โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาน้ำกร่อย

ดัชนี ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

57 ความสัมพันธ์: วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกาวงศ์ปลากระทิงวงศ์ปลากระทุงเหววงศ์ปลากะพงขาววงศ์ปลาสลิดหินวงศ์ปลาสอดวงศ์ปลาหัวตะกั่ววงศ์ปลาตูหนาวงศ์ปลาแพะ (ปลาทะเล)วงศ์ปลาแมววงศ์ปลาแซลมอนสกุลมีสทัสสกุลปลาปักเป้าตุ๊กแกอันดับปลาสเตอร์เจียนอันดับปลาไหลนาทะเลสาบอิลิแอมนาทากิฟูงุปลาบู่รำไพปลากระบอกเทาปลากระจังปลากระเบนลายเสือปลากะพงลายปลากะรังลายจุดปลากุเราสี่หนวดปลากดหัวผานปลากดทะเลหัวแข็งปลากดแดงปลามังกงปลาสวยงามปลาสะกางปลาสเตอร์เจียนขาวปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิกปลาหมอโครมายด์เขียวปลาหนวดพราหมณ์ปลาหนวดพราหมณ์หนวดเจ็ดเส้นปลาอุกปลาจุมพรวดปลาทะเลลึกปลาคิลลี่ฟิชปลาตะคองปลาซิวข้าวสารปลาปักเป้าทองปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้ปลาปักเป้าแอมะซอนปลาน้ำจืดปลาน้ำเค็มปลาแพะลายปลาแพะเหลืองปลาแซลมอนปลาแซลมอนชินูก...ปลาแซลมอนซ็อกอายปลาแซลมอนแอตแลนติกปลาไหลนา (สกุล)ปลาไทเมนปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อยปลาเสือตอปาปัวนิวกินีปลาเข็ม ขยายดัชนี (7 มากกว่า) »

วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา

วงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา (African cichlid) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยกระดูกแข็งในวงศ์ Cichlidae หรือปลาหมอสี ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudocrenilabrinae เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงแอฟริกากลาง สามารถแบ่งออกได้เป็นเผ่าต่าง ๆ หลายเผ่า และหลายสกุล โดยแหล่งที่พบที่ใหญ่ที่สุด คือ ทะเลสาบมาลาวี และทะเลสาบแทนกันยีกา รวมถึงทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งเป็นปลาที่ใช้รับประทานเป็นอาหารในท้องถิ่น และส่งออกไปจำหน่ายเป็นปลาเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ซึ่งปลาในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไจแอนท์แทนกันยีกา (Boulengerochromis microlepis) ที่มีความยาวได้ถึง 90 เซนติเมตร ก็อยู่รวมในวงศ์ย่อยนี้ด้วย ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายมากมายทั้งสกุล และชนิด (คาดว่ามีประมาณ 1,900 ชนิด และ 400 ชนิด กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ และสาหร่ายหรือตะไคร่น้ำเป็นอาหาร) มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แตกต่างกันออกไป หลายสกุล หลายชนิดวางไข่ไว้ในเปลือกหอยฝาเดียว บางชนิดก็แทะเล็มตะไคร่น้ำและสาหร่ายตามโขดหินเป็นอาหาร ด้วยฟันขนาดเล็ก ๆ แหลมคมหลายชุด ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้มีการกินอาหารแตกต่างกันไป เช่น กัด, ขูด, ดูด และกลืน บางชนิดก็ล่าปลาขนาดเล็กและปลาหมอสีด้วยกันเป็นอาหาร ด้วยการอยู่นิ่ง ๆ กับที่ หรือฝังตัวอยู่ใต้ทราย หรือแม้กระทั่งแกล้งทำเป็นตาย ด้วยการหยุดการทำงานของช่องเหงือกเพื่อหายใจ บางชนิดก็กินเกล็ดปลาอื่นเป็นอาหาร ขณะที่หลายชนิดมีพฤติกรรมฟักลูกปลาไว้ในปาก แต่ก็ต้องเลี้ยงลูกจำพวกอื่นไปด้วย เช่น ปลาหนังขนาดใหญ่บางชนิด โดยเฉพาะในวงศ์ปลากดคัดคู (Mochokidae) โดยที่ไม่รู้เลยว่านั่นไม่ใช่ลูกของตัว และลูกปลาหนังนั้นก็จะกินลูกปลาหมอสีขณะที่อยู่ในปากด้วยMutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet".

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ย่อยปลาหมอสีแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระทิง

วงศ์ปลากระทิง เป็นวงศ์ปลาในอันดับ Synbranchiformes พบในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีรูปร่างคล้ายปลาไหล แต่ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นแหลม ปากเล็ก จะงอยปากและปลายจมูกเป็นงวงแหลมสั้นปลายแฉก ตาเล็ก ครีบอก ครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางเล็ก ด้านหลังมีก้านครีบแข็งสั้นแหลมคมอยู่ตลอดตอนหน้า มีเกล็ดเล็ก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Mastacembelidae (/มาส-ทา-เซม-เบล-อิ-ดี้/) อาศัยอยู่ใกล้พื้นท้องน้ำหรืออยู่ในโพรงไม้และรากไม้ หรือฝังตัวอยู่ใต้กรวดหรือพื้นทราย พบทั้งหมดประมาณ 27 ชนิด ใน 3 สกุล (ดูในตาราง) กินอาหารจำพวก กุ้งฝอยและปลาขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่เกาะบอร์เนียว พบในประเทศไทยประมาณ 12 ชนิด โดยมีชนิดที่รู้จักกันดี คือ ปลาหลด (Macrognathus siamenis) และ ปลากระทิง (Mastacembelus armatus) นิยมใช้เป็นปลาเพื่อการบริโภค เนื้อมีรสอร่อย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและตกเป็นเกมกีฬาด้ว.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลากระทิง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระทุงเหว

วงศ์ปลากระทุงเหว หรือ วงศ์ปลาเข็มแม่น้ำ (Needlefish) เป็นวงศ์ปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Belonidae (/เบ-ลอน-นิ-ดี/) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่ามาก ปากแหลมยาวทั้งบนและล่าง และภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคม เกล็ดมีขนาดเล็ก เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 130-350 แถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนงประมาณ 14-23 ก้าน ครีบอกใหญ่แข็งแรง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยไล่ล่าปลาขนาดเล็กกว่ารวมทั้งแมลงและสัตว์น้ำต่าง ๆ กิน นิยมอยู่รวมเป็นฝูง หากินตามผิวน้ำ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ส่วนมากจะพบตามบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับปากแม่น้ำ จึงจัดเป็นปลาน้ำกร่อยอีกจำพวกหนึ่ง แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ติดกับวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ ไข่มักจะมีเส้นใยพันอยู่รอบ ๆ และใช้เวลาประมาณ 6-9 วันถึงจะฟักเป็นตัว นับว่านานกว่าปลาในวงศ์อื่นมาก ลูกปลาในวัยอ่อนส่วนปากจะยังไม่แหลมคมเหมือนปลาวัยโต เป็นปลาที่สามารถกระโดดจากผิวน้ำได้สูงมาก ขนาดใหญ่ที่สุดพบยาวถึง 120 เซนติเมตร นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในวงการตกปลาว่า "ปลาเต็กเล้ง" บางชนิดมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่น ปลากระทุงเหวเมือง (Xenentodon canciloides).

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลากระทุงเหว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงขาว

วงศ์ปลากะพงขาว (Perch) วงศ์ปลาวงศ์หนึ่ง เป็นปลากินเนื้อในอันดับ Perciformes พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล พบกระจายในภูมิภาคเขตร้อนตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงทวีปเอเชีย ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Latidae (/เลท-ที-เด-อา/) มีทั้งหมด 11 ชนิด ใน 3 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลากะพงขาว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสลิดหิน

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดทะเล วงศ์ปลาสลิดหิน (Damsel, Demoiselle) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacentridae เป็นปลาทะเลหรือน้ำกร่อยขนาดเล็ก โดยรวมแล้วมีขนาดประมาณ 4-8 เซนติเมตร มีความโดดเด่นตรงที่มีสีสันและลวดลายสดใสสวยงาม จึงเป็นที่นิยมของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแนวปะการัง นับเป็นปลาที่พบได้บ่อยและชุกชุมที่สุดในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูง มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มักกัดทะเลาะวิวาทกันเองภายในฝูง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอน, สาหร่าย และสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ จัดเป็นปลาที่วงศ์ใหญ่ มีจำนวนสมาชิกในวงศ์ประมาณ 360 ชนิด ใน 29 สกุลหรือวงศ์ย่อย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 28 ชนิด โดยที่คำว่า Pomacentridae ที่เป็นภาษาละตินที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น แปลงมาจากภาษากรีกคำว่า "poma" แปลว่า "ปก" หมายถึง "แผ่นปิดเหงือก" และ "kentron" แปลว่า "หนาม" ซึ่งหมายถึง "หนามที่บริเวณแผ่นปิดเหงือกอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปลาในวงศ์นี้" ลักษณะทางชีววิทยา คือ ลำตัวสั้นปอมรูปไขรีแบนขาง เกล็ดเป็นแบบสาก เสนขางตัวขาดตอน ครีบหลังติดกันเปนครีบเดียว มี รูจมูกเพียงคูเดียว ครีบทองอยูในตำแหนงอก ไมมีฟนที่พาลาทีน ปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน โดยมากแล้ว เป็นปลาที่ดูแลไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว โดยทั้งปลาตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล แต่ก็มีบางจำพวกอย่าง ปลาการ์ตูน ที่สามารถเปลี่ยนเพศได้ตามสถานการณ์ โดยปกติแล้วเป็นปลาทะเลและปลาน้ำกร่อย แต่ก็มีบางชนิดเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืดด้ว.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลาสลิดหิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสอด

วงศ์ปลาสอด (Molly) วงศ์ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Poeciliidae อยู่ในอันดับปลาหัวตะกั่ว หรืออันดับปลาออกลูกเป็นตัว (Cyprinodontiformes) มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า "มอลลี่" (Molly) และมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ปลาสอด" ซึ่งเข้าใจว่าคงเพี้ยนมาจากคำว่า "Sword" ที่หมายถึง "ดาบ" อันเป็นลักษณะของปลายหางของปลาในวงศ์นี้บางสกุลที่คล้ายกับวงดาบ มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่สหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก, อเมริกากลาง, จนถึงทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยังพบในบางส่วนของทวีปแอฟริกาทางตอนใต้จนถึงเกาะมาดากัสการ์ด้วย เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมหากินอยู่ตามผิวน้ำ ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะที่แตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน โดยตัวผู้มีรูปร่างเล็กกว่า แต่มีสีสันและครีบต่าง ๆ ยาวกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวโตกว่า ท้องอูมกว่า แต่ครีบและหางสั้นกุดกว่า รวมทั้งสีสันซีดกว่าในบางชนิดด้วย นอกจากนี้ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของปลาวงศ์นี้ คือ เป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว ออกลูกเป็นตัว โดยออกลูกได้ครั้งละ 2-300 ตัว เป็นที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม มีหลายชนิดในหลายสกุล เช่น ปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata), ปลาเซลฟิน (P. latipinna), ปลาเอนด์เลอร์ (P. wingei), ปลาสอดหางดาบ (Xiphophorus hellerii) ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีความหลากหลายจากดั้งเดิมยิ่งขึ้นมากมาย โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ที่เยอรมนี จนเกิดเป็นชนิดใหม่ขึ้นมา เช่น "เพลตี้" (Platy) หรือ ปลาเซลฟินที่ได้ครีบหลังสูงและใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนดูคล้ายใบเรือจริง ๆ หรือ ปลาสอดมิดไนท์ที่พัฒนาจนทั้งตัวเป็นสีดำสนิท สำหรับในประเทศไทย ปลาในวงศ์นี้ ได้ถูกนำเข้ามาสู่ประเทศครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเลี้ยงในอ่างบัวของผู้มีฐานะ จนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นปลาสวยงามที่เป็นที่รู้จักกันดี ด้วยคุณสมบัติที่เลี้ยงง่าย เติบโตไว ขยายพันธุ์ง่าย และมีราคาถูก อีกทั้งยังมีประโยชน์คือสามารถกินแมลงขนาดเล็ก ๆ ทีมีวงจรชีวิตในน้ำได้ด้วย จึงใช้เป็นปลาที่จำกัดลูกน้ำยุงต่าง ๆ มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากินยุง" และยังนิยมเพาะเพื่อเป็นปลาเหยื่อสำหรับปลากินเนื้อขนาดใหญ่กว่าด้วย โดยคำว่า "Poeciliidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "ποικίλος" (poikilos) หมายถึง "มีสีสันที่แตกต่างหลากหลาย".

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลาสอด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหัวตะกั่ว

วงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Killifish, Rivuline, Egg-laying toothcarp) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็ก อยู่ในอันดับ Cyprinodontiformes อันเป็นอันดับเดียวกับวงศ์ปลาสอดหรือปลาหางนกยูง (Poeciliidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Aplocheilidae (/แอ็พ-โล-ไคล-อิ-ดี้/) มีรูปร่างโดยรวมป้อมสั้น ปากแหลม ปากบนยืดหดได้ดี นัยน์ตาโตและอยู่ส่วนบนของหัว ครีบท้องอยู่ใกล้กับครีบก้น เส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์และปรากฏให้เห็นเฉพาะบริเวณเหนือครีบอก ครีบหลังอยู่ใกล้กับครีบหาง ครีบก้นใหญ่ ครีบหางปลายกลมมน เป็นปลาขนาดเล็ก มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ โดยหากินแมลงน้ำ เช่น ลูกน้ำ, ไรแดง เป็นอาหาร มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยวางไข่ติดกับไม้น้ำ และไข่ผูกติดกันเป็นแพ บางชนิดอมไข่ไว้ในปาก เป็นปลาที่มีสมาชิกในวงศ์มากมาย หลายสกุล หลายร้อยชนิด จึงแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง โดยพบตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกาใต้, แอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus panchax) พบได้ในทุกแหล่งน้ำทั่วประเทศ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "คิลลี่ฟิช".

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลาหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตูหนา

วงศ์ปลาตูหนา (True eel, Freshwater eel) เป็นวงศ์ของปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Anguillidae (/แอน-กิล-ลิ-ดี้/) โดยมาจากภาษาลาตินว่า "Ae" หมายถึง ปลาไหล ซึ่งปลาวงศ์นี้มักจะถูกเรียกรวมกันว่า ปลาตูหนา มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Anguilla และมีทั้งหมด 15 ชนิด กระจายทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกจนถึงออสเตรเลีย พบในประเทศไทยประมาณ 3–4 ชนิด ปลาวงศ์นี้มีฟันคม ปากกว้าง เขี้ยวเล็กละเอียดบนขากรรไกรเป็นร้อย ๆ ซี่ จมูกมีรูเล็ก ๆ เหมือนหลอด 2 ข้าง ใช้สำหรับดมกลิ่นเพื่อนำทางและหาอาหาร ซึ่งปลาตูหนามีประสิทธิภาพในการดมกลิ่นได้ดีกว่าปลาฉลามเสียอีก ครีบอกเป็นรูปกลมรี ครีบหลังยาวติดต่อกับครีบหางที่มนและครีบก้นที่ยาว ลำตัวดูภายนอกเหมือนไม่มีเกล็ด มีเมือกลื่นปกคลุมทั้งตัว แต่แท้จริงมีเกล็ดขนาดเล็กมากเรียงซ้อนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โดยไม่มีเส้นข้างลำตัว เลือดและน้ำเหลืองของปลาตูหนามีพิษ ซึ่งอาจฆ่าสุนัขให้ตายได้ เป็นปลานักล่า สามารถจับกุ้ง, ปู หรือสัตว์เปลือกแข็ง รวมทั้งปลาต่าง ๆ กิน มักอาศัยในแหล่งน้ำใส มีตอไม้, โพรงไม้ หรือซอกหินอยู่มาก อาจขุดรูอยู่ก็ได้ นอกจากบริเวณปากแม่น้ำแล้ว ยังเคยพบไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาอีกด้วย เป็นปลาที่มีวงจรชีวิตแบบ ปลาสองน้ำ คือออกไปวางไข่ในทะเลลึก ปลาวัยอ่อนจึงอพยพกลับมาเลี้ยงตัวที่ชายฝั่งหรือป่าชายเลนก่อนเข้ามาเติบโตในน้ำจืดที่ไกลจากทะเลนับร้อย ๆ กิโลเมตร ลูกปลามีตัวใส เรียวยาวดูคล้ายวุ้นเส้น โดยปกติแล้วเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ แต่จะดุร้ายมากเมื่อถูกจับได้ มีรายงานว่าปลาบางตัวมีอายุมากได้ถึง 105 ปี และอาจยาวได้ถึง 8 ฟุต ในทะเลสาบน้ำจืดที่นิวซีแลนด์พบบางตัวมีน้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์Flesh Ripper, "River Monsters".

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลาตูหนา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแพะ (ปลาทะเล)

วงศ์ปลาแพะ หรือ วงศ์ปลาหนวดฤๅษี (Mullidae) เป็นวงศ์ของปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยกระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mullidae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีเกล็ดขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นแบบสากเล็กน้อย ส่วนหัวมีเกล็ด ครีบหลังมีสองตอน ตอนแรกมีก้านครีบแข็ง 6-8 ก้าน ครีบ มีครีบหางแบบเว้าลึก ใต้คางมีหนวด 1 คู่ ที่ไวต่อความรู้สึก ใช้สำหรับคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามหน้าดิน เช่น พื้นทราย ซึ่งดูแล้วเหมือนหนวดเคราของแพะ อันเป็นที่มาของชื่อ พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งและแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมหาสมุทรอินเดีย โดยอยู่รวมกันเป็นฝูง แบ่งออกได้เป็น 6 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 55 ชนิด ในน่านน้ำไทยพบได้หลายชนิด อาทิ ปลาแพะเหลืองทอง (Parupeneus heptacanthus), ปลาแพะลาย (Upeneus tragula), ปลาแพะเหลือง (U. sulphureus), ปลาแพะขนุน (Mulloidichthys flavolineatus) เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลาแพะ (ปลาทะเล) · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแมว

วงศ์ปลาแมว หรือ วงศ์ปลากะตัก หรือ วงศ์ปลาหางไก่ (Anchovy) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็ง ในอันดับ Clupeiformes อันเป็นอันดับเดียวกับวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Engraulidae.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลาแมว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแซลมอน

วงศ์ปลาแซลมอน (Salmonidae) เป็นวงศ์ของปลาที่มีก้านครีบ ในปัจจุบัน สายพันธุ์ปลาที่อยู่ในวงศ์นี้มีเพียงแค่ ปลาแซลมอน, ปลาเทราต์, ปลาชาร์, ปลาขาวน้ำจืด และ ปลาเกรย์ลิง โดยปกติปลาในวงศ์นี้จะวางไข่ในน้ำจืด แต่ก็มีหลายกรณี ที่พวกมันใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเลและหวนกลับมาวางไข่ในน้ำจืด ซึ่งทำให้ปลาในวงศ์นี้ถูกจัดอยู่ในประเภทปลาน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้หาอาหารโดยการล่าสัตว์พวกกุ้งกั้งปู, แมลง และปลาขนาดเล็ก แม้ว่าสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดของปลาในวงศ์นี้จะมีความยาวเพียง 13 เซนติเมตรเมื่อโตเต็มที่ก็ตามที แต่ก็มีสายพันธุ์ที่สามารถมีความยาวได้ถึง 2 เมตรเมื่อโตเต็มที.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและวงศ์ปลาแซลมอน · ดูเพิ่มเติม »

สกุลมีสทัส

กุลมีสทัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลากด (Bagridae) ในอันดับปลาหนัง (Siluformes) ใช้ชื่อสกุลว่า Mystus (/มีส-ทัส/) เดิมทีสกุลนี้มิได้มีการกำหนดชนิดต้นแบบไว้ ต่อมาภายหลัง ได้มีการการกำหนดให้ Bagrus halapenesis เป็นต้นแบบ แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีนักมีนวิทยาหลายท่านได้ให้การรับรองและนำมาตั้งเป็นชื่อปลาที่ตนเองค้นพบ เช่น เค.ซี. จารายาม ในปี ค.ศ. 1977, ค.ศ. 1978 และค.ศ. 1981, มัวรีซ คอทเทเลท ในปี ค.ศ. 1985, ดับเบิลยู.อี. เบอร์เกส ในปี ค.ศ. 1989 และไทสัน โรเบิร์ตส์ ในปี ค.ศ. 1989 และค.ศ. 1992 เป็นต้น มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวยาว ผิวหนังเรียบ หัวแบน นัยน์ตาเล็ก ปากกว้าง รูปปากตัดตรง ขากรรไกรบนยาวกว่าขากรรไกรล่างเล็กน้อย ปากมีริมฝีปากโดยรอบ ฟันที่ขากรรไกรเป็นซี่เล็กละเอียด ฟันที่กระดูกเพดานเรียงเป็นแผ่นโค้งเล็กน้อย ช่องเหงือกกว้าง โดยเฉพาะด้านล่าง หนังริมกระดูกแก้มทั้งสองข้างแยกจากกันเป็นอิสระไม่ติดกับเอ็นคาง กระดูกกะโหลกบางชนิดไม่เรียบและมีร่องที่กึ่งกลางกะโหลก กระดูกท้ายทอยส่วนหลังยื่นยาวเป็นกิ่ง บางส่วนเปลือย และบางส่วนซ่อนอยู่ใต้ผิวหนัง มีหนวด 4 คู่ คือ หนวดขนาดเล็กและที่สั้นจมูก 1 คู่ หนวดที่ริมปากบนยาวเลยหัว 1 คู่ และมีหนวดที่คางสั้นกว่าความยาวหัว 1 คู่ ครีบหลังมีด้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย 1 ก้าน และครีบแขนง 6 ก้าน มีครีบไขมัน 1 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยวเป็นเงี่ยงแข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย ปลายครีบยาวไม่ถึงฐานของครีบท้อง ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึกแยกเป็น 2 แฉก แต่ขนาดไม่เท่ากัน โดยปลายแฉกบนในบางชนิดแยกออกมาเป็นครีบเดี่ยวที่เรียวยาวเหมือนหางเปีย ในอดีต ปลากดในสกุลมิสทัสนี้เคยรวมอยู่เป็นสกุลเดียวกันกับ Bagrus, Hemibagrus และSperata แต่ต่อมาได้มีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่ามีความแตกต่างกันพอสมควร จึงมีการจับแยกกันในปัจจุบัน ซึ่งปลาในสกุลมีสทัสนี้ถือว่าเป็นปลาที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ในภาษาไทยอาจเรียกชื่อสามัญได้ว่า "ปลาแขยง" พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์ โดยในปี..

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและสกุลมีสทัส · ดูเพิ่มเติม »

สกุลปลาปักเป้าตุ๊กแก

กุลปลาปักเป้าตุ๊กแก เป็นสกุลของปลาน้ำกร่อยและน้ำเค็มจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Chelonodon (/ซี-ลอน-โอ-ดอน/) มีลักษณะที่สำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ครีบหลังอยู่ใกล้กับครีบหาง มีก้านครีบแขนง 9-16 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 8-15 ก้าน เยื่อจมูกยื่นออกมาเป็นแผ่น ใต้ครีบหลังและโคนหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 1 จุด พบทั้งหมด 3 ชนิด ทั้งหมดเป็นปลาน้ำเค็มหมด และเป็นปลาที่ปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อยเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ได้แก.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและสกุลปลาปักเป้าตุ๊กแก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาสเตอร์เจียน

Peipiaosteidae - ''Yanosteus longidorsalis'' อันดับปลาสเตอร์เจียน (อันดับ: Acipenseriformes, Sturgeon, Paddlefish) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ที่อยู่ในชั้นย่อย Chondrostei เช่นเดียวกับปลาในอันดับ Polypteriformes หรือ ปลาไบเคอร์ ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่พบในทวีปแอฟริกา ปลาในอันดับปลาสเตอร์เจียน นี้เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ อาจยาวเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 5-10 เมตร เป็นปลาน้ำจืดที่จัดเป็นปลาสองน้ำ ที่มีวงจรชีวิตในช่วงวัยอ่อนอยู่ในชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ มีรูปร่างโดยทั่วไปภายนอกคล้ายปลาฉลาม ที่เป็นปลากระดูกอ่อน ลักษณะโดยรวมของปลาในอันดับนี้ คือ มีเกล็ดเป็นแบบกานอยด์ คือ เกล็ดสาก ซึ่งเป็นเกล็ดที่พบในปลามีกระดูกสันหลังในยุคแรก มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมรูปว่าวและมีส่วนยื่นรับกับข้อต่อ ระหว่างเกล็ดแต่ละชิ้น มีลำไส้ที่ขดเป็นเกลียวมากกว่าปลากระดูกแข็งในอันดับอื่น ๆ ในปัจจุบัน เหลือปลาในอันดับเพียง 2 วงศ์เท่านั้น คือ วงศ์ปลาสเตอร์เจียน (Acipenseridae) และ วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด (Polyodontidae) พบทั้งหมดราว 28 ชนิด จากที่เคยมีทั้งหมด 4 วงศ์ แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและอันดับปลาสเตอร์เจียน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหลนา

อันดับปลาไหลนา (Swamp eel) เป็นอันดับของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยกระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Synbranchiformes มีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวคล้ายปลาในอันดับปลาไหล (Anguilliformes) หรือปลาไหลแท้ ที่มีขนาดใหญ่กว่าและพบได้ในทะเลด้วย แต่ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก แบบบางเรียบ หรือบางชนิดไม่มีเกล็ด ขอบปากของขากรรไกรบนเจริญมาจากกระดูกพรีแม็กซิลลา และกระดูกแม็กซิลลา คู่ขนานกันกับกระดูกฮูเมอรัล อาร์คไม่สามารถยืดหดได้ มีฟันบนขากรรไกร และเพดานปาก ไม่มีครีบท้อง ช่องเปิดเหงือกมีขนาดเล็กอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว หรือบริเวณคอหอย มีกระดูกแกนเหงือก 3-4 อัน อาจมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ครีบเดี่ยวอาจเสื่อมไป หรือมีหนังคลุม อาจมีหรือไม่มีครีบคู่ ไม่มีกระเพาะลม เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ แผ่นหนังหุ้มกระดูกกระพุ้งแก้มเชื่อมต่อกับคอคอด ตามีขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่เกาะบอร์เนียว โดยแบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและอันดับปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบอิลิแอมนา

ฝั่งทะเลสาบอิลิแอมนา ทะเลสาบอิลิแอมนา (Iliamna Lake, Lake Iliamna) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลสาบอิลิแอมนาตั้งอยู่ในทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐอะแลสกา ทางเหนือจรดคาบสมุทรอะแลสกา ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวควีแจ็กกับเวิ้งคุก ทะเลสาบอิลิแอมนา เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในอะแลสกา และถือเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่เป็นอันดับแปดของสหรัฐอเมริกา และเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของทวีปอเมริกาเหนือ พื้นที่ทะเลสาบครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,000 ตารางไมล์ มีความยาว 77 ไมล์ ความกว้าง 22 ไมล์ และจุดที่ลึกที่สุดลึกถึง 1,000 ฟุต โดยเฉลี่ยน้ำในทะเลสาบจะมีอุณหภูมิประมาณ 50 องศาฟาเรนไฮต์ (10 องศาเซลเซียส) ได้รับน้ำจากแม่น้ำควีแจ็ก และไหลออกสู่อ่าวบริสตอล คำว่า "อิลิแอมนา" มีความหมายว่า "ทะเลสาบปลาดำ" รอบ ๆ ทะเลสาบเป็นถิ่นที่อยู่ชนพื้นเมืองอะแลสกามานานกว่า 7,000 ปี โดยพื้นที่นี้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น หมีกริซลีย์, ปลาแซลมอนซ็อกอาย เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นไม่กี่แห่งในโลกที่พบแมวน้ำน้ำจืดอยู่ด้วย โดยแมวน้ำจะว่ายมาจากทะเลมาทางอ่าวบริสตอล รวมทั้งอาจพบวาฬเบลูกา หรือวาฬขาวว่ายเข้ามาได้ด้วย ชนพื้นเมืองอะแลสกา มีความเชื่อว่า ณ ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่อยู่ของสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ ที่ลำตัวใหญ่พอที่จะชนเรือให้จม และทำให้ผู้คนจมน้ำตายได้ ซึ่งถ้าหากใครพบเจอสัตว์ประหลาดจะพบกับความอัปมงคลหรือถึงแก่ชีวิตในไม่ช้า ซึ่งมีผู้เคยตกปลา ณ ทะเลสาบแห่งนี้ ผูกสายเบ็ดของตนไว้กับตอไม้ขนาดใหญ่ ปรากฏว่า เมื่อปลาติดเบ็ดมันลากตอไม้นั้นทั้งตอลงในน้ำในแบบที่ทวนกระแสน้ำ รวมถึงมีผู้ที่เคยมองเห็นเงาดำของสัตว์ในน้ำขนาดใหญ่ เมื่อมองจากเครื่องบินด้วย ซึ่งสัตว์ประหลาดในทะเลสาบอิลิแอมนานี้ เชื่อว่า คือ ปลาไพก์เหนือ ซึ่งเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ที่มีฟันแหลมคมในปาก ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ และปลาสเตอร์เจียนขาว ซึ่งเป็นปลาสองน้ำขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ที่เมื่อโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 20 ฟุต ก็อาศัยอยู่ในทะเลสาบแห่งนี้Alaskan Horror, "River Monsters" สารคดีทางแอนิมอลแพลเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและทะเลสาบอิลิแอมนา · ดูเพิ่มเติม »

ทากิฟูงุ

ทากิฟูงุ (Takifugu; トラフグ属.) เป็นชื่อวิทยาศาสตร์เรียกสกุลหนึ่งของปลาปักเป้าในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญภาษาญี่ปุ่นว่า "ฟูงุ" (河豚-แปลว่า หมูแม่น้ำ) เนื่องจากเป็นปลาปักเป้าสกุลที่นิยมนำมาทำซาชิมิหรือปลาดิบ อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อไปทั่วโลก โดยใช้ชื่อสกุลว่า Takifugu.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและทากิฟูงุ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบู่รำไพ

ปลาบู่รำไพ (Queen of Siam goby, Queen Rambai's goby) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) มีลำตัวยาวทรงกระบอก หัวเล็ก ปากกว้างในตัวผู้ เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวมีสีคล้ำหรือสีน้ำตาล ขอบเกล็ดมีแต้มสีคล้ำหลังช่องเหงือกด้านบนมีดวงรีสีดำและขอบสีจาง ครีบหลังมีลายสีดำและขอบสีจาง ครีบหางมีลายเส้นสีคล้ำ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3-6 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกลุ่มกันเป็นฝูงใหญ่ใต้ท้องน้ำ พบกระจายพันธุ์อยู่ในอินเดีย, พม่า, ไทย, มาเลเซียจนถึงอินโดนีเซีย ในบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นป่าจากหรือเป็นแหล่งน้ำกร่อย ในประเทศไทยพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ทั้งฝั่งตะวันตก ส่วนฝั่งตะวันออกพบเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช ปลาบู่รำไพ ถูกค้นพบครั้งแรกในคลองสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และถูกอนุกรมวิธานโดย ดร.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาบู่รำไพ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระบอกเทา

ปลากระบอกเทา (Flathead mullet, Grey mullet, Striped mullet) เป็นปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระบอก (Mugilidae) มีลักษณะทั่วไป คือ เป็นปลาที่มีลำตัวยาวป้อมหัวแหลม ที่ตามีเยื่อไขมันคลุม ปากเล็ก ครีบหลังมีสองอัน ส่วนหลังเป็นสีเทาหรือน้ำตาล ด้านข้างเป็นสีเงินวาวท้องขาว ข้างลำตัวมีแถบสีดำบาง ๆ พบมีอยู่ทั่วไปในเขตร้อนและเหนือหรือใต้เขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับในไทยมีรายงานว่าพบที่จังหวัดสงขลาแต่ไม่มาก วงจรชีวิตของปลากระบอกเทาคล้ายกับปลานวลจันทร์ทะเล ซึ่งเป็นปลาคนละวงศ์กัน กล่าวคือ ผสมพันธุ์วางไข่ในทะเลแล้วลูกปลาจะเข้ามาหากินและเจริญเติบโตในบริเวณชายฝั่ง ปลาจะเจริญเติบโตในบริเวณชายฝั่งและจะโตเต็มวัยพร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ปลาเพศเมียจะมีไข่ตั้งแต่ 1-3 ล้านฟอง แล้วแต่ขนาดของปลา ปลาจะวางไข่ในทะเลลึกนอกชายฝั่งที่มีอุณหภูมิในช่วง 21-25 องศาเซลเซียส ลักษณะไข่ปลาเป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอยลูกปลาที่ฟักเป็นตัวจะถูกกระแสน้ำพัดพาเข้าในบริเวณชายฝั่ง ลูกปลาช่วงวัยอ่อนจะกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหารเมื่อลูกปลาเจริญได้ขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร ก็จะเปลี่ยนอุปนิสัยการกินอาหารมากินพืชแทน ปลากระบอกเทาเป็นปลาที่กินพืชที่แท้จริงจัดอยู่ในขั้นอาหารที่สอง เป็นปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ง่าย และสามารถหาอาหารกินได้ในทุกระดับน้ำ ปลากระบอกเทาจะกินโดยวิธีการดูดหรือแทะเล็มที่พื้นผิววัสดุซึ่งมีทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร แต่จะมีอวัยวะกรองที่คอเรียกว่า "Phary ngeal fitering device" แยกตะกอนอาหารออกจากตะกอนที่ไม่ใช่อาหารแล้วพ่นตะกอนที่ไม่ใช่อาหารออกมาและส่วนที่เป็นอาหารก็จะกลืนลงสู่กระเพาะอาหารส่วนลำไส้จะยาวมาก ขดอยู่หลังกระเพาะอาหารยาวประมาณ 5 เท่าของตัวปลา ลูกปลากระบอกเทา ปัจจุบัน ปลากระบอกเทา มีการทดลองเลี้ยงและส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับปลากระบอกชนิดอื่น ๆ โดยเลี้ยงกันในบ่อดิน นอกจากนี้แล้วยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย นับเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย สามารถปรับตัวให้เข้ากับที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลากระบอกเทา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระจัง

ปลากระจัง หรือ ปลาตีนเขี้ยว (Giant mudskipper) เป็นปลาทะเลและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) วงศ์ย่อยปลาตีน (Oxudercinae) เป็นปลากระดูกแข็งมีขนาดลำตัวยาวตั้งแต่ 5-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาตีนที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีครีบคู่หน้า ครีบอกที่แข็งแรงใช้ครีบอกที่แข็งแรงใช้ครีบกระโดดเป็นช่วง ๆ ไปมาบนพื้นเลน และคลานขึ้นต้นไม้ หรือยึดเกาะกับต้นโกงกางหรือแสม ตัวผู้มีขนาดลำตัวแบนเล็กน้อย มีเกล็ดปกคลุมทั่วลำตัว มีฟันเขี้ยวซี่เล็ก ๆ ขบซ้อนเหลื่อมกันทั้งริมขากรรไกรบนและล่าง ตำแหน่งของปากอยู่ปลายสุดของหัวขนานกับพื้น ลำตัวมีสีเทาแถบสีน้ำตาลพาดบริเวณหัวและตามตัวมีจุดวาวสีเขียวมรกต ปลายครีบหลังสีขาว, สีน้ำตาล, สีน้ำเงินแวววาวเหมือนมุก ส่วนตัวเมียสีลำตัวค่อนข้างเหลือง เมื่ออยู่บนบก จะหายใจผ่านผิวหนังและช่องเหงือก กินอาหารจำพวกลูกกุ้ง, ลูกปู, ตัวอ่อนของสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ, สาหร่าย และซากพืชและสัตว์บนผิวเลน ในฤดูผสมพันธุ์ ปลากระจังตัวผู้จะมีสีเข้มขึ้น จะใช้ปากขุดโคลนสร้างหลุม เพื่อไว้เป็นที่ผสมพันธุ์ และมีพฤติกรรมหวงเขตแดนเมื่อมีตัวผู้อื่นเข้ามารุกล้ำจะกางครีบหลังขู่และเคลื่อนที่เข้าหาผู้บุกรุกเพื่อต่อสู้ด้วยการกัดทันที กระจายพันธุ์ไปในป่าชายเลนที่มีพื้นเป็นเลนหรือโคลน ตั้งแต่อ่าวเบงกอล, ชายฝั่งทะเลอันดามัน, คาบสมุทรมลายู และเกาะบอร์เนียว เป็นปลาที่มักถูกจับกินเป็นอาหารสำหรับชาวพื้นถิ่น และถูกจับขายเป็นปลาสวยงามด้ว.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลากระจัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนลายเสือ

ปลากระเบนลายเสือ (Marbled whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระเบนชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน หางยาว โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ 1 หรือ 2 ชิ้น ที่สามารถงอกใหม่ได้เมื่อหลุดหรือหักไป หางไม่มีริ้วหนัง พื้นลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเหลือง กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ มีจุดดำคล้ายลายของเสือดาวกระจายอยู่ทั่วตัวไปจนปลายหาง อันเป็นที่มาของชื่อ พื้นลำตัวด้านล่างสีขาว หากินตามพื้นท้องน้ำโดยอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, สัตว์หน้าดิน และสัตว์มีเปลือก จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง มีขนาดความกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร หางยาว 1.2 เมตร น้ำหนักตั้งแต่ 3-5 กิโลกรัม ปลากระเบนลายเสือเป็นปลาน้ำกร่อยที่พบอาศัยอยู่ค่อนมาทางน้ำจืด เป็นปลาที่พบน้อย พบได้ตามปากแม่น้ำ เช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปากแม่น้ำโขง, แม่น้ำแม่กลอง, ทะเลสาบเขมร และพบได้ไกลถึงปากแม่น้ำบนเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซีย แต่มีรายงานทางวิชาการว่าพบครั้งแรกที่แม่น้ำน่าน เนื่องจากเป็นปลาที่มีลวดลายสวยงามจึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีราคาแพง แต่มักจะเลี้ยงไม่ค่อยรอดเพราะปลามักประสบปัญหาปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือภาวะแวดล้อมในที่เลี้ยงไม่ค่อยได้ ปลากระเบนลายเสือมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า "ปลากระเบนเสือดาว", "ปลากระเบนลาย" หรือ "ปลากระเบนลายหินอ่อน".

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลากระเบนลายเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงลาย

ปลากะพงลาย (Silver tiger fish, American tiger fish) เป็นปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides polota อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ทว่ามีช่วงปากและรูปทรงลำตัวที่เรียวยาวและแหลมกว่าปลาเสือตอลายใหญ่ (D. pulcher) หรือ ปลาเสือตอลายเล็ก (D. undecimradiatus) และมีสีของลำตัวออกขาวเหลือบเงินและเขียวแวววาว ลายแถบสีดำบนลำตัวมีขนาดเรียวเล็ก ลายแถบตรงข้อหางแถบสุดท้ายเป็นขีดขาดกันแลดูคล้ายจุดสองขีด ขนาดความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร นับว่าใกล้เคียงกับปลาเสือตอลายเล็ก พบกระจายพันธุ์บริเวณปากแม่น้ำหรือป่าโกงกางชายฝั่งทะเลที่เป็นน้ำกร่อย ตั้งแต่อินเดียจนถึงปาปัวนิวกินี และออสเตรเลีย ปลากะพงลายเป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งจะมีชื่อเรียกในการค้าขายว่า "ปลาเสือตอแปดริ้ว", "ปลาเสือตอบางปะกง" หรือ "ปลาเสือตอน้ำกร่อย" นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่น อีก เช่น "ปลาลำพึง", "ปลาลำพัง", "ปลากะพงแสม" หรือ "ปลากะพงหิน" เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลากะพงลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะรังลายจุด

ปลากะรังลายจุด หรือ ปลากะรังน้ำกร่อย (Brown spotted grouper, Estuary grouper, Malabar grouper, Greasy cod, Spotted river cod, Estuary rock cod) ปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลากะรังทั่วไป พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในบริเวณชายฝั่งหรือปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ตั้งแต่ทะเลแดง, อินโด-แปซิฟิก จนถึงทะเลญี่ปุ่น และออสเตรเลีย กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร มีขนาดโตเต็มที่ได้มากกว่า 120 เซนติเมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 150 กิโลกรัม นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ โดยลูกปลาขนาดเล็กจะเลี้ยงตัวเองในบริเวณที่เป็นปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน โดยปลาที่โตเต็มวัยจะผสมพันธุ์และวางไข่ในทะเล และที่สำคัญยังสามารถเปลี่ยนเพศได้อีกตามวัย โดยลูกปลาที่อยู่ในวัยไม่เกิน 3 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม จะเป็นเพศเมียทั้งหมด และเมื่อเติบโตขึ้นมาจนน้ำหนักเกิน 7 กิโลกรัมขึ้นไป จะกลายเป็นเพศผู้ การผสมพันธุ์จะเกิดจากปลาเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่กว่าปลาเพศเมีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่มีการนิยมเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางในกระชังหรือบ่อดินริมทะเบหรือบริเวณน้ำกร่อยในหลายพื้นที.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลากะรังลายจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากุเราสี่หนวด

ปลากุเราสี่หนวด (Fourfinger threadfin, Indian salmon) เป็นปลาทะเลและน้ำกร่อย ในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae) มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวค่อนข้างหนา แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้น ตามีเยื่อไขมันปกคลุมและอยู่ใกล้ปลายจะงอย ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย และมีฟันแหลมคม ลักษณะเด่นคือ ก้านครีบส่วนล่างของครีบหูแยกออกเป็นเส้นรยางค์ 4 เส้น ซึ่งภาษาพูดเรียกกันว่าหนวด มีครีบหลังแยกห่างกัน 2 อัน ครีบหางเป็นแฉกลึก ส่วนของลำตัวที่อยู่แนวสันหลังสีเทาปนเขียว ส่วนที่อยู่ถัดลงมาสีเนื้อและสีขาวเงิน ครีบหลังและครีบหางมีรอยแต้มสีเทาที่ปลาย ครีบอื่น ๆ สีเหลือง มีขนาดโดยเฉลี่ย 40-60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบ 2 เมตร เป็นปลาที่หากินอยู่ตามหน้าดินที่เป็นดินโคลน บางครั้งเข้ามาหากินอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด พบทั่วไปในอ่าวเปอร์เซีย, อินเดีย, อ่าวไทย, ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ รับประทานได้ทั้งสดและแปรรูปทำเป็นปลาเค็ม.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลากุเราสี่หนวด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดหัวผาน

ปลากดหัวผาน (Shovelnose sea catfish) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemiarius verrucosus อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae).

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลากดหัวผาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดทะเลหัวแข็ง

ปลากดทะเลหัวแข็ง (Hardhead catfishes) เป็นสกุลของปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อย ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius (/อา-เรียส/) ลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้ ได้แก่ มีฟันที่เพดานปากอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมีจำนวนหนวดซึ่งมีอยู่ 3 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ ริมฝีปากล่าง 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ รูจมูกอยู่ใกล้กัน ปลาในสกุลนี้ แม้จะเป็นปลาทะเล แต่ก็มีหลายชนิดที่เข้ามาหากินและอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำจืดที่ห่างไกลทะเลมาก เช่น แม่น้ำสาละวิน ตัวผู้จะทำหน้าที่อมไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้ว จนกระทั่งฟักเป็นตัว การจำแนกชนิดกระทำได้จากการสังเกตจากรูปร่างและขนาดของหัว ตำแหน่งและรูปร่างของครีบบางครีบ และครีบท้องเปลี่ยนรูปเป็นอวัยวะพิเศษผิดไปจากเดิม พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงเอเชียอาคเน.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลากดทะเลหัวแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดแดง

ปลากดแดง (Engraved catfish) เป็นปลาหนังน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nemapteryx caelata ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างอ้วนป้อม หัวโตมีหนวด 6 เส้นอยู่รอบปาก ครีบไขมันเล็กมีจุดสีดำ ครีบหลังแหลมยาวเหมือนปลาเทพา ซึ่งเป็นปลาคนละสกุลและคนวงศ์กัน ลำตัวมีสีเทา ครีบหางมีขนาดเล็ก อาศัยอยู่เป็นฝูง ในชายฝั่งใกล้ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลนของเอเชียตะวันออก พบได้ตั้งแต่อินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ, พม่า, ไทย จนถึงชายทะเลอินโด-ออสเตรเลีย แต่ไม่พบในฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามเรียกว่า "ปลากดเทพา" และยังมีชื่ออื่น เช่น "ปลากดหัวโม่ง".

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลากดแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลามังกง

ปลามังกง หรือ ปลาอีกง (Long-whiskered catfish) เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง เป็นปลาหนังอยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมหนา ปกติมีสีเทาอมทอง หรือเทาอมม่วง ท้องมีสีขาว กินกุ้ง, ตัวอ่อนของแมลง, แพลงก์ตอนพืชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดประมาณ 12-15 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 46 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่บริเวณน้ำกร่อยหรือปากแม่น้ำ พบชุกชุมที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา คำว่า "บางปะกง" นั้นก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "บางมังกง" อีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้ปลามังกงยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกมาก เช่น ปลากดหมู, ปลากด, ปลาแขยงกง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจและนิยมรวบรวมลูกปลาวัยอ่อนขายเป็นปลาสวยงามด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน โดยจะว่ายไปวางไข่ในบริเวณน้ำจื.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลามังกง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะกาง

ปลาสะกาง หรือ ปลากระมัง เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อย ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) 4 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Puntioplites (/พุน-ทิ-อ็อพ-ลิ-ทีส/) มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หัวมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด ตาโต มีจุดเด่นคือ สันหลังยกสูงและครีบหลังก้านสุดท้ายแข็งและมีขนาดใหญ่ ยกสูง ด้านหลังของก้านครีบนี้มีทั้งรอยยักและไม่มีรอยยัก ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด มีก้านครีบแขนง 8 ก้าน พบกระจายพันธุ์อยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย, แม่น้ำโขง และคาบสมุทรมลายูไปจนถึงเกาะบอร์เนียว, เกาะชวา และเกาะซูลาเวซี มีชนิดด้วยกันทั้งหมด คือ.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาสะกาง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเตอร์เจียนขาว

ปลาสเตอร์เจียนขาว (Beluga, European sturgeon, Giant sturgeon, Great sturgeon; Белуга-แปลว่า สีขาว) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Acipenseridae มีลักษณะลำตัวยาว ส่วนของหางเหมือนปลาฉลาม มีเกล็ดเป็นหนามแหลม ๆ เรียงเป็นแถวอยู่บนลำตัว ปลายปากเรียวแหลม ช่องปากอยู่ด้านล่างของลำตัวมีหนวดขนาดเล็กหลายเส้นรอบ ๆ ปากไว้รับสัมผัส ส่วนหลังมีสีดำอมเทา ส่วนท้องและขอบครีบต่าง ๆ มีสีขาว เมื่อยังเล็กส่วนท้องจะมีสีขาว ส่วนขอบของครีบมีสีขาว พื้นลำตัวมีสีเทาและหนามบนหลังมีสีขาว จึงเป็นที่มาของชื่อ ปลาสเตอร์เจียนขาว นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 5 เมตร น้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม และมีบันทึกว่าพบใหญ่ที่สุดถึง 9 เมตร นับเป็น 2 เท่าตัวของความยาวปลาฉลามขาว ด้วยซ้ำจึงจัดว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ในธรรมชาติพบการแพร่กระจายในเขตหนาวของทวีปยุโรป เช่น ทะเลดำ, ทะเลสาบแคสเปียน และทะเลเอเดรียติก หากินอยู่ตามพื้นน้ำโดยใช้หนวดสัมผัส อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ใน..

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาสเตอร์เจียนขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก

ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาสเตอร์เจียนขาว (Pacific sturgeon, White sturgeon; หมายถึง "ปลาสเตอร์เจียนที่ใหญ่กว่าภูเขา") เป็นปลาสเตอร์เจียนชนิดหนึ่ง มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาสเตอร์เจียนชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์ในเขตน้ำเย็นของชายฝั่งอ่าวมอนเทอเรย์ของทวีปอเมริกาเหนือ หมู่เกาะอาลิวเชียน ทะเลสาบอิลลิแอมนาในรัฐอะแลสกา แม่น้ำโคลอมเบียในแคนาดา ไปจนถึงแคลิฟอร์เนียตอนกลาง ใต้ส่วนหัวมีหนวดใช้สำหรับสัมผัสหาอาหารใต้น้ำเป็นอาหาร 4 เส้น กินอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กทั่วไป และสัตว์น้ำมีกระดอง เช่น ปู กุ้ง และหอย ส่วนหัวมีเส้นประสาทเป็นจำนวนมาก ข้างลำตัว ส่วนหัว และส่วนหลังมีกระดูกยื่นออกมาโดยรอบใช้สำหรับป้องกันตัว จัดเป็นปลาสองน้ำจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ทะเลสาบ หรือบริเวณปากแม่น้ำในวัยอ่อน แต่เมื่อโตขึ้นจะว่ายอพยพลงสู่ทะเลบริเวณชายฝั่ง และเมื่อถึงฤดูวางไข่ก็จะว่ายกลับมาวางไข่ในแหล่งน้ำจืดอีกครั้ง ปลาสเตอร์เจียนขาวนับเป็นปลาสเตอร์เจียนที่มีความใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ ปลาสเตอร์เจียนฮูโซ่ (Huso huso) และนับเป็นปลาสเตอร์เจียนที่มีความใหญ่ที่สุดที่อยู่ในสกุล Acipenser ด้วย โดยเคยมีบันทึกไว้ว่าตัวที่ใหญ่ที่สุดยาวถึง 20 ฟุต และน้ำหนักถึง 816 กิโลกรัม เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้นานถึง 200 ปี จัดเป็นปลาเศรษฐกิจและนิยมตกกันเป็นเกมกีฬา นอกจากนี้แล้ว ปลาสเตอร์เจียนขาวยังสามารถกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วยเมื่อตกใจ ทั้ง ๆ ที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เรือของชาวประมงและชาวพื้นเมืองอับปาง และมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ จึงทำให้ได้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสัตว์ประหลาดแห่งทะเลสาบอิลลิแอมนา โดยที่ชาวพื้นเมืองมีความเชื่อหากได้พบเจอกับสัตว์ประหลาดตัวนี้แล้วจะพบกับความหายน.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอโครมายด์เขียว

ปลาหมอโครมายด์เขียว (Green chromide, Pearlspot cichild; มาลายาลัม:, เบงกาลี: കരിമീന്‍‌) ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Etroplus suratensis ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาพื้นเมืองที่พบได้ในอินเดียตอนใต้จนถึงศรีลังกา เช่น เมืองสุรัต ในรัฐเกรละ หรือปุทุจเจรี โดยพบได้ในพื้นที่ที่เป็นน้ำกร่อยที่ซึ่งน้ำจืดบรรจบกับน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำ เป็นต้น มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 30 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 50 เซนติเมตร ปากมีขนาดเล็กแต่มีฟันแหลมคม กินอาหารหลักได้แก่ ตะไคร่น้ำ โดยมักจะเลาะเล็มกินตามโขดหินหรือวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ และกินแมลงหรือลูกปลาขนาดเล็กบ้างเป็นอาหารเสริม ปลาตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้กว่ามาก มีรูปร่างแบนข้างและกลม พื้นลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อนอมเขียว มีลายเส้นสีดำพาดตั้งแต่ท้องจนถึงกลางลำตัวประมาณ 5-6 เส้น ไปสิ้นสุดที่ข้อหาง บริเวณช่วงอกเป็นสีดำ บนลำตัวในบางตัวมีจุดสีขาวกระจาย สีบริเวณส่วนหัวเป็นสีเขียวอมเหลือง โดยเฉพาะในตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูงจะมีสีดังกล่าวนี้สวยสดกว่าตัวอื่น ๆ วางไข่ได้มากถึงครั้งละ 1,000 ฟอง โดยในช่วงนี้ปลาตัวผู้จะเปลี่ยนสีให้สวยสดกว่าเดิม เช่นบริเวณส่วนหน้าและครีบต่าง ๆ จะชัดเจนที่สุด ปลาทั้งคู่จะช่วยกันดูแลไข่อย่างใกล้ชิด ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 36-48 ชั่วโมง โดยที่ปลาตัวอ่อนในช่วงแรกจะรับอาหารจากถุงไข่แดงที่มีติดตัวมา จนประมาณถึงวันที่ 7 เมื่อถุงดังกล่าวยุบลง และว่ายน้ำได้แข็งแรงแล้ว ลูกปลาจะกินเมือกที่เกาะตามตัวพ่อแม่เป็นอาหารแทน ปลาหมอโครมายด์เขียว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยความเป็นปลาที่มีอุปนิสัยไม่ก้าวร้าว จึงสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ๆ หรือปลาหมอสีด้วยกันเองได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นปลาที่นิยมบริโภคกันในท้องถิ่นอีกด้ว.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาหมอโครมายด์เขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหนวดพราหมณ์

ปลาหนวดพราหมณ์ หรือ ปลาหนวดตาแป๊ะ (Threadfins) เป็นสกุลของปลาน้ำกร่อยและน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Polynemus (/โพ-ลี-นี-มัส/) เป็นปลาที่พบได้ในน้ำกร่อยและน้ำจืดเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน มีลักษณะโดยรวม คือ ครีบอกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนเหมือนครีบปลาทั่วไป แต่ส่วนล่างแบ่งเป็นเส้น ๆ มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ชนิด ตั้งแต่ 3-14 เส้น เป็นปลาที่ผสมพันธุ์และวางไข่ ฟักเป็นตัวในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ อาจพบได้บ้างตามแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือชายฝั่ง พบแพร่กระจายพันธุ์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอินโดนีเซีย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร สำหรับในชนิดที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ปลาหนวดพราหมณ์เหนือ (P. aquilonaris), ปลาหนวดพราหมณ์ตะวันออก (P. dubius), ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 7 เส้น (P. paradiseus), ปลาหนวดพราหมณ์ทอง (P. melanochir) และ ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น (P. multifilis) นิยมรับประทานเป็นอาหาร และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาหนวดพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหนวดพราหมณ์หนวดเจ็ดเส้น

ปลาหนวดพราหมณ์หนวดเจ็ดเส้น หรือ ปลาหนวดพราหมณ์ (Paradise threadfin) ปลาน้ำกร่อยที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae) มีส่วนหัวขนาดเล็ก ตามีขนาดเล็กอยู่เกือบสุดปลายส่วนหัวและมีเยื่อไขมันคลุม ปากกว้างมีฟันซี่เล็กละเอียดบนขากรรไกร ลำตัวแบนข้าง ครีบอกยาว ส่วนที่เป็นเส้นยาวมีความยาวมากกว่าลำตัวถึง 2 เท่า โดยเฉพาะเส้นบนมีทั้งหมดข้างละ 10 เส้น ครีบหางเว้าลึกปลายแหลม เกล็ดเล็กละเอียดมีลักษณะเป็นปากฉลาม ตัวมีสีเงินวาวอมชมพูหรือสีเนื้อ หัวสีจางอมชมพูหรือสีเนื้อ ครีบสีจาง ด้านท้องสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูง บางครั้งหากินด้วยการหงายท้องล่าเหยื่อ พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขงตอนล่าง ในต่างประเทศพบได้จนถึงบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคโดยการปรุงสดและทำปลาตากแห้ง นิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งด้วยความสวยงามของหนวดที่ยาว ทำให้ได้รับความนิยมในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่เลี้ยงให้รอดได้ยากมาก เนื่องจากเป็นปลาที่เปราะบาง มักตายอย่างง่าย ๆ จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูงแต่ในต่างประเทศนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นอย่างมาก โดยมีราคาเฉลี่ย 500 ถึง 1,500 บาท แล้วแต่ขนาดและความสมบูรณ์ของปล.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาหนวดพราหมณ์หนวดเจ็ดเส้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอุก

ปลาอุก ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cephalocassis borneensis อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างเพรียว หางคอดเล็ก หลังยกสูงเล็กน้อย จะงอยปากยื่นยาว หัวโตแบนราบเล็กน้อย ปากเล็ก ตาเล็กอยู่กลางหัว ครีบหลังมีก้านแข็งหนาและยาว ครีบไขมันเล็กมีสีคล้ำเล็กน้อย ครีบท้องใหญ่ ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีเทาอมเหลืองอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 20 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำตอนล่าง พบในแม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำบางปะกง ในแม่น้ำเจ้าพระยาพบขึ้นไปสูงสุดจนถึง จังหวัดชัยนาท นิยมบริโภคตัวผู้ที่มีไข่ในปากเรียก "ไข่ปลาอุก" โดยนิยมนำมาทำแกงส้ม พบจับขึ้นมาขายเป็นครั้งคราวในตลาดของชัยนาท อยุธยา และ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพบได้ในภาคใต้จนถึงเกาะบอร์เนียว และพบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "อุกแดง", "อุกชมพู" หรือ "กดโป๊ะ".

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาอุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจุมพรวด

ปลาจุมพรวด หรือ ปลาตีนจุดฟ้า (Blue-spotted mudskipper, Boddart's goggle-eyed goby) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ในวงศ์ย่อยปลาตีน (Oxudercinae) มีรูปร่างเหมือนปลาตีนทั่วไป โดยมีจุดเด่น คือ มีลำตัวสีเข้มจนเกือบดำ และมีจุดสีฟ้ากระจายอยู่ทั่วตัว ซึ่งเชื่อว่าแถบสีข้างลำตัวนี้ สามารถบ่งบอกถึงอารมณ์ของปลาในตอนนั้นได้อีกด้วย หากช่วงเวลาไหนอารมณ์ดีรู้สึกปลอดภัย แถบสีก็จะเห็นเด่นชัด แต่ถ้าหากอยู่ในอารมณ์ตื่นตกใจ แถบสีข้างลำตัวก็จะจางจนบางครั้งแทบมองไม่เห็น เป็นปลาตีนขนาดเล็ก มีขนาดความยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในป่าชายเลนที่เป็นพื้นโคลนเลนตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย, อินโด-แปซิฟิก, อินเดีย, จีนตอนเหนือ จนถึงนิวกินี เป็นปลาตีนอีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกจับมากินโดยคนพื้นถิ่น และจับเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาจุมพรวด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทะเลลึก

ปลาไหลกัลเปอร์หนึ่งในปลาน้ำลึกรูปร่างประหลาด ปลาทะเลลึก (Deep sea fish) คือปลาที่พบได้ในทะเลลึกและแสงแดดส่องไม่ถึงจากการสำรวจปลาทะเลลึกนั้นจะมีจำนวนคิดเป็น 2% จากสายพันธ์และสิ่งมีชีวิตในทะเลทั้งหมดโดยพวกมันจะอาศัยอยู่ในก้นสมุทรที่มืดมิด โดยทั่วไปปลาทะเลลึกจะพบอยู่ได้ตั้งแต่ความลึก 1,000-4,000 เมตรหรือบางชนิดอาจอยู่ได้ลึกถึง 4,000-6,000 เมตร ปลาที่เรืองแสงได้ส่วนใหญ่จะพบในระดับความลึกประมาณ 200-1,000 เมตร ระดับความลึกที่มีออกซิเจนน้อยมากจะอยู่ที่ระดับ 700-1,000 เมตรแต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่นั้นด้วยว่ามีแหล่งผลิตออกซิเจนหรือไม่ ซึ่งจากความลึกของสถานที่แห่งนั้นมีทั้งความมืดมิดและหนาวเย็นถึง 3 องศาเซลเซียสจนถึง -1.8 องศาเซลเซียส อีกทั้งยังมีแรงกดดันของน้ำจำนวนมหาสารขนาดความดันระหว่าง 20 ถึง 1,000 เท่าของบรรยากาศ (ระหว่าง 2 ถึง 100 megapascals)จึงเป็นสถานที่ ๆ ยากต่อการสำรวจ ปลาทะเลลึกนั้นจะมีการปรับตัวให้ใช้พลังงานน้อยลง ขนาดเล็กลง มีปากและกระเพาะขนาดใหญ่ มีการเรืองแสงเพื่อหลอกล่อเหยือซึ่งแตกต่างจากปลาผิวน้ำแต่ถึงอย่างนั้นโครงสร้างทางกายภาพเช่นการหายใจ ขับน้ำ การหายใจยังคงเหมือนปลาทะเลแต่จะมีการวิวัฒนาการแปลก ๆ เพื่อให้พวกมันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ถึงอย่างนั้นทะเลลึกก็ยังมี่แหล่งอาหารจากปล่องแบบน้ำร้อนและซากสัตย์จากทะเลด้านบน.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาทะเลลึก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคิลลี่ฟิช

ปลาคิลลี่ฟิช (Killifish) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดเล็กหลายชนิด ในอันดับ Cyprinodontiformes ซึ่งเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว นับ 1,000 กว่าชนิด ในแทบทุกทวีปทั่วโลก แต่ปลาคิลลี่ฟิชจะเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยปลาคิลลี่ฟิช มีลักษณะโดยทั่วไป จะเป็นปลาขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะในตัวผู้ ในหลากหลายพฤติกรรม ในบางชนิดจะหากินและดำรงชีวิตอยู่บนผิวน้ำ, บางชนิดหากินและดำรงชีวิตอยู่ระดับพื้นน้ำ และบางชนิดจะรวมตัวกันเป็นฝูง และบางชนิดจะว่ายน้ำอย่างกระจัดกระจาย ปลาคิลลี่ฟิช เป็นปลาที่มักพบในแหล่งน้ำต่าง ๆ ตั้งแต่ ต้นน้ำตลอดจนไปถึง คลอง, บึง และแม่น้ำต่าง ๆ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำถาวรและแหล่งน้ำชั่วคราวที่เหือดแห้งหายไปได้ตามฤดูกาล แม้กระทั่งแอ่งน้ำในรอยเท้าสัตว์ ซึ่งคำว่า "คิลลี่" (Killi) มาจากภาษาดัตช์คำว่า "kilde" หมายถึง "แหล่งน้ำขนาดเล็ก" โดยมีลักษณะการวางไข่หลากหลายแตกต่างออกไป เช่น วางไข่ทิ้งไว้ในพื้นดินและมีวงจรชีวิตที่สั้น หรือวางไข่ไว้กับใบของไม้น้ำ สำหรับในประเทศไทย มีปลาเพียงชนิดเดียวที่เข้าข่ายปลาคิลลี่ฟิช คือ ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus panchax) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Aplocheilidae ที่พบได้ทุกแหล่งน้ำทั่วทุกภาค ปลาคิลลี่ฟิช เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมักจะนิยมเลี้ยงรวมเป็นฝูงหรือปะปนกับปลาชนิดอื่น ในตู้ไม้น้ำ และเลี้ยงเพื่อฟักลูกปลาให้ออกจากไข่ที่วางไว้ในดิน ซึ่งสามารถห่อส่งขายทางไปรษณีย์ได้ นับว่าเป็นความสนุกอย่างหนึ่งของผู้เลี้ยง โดยสกุลที่นิยมเลี้ยงได้แก่ Nothobranchius ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา และปลาหัวตะกั่วทองคำ (Aplocheilus lineatus) ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาคิลลี่ฟิช · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะคอง

ระวังสับสนกับ: ปลาตะคองจุดเหลือง ปลาตะคอง หรือ ปลาตะคองเหลือง หรือ ปลาทูทอง (Golden trevally, Golden toothless trevally, Yellow jack) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Gnathanodon มีลำตัวด้านข้างแบนข้างมาก ลักษณะลำตัวค่อนไปทางยาวแบนคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เกล็ดมีขนาดเล็ก ใต้ท้องไม่มีเกล็ด ในปลาวัยอ่อนมีสีเหลืองทอง มีแถบสีดำเล็ก ๆ พาดตามแนวตั้ง ซึ่งจะค่อย ๆ ลดจำนวนและจางลงเมื่อปลาโตขึ้น หัวมีลักษณะกลมป้าน จะงอยปากกลมมน ปากกว้าง ไม่มีฟัน ครีบทุกครีบเป็นสีเหลือง ปลายครีบสีดำ ขนาดโดยทั่วไปประมาณ 50–70 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุด 120 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงในแนวปะการังและกองหิน พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่ชายฝั่งแคลิฟอร์เนียจนถึงเอกวาดอร์, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ตลอดจนการเลี้ยงดูไว้ดูเล่นตามบ้าน โดยเฉพาะในลูกปลาที่มีแถบสีดำ เพราะมีสีสันสวยงามและมีความแวววาวบนลำตัว อีกทั้งสามารถเลี้ยงในน้ำที่มีสภาพเป็นน้ำกร่อย ที่มีปริมาณความเค็มต่ำได้ โดยจัดเป็นปลาน้ำกร่อยที่เลี้ยงได้ง่ายมากอีกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาตะคอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวข้าวสาร

ำหรับปลาทะเลขนาดเล็ก ดูที่: ปลากะตัก ปลาซิวข้าวสาร หรือ ปลาในนาข้าว (วงศ์: Adrianichthyidae; Ricefishes) เป็นชื่อวงศ์ของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยจำพวกหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีขนาดโดยเฉลี่ยไม่เกิน 9 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงญี่ปุ่น เกาะสุลาเวสี คาบสมุทรอินโดจีนจนถึงออสเตรเลีย เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Oryziidae แต่ปัจจุบันวงศ์นี้ได้กลายเป็นเพียงวงศ์ย่อยและสกุลหนึ่งของวงศ์นี้ มีลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ คือ ไม่มีเส้นข้างลำตัว ช่องจมูกเปิดทะลุถึงก้น นัยน์ตาโต ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย ครีบหลังอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบหางมีทั้งปลายตรงและปลายกลมมน โดยปลาในวงศ์นี้ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกได้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก ในนาข้าวที่ประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษ โดยชนิดที่ค้นพบล่าสุด พบที่ลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอีสานของไทย คือ ปลาซิวข้าวสารแม่น้ำสงคราม (Oryzias songkhramensis) เมื่อปี ค.ศ. 2010.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาซิวข้าวสาร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าทอง

ปลาปักเป้าทอง (Bronze puffer, Goldern puffer, Avocado puffer) เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อย ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาปักเป้าในสกุล Tetraodon อย่างเห็นได้ชัด และมีดวงตาที่โตกว่า ครีบหลังและครีบก้นใหญ่ ครีบหางปลายตัดตรง มีลำตัวสีทองเหลือบเขียวแวววาว โดยที่ไม่มีลวดลายหรือจุดใด ๆ ทั้งสิ้น หลังมีสีเทาเงิน ใต้ท้องสีขาว มีหนามสั้น ๆ ฝังอยู่ใต้ผิว และสามารถสะบัดครีบว่ายน้ำได้เร็วกว่าปลาปักเป้าในสกุลอื่น อีกทั้งยังสามารถพองลมได้ใหญ่กว่าด้วย เดิมเคยถูกจัดว่าเป็นชนิดเดียวกับ Chonerhinos naritus แต่สามารถจัดแนกออกได้จากสัณฐานวิทยา จึงแยกออกมาอยู่ในสกุลนี้ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาปักเป้าทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้

ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้ (South American estuarine puffer, Banded puffer, Parrot puffer) ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง จำพวกปลาปักเป้า จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีลักษณะคล้ายกับปลาปักเป้าแอมะซอน (C. asellus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่พบเฉพาะในน้ำจืด แต่ปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้ มีขนาดความยาวเต็มที่ได้ถึง 30 เซนติเมตร และเป็นปลาสองน้ำที่อพยพไปมาระหว่างน้ำจืด-น้ำกร่อย-ทะเล และมีลักษณะร่วมที่เหมือนกัน คือ มีแถบสีดำที่บริเวณหลังและเป็นวงแหวนบริเวณโคนครีบหาง พบกระจายพันธุ์ในเขตชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่อ่าวเปเรียจนถึงปากแม่น้ำแอมะซอนในบราซิล นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาปักเป้าแอมะซอน โดยควรเลี้ยงให้อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กินอาหารจำพวก มอลลัสคาและครัสเตเชียนเหมือนปลาปักเป้าชนิดอื่น หากเลี้ยงในน้ำเค็มและสถานที่กว้างพอจะทำให้มีสุขภาพดีและทำให้มีอายุที่ยาวนาน.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาปักเป้าปากแม่น้ำอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าแอมะซอน

ปลาปักเป้าแอมะซอน (South American puffers, Amazon puffers, Brazilian puffers) เป็นชื่อของปลาปักเป้า 2 ชนิดที่อยู่ในสกุล Colomesus ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ทั้ง 2 ชนิดนี้ได้แก่ C. psittacus และ C. asellus จัดเป็นปลาปักเป้าที่มีขนาดเล็ก มีนิสัยไม่ดุร้ายและชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำมีเปลือก อาทิ กุ้ง, หอย หรือปู มีการกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนแถบประเทศเปรู, เวเนซุเอลา, โคลอมเบีย, กายอานา และบราซิล ความแตกต่างของทั้ง 2 ชนิดนี้ กล่าวคือ C. psittacus มีขนาดความยาวเต็มที่ได้ถึง 30 เซนติเมตร และเป็นปลาสองน้ำที่อพยพไปมาระหว่างน้ำจืด-น้ำกร่อย-ทะเล ในขณะที่ C. asellus มีขนาดเล็กกว่า โดยมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 8 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 15 เซนติเมตร และมีแถบสีดำที่บริเวณหลังและเป็นวงแหวนบริเวณโคนครีบหาง และจะอาศัยอยู่เฉพาะแค่ในน้ำกร่อยกับน้ำจืดเท่านั้น ทั้ง 2 ชนิดนี้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในชนิด C. asellus มีการจำหน่ายในประเทศไทยด้วย จัดเป็นปลานำเข้าที่ราคาไม่แพง.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาปักเป้าแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแพะลาย

ปลาแพะลาย (Mottled goatfish, Blackstriped goatfish, Freckled goatfish, Bartail goatfish) ปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแพะ (Mullidae) มีลักษณะสำคัญ คือ กลางลำตัวมีแถบหนาสีน้ำตาลเข้มพาดตามยาวลำตัว อันเป็นที่มาของชื่อ ท้องมีลายจุดสีแดง ปลายครีบหลังทั้งสองอันมีสีน้ำตาลเข้ม ครีบหางท่อนบนและท่อนล่างมีแถบสีน้ำตาลเข้ม 4-5 แถบ ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ย 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ในแนวปะการังตลอดทั้งแถบอินโด-แปซิฟิก ไปจนถึงสิงคโปร์และออสเตรเลีย พบทั้งในเขตเขตน้ำตื้นจนถึงระดับลึกมากกว่า 20 เมตร บริเวณพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลนและมีน้ำขุ่น ออกหากินในเวลากลางวัน โดยใช้หนวดคุ้ยเขี่ยสัตว์น้ำขนาดเล็กที่หลบอยู่ใต้พื้นเป็นอาหาร เป็นปลาที่มีการนำมาบริโภคบ้าง.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาแพะลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแพะเหลือง

ปลาแพะเหลือง (Sunrise goatfish, Sulphur goatfish) ปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแพะ (Mullidae) มีลำตัวยาวเล็กน้อย คางมีหนวดเรียวยาว 2 เส้น ปากบนและปากล่างมีแถบของฟันซี่เล็ก บนเพดานปากด้านข้างแต่ละข้างมีฟันหนึ่งแถบ และแนวกลางเพดานปากส่วนหน้ามีฟัน 2 หย่อมเล็ก ๆ ช่องระหว่างครีบหลังทั้ง 2 อันมีเกล็ดคั่นกลาง 5 1/2 เกล็ด แนวของคอดหางมีเกล็ด 12-13 เกล็ด ด้านหลังมีสีเขียวออกเงินหรือชมพู และกลายเป็นสีเงินบริเวณด้านข้างและท้อง ด้านข้างลำตัวมีแถบสีเหลืองทองหรือส้ม 2 แถบ พาดตามแนวยาวลำตัว เป็นลักษณะเด่น ขอบปลายสุดของครีบหลังอันแรกเป็นสีดำ ส่วนที่เหลือเป็นสีเหลืองคล้ำ 2 แถบ ขอบท้ายของครีบหางเป็นสีคล้ำ หนวดสีขาว มีความยาวโดยเฉลี่ย 20 เซนติเมตร ยาวที่สุด 23 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ตามแถบชายฝั่งที่เป็นพื้นโคลน และอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อย ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิคฝั่งตะวันตก มีการประมงบ้าง.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาแพะเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแซลมอน

วาดปลาแซลมอนชนิดต่าง ๆ ปลาแซลมอน http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาแซลมอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแซลมอนชินูก

ปลาแซลมอนชินูก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Oncorhynchus tshawytscha) เป็นสปีชีส์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสกุลปลาแซลมอนแปซิฟิก ตั้งชื่อตามชาวชินูก ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่เคยอาศัยอยู่ชายฝั่งแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ปลาแซลมอนชินูกยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก คือ คิงแซลมอน, ปลาแซลมอนควินแนต และ ปลาแซลมอนใบไม้ผลิ ปลาแซลมอนชินูกเป็นปลาน้ำกร่อยซึ่งกระจายพันธุ์อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ตลอดจนเครือข่ายแม่น้ำในภาคตะวันตกของอเมริกาเหนือ ตั้งแต่รัฐแคลิฟอร์เนียไปจนถึงรัฐอะแลสกา และยังกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชียบริเวณตอนเหนือของญี่ปุ่นไปจนถึงบริเวณทะเลไซบีเรียตะวันออกของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ปลาสายพันธุ์นี้ก็ยังพบได้ในส่วนอื่น ๆ ของโลกได้เช่นกัน อาทิในนิวซีแลนด์, ภูมิภาคปาตาโกเนีย เป็นต้น ปลาแซลมอนชินูกถือเป็นปลาเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง และมีกรดไขมันโอเมกา-3 ในปริมาณที่สูงซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ผลิตปลาแซลมอนชินูกได้มากที่สุดโดยทำตลาดในชื่อว่า "คิงแซลมอน" ใน..

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาแซลมอนชินูก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแซลมอนซ็อกอาย

ปลาแซลมอนซ็อกอาย หรือ ปลาแซลมอนแดง (Sockeye salmon, Red salmon, Blueback salmon) เป็นปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง จำพวกปลาแซลมอน พบในตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกและแม่น้ำที่ไหลสู่บริเวณดังกล่าว และพบประชากรจำนวนหนึ่งในแหล่งน้ำบนแผ่นดินซึ่งไม่ไหลออกสู่ทะเล โดยรู้จักกันในชื่อ kokanee หรือ "ปลาเทราต์สีเงิน" ปลาแซลมอนแดงเป็นปลาในสกุลปลาแซลมอนแปซิฟิกที่พบได้มากเป็นอันดับสามรองจากปลาแซลมอนสีชมพู (O. gorbuscha) และปลาแซลมอนชัม (O. keta) โดยที่คำว่าชื่อ "Sockeye" แผลงมาจาก suk-kegh ซึ่งเป็นชื่อในภาษาแฮลโคเมเลม ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองที่อาศัยตามแนวแม่น้ำเฟรเซอร์ตอนล่าง โดยคำว่า Suk-kegh หมายถึง "ปลาสีแดง" เนื่องจากปลาแซลมอนซ็อกอายตัวผู้ จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีแดงเข้มและส่วนหัวมีโหนกในฤดูผสมพัน.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาแซลมอนซ็อกอาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแซลมอนแอตแลนติก

ปลาแซลมอนแอตแลนติก หรือ ปลาแอตแลนติกแซลมอน (Atlantic salmon) เป็นปลาน้ำกร่อยในวงศ์ปลาแซลมอน (Salmonidae) พบในมหาสมุทรแอตแลนติกและสาขาแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับมหาสมุทรดังกล่าว พบในตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือด้วยเนื่องจากมนุษย์นำเข้าไป ปลาแซลมอนแอตแลนติกเป็นปลาขนาดใหญ่ ลำตัวรูปรูปกระสวย ยาว 71 - 76 เซนติเมตร หนัก 3.6 - 5.4 กิโลกรัม เมื่อยังเล็กขณะที่อาศัยในน้ำจืดลูกปลาจะมีจุดสีแดงและฟ้า มีโตเต็มที่จะมีสีเงินออกฟ้าเป็นประกาย มีจุดสีดำเหนือเส้นข้างลำตัว ครีบหางไม่มีจุด เมื่อสืบพันธุ์ตัวผู้มีสีออกเขียวหรือแดง ปลาแซลมอนแอตแลนติก ในประเทศอังกฤษจะไม่กินอาหารเลยตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ และจะว่ายทวนกระแสน้ำกลับมาผสมพันธุ์และวางไข่ในแหล่งน้ำจืดในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของอังกฤษ (ราวเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งเป็นฤดูที่มีน้ำหลากจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาก่อนหน้านั้น โดยตัวผู้จะเป็นฝ่ายขุดหลุมและปล่อยน้ำเชื้อ ขณะที่ตัวเมียวางไข่ ในปริมาณนับเป็นหมื่นฟอง เมื่อเสร็จสิ้นจากการวางไข่ ปลาตัวผู้จะผอมลงและตายลงไปในที่สุดและจะกลายเป็นอินทรีวัตถุในก้นแม่น้ำ.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาแซลมอนแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลนา (สกุล)

ปลาไหลนา หรือ ปลาไหลบึง เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลนา (Synbranchidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Monopterus (/โม-น็อพ-เทอ-รัส/) มีรูปร่างยาวคล้ายงู ลำตัวลื่นมาก มีเมือกอยู่ตลอดทั้งตัว มีเกล็ดขนาดเล็กฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะสำคัญ คือ ฟันมีขนาดเล็ก ขากรรไกรล่างและที่กระดูกเพดานปากชิ้นข้างติดกันเป็นแผ่น ๆ ช่องเหงือกอยู่ใต้หัว หนังริมกระดูกแก้มทั้งสองข้างติดต่อรวมกัน และตรงกลางเป็นเอ็นที่ยึดติดกับเอ็นคาง ไม่มีครีบอกและครีบท้อง ตามีขนาดเล็ก เป็นปลากินเนื้อและซากสัตว์ต่าง ๆ เป็นอาหาร ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30–60 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, แอฟริกา และเอเชีย โดยมีชนิดที่รู้จักเป็นอย่างดี คือ ปลาไหลนา (M. albus).

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาไหลนา (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไทเมน

ปลาไทเมน หรือ ปลาไซบีเรียนไทเมน หรือ ปลาไซบีเรียนแซลมอน (Taimen, Siberian taimen, Siberian salmon) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาแซลมอน (Salmonidae) พบในแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำแปโชราในรัสเซีย นอกจากนี้แล้วยังพบในลุ่มแม่น้ำอามูร์, ระหว่างทะเลสาบแคสเปียนกับมหาสมุทรอาร์กติกในอนุทวีปยูเรเชีย และบางส่วนของมองโกเลีย มีสีลำตัวแตกต่างหลากหลายออกไปตามแต่ละภูมิประเทศ แต่โดยทั่วไปลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเขียวมะกอก หัวมีสีคล้ำกว่า ครีบและหางสีแดงเข้ม ส่วนท้องสีขาว ตามลำตัวมีรอยจุดสีคล้ำสำหรับพรางตัวซุ่มซ่อนตามธรรมชาติ ปากกว้าง ภายในปากมีฟันที่แหลมคมเหมือนเข็มที่งองุ้มเข้ามาด้านใน และแม้แต่ลิ้นก็มีส่วนประกอบที่แหลมคมคล้ายฟัน ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 210 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 105 กิโลกรัม เป็นสถิติที่พบในรัสเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1988 ซึ่งจัดได้ว่าปลาไทเมนเป็นปลาแซลมอนชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่ปลาไทเมนไม่ใช่ปลาสองน้ำเหมือนกับปลาแซลมอนชนิดอื่น ๆ เพราะวางไข่และเติบโตหากินอยู่เฉพาะในแหล่งน้ำจืดอย่างเดียวเท่านั้น ปลาไทเมนจัดเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมของนักตกปลาอีกด้วย ด้วยความที่เป็นปลาขนาดใหญ่และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและเย็น จึงนิยมตกกันแบบฟลายฟิชชิ่ง ซึ่งต้องตกกันก่อนถึงฤดูหนาวที่น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง ปลาไทเมนเป็นปลาที่ดุร้ายก้าวร้าว เคยกัดทำร้ายคนตกจนเลือดอาบได้รับบาดเจ็บที่ต้นแขนมาแล้ว มักอาศัยอยู่ในกระแสน้ำเชี่ยว โดยหลบซ่อนตัวอยู่หลังก้อนหินเพื่อรอเหยื่อให้ผ่านมาและจับกินเป็นอาหาร ซึ่งปลาไทเมนสามารถจับปลาแซลมอนหรือปลาเทราต์ซึ่งเป็นปลาจำพวกเดียวกันกินได้ นอกจากนี้แล้วยังสามารถกินงูพิษได้อีกด้วยMongolian Mauler, "River Monsters".

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาไทเมน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อย

ปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อย หรือ ปลาเสือพ่นน้ำลายบั้ง หรือ ปลาเสือพ่นน้ำเงิน ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Toxotes jaculatrix ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) มีรูปร่างเหมือนปลาเสือพ่นน้ำชนิดอื่น เช่น T. microlepis หรือ T. chatareus แต่ว่าปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อยนั้นมีรูปร่างที่เพรียวและแบนข้างมากกว่า มีสีของลำตัวและเกล็ดออกสีเงินหรือสีขาวแวววาวมากกว่า และมีขนาดใหญ่กว่า โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 30 เซนติเมตร พบได้ตามแถบน้ำกร่อยเช่น ปากแม่น้ำ, ป่าชายเลน หรือตามชายฝั่งทะเลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงวานูอาตู, ปาปัวนิวกินีและตอนเหนือของออสเตรเลีย นอกจากนี้แล้ว ปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อยอร่อยแหะยังมีพฤติกรรมการพ่นน้ำใส่แมลงแตกต่างไปจากปลาเสือพ่นน้ำชนิดอื่น ๆ โดยมักจะพ่นน้ำในลักษณะมุมตรง สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะสภาพของภูมิประเทศที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำกร่อยมีการสะท้อนแสงกระทบกับผิวน้ำน้อยกว่าแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดหรือแม่น้ำลำคลอง ปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อย เป็นปลาเสือพ่นน้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีการนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม แต่ทว่าการที่จะเลี้ยงให้อยู่รอดได้นั้น ต้องทำการปรับสภาพน้ำก่อน โดยต้องเติมเกลือละลายลงในน้ำให้มีรสออกกร่อยเป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งเดือน เพื่อให้ปลาปรับสภาพตัว ก่อนจะค่อย ๆ ลดความเค็มของน้ำลงไป ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วปลาจะปรับตัวไม่ได้ และจะตายภายในเวลาไม่นาน.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเสือตอปาปัวนิวกินี

ปลาเสือตอปาปัวนิวกินี หรือ ปลาเสือตอนิวกินี (New Guinea tigerfish, Campbell's tigerfish) เป็นปลาน้ำกร่อยในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae) ชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาเสือตอปาปัวนิวกินี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็ม

ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ ครีบหางตัดตรงหรือเป็นทรงกลม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น จำนวนก้านครีบแขนงของครีบหลังน้อยกว่าก้านครีบแขนงของครีบก้น ในปลาตัวผู้ครีบก้นส่วนหน้าจะเปลี่ยนเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแมลงเป็นอาหารหลัก ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นจ่าฝูง ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักใช้ปลายปากที่แหลมคมนี้ทิ่มแทงใส่กันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจากพฤติกรรมนี้ได้มีผู้นำเอามาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ต่อสู้กันเป็นการพนันและการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" เช่นเดียวกับปลากัด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ทั้ง เอเชียอาคเนย์ไปจนถึงแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา พบทั้งหมด 12 ชน.

ใหม่!!: ปลาน้ำกร่อยและปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ปลาสองน้ำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »