โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แมลง

ดัชนี แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

28 ความสัมพันธ์: บริเวณแห้งแล้งพ.ศ. 2301กล้ามเนื้อการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์กีฏวิทยาภูเขามดยุคดีโวเนียนระบบประสาทสมองสัตว์สัตว์ขาปล้องสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอันดับด้วงผึ้งผีเสื้อ (แมลง)ผีเสื้อหนอนใบกระท้อนทะเลทางเดินอาหารของมนุษย์คาโรลัส ลินเนียสตั๊กแตนตั๊กแตนตำข้าวนักวิทยาศาสตร์แมลงปอแมงคีมแมงคีมยีราฟไฟลัมเส้นประสาท

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

ใหม่!!: แมลงและบริเวณแห้งแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2301

ทธศักราช 2301 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: แมลงและพ.ศ. 2301 · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: แมลงและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: แมลงและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กีฏวิทยา

กีฏวิทยา (Entomology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ในกลุ่มของแมลง แมลงมีความสัมพันธ์มากมายหลายทางต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สาขาวิชานี้จึงมีความสำคัญในการศึกษาชีววิท.

ใหม่!!: แมลงและกีฏวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขา

ทือกเขาร็อกกี ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: แมลงและภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

มด

มด เป็นมดในมด Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: แมลงและมด · ดูเพิ่มเติม »

ยุคดีโวเนียน

ีโวเนียน (Devonian) เป็นยุคที่สี่ของมหายุคพาลีโอโซอิก ยุคนี้เริ่มนับตั้งแต่จุดสิ้นสุดของยุคไซลูเรียน เมื่อประมาณ 419.2±3.2 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดลงเมื่อก่อนเริ่มยุคคาร์บอนิเฟอรัส ประมาณ 358.9±0.4 ล้านปีก่อน ยุคนี้ตั้งชื่อตามเดวอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการศึกษาหินของยุคนี้ นักธรณีวิทยาจัดว่ายุคดีโวเนียนนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตบนบก และพืชบกเริ่มกระจายเข้าสู่แผ่นดินส่วนใน ทำให้เริ่มมีการก่อตัวเป็นป่าซึ่งจะค่อยๆปกคลุมทวีป ช่วงกลางยุคดีโวเนียน พืชบางชนิดจะเริ่มวิวัฒนาการเป็นพืชมีใบและมีรากที่มั่นคง และปลาได้วิวัฒนาการมามากกว่าออสทราโคเดิร์มแล้ว และยุคนี้มีปลาชุกชุมจึงถูกเรียกว่า ยุคแห่งปลา (Age of Fish) ปลาหลายชนิดได้เริ่มวิวัฒนาการขึ้น ซึ่งภายหลังพวกมันเป็นต้นตระกูลของปลาขนาดใหญ่หลายชนิด ขณะที่ปลามีเกราะได้เริ่มลงจำนวนลงในแหล่งน้ำทุกๆ แห่ง บรรพบุรุษของสัตว์สี่ขาได้เริ่มขึ้นมาเดินอยู่บนบก ครีบของพวกมันได้วิวัฒนาการมาเป็นขา ส่วนในทะเล ฉลามดึกดำบรรพ์มีจำนวนมากขึ้นกว่าที่มีในยุคไซลูเรียนและปลายยุคออร์โดวิเชียน ปลายยุคดีโวเนียนได้เกิดการสูญพันธุ์ขึ้น เมื่อประมาณ 375 ล้านปีก่อน การสูญพันธุ์นี้ส่งผลกระทบกับสัตว์น้ำ ปลามีเกราะและไทรโลไบต์ทั้งหมดสูญพันธุ์ ทวีปในยุคนี้แบ่งเป็นมหาทวีปกอนด์วานา ทางตอนใต้ ทวีปไซบีเรีย ทางตอนเหนือ และเริ่มมีการก่อตัวของทวีปขนาดเล็กที่มีชื่อว่า ยูราเมริกา ในตำแหน่งระหว่างกลางของกอนด์วานาและไซบีเรี.

ใหม่!!: แมลงและยุคดีโวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: แมลงและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: แมลงและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: แมลงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: แมลงและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

ใหม่!!: แมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับด้วง

้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (Beetle) จัดเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่, หนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท.

ใหม่!!: แมลงและอันดับด้วง · ดูเพิ่มเติม »

ผึ้ง

ำหรับผึ้งในความหมายอื่น ดูที่: ผึ้ง ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่ มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว ฟาโรห์เมเนสของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์ คาดว่าผึ้งมีมากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งมากกว่ามนุษย์, ปลา และสัตว์เลื้อยคลานรวมกันเสียอีก ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ.

ใหม่!!: แมลงและผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ผีเสื้อ (แมลง)

ผีเสื้อ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงก่ำเบ้อ) เป็นแมลงทุกชนิดในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก.

ใหม่!!: แมลงและผีเสื้อ (แมลง) · ดูเพิ่มเติม »

ผีเสื้อหนอนใบกระท้อน

ผีเสื้อหนอนใบกระท้อน หรือ ผีเสื้อยักษ์ (Atlas moth) เป็นผีเสื้อที่อยู่ในวงศ์ Saturniidae จัดเป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ ระยะที่เป็นตัวหนอนกินใบกระท้อน, ฝรั่ง, ขนุน และใบดาหลา ตัวเมียวางไข่บนใบพืชอาหาร.

ใหม่!!: แมลงและผีเสื้อหนอนใบกระท้อน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: แมลงและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหารของมนุษย์

right ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract, GI tract, alimentary canal หรือ gut) ระบบทางเดินอาหาร อาจเรียกอีกอย่างว่าระบบย่อยอาหาร (digestive tract) ระบบอวัยวะนี้มีเฉพาะในสัตว์หลายเซลล์ (multicellular animals) ที่ต้องกินอาหารและย่อยอาหาร เพื่อรับสารอาหารและพลังงานและขับถ่ายของเสียออกไป.

ใหม่!!: แมลงและทางเดินอาหารของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: แมลงและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ตั๊กแตน

อวัยวะสืบพันธุ์ของตั๊กแตน ภาพของ ''Coryphistes ruricola'' ที่คล้ายตั๊กแตน ตั๊กแตน (Grasshopper) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอ.

ใหม่!!: แมลงและตั๊กแตน · ดูเพิ่มเติม »

ตั๊กแตนตำข้าว

ตั๊กแตนตำข้าว หรือ ตั๊กแตนต่อยมวย (Mantis; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงม้า) เป็นอันดับของแมลงที่ประกอบไปด้วยแมลงมากกว่า 2,400 ชนิด 430 สกุล ใน 15 วงศ์ พบทั่วไปในภูมิอากาศเขตอบอุ่นและเขตร้อน ส่วนมากอยู่ในวงศ์ Mantidae.

ใหม่!!: แมลงและตั๊กแตนตำข้าว · ดูเพิ่มเติม »

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดย วิลเลียม วีเวลล์ โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ" หรือ "บุคคลแห่งวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: แมลงและนักวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แมลงปอ

วนหัวและตาขนาดใหญ่ของแมลงปอ การผสมพันธุ์ของแมลงปอ แมลงปอ (อังกฤษ: Dragonfly, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงก่ำบี้) คือแมลงที่มีตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่บนบกมีปีกบินได้ แมลงปอมีการเจริญเติบโตแบบเป็นขั้นตอนประเภทไม่สมบูรณ์แบบ คือ มีระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ไม่มีระยะดักแด้ โดยระยะไข่และตัวอ่อนมีชีวิตอยู่ในน้ำ ตัวอ่อนที่อยู่ในน้ำมีรูปร่างแตกต่างจากตัวเต็มวัยมาก เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้าย กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกและจะใช้ชีวิตบนบกได้ต่อไป แมลงปอจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง โดยถือกำเนิดมาตั้งแต่ 320 ล้านปีก่อนในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ก่อนหน้าไดโนเสาร์ และแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเลยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากขนาดลำตัวที่แมลงปอในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแมลงปอในยุคปัจจุบันมาก โดยมีความห่างระหว่างปีกมากกว่า 70 เซนติเมตร ในอารยธรรมอียิปต์โบราณ แมลงปอปรากฏอยู่ในอักษรภาพเฮียโรกริฟฟิธในหลุมศพของฟาโรห์Sky Hunters: The World Of Dragonfly.

ใหม่!!: แมลงและแมลงปอ · ดูเพิ่มเติม »

แมงคีม

แมงคีม หรือ ด้วงเขี้ยวกาง หรือ ด้วงคีม (Stag beetle) เป็นแมลงปีกแข็งในวงศ์ Lucanidae ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยอีก 4 วงศ์ (ดูในตาราง) พบประมาณ 1,200 ชนิด แมงคีมมีลักษณะเด่นคือ ในตัวผู้จะมีขากรรไกรล่างที่มีขนาดใหญ่และกางเข้าออกได้เหมือนคีมหรือกรรไกรอันเป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งใช้สำหรับเป็นอาวุธในการต่อสู้กันและแย่งตัวเมียเช่นเดียวกับแมลงปีกแข็งในวงศ์ Dynastinae ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดและขากรรไกรเล็กกว่า มีสีลำตัวที่อ่อนกว่า แมงคีมมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 12 เซนติเมตร ขณะที่บางชนิดที่ขนาดเล็กมีความยาวเพียง 5 เซนติเมตรเท่านั้น มีลำตัวโดยรวมค่อนข้างแบน มีหนวดแบบหักเหมือนข้อศอก โดยมีปล้องแรกยาวและปล้องต่อ ๆ ไปเป็นปล้องสั้น ๆ เรียงตัวกันในทิศทางเดียวกันแต่เป็นคนละทิศกับหนวดปล้องแรก ปล้องใกล้ส่วนปลายมีหลายปล้องที่ขยายใหญ่ขึ้นเป็นปมอาจจะประกอบไปด้วยปล้องเล็ก ๆ 3-4 ปล้อง หรือ 5-6 ปล้อง ซึ่งจำนวนปล้องที่ปลายหนวดนี้มีส่วนสำคัญในการอนุกรมวิธานด้วย แมงคีมวางไข่และตัวหนอนเจริญเติบโตในซากไม้ผุเช่นเดียวกับแมลงปีกแข็งในวงศ์ Dynastinae แต่จะไม่วางไข่ในดิน เพราะระยะเป็นตัวหนอนจะกินอาหารจำพวกไม้ผุหรือเห็ดราที่ติดมากับไม้เหล่านั้น แตกต่างกันไปตามชนิดหรือสกุล โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวเต็มวัยนานเป็นแรมปีเหมือนกัน แมงคีมพบได้ทั่วโลก ปกติเป็นแมลงที่ไม่ก้าวร้าวต่อมนุษย์ ในประเทศไทยสามารถพบได้หลายชนิด อาทิ แมงคีมยีราฟ (Prosopocoilus giraffa) ซึ่งเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ มีที่มีขนาดพอ ๆ กับนิ้วมือมนุษย์ พบได้ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งในภาคเหนือและภาคตะวันออก เป็นชนิดที่หายากใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว และมีรายชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ด้วย แมงคีมนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงใช้สำหรับต่อสู้กันเช่นเดียวกับแมลงปีกแข็งในวงศ์ Dynastinae ซึ่งอาจจะใช้ต่อสู้ด้วยกันก็ได้ และเป็นที่นิยมสะสมของนักสะสมแมลง.

ใหม่!!: แมลงและแมงคีม · ดูเพิ่มเติม »

แมงคีมยีราฟ

แมงคีมยีราฟ หรือ ด้วงคีมยีราฟ หรือ ด้วงคีมหยักสองต่อ (Giraffe stag beetle) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prosopocoilus giraffa จัดอยู่ในวงศ์แมงคีม (Lucanidae) แมงคีมยีราฟจัดเป็นแมงคีมชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีจุดเด่น คือ เขี้ยวหรือขากรรไกรล่างที่ใช้เป็นอาวุธของตัวผู้ที่เรียวยาวและแลดูแข็งแรงมาก โดยอาจยาวได้ถึง 2.5-4.0 เซนติเมตร ในขณะที่ลำตัวมีความยาวทั้งหมดประมาณ 10.5 เซนติเมตรในตัวผู้ และ 7.5 เซนติเมตรในตัวเมีย ลำตัวเป็นสีน้ำตาลดำเป็นเงามัน บริเวณตรงกลางส่วนอกของขาคู่กลาง และขาคู่หลังมีหนามข้างละ 1 อัน แต่ที่ขาคู่หลังจะมีขนาดเล็กกว่า ที่ฐานของขากรรไกรล่างมีปุ่มขนาดใหญ่ปรากฏอยู่ข้างละ 1 อัน และมีลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ ส่วนหัวบริเวณขอบตรงกลางด้านบนจะมีปุ่มยื่นตรงไปด้านหน้า 1 คู่ ในขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่ามาก โดยที่ขากรรไกรในตัวผู้จะมีลักษณะแตกต่างออกไปตามช่วงวัยและขนาดลำตัว ซึ่งยิ่งเจริญเติบโตมากและมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าใด คีมหรือขากรรไกรนั้นก็จะยาวใหญ่และมีส่วนโค้งและมีปุ่มเหมือนเขี้ยวมากขึ้นด้วย แมงคีมยีราฟพบกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งของหลายประเทศในทวีปเอเชียจนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในป่าทางภาคเหนือและภาคตะวันออก (มีทั้งหมด 9 ชนิดย่อย-ดูในตาราง) เป็นแมลงที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินยางไม้ตามเปลือกไม้ของต้นไม้ใหญ่ในป่า ตัวผู้มีพฤติกรรมใช้ขากรรไกรที่ยาวใหญ่นั้นต่อสู้เพื่อป้องกันตัว และสู้กับตัวผู้ตัวอื่น ๆ เพื่อแย่งตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ หรือแม้แต่สู้กับด้วงในวงศ์ Dynastinae ที่ใช้เขาเพื่อการต่อสู้ได้ด้วยเช่นกัน ในระยะที่เป็นตัวหนอน อายุการเป็นตัวหนอนของแมงคีมยีราฟจะแตกต่างออกไปตามเพศ ตัวผู้จะมีอายุราว 9 เดือน ขณะที่ตัวเมียมีอายุสั้นกว่าคือ 4-7 เดือน และตัวหนอนสามารถส่งเสียงขู่ผู้รุกรานได้ด้วย ด้วยการยกขาคู่หลังตั้งขึ้นให้ด้านข้างซึ่งเป็นแผ่นแข็งเสียดสีกับขาคู่กลางไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดการสั่นจนมีเสียงพอรับรู้ได้ สำหรับสถานะในประเทศไทย เป็นแมลงที่หาได้ยากใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยงและสตัฟฟ์เพื่อการสะสม และการทำลายป่าที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้แมงคีมยีราฟถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และเคยมีภาพปรากฏลงในสลากกินแบ่งรัฐบาลและแสตมป์ด้วยแต่ขณะนี้ได้มีความพยายามจากภาคเอกชนในการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงแล้ว ซึ่งแมงคีมยีราฟจะวางไข่ไว้ในไม้ผุเท่านั้น โดยจะไม่วางไข่ไว้ในดินเหมือนด้วงในวงศ์ Dynastinae เพราะตัวหนอนกินอาหารต่างกัน โดยจะกินไม้ผุและเห็ดราที่ติดมากับไม้นั้นด้ว.

ใหม่!!: แมลงและแมงคีมยีราฟ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: แมลงและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาท

'''เส้นประสาท'''ของรยางค์บน แทนด้วยสีเหลือง เส้นประสาท หรือ ประสาท เป็นโครงสร้างในร่างกายที่มีลักษณะเป็นมัดของเส้นใยของเนื้อเยื่อประสาทที่เชื่อมระหว่างอวัยวะในระบบประสาทกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำหน้าที่ในการนำกระแสประสาท เส้นประสาทประกอบด้วยกลุ่มของแอกซอนจำนวนมาก ซึ่งเป็นโครงสร้างยาวที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตามเส้นประสาทไม่ได้ประกอบขึ้นจากตัวเซลล์ประสาท แต่ประกอบขึ้นจากแอกซอนที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท และในเส้นประสาทก็มีเซลล์เกลียซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มอะเมซอน.

ใหม่!!: แมลงและเส้นประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

InsectInsectaอินเซคทาชั้นแมลง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »