โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวัติศาสตร์อักษร

ดัชนี ประวัติศาสตร์อักษร

ประวัติศาสตร์ของอักษร ชนิดแทนหน่วยเสียงมีจุดเริ่มต้นอยู่ในอียิปต์โบราณ อักษรแทนหน่วยเสียงชนิดแรกเป็นอักษรไร้สระ ปรากฏเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นผลงานของแรงงานชาวเซมิติกในอียิปต์ เพื่อใช้เขียนภาษาของตนเอง โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะซึ่งใช้คู่กับอักษรคำในอักษรไฮโรกลิฟฟิก อักษรอื่นๆ ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่พัฒนามาจากอักษรนี้รวมทั้งอักษรฟินิเชีย อักษรกรีก และอักษรละติน.

111 ความสัมพันธ์: Aชวเลขบีตาพาย (อักษรกรีก)ภาษาเกาหลีมิว (อักษรกรีก)รหัสมอร์สศาสนาพุทธศาสนาฮินดูอักษรฟินิเชียอักษรพราหมีอักษรพักส์-ปาอักษรกรีกอักษรกลาโกลิติกอักษรมองโกเลียอักษรยูการิติกอักษรรูปลิ่มอักษรรูนอักษรละตินอักษรสันถาลีอักษรออร์คอนอักษรอาร์มีเนียอักษรอาหรับอักษรอิตาลีโบราณอักษรอุยกูร์อักษรฮันกึลอักษรฮีบรูอักษรจอร์เจียอักษรทานะอักษรทิเบตอักษรครีอักษรคานาอันไนต์อักษรซามาริทันอักษรซีริลลิกอักษรซีรีแอกอักษรนาบาทาเอียนอักษรแมนจูอักษรแอราเมอิกอักษรโอคัมอักษรโซมาลีอักษรเบรลล์อักษรเมรอยติกอักษรเทวนาครีอิปไซลอนอียิปต์โบราณอีตาจักรวรรดิเปอร์เชียทีตาคอปปาซิกมา...ซีตาประเทศอิหร่านประเทศจอร์แดนนิวนิวเบียแกมมาแลมดาแอลฟาแคปปาแซมไพโรโอไมครอนไอโอตาไฮเออโรกลีฟอียิปต์ไซ (อักษรกรีก)เวาเอปไซลอนเทา (อักษรกรีก)เดลตาBCDEFGHIKLMNѲOҀPQRSTVYZКПОАНРТУШМИЗБВГДЄЕЛ ขยายดัชนี (61 มากกว่า) »

A

A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษรและสระตัวแรกในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและA · ดูเพิ่มเติม »

ชวเลข

ทสวดมนต์ Lord's prayer เขียนเป็นชวเลขด้วยระบบของเกร็กก์ และคนอื่นๆ ในศตวรรษที่ 19 ชวเลข (shorthand) หมายถึง วิธีการเขียนข้อความอย่างย่อด้วยสัญลักษณ์ เพื่อเพิ่มความเร็วในการเขียนหรือการจดบันทึก เมื่อเทียบกับการเขียนปกติธรรมดาในภาษาหนึ่งๆ ขั้นตอนของการเขียนให้เป็นชวเลขเรียกว่าการเขียนชวเลข stenography มาจากภาษากรีกว่า stenos.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและชวเลข · ดูเพิ่มเติม »

บีตา

ีตา (beta) หรือ วีตา (βήτα, ตัวใหญ่ Β, ตัวเล็ก β หรือ ϐ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 2 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 2 สำหรับอักษรรูปนี้ ϐ จะถูกใช้เมื่อบีตาตัวเล็กเป็นอักษรที่ไม่ได้อยู่ต้นคำ ซึ่งถูกนำไปใช้ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ การเงิน วิศวกรรม โดยถ้าตัวบีตาไปอยู่ในหนังสือหรือบทความวิชาใด ความหมายของบีตาก็จะเปลี่ยนไป เช่น ถ้าในวิชาฟิสิกส์ บีตาในที่นี้อาจหมายถึงสัดส่วนระหว่าง plasma pressure ต่อ magnetic pressure.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและบีตา · ดูเพิ่มเติม »

พาย (อักษรกรีก)

(pi) หรือ ปี (πι, ตัวใหญ่ Π, ตัวเล็ก π) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 16 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 80 อักษรพายตัวเล็กยังมีอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า โพเมกา (pomega, ϖ) ซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนอักษรนี้ด้วยลายมือ ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางเทคนิค ปัจจุบัน พายใช้แทนค่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมกับเส้นรอบวงหรือมีค่าประมาณ 3.14 หรือเศษ 22 ส่วน 7 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและพาย (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเกาหลี

ษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV) อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและภาษาเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

มิว (อักษรกรีก)

มิว (mu) หรือ มี (μι; ตัวใหญ่ Μ, ตัวเล็ก μ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 12 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 40.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและมิว (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

รหัสมอร์ส

แผนผังอักษรและตัวเลขรหัสมอร์ส รหัสมอร์ส (Morse code) เป็นวิธีการส่งผ่านสารสนเทศข้อความเป็นชุดสัญญาณเสียง ไฟหรือเสียงเคาะ (click) เปิด-ปิดซึ่งผู้ฟังหรือผู้สังเกตที่มีทักษะสามารถเข้าใจได้โดยตรงโดยไม่มีอุปกรณ์พิเศษ รหัสมอร์สระหว่างประเทศเข้ารหัสพยัญชนะละตินพื้นฐานของไอเอสโอ อักษรละตินเพิ่มอีกบ้าง ตัวเลขอารบิกกระบวนคำสั่งเป็นลำดับสัญญาณสั้นและยาวซึ่งจัดทำไว้เป็นมาตรฐาน เรียก "ดอต" และ "แดช" มีการขยายพยัญชนะมอร์สสำหรับภาษาธรรมชาตินอกเหนือจากภาษาอังกฤษ เพราะหลายภาษาดังกล่าวใช้มากกว่าอักษรโรมัน 26 ตัว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและรหัสมอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพราหมี

อักษรพราหมี อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) เป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย รวมทั้งอักษรเขมรและอักษรทิเบตด้วย พบในอินเดียเมื่อราว..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพักส์-ปา

อกสารเขียนด้วยอักษรพักส์-ปา อักษรพักส์-ปา (Phags-pa alphabet) กุบไลข่านมอบหมายให้พระลามะจากทิเบตชื่อ มติธวจะ ศรีภัทร (1782 – 1823) ประดิษฐ์อักษรใหม่สำหรับภาษามองโกเลียขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรพักส์-ปา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกลาโกลิติก

อักษรกลาโกลิติก (Glagolitic alphabet) ประดิษฐ์เมื่อราว..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรกลาโกลิติก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรมองโกเลีย

อักษรมองโกเลีย (17px Mongγol bičig, ซีริลลิก: Монгол бичиг, Mongol bichig) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษามองโกเลีย เมื่อ..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรยูการิติก

อักษรยูการิติก อักษรยูการิติก ตั้งชื่อตามนครรัฐยูการิตซึ่งใช้อักษรนี้ คาดว่าน่าจะประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 857 ปี ก่อนพุทธศักราช นครรัฐนี้ปรากฏขึ้นเมื่อ 857 ปี ก่อนพุทธศักราช ถูกทำลายลงเมื่อราว 637 – 627 ปี ก่อนพุทธศักราช การค้นพบนครรัฐนี้ เริ่มเมื่อ..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรยูการิติก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรูปลิ่ม

อักษรยูการิติก อักษรรูปลิ่มที่เป็นระบบพยัญชนะ อักษรรูปลิ่ม (Cuneiform script) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรรูปลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรูน

รึกอักษรฟูทาร์กใหม่บน Vaksala Runestone อักษรรูน หรือ อักษรรูนิก ในภาษาพื้นเมืองเรียกฟูทาร์ก ซึ่งหมายถึงตัวอักษร ข้อความ หรือจารึก ในภาษาเยอรมันเก่าหมายถึง ประหลาดหรือความลับ อักษรนี้มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของอักษรรูน ได้แก่ อักษรนี้ถูกออกแบบโดยอิสระ ไม่ขึ้นกับอักษรอื่น การเขียนเริ่มขึ้นในยุโรปใต้และถูกนำไปทางเหนือโดยเผ่าเยอรมัน เป็นแบบให้อักษรละตินและอักษรอีทรัสคัน จารึกอักษรรูนที่เก่าที่สุดพบราว..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรรูน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรสันถาลี

อักษรสันถาลี (Santali) หรือ โอล สีเมต โอล สิกิ ประดิษฐ์เมื่อ พ.ศ. 2463 โดย พันดิก ราคุนาท มูร์มู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมวัฒนธรรมสันถาลี เพื่อให้ภาษาสันถาลีมีอักษรเป็นของตนเองเช่นเดียวกับภาษาสำคัญอื่น ๆ ในอินเดีย ก่อนหน้านี้ภาษาสันถาลีเขียนด้วยอักษรเบงกาลี อักษรโอริยา อักษรเทวนาครี หรืออักษรละติน อักษรนี้ได้รับการออกแบบเพื่อใช้กับภาษาสันถาลีที่ใช้พูดทางภาคใต้ของรัฐโอร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรสันถาลี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรออร์คอน

รึกอักษรออร์คอนที่ Kyzyl อักษรออร์คอน เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาเตอร์กิกพบครั้งแรกในหุบเขาแม่น้ำออร์คอน ประเทศมองโกเลีย มีอายุราว..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรออร์คอน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาร์มีเนีย

อักษรอาร์มีเนียใช้เขียนภาษาอาร์มีเนีย เมสรอพ แมชทอทส์ เป็นผู้ประดิษฐ์ในช่วง พ.ศ. 947 - 949 ต้นแบบของอักษรอาร์มีเนียมีหลายชนิดเช่น อักษรปะห์ลาวี อักษรซีเรียค และอักษรฟินิเชีย ในระหว่าง..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอิตาลีโบราณ

อักษรอิตาลีโบราณ (Old Italic alphabets)พัฒนามาจากอักษรกรีกตะวันตกซึ่งเข้าสู่อิตาลีผ่านทางอาณานิคมของกรีซที่เกาะซิซิลี และตามชายฝั่งตะวันออกของอิตาลี ชาวอีทรัสคันปรับปรุงอักษรกรีกมาใช้เขียนภาษาอีทรัสคันเมื่อ ราว 57 ปีก่อนพุทธศักราช หรือก่อนหน้านั้น อักษรที่ใช้ในอิตาลีส่วนใหญ่มาจากอักษรอีทรัสคัน อักษรในกลุ่มนี้ได้แก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรอิตาลีโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอุยกูร์

อักษรอุยกูร์ (Uyghur /Уйғур /ئۇيغۇر) เริ่มแรกภาษาอุยกูร์เขียนด้วยอักษรออร์กอนซึ่งเป็นอักษรรูนส์อักษรอุยกูร์นี้พัฒนามาจากอักษรซอกเดีย ที่มาจากอักษรอราเมอิกอีกต่อหนึ่ง ใช้ในระหว่าง..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรอุยกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮันกึล

"ฮันกึล" จะเห็นว่าใน 1 คำ ประกอบด้วยพยัญชนะและสระ ภาพส่วนหนึ่งของเอกสาร "ฮูมิน จองอึม" ฮันกึล (한글, Hangeul, Hangul) เป็นชื่อเรียกตัวอักษรของเกาหลีที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นใช้แทนตัวอักษรฮันจา ฮันจานั้นหมายถึงตัวอักษรจีนที่ใช้ในภาษาเกาหลีก่อนที่จะมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แทนโดยพระเจ้าเซจงมหาราช (세종대왕).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรฮันกึล · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮีบรู

อรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita อักษรฮีบรูเป็นอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรกๆอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ, เมม, นุน, ฟี และซาดดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ, วาว และโยด/ยุด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาต.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจอร์เจีย

อักษรจอร์เจีย เป็นอักษรที่ใช้ในภาษาจอร์เจีย ปรากฏครั้งแรก ราวพ.ศ. 973 ในจารึกที่พบที่โบสถ์ ในปาเลสไตน์ ขณะนั้น เขียนด้วยอักษรที่รู้จักกันในชื่อ Asomtavruli (อักษรตัวใหญ่) หรือ Mrglovani (อักษรตัวกลม) ซึ่งใช้ต่อมาจนถึงราว..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรทานะ

อักษรทานะ (ތާނަ) ใช้เขียนภาษามัลดีฟส์ เริ่มใช้ในเอกสารราชการของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ตั้งแต่ พ.ศ. 2246 โดยใช้แทนอักษรเดิมคืออักษรดิเวส อกุร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรทานะ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรทิเบต

ระอักษรทิเบต ในช่วง..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

อักษรครี

รึกภาษาครีเขียนด้วยอักษรครีจารึกนี้ถอดเป็นอักษรโรมันได้ว่า ''Êwako oma asiniwi mênikan kiminawak ininiwak manitopa kaayacik. Êwakwanik oki kanocihtacik asiniwiatoskiininiw kakiminihcik omêniw. Akwani mitahtomitanaw askiy asay êatoskêcik ota manitopa.'' อักษรครี (Cree syllabary)ประดิษฐ์โดย เจมส์ อีวาน มิชชันนารีที่ทำงานที่ “บ้านนอร์เวย์” ในอ่าวฮัดสัน เขาประดิษฐ์อักษรสำหรับภาษาโอจิบเวขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2383 เขาพยายามใช้ระบบการออกเสียงของอักษรโรมันเป็นพื้นฐาน แต่ที่ได้ผลคืออักษรพยางค์ ที่บางส่วนอาศัยพื้นฐานจากชวเลข อักษรโอจิบเวประกอบด้วยสัญลักษณ์ 9 ตัว แต่ละตัวเขียนได้ 4 ทิศทาง เพื่อแสดงเสียงสระที่ต่างออกไป ซึ่งเพียงพอสำหรับภาษาโอจิบเว อีก 20 ปี ต่อมา อีวานส์เรียนภาษาครี และพยายามหาทางเขียนภาษานั้น เขาทดลองใช้อักษรโรมันแต่ไม่สำเร็จ จึงนำอักษรโอจิบเวมาปรับปรุง และประสบความสำเร็จอย่างมากในหมู่ชาวครี จนอีวานส์ได้รับสมญาว่า “ชายผู้ทำให้เปลือกของต้น birch ได้”.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรครี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรคานาอันไนต์

อักษรคานาอันไนต์ หรืออักษรไซนาย จัดเป็นอักษรไร้สระชนิดแรก จุดกำเนิดเริ่มเมื่อราว 1,157 ปีก่อนพุทธศักราช คาบสมุทรไซนายถูกอียิปต์ครอบครอง ชุมชนที่พูดภาษาตระกูลเซมิติกในบริเวณนั้น ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมอียิปต์ และพัฒนาอักษรไฮโรกลิฟฟิกมาใช้เขียนภาษาของตน จากการศึกษาในอียิปต์ปัจจุบัน พบจารึกเขียนด้วยอักษรไซนาย อายุราว 1,357 ปีก่อนพุทธศักราช ในอียิปต์ตอนบน และใกล้เคียงกับข้อความภาษาอียิปต์ที่ใช้โดยผู้พูดภาษาตระกูลเซมิติกในอียิปต์ อักษรไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์มีสัญลักษณ์แทนเสียง ใช้คู่กับรูปอักษร ชาวไซนายสุ่มเลือกอักษรไฮโรกลิฟฟิกมาเป็นเครื่องหมายแทนเสียงของพยัญชนะตัวแรกของคำที่รูปอักษรอ้างถึง เช่น คำว่า วัวตัวผู้ /’aleph/ เป็นสัญลักษณ์แทนเสียง /อ/ จากนั้นอักษรนี้ได้แพร่หลายไปสู่ชาวคานาอัน เกิดเป็นอักษรคานาอันไนต์ และพัฒนาไปเป็นอักษรฟินิเชียอีกต่อหนึ่ง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรคานาอันไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซามาริทัน

ตัวอย่างเอกสารเขียนด้วยอักษรซามาริทัน อักษรซามาริทัน พัฒนามาจากอักษรฮีบรูโบราณโดยชาวซามาริทัน ซึ่งตามคัมภีร์ไบเบิล อพยพจากเมโสโปเตเมียมาสู่ปาเลสไตน์ในช่วง 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และพัฒนาวัฒนธรรมและศาสนายิวขึ้น อักษรนี้ยังคงใช้โดยชาวซามาริทันกลุ่มเล็กๆ ในเมืองนาบลัสและในจตุรัสของโฮโลน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรซามาริทัน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีรีแอก

หนังสือเขียนด้วยอักษรซีรีแอก อักษรซีรีแอก (Syriac script) เป็นอักษรที่ใช้ในวรรณคดีทางศาสนาของชาวคริสต์ในซีเรีย ราว..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรซีรีแอก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรนาบาทาเอียน

อักษรนาบาทาเอียน หรืออักษรนาบาเทียน พัฒนามาจากอักษรอราเมอิก ในราว พ.ศ. 643 จารึกหินอักษรนาบาทาเอียน พบในเปตรา เมืองหลวงของราชอาณาจักรนาบาทาเอียน (พ.ศ. 393 - 643) ดามัสกัส และเมดินา ราวคริสต์ศตวรรษที่ 4 -5 อักษรนาบาทาเอียนพัฒนามาเป็นอักษรอาหรั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรนาบาทาเอียน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรแมนจู

อักษรแมนจู (จีนกลาง: 满文; พินอิน: mǎn wén หม่าน เหวิน, Manchu alphabet) เริ่มปรากฏเมื่อ พ.ศ. 2142 ประดิษฐ์โดยผู้นำชาวแมนจู นูร์ฮาจี ผู้สถาปนารัฐแมนจู พัฒนามาจากอักษรมองโกเลียโบราณ มีการปรับปรุงเล็กน้อยเมื่อ พ.ศ. 2175 เมื่อชาวแมนจูสถาปนาราชวงศ์ชิงเมื่อ พ.ศ. 2187 ช่วง 200 ปีแรก ภาษาแมนจูเป็นภาษาราชการหลักและใช้เป็นภาษากลาง เมื่อราว..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรแอราเมอิก

อักษรแอราเมอิก (Aramaic alphabet) พัฒนาขึ้นในช่วง 1,000 - 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเข้ามาแทนที่อักษรรูปลิ่มของอัสซีเรียซึ่งเป็นระบบการเขียนหลักของจักรวรรดิอัสซีเรีย อักษรนี้เป็นต้นกำแนิดของอักษรตระกูลเซมิติกอื่น ๆ และอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรขโรษฐี ที่ใช้ในแถบเอเชียกลางแถบแคว้นคันธาระและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช อักษรแอราเมอิกยุคแรกเริ่มถูกแทนที่ด้วยอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ที่รู้จักต่อมาในชื่ออักษรแอราเมอิก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรโอคัม

อักษรโอคัมหรืออักษรออกฮัม ตั้งชื่อตามเทพเจ้าของไอริช จารึกอักษรออกฮัมราว 500 ชิ้น พบในไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ เวลส์ และอังกฤษ อายุอยู่ในช่วง..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรโอคัม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรโซมาลี

อักษรโซมาลี (Somali or af Soomaali) หรือออสมันยา ประดิษฐ์ขึ้นระหว่าง..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรโซมาลี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเบรลล์

ตัวอย่างอักษรเบรลล์ คำว่า Premier อักษรเบรลล์ (Braille) เป็นอักษรสำหรับคนตาบอด ประดิษฐ์โดย หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส มีลักษณะเป็นจุดนูนเล็กๆ ใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง ซึ่งนำมาจัดสลับกันไปมาเป็นรหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน้ตดนตรี ฯลฯ การเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะเรียก สเลต (Slate) และดินสอ (Stylus) การพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเลอร์ (Brailler) ใช้กระดาษหนาขนาดกระดาษวาดรูป.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรเบรลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเมรอยติก

อักษรเมรอยติก พัฒนามาจากอักษรอียิปต์โบราณเพื่อใช้เขียนเมื่อราว..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรเมรอยติก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

อิปไซลอน

อิปไซลอน (upsilon) หรือ อิปซีลอน (ύψιλον, ตัวใหญ่ Υ หรือ ϒ, ตัวเล็ก υ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 20 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 400 สำหรับอักษรรูปนี้ ϒ จะถูกใช้เมื่อต้องการแยกแยะความแตกต่างออกจากอักษรละติน Y หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอิปไซลอน · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อีตา

อีตา (eta; าτα, ตัวใหญ่ Η, ตัวเล็ก η) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 7 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 8 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและอีตา · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและจักรวรรดิเปอร์เชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทีตา

ทีตา หรือ เทตา (theta,; θήτα, ตัวใหญ่ Θ, ตัวเล็ก θ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 8 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 9 ปัจจุบันใช้แทนค่ามุมใด ๆ ในทางคณิตศาสตร์ หรือ แทนมุมหักเห มุมตกกระทบ และมุมสะท้อนของแสงในทางวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและทีตา · ดูเพิ่มเติม »

คอปปา

อปปาแบบตัวเลข คอปปา (koppa, qoppa) หรือ โกปา (κόππα, ตัวใหญ่ Ϙ, ตัวเล็ก ϙ) เป็นอักษรกรีกที่เคยใช้ในเลขกรีกโดยมีค่าเท่ากับ 90 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว อักษรคอปปามีสองรูปแบบคือ "คอปปาแบบโบราณ" (Ϙ, ϙ) ใช้ในการเขียนหนังสือ และ "คอปปาแบบตัวเลข" (Ϟ, ϟ) ใช้แทนตัวเลขและการอ้างอิงเอกสาร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและคอปปา · ดูเพิ่มเติม »

ซิกมา

ซิกมา (sigma, σίγμα, ตัวใหญ่ Σ, ตัวเล็ก σ หรือ ς) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 18 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 200 สำหรับอักษรรูปนี้ ς จะใช้เมื่อซิกมาตัวเล็กเป็นอักษรตัวสุดท้ายของคำเท่านั้น ปัจจุบันมีความหมายในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ว่า "ผลรวมใด ๆ" หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและซิกมา · ดูเพิ่มเติม »

ซีตา

ซีตา (zeta; ζήτα, ตัวใหญ่ Ζ, ตัวเล็ก ζ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 6 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 7.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและซีตา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์แดน

ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan; المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan; الأردن Al-Urdunn อัลอุรดุน) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกอบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและประเทศจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

นิว

นิว (nu) หรือ นี (νι, ตัวใหญ่ Ν, ตัวเล็ก ν) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 13 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 50 ν ในสมการ -ฟิสิกส์ แทนความถี่คลื่น หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและนิว · ดูเพิ่มเติม »

นิวเบีย

ูมิภาคนิวเบียปัจจุบัน นิวเบีย หรือ นูเบีย (Nubia) เป็นภูมิภาคตามแม่น้ำไนล์ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศซูดานตอนเหนือและประเทศอียิปต์ตอนใต้ เป็นอารยธรรมแรก ๆ ในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือโบราณ โดยสามารถสืบย้อนประวัติศาสตร์มาแต่ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นต้นมา (ผ่านสิ่งก่อสร้างและสิ่งประดิษฐ์นิวเบีย ตลอดจนบันทึกลายลักษณ์จากอียิปต์และโรม) และเป็นที่ตั้งของจักรวรรดิแห่งหนึ่งของแอฟริกา มีราชอาณาจักรนิวเบียขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งตลอดสมัยหลังคลาสสิก ราชอาณาจักรแห่งสุดท้ายล่มสลายใน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและนิวเบีย · ดูเพิ่มเติม »

แกมมา

แกมมา (gamma) หรือ กามา (γάμμα, γάμα, ตัวใหญ่ Γ, ตัวเล็ก γ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 3 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 3.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและแกมมา · ดูเพิ่มเติม »

แลมดา

แลมบ์ดา (lambda) หรือ ลัมดา (λάμδα, ตัวใหญ่ Λ, ตัวเล็ก λ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 11 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 30 λ ในสมการต่างๆ -ฟิสิกส์ แทนความยาวคลื่น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและแลมดา · ดูเพิ่มเติม »

แอลฟา

แอลฟา (alpha) หรือ อัลฟา (άλφα, ตัวใหญ่ Α, ตัวเล็ก α) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 1 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 1.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

แคปปา

แคปปาอีกแบบหนึ่ง แคปปา (kappa) หรือ กาปา (κάππα, κάπα, ตัวใหญ่ Κ, ตัวเล็ก κ หรือ ϰ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 10 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 20.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและแคปปา · ดูเพิ่มเติม »

แซมไพ

แซมไพแบบตัวเลข แซมไพ, ไดซิกมา (sampi, disigma) หรือ ซัมปี (σαμπί, ตัวใหญ่ Ͳ, ตัวเล็ก ͳ) เป็นอักษรกรีกที่เคยใช้ในเลขกรีกโดยมีค่าเท่ากับ 900 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว อักษรแซมไพมีสองรูปแบบคือ "แซมไพแบบโบราณ" (Ͳ, ͳ) ใช้ในการเขียนหนังสือ และ "แซมไพแบบตัวเลข" (Ϡ, ϡ) ใช้แทนตัวเลขและการอ้างอิงเอกสาร ความหมายตามตัวอักษรแปลว่า "เหมือนพาย" สำหรับชื่ออื่นของอักษรนี้คือ ไดซิกมา เนื่องจากใช้แทนหน่วยเสียง หรือ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและแซมไพ · ดูเพิ่มเติม »

โร

โร (rho; ρω, ρο, ตัวใหญ่ Ρ, ตัวเล็ก ρ หรือ ϱ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 17 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 100 สำหรับอักษรรูปนี้ ϱ จะถูกใช้เมื่อต้องการแยกแยะความแตกต่างออกจากอักษรละติน p รโร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและโร · ดูเพิ่มเติม »

โอไมครอน

โอไมครอน, ออมิครอน (omicron) หรือ โอมีกรอน (όμικρον, ตัวใหญ่ Ο, ตัวเล็ก ο) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 15 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 70 ความหมายตามตัวอักษรแปลว่า โอเล็ก (มิครอน แปลว่า เล็ก ซึ่งตรงข้ามกับโอเมกาหรือโอใหญ่) เสียงของโอไมครอนในภาษากรีก คล้ายกับเสียงสระออในภาษาไทย อักษรโอไมครอนตัวใหญ่ถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ของสัญกรณ์โอใหญ่ (Big O notation) อโอไมครอน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและโอไมครอน · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอตา

ไอโอตา (iota) หรือ โยตา (ιώτα, γιώτα, ตัวใหญ่ Ι, ตัวเล็ก ι) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 9 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 10 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและไอโอตา · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ออโรกลีฟอียิปต์ (Egyptian hieroglyphs) เป็นระบบการเขียนที่ชาวอียิปต์โบราณใช้อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยอักษร (alphabet) และสัญรูป (logograph) อักขระในระบบไฮเออโรกลีฟอียิปต์นี้ยังสัมพันธ์กับอักขระอียิปต์อีก 2 ชุด คือ อักขระไฮเออแรติก (hieratic) และอักขระดีมอติก (demotic) ไฮเออโรกลีฟอียิปต์แบบหวัดนั้นมักใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนาลงบนแผ่นไม้และแผ่นพาไพรัส ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ยุคแรกย้อนหลังไปได้ไกลถึง 3,300 ปีก่อน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและไฮเออโรกลีฟอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไซ (อักษรกรีก)

ไซ, คไซ (xi) หรือ กซี (ξι, ตัวใหญ่ Ξ, ตัวเล็ก ξ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 14 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 60 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและไซ (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

เวา

วา, ไดแกมมา (wau, fau, digamma) หรือ วัฟ, ดีกามา (βαυ, Δίγαμμα, ตัวใหญ่ Ϝ, ตัวเล็ก ϝ) เป็นอักษรกรีกที่เคยใช้ในเลขกรีกโดยมีค่าเท่ากับ 6 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและเวา · ดูเพิ่มเติม »

เอปไซลอน

อปไซลอน (epsilon) หรือ เอปซีลอน (έψιλον, ตัวใหญ่ Ε, ตัวเล็ก ε) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 5 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 5.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและเอปไซลอน · ดูเพิ่มเติม »

เทา (อักษรกรีก)

เทา (tau) หรือ ตัฟ (ταυ, ตัวใหญ่ Τ, ตัวเล็ก τ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 19 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 300 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและเทา (อักษรกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

เดลตา

ลตา (delta; δέλτα, ตัวใหญ่ Δ, ตัวเล็ก δ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 4 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 4 ใช้แทนตัวอักษร d เมื่อมีการใช้งานแทนแล้ว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและเดลตา · ดูเพิ่มเติม »

B

B (ตัวใหญ่:B ตัวเล็ก:b ออกเสียง บี) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 2 ใช้แทนเสียงพยัญชนะจากริมฝีปาก (ขึ้นกับแต่ละภาษา) มักจะเป็นเสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและB · ดูเพิ่มเติม »

C

C (ตัวใหญ่:C ตัวเล็ก:c) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 3.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและC · ดูเพิ่มเติม »

D

D (ตัวใหญ่:D ตัวเล็ก:d) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 4.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและD · ดูเพิ่มเติม »

E

E (ตัวใหญ่:E ตัวเล็ก:e) เป็นอักษรละตินตัวที่ 5.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและE · ดูเพิ่มเติม »

F

F (ตัวใหญ่:F ตัวเล็ก:f) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 6.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและF · ดูเพิ่มเติม »

G

G เป็นอักษรลำดับที่ 7 ในอักษรละติน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและG · ดูเพิ่มเติม »

H

H (ออกเสียงว่า เอช หรือเฮช"H" Oxford English Dictionary, 2nd edition (1989); Merriam-Webster's Third New International Dictionary of the English Language, Unabridged (1993); "aitch", op. cit.) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 8 ในการออกเสียงตามสัทอักษรสากลแสดงด้วยเสียง 2 เสียง คือ แสดงเสียงในลักษณะเสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง และ แสดงเสียงในลักษณะเสียงเสียดแทรก ลิ้นปิดกล่องเสียง ไม่ก้อง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและH · ดูเพิ่มเติม »

I

I เป็นอักษรละติน ในลำดับที่ 9.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและI · ดูเพิ่มเติม »

K

K (ตัวใหญ่:k ตัวเล็ก:k) เป็นอักษรละติน นับเป็นอักษรตัวที่ 11 ของอักษรในภาษาอังกฤษ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและK · ดูเพิ่มเติม »

L

L (ตัวใหญ่:L ตัวเล็ก:l) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 12.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและL · ดูเพิ่มเติม »

M

M (ตัวใหญ่:M ตัวเล็ก:m) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 13.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและM · ดูเพิ่มเติม »

N

N (ตัวใหญ่:N ตัวเล็ก:n) เป็นอักษรละตินในลำดับที่ 14.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและN · ดูเพิ่มเติม »

Ѳ

Fita (Ѳ, ѳ) เป็นอักษรซีริลลิกยุคเก่าตัวหนึ่ง มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก ทีตา อักษรนี้ใช้เขียนชื่อเฉพาะที่ทับศัพท์มาจากภาษากรีกเป็นหลัก และตั้งแต่ภาษารัสเซียออกเสียงตัวอักษรนี้เป็น // แทนที่จะเป็น // เหมือนภาษากรีก เช่น คำว่า Theodore ก็อ่านเป็น Fyodor จึงมีการใช้ Ef (Ф, ф) แทนอักษร Fita ใน พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) และสำหรับกลุ่มภาษาสลาวิกอื่นๆ ซึ่งออกเสียงอักษรนี้เป็น // ก็เปลี่ยนไปใช้ Te (Т, т) ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างภาษาบัลแกเรียจะอ่านคำว่า Theodore เป็น Teodor หรือ Todor เป็นต้น อักษรนี้จึงไม่มีที่ใช้ไปโดยปริยาย อักษร Fita มีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 9 และอย่าสับสนกับอักษร Oe (Ө, ө) ที่มีลักษณะคล้ายกัน (มีใช้ในภาษาคาซัค ภาษาตูวา และภาษามองโกเลีย) และบางครั้งขีดตรงกลางก็ถูกเขียนให้เป็นหยัก เป็นคลื่น หรือขีดให้เกินวงกลมออกมา ดังที่ปรากฏในฟอนต์บางตัว เพื่อให้เกิดความแตกต่างกับอักษรดังกล่าว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและѲ · ดูเพิ่มเติม »

O

O (ตัวใหญ่:O ตัวเล็ก:o) เป็นอักษรละติน ในลำดับที่ 15 โดยชื่อเรียกคือ "โอ".

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและO · ดูเพิ่มเติม »

Ҁ

Koppa (Ҁ, ҁ) เป็นอักษรซีริลลิกยุคเก่าตัวหนึ่ง มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก คอปปา (Ϙ, ϙ) อักษรตัวนี้ไม่มีใช้แล้วในกลุ่มภาษาสลาวิก และไม่ได้ใช้แทนเสียงใดๆ เพียงแต่เป็นอักษรที่ใช้แทนเลขซีริลลิกที่มีค่าเท่ากับ 90 แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปใช้ Ч ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกันและไม่มีค่าของเลขซีริลลิกตั้งแต่แรก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและҀ · ดูเพิ่มเติม »

P

P (ตัวใหญ่: P ตัวเล็ก: p) เป็นอักษรละติyyน ลำดับที่ 16.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและP · ดูเพิ่มเติม »

Q

Q (ตัวใหญ่:Q ตัวเล็ก:q) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 17.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและQ · ดูเพิ่มเติม »

R

R (อาร์) เป็นอักษรละติน ในลำดับที่ 18 ในอักษรละติน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและR · ดูเพิ่มเติม »

S

S (ตัวใหญ่: S ตัวเล็ก: s) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 19.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและS · ดูเพิ่มเติม »

T

T (ตัวใหญ่:T ตัวเล็ก:t) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 20.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและT · ดูเพิ่มเติม »

V

V (ตัวใหญ่:V ตัวเล็ก:v) เป็นอักษรละติน ตัวที่ 22.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและV · ดูเพิ่มเติม »

Y

Y (ตัวใหญ่:Y ตัวเล็ก:y) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 25.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและY · ดูเพิ่มเติม »

Z

Z (ตัวใหญ่:Z ตัวเล็ก:z) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 26 และเป็นลำดับสุดท้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและZ · ดูเพิ่มเติม »

К

Ka (К, к) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก มีลักษณะคล้ายอักษรละติน K ไม่ว่าจะเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ แตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่เส้นขวาบน จะเป็นจะงอยเหมือนวงเล็บปีกกาเปิด.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและК · ดูเพิ่มเติม »

П

Pe (П, п) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียงพยัญชนะ // เหมือน ป ในภาษาไทย เว้นแต่เมื่ออยู่หน้าสระที่ออกเสียงเลื่อนขึ้นไปเพดานแข็ง อักษรนี้จะออกเสียงเป็น // อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก พาย มีชื่อเดิมว่า pokoi และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 100 ลักษณะของ П มีรูปร่างคล้ายกับสี่เหลี่ยมที่ไม่มีขีดด้านล่าง และอย่าสับสนกับ El (Л, л) ที่เส้นทางด้านซ้ายโค้งงอ อักษรตัวนี้มีรูปร่างเหมือนกับ พาย อย่างมาก ทั้งตัวเล็กและตัวใหญ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและП · ดูเพิ่มเติม »

О

O หรือ On (О, о) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียงสระ // (โอ) หลังพยัญชนะเสียงหนัก หรือเสียง // (อะ) เมื่อมีการลดเสียงสระในภาษารัสเซีย อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก โอไมครอน มีชื่อเดิมคือ onǔ ซึ่งมีความหมายว่า "เขา" หรือ "สิ่งนั้น" ในภาษาเชิร์ชสลาโวนิกยุคเก่า แต่ไม่มีค่าของเลขซีริลลิก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและО · ดูเพิ่มเติม »

А

อา (А, а) เป็นอักษรตัวแรกในอักษรซีริลลิก มีพัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก แอลฟา ในอักษรซีริลลิกยุคเก่า อักษรตัวนี้มีชื่อว่า azǔ และมีค่าของตัวเลขเท่ากับ 1 ในหลายๆ ภาษาที่ใช้อักษรซีริลลิก เช่น ภาษารัสเซีย ภาษาเซอร์เบีย ภาษามาซิโดเนีย และภาษาบัลแกเรีย อ่านอักษรนี้ว่า // (อา) บางครั้งอาจจะอ่านเป็น // (อา ปากกว้าง) หรือ // (เออ) ในภาษาอย่างเช่น ภาษาอิงกุช หรือ ภาษาเชอเชน ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อักษรนี้มีหลากหลายลักษณะ แต่ทุกวันนี้ถูกทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงดูเหมือนอักษรละติน A (รวมทั้งรูปแบบตัวเอนด้วย).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและА · ดูเพิ่มเติม »

Н

En (Н, н) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียง // เหมือน n ในภาษาอังกฤษ หรือ น ในภาษาไทย แต่จะเปลี่ยนเป็น // เมื่ออักษรตัวนี้อยู่ก่อนหน้าสระที่เลื่อนเสียงไปทางเพดานแข็ง อักษรนี้มีลักษณะเหมือนกับอักษรละติน H ทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก นิว (Ν, ν) ซึ่งมีชื่อเดิมคือ našǐ และมีค่าเลขซีริลลิกเท่ากับ 50.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและН · ดูเพิ่มเติม »

Р

Er (Р, р) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก โร ซึ่งมีรูปร่างเหมือนอักษรตัวใหญ่ อีกทั้งยังเหมือนอักษรละติน P อีกด้วย อักษรนี้มีชื่อเดิมว่า rǐci และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 100 อักษรนี้ใช้แทนเสียง // เหมือน ร ในภาษาไทย (เสียงรัวลิ้น) และกลายเป็น // เมื่ออยู่หน้าสระที่ออกเสียงเลื่อนไปทางเพดานแข็ง การเขียนอักษรละติน R ซึ่งมีขีดเพิ่มขึ้นมาทางด้านล่าง เป็นการทำให้เกิดความแตกต่างกับอักษรละติน P ที่กำหนดโดยชาวโรมัน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับรูปร่างของอักษร Er.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและР · ดูเพิ่มเติม »

Т

Te (Т, т) คืออักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียง // เหมือน t ในภาษาอังกฤษ หรือ ต หรือ ท ในภาษาไทย หรือเปลี่ยนเป็น // เมื่อสะกดด้วยสระที่เลื่อนเสียงไปทางเพดานแข็ง อักษรตัวนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก เทา ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ tvr̥do และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 300.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและТ · ดูเพิ่มเติม »

У

U (У, у) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียงสระ // (อู) เมื่อสะกดตามหลังพยัญชนะเสียงหนัก เมื่อเริ่มแรกนั้น อักษรนี้เป็นรูปย่อของอักษร Uk (Ѹ, ѹ) ที่มีใช้ในภาษาสลาวิกตะวันออกยุคเก่า และมีพัฒนาการมาจากทวิอักษรของอักษรกรีก ου (โอไมครอน-อิปไซลอน) อีกทีหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดออกเสียง // เหมือนกัน และในช่วงเดียวกันนั้นก็ได้รับเอาอักษรกรีก อิปไซลอน เข้ามาใช้เป็นอักษรซีริลลิกอีกรูปหนึ่งคือ Izhitsa (Ѵ, ѵ) ทำให้เกิดความกำกวมในอักขรวิธีระหว่างอักษรทั้งสอง จึงมีการยกเลิกอักษร Izhitsa โดยการปฏิรูปอักขรวิธีใน ค.ศ. 1917-1919.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและУ · ดูเพิ่มเติม »

Ш

Sha (Ш, ш) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียงพยัญชนะ // หรือ // ซึ่งออกเสียงคล้ายกับ sh ในภาษาอังกฤษ ch ในภาษาฝรั่งเศส sch ในภาษาเยอรมัน ş ในภาษาตุรกี หรือ sz ในภาษาโปแลนด์ ส่วนกลุ่มภาษาสลาวิกที่ใช้อักษรละตินจะเขียนอักษร š แทนเสียงดังกล่าว ซึ่งนักภาษาศาสตร์ก็ใช้อักษร š สำหรับถ่ายอักษร Ш ไปเป็นอักษรละตินเช่นกัน ลักษณะตัวพิมพ์ของอักษรนี้มีรูปร่างคล้ายอักษรละติน W หรือเหมือนยิ่งกว่าโดยนำอักษร E มาวางตะแคง อักษร Ш ถูกใช้ในทางที่หลากหลาย อย่างในทางคณิตศาสตร์ Tate-Shafarevich group จะใช้สัญลักษณ์เป็น Ш ซึ่งแนะนำให้ใช้เป็นครั้งแรกโดย เจ. ดับบลิว. เอส. แคสเซลส์ (ก่อนหน้านั้นใช้สัญลักษณ์ TS ซึ่งไม่ได้มีความหมายอะไรพิเศษ) และในอีกทางหนึ่ง รูปแบบของกราฟที่คล้ายอักษร Ш และได้ชื่อว่า Shah function ก็เป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชัน Dirac comb สัทอักษร // เป็นการอธิบายเสียงเสียดแทรกหลังปุ่มเหงือกแบบไม่ก้อง เนื่องจากเสียงประเภทนี้เป็นสาเหตุหลักที่อักษรกลาโกลิตและอักษรซีริลลิกต้องประดิษฐ์ขึ้น เพราะเสียงเหล่านี้ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของอักษรละตินหรืออักษรกรีก โดยที่ไม่ใช้เครื่องหมายเสริมอักษรหรือทวิอักษรได้ ภาษาในกลุ่มสลาวิกจึงมีอักษรแทนเสียงเสียดแทรกและเสียงกึ่งเสียดแทรกมากมาย และอักษร Sha เองก็เป็นหนึ่งในนั้น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและШ · ดูเพิ่มเติม »

М

Em (М, м) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียงพยัญชนะ // เหมือน m ในภาษาอังกฤษ หรือ ม ในภาษาไทย เว้นแต่ว่าเมื่ออักษรนี้อยู่ก่อนหน้าสระที่เลื่อนขึ้นไปยังเพดานแข็งจะกลายเป็น // อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก มิว (Μ, μ) ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ mūslite และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 40.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและМ · ดูเพิ่มเติม »

И

I หรือ Y (И, и) บางครั้งก็เรียกว่า Octal I เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ออกเสียงสระ // (อี) ในภาษารัสเซียและ // (อิ) ในภาษายูเครน แต่ไม่มีในภาษาเบลารุส อักษรนี้มีลักษณะคล้ายอักษรละติน N ตัวใหญ่ที่เขียนกลับข้าง อักษรนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก อีตา ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ iže และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 8 อักษร И เมื่อต้องการถ่ายอักษรจะใช้ I สำหรับภาษารัสเซีย และใช้ Y หรือ I สำหรับภาษายูเครน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและИ · ดูเพิ่มเติม »

З

Ze (З, з) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียง // เหมือนภาษาทั่วไปที่ใช้อักษรละติน z อักษรตัวนี้มักจะทำให้สับสนได้ง่ายกับเลขอารบิก 3 และอักษร E (Э, э) ของภาษารัสเซีย อักษร Ze มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก ซีตา ชื่อดั้งเดิมของอักษรนี้คือ zemlja และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 7.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและЗ · ดูเพิ่มเติม »

Б

Be (Б, б) เป็นอักษรตัวที่ 2 ในอักษรซีริลลิก ออกเสียงเป็น // เหมือนกับ b ในภาษาอังกฤษหรือ บ ในภาษาไทย ในภาษารัสเซียบางครั้งอักษรตัวนี้อ่านเป็น // ที่ไร้เสียงที่ตำแหน่งสุดท้ายของคำหรือพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง หรืออ่านเป็น // ที่หน้าเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็งในช่องปาก ตัวอักษรนี้มีลักษณะคล้ายเลข 6 และไม่ควรจำสับสนกับ Ve (В, в) ที่ซึ่งมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B อักษรทั้งสองนี้ต่างก็มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา เหมือนกัน เมื่อตัวอักษรนี้ถูกเขียนด้วยลายมือ อักษร б ตัวเล็กจะดูคล้ายกับอักษรกรีก เดลตา ตัวเล็ก (δ) ชื่อเดิมของตัวอักษรนี้คือ bukū และไม่มีค่าทางตัวเลข เนื่องจากอักษร В ได้รับการนับเลขซีริลลิกจากอักษรกรีกไปแล้ว ดังนั้นอักษร Б จึงไม่มีค่าใ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและБ · ดูเพิ่มเติม »

В

Ve (В, в) เป็นอักษรตัวที่ 3 ในอักษรซีริลลิก อ่านได้เป็นเสียง // และมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B แต่ออกเสียงต่างกัน อักษรตัวนี้และ Б มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา ซึ่งมีการใช้แทนเสียง // ของภาษากรีกในเวลาใกล้เคียงกับสมัยที่อักษรซีริลลิกถูกสร้างขึ้น ชื่อเดิมของอักษรตัวนี้คือ vědě และมีค่าตัวเลขเท่ากับ 2 ในระบบเลขซีริลลิก ในภาษารัสเซีย อักษรตัวนี้ออกเสียงเหมือน // เหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นเมื่ออักษรตัวนี้ปรากฏท้ายคำจะเป็น // ที่ไร้เสียง หรืออ่านเป็น // ก่อนเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็ง ในการออกเสียงภาษายูเครนแบบมาตรฐาน (ซึ่งมีสำเนียงโพลทาวาเป็นฐาน) อักษร В จะออกเสียงเป็น // ในภาษาอังกฤษ (เหมือนมี ว สะกด) เมื่ออยู่ที่ท้ายคำ เช่น Владислав แปลงเป็นอักษรละตินจะได้ Vladyslaw อ่านว่า วลาดีสลาว แต่สำหรับชาวยูเครนกลุ่มหนึ่ง จะออกเสียงอักษรนี้เป็น // เสมอไม่ว่าจะปรากฏอยู่ที่ใด ในภาคตะวันออกของประเทศยูเครน อักษร В อาจจะถูกอ่านเป็น // ที่ไร้เสียงให้คล้ายกับภาษารัสเซีย ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ยกตัวอย่างคำว่า сказав ภาษายูเครนมาตรฐานจะอ่านว่า skazaw สคาซาว ในขณะที่ภาคตะวันออกจะอ่านว่า skazaf สคาซาฟ ในภาษาเบลารุส อักษร В จะออกเสียงเป็น // เท่านั้น แต่เมื่ออักษรตัวนี้ไปปรากฏอยู่ท้ายคำหรือหน้าพยัญชนะอีกตัวจะเปลี่ยนรูปเป็นอักษร Ў ซึ่งเป็นอักษรที่มีใช้ในภาษานี้เท่านั้นที่แทนเสียง // ตัวอย่าง คำศัพท์ мова (mova โมวา) ที่เป็นคำนาม เมื่อเปลี่ยนรูปไปเป็นคำคุณศัพท์จะกลายเป็น моўный (mownyy โมวนืยอี) และคำนามที่เป็นพหูพจน์จะกลายเป็น моў (mow โมว).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและВ · ดูเพิ่มเติม »

Г

Ge หรือ He (Г, г) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ออกเสียงเป็น // หรือ // ในภาษาที่แตกต่างกัน อักษรนี้มีพัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก แกมมา และ Г ทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก จะมีรูปร่างเหมือนแกมมาตัวใหญ่ ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ glagoli และมีค่าเท่ากับ 3 ในเลขซีริลลิก ในมาตรฐานของภาษาเซอร์เบีย ภาษาบัลแกเรีย และภาษามาซิโดเนีย อักษร Г จะออกเสียงเป็น // เหมือนกับ g ของคำว่า go ในภาษาอังกฤษ หรือ ก ในภาษาไทย ในภาษารัสเซียก็อ่านเป็น // เช่นกัน ยกเว้นเมื่อปรากฏท้ายคำจะเป็น // ที่ไร้เสียง (สะกดด้วย ก) หรือออกเสียงเป็น // ก่อนเสียงสระเพดานแข็ง มีอยู่น้อยคำที่อักษรนี้ปรากฏอยู่ตรงกลางแล้วออกเสียงเป็น // เช่น ураган urakan อูราคัน หมายถึง เฮอร์ริเคน ในภาษายูเครนและภาษาเบลารุส จะเรียกอักษรนี้ว่า He ใช้แทนเสียงเสียดแทรกในลำคอ // ไม่เหมือนเสียง h ของภาษาอังกฤษ สำหรับภาษายูเครนนั้น เสียง // นั้นหาที่ใช้ได้น้อย แต่เมื่อต้องการใช้จะเปลี่ยนรูปเขียนเป็น Ge with upturn (Ґ, ґ) แทน ส่วนภาษาเบลารุส แม้อักษร Г จะมีใช้บ่อย เพื่อแทนคำที่ยืมมาจากภาษาโปแลนด์และภาษารัสเซีย แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 การใช้เสียงนี้ในภาษาก็ได้หมดความสำคัญไป การเพิ่มตัวอักษร Г ลงในภาษาเบลารุสยังคงได้รับการยอมรับเฉพาะนักภาษาศาสตร์บางท่าน แต่ยังไม่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและГ · ดูเพิ่มเติม »

Д

De (Д, д) เป็นอักษรตัวหนึ่งของอักษรซีริลลิก อักษรตัวนี้ใช้ออกเสียง // เหมือนเสียง d ในภาษาอังกฤษ หรือ ด ในภาษาไทย แต่เมื่อไปปรากฏเป็นตัวสุดท้ายของคำจะกลายเป็น // ที่ไม่ออกเสียง และกลายเป็น // เมื่ออยู่ก่อนหน้าเสียงสระเพดานแข็ง อักษร Д มีพัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก เดลตา ลักษณะแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากเดลตาคืออักษรนี้มี "เท้า" อยู่ที่มุมด้านล่าง อย่างไรก็ตาม อักษรตัวนี้สามารถเขียนได้สองรูปแบบคือ ยอดด้านบนที่ตัดเป็นเหลี่ยม หรือยอดมุมแหลมเหมือนเดลตา สำหรับอักษร El (Л, л) ก็เขียนในลักษณะนี้เช่นกัน อักษรนี้มีชื่อเดิมว่า dobro และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 4.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและД · ดูเพิ่มเติม »

Є

Ye (Є, є) คืออักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้เฉพาะในภาษายูเครน เพื่อออกเสียงสระ // (เย) ให้เหมือนกับ Ye (Е, е) ในภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย อักษรนี้เป็นรูปดั้งเดิมที่คล้ายกับอักษร Ye ในสมัยโบราณ ไม่ควรสับสนระหว่างตัวอักษร Є กับเครื่องหมายสกุลเงินยูโร € ซึ่งมีสองขีดตรงกลาง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและЄ · ดูเพิ่มเติม »

Е

Ye หรือ E (Е, е) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก มีรูปร่างลักษณะเหมือนอักษรละติน E มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก เอปไซลอน ชื่อเดิมของตัวอักษรนี้คือ estǐ และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 5 ในภาษาบัลแกเรีย ภาษามาซิโดเนีย ภาษาเซอร์เบีย และภาษายูเครน จะเรียกอักษรนี้ว่า "E" และใช้แทนเสียง // หรือ // (เอ หรือ แอ) ส่วนภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย จะเรียกตัวอักษรนี้ว่า "Ye" และใช้แทนเสียงสระที่เลื่อนขึ้นไปทางเพดานแข็ง โดยอ่านเป็น /, / หรือ /, / (เย หรือ แย) ให้ควบเสียงเข้ากับพยัญชนะที่อยู่ข้างหน้า แต่เสียงที่เปล่งออกมานั้นไม่ค่อยมีความแตกต่างจาก "E" มากนัก สำหรับภาษายูเครน เมื่อต้องการอ่านเสียงให้เป็น "Ye" จะเปลี่ยนไปใช้ Є แทน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและЕ · ดูเพิ่มเติม »

Л

El (Л, л) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก แลมบ์ดา ใช้แทนเสียงพยัญชนะ // เหมือน l ในภาษาอังกฤษ หรือ ล ในภาษาไทย หรือเปลี่ยนเป็น // เมื่ออยู่หน้าสระที่ออกเสียงเลื่อนไปทางเพดานแข็ง อักษรตัวนี้มีชื่อเดิมคือ ljudije และมีค่าเท่ากับ 30 ในเลขซีริลลิก อักษร Л ในรูปแบบตัวพิมพ์ มีรูปร่างคล้าย "หมวก" ที่มีเส้นโค้งด้านซ้ายและเส้นตรงด้านขวา และไม่ควรจำสับสนกับอักษร Pe (П, п) ซึ่งเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์อักษรและЛ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »