เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

บึงพระราม

ดัชนี บึงพระราม

ึงพระราม หรือเดิมเรียกว่า หนองโสน หรือ บึงชีชัน เป็นหนองน้ำหรือบึงน้ำขนาดใหญ่กลางเกาะเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในอดีตบึงแห่งนี้เป็นชุมชนโบราณมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาด้วยสังเกตจากวัดร้างและสถานที่สำคัญจำนวนมากรอบบึงน้ำนี้ ปัจจุบันบึงพระรามได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวพระนครศรีอ.

สารบัญ

  1. 26 ความสัมพันธ์: พญานาคพราหมณ์กาฬโรคมรดกโลกวัดพระรามวัดพระศรีสรรเพชญ์วัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)วัดราชบูรณะ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)วัดธรรมิกราชสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสุจิตต์ วงษ์เทศอาณาจักรอยุธยาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขอมคลองประตูเทพหมีประเทศไทยแม่น้ำลพบุรีแม่น้ำป่าสักแม่น้ำเจ้าพระยาแปลก พิบูลสงครามโสนเยเรเมียส ฟาน ฟลีตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

พญานาค

ญานาค (नागराज นาคราช) หมายถึง นาคผู้เป็นใหญ่ นาคผู้เป็นหัวหน้า ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดีย คล้ายกับพญามังกร (龍王 หลงหวัง) ตามคติศาสนาพื้นบ้านจีน.

ดู บึงพระรามและพญานาค

พราหมณ์

ราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้น พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล.

ดู บึงพระรามและพราหมณ์

กาฬโรค

กาฬโรค (plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้ กาฬโรคเป็นโรคระบาดหนึ่งในสามโรคที่ต้องรายงานต่อองค์การอนามัยโลก (อีกสองโรค คือ อหิวาตกโรคและไข้เหลือง) กระทั่งเดือนมิถุนายน 2550 กาฬโรคสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อที่ปอดหรือสภาพสุขาภิบาล อาการของกาฬโรคขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเชื้อมากในแต่ละบุคคล เช่น กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (septicemic plague) ในหลอดเลือด กาฬโรคแบบมีปอดบวม (pneumonic plague) ในปอด ฯลฯ กาฬโรครักษาได้หากตรวจพบเร็ว และยังระบาดอยู่ในบางส่วนของโลก.

ดู บึงพระรามและกาฬโรค

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ.

ดู บึงพระรามและมรดกโลก

วัดพระราม

วัดพระราม เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเขต พระราชวัง ทางด้านทิศตะวันออก ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา (กรุงเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร วัดพระราม คาดว่าสร้างขึ้นในปี..

ดู บึงพระรามและวัดพระราม

วัดพระศรีสรรเพชญ์

right วัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นอดีตวัดหลวงประจำพระราชวังโบราณ อยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตรในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สร้างชึ้นราวปี..

ดู บึงพระรามและวัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร และเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีอีกด้วย วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้างและดูแลตลอดเวลาจวบจนถูกทำลายลงหลังเสียกรุงครั้งที่ 2.

ดู บึงพระรามและวัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

วัดราชบูรณะ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ติดกับวัดมหาธาตุทางบริเวณทิศตะวันออก ห่างจากพระราชวังโบราณ เพียงเล็กน้อย จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ.

ดู บึงพระรามและวัดราชบูรณะ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

วัดธรรมิกราช

วัดธรรมิกราช เดิมชื่อ วัดมุขราช เป็นอดีตพระอารามหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ใน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดธรรมิกราช สร้างขึ้นโดย พระยาธรรมิกราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง จึงสันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นก่อนที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยา ซึ่งเดิมชื่อวัดมุขราช ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตามผู้สร้างเป็นวัดธรรมิกราช วัดธรรมมิกราช มีจุดเด่นที่สำคัญคือเป็นวัดที่มีการพบเศียรพระธรรมิกราชซึ่งนับเป็นเศียรพระพุทธรูปสำริดที่มีขนาดใหญ่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และเจดีย์ทรงกลมที่มีปูนปั้นรูปสิงห์ล้อมที่หาชมได้ยาก เพราะส่วนใหญ่ที่พบคือวัดที่มีรูปปูนปั้นเป็นช้าง ในสมัยสุโขทัย เรียกว่า วัดช้างล้อม ซึ่งในวัดแห่งนี้เดิมมีสิงห์ล้อมถึง 52 ตัว แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 20 ตัว ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่ โดยมีพระครูสมุห์ธรรมภณเป็นเจ้าอาว.

ดู บึงพระรามและวัดธรรมิกราช

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

มเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 8 แห่งอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ สวรรคต..

ดู บึงพระรามและสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

มเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ. 1857 - พ.ศ. 1912) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกในราชวงศ์อู่ทองแห่งอาณาจักรอ.

ดู บึงพระรามและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

มเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2172 - 2199) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 24 แห่งอาณาจักรอยุธยา และทรงเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททอง.

ดู บึงพระรามและสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

สุจิตต์ วงษ์เทศ

ตต์ วงษ์เทศ (20 เมษายน พ.ศ. 2488 - ปัจจุบัน) นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นนักเขียนประจำในเครือมติชน เขียนเป็นประจำในคอลัมน์ "สยามประเทศไทย" ในหนังสือพิมพ์มติชน และผู้บรรยาย องค์ปาฐกถาพิเศษด้านศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ.

ดู บึงพระรามและสุจิตต์ วงษ์เทศ

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ.

ดู บึงพระรามและอาณาจักรอยุธยา

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.

ดู บึงพระรามและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า".

ดู บึงพระรามและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ขอม

อม เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ไม่ใช่ชื่อชนชาติ หมายถึงคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา นับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ทางใต้ของแคว้นสุโขทัย อาจจะหมายถึงพวก ละโว้ (หรือ ลพบุรี) เอกสารทางล้านนา เช่น จารึกและตำนานต่างๆ ล้วนระบุสอดคล้องกันว่าขอมคือพวกที่อยู่ทางใต้ของล้านนา(ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย) เนื่องจากคำว่า ขอม สัญนิษฐานว่ามาจากคำว่า “เขมร”+”กรอม” (ที่แปลว่าใต้) พูดเร็วๆ กลายเป็น “ขอม” พวกนี้ตัดผมเกรียน และนุ่งโจงกระเบน กินข้าวเจ้า ฯลฯ แคว้นละโว้มีชื่อในตำนาน และพงศาวดารว่า กัมโพช เลียนอย่างชื่อ กัมพูชา ของเขมร นับถือทั้งฮินดูและพุทธมหายาน อาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนอธิบายไว้ว่า ขอมเป็นพวกนับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ใครเข้ารีตเป็นฮินดู หรือพุทธมหายาน เป็นได้ชื่อว่า ขอม ทั้งหมด ขอมไม่ใช่ชื่อชนชาติ เพราะไม่มีชนชาติขอม แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรม เช่นเดียวกับ สยาม.

ดู บึงพระรามและขอม

คลองประตูเทพหมี

ลองประตูเทพหมี, คลองประตูเทษหมี หรือ คลองประตูหลวงเทพอรชุน เป็นคลองหนึ่งบนเกาะเมืองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ทอดยาวแนวเหนือใต้จากแม่น้ำลพบุรีทะลุแม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตเป็นคลองที่มีขนาดกว้างขวางถึงขนาดที่เรืออัญเชิญพระราชสาสน์สามารถเคลื่อนขบวนเรียงสามลำเข้าไปได้ แต่ในปัจจุบันคลองประตูเทพหมีได้ตื้นเขินหมดแล้ว แต่ยังพอมีร่องรอยของคลองให้เห็นบริเวณสะพานประตูเทพหมีหรือสะพานวานรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอ.

ดู บึงพระรามและคลองประตูเทพหมี

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู บึงพระรามและประเทศไทย

แม่น้ำลพบุรี

แม่น้ำลพบุรี เป็นลำน้ำสาขาที่แยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนไหลไปรวมเข้ากับแม่น้ำป่าสัก มีความยาวทั้งหมด 85 กิโลเมตร บางแห่งว่ามีความยาว 95 กิโลเมตร บางแห่งว่า 305 กิโลเมตร.

ดู บึงพระรามและแม่น้ำลพบุรี

แม่น้ำป่าสัก

แม่น้ำป่าสัก เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ในเขตพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ไหลลงใต้ผ่าน จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และ จังหวัดพระนครศรีอ.

ดู บึงพระรามและแม่น้ำป่าสัก

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ดู บึงพระรามและแม่น้ำเจ้าพระยา

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ.

ดู บึงพระรามและแปลก พิบูลสงคราม

โสน

น, โสนหิน หรือ โสนกินดอก เป็นพืชประจำถิ่นในทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นไม้ในตระกูลปาปิโอนีอี เป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติทั่วไปในที่ชื้นแฉะ โดยเฉพาะตามริมคลองและริมคันนา ชื่อสามัญอื่น ๆ คือ โสนดอกเหลือง ทางพายัพเรียก ผักฮองแฮง ทางกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก สีปรีหล.

ดู บึงพระรามและโสน

เยเรเมียส ฟาน ฟลีต

รเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet; เกิด: ค.ศ. 1602 - ค.ศ. 1663) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า วัน วลิต พ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ ของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย เป็นผู้อำนวยการการค้าของอีสต์อินเดียในกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ระหว่าง พ.ศ.

ดู บึงพระรามและเยเรเมียส ฟาน ฟลีต

เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

ทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เป็นเทศบาลนครครอบคลุมพื้นที่ 10 ตำบล ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่าของประเทศไทย คือ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบัน ยังหลงเหลือโบราณสถานที่น่าสนใจภายในตัวเมืองอ.

ดู บึงพระรามและเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ สวนสาธารณะบึงพระรามหนองโสนบึงชีชัน