โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าเฮโรดมหาราช

ดัชนี พระเจ้าเฮโรดมหาราช

ระเจ้าเฮโรดมหาราช (Herod the Great หรือ Herod I; הוֹרְדוֹס Horodos, Ἡρῴδης (Hērōdēs)) (73 - 4 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งมณฑลยูเดีย (Iudaea Province) ของจักรวรรดิโรมัน เฮโรดมิได้สืบเชื้อสายมาจากชาวยิว และตอนแรกเป็นเพียงคนรับใช้ กล่าวกันว่าเป็น “ผู้บ้าอำนาจและฆาตกรรมครอบครัวของตนเองและรับบีอีกหลายคน” พระเจ้าเฮโรดมหาราชมักจะสับสนกับเฮโรด อันทิปาสที่มาจากราชวงศ์เฮโรเดียน (Herodian dynasty) เดียวกัน ผู้เป็นประมุขของกาลิลี ระหว่างปีที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

13 ความสัมพันธ์: พระมหากษัตริย์พระวรสารนักบุญมัทธิวพระเยซูการสังหารหมู่การประหารทารกผู้วิมลยอห์นผู้ให้บัพติศมารับบีจักรวรรดิโรมันคริสต์ศักราชคัมภีร์ไบเบิลโยเซพุสเบธเลเฮมเยรูซาเลม

พระมหากษัตริย์

กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์จะสืบทอดต่อกันมาโดยเชื้อพระวงศ์ เรียกว่าพระราชวงศ์ เมื่อสิ้นสุดการสืบทอดโดยเชื้อพระวงศ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะเป็นตันพระราชวงศ์ใหม่ หรือเป็นผู้สถาปนาพระราชวงศ์ พระมหากษัตริย์อาจมีคำเรียกแตกต่างกัน เช่น พระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ พระราชา เจ้ามหาชีวิต เป็นต้น กษัตริย์ ในสังคมฮินดู ยังหมายถึงวรรณะที่ 2 จาก 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและพระมหากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญมัทธิว

ระวรสารนักบุญมัทธิว (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมัทธิว (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Matthew) เป็นหนังสือพระวรสารในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในสี่ “พระวรสารในสารบบ” และเป็นหนึ่งในสาม “พระวรสารสหทรรศน์” แม้พระวรสารนักบุญมัทธิวไม่มีชื่อกำกับไว้ว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ตั้งแต่คริสตชนตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกก็เชื่อกันสืบมาว่าเขียนโดยมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครทูต และคนเก็บภาษี หนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นก่อนที่กรุงเยรูซาเล็มจะพินาศในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและพระวรสารนักบุญมัทธิว · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การสังหารหมู่

การสังหารหมู่ (mass murder) หมายถึง การทำให้คนตายเป็นหมู่ในเวลาเดียวกันหรือไล่เลี่ยกัน โดยอาจเป็นการกระทำของบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลก็ได้ และหมายความรวมถึง การที่หน่วยงานของรัฐประหารคนเป็นหมู่โดยเจตนาและโดยการเลือกปฏิบัติ เช่น การยิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่ปราศจากอาวุธ การทิ้งระเบิดแบบปูพรมเพื่อถล่มเมืองให้ราบเป็นหน้ากลอง การโยนระเบิดมือเข้าไปยังเรือนจำ หรือการประหารพลเรือนแบบสุ่มตัว การสังหารหมู่ยังอาจเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลที่มีความประสงค์จะทำให้คนตายเพื่อปรนเปรออารมณ์หรือความเบิกบานแห่งตน การสังหารหมู่ครั้งใหญ่ตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ มักเป็นการกระทำเพื่อกวาดล้างกลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มศาสนา ความผิดฐานสังหารหมู่เรียก "พันธุฆาต" (genocide) และในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศเรียก "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" (crimes against humanity).

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและการสังหารหมู่ · ดูเพิ่มเติม »

การประหารทารกผู้วิมล

ตรกรรม “ทารกผู้วิมล” (the Holy Innocents) โดยแมตเทโอ ดี จีโอวานนี (Matteo di Giovanni) ค.ศ. 1482 (พ.ศ. 2024) การประหารทารกผู้วิมล (Massacre of the Innocents) เป็นมหาทารกฆาตอันกษัตริย์เฮโรด พระเจ้ากรุงเยรูซาเลม รับสั่งให้ประหารทารกเพศชายผู้ไร้มลทินทั้งนครเบธเลเฮม ในวาระที่พระเยซูประสูติ เพื่อกันมิให้พระองค์ต้องทรงเสียพระราชบัลลังก์ไปให้แก่พระเยซูผู้ทรงได้ชื่อว่าเป็น “กษัตริย์ของชาวยิว” เหตุการณ์นี้มีบันทึกในพระวรสารนักบุญมัทธิว (Gospel of Matthew) บทที่ 2 ข้อ 13-16 ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลงานการประพันธ์ของนักบุญมัทธิว ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (Matthew the Evangelist) และพระวรสารนักบุญเจมส์เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 2Protoevangelium of James: Online.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและการประหารทารกผู้วิมล · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

รับบี

ราไบโมเช ไฟน์สไตน์ผู้นำคนสำคัญของศาสนายูดาห์ออร์ทอดอกซ์ของครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รับบี (רב รับบี; Rabbi, แรบาย) เป็นภาษาฮิบรูแปลว่า “อาจารย์” เป็นคำที่ใช้ในศาสนายูดาห์ที่หมายถึงผู้สอนศาสนา คำว่า “rabbi” มีรากมาจากภาษาฮิบรูว่า “רַב” หรือ “rav” ที่ในคัมภีร์ฮีบรูหมายความว่า “ยิ่งใหญ่” หรือ “เป็นที่เคารพ” คำนี้มีรากมาจากรากภาษากลุ่มเซมิติก R-B-B เทียบเท่ากับภาษาอาหรับ “ربّ” หรือ “rabb” ที่แปลว่า “lord” (ที่โดยทั่วไปเป็นการเอ่ยถึงพระเจ้าทางโลกด้วย เพื่อเป็นการแสดงความนับถือบางครั้งรับบีผู้มีชื่อเสียงก็จะเรียกกันว่า “The Rav.” รับบีไม่ใช่งานอาชีพตามคัมภีร์โทราห์ ฉะนั้นจึงไม่มีการใช้ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเช่น “Rabban” “Ribbi” หรือ “Rab” เพื่อกล่าวถึงนักปราชญ์ในบาบิโลเนียหรือในอิสราเอล แม้แต่ศาสดาผู้มีความสำคัญในพระคัมภีร์ก็ยังไม่เรียกว่ารับบี แต่เรียกว่า “ฮักไก” ตำแหน่ง “รับบัน” หรือ “รับบี” เริ่มใช้กันเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ฮีบรูในมิชนาห์ (ราว 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกสำหรับรับบันกามาลิเอลผู้อาวุโส (Rabban Gamaliel the elder), ราบันซิเมอันลูกชาย และโยฮานัน เบน ซัคไค ซึ่งต่างก็เป็นประธานสภาซันเฮดริน คำนี้ในภาษากรีกพบในพระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญยอห์นในพันธสัญญาใหม่เมื่อกล่าวถึงพระเยซู. การพัฒนาความคิดเกี่ยวกับรับบีเริ่มขึ้นในสมัยฟาริสีและทาลมุด เมื่อปรจารย์มาประชุมกันเพื่อร่างกฎเกี่ยวกับศาสนายูดาห์ทั้งทางภาษาเขียนและภาษาพูด ในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา หน้าที่ของรับบีก็ยิ่งเพิ่มความมีอิทธิพลมากขึ้น ที่ทำให้เกิดคำใหม่ๆ เช่น “รับบีแท่นเทศน์” (pulpit rabbi) และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หน้าที่ของราไบก็รวมการเทศนา, การให้คำปรึกษา และ การเป็นผู้แทนชองประชาคมในโลกภายนอกก็เพิ่มความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ ในนิกายต่างๆ ของศาสนายูดาห์ ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งรับบีก็แตกต่างกันออกไป หรือกฎที่ใครควรจะเรียกว่าเป็นรับบี.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและรับบี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศักราช

ริสต์ศักราช (Anno Domini Nostri Iesu Christi Anno Domini: AD หรือ A.D. ส: คฺฤสฺตศกฺราช ป: คิตฺถสกฺกาช) เขียนย่อว.. หมายถึง ปีของพระเยซูคริสต์ โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและคริสต์ศักราช · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

โยเซพุส

ซฟ เบน มาติตยาฮู (יוסף בן מתתיהו; ค.ศ. 37 – ราว ค.ศ. 100) เปลี่ยนชื่อเป็น ติตุส ฟลาวิอุส โยเซพุส (Titvs Flavivs Iosephvs) หลังจากที่ได้เป็นพลเมืองโรมัน เป็นนักประวัติศาสตร์และนักเขียนพิทักษ์ปรัชญา (apologist) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 โยเซพุสมาจากครอบครัวที่เป็นนักบวชและราชวงศ์ ผู้รอดมาได้จากการทำลายเมืองเยรูซาเลมโดยโรมันในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและโยเซพุส · ดูเพิ่มเติม »

เบธเลเฮม

ลเฮม (بيت لحم,, ตามตัวอักษร "House of Meat"; Bethleém; בית לחם, Beit Lehem, ตามตัวอักษร "House of Bread", Bethlehem) เป็นเมืองปาเลสไตน์ที่ตั้งอยู่ที่เวสต์แบงค์ราว 10 กิโลเมตรทางตอนใต้ของกรุงเยรูซาเลม ที่มีประชากรราว 30,000 คน เบธเลเฮมเป็นเมืองหลวงของ Bethlehem Governorate ของPalestinian National Authorityและเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมปาเลสไตน์และการท่องเที่ยว เบธเลเฮมเชื่อกันโดยผู้นับถือคริสต์ศาสนาว่าเป็นที่ประสูติของพระเยซูแห่งนาซาเร็ธ เบธเลเฮมเป็นที่อยู่ของชุมชนคริสเตียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแต่จำนวนประชากรก็ลดลงไปเป็นจำนวนมากจากการโยกย้ายออกจากเมือง.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและเบธเลเฮม · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: พระเจ้าเฮโรดมหาราชและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Herod the Greatกษัตริย์เฮโรดพระเจ้าแฮรอดมหาราช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »