โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวัติศาสนาคริสต์

ดัชนี ประวัติศาสนาคริสต์

ระวิหารศักดิ์สิทธิ์ของศาสนายูดาห์ เป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาคริสต์และเป็นศาสนสถานที่สำคัญในกลุ่มศาสนาอับราฮัม ซึ่งตั้งอยู่บนเขาพระวิหาร (Temple Mount) ในกรุงเยรูซาเลม (ภาพถ่ายจากฝั่งตะวันออกเฉียงใต้) ปี ค.ศ.600 ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นบริเวณดินแดนเลแวนต์ ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอลและปาเลสไตน์ ในช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 1 ศาสนาคริสต์ได้เริ่มเผยแผ่ครั้งแรกจากกรุงเยรูซาเลม ตลอดจนดินแดนตะวันออกกลาง เช่น ประเทศซีเรีย อัสซีเรีย เมโสโปเตเมีย ฟินิเชีย อานาโตเลีย ประเทศจอร์แดน และประเทศอียิปต์ ในช่วงคริสศตวรรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ได้รับเลือกให้เป็นศาสนาประจำชาติโดยราชวงศ์อาร์เมเนียในปี..

60 ความสัมพันธ์: บัญญัติ 10 ประการชาวยิวฟินิเชียพระยาห์เวห์พระวิญญาณบริสุทธิ์พระวิหารในกรุงเยรูซาเลมพระคริสต์พระเยซูพระเจ้าเฮโรดมหาราชการตรึงพระเยซูที่กางเขนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์การประสูติของพระเยซูภาษากรีกภาษาฮีบรูมัสยิดมารีย์ (มารดาพระเยซู)ยอห์นผู้ให้บัพติศมายุคแห่งการสำรวจยุโรปใต้ลิแวนต์วงศ์วานอิสราเอลศาสนาศาสนายูดาห์ศาสนาอับราฮัมศาสนาคริสต์ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยศาสนาประจำชาติศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตกสมัยกลางออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์อับราฮัมอัสซีเรียอัครทูตอาณาจักรอักซุมอานาโตเลียอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จักรวรรดิโรมันทะเลแดงความรอดคานาอันซีโมนเปโตรประเทศอิสราเอลประเทศอียิปต์ประเทศจอร์แดนประเทศจอร์เจียประเทศซีเรียปัสคาปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)นักบวชนักบุญโยเซฟ...นาซาเรธแม่น้ำจอร์แดนโมเสสโรมันคาทอลิกเบธเลเฮมเมสสิยาห์เมโสโปเตเมียเยรูซาเลมเอกเทวนิยมเปาโลอัครทูต ขยายดัชนี (10 มากกว่า) »

บัญญัติ 10 ประการ

ระบัญญัติ 10 ประการ หรือ บทบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments; עשרת הדיברות; ܥܣܪܐ ܦܘܩܕܢܐ; Δέκα εντολές) คือรายการคำสอนและข้อปฏิบัติตามคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานแก่วงศ์วานอิสราเอล ผ่านทางโมเสส ที่ภูเขาซีนาย บัญญัตินี้สลักไว้บนแผ่นหิน 2 แผ่น บัญญัติ 10 ประการใช้ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ ในภาษายิดดิช ใช้คำว่า Aseret ha-Dvarîm עשרת הדברים ในภาษาฮีบรูและภาษาฮีบรูมิซนะห์ ใช้คำว่า Aseret ha-Dibrot עשרת הדברות ซึ่งทั้งสองคำหมายถึง บัญญัติ 10 ประการ และมีการใช้ในภาษากรีก ซึ่งแปลมาจากภาษาฮีบรูว่า δέκα λόγοι (dekalogoi) หมายถึง คำสิบคำ (the ten words) อีกด้ว.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และบัญญัติ 10 ประการ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ฟินิเชีย

ฟินิเชีย (Phoenicia) เป็นเซเมติกสาขาหนึ่ง อพยพมาจากทะเลทรายอาหรับ เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณตะวันตกของทวีปเอเชียบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มปัญญาชนของเอเชียตะวันตก สร้างเมืองสำคัญ ๆ เช่น ไทรน์ ไซดอน ไบบลอส เป็นพวกที่ร่ำรวย มีชื่อเสียงทางด้านการเดินเรือและค้าขาย มีการตั้งอาณานิคมในส่วนอื่น ๆ เช่น กาดิซในสเปน คาร์เทจทางตอนเหนือของแอฟริกา มรดกชิ้นสำคัญของชาวฟินิเชียคือ ตัวอักษร ซึ่งกรีกและลาตินใช้เป็นแบบในการสร้างตัวอักษรของตนในสมัยต่อมา ตัวอักษรในยุโรปปัจจุบันก็มาจากตัวอักษรเหล่านี้.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

พระยาห์เวห์

หรียญเงินราวสี่ศตวรรษก่อนคริสตกาลที่พบในอิสราเอล เชื่อว่าบุคคลที่ประทับอยู่บนสุริยบัลลังก์มีปีกนั้นคือพระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 647-8 (Yahweh) พระเยโฮวาห์ (Jahovah) พระยะโฮวา (ศัพท์พยานพระยะโฮวา) (Yahova) ยฮวฮ (ศัพท์ศาสนายูดาห์) (יהוה; YHWH) เป็นพระนามของพระเป็นเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (ทานัค) ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยเล่มเก่านั้นปรากฏพระนามนี้อยู่หลายครั้ง ในคัมภีร์ดั้งเดิมเขียนด้วยอักษร 4 ตัว แต่เนื่องจากอักษร 4 ตัว (ยฮวฮ|YHWH) นั้นผู้เขียนไม่ได้ใส่สระไว้ ทำให้การออกเสียงที่ถูกต้องถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยการพูด คัมภีร์ดั้งเดิมหรือต้นฉบับปรากฏพระนามนี้ประมาณ 7 พันครั้ง ในฉบับภาษาไทยเล่มเก่า ๆ ยังปรากฏพระนามนี้อยู่ การแปลในยุคต่อ ๆ มาได้เปลี่ยนพระนามมา 3 ครั้ง ปัจจุบันสะกดพระนามนี้ว่า ยาห์เวห์ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahweh การทับศัพท์ เยโฮวาห์ มีต้นกำเนิดมาจากการที่นักวิชาการชาวยุโรปถอดอักษรฮีบรู יהוה เป็นอักษรโรมัน 4 ตัวได้เป็น YHWH แล้วผสมสระจึงได้การออกเสียงเป็น "เยโฮวาห์" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Jehovah การทับศัพท์นี้แพร่หลายไปในภาษาต่าง ๆ รวมทั้งพระคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยฉบับเก่า ๆ เช่น ฉบับ 1971 ยังปรากฏพระนาม "เยโฮวาห์" นี้อยู่ นอกจากนี้ยังมีการทับศัพท์ว่า "ยะโฮวา" ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Yahovah ในคัมภีร์ไบเบิล ฉบับ 1940 อีกด้วย แต่ในปัจจุบันนักวิชาการนิยมทับศัพท์ใหม่ว่า ยาห์เวห์ ตามหลักฐานที่ค้นพบและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ยฮวฮ คือพระนามของพระเป็นเจ้าสูงสุด ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1940 หรือ "เยโฮวาห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 หรือ "ยาห์เวห์" ซึ่งปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 2011 แต่เพื่อให้เกิดความเป็นสากลในทุกนิกาย ทั้งใน โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เมื่อออกพระนามพระเป็นเจ้าจะออกเสียงว่า "พระเจ้า" และ "ยฮวฮ" ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) ทุกฉบับ ในภาษาฮีบรู ยาห์เวห์ แปลว่า เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น หรือแปลได้อีกว่า เราอยู่(ด้วย) ซึ่งก็คือ พระองค์ทรงฤทธิ์ที่จะเป็นอะไรก็ได้ตามพระประสงค์ของพระอง.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และพระยาห์เวห์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิญญาณบริสุทธิ์

ระวิญญาณบริสุทธิ์ในรูปนกพิราบล้อมรอบด้วยบรรดาทูตสวรรค์ วาดโดยกอร์ราโด จีอากวินโต ราวคริสต์ทศวรรษ 1750 พระวิญญาณบริสุทธิ์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระจิต (ศัพท์คาทอลิกและออร์ทอดอกซ์) (Holy Spirit; Holy Ghost) เป็นวิญญาณชนิดหนึ่งตามความเชื่อในศาสนาอับราฮัม อันได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม แต่แต่ละศาสนาก็มีความเชื่อเกี่ยวกับพระวิญญาณบริสุทธิ์แตกต่างกัน บุคคลผู้ที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะมีความคิดความอ่านไปในวิถีทางเดียวกับพระเจ้า คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ (นิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์) เชื่อเรื่องตรีเอกภาพ โดยถือว่าพระเจ้าพระองค์เดียวนั้นทรงมีสามพระบุคคลแตกต่างกัน คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงถือพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเจ้าด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนอีกหลายนิกาย (เช่น พยานพระยะโฮวา) รวมทั้งศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ (คือชาวยิวและชาวมุสลิม) ก็ไม่ยอมรับความเชื่อนี้.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และพระวิญญาณบริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

ระวิหารในมโนทัศน์ในหนังสือเอสเซเคียล 40-47 พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม (Temple in Jerusalem) หรือพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ (Holy Temple; בית המקדש (Bet HaMikdash.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสต์

รูป ''พระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ'' ที่อารามนักบุญแคเธอริน พระพักตร์ของพระเยซูสองฝากแสดงอารมณ์ต่างกัน สื่อว่าพระเยซูมีสองธรรมชาติคือเป็นพระเป็นเจ้าและเป็นมนุษย์ในบุคคลเดียว''God's human face: the Christ-icon'' by Christoph Schoenborn 1994 ISBN 0-89870-514-2 page 154''Sinai and the Monastery of St. Catherine'' by John Galey 1986 ISBN 977-424-118-5 page 92 พระคริสต์ (Christ; Χριστός, คริสตอส) ในศาสนายูดาห์เรียกว่าพระเมสสิยาห์ หมายถึง ผู้ได้รับเจิม ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ใช้คำนี้เป็นสมัญญานามของพระเยซูJesus of history, Christ of faith by Thomas Zanzig 2000 ISBN 0-88489-530-0 คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน คือผู้ที่เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกทำนายไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ดังนั้นชาวคริสต์จึงมักเรียกพระเยซูว่า พระเยซูคริสต์ ซึ่งหมายถึง พระเยซูผู้ได้รับเจิม ในปัจจุบันคำว่าพระคริสต์จึงใช้หมายถึงพระเยซูชาวนาซาเรธไปโดยปริยาย ศาสนายูดาห์ไม่เคยยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์ (แม้แต่พระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลก็กล่าวถึงเรื่องชาวยิวปฏิเสธพระเยซู) แต่คริสต์ศาสนิกชนก็ยังเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์และจะเสด็จมาอีกครั้งในการพิพากษาครั้งสุดท้าย การใช้คำว่า "คริสต์" เพื่อหมายถึงพระเยซูโดยเฉพาะยังปรากฏในชื่อสาขาวิชา เช่น เทววิทยาศาสนาคริสต์ คริสตวิทยา ซึ่งเป็นวิชาที่เน้นศึกษาธรรมชาติและสถานะบุคคลของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบและบทจดหมายต่าง ๆ ในพันธสัญญาใหม.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และพระคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮโรดมหาราช

ระเจ้าเฮโรดมหาราช (Herod the Great หรือ Herod I; הוֹרְדוֹס Horodos, Ἡρῴδης (Hērōdēs)) (73 - 4 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งมณฑลยูเดีย (Iudaea Province) ของจักรวรรดิโรมัน เฮโรดมิได้สืบเชื้อสายมาจากชาวยิว และตอนแรกเป็นเพียงคนรับใช้ กล่าวกันว่าเป็น “ผู้บ้าอำนาจและฆาตกรรมครอบครัวของตนเองและรับบีอีกหลายคน” พระเจ้าเฮโรดมหาราชมักจะสับสนกับเฮโรด อันทิปาสที่มาจากราชวงศ์เฮโรเดียน (Herodian dynasty) เดียวกัน ผู้เป็นประมุขของกาลิลี ระหว่างปีที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และพระเจ้าเฮโรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และการตรึงพระเยซูที่กางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู

“การประสูติ” โดยเปตรุส คริสตุส (Petrus Christus) ราว ค.ศ. 1445 การประสูติของพระเยซู (The Nativity of Jesus; the Nativity) หรือพระคริสตสมภพ ถูกกล่าวถึงในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ส่วนพระวรสารนักบุญมาระโกและพระวรสารนักบุญยอห์นมิได้กล่าวถึงการประสูติของพระเยซูไว้ แหล่งข้อมูลอื่นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ก็มีแต่มิได้รวมอยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิล คำบรรยายของพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกากล่าวว่าพระเยซูชาวนาซาเร็ธเป็นบุตรของนางมารีย์ ขณะมีตั้งครรภ์ได้หมั้นอยู่กับโยเซฟจากตระกูลเดวิด เรื่องนี้คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูประสูติจากหญิงพรหมจารีเพราะเป็นการกำเนิดโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยมารดามิได้ร่วมประเวณีกับโยเซฟเลย คริสตชนจึงถือว่าโยเซฟเป็นเพียงบิดาบุญธรรม ทูตสวรรค์ได้ประกาศถึงการประสูติพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ โหราจารย์สามคนก็ทราบเพราะได้เห็นดวงดาว พระวรสารกล่าวว่าการกำเนิดของพระเยซูเป็นไปตามคำพยากรณ์ของเหล่าผู้เผยพระวจนะชาวอิสราเอล การระลึกถึง การแสดง หรือการสร้างสัญลักษณ์เกี่ยวกับการกำเนิดของพระเยซูถือเป็นหัวใจของการฉลองเทศกาลคริสต์มาส เพื่อแสดงความเชื่อว่าพระเยซูชาวนาซาเรธเป็น “พระคริสต์” หรือ “พระเมสสิยาห์” ตามที่ทำนายไว้คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในบางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก ถือว่าจุดยอดของการฉลองอยู่ที่พิธีมิสซาเที่ยงคืน หรือเช้าวันคริสต์มาสซึ่งจะเป็นวันที่ 25 ธันวาคมเสมอ ทางอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะอดอาหารก่อนวันคริสต์มาส 40 วัน และวันอาทิตย์สี่วันก่อนคริสต์มาสคริสต์ศาสนิกชนทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและแองกลิคันก็จะฉลองเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซู เพื่อเป็นการเตรียมตัวทางใจเพื่อความพร้อมที่จะฉลองวันประสูติของพระเยซู.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และการประสูติของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิด

มืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น มัสยิด (مسجد มัสญิด) หรือ สุเหร่า (Surau) เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม คำว่า มัสญิด เป็นคำภาษาอาหรับแปลว่า สถานที่กราบ ชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา อันได้แก่การนมาซ และการวิงวอน การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หาความสันโดษ (อิอฺติกาฟ และ คอลวะหฺ) นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอาน และศาสนา สถานที่ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิมฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่ทำพิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก โดยที่จะต้องรักษามารยาทของมัสยิด เช่นการไม่คละเคล้าระหว่างเพศชายและหญิง การกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติห้ามของอิสลาม (ฮะรอม) ทั้งมวล.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และมัสยิด · ดูเพิ่มเติม »

มารีย์ (มารดาพระเยซู)

มารีย์ (מרים, มัรยาม, มีเรียม) คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายเรียกว่าพระแม่มารีย์ พระนางมารีย์พรหมจารี (Blessed Virgin Mary) หรือพระนางมารีย์พระชนนีพระเป็นเจ้า (Mary, Mother of God) (ในอัลกุรอานว่านางมัรยัม) เป็นสตรีชาวยิวจากเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่และคัมภีร์อัลกุรอานระบุตรงกันว่านางได้เป็นมารดาของพระเยซูโดยอำนาจของพระเจ้า พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูการะบุว่ามารีย์เป็นหญิงพรหมจรรย์ (παρθένος, parthénos ในภาษากรีก) ชาวคริสต์เชื่อสืบกันมาแต่อดีตว่านางได้ตั้งครรภ์บุตรด้วยอำนาจพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่ยังเป็นหญิงพรหมจรรย์ ส่วนชาวมุสลิมก็เชื่อว่านางตั้งครรภ์ด้วยโองการของพระเจ้า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อนางได้หมั้นหมายกับนักบุญโยเซฟแล้วและอยู่ระหว่างรอพิธีแต่งงาน เมื่อนางได้แต่งงานกับโยเซฟแล้วก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองเบธเลเฮมซึ่งได้เป็นที่ประสูติพระเยซู ตามธรรมเนียมยิวการหมั้นน่าจะเกิดขึ้นเมื่อนางอายุราว 12 ปีแล้วให้กำเนิดพระเยซูในหนึ่งปีหลังจากนั้น คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เริ่มกล่าวถึงนางด้วยเหตุการณ์แม่พระรับสาร เมื่อทูตสวรรค์กาเบรียลมาปรากฏกายต่อหน้านาง แล้วแจ้งว่าพระเจ้าทรงเลือกนางให้เป็นมารดาของพระเยซู คริสตจักรและข้อเขียนนอกพระคัมภีร์ในยุคแรกยังระบุว่าบิดามารดาของนางเป็นคู่สามีภรรยาสูงอายุชื่อนักบุญโยอาคิมและนักบุญอันนา คัมภีร์ไบเบิลบันทึกถึงบทบาทของนางในชีวิตของพระเยซูตั้งแต่การตั้งครรภ์พระองค์จนถึงพระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ ข้อเขียนจากคัมภีร์นอกสารบบยังกล่าวว่าหลังจากมรณกรรมนางได้รับการยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณด้ว.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และมารีย์ (มารดาพระเยซู) · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคแห่งการสำรวจ

แห่งการสำรวจ หรือ ยุคแห่งการค้นพบ (Age of Exploration หรือ Age of Discovery) เป็นช่วงระยะเวลาในประวัติศาสตร์โลกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ชาวยุโรปออกเดินทางไปสำรวจทางทะเลในโลกที่กว้างออกไปจากตัวทวีปยุโรปเองโดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคู่ค้าขายใหม่ และโดยเฉพาะเพื่อการแสวงหาสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดตามต้องการ สินค้าที่เป็นที่ต้องการกันมากในยุโรปในขณะนั้นคือทอง เงิน และ เครื่องเทศ ยุคแห่งการสำรวจประจวบกับช่วงที่ชาวยุโรปตะวันตกเริ่มใช้เข็มทิศในการกำหนดและระบุเส้นทาง, การใช้วิธีการเดินเรือเดินทะเลแบบใหม่, การมีแผนที่ใหม่ และความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์ ความก้าวหน้าเหล่านี้ช่วยในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายใหม่ไปยังเอเชียโดยเลี่ยงอุปสรรคถ้าการใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของมหาอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่วิวัฒนาการขึ้นสำหรับการเดินทางทางทะเลคือเรือชนิดใหม่สองแบบที่ออกแบบโดยโปรตุเกส--เรือคาร์แร็ค (Carrack) และ เรือคาราเวล (Caravel) ที่วิวัฒนาการมาจากการออกแบบเรือในยุคกลางที่ใช้ในการเดินเรือในทะเลเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เรือสองชนิดนี้เป็นเรือสองชนิดแรกที่ให้ความปลอดภัยพอที่จะฝ่าคลื่นฝ่าลมในมหาสมุทรแอตแลนติกได้เมื่อเทียบกับเรือรุ่นก่อนหน้านั้นที่ใช้กันเฉพาะในบริเวณที่คลื่นลมไม่รุนแรงเทียบเท่ากับการเดินทางกลางมหาสมุทร.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และยุคแห่งการสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปใต้

รปใต้ ยุโรปใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งมีดินแดนติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอยู่ในคาบสมุทรใหญ่ 3 คาบสมุทรคือ คาบสมุทรไอบีเรีย คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน อยู่ในละติจูดที่ 35 องศาเหนือถึง 47 องศาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,316,290 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเชื้อสายเมดิเตอร์เรเนียน ประกอบไปด้วย 16 ประเทศดังนี้.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และยุโรปใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ลิแวนต์

ริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ บริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ปัจจุบันที่ประกอบด้วยจอร์แดน เลบานอน อิสราเอล ดินแดนปาเลสไตน์ และซีเรีย ลิแวนต์ (Levant; بلاد الشام, Bilad ash-Shām) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อัชชาม (الشام, ash-Shām) ตามความหมายดั้งเดิมหมายถึงบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก แต่ในความหมายทางภูมิศาสตร์หมายถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ในเอเชียตะวันตกทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีเทือกเขาทอรัสเป็นเขตแดนทางตอนเหนือ ทะเลทรายอาหรับทางใต้ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก ขณะที่ทางตะวันออกเป็นเทือกเขาแซกรอส ลิแวนต์เดิมมีความหมายอย่างหลวม ๆ หมายถึง "ดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของอิตาลี" มาจากภาษาฝรั่งเศสกลางที่แปลว่า "ตะวันออก" ในประวัติศาสตร์ การค้าขายระหว่างยุโรปตะวันตกกับจักรวรรดิออตโตมันเป็นเศรษฐกิจอันสำคัญของบริเวณนี้ คำว่าลิแวนต์โดยทั่วไปมีความหมายทางวัฒนธรรมมากกว่าที่จะเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใดที่หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง และความหมายของคำก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทัศนคติในการอ้างอิง.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วานอิสราเอล

ัญลักษณ์ 12 ชนเผ่าของอิสราเอล ซึ่งสลักไว้บนกำแพงเมืองกรุงเยรูซาเลม วงศ์วานอิสราเอล (Israelites; בני ישראל Bnai Yisraʾel; ܒܢܝ ܐܝܣܪܐܝܠ; Δώδεκα φυλές του Ισραήλ; بنى اسرائيل) แปลว่าลูกหลานของอิสราเอล จึงหมายถึงประชาชนที่อาศัยในบริเวณดินแดนคานาอันในตะวันออกใกล้ สมัยโบราณราวศตวรรษที่ 15-16 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากยาโคบ ต่อมาเป็นชาวยิวซี่งอาศัยในแคว้นยูเดียและชาวสะมาเรียในแคว้นสะมาเรีย ในคัมภีร์อัลกุรอานเรียกว่า วงศ์วานอิสรออีล วงศ์วานอิสราเอล ที่หมายถึงชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากยาโคบ (มีฉายาว่าอิสราเอล) มีทั้งหมด 12 ชนเผ่า ซึ่งประชากรที่อยู่ในชนเผ่าดังต่อไปนี้ถือเป็นประชากรของอาณาจักรอิสราเอล.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และวงศ์วานอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอับราฮัม

ัญลักษณ์ของศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาในกลุ่มศาสนาอับราฮัม: ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ศาสนาอับราฮัม (Abrahamic religions) หมายถึง ศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาที่ถือกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันตก และมีความเชื่อร่วมกันว่าพระเป็นเจ้ามีองค์เดียว ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามJ.Z.Smith 1998, p.276Anidjar 2001, p.3 ทั้งสามศาสนาถือว่าอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนาตน นอกจากนั้นก็ยังมีศาสนาย่อยที่บางครั้งถือว่าเป็นศาสนาอับราฮัมด้วย เช่น ศาสนาบาไฮ ผู้นับถือศาสนาอับราฮัมรวมทั้งหมดมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก ในปัจจุบันมีผู้นับถือด้วยกันทั้งหมดประมาณ 3.8 พันล้านคน.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และศาสนาอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย

นาคริสต์ เป็นหนึ่งใน 5 ศาสนาในประเทศไทยที่กรมการศาสนารับรอง โดยมิชชันนารีชาวยุโรปเป็นกลุ่มแรกที่นำเข้ามาเผยแผ่ ปัจจุบันมีจำนวนศาสนิกชนมากที่สุดเป็นอันดับสาม.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และศาสนาคริสต์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาประจำชาติ

นาประจำรัฐ หรือ ศาสนาประจำชาติ (state religion) บางทีเรียก ศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับ (established religion) หรือ ศาสนาทางการ (official religion) เป็นคณะหรือลัทธิทางศาสนาที่รัฐอธิปไตยรัฐหนึ่ง ๆ อนุมัติอย่างเป็นทางการ รัฐที่มีศาสนาอย่างเป็นทางการนั้น แม้ไม่ใช่รัฐฆราวาส ก็ไม่จำต้องเป็นรัฐแบบเทวาธิปไตยเสมอไป เช่น รัฐที่ผู้ปกครองควบตำแหน่งทั้งทางโลกและทางสงฆ์ ส่วนศาสนาประจำรัฐนั้น แม้ได้รับอนุมัติจากรัฐ ก็ไม่จำเป็นที่รัฐจะอยู่ในความควบคุมของศาสนา หรือศาสนาจะอยู่ในความควบคุมของรัฐเสมอไป ศาสนาประจำรัฐนั้นปรากฏโฉมอยู่ทั่วทุกวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิศาสนาและรัฐนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาแต่โบราณ เช่น ในงานของแวร์โร (Varro) ที่เรียกศาสนาประจำรัฐว่า ศาสนาของพลเมือง (theologia civilis) สำหรับศาสนาคริสต์นั้น คริสตจักรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเป็นแห่งแรก คือ คริสตจักรอัครทูตอาร์เมเนีย (Armenian Apostolic Church) ซึ่งตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และศาสนาประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก

นเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) เป็นมหาศาสนเภทระหว่างคริสตจักรตะวันออกกับคริสตจักรตะวันตกตั้งแต..

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ (Oriental Orthodoxy) เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ตะวันออกที่ยอมรับมติสภาสังคายนาสากลเฉพาะ 3 ครั้ง ได้แก่ สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง สังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่ง และสังคายนาแห่งเอเฟซัส และไม่ยอมรับมติของสภาสังคายนาแห่งแคลซีดัน ดังนั้นกลุ่มคริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จึงมีอีกชื่อว่าคริสตจักรออเรียนทัลเก่า คริสตจักรไมอาฟิไซต์ หรือคริสตจักรนอน-แคลซีโดเนียน ฝ่ายคริสตจักรตะวันตกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรียกว่าคริสตจักรกลุ่มนี้ว่าพวก "เอกธรรมชาตินิยม" (Monophysitism) คริสตจักรในนิกายนี้ไม่ได้ร่วมสามัคคีธรรมกับคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์แต่อยู่ระหว่างการเสวนาเพื่อกลับไปรวมกันเป็นเอกภาพ คนมักเข้าใจสับสนระหว่าง ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ กับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เพราะคำว่า Oriental และ Eastern มีความหมายเหมือนกันว่า "ตะวันออก" แต่ในความจริงเป็นคนละกลุ่มกัน ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ คอปติกออร์ทอดอกซ์ เอธิโอเปียนออร์ทอดอกซ์ เอริเทรียนออร์ทอดอกซ์ ซีเรียกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียน ห้าคริสตจักรนี้แม้จะรวมอยู่ในคอมมิวเนียนเดียวกันแต่ก็มีระบบการปกครองแยกกันเป็นเอกเทศ คริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์แยกออกมาจากคริสตจักรอื่น ๆ เพราะมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการใช้ศัพท์บางคำอธิบายลักษณะของพระคริสต์ (เรียกว่าปัญหาทางศัพทวิทยาทางคริสตวิทยา) สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง มีมติว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้า กล่าวคือพระคริสต์ผู้เป็นพระบุตรมีสาระเดียวกันกับพระเจ้าพระบิดา และสังคายนาแห่งเอเฟซัส มีมติว่าพระเยซูผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ทรงมีภาวะเดียว ต่อมาอีก 20 ปี สังคายนาแคลซีดันได้มีมติว่าพระเยซูทรงมีทั้งธรรมชาติมนุษย์และธรรมชาติพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ในตัวบุคคลเดียว หลายคนไม่ยอมรับเพราะเห็นว่ามตินี้เป็นคำสอนนอกรีตแแบบเดียวกับลัทธิเนสทอเรียสซึ่งถูกประณามไปแล้วที่เอเฟซัสเพราะเห็นว่าพระคริสต์มีของสองภาวะแตกต่างกัน ภาวะหนึ่งคือพระเจ้า อีกภาวะคือมนุษ.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อับราฮัม

ทูตสวรรค์ยับยั้งอับราฮัม ขณะกำลังจะถวายอิสอัคแด่พระยาห์เวห์ อับราฮัม(ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ อิบรอฮีม (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Abraham; אברהם; إبراهيم) เป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มศาสนาอับราฮัม เรื่องราวของท่านถูกบันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ 11 ถึง บทที่ 25 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ และคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามก็ถืออับราฮัมเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ด้วย อับราฮัม เดิมชื่อ "อับราม" เป็นบุตรของ เทราห์ สืบเชื้อสายมาจาก เชม บุตรของโนอาห.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

อัสซีเรีย

อัสซีเรีย หรือ จักรวรรดิอัสซีเรีย (Assyria หรือ Assyrian Empire) เป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่แม่น้ำไทกริสในเมโสโปเตเมีย (อิรัก) ที่มามีอำนาจปกครองจักรวรรดิเป็นช่วงๆ หลายครั้งในประวัติศาสตร์ “อัสซีเรีย” เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อเมืองหลวงเดิม “อัสเซอร์” (Assur) (Aššur; أشور; אַשּׁוּר) นอกจากนั้นคำว่า “อัสซีเรีย” ก็ยังหมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์หรือดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิด้วย ระหว่างสมัยอัสซีเรียเก่าระหว่างศตวรรษที่ 20 ถึง 15 ก่อนคริสต์ศักราชอัสเซอร์มีอำนาจในบริเวณส่วนใหญ่ของเมโสโปเตเมียเหนือ ในยุคกลางของอัสซีเรียระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจของอัสซีเรียก็เสื่อมโทรมลง แต่ต่อมาก็สามารถกู้ดินแดนที่เสียไปคืนได้ในชัยชนะที่ได้รับหลายครั้ง เมื่อมาถึงสมัยจักรวรรดิอัสซีเรียในยุคเหล็กตอนต้นระหว่างปี 911 ถึง 612 ก่อนคริสต์ศักราชอัสซีเรียก็ขยายอำนาจไกลออกไป และภายใต้การปกครองของอัสเชอร์บานิปาล (Ashurbanipal) (ปกครอง 668 – 627 ก่อนคริสต์ศักราช) อัสซีเรียก็ปกครอง Fertile Crescent ทั้งหมด รวมทั้งอียิปต์จนกระทั่งมาพ่ายแพ้เมื่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ และเปอร์เชียขยายอำนาจ และในที่สุดก็มาล่มสลายเมื่อราชวงศ์ชาลเดียของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ปล้นทำลายเมืองนิเนเวห์ในปี 612 ก่อนคริสต์ศักร.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และอัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูต

ระเยซูและอัครทูต อัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59 (Apostles; Ἀπόστολος, apostolos แปลว่า "ผู้ถูกส่งออกไป" เช่น ข่าวสารหรือตัวแทน) ตามพระวรสารสหทรรศน์และธรรมเนียมทางศาสนาคริสต์ใช้หมายถึงอัครสาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเลือก ตั้งชื่อ และฝึกเพื่อจะได้ส่งออกไปทำการประกาศข่าวดี หลังจากยูดาส อิสคาริโอท ทรยศต่อพระเยซู อัครสาวกที่เหลือภายใต้การนำของซีโมนเปโตรจึงจับฉลากเลือกมัทธีอัสซึ่งติดตามพระเยซูมาตั้งต้นขึ้นมาเป็นอัครทูตแทน ฉะนั้นเมื่อถึงเทศกาลเพนเทคอสต์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาประทับกับสาวกของพระเยซู จำนวนอัครทูตจึงมีสิบสองคนเท่าเดิม.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอักซุม

ักรวรรดิอัคซูไมท์ (Aksumite Empire หรือ Axumite Empire) เป็นจักรวรรดิสำคัญทางการค้าขายที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกาที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชและมารุ่งเรืองเอาเมื่อคริสต์ศักราชที่ 1 เมืองหลวงเก่าก่อตั้งทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย อาณาจักรใช้คำว่า “เอธิโอเปีย” มาตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 4Stuart Munro-Hay, Aksum: An African Civilization of Late Antiquity.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และอาณาจักรอักซุม · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และทะเลแดง · ดูเพิ่มเติม »

ความรอด

วามรอด (Salvation) ในทางศาสนา หมายถึง การที่วิญญาณปลอดจากบาปและผลของบาป ถือเป็นเป้าหมายของทุกศาสนา แต่แต่ละศาสนาจะอธิบายลักษณะและวิธีการบรรลุถึงความรอดแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และความรอด · ดูเพิ่มเติม »

คานาอัน

แผนที่ประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ตามคัมภีร์ฮีบรู คานาอันคือบริเวณที่ล้อมรอบด้วยเส้นสีแดง คานาอัน (ฟินิเชีย: 𐤊‏𐤍‏𐤏‏𐤍‏, Kana'n; כְּנָעַן‎ kna-an; كنعان Kanaʿān) คือ ดินแดนของชนเผ่าที่พูดภาษาเซมิติกราวปลายสหัสวรรตที่ 2 ก่อนคริสต์กาล ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ลิแวนต์ใต้ในตะวันออกกลาง ตรงกับบริเวณที่ตั้งประเทศอิสราเอล เลบานอน ดินแดนปาเลสไตน์ และบางส่วนของประเทศซีเรียและประเทศอียิปต์ มีชายฝั่งทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คำว่า คานาอัน ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือพันธสัญญาเดิม โดยบรรยายว่าเป็นดินแดนที่พระยาห์เวห์สัญญามอบให้แก่วงศ์วานอิสราเอล หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และคานาอัน · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์แดน

ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan; المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan; الأردن Al-Urdunn อัลอุรดุน) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกอบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และประเทศจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์เจีย

อร์เจีย (Georgia; საქართველო, Sakartvelo) เดิมระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 เรียกว่า สาธารณรัฐจอร์เจีย เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลดำในคอเคซัสตอนใต้ ในอดีตเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศรัสเซีย ทางใต้จรดประเทศตุรกี ประเทศอาร์มีเนีย และประเทศอาเซอร์ไบจาน.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และประเทศจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ปัสคา

อาหารที่ชาวยิวรับประทานในเทศกาลปัสกา ปัสคา หรือ ปัสกา (פֶּסַח, Pesach; Passover - แปลว่า ผ่านเว้น) เป็นเทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระยาห์เวห์ทรงนำพวกเขาออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ในช่วงประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล โดยในคืนก่อนที่ฟาโรห์จะยอมปล่อยวงศ์วานอิสราเอลให้ออกเดินทาง พระยาห์เวห์ทรงสำแดงปาฏิหาริย์ให้เกิดภัยพิบัติประการที่ 10 หลังจากที่ฟาโรห์ปฏิเสธที่ปล่อยพวกอิสราเอล ตามคำบัญชาของพระเจ้ามาแล้ว 9 ครั้ง ภัยพิบัติประการที่ 10 คือ ทูตมรณะจะเข้าไปในทุกครัวเรือนของชาวอียิปต์ เพื่อปลิดชีพของบุตรหัวปีของทุกครอบครัว ยกเว้นแต่ครอบครัวที่เชื่อฟังพระยาห์เวห์ โดยการนำเอาโลหิตของลูกแกะปัสคา มาทาไว้ที่ประตูบ้านของตน บ้านใดได้กระทำตามที่พระยาห์เวห์ทรงบัญชา ทูตมรณะก็จะไม่เข้าไปในบ้าน แต่จะ "ผ่านไป" (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ Passover) และบุตรหัวปีของครอบครัวนั้นก็จะรอดต.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และปัสคา · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และปาเลสไตน์ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญโยเซฟ

ซฟ (יוֹסֵף Yosef) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญยอแซฟ เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 1 และเสียชีวิตในคริสต์ศตวรรษเดียวกัน ที่เมืองนาซาเร็ธในประเทศอิสราเอลปัจจุบัน นักบุญโยเซฟสืบสายมาจากตระกูลกษัตริย์ดาวิด คัมภีร์พันธสัญญาใหม่ระบุว่าเป็นสามีของนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) นักบุญโยเซฟมิใช่บิดาตามเชึ้อสายของพระเยซูแต่ก็ถือกันว่าเป็นบิดาบุญธรรมและเป็นหัวหน้าของ “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ครอบครัวพระเยซู” (Holy Family) เชี้อสายตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญมัทธิว กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อยาโคบ แต่ตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญลูกา กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อเฮลี พระวรสารในสารบบไม่ได้ระบุวันและสถานที่เกิดและตายของโยเซฟ เท่าที่ทราบโยเซฟอยู่ที่เมืองนาซาเรธ ใน กาลิลี อยู่ที่เบธเลเฮม ในแคว้นยูเดียเป็นเวลาอีกสองปี และถูกบังคับให้ไปลี้ภัยไปอยู่อียิปต์อีกระยะหนึ่ง แม้ว่า “พระวรสารสหทรรศน์” จะไม่ได้กล่าวถึงอายุของโยเซฟแต่จากเอกสารอื่น ๆ โยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ และมารีย์เป็นหม้ายเมื่อพระเยซูออกเทศนาและเมื่อพระเยซูทรงรับพระทรมาน ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่าโยเซฟเสียชีวิตก่อนที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ อาชีพของโยเซฟตามที่บรรยายในพระวรสารว่าเป็น τεκτων, ภาษากรีกหมายถึงช่างแต่ในศาสนาคริสต์ถือกันว่าโยเซฟเป็นผู้ทำงานกับไม้หรือช่างไม้ แต่ในภาษาอังกฤษปัจจุบันใช้คำว่า “joiner” หรือ “cabinet-maker” หรือช่างทำเฟอร์นิเจอร์ซึ่งเหมาะกับความหมายในภาษากรีกมากกว่า นอกจากนั้นแล้วพระวรสารก็มิได้กล่าวถึงโยเซฟ และไม่มีบทพูด มิได้บอกสถานที่เกิดและสถานที่เสียชีวิต และเวลาต่างที่เกี่ยวกับโยเซฟก็แตกต่างกัน บางครั้งก็จะกล่าวว่าอายุมากกว่ามารีมาก และบางครั้งก็เพียงไม่กี่ปี บางวรสารกล่าวว่าโยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ ในพระวรสารกล่าวถึงโยเซฟเมื่อพระเยซูไปเยรูซาเลมเมื่ออายุสิบสองปี แต่ไม่มีอะไรที่กล่าวถึงโยเซฟหลังจากนั้น เอกสารเกี่ยวกับเวลาเสียชีวิตไม่ชัดเจนแต่เมื่อพระเยซูออกเทศนามารีย์ก็เป็นหม้ายแล้ว ในนิกายโรมันคาทอลิกถือว่านักบุญโยเซฟเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์กรรกรและมีวันสมโภชหลายวัน และในปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และนักบุญโยเซฟ · ดูเพิ่มเติม »

นาซาเรธ

องเมืองนาซาเรธ นาซาเรธ (Nazareth; สัทอักษรสากล) (נָצְרַת, ฮีบรู Natz'rat หรือ Natzeret; الناصرة an-Nāṣira หรือ an-Naseriyye) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของเขตเหนือของอิสราเอล เป็นเสมือนเมืองหลวงของอาหรับสำหรับชาวอาหรับในประเทศอิสราเอล ผู้ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในนาซาเรธ ในพันธสัญญาใหม่ นาซาเรธถูกอธิบายว่าเป็นบ้านเกิดของพระเยซูคริสต์ และ เป็นสถานที่ในการเดินทางแสวงบุญของชาวคริสต์ทั้งปวง.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และนาซาเรธ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำจอร์แดน

แม่น้ำจอร์แดน (ฮิบรู: נהר הירדן Nehar haYarden, نهر الأردن Nahr al-Urdun) เป็นแม่น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันตก มีความยาวทั้งสิ้น 251 กิโลเมตร ไหลลงสู่ทะเลเดดซี ปัจจุบันถือเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดน ในความเชื่อของชาวคริสเตียนเชื่อว่าพระเยซูได้รับเข้าพิธีล้างจากนักบุญยอห์น แบปติสต์ ที่แม่น้ำแห่งนี้ อีกทั้งชื่อของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนก็มาจากชื่อแม่น้ำสายนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และแม่น้ำจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

โมเสส

มเสสกับแผ่นจารึก, พ.ศ. 2202 (1659), โดยแร็มบรันต์ โมเสสเมื่อลงมาหลังจากเข้าเฝ้าพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย, พ.ศ. 2181 (1638), โดย ไรเบรา เดอ โจเซ รูปปั้นของโมเสส โดยมีเกลันเจโล โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Moses; מֹשֶׁה; موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสน.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และโมเสส · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เบธเลเฮม

ลเฮม (بيت لحم,, ตามตัวอักษร "House of Meat"; Bethleém; בית לחם, Beit Lehem, ตามตัวอักษร "House of Bread", Bethlehem) เป็นเมืองปาเลสไตน์ที่ตั้งอยู่ที่เวสต์แบงค์ราว 10 กิโลเมตรทางตอนใต้ของกรุงเยรูซาเลม ที่มีประชากรราว 30,000 คน เบธเลเฮมเป็นเมืองหลวงของ Bethlehem Governorate ของPalestinian National Authorityและเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมปาเลสไตน์และการท่องเที่ยว เบธเลเฮมเชื่อกันโดยผู้นับถือคริสต์ศาสนาว่าเป็นที่ประสูติของพระเยซูแห่งนาซาเร็ธ เบธเลเฮมเป็นที่อยู่ของชุมชนคริสเตียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแต่จำนวนประชากรก็ลดลงไปเป็นจำนวนมากจากการโยกย้ายออกจากเมือง.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และเบธเลเฮม · ดูเพิ่มเติม »

เมสสิยาห์

ระเมสสิยาห์ (Messiah; מָׁשִיַח มาซียาห์; ܡܫܝܚܐ; Μεσσίας; مشيح) หมายถึง พระผู้ช่วยให้รอดตามความเชื่อในกลุ่มศาสนาอับราฮัม ได้แก่ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ในคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ พระเมสสิยาห์ หมายถึง พระมหากษัตริย์หรือมหาปุโรหิต ซึ่งได้รับแต่งตั้งด้วยการเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ พระเมสสิยาห์อาจไม่ใช่ชาวยิวเสมอไป เช่น พระเจ้าไซรัสมหาราช ผู้ปลดปล่อยชาวยิวจากการเป็นเชลยก็ถือว่าเป็นพระเมสสิยาห์ด้วย ต่อมาความหมายของเมสสิยาห์เปลี่ยนไป ใช้หมายถึงกษัตริย์ยิวผู้ปกครองโลกในยุคสุดท้ายไปตลอดชั่วนิรันดร์ ตามความเชื่อและอวสานวิทยาของชาวยิว พระเมสสิยาห์จะเป็นคนในเชื้อสายดาวิดและได้เป็นผู้นำของชาวยิวในอนาคต ตลอดจนทั้งโลกในยุคพระเมสสิยาห์ คำว่า เมสสิยาห์ ตรงกับภาษากรีกว่า คริสตอส ซึ่งแปลว่า พระคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนจึงใช้คำนี้เป็นสมัญญานามของพระเยซู เพราะเชื่อว่าพระผู้ช่วยให้รอดที่คัมภีร์ฮีบรูหรือคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมได้กล่าวถึงนั้น คือ พระเยซูคริสต์ ในตำราหะดีษของศาสนาอิสลามก็ระบุว่าอีซา (เยซู) บุตรนางมัรยัม (มารีย์) ก็คือนบีและมะซีฮ์ (เมสสิยาห์) ที่พระเป็นเจ้าทรงส่งมาช่วยวงศ์วานอิสราเอลตามพันธสัญญา และเชื่อว่าท่านจะกลับมายังโลกอีกครั้งพร้อมกับอิมามมะฮ์ดี และร่วมกันกำจัดมะซีห์ อัด-ดัจญาล (ศัตรูของพระคริสต์)http://muttaqun.com/dajjal.html.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และเมสสิยาห์ · ดูเพิ่มเติม »

เมโสโปเตเมีย

แผนที่บริเวณเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia; Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และเมโสโปเตเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และเอกเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เปาโลอัครทูต

นักบุญเปาโลอัครทูต (St.) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (St.; San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” เป็น “อัครทูตถึงชนต่างชาติ” (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just), เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่นๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขนตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไป ดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม.

ใหม่!!: ประวัติศาสนาคริสต์และเปาโลอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »