สารบัญ
11 ความสัมพันธ์: พืชกั้งกุ้งภาษากรีกสัตว์สาหร่ายจุลินทรีย์ปลาปูแมงกะพรุนเซลล์
- คำศัพท์สมุทรศาสตร์
- ชีววิทยาทางทะเล
- ระบบนิเวศในน้ำ
พืช
ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.
กั้ง
กั้ง (Mantis shrimps, Stomatopods) คือสัตว์น้ำจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ในทะเล ในไฟลัมครัสตาเซียน ในอันดับสโตมาโตโพดา (Stomatopoda) ซึ่งมีอยู่หลากหลายสกุลและหลากหลายชนิด กั้ง โดยทั่วไปมีรูปร่างคล้ายกุ้งผสมกับตั๊กแตนตำข้าว ลำตัวยาวคล้ายตะขาบ หายใจด้วยเหงือกเช่นเดียวกับกุ้ง ลำตัวมีรูปร่างแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 5 แต่ไม่ถึงปล้องที่ 8 กรีมีลักษณะแบนราบ มีขาทั้งหมด 3 คู่ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ 400 ล้านปีก่อน มักอาศัยอยู่ในทะเลโคลน หรือ บริเวณปากแม่น้ำ หรือตามแนวปะการัง และพบได้ถึงระดับความลึกกว่า 1,500 เมตร กั้งเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดในโลกนี้มาก่อนกุ้ง มีจุดเด่น คือ มีดวงตาขนาดใหญ่ สามารถใช้สแกนมองภาพได้ดี โดยสามารถมองเห็นภาพชัดลึกได้ดี ตาแต่ละข้างของกั้งสามารถมองเห็นได้ 3 ตา และตาแต่ละดวงมองเห็นภาพได้ 3 ภาพ และสามารถกะระยะได้ดีมากเพื่อใช้ในการล่าเหยื่อ กั้งมีแก้วตาหลายพันชิ้น และสามารถมองเห็นสีได้ในระดับที่ซับซ้อน โดยถือว่าเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งที่มีระบบการมองเห็นภาพดีที่สุดในอาณาจักรสัตว์โลก ไม่มีก้ามหนีบ แต่มีระยางค์ส่วนอกคู่ที่ 2 มีลักษณะเป็นก้ามสับขนาดใหญ่พับได้คล้ายมีดโกน และมีซี่ฟันแหลมคมเรียงกันเป็นแถวคล้ายหวี ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อหรือป้องกันตัว ซึ่งสามารถใช้สับน้ำให้เกิดเป็นแรงขนาดมากได้ จนอาจถึงทำร้ายสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น มนุษย์ให้ได้รับบาดเจ็บได้ กั้งถูกค้นพบแล้วกว่า 450 ชนิด ในประเทศไทยมีรายงานพบแล้วอย่างน้อย 61 ชนิด กั้งนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเช่นเดียวกับกุ้ง โดยปกติแล้วจะมีราคาสูงกว่ากุ้งธรรมดาหรือปู ในบางชนิดนิยมนำมาแช่กับน้ำปลารับประทานกับข้าวต้ม.
กุ้ง
กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.
ภาษากรีก
ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สาหร่าย
หร่ายทะเลที่เกาะอยู่ตามหินชายฝั่ง สาหร่าย เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในอาณาจักรโครมาลวีโอลาตา เอกซ์คาวาตา ไรซาเรีย มีลักษณะคล้ายพืช แต่ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากมีเซลล์เดียว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงก็มี การแบ่งพวกสาหร่ายแบ่งตามรูปร่างลักษณะภายนอกหรือดูตามสี จึงมีสาหร่ายสีเขียว เขียวแกมน้ำเงิน น้ำตาล และสีแดง สาหร่ายสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็มี อาศัยเพศก็มี อย่าสับสนกับสาหร่ายบางชนิด เช่น สาหร่ายหางม้า สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายเหล่านี้ คือพืชดอกไม่ใช่โพรทิสต์ แหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายพบว่าไม่สูงมากนัก คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่เป็นพวกที่ย่อยยากในตัวคน โปรตีนก็มีน้อยแต่สิ่งที่ได้จากสาหร่าย คือ แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด นอกจากเป็นอาหารคน เช่น สาหร่ายอบกรอบ และปัจจุบันนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วยังใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยและเป็นยา สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สามารถจับไนโตรเจนในอากาศได้อย่างอิสระ (Nonsymbiotic Nitrogen Fixer) Anabaena, Oscillatoria, nostoc.
จุลินทรีย์
จุลินทรีย์ ''E coli'' ขนาด 10,000 เท่า จุลินทรีย์, จุลชีพ, จุลชีวัน หรือ จุลชีวิน (microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ (เช่น เชื้อรา) หมวดหมู่:ชีววิทยา.
ปลา
ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.
ปู
ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura) มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซียมแข็ง มีลักษณะสมมาตร แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้ มีก้ามใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 5 คู่ แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่นปูใบ้ก้ามดำ ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำหรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura) ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกไว้แล้วกว่า 6,000 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชน.
แมงกะพรุน
แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน.
เซลล์
ป็นสิ่งสวยงามเซล เซลล์ เซลส์ หรือ เซลล์ส เป็นคำที่เขียนทับศัพท์มาจากคำในภาษาอังกฤษ cell, cel, Cells, sale หรือ Zales; cell: หมายถึงหน่วยย่อยที่มีการกั้นขอบเขต (หรือห้อง) โดยทั่วไปเซลล์จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า ความหมายขึ้นอยู่กับบริบท.
ดูเพิ่มเติม
คำศัพท์สมุทรศาสตร์
- กระแสน้ำมหาสมุทร
- กระแสน้ำย้อนกลับ
- กลุ่มเกาะ
- การกลายเป็นกรดของมหาสมุทร
- การขยายตัวของพื้นมหาสมุทร
- ชายฝั่ง
- ชีววิทยาทางทะเล
- ดอนทรายใต้น้ำ
- ทะเลลึก
- ที่ราบก้นสมุทร
- ที่อยู่อาศัยใต้ทะเล
- น้ำทะเล
- ปลาทะเลลึก
- ป่าชายเลน
- พืดหินปะการัง
- ภูเขาน้ำแข็ง
- ระดับน้ำทะเล
- ระบบนิเวศทางทะเล
- ร่องลึกก้นสมุทร
- ลากูน
- สันดอนเชื่อมเกาะ
- หาด
- อะทอลล์
- อ่าว
- เกาะ
- เขตมีแสง
- เทือกเขากลางสมุทร
- แพลงก์ตอน
- แหลม
- ไหล่ทวีป
ชีววิทยาทางทะเล
- การกลายเป็นกรดของมหาสมุทร
- ชีววิทยาทางทะเล
- ที่อยู่อาศัยใต้ทะเล
- ระบบนิเวศทางทะเล
- แพลงก์ตอน
- แพลงก์ตอนพืช
ระบบนิเวศในน้ำ
- การกลายเป็นกรดของมหาสมุทร
- ความขุ่น
- ชลธารวิทยา
- ชะวากทะเล
- ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
- ทรัพยากรน้ำ
- ที่ราบก้นสมุทร
- ที่อยู่อาศัยใต้ทะเล
- น้ำกร่อย
- น้ำจืด
- น้ำทะเล
- ปลา
- ปลาน้ำกร่อย
- ป่าชายเลน
- พื้นที่ชุ่มน้ำ
- มลพิษทางน้ำ
- ระบบนิเวศทางทะเล
- ระบบนิเวศในน้ำ
- อุทกภาค
- เขตมีแสง
- แพลงก์ตอน
- แพลงก์ตอนพืช
- ไหล่ทวีป
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Plankton