โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บึงโขงหลง

ดัชนี บึงโขงหลง

ึงโขงหลง (Bueng Khong Long) เป็นบึงน้ำจืดในจังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ครอบคลุมเขตอำเภอเซกาและอำเภอบึงโขงหลง.

41 ความสัมพันธ์: บอนบัวสายบัวหลวงบั้งไฟพญานาคพญาสัตบรรณพญานาคกระบกกระบากกันเกรายางวงศ์ปลากัด ปลากระดี่วงศ์ปลาตะเพียนสันตะวาใบพายสาหร่ายหางกระรอกหว้าอำเภอบึงโขงหลงอำเภอเซกาผักบุ้งจังหวัดบึงกาฬทะเลสาบความเชื่อตะแบกนาตะเคียนตำนานประดู่ปลาช่อนปลากระสูบจุดปลากดเหลืองปลาสร้อยขาวปลาสร้อยนกเขาปลาดุกด้านปลาตะโกกปลานิลนกกระสาแดงแพงพวยน้ำแม่น้ำสงครามแม่น้ำโขงแสมขาวเอเอสทีวีผู้จัดการเป็ดคับแคเป็ดแดง

บอน

อน var. aquatilis Hassk เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Araceae อวบน้ำ มีหัวใต้ดิน ใบรูปไข่แกมรูปหัวใจ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเว้าลึกรูปสามเหลี่ยม ก้านใบสีเขียวหรือออกม่วง ดอก สีครีมหรือเหลืองนวล ออกเป็นช่อ ดอกตัวผู้อยู่ตอนบน ดอกตัวเมียอยู่ตอนล่าง ก้านช่อสั้นกว่าก้านใบ มีใบประดับสีเหลืองรองรับ ผลสด รูปขอบขนาน เมล็ด ขนาดเล็กจำนวนมาก พบได้ทั่วไปประเทศไทยพบทุกภาค ชอบขึ้นบนดินโคลนหรือบริเวณที่มีน้ำขัง หัวใต้ดิน รับประทานได้ ใช้เป็นยาระบาย ห้ามเลือด น้ำคั้นจากก้านใบเป็นยานวด แก้ฟกช้ำ ลำต้นบดใช้พอกแผลรวมทั้งแผลจากงูกัด ลำต้นใช้ทำอาหาร เช่นแกงบอน ส่วนของบอนที่นำมาแกงคือยอดอ่อน หรือใบอ่อนของบอนที่อยู่ใกล้โคนต้นใช้บอนพันธุ์สีเขียวสด ไม่มีสีขาวเคลือบอยู่ตามก้านและใบ ซึ่งเรียกว่า บอนหวาน ส่วนชนิดที่มีสีซีดกว่า และนวลขาวกว่า เรียกว่า บอนคัน ไม่นิยมนำมาแกง.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและบอน · ดูเพิ่มเติม »

บัวสาย

ัวสาย เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ลักษณะคล้ายหัวเผือก ใบเดี่ยวแตกจากเหง้า ก้านใบยาว อ่อน ส่งใบขึ้นมาลอยบนผิวน้ำ แผ่นใบค่อนข้างกลม ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ด้านล่างมีขนละเอียด ดอกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกเหมือนก้านใบ ภายในมียางใสและท่ออากาศมาก ผลเรียกโตนดบัว รับประทานได้ มีแป้งมาก ก้านดอกเรียกสายบัว รับประทานได้.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและบัวสาย · ดูเพิ่มเติม »

บัวหลวง

ัวหลวง หรือ บัวหลวงอินเดีย (Indian Lotus, Sacred Lotus, Bean of India) เป็นพืชน้ำในสกุลบัวหลวง วงศ์บัว.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและบัวหลวง · ดูเพิ่มเติม »

บั้งไฟพญานาค

กล่าวกันว่าบั้งไฟพญานาคเป็นดวงไฟที่พุ่งขึ้นกลางลำน้ำโขง (ภาพจำลอง) ภาพถ่ายกระสุนส่องวิถีเปิดหน้ากล้องนาน 30 วินาที ในคืนวันออกพรรษาปี 2555 ที่บ้านตาลชุม อำเภอรัตนวาปี บั้งไฟพญานาค หรือก่อนปี 2529 เรียก บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ที่กล่าวกันว่าเห็นที่แม่น้ำโขง ลักษณะเป็นลูกกลมเรืองแสงลอยขึ้นจากน้ำขึ้นไปในอากาศ จำนวนลูกไฟมีรายงานระหว่างหลายสิบถึงหลายพันลูกต่อคืน บั้งไฟพญานาคเกิดช่วงวันออกพรรษาทุกปี ในปี 2555 ผู้จัดการออนไลน์ ลงข่าวที่มีช่างภาพไปถ่ายภาพบั้งไฟพญานาค ช่างภาพเล่าว่า จากสายตาพวกเขาเห็นตรงกันว่าลูกไฟนั้นขึ้นจากน้ำ แต่ภาพที่บันทึกด้วยการเปิดหน้ากล้อง 5–30 วินาทีเป็นภาพต่อเนื่องเหมือนเลเซอร์ซึ่งมีจุดเริ่มอยู่บนบกของฝั่งลาวที่ห่างจากไทยประมาณ 1 กิโลเมตร ช่างภาพอีกคนว่า บริเวณที่จัดไว้ให้ชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคนั้นมืดมาก ในปี 2558 มีผู้คาดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้มีเงินสะพัดกว่า 150 ล้านบาท นอกจาก "บั้งไฟพญานาค" แล้ว ยังมีปรากฏารณ์ลูกไฟโดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในบริเวณอื่นของโลก.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและบั้งไฟพญานาค · ดูเพิ่มเติม »

พญาสัตบรรณ

ญาสัตบรรณ หรือ สัตบรรณ หรือ ตีนเป็ด เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร อยู่ในวงศ์ Apocynaceae มีถิ่นดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ประไพรัตน์ สีพลไกร.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและพญาสัตบรรณ · ดูเพิ่มเติม »

พญานาค

ญานาค (नागराज นาคราช) หมายถึง นาคผู้เป็นใหญ่ นาคผู้เป็นหัวหน้า ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดีย คล้ายกับพญามังกร (龍王 หลงหวัง) ตามคติศาสนาพื้นบ้านจีน.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและพญานาค · ดูเพิ่มเติม »

กระบก

กระบก เป็นไม้ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคเหนือเรียกมะมื่น ภาคอีสานเรียกหมากบก ภาษาชองเรียกชะอัง สุโขทัยและโคราชเรียกมะลื่น ภาษาส่วยในจังหวัดสุรินทร์เรียกหลักกาย เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Irvingiaceaeไม่ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงสลับ ผิวเกลี้ยง ดอกขนาดเล็ก มีขนนุ่ม ออกดอกรวมกันเป็นช่อโตที่ปลายกิ่ง สีขาวอมเขียวอ่อน ผลกลมรี ทรงกล้วยไข่ ขนาดใกล้เคียงกับมะม่วงกะล่อนขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเข้มขึ้น สุกเป็นสีเหลืองอมเขียว เนื้อเละ เมล็ดแห้ง.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและกระบก · ดูเพิ่มเติม »

กระบาก

กระบาก เป็นไม้ยืนต้นสูง 5–25 เมตร เปลือกขรุขระสีเทา ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุด ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่แกมรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าหรือหยักกลม ๆ เรียบ โคนใบกลม มีต่อมขนอยู่ตรงมุมระหว่างเส้นกลางใบและเส้นใบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็ก ๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนกลีบใกล้ปลายที่แยกออก ผลเป็นฝัก เมล็ดมีปีก ในประเทศไทยพบในป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและกระบาก · ดูเพิ่มเติม »

กันเกรา

ต้นกันเกรา กันเกรา เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลางเรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา ส่วนภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสา ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกราหมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใด ๆ ชื่อตำเสาคือ เป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่าง ๆ เจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและกันเกรา · ดูเพิ่มเติม »

ยาง

การเก็บน้ำยาง ยาง คือวัสดุพอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอน ยางเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ยางที่มีต้นกำเนิดจากธรรมชาติจะมาจากของเหลวของพืชบางชนิด ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาว คล้ายน้ำนม มีสมบัติเป็นคอลลอยด์ อนุภาคเล็ก มีตัวกลางเป็นน้ำ ยางในสภาพของเหลวเรียกว่าน้ำยาง ยางที่เกิดจากพืชนี้เรียกว่ายางธรรมชาติ ในขณะเดียวกันมนุษย์สามารถสร้างยางสังเคราะห์ได้จากปิโตรเลียม.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและยาง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สันตะวาใบพาย

ันตะวาใบพาย หรือ ผักโตวา หรือ หอบแหบ เป็นพืชในวงศ์สันตะวา ลักษณะเป็นพืชน้ำอายุปีเดียว มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่แตกเป็นกอรอบต้น กว้าง 8-20 เซนติเมตร ยาว 10-22 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกมี 3 กลีบ รวมกันเป็นก้านชูยาว 4 มิลลิเมตร ภายในรังไข่มี 6 ช่อง ผลเป็นผลเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนาน ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก สันตะวาใบพายกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย ในอเมริกาเหนือจัดเป็นพืชรุกราน สันตะวาใบพายนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ในประเทศจีนใช้เป็นยารักษาฝี ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้ลดไข้และรักษาโรคริดสีดวงทวาร.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและสันตะวาใบพาย · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่ายหางกระรอก

หร่ายหางกระรอก เป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Hydrilla ลักษณะเป็นพืชใต้น้ำ ต้นเป็นสายเรียวยาว รากยึดติดพื้นดินหรืออาจลอยน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปแถบแกมหอกหรือรูปไข่ ขอบใบจักฟันเลื่อย ออกรอบข้อ 3-8 ใบ กว้าง 1.5 มิลลิเมตร ยาว 8-40 มิลลิเมตร ดอกมีขนาดเล็กแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกตามซอกใบ มีใบประดับหุ้ม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้มี 3 อัน ดอกเพศเมียมีใบประดับหุ้มที่โคนก้าน มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบเช่นเดียวกับดอกเพศผู้ มียอดเกสรเพศเมีย 3 อัน ผลคล้ายรูปทรงกระบอก มีขนาดเล็ก สาหร่ายหางกระรอกกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของซีกโลกตะวันออก ในสหรัฐจัดเป็นพืชรุกรานที่ทำความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม สาหร่ายหางกระรอกนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในตู้ปลา ในทางโภชนาการอุดมไปด้วยวิตามินบี12, เหล็กและแคลเซียม.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและสาหร่ายหางกระรอก · ดูเพิ่มเติม »

หว้า

หว้า เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำเพชรบุรี.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและหว้า · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบึงโขงหลง

อำเภอบึงโขงหลง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งแยกออกมาจากจังหวัดหนองคาย ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม..

ใหม่!!: บึงโขงหลงและอำเภอบึงโขงหลง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเซกา

อำเภอเซกา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งแยกออกมาจากจังหวัดหนองคาย ตาม พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและอำเภอเซกา · ดูเพิ่มเติม »

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) พบทั่วไปในเขตร้อน และเป็นผักที่คนท้องถิ่น เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และกานา นิยมรับประทานเป็นอาหาร ผักบุ้งที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนาและผักบุ้งจีน โดยผักบุ้งไทยมักปลูกในน้ำเพราะเจริญเติบโตได้ดีกว่าบนบก ส่วนผักบุ้งจีนจะปลูกในดินเพราะต้องการธาตุอาหารจากในดินมากกว.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและผักบุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบึงกาฬ

ึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนสุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 765 กิโลเมตร จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม..

ใหม่!!: บึงโขงหลงและจังหวัดบึงกาฬ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ตะแบกนา

ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ 15-30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและตะแบกนา · ดูเพิ่มเติม »

ตะเคียน

ตะเคียน หรือ ตะเคียนทอง เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ไม้ตะเคียน สามารถพบในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศกัมพูชา, ประเทศอินเดีย, ประเทศลาว, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศพม่า, ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ตะเคียนยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) แคน (ตะวันออกเฉียงเหนือ, เลย) จะเคียน (เหนือ) จืองา (มลายู นราธิวาส) จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ตะเคียนใหญ่ (กลาง) ตะเคียนทอง (กลาง, ประจวบคีรีขันธ์) ไพร (ละว้า เชียงใหม่).

ใหม่!!: บึงโขงหลงและตะเคียน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนาน

ตำนาน (legend; legenda, แปลว่า "สิ่งที่จะต้องอ่าน") คือ เรื่องเล่าขานที่มีมาแต่อดีต เปรียบได้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่าง ๆ ของคนในยุคอดีต อาจเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ได้ อาจมีหลักฐานหรือไม่มีก็ได้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" ไว้ว่า ในหนังสือแบบเรียนประวัติศาสตร์ของกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน้า 74 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" และการใช้ประโยชน์จากตำนานในการศึกษาทางวิชาการไว้ว.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและตำนาน · ดูเพิ่มเติม »

ประดู่

ประดู่เต็ม สมิตินันทน.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและประดู่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อน

ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "ปลาหลิม" ในภาษาเหนือ "ปลาค้อ" หรือ "ปลาก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบว่าเนื้อปลาช่อนมีสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลลาเจน มีฤทธิในการห้ามเลือดและระงับความเจ็บปวดได้คล้ายมอร์ฟีน จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วยหรือผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด นอกจากนี้แล้วในหลายพื้นที่ของไทย เช่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงในพื้นที่ตำบลหัวดวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั้นว่า ปลาช่อนสามารถขอฝนได้ โดยต้องทำตามพิธีตามแบบแผนโบราณ ซึ่งจะกระทำกันในช่วงเกิดภาวะแห้งแล้ง ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์เบื้องหน้าองค์พระประธาน และมีการโยงสายสิญจน์กับอ่างที่มีปลาช่อน 9 ตัว และสวดคาถาปลาช่อน เชื่อกันว่าระหว่างทำพิธี หากปลาช่อนดิ้นกระโดดขึ้นมา เป็นสัญญาณว่าฝนจะตกลงมาในเร็ววันนี้ นอกจากนี้แล้ว ที่อินเดียก็มีความเชื่อและพิธีกรรมที่คล้ายคลึงแบบนี้เหมือนกัน.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและปลาช่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระสูบจุด

ปลากระสูบจุด (Eye-spot barb, Spotted hampala barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ เป็นปลาที่พบได้เฉพาะที่ภาคอีสานของไทย ในต่างประเทศพบได้เฉพาะประเทศลาวและกัมพูชาเท่านั้น มีขนาดประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 35 เซนติเมตร ชื่อวิทยาศาสตร์ dispar เป็นภาษาละตินหมายถึง "ไม่เหมือน" หรือ "ซึ่งแตกต่างกัน" อันหมายถึงสัณฐานที่แตกต่างจากปลากระสูบขีด (H. macrolepidota) ซึ่งเป็นปลากระสูบอีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทย และเป็นชนิดต้นแบบ อนุกรมวิธานโดย ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ สถานที่ค้นพบครั้งแรก คือ แม่น้ำมูลในจังหวัดอุดรธานี เป็นปลานักล่า กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บริโภคโดยปรุงสด และทำปลาร้า, ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและปลากระสูบจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดเหลือง

ปลากดเหลือง ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดคัง (H. wyckioides) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างเล็กกว่า สีข้างลำตัวเป็นสีเหลืองจึงเป็นที่ของชื่อ หรืออาจเป็นสีเทาคล้ำ สีท้องจาง ครีบหลังยาวจนถึงจุดเริ่มต้นของครีบไขมัน และครีบไขมันมีสีคล้ำ ขนาดโตเต็มที่ราว 50 เซนติเมตร พบในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน เป็นปลาที่ใช้บริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และปลาแห้ง และมีการเพาะเลี้ยงในกระชังเหมือนปลากดคัง นอกจากนี้แล้วยังมีปลากดในสกุลเดียวกันนี้ อีกชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกัน คือ ปลากดขาว (H. spilopterus) ซึ่งบางครั้งอาจสับสนกันและเรียกชื่อสามัญตรงกันว่า "ปลากดเหลือง" ด้วย ซึ่ง 2 ชนิดนั้นยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลากดช่องหลวง", "ปลากดนา", "ปลากดขาว", "ปลากดชงโลง" หรือ "ปลากดคัง" เป็นต้น.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและปลากดเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยขาว

ปลาสร้อยขาว (Siamese mud carp) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก กึ่งกลางของริมฝีปากมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้าลึกและมีจุดประสีคล้ำ โคนครีบหางมีจุดสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร ปลาสร้อยขาวมีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และในฤดูฝนจะมีการอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ต้นน้ำหรือบริเวณที่น้ำหลากเพื่อวางไข่และหากิน พบในแหล่งน้ำหลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสานของไทย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคอีสาน โดยนิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ "น้ำปลาปลาสร้อย" มีชื่อเรียกอื่นในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาส้อยหัวกลม" ในภาษาอีสาน, หรือ "ปลากระบอก" ในภาษาเหนือ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้ว.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและปลาสร้อยขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยนกเขา

ปลาสร้อยนกเขา (hard-lipped barb, lipped barb, nilem carp, orange shark) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวค่อนข้างแบน ปากเล็ก มีหนวด 2 คู่คือที่บริเวณ ขากรรไกรบน และใต้คางอย่างละ 1 คู่ บริเวณท้องมีสีเขียวสด ด้านล่างสีขาวนวล ใต้ท้องสีขาว มีจุดสีดำบนเกล็ดติดต่อกันจนดูเป็นลายสีดำ 6-8 ลายด้านข้างลำตัว ครีบท้อง ครีบก้น และครีบท้องเป็นสีแดง ครีบอกมีลายเป็นสีเขียวอ่อน ที่โคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน จัดเป็นปลาที่มีความสวยงามชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทยและยังพบได้ในหลายประเทศในภูมิภาคอินโดจีนอีกด้วย และพบไปจนถึงแหลมมลายูและเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย กินอาหารจำพวกสาหร่ายและตะไคร่น้ำใต้พื้นน้ำ จัดเป็นปลาที่หาได้ง่าย และนิยมจับมาบริโภคกัน โดยมักจะจับได้ทีละครั้งละมาก ๆ นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ขี้ขม", "ซ่า", "นกเขา" หรือ "ขาวอีไท" ในภาษาเหนือ เป็นต้น.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและปลาสร้อยนกเขา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกด้าน

ปลาดุกด้าน (อังกฤษ: Walking catfish, Batrachian walking catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias batrachus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว ส่วนหางค่อนข้างแบน มีสีเทาปนดำ ส่วนท้องมีสีขาว สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบ เรียกว่า "ปลาแถก" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตร พบได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา, คาบสมุทรมลายู, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, ฟิลิปปินส์ และมีรายงานว่าพบในศรีลังกา, บังกลาเทศ, อินเดีย และพม่า ถูกควบคุมการซื้อขายในประเทศเยอรมนี และมีรายงานจากบางประเทศว่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหลังจากนำเข้าไป เนื่องจากเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ปลาดุกด้านเป็นปลาที่ใช้เป็นอาหารชนิดสำคัญชนิดหนึ่ง และปลาสีเผือกหรือสีที่แปลกไปจากปกติ ยังถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ในประเทศไทย ปลาดุกด้านถือเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ปลาดุกย่าง, ปลาดุกฟู หรือปลาหยอง เป็นต้น.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและปลาดุกด้าน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะโกก

ปลาตะโกก (Soldier river barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: บึงโขงหลงและปลาตะโกก · ดูเพิ่มเติม »

ปลานิล

ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและปลานิล · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาแดง

นกกระสาแดง (Purple heron) เป็นนกน้ำในตระกูล Ardeidae มีถิ่นผสมพันธุ์อยู่ในแอฟริกา ยุโรปตอนกลางและตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก กลุ่มที่อาศัยอยู่ในยุโรปจะอพยพลงสู่เขตร้อนในแอฟริกาในฤดูหนาว ส่วนกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเอเชียก็จะมีการอพยพลงใต้ภายในทวีปเช่นกัน จัดว่าเป็นนกที่หายาก แต่เวลาที่อพยพจะพบเห็นได้บ่อยในภูมิภาคทางตอนเหนือของถิ่นผสมพันธุ์ นกชนิดนี้จัดเป็นนกขนาดใหญ่ โดยมีความสูง 80-90 เซนติเมตร ความกว้างของปีกสองข้าง 120-150 เซนติเมตร แต่มีลำตัวผอมบาง มีน้ำหนักเพียง 500-1,300 กรัมเท่านั้น มีลักษณะใกล้เคียงกับนกกระสานวล แต่ขนาดค่อนข้างเล็กกว่า และมีสีขนที่แตกต่างกัน โดยนกกระสาแดงจะมีขนสีน้ำตาลแดงเข้ม และเมื่อโตเต็มวัย ขนที่หลังจะเป็นสีเทาเข้มขึ้น จะงอยปากมีสีเหลืองและแคบบาง ซึ่งในตัวเต็มวัยจะมีสีสว่างขึ้น.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและนกกระสาแดง · ดูเพิ่มเติม »

แพงพวยน้ำ

แพงพวยน้ำ เป็นพืชในสกุลลัดวิเจีย กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา เอเชียถึงออสเตรเลีย ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกยาวได้กว่า 4 เมตร ลำต้นอวบน้ำ มีรากตามข้อ ต้นที่ลอยน้ำมีรากหายใจรูปกระสวย แตกกิ่งจำนวนมาก ใบรูปรี ขอบขนานหรือใบพาย ยาวได้ถึง 7 เซนติเมตร ดอกออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบ กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมมี 5 กลีบ ยาว 0.5-1 เซนติเมตร ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ดอกสีขาว โคนด้านในสีเหลือง กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 1-1.8 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 10 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 2.5-4 มิลลิเมตร ผลรูปทรงกระบอกยาว 1.2-2.7 เซนติเมตร มีสันตามยาว เกลี้ยงหรือมีขน ภายในมีเมล็ดเรียงเป็นแถวเดียว.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและแพงพวยน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสงคราม

แม่น้ำสงคราม แม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคอีสาน ในประเทศไทย มีความยาวกว่า 400 กิโลเมตร ไหลผ่าน 4 จังหวัด ถือเป็นลำน้ำสาขาหรือแควของแม่น้ำโขง มีจุดกำเนิดที่อำเภอทุ่งฝน แถบเทือกเขาภูพาน จังหวัดอุดรธานี จากนั้นไหลผ่านไปยังอำเภอบ้านดุง, จังหวัดสกลนคร, อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ก่อนจะไหลไปรวมกับแม่น้ำโขงที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 13,001 ตารางกิโลเมตร (8,125,875 ไร่) แม่น้ำสงคราม จัดว่าเป็นลุ่มน้ำที่มีความหลากหลายของชีวภาพ โดยเฉพาะชนิดพันธุ์ปลาน้ำจืดมากมาย อันเป็นอาหารหลักของพื้นที่ภาคอีสาน.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและแม่น้ำสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

แสมขาว

แสมขาว เป็นพืชในป่าชายเลน สูงได้ถึง 30 เมตร พบได้ทั้งบริเวณหาดทรายและหาดเลนรากแผ่เป็นร่างแห และมีรากหายใจเป็นแท่งโผล่ขึ้นมา ใบมีลักษณะยาวรีกว่าแสมแบบอื่นๆ ใบจะซีดและมีสีอ่อนกว่าแสมดำและแสมทะเล ใบหนา อวบน้ำ ป้องกันการสูญเสียน้ำ มีต่อมเกลือ ขับเกลือออกทางผิวใบ ดอกสีขาวเหลือง มีสี่กลีบแบบเดียวกับแสมทะเลแต่ช่อดอกของแสมขาวเป็นช่อยาวกว่า ผลเป็นทรงหยดน้ำ ยาวกว่าผลแสมดำ ผลลอยน้ำได้.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและแสมขาว · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: บึงโขงหลงและเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดคับแค

ป็ดคับแค (Cotton pygmy goose, Cotton tealAli, Salim; J C Daniel (1983).) เป็นนกชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นนกเป็ดน้ำขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีน้ำหนักเต็มที่ประมาณ 160 กรัม และความยาวลำตัวประมาณ 26 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ มีสีขาวต่างจากนกเป็ดน้ำชนิดอื่น ปากและขาสีเทา ตัวผู้ บริเวณใบหน้า, คอและลำตัวสีขาว, กระหม่อม และวงรอบคอและหลังสีดำ, ปีกสีเขียว และมีแถบสีขาวเห็นชัดขณะบิน ขณะที่ ตัวเมีย มีสีทึมกว่า และไม่มีวงรอบคอ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลจาง ๆ มีแถบสีดำลากผ่านตา มีพฤติกรรมหากินรวมฝูงกันกับนกเป็ดน้ำชนิดอื่น ๆ ส่งเสียงร้อง "คว้าก – คว้าก – คว้าก - แอ๊ก" มีจะงอยปากสั้นคล้ายกับห่าน จึงเหมาะสำหรับใช้สำหรับจิกหากินตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แต่ก็ดำน้ำได้และดำน้ำเก่ง ในฤดูผสมพันธุ์อาจจะอาศัยอยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ นอกฤดูผสมพันธุ์อาจจะพบรวมฝูงนับเป็นร้อยถึงพันตัว กระจายพันธุ์อยู่ในอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ และออสเตรเลียทางตอนเหนือ ในประเทศไทยถือเป็นนกประจำถิ่น เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและเป็ดคับแค · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดแดง

ป็ดแดง เป็นเป็ดขนาดเล็ก มีแหล่งขยายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ p. 58.

ใหม่!!: บึงโขงหลงและเป็ดแดง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »