โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอกเทวนิยม

ดัชนี เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

27 ความสัมพันธ์: พระวิญญาณบริสุทธิ์พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์พระเยซูพระเจ้าพระบิดาพระเจ้าพระบุตรพระเป็นเจ้าพหุเทวนิยมพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์มอรมอนมนุษย์ศาสนาบาไฮศาสนายูดาห์ศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูศาสนาคริสต์ศาสนาซิกข์ศาสนาโซโรอัสเตอร์สรรพันตรเทวนิยมสรรพเทวนิยมอติเทวนิยมคริสต์ศาสนิกชนตรีเอกภาพซาตานปรวิสัยไญยนิยมเทวัสนิยมเทวดา

พระวิญญาณบริสุทธิ์

ระวิญญาณบริสุทธิ์ในรูปนกพิราบล้อมรอบด้วยบรรดาทูตสวรรค์ วาดโดยกอร์ราโด จีอากวินโต ราวคริสต์ทศวรรษ 1750 พระวิญญาณบริสุทธิ์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระจิต (ศัพท์คาทอลิกและออร์ทอดอกซ์) (Holy Spirit; Holy Ghost) เป็นวิญญาณชนิดหนึ่งตามความเชื่อในศาสนาอับราฮัม อันได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม แต่แต่ละศาสนาก็มีความเชื่อเกี่ยวกับพระวิญญาณบริสุทธิ์แตกต่างกัน บุคคลผู้ที่ได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ จะมีความคิดความอ่านไปในวิถีทางเดียวกับพระเจ้า คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ (นิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์) เชื่อเรื่องตรีเอกภาพ โดยถือว่าพระเจ้าพระองค์เดียวนั้นทรงมีสามพระบุคคลแตกต่างกัน คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงถือพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเจ้าด้วย แต่คริสต์ศาสนิกชนอีกหลายนิกาย (เช่น พยานพระยะโฮวา) รวมทั้งศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ (คือชาวยิวและชาวมุสลิม) ก็ไม่ยอมรับความเชื่อนี้.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและพระวิญญาณบริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์

"''การรับเป็นมนุษย์''" เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรชีวิตของพระเยซู โดยมีพระตรีเอกภาพอยู่ตรงกลางภาพ ฟรีโดลิน ไลเบอร์ วาดไว้ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Incarnation of the Word) ในศาสนาคริสต์หมายถึงการที่พระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระเจ้าพระบุตรหรือพระวจนะ ได้เสด็จลงมาบนโลกเพื่อรับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของนางมารีย์ (บางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ จึงยกย่องพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นพระมารดาพระเจ้าด้วย) เรื่องพระเจ้ามารับสภาพมนุษย์ถือเป็นหลักคำสอนทางเทววิทยาที่หลักข้อเชื่อไนซีนให้การรับรอง โดยถือว่าพระเยซูเป็นพระบุคคลที่สองในพระเป็นเจ้าซึ่งเป็นตรีเอกภาพ ได้มารับสภาพมนุษย์โดยที่ธรรมชาติพระเป็นเจ้าเดิมยังดำรงอยู่ในตัว หลักข้อเชื่อนี้จึงถือว่าพระเยซูทรงเป็นทั้งมนุษย์และพระเป็นเจ้าโดยสมบูรณ์ ดังที่พระวรสารนักบุญยอห์นระบุว่า "พระวจนะเป็นพระเจ้...

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและพระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพระบิดา

วาดพระเจ้าพระบิดาโดย Julius Schnorr ค.ศ. 1860 พระเจ้าพระบิดา (God the Father) เป็นคำที่ใช้เรียกพระเจ้าในศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาห์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาเพราะเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สร้าง ผู้บัญญัติธรรม และผู้ปกป้อง ส่วนทางศาสนาคริสต์เรียกพระเจ้าว่าพระบิดาตามเหตุผลเดียวกับศาสนายูดาห์ แต่ก็เป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดาและพระเยซูซึ่งเป็นพระบุตรของพระองค์ด้วย คำว่า พระบิดา บ่งบอกว่าพระองค์เป็นผู้ทรงสรรพานุภาพ เป็นผู้ปกป้องดูแล เป็นสัพพัญญู และทรงอยู่ทุกหนแห่ง ซึ่งเกินกว่าการที่มนุษย์ธรรมดาจะเข้าใจได้ เช่น นักบุญทอมัส อไควนัส นักปราชญ์แห่งคริสตจักรคนสำคัญเขียนสรุปไว้ว่าท่านเองก็ยังไม่เข้าใจพระบิดาเล.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและพระเจ้าพระบิดา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพระบุตร

ตามหลักเทววิทยาศาสนาคริสต์ ถือว่าพระเจ้าพระบุตร (God the Son) คือพระบุคคลที่สองในตรีเอกภาพ โดยเชื่อว่าพระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระบุตร และพระเจ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นพระเจ้าในสารัตถะเดียว แต่ต่างบุคคลกัน และเชื่อว่าพระเจ้าพระบุตรก็คือพระเยซู ตามความเชื่อนี้ พระเจ้าพระบุตรดำรงอยู่มาก่อนที่จะรับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซู และเป็นพระเป็นเจ้าที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์เช่นเดียวกับพระบิดาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ คำว่า "พระเจ้าพระบุตร" จึงเน้นถึงความเป็นพระเจ้าของพระเยซู ต่างจากคำว่า พระบุตรของพระเจ้า ที่เน้นความเป็นมนุษย์มากกว.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและพระเจ้าพระบุตร · ดูเพิ่มเติม »

พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พหุเทวนิยม

ทพอียิปต์ พหุเทวนิยม (polytheism) เป็นการบูชาหรือความเชื่อในพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้าหลายองค์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 427 ถือเป็นเทวนิยมแบบหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับเอกเทวนิยมที่เชื่อในพระเป็นเจ้าองค์เดียว ผู้ที่เชื่อแบบพหุเทวนิยมไม่ได้บูชาเทพเจ้าทุกองค์เสมอกัน แต่อาจบูชาเฉพาะองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษก็ได้ (เรียกว่าอติเทวนิยม) ศาสนาประเภทพหุเทวนิยม เช่น พหุเทวนิยมกรีกและโรมัน เทพปกรฌัมสลาฟ ศาสนาฮินดู ศาสนาชินโต ศาสนาพื้นบ้านจีน ลัทธิเต๋า เป็นต้น.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและพหุเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248 หรือพิธีมหาสนิท(Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์บางคณะเรียกว่าศีลมหาสนิท เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน ในนิกายโปรเตสแตนต์ กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทตามพระวรสารนักบุญลูกา ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทเฉพาะตามที่พระศาสนจักรคาทอลิกกำหน.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

มอรมอน

รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน เป็นผู้นำศาสนาคริสต์นิกายมอรมอนคนปัจจุบัน จำนวนสมาชิกของศาสนจักรมอรมอนทั่วโลกเมื่อปี 2009https://www.mormonnewsroom.org/facts-and-statistics มอรมอน (Mormon) เป็นคริสต์ศาสนิกชนกลุ่มหนึ่งในขบวนการวิสุทธิชนยุคสุดท้าย ซึ่งโจเซฟ สมิธ เป็นผู้ริเริ่มขบวนการนี้ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1820 ปัจจุบันชาวมอรมอนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย ชาวมอรมอนมีบทบาทมากในรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา แต่ศาสนิกชนส่วนมากอาศัยอยู่นอกสหรัฐ ชาวมอรมอนยอมรับคัมภีร์ไบเบิลและคัมภีร์อื่น ๆ ด้วยโดยเฉพาะพระคัมภีร์มอรมอน และเชื่อว่าโจเซฟ สมิธ เป็นผู้ฟื้นฟูคริสตจักรของพระคริสต์ และยังมีการสืบทอดตำแหน่งผู้เผยพระวจนะและอัครทูตในฐานะผู้นำคริสตจักร ในปี..

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและมอรมอน · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาบาไฮ

อาคารของธรรมสภายุติธรรมสากลบาไฮ ที่ประเทศอิสราเอล ศาสนาบาไฮราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 316 หรือลัทธิบาไฮ (الدّين البهائي; Bahá'í Faith) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่แยกตัวออกมาจากลัทธิบาบีในปี ค.ศ. 1863 ถือกำเนิดในจักรวรรดิเปอร์เซีย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศอิหร่าน) ศาสดาคือพระบะฮาอุลลอฮ์ (พ.ศ 2360-2435) ศูนย์กลางบาไฮโลกอยู่ที่เมืองไฮฟา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 2 แห่ง คือ พระสถูปของพระบะฮาอุลลอฮ์อยู่ที่เมืองอัคคา และพระสถูปของพระบาบอยู่ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ปัจจุบันเป็นศาสนาที่เผยแผ่ได้กว้างขวางเป็นอันดับสองของโลก โดยมีศาสนิกชนกว่า 5 ล้านคนทั่วโลก บาไฮศาสนิกชนมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน และอาศัยอยู่ในแทบทุกประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและศาสนาบาไฮ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาซิกข์

ัญลักษณ์ของศาสนาซิกข์ที่ใช้ในปัจจุบัน ศาสนาซิกข์ หรือ ศาสนาสิกข์ (ਸਿੱਖੀ, สัท.:, Sikhism) เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในตอนเหนือของอินเดีย จากคำสอนของ นานัก และคุรุผู้สืบทอดอีก 9 องค์ หลักปรัชญาของศาสนาซิกข์และการปฏิบัติตามหลักศาสนา นิยมเรียกว่า "คุรมัต" (ความหมายโดยพยัญชนะ หมายถึง "คำสอนของคุรุ" หรือ "ธรรมของซิกข์") คำว่า "ซิกข์" หรือ "สิกข์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ศิษฺย" หมายถึง ศิษย์ ผู้เรียน หรือ "ศิกฺษ" หมายถึง การเรียน และภาษาบาลีว่า "สิกฺข" หรือ "สิกฺขา" หมายถึง การศึกษา ผู้ศึกษา หรือผู้ใฝ่เรียนรู้ ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยม เนื่องจากหลักความเชื่อของศาสนาซิกข์ คือ ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว คือ "วาหคุรู" ปฏิบัติสมาธิในนามของพระเจ้า และโองการของพระเจ้า ศาสนิกชาวซิกข์จะนับถือหลักคำสอนของคุรุซิกข์ทั้ง 10 หรือผู้นำผู้รู้แจ้ง และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า "คุรุ ครันถ์ สาหิพ" ซึ่งเป็นบทคัดสรรจากผู้เขียนมากมาย จากภูมิหลังทางศาสนา และเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย คัมภีร์ของศาสนาเป็นบัญญัติของคุรุ โคพินท์ สิงห์ คุรุองค์สุดท้ายแห่งขาลสา ปันถ (Khalsa Panth) การสอนและหลักปฏิบัติของศาสนาซิกข์มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคปัญจาบในลักษณะต่างๆ กัน ชาวซิกข์ทุกคนต้องทำพิธี "ปาหุล" คือพิธีล้างบาป เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะรับเอา "กะ" คือสิ่งที่เริ่มต้นด้วยอักษร "ก" 5 ประการ ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและศาสนาซิกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาโซโรอัสเตอร์

ฟาร์วาฮาร์ สัญลักษณ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) เป็นศาสนาและปรัชญาศาสนาอิหร่านเอกเทวนิยมโบราณอย่างหนึ่ง เคยเป็นศาสนาแห่งรัฐจักรวรรดิอะคีเมนิด พาร์เธียและแซสซานิด ประมาณจำนวนศาสนิกโซโรอัสเตอร์ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ระหว่างประมาณ 145,000 คนเมื่อประมาณ..

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและศาสนาโซโรอัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สรรพันตรเทวนิยม

รรพัชฌัตเทวนิยม (Panentheism) เป็นเทวนิยมรูปแบบหนึ่งที่เชื่อว่าพระเป็นเจ้าทรงสถิตแทรกซึมอยู่ทั่วโลก (ตลอดทั้งจักรวาล) มีลักษณะเป็นแนวคิดสายกลางระหว่างแนวคิดแบบเอกเทวนิยมด้ังเดิมที่มองว่าพระเป็นเจ้าทรงอยู่แยกขาดจากโลก กับแนวคิดสรรพเทวนิยมที่มองว่าพระเป็นเจ้ากับโลกเป็นสิ่งเดียวกัน สรรพัชฌัตเทวนิยมจึงเสนอว่าพระเป็นเจ้าทรงปรากฏพระองค์ในโลก (ไม่ได้แยกขาดจากกัน) แต่พระองค์ก็ไม่ใช่ภาวะเดียวกับโลก แนวคิดนี้ปรากฏในสาขาปรัชญาและเทววิทยามาหลายศตวรรษ แต่มาเฟื่องฟูมากในโลกตะวันตกเมื่อสองศตวรรษที่แล้ว เมื่อศาสนาคริสต์ต้องปรับตัวเข้ากับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ศาสนาที่มีแนวคิดแบบสรรพัชฌัตเทวนิยม เช่น ศาสนาฮินดูสำนักวิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะ และลัทธิอนุตตรธรรม เป็นต้น.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและสรรพันตรเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สรรพเทวนิยม

รรพเทวนิยม (Pantheism) เป็นแนวคิดซึ่งเชื่อว่าเอกภพ (ธรรมชาติ) กับพระเป็นเจ้านั้นเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่เชื่อในสรรพเทวนิยมจึงไม่เชื่อในแนวคิดพระเจ้าที่เป็นตัวบุคคล มีรูปร่างแบบมนุษย์ (anthropomorphism) หรือพระผู้สร้าง สรรพเทวนิยมยังได้แสดงแนวคิดที่ว่า "พระเจ้า" นั้นควรถูกมองในวิถีทางที่เกี่ยวข้องกับเอกภพจึงจะดีที่สุดOwen, H. P. Concepts of Deity.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและสรรพเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

อติเทวนิยม

อติเทวนิยม เป็นคำไทยที่บัญญัติขึ้น เพื่อใช้นิยามแนวคิดทางเทววิทยา Henotheism (ἑνας, henas - หนึ่ง, และ θεός, theos - เทพ) อติเทวนิยม คือ ความเชื่อที่ทั้งเหมือนและแตกต่างไปจาก เอกเทวนิยม โดยเหมือนกันในแง่ที่นับถือบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าเพียงองค์เดียว แต่ต่างกันตรงที่อติเทวนิยมยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้าหรือเทพเจ้าองค์อื่นๆด้วย ในขณะที่ เอกเทวนิยม จะถือว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวเท่านั้น แม้อาจมีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้าหรือเทพเจ้าปนอยู่ด้วย และอติเทวนิยมก็สอดคล้องกับความเชื่อ พหุเทวนิยม ในประการที่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ ต่างกันตรงที่จะบูชาเพียงพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว ในขณะที่พหุเทวนิยม จะทั้งเชื่อและบูชาพระเจ้าหลายองค์พร้อมๆกัน มักซ์ มึลเลอร์ (1823-1900) นักอินเดียวิทยา และผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่เสนอว่าศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาฮินดู เป็นตัวอย่างที่สำคัญของแนวความคิดแบบอติเทวนิยม แต่ปัจจุบันมีผู้ไม่เห็นด้วยเพราะการจะเป็นอติเทวนิยมโดยแท้ จะต้องเป็นการนับถือบูชาพระเจ้าเพียงองค์เดียว ไม่ใช่บูชาหลายองค์แบบที่ศาสนาพราห์ม-ฮินดูเป็นอยู่ในทุกวันนี้ซึ่งเป็นพหุเทวนิยม เช่นเดียวกับศาสนากรีกและศาสนาจีน.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและอติเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเอกภาพ

จิตรกรรมฝาผนัง “ตรึเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union) ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยม” คริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนาHarris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและตรีเอกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ซาตาน

''Depiction of Satan'' โดย จอห์น มิลตัน ค.ศ. 1866 ซาตานถูกกำราบโดยอัครทูตสวรรค์มีคาเอล ซาตาน (שָּׂטָן satan หมายถึง "ศัตรู หรือ ปฏิปักษ์"; شيطان shaitan หมายถึง "หลงผิด") เป็นตัวตนซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของศาสนาอับราฮัม ว่าเป็นผู้นำพาความชั่วร้ายและเป็นผู้ชักจูงมวลมนุษย์ไปในทางที่ผิด ในบางศาสนาสอนว่าซาตานคือทูตสวรรค์ที่เคยเปี่ยมด้วยความงดงามและเป็นที่เคารพ ซาตานทำให้เกิดสงครามบนสวรรค์และร่วงหล่นจากสวรรค์เพราะความหยิ่งผยองในตน และได้ล่อลวงมนุษย์ชาติไปสู่การโกหกและบาป จึงกลายเป็นผู้มีอำนาจในโลกมนุษย์ ในคัมภีร์ฮีบรูและพันธสัญญาใหม่ระบุว่าซาตานเป็นศัตรูตัวฉกาจ เป็นตัวแทนแห่งภัยชั่วร้ายอย่างแท้จริง บางครั้งก็เรียกว่าปีศาจ เป็นสัญลักษณ์ของความชิงชัง คำว่า "ซาตาน" มักไม่เป็นที่กล่าวถึงโดยตรงในคัมภีร์ของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ แต่ใช้คำว่า ὁ δράκων (dragon) ซึ่งโรมันคาทอลิกแปลว่า "มังกร" ส่วนโปรเตสแตนต์แปลว่า "พญานาค" และใช้คำว่า "ศัตรู/ปฏิปักษ์" (adversary) แทน โดยมักปรากฏภาพอัครทูตสวรรค์มีคาเอลกำราบพญานาคอยู่ตามอาสนวิหารต่างๆ โดยในหนังสือวิวรณ์ระบุถึงพญานาคและเหตุการณ์นั้นไว้ว่า "...พญานาคสีแดงตัวใหญ่ตัวหนึ่ง มันมีเจ็ดหัวและสิบเขา และบนหัวทั้งเจ็ดมีมงกุฎเจ็ดอัน และหางของพญานาคตวัดดวงดาวหนึ่งส่วนสามในท้องฟ้า แล้วทิ้งลงมาบนแผ่นดินโลก...ขณะนั้นเกิดสงครามขึ้นในสวรรค์ มีคาเอลกับบรรดาทูตสวรรค์ของท่านต่อสู้กับพญานาค และพญานาคกับบริวารของมันก็ต่อสู้ แต่มันพ่ายแพ้และพบว่าไม่มีที่อยู่สำหรับพวกมันในสวรรค์อีกต่อไป พญานาคใหญ่ตัวนั้นคืองูดึกดำบรรพ์ ที่เขาเรียกกันว่ามารและซาตานผู้ล่อลวงมนุษย์ทั้งโลก มันถูกโยนลงมาที่แผ่นดินโลก และเหล่าบริวารของมันถูกโยนลงมากับมันด้วย" ในพระวรสารนักบุญมัทธิว เมื่อครั้งพระเยซูจะเดินทางเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ทรงถูกเปรโตรอัครสาวกหยุดยื้อไว้เพราะไม่ต้องการให้เหตุร้ายเกิดกับพระองค์ พระเยซูได้ตำหนิเปโตรอย่างรุนแรงว่า "จงไปให้พ้น เจ้าซาตาน เจ้าเป็นเครื่องกีดขวางเรา เพราะเจ้าไม่ได้คิดอย่างพระเจ้า แต่เจ้าคิดอย่างมนุษย์".

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและซาตาน · ดูเพิ่มเติม »

ปรวิสัย

ปรวิสัย, ปรนัย, วัตถุวิสัย หรือ ภววิสัย (objectivity) คือสิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง เงื่อนไขที่เป็นความจริง โดยไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจ นั่นคือผลของการตัดสินใด ๆ จะไม่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและความรู้สึก ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามปรวิสัยมักจะถูกค้นพบมากกว่าที่จะถูกสร้างขึ้นมา ในทางปรัชญา สิ่งที่เป็นปรวิสัยจะเป็นจริงเสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในเวลาใด หรือกับบุคคลใด มีความหมายตรงข้ามกับอัตวิสัย ข้อเท็จจริงที่เป็นอัตวิสัยจะเป็นปรวิสัยก็ต่อเมื่อ สิ่งนั้นเป็นข้อเท็จจริงบนเงื่อนไขเฉพาะอย่าง ในเวลาเฉพาะ ในสถานที่เฉพาะ หรือกับบุคคลเฉ.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและปรวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

ไญยนิยม

ญยนิยม หรือลัทธินอสติก (gnosticism; γνῶσις gnōsis ความรู้; الغنوصية‎) คือแนวคิดทางศาสนารูปแบบหนึ่งในสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ควรสละโลกวัตถุ เพื่อมุ่งเน้นเรื่องจิตวิญญาณ แนวคิดเช่นนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อศาสนาสมัยโบราณ ดังเห็นได้จากการถือพรต ถือพรหมจรรย์ เพื่อให้ถึงการหลุดพ้น การตรัสรู้ ความรอด การกลับไปรวมกับพระเป็นเจ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการปฏิบัติอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม ไญยนิยมเริ่มปรากฏรูปแบบชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในบริบทของศาสนาคริสต์ ในอดีตนักวิชาการบางคนเชื่อว่าไญยนิยมเกิดขึ้นก่อนศาสนาคริสต์ และเป็นต้นกำเนิดของความเชื่อและการปฏิบัติหลายอย่างที่แพร่หลายอยู่แล้วในสมัยนั้น ทั้งในศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนายูดาห์แบบเฮลเลนิสต์ ศาสนาโรมันโบราณ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และลัทธิเพลโต แต่เมื่อค้นพบหอสมุดนักฮัมมาดี กลับไม่ปรากฏตำราไญยนิยม จึงได้ข้อสรุปว่าไญยนิยมที่เป็นระบบ เป็นเอกภาพ เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและไญยนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เทวัสนิยม

เทวัสนิยม (deism) เป็นแนวความคิดที่สำคัญในศตวรรษที่ 18 โดยในศตวรรษนี้เป็นยุคแห่งเหตุผล นักคิดทั้งหลายต่างพยายามที่จะสร้างระบบการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์ที่ได้ผลและสมเหตุสมผลขึ้น โดยไม่ยอมพึ่งพาอาศัยอำนาจเหนือธรรมชาติต่าง ๆ พระเจ้าเป็นเพียงผู้สร้างโลกเท่านั้น เราจะเห็นการแบ่งเป็นฝักฝ่ายระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ได้เกิดขึ้น พวกหัวเก่าโจมตีพวกหัวใหม่ว่าต่อไปนี้จะไม่มีอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์หลงเหลืออยู่อีก การถกเถียงเป็นไปอย่างกว้างขวางอันเป็นเหตุให้เกิดความคิดแบบเทวัสนิยมขึ้นมา พวกนี้เชื่อในพระเจ้าแต่ในขณะเดียวกันก็เชื่อมั่นในเหตุผลและคิดว่าจะสามารถใช้เหตุผลพิสูจน์ในเรื่องพระเจ้าได้ พวกนี้เชื่อต่อไปอีกว่าเหตุผลเท่านั้นที่จะช่วยให้เราเกิดความเข้าใจศาสนาและศีลธรรมอย่างถูกต้อง พวกนี้ถือว่าพระเจ้านั้นมีอยู่ ทว่าหลังจากที่ทรงสร้างโลกแล้วก็มิได้ลงมายุ่งเกี่ยวกับมนุษย์อีกเลย พวกนี้ยอมรับศาสนาในสมัยแรกเริ่ม แต่มักจะโจมตีศาสนาในระยะหลังที่มีพิธีการ มีพระเป็นผู้สืบศาสนา พวกนี้เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุผลอยู่ในตัว เพียงแต่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่สามารถจะบังคับในตัวเองให้ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ทำให้พระเข้ามามีบทบาทได้ ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้ว มนุษย์ทุกคนเข้าถึงและรู้เข้าใจเกี่ยวกับศาสนาเป็นอย่างดี ตัวอย่างผู้มีความเชื่อแบบเทวัสนิยม ได้แก่ เบนจามิน แฟรงคลินและวอลแตร์ หมวดหมู่:ความเชื่อ.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและเทวัสนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: เอกเทวนิยมและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ลัทธิเอกเทวนิยม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »