สารบัญ
18 ความสัมพันธ์: ยาโคบหนังสือเอสเธอร์อัลกุรอานอาณาจักรยูดาห์คานาอันตะวันออกใกล้เยรูซาเลมเผ่ากาดเผ่ามนัสเสห์เผ่ารูเบนเผ่าสิเมโอนเผ่าอาเชอร์เผ่าอิสสาคาร์เผ่าดานเผ่านัฟทาลีเผ่าเลวีเผ่าเศบูลุนเผ่าเอฟราอิม
ยาโคบ
ป็นบุตรคนที่สองของอิสอัค กับนางเรเบคาห์ ยาโคบมีพี่ชายฝาแฝดชื่อ เอซาว แต่ทั้งสองแตกต่างกัน เอซาว ตัวแดงมีขนทั่วตัว เป็นนายพรานมือแม่น เป็นที่รักของอิสอัค ขณะที่ยาโคบ เป็นเด็กเงียบ ๆ อยู่กับบ้าน แต่เป็นที่รักของนางเรเบคาห์ ผู้เป็นแม.
หนังสือเอสเธอร์
หนังสือเอสเธอร์ (Book of Esther) เป็นหนังสือเล่มที่ 17 ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในชุดหมวดประวัติศาสตร์ เนื้อหากล่าวถึงประวัติศาสตร์ของวงศ์วานอิสราเอลในช่วงอิสราเอลตกเป็นเมืองขึ้นของเปอร์เซียในรัชสมัยกษัตริย์อาหัสซูเอรัส หนังสือเอสเธอร์เป็นคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม 1 ใน 2 เล่ม ที่ใช้ชื่อสตรีเป็นชื่อหนังสือ และกล่าวถึงบทบาทของสตรีต่อชนชาติอิสราเอลอย่างชัดเจน และมีบทบาทนำอ่านในช่วงการเฉลิมฉลองเทศกาล.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและหนังสือเอสเธอร์
อัลกุรอาน
อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและอัลกุรอาน
อาณาจักรยูดาห์
อาณาจักรยูดาห์ในช่วงศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล ภาพแสดงถึงพระราชาและทหารในอาณาจักรยูดาห์โบราณ ราชอาณาจักรยูดาห์ (ฮีบรู: מַמְלֶכֶת יְהוּדָה; มัมเลกเฮต เยฮูดาห์) คืออดีตรัฐยิวที่ก่อตั้งขึ้นบริเวณตอนใต้ของเขตลิแวนต์ในช่วงยุคเหล็ก มักถูกเรียกขานโดยทั่วไปว่า ราชอาณาจักรใต้ เพื่อที่จะไม่ให้สับสนกับราชอาณาจักรอิสราเอลที่อยู่ทางเหนือ ซึ่งทั้งสองอาณาจักรเคยมีสถานะเป็นรัฐเดียวกันมาก่อนในนามว่า สหราชอาณาจักรอิสราเอล ยูดาห์ถูกสันนิษฐานว่าน่าจะพัฒนากลายมาเป็นรัฐในช่วงหลังศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ได้ ในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมีประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งมากกว่าประชากรของรัฐข้างเคียงมาก ต่อมาพวกอัสซีเรียเข้ารุกรานและควบคุมยูดาห์เนื่องจากต้องการทรัพยากรน้ำมันมะกอกอันล้ำค่าของยูดาห์ ยูดาห์จึงตกเป็นรัฐบริวารของอัสซีเรียThompson 1992, pp.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและอาณาจักรยูดาห์
คานาอัน
แผนที่ประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ตามคัมภีร์ฮีบรู คานาอันคือบริเวณที่ล้อมรอบด้วยเส้นสีแดง คานาอัน (ฟินิเชีย: 𐤊𐤍𐤏𐤍, Kana'n; כְּנָעַן kna-an; كنعان Kanaʿān) คือ ดินแดนของชนเผ่าที่พูดภาษาเซมิติกราวปลายสหัสวรรตที่ 2 ก่อนคริสต์กาล ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ลิแวนต์ใต้ในตะวันออกกลาง ตรงกับบริเวณที่ตั้งประเทศอิสราเอล เลบานอน ดินแดนปาเลสไตน์ และบางส่วนของประเทศซีเรียและประเทศอียิปต์ มีชายฝั่งทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คำว่า คานาอัน ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือพันธสัญญาเดิม โดยบรรยายว่าเป็นดินแดนที่พระยาห์เวห์สัญญามอบให้แก่วงศ์วานอิสราเอล หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ.
ตะวันออกใกล้
ตะวันออกใกล้ในบริบททางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ตะวันออกใกล้ (Near East) เป็นคำที่มีความหมายกำกวมที่ครอบคลุมกลุ่มประเทศที่ต่างกันระหว่างนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ฝ่ายหนึ่ง และนักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้สื่อข่าวอีกฝ่ายหนึ่ง เดิมคำว่า "ตะวันออกใกล้" หมายถึงรัฐในคาบสมุทรบอลข่านทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป แต่ในปัจจุบันมักจะหมายถึงประเทศในบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอิหร่านโดยเฉพาะในบริบททางประวัติศาสตร์ คำว่า “ตะวันออกใกล้” ที่ใช้โดยนักโบราณคดี นักภูมิศาสตร์ และ นักประวัติศาสตร์ยุโรปหมายถึงบริเวณที่รวมทั้งอานาโตเลีย (บริเวณตุรกีที่อยู่ในเอเชีย), บริเวณเลแวนต์ (ซีเรีย, เลบานอน, จอร์แดน, ไซปรัส, อิสราเอล และดินแดนในปาเลสไตน์ (Palestinian territories)), เมโสโปเตเมีย (อิรัก) และคอเคซัสใต้ (จอร์เจีย, อาร์มีเนีย และอาเซอร์ไบจาน) แต่ในบริบททางการเมืองและการสื่อข่าว "ตะวันออกใกล้" หมายถึงจะรวมบริเวณที่กว้างกว่าของตะวันออกกลาง ขณะที่คำนี้หรือคำว่าเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นคำที่นิยมมากกว่าในบริบทของการศึกษาทางโบราณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษย์วิทยา และพันธุศาสตร์ของประชากร.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและตะวันออกใกล้
เยรูซาเลม
รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและเยรูซาเลม
เผ่ากาด
ผ่ากาด เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของอิสราเอล ตามบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดเบญจบรรณ และตามคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ กาด เป็นชื่อของบุตรชายคนที่ 7 ของยาโคบ หรือ อิสราเอล ซึ่งเกิดกับ นางศิลปาห์ สาวใช้ของนางเลอาห.
เผ่ามนัสเสห์
มนัสเสห์ เป็นบุตรชายคนโต ของโยเซฟ และนางอาเสนัท ก่อนที่ยาโคบ และครอบครัวของท่านจะย้ายเข้ามายังอียิปต์ ด้วยเหตุนี้ ยาโคบจึงยกให้บุตรชายทั้งสองคนของโยเซฟ เทียบเท่าบุตรชายคนอื่น ๆ ของตน ดังนั้นในอิสราเอลจึงมี 12 เผ่าตามจำนวนบุตรชายของยาโคบ แต่จะนับพงศ์พันธุ์ของโยเซฟ ออกเป็น 2 เผ่า คือ เอฟราอิม และมนัสเสห์ คำว่า มนัสเสห์ มีรากศัพท์มาจากภาษาฮีบรู แปลว่า การทำให้ลืม เพราะเมื่อมีบุตรคนนี้ โยเซฟ ได้กล่าวว่า "เพราะว่าพระเจ้าโปรดให้ข้าพเจ้าลืมความยากลำบากทั้งปวง และบรรดาพงศ์พันธุ์ของบิดาเสีย".
ดู วงศ์วานอิสราเอลและเผ่ามนัสเสห์
เผ่ารูเบน
ผ่ารูเบน เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของอิสราเอล ตามบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดเบญจบรรณ และตามคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ รูเบน เป็นชื่อของบุตรชายคนโตของยาโคบ หรือ อิสราเอล กับนางเลอาห์ ภรรยาคนแรกของ.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและเผ่ารูเบน
เผ่าสิเมโอน
ผ่าสิเมโอน เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของอิสราเอล ตามบันทึกในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดพระธรรมเบญจบรรณ และตามพระคัมภีร์โตราห์ในศาสนายูดาย สิเมโอน เป็นชื่อของบุตรชายคนที่สองของยาโคบ หรือ อิสราเอล กับนางเลอาห์ ภรรยาคนแรกของ.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและเผ่าสิเมโอน
เผ่าอาเชอร์
ผ่าอาเชอร์ เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของอิสราเอล ตามบันทึกในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดพระธรรมเบญจบรรณ และตามพระคัมภีร์โตราห์ในศาสนายูดาย กาด เป็นชื่อของบุตรชายคนที่ 8 ของยาโคบ หรือ อิสราเอล ซึ่งเกิดกับ นางศิลปาห์ สาวใช้ของนางเลอาห.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและเผ่าอาเชอร์
เผ่าอิสสาคาร์
ผ่าอิสสาคาร์ เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของอิสราเอล ตามบันทึกในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดพระธรรมเบญจบรรณ และตามพระคัมภีร์โตราห์ในศาสนายูดาย ชื่อของเผ่าอิสสาคาร์นี้ ตั้งขึ้นตามชื่อบรรพบุรุษของพวกเขา อันได้แก่ อิสสาคาร์ ซึ่งเป็นบุตรชายคนที่เก้าของยาโคบ หรือ อิสราเอล ที่เกิดกับนางเลอาห์ ภรรยาคนแรกของยาโคบ โดยอิสสาคาร์นั้น เป็นบุตรชายคนที่ 5 ที่นางเลอาห์มีให้แก.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและเผ่าอิสสาคาร์
เผ่าดาน
ผ่าดาน เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของอิสราเอล ตามบันทึกในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดพระธรรมเบญจบรรณ และตามพระคัมภีร์โตราห์ในศาสนายูดาย ดาน เป็นชื่อของบุตรชายคนที่ 5 ของยาโคบ หรือ อิสราเอล ซึ่งเกิดกับ นางบิลฮาห์ สาวใช้ของนางราเชล.
เผ่านัฟทาลี
ผ่านัฟทาลี เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของอิสราเอล ตามบันทึกในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดพระธรรมเบญจบรรณ และตามพระคัมภีร์โตราห์ในศาสนายูดาย ดาน เป็นชื่อของบุตรชายคนที่ 6 ของยาโคบ หรือ อิสราเอล ซึ่งเกิดกับ นางบิลฮาห์ สาวใช้ของนางราเชล.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและเผ่านัฟทาลี
เผ่าเลวี
ผ่าเลวี (Levites) เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของวงศ์วานอิสราเอล ตามบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดเบญจบรรณ และตามพระคัมภีร์โทราห์ของศาสนายูดาห์ เลวีมาจากชื่อของบุตรชายคนที่ 3 ของยาโคบ (อิสราเอล) กับนางเลอาห์ ภรรยาคนแรก เลวีเป็นเผ่าเดียวที่พระยาห์เวห์ทรงยกเว้นไม่ให้ได้รับมรดกจากแผ่นดินคานาอัน แต่ให้มีหน้าที่เป็นปุโรหิตและผู้ปฏิบัติงานในสถานนมัสการ.
เผ่าเศบูลุน
ผ่าเศบูลุน เป็น 1 ในบรรดา 12 เผ่าของอิสราเอล ตามบันทึกในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ในหมวดพระธรรมเบญจบรรณ และตามพระคัมภีร์โตราห์ในศาสนายูดาย ชื่อของเผ่าเศบูลุนนี้ ตั้งขึ้นตามชื่อบรรพบุรุษของพวกเขา อันได้แก่ เศบูลุน ซึ่งเป็นบุตรชายคนที่สิบของยาโคบ หรือ อิสราเอล ที่เกิดกับนางเลอาห์ ภรรยาคนแรกของยาโคบ โดยเศบูลุนนั้น เป็นบุตรชายคนที่ 6 ที่นางเลอาห์มีให้แก.
ดู วงศ์วานอิสราเอลและเผ่าเศบูลุน
เผ่าเอฟราอิม
อฟราอิม เป็นบุตรชายคนที่สอง ของโยเซฟ และนางอาเสนัท ก่อนที่ยาโคบ และครอบครัวของท่านจะย้ายเข้ามายังอียิปต์ ด้วยเหตุนี้ ยาโคบจึงยกให้บุตรชายทั้งสองคนของโยเซฟ เทียบเท่าบุตรชายคนอื่น ๆ ของตน ดังนั้นในอิสราเอลจึงมี 12 เผ่าตามจำนวนบุตรชายของยาโคบ แต่จะนับพงศ์พันธุ์ของโยเซฟ ออกเป็น 2 เผ่า คือ เอฟราอิม และมนัสเสห์ คำว่า เอฟราอิม มีรากศัพท์มาจากภาษาฮีบรู แปลว่า มีลูกดก ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อมีบุตรคนที่สองนี้ โยเซฟ ได้กล่าวว่า "เพราะว่าพระเจ้าโปรดให้ข้าพเจ้ามีพงศ์พันธุ์ทวีขึ้นในดินแดนที่ข้าพเจ้าได้รับความทุกข์ใจ".
ดู วงศ์วานอิสราเอลและเผ่าเอฟราอิม
หรือที่รู้จักกันในชื่อ วงศ์วานแห่งอิสราเอล