โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิวต์ท้องแดงจีน

ดัชนี นิวต์ท้องแดงจีน

นิวต์ท้องแดงจีน หรือ นิวต์ท้องแดง (Chinese fire belly newt, Oriental fire-bellied newt, Dwarf fire-bellied newt; 東方蠑螈) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง จำพวกนิวต์ (Salamandridae) เป็นนิวต์ขนาดเล็กมีลำตัวสีดำ ส่วนหางแบนเหมือนใบพาย มีช่วงท้องเป็นสีเหลืองมีแต้มสีส้มหรือแดง ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย โดยตัวผู้จะมีปุ่มบริเวณโคนหาง จัดเป็นนิวต์ขนาดเล็กมีความยาวลำตัวจรดหางประมาณ 12-15 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในน้ำ ตัวอ่อนมีพู่เหงือก แพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่น้ำสะอาดและบริสุทธิ์และมีพืชน้ำขึ้นหนาแน่นในตอนใต้ของประเทศจีน อุณหภูมิประมาณ 18-24 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินสัตว์น้ำและแมลงขนาดเล็ก เช่น หนอน, กุ้งฝอย, หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ, ลูกอ๊อด เป็นต้น นิวต์ท้องแดงจีน มีพิษบริเวณผิวหนังที่มีพิษประเภทเตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) อันเป็นพิษแบบเดียวกับที่มีในปลาปักเป้า แต่เป็นพิษแบบอ่อน อันเป็นลักษณะสำคัญของนิวต์ในสกุล Cynops ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนักสำหรับมนุษย์หากใช้มือเปล่าไปแตะต้องถูกเข้า แต่จะเป็นอันตรายต่อเมื่อกลืนกินเข้าไป เป็นนิวต์หรือซาลาแมนเดอร์อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง.

34 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2416พิษพืชน้ำพื้นที่ชุ่มน้ำกลางคืนกุ้งมนุษย์ลูกอ๊อดวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์น้ำสัตว์เลี้ยงสีส้มสีดำสีแดงสีเหลืองสปีชีส์หนอนหนอนแดงอันดับปลาปักเป้าซาลาแมนเดอร์ประเทศจีนนิวต์นิวต์ท้องแดงน้ำแมลงไส้เดือนน้ำไข่เพศชายเมตรเอ็มบริโอเตโตรโดท็อกซิน

พ.ศ. 2416

ทธศักราช 2416 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1873.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและพ.ศ. 2416 · ดูเพิ่มเติม »

พิษ

พิษ ในบริบทชีววิทยา คือ สสารใด ๆ ที่ก่อการรบกวนแก่สิ่งมีชีวิต มักโดยปฏิกิริยาเคมีหรือกิจกรรมอย่างอื่นในระดับโมเลกุล เมื่อซึมซาบเข้าสู่สิ่งมีชีวิตนั้นในปริมาณที่เพียงพอ สาขาแพทยศาสตร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตวแพทยศาสตร์) และสัตววิทยา มักแยกพิษออกจากชีวพิษ (toxin) และจากพิษสัตว์ (venom) ชีวพิษเป็นพิษที่ผลิตโดยหน้าที่ทางชีวภาพบางอย่างในธรรมชาติ และพิษสัตว์มักนิยามเป็น ชีวพิษที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยการกัดหรือต่อยเพื่อก่อผลของมัน ขณะที่พิษอื่นโดยทั่วไปนิยามเป็นสสารที่ดูดซึมผ่านเยื่อบุผิว อาทิ ผิวหนังหรือลำไส้ หมวดหมู่:เครื่องประหารชีวิต.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและพิษ · ดูเพิ่มเติม »

พืชน้ำ

ัวทั่วไป ใบอยู่ผิวน้ำ ดอกอยู่เหนือน้ำ พืชน้ำ หรือ พรรณไม้น้ำ (aquatic plant, aquatic weed, water plant) เป็นพืชที่อาศัยหรือเจริญเติบโตในน้ำ หรือมีช่วงหนึ่งที่เจริญเติบโตอยู่ในน้ำ อาจอยู่ใต้น้ำทั้งหมดหรือมีบางส่วนขึ้นสู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่ตามผิวน้ำ เจริญเติบโตบริเวณที่มีน้ำตามแนวชายฝั่ง พืชที่เจริญเติบโตในที่มีน้ำขัง พื้นที่ชื้นแฉะ ทั้ง น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม โดยสามารถแยกเป็นสี่ประเภทหลัก พืชใต้น้ำ (submerged plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตใต้น้ำทั้งหมด หรือหมายถึงพืชที่ทั้งราก ลำต้น ใบ อยู่ใต้น้ำทั้งหมด ทั้งนี้รากอาจยึดกับพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ โครงสร้างลำต้นและใบจะมีช่องว่างมากสำหรับใช้เป็นที่สะสมก๊าซ และช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ส่วนใบมักจะกรอบและบาง ไม่มีปากใบและคิวติน พืชจำพวกนี้พบมากในกลุ่มสาหร่ายต่าง ๆ พืชโผล่เหนือน้ำ (emerged plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตในน้ำเพียงบางส่วน เช่น รากและลำต้น ส่วนรากอาจยึดพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ มีใบหรือดอกโผล่พ้นน้ำหรืออาจอยู่ที่ผิวน้ำ บางชนิดอาจมีทั้งใบใต้น้ำและใบเหนือน้ำในลำต้นเดียวกัน ลำต้นมีลักษณะแข็งแรงกว่าพืชใต้น้ำมีคิวตินมีปากใบและคิวติน พบมากในพืชกลุ่มบัวต่าง ๆ ผักตับเต่า แว่นแก้ว สาหร่ายญี่ปุ่น พืชลอยน้ำ (floating plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้โดยลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ รากจะอยู่ใต้น้ำ ส่วนของลำต้น ใบ และดอก อยู่เหนือน้ำหรือผิวน้ำ สามารถลอยไปมาได้ หากพืชเหล่านี้อยู่บริเวณน้ำตื้นรากของพืชชนิดนี้อาจยึดอยู่กับพื้นดินใต้น้ำได้ พืชจำพวกนี้ได้แก่ ผักตบไทย ผักตบชวา จอกหูหนู กระจับ ผำ ผักบุ้ง พืชชายน้ำ (merginal plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตบริเวณริมน้ำหรือริมตลิ่ง ทั้งบริเวณหนองน้ำ ริมคลอง บริเวณที่มีน้ำขัง โดยรากจะฝังในดิน ส่วนลำต้น ใบ และดอก จะอยู่เหนือน้ำ.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและพืชน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

พื้นที่ชุ่มน้ำ

ื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อน -ป่าพรุศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) หมายถึงลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและพื้นที่ชุ่มน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

กลางคืน

กลางคืน กลางคืน (Night) คือช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นของวันใหม่ เวลากลางคืนตรงข้ามกับเวลากลางวันซึ่งรวมกันเป็น 24 ชั่วโมง ช่วงเวลามีความแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ฤดูกาล ละติจูด ลองติจูด และเขตเวล.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและกลางคืน · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูกอ๊อด

ลักษณะโดยทั่วไปของลูกอ๊อด และลักษณะของปาก ลูกอ๊อดของกบในวงศ์ Bufonidae ลูกอ๊อด (Tadpole, Pollywog, Porwigle) หรือ ลูกฮวก หรือ อีฮวก ในภาษาอีสานหรือภาษาเหนือ เป็นชื่อเรียกของตัวอ่อนของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) เมื่อโตเต็มวัย ลูกอ๊อดจะมีรูปร่างเช่นเดียวกบปกติทั่วไป แต่กระนั้นก็ยังมีกบบางชนิดที่ไม่มีช่วงวัยลูกอ๊อด ลูกอ๊อด มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลา มีหาง ไม่มีขา หายใจด้วยเหงือก ส่วนหัวมีขนาดโตมาก ซึ่งลูกอ๊อดของกบแต่ละวงศ์ก็มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างออกไป โดยแบ่งตามโครงสร้างของปาก, โครงสร้างของห้องเหงือก, และจำนวนและตำแหน่งของช่องเปิดเหงือกที่เป็นทางผ่านออกของน้ำซึ่ง สามารถจำแนกเป็น 4 แบบได้ คือ 1.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและลูกอ๊อด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้

วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ หรืออาจเรียกได้ว่า นิวต์ (Newts, True salamanders) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salamandridae จัดเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 20 เซนติเมตร มีลักษณะโดยรวม คือ ตัวเต็มวัยไม่มีเหงือก และไม่มีช่องเปิดเหงือก ไม่มีร่องในโพรงจมูก มีปอด รูปร่างมีแตกต่างกันตั้แงต่เรียวยาวจนถึงป้อม ขาสั้น ผิวหลังลำตัวมีความแตกต่างกันตั้งแต่ราบเรียบจนถึงหยักย่น สำหรับตัวที่หยักย่นนั้นเนื่องจากมีต่อมน้ำพิษเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นซาลาแมนเดอร์วงศ์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุด นอกจากนี้แล้วยังมีสีสันลำตัวที่สดใสจัดจ้าน โดยเฉพาะด้านข้างลำตัวและหลัง ซึ่งจะใช้พิษและสีเหล่านี้เพื่อใช้ในการเตือนภัยสัตว์ล่าเหยื่อ มีวงจรชีวิตแตกต่างหลากหลายกันออกไปตามแต่สกุล บางสกุลอาศัยอยู่บนบก แต่หลายสกุลอาศัยอยู่ในน้ำและมีส่วนหางเป็นแผ่นแบนคล้ายใบพาย บางชนิดวางไข่บนดิน แต่ส่วนใหญ่จะวางไข่ในน้ำ บางชนิดเปลี่ยนรูปร่างแค่บางส่วนในวัยอ่อนแล้วขึ้นไปอาศัยบนบกตั้งแค่ระยะเวลานาน 1–14 ปี ต่อจากนั้นจึงย้ายกลับไปใช้ชีวิตในน้ำแล้วจึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยและอาศัยอยู่ในน้ำตลอดไปก็มี มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวางตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, แอฟริกาตะวันตก, เอเชียตะวันตก และเอเชียตะวันออก สำหรับในประเทศไทย กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดอยู่ในวงศ์นี้เช่นกัน และก็มีพิษด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยง

ัตว์เลี้ยง (สุนัข) ในภาพจิตรกรรม ''A Highland Breakfast'' โดย Edwin Landseer สัตว์เลี้ยง เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อนหรือเพื่อคุ้มครองบุคคลเป็นหลัก ต่งจากสัตว์ใช้งาน สัตว์กีฬา ปศุสัตว์และสัตว์ทดลอง เพื่อเลี้ยงไว้เพื่อการแสดง ใช้ในเกษตรกรรมหรือการวิจัยเป็นหลัก.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

สีส้ม

ีส้ม เป็นหนึ่งในกลุ่มสีโทนร้อน แสงสีส้มที่มองเห็นได้มีความยาวคลื่นราว 590 นาโนเมตร สีเพลิง เป็น รูปลักษณ์ของสีออกคล้ายสีแสด ซึ่งมีความเข้มกว่าสีส้ม.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและสีส้ม · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หนอน

องหนอน Proserpinus proserpina หนอน (larva) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อตัวอ่อนของแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการเจริญเติบโตแบบ Holometabola โดยมี 4 ระยะการเจริญเติบโต คือ ไข่ หนอน ดักแด้ และ ตัวเต็มวัย ตามลำดับ ลักษณะของตัวหนอนจะไม่มีตารวม มีปีกที่เจริญอยู่ภายใน ตัวหนอนมีการเจริญเติบโตขึ้นไปได้หลายระยะ โดยการลอกคราบจนถึงระยะสุดท้ายจะลอกคราบกลายเป็นดักแด้ พบได้ในแมลงจำพวก แมลงช้าง แมลงปีกใส ด้วง หนอนปลอกน้ำ ผีเสื้อ แมลงวัน หมัด ผึ้ง ต่อ แตน และ มด คำว่า หนอน อาจใช้เรียกสิ่งมีชีวิตจำพวก หนอนพยาธิ (worm) เช่น หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน รวมทั้งไส้เดือนและหนอนทะเลด้ว.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและหนอน · ดูเพิ่มเติม »

หนอนแดง

หนอนแดง หรือ หนอนเลือด (Blood worm) เป็นชื่อสามัญของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายจำพวก ได้แก.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและหนอนแดง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาปักเป้า

อันดับปลาปักเป้า (Puffers, Sunfishes, Triggerfishes, Filefishes) เป็นชื่อเรียกของปลาอันดับ Tetraodontiformes มีอยู่หลายชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล อาศัยอยู่ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยมากมีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก จึงว่ายน้ำได้เชื่องช้าดูน่ารัก หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร คนที่ลงเล่นน้ำจึงมักถูกกัดทำร้ายเป็นแผลบ่อย ๆ เมื่อตกใจหรือข่มขู่สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออกได้หลายลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามด้วย แต่การที่ปลาพองตัวออกเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ในบางครั้ง เช่น ปลาตกใจอาจไปกระทบกับถุงลมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทรงตัวเมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้แตกได้ ปลาปักเป้าที่เป็นเช่นนี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แต่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำไปอย่างนั้น จนกระทั่งตาย เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตัวหรือหากินได้อีก ปลาในอันดับนี้ที่รู้จักกันดี คือ ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก วงศ์ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae ปลาในวงศ์นี้ลักษณะลำตัวแบนข้าง สำหรับในประเทศไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้ ทั้งหมด 42 ชนิด เป็นชนิดในน้ำจืด 9 ชนิด อีก 33 ชนิด เป็นชนิดในน้ำกร่อยรวมถึงทะเล ในประเทศไทย มีการนำปลาปักเป้ามาจำหน่ายในท้องตลาดในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับพิษทำให้รู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้วิงเวียน แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้ หายใจลำบาก หมดสติ และอาจจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ เนื่องจากสารพิษชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ในหนังปลา ไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ มีความทนต่อความร้อนสูง ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ส่วนปลาในวงศ์อื่นแต่อยู่ในอันดับนี้ คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ด้วย รวมทั้งปลาวัว (Balistidae) เป็นต้น.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและอันดับปลาปักเป้า · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์

นิวต์ (Newts) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์ ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ (Salamandridae) ในวงศ์ย่อย Pleurodelinae นิวต์เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป และเอเชีย เมื่อยังเป็นวัยอ่อนที่มีพู่เหงือกเรียกว่า "เอลฟ์" (Efts) นิวต์มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างไปจากซาลาแมนเดอร์ คือ มีผิวหนังที่แห้งกว่าและขรุขระหรือเป็นตะปุ่มตะป่ำกว่า และมักมีพิษ กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดว่าเป็นนิวต์เช่นกัน ไม่ใช่ซาลาแมนเดอร์ และก็มีพิษด้วยเช่นกัน นิวต์อาจจำแนกออกได้เป็นสกุลต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและนิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์ท้องแดง

นิวต์ท้องแดง หรือ นิวต์ไฟ (Fire belly newt, Fire newt) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกนิวต์ (Salamandridae) ที่อยู่ในสกุล Cynops เป็นนิวต์หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่เอเชียตะวันออก เช่น จีน และญี่ปุ่น มีลักษะเด่น คือ มีส่วนท้องเป็นสีแดงหรือสีเหลือง จำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและนิวต์ท้องแดง · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

ไส้เดือนน้ำ

้เดือนน้ำ (Tubiflex worm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นสัตว์พวกหนอนปล้องชนิดหนึ่ง มีการดำรงชีวิตอยู่ตามแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ โดยกินอาหารจำพวกอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยในดินชั้นล่างของแหล่งน้ำที่อาศัย จะขุดรูคล้ายท่อหรือหลอดในโคลนโดยทิ้งให้ส่วนหัวอยู่ด้านล่าง และยื่นออกมาเฉพาะส่วนท้ายของหางโผล่ออกมาจากดิน ส่วนของหางจะทำหน้าที่ในการโบกกลับไปมา ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำเพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนในการหายใจด้วย ดังนั้นจะเห็นไส้เดือนน้ำมักรวมกลุ่มกันเป็นก้อนโบกตัวไปมาใต้พื้นน้ำ ไส้เดือนน้ำนิยมให้เป็นอาหารปลา โดยเฉพาะปลาสวยงาม มีคุณค่าทางสารอาหาร คือ ประกอบไปด้วยโปรตีนร้อยละ 60, ไขมันร้อยละ 6.50, ความชื้นร้อยละ 6, ไฟเบอร์ร้อยละ 0.30 ถือว่ามีคุณค่าทางสารอาหารสูงกว่าหนอนแดงเสียอีก แต่ทว่าไส้เดือนน้ำมักมีความสกปรก เมื่อนำไปให้ปลากิน ปลามักจะป่วยหรือตายได้ง่าย ๆ ฉะนั้นก่อนจะให้ ผู้เลี้ยงจึงต้องทำความสะอาดด้วยการล้างด้วยน้ำเปล่าสะอาด ๆ หลายครั้ง อีกทั้งการเก็บรักษาก็ยุ่งยากกว่าอาหารปลาที่เป็นอาหารสดทั่วไป โดยต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลา จึงมักเก็บไว้ในภาชนะที่มีระบบน้ำไหลผ่านตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นไส้เดือนน้ำจะตายได้และจะทับถมกันจนน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและไส้เดือนน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ไข่

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและไข่ · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มบริโอ

อ็มบริโอของมนุษย์อายุ 6 สัปดาห์ เอ็มบริโอ (แปลว่า สิ่งที่เติบโต) คือระยะแรกในพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จำพวกยูคาริโอต ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีการแบ่งเซลล์จนกระทั่งเกิด, ฟักออกจากไข่, หรืองอกในกรณีของพืช สำหรับในมนุษย์ระยะเอ็มบริโอเริ่มหลังจากการปฏิสนธิจนกระทั่งสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 ซึ่งหลังจากนั้นจะเรียกสิ่งมีชีวิตว่าระยะทารกในครรภ์ หรือฟีตัส (fetus).

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและเอ็มบริโอ · ดูเพิ่มเติม »

เตโตรโดท็อกซิน

ตโตรโดท็อกซิน (tetrodotoxin, ตัวย่อ: TTX) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เตโตรด็อก (tetrodox) มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น Anhydrotetrodotoxin, 4-epitetrodoxin, Tetraodonic acid เป็นชื่อเรียกพิษที่อยู่ในตัวปลาปักเป้า เตโตรโดท็อกซินมีสูตรเคมีว่า C11 H17 N3 O8 มีน้ำหนักโมเลกุล 319.268 โดยสกัดครั้งแรกได้จากนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ ดร.โยชิซุมิ ทะฮะระ ในปี ค.ศ. 1909 เตโตรโดท็อกซิน เป็นสารพิษชนิดที่ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท โดยจะเข้าไปจับกับ fast sodium channel ของผนังหุ้มเซลล์ประสาทก่อให้เกิดการ action potential ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณประสาทได้ ซึ่งส่งผลต่อเซลล์ประสาททั่วร่างกายยกเว้นเซลล์ประสาทที่หัวใจ เมื่อพิษดังกล่าวส่งผลทำลายประสาทจะทำให้เซลล์ประสาทของกล้ามเนื้อไม่สามารถส่งสัญญาณให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวทำงานได้ กล้ามเนื้อจึงเป็นอัมพาต และเมื่อกล้ามเนื้อเป็นอัมพาตก็ส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจเป็นอัมพาตตามด้วย ทำให้ผู้ได้รับพิษหายใจไม่ออกและเสียชีวิตจากการหายใจไม่ออก อาการกว่าพิษจะกำเริบใช้เวลาประมาณ 20 นาทีถึง 3 ชั่วโมง ในบางกรณีอาจแสดงอาการเพียงแค่ 4 นาที เท่านั้นจากการรับประทานปลาปักเป้าเข้าไป โดยจะมีอาการชาที่ปากและลิ้น มีอาการชาและชักกระตุกบริเวณใบหน้าและแขนขา ปวดศีรษะ ปวดท้อง มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการท้องเสีย กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต ชัก หมดสติ การเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตต่ำ และเสียชีวิตได้ ส่วนอาการที่รุนแรงที่สุดคือ เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อช่วยหายใจ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในเวลา 4-6 ชั่วโมง แต่ก็มีรายงานการเสียชีวิตเร็วที่สุดหลังจากได้รับพิษไปเพียง 20 นาทีเท่านั้น แท้จริงแล้วการสร้างพิษในปลาปักเป้ามิได้เกิดจากเซลล์ของตัวปลาเอง นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ปลาปักเป้าไปเกินแพลงก์ตอนบางชนิดในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตที่มีพิษ หรือกินหอยหรือหนอนที่กินแพลงก์ตอนดังกล่าวเข้าไป ทำให้เกิดสารพิษสะสม หรืออาจเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของปลา เตโตรโดท็อกซิน มีความรุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า และทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงไม่สามารถทำลายพิษได้ด้วยการใช้ความร้อนปกติในการปรุงอาหาร และไม่มียาแก้พิษใด ๆ ต่อต้านได้ ซึ่งเตโตรโดท็อกซินนั้นอยู่ในอวัยวะทุกส่วนของปลาปักเป้า โดยที่มีปริมาณการสะสมของพิษไม่เท่ากัน ส่วนที่สะสมพิษมาก ได้แก่ รังไข่, อัณฑะ, ตับ, ผิวหนัง และลำไส้ พบน้อยในกล้ามเนื้อ แต่แม้การรับประทานเนื้อปลาไปเพียงแค่ 1 มิลลิกรัม ก็ทำให้เสียชีวิตได้ ยิ่งโดยเฉพาะผู้มีอาการแพ้อย่างรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 50 หากได้รับพิษเข้าไป การที่ปลาปักเป้ามีพิษที่ร้ายแรงเช่นนี้ในร่างกายก็เพื่อป้องตัวกันจากการถูกกินจากสัตว์อื่นนั่นเอง ซึ่งพิษของปลาปักเป้านั้นไม่ได้แปรเปลี่ยนไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมหรือฤดูกาลเช่นเดียวกับแมงดาทะเล นอกจากนี้แล้ว ในตัวปลาปักเป้าเองยังมีพิษอีกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายเตโตรโดท็อกซิน นั่นคือ ซาซิท็อกซิน (Saxitoxin, STX) ซึ่งมักพบในปลาปักเป้าที่อยู่ในน้ำจืด ซึ่งการปรุงปลาปักเป้าเพื่อการรับประทาน นิยมกันมากในแบบอาหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะการทำเป็นซาซิมิหรือปลาดิบ ในประเทศญี่ปุ่น พ่อครัวที่จะแล่เนื้อปลาและปรุง ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากทางการเสียก่อน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้ที่ได้รับพิษจากปลาปักเป้าร้อยละ 50 เกิดจากการกินตับของปลา ร้อยละ 43 เกิดจากการกินไข่ และร้อยละ 7 เกิดจากการกินหนัง โดยปลาปักเป้าชนิดที่มีสารพิษในตัวน้อยที่สุดหรือแทบไม่มีเลย คือ Takifugu oblongus ที่พบในน่านน้ำของแถบอินโด-แปซิฟิก แต่กระนั้นก็ยังสามารถทำให้ผู้ที่รับประทานเข้าไปเสียชีวิตอยู่ดี.

ใหม่!!: นิวต์ท้องแดงจีนและเตโตรโดท็อกซิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cynops orientalisHypselotriton orientalis

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »