไข่ในป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักและเติบโตแข็งแรงดีแล้ว จึงจะว่ายกลับสู่ทะเล บางครั้งพบอยู่ไกลจากทะเลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร เช่นที่ แม่น้ำโขง ก็มีเป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำ, ปลา, กุ้ง ที่มีขนาดเล็กกว่า เป็นปลาเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เกษตรกรนิยมผลิตลูกปลาชนิดนี้ส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียและไต้หวัน เนื้อมีรสชาติดี นำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น แปะซะ, นึ่งบ๊วย เป็นต้น และนิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากะพงขาวยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากะพงน้ำจืด" ขณะที่ชื่อท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำบางปะกงเรียก "ปลาโจ้โล้".

ดู ปลาน้ำกร่อยและปลากะพงขาว

ปลาสอด

ปลาสอด (Molly, Moonfish) เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliida) ปลาสอดเป็นปลาพื้นเมืองดั้งเดิมมาจากเม็กซิโกจนถึงเวเนซุเอลา ที่สีสันในธรรมชาติจะเป็นสีน้ำเงินทึม ๆ หรือสีเขียววาว ๆ มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 10-15 เซนติเมตร โดยที่ตัวผู้จะมีสีที่สวยกว่าตัวเมีย รวมทั้งครีบต่าง ๆ ที่ใหญ่ยาวกว่า ขณะที่ลำตัวของตัวเมียนั้นจะใหญ่กว่า ท้องอูมป่องกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน เป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่บริเวณผิวน้ำเป็นฝูง โดยกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย, พืชน้ำขนาดเล็ก รวมทั้งตัวอ่อนของแมลงต่าง ๆ เช่น ลูกน้ำ เป็นต้น โดยบางครั้งอาจพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อย จนกระทั่งในปี ค.ศ.

ดู ปลาน้ำกร่อยและปลาสอด

ปลาทะเลลึก

ปลาไหลกัลเปอร์หนึ่งในปลาน้ำลึกรูปร่างประหลาด ปลาทะเลลึก (Deep sea fish) คือปลาที่พบได้ในทะเลลึกและแสงแดดส่องไม่ถึงจากการสำรวจปลาทะเลลึกนั้นจะมีจำนวนคิดเป็น 2% จากสายพันธ์และสิ่งมีชีวิตในทะเลทั้งหมดโดยพวกมันจะอาศัยอยู่ในก้นสมุทรที่มืดมิด โดยทั่วไปปลาทะเลลึกจะพบอยู่ได้ตั้งแต่ความลึก 1,000-4,000 เมตรหรือบางชนิดอาจอยู่ได้ลึกถึง 4,000-6,000 เมตร ปลาที่เรืองแสงได้ส่วนใหญ่จะพบในระดับความลึกประมาณ 200-1,000 เมตร ระดับความลึกที่มีออกซิเจนน้อยมากจะอยู่ที่ระดับ 700-1,000 เมตรแต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่นั้นด้วยว่ามีแหล่งผลิตออกซิเจนหรือไม่ ซึ่งจากความลึกของสถานที่แห่งนั้นมีทั้งความมืดมิดและหนาวเย็นถึง 3 องศาเซลเซียสจนถึง -1.8 องศาเซลเซียส อีกทั้งยังมีแรงกดดันของน้ำจำนวนมหาสารขนาดความดันระหว่าง 20 ถึง 1,000 เท่าของบรรยากาศ (ระหว่าง 2 ถึง 100 megapascals)จึงเป็นสถานที่ ๆ ยากต่อการสำรวจ ปลาทะเลลึกนั้นจะมีการปรับตัวให้ใช้พลังงานน้อยลง ขนาดเล็กลง มีปากและกระเพาะขนาดใหญ่ มีการเรืองแสงเพื่อหลอกล่อเหยือซึ่งแตกต่างจากปลาผิวน้ำแต่ถึงอย่างนั้นโครงสร้างทางกายภาพเช่นการหายใจ ขับน้ำ การหายใจยังคงเหมือนปลาทะเลแต่จะมีการวิวัฒนาการแปลก ๆ เพื่อให้พวกมันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ถึงอย่างนั้นทะเลลึกก็ยังมี่แหล่งอาหารจากปล่องแบบน้ำร้อนและซากสัตย์จากทะเลด้านบน.

ดู ปลาน้ำกร่อยและปลาทะเลลึก

ปลาตาเหลือก

ปลาตาเหลือก หรือ ปลาตาเหลือกสั้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Megalops cyprinoides; Indo-Pacific tarpon, Pacific tarpon, Oxeye) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อยู่ในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) มีรูปร่างป้อม ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกกรามล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น และมีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น เกล็ดเป็นสีเงินแวววาวตลอดทั้งลำตัว ตามีขนาดโต จึงเป็นที่มาของชื่อ ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 15 กิโลกรัม อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทะเลแดง ชายฝั่งทวีปแอฟริกาและเอเชีย และยังสามารถปรับตัวให้อยู่น้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ด้วย โดยบางครั้งพบว่ายเข้ามาในลำคลองที่ติดกับทะเลหรือนากุ้ง นาเกลือของชาวบ้าน ปลาจะผสมพันธุ์ วางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะเติบโตที่บริเวณปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก นิยมตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย มีชื่อเรียกแตกต่างไปอีกเช่น "ข้าวเหนียวบูด" ภาษาใต้เรียก "เดือน" และภาษายาวีเรียก "บุหลัน" ซึ่งหมายถึง "ดวงจันทร์" เป็นต้น.

ดู ปลาน้ำกร่อยและปลาตาเหลือก

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ดู ปลาน้ำกร่อยและปลาน้ำจืด

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ดู ปลาน้ำกร่อยและปลาน้ำเค็ม

ปลาแซลมอน

วาดปลาแซลมอนชนิดต่าง ๆ ปลาแซลมอน http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID.

ดู ปลาน้ำกร่อยและปลาแซลมอน

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ดู ปลาน้ำกร่อยและน้ำกร่อย

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ดู ปลาน้ำกร่อยและน้ำจืด

น้ำเค็ม

น้ำเค็ม อาจหมายถึง.

ดู ปลาน้ำกร่อยและน้ำเค็ม

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ดู ปลาน้ำกร่อยและแม่น้ำ

ดูเพิ่มเติม

มีนวิทยา

ระบบนิเวศในน้ำ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ปลาสองน้ำ