สารบัญ
6 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาสัตววิทยาสิ่งมีชีวิตปฏิกิริยาเคมีแพทยศาสตร์โมเลกุล
- วิธีการประหารชีวิต
- เครื่องประหารชีวิต
ชีววิทยา
ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.
สัตววิทยา
ัตววิทยา (Zoology, มาจากภาษากรีกโบราณ ζῷον (zoon) หมายถึง "สัตว์" และ λόγος หมายถึง "วิทยาการ หรือ ความรู้") จัดเป็นศาสตร์ด้านชีววิทยาสาขาหนึ่ง เกี่ยวข้องกับสมาชิกในอาณาจักรสัตว์ และชีวิตสัตว์โดยทั่วไป โดยเป็นการศึกษาเรื่องสัตว์ ตั้งแต่พวกสัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตววิทยาศึกษาโดยรวมเกี่ยวกับร่างกายของสัตว์ ไม่ได้เน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง และกระบวนการสำคัญในการดำรงชีพ แต่ศึกษาความสัมพันธ์ของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์กับสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นขอบเขตการศึกษาที่กว้าง จึงมักจะแบ่งย่อยเป็นสาขาอื่นๆ อีก เช่น วิทยาเซลล์, วิทยาตัวอ่อน, สัณฐานวิทยา, โบราณชีววิทยา, พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ, อนุกรมวิธาน, พฤติกรรมวิทยา, นิเวศวิทยา และสัตวภูมิศาสตร์ เป็นต้น สัตววิทยานั้นมีการศึกษามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และจักรวรรดิโรมัน จากงานของฮิปโปเครเตส, อะริสโตเติล, และพลินี นักธรรมชาตินิยมสมัยต่อมาเจริญรอยตามอริสโตเติล จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อมีการพิมพ์แพร่หลาย ความรู้เหล่านี้ก็กว้างขวางขึ้น มีการศึกษาและเผยแพร่มากขึ้น เช่น วิลเลียม ฮาร์วีย์ (การไหลเวียนของเลือด), คาโรลุส ลินเลียส (ระบบการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์), ฌอร์ฌ-หลุยส์ เลอแกลร์ก กงต์เดอบูว์ฟง (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) และฌอร์ฌ กูว์วีเย (กายวิภาคเปรียบเทียบ) ซึ่งเป็นการศึกษาในขั้นลึกของสัตววิทยา จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของการศึกษาสัตววิทยา ก็เมื่อชาลส์ ดาร์วิน ได้ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดพงศ์พันธุ์ (On the Origin of Species by Means of Natural Selection) ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นับแต่นั้นการศึกษาด้านพันธุศาสตร์เริ่มมีความจำเป็นในการศึกษาทางชีววิทยา และการศึกษาในแนวลึกเฉพาะด้านเริ่มมีมากขึ้น และยังมีการศึกษาคาบเกี่ยวกันในแต่ละสาขาวิชาด้วย สำหรับสถาบันที่เปิดสอนศาสตร์ด้านสัตววิทยานั้น ในประเทศไทย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหลักสูตร สาขาวิชาสัตววิทยา และสาขาวิชาชีววิทยา เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตร คณะประมง เช่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น และเมื่อศึกษาจบแล้ว สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนได้ต่าง ๆ หลากหล.
สิ่งมีชีวิต
งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.
ปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีสารเริ่มต้นปฏิกิริยาเรียกว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวก็ได้ มาเกิดปฏิกิริยากัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี หมวดหมู่:ปฏิกิริยาเคมี หมวดหมู่:เคมี.
แพทยศาสตร์
right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.
โมเลกุล
โครงสร้างสามมิติ (ซ้ายและกลาง) และโครงสร้างสองมิติ (ขวา) ของโมเลกุลเทอร์พีนอย โมเลกุล (molecule) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้ โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ใน 1 โมเลกุล อาจจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุทางเคมีตัวเดียว เช่น ออกซิเจน (O2) หรืออาจจะมีหลายธาตุก็ได้ เช่น น้ำ (H2O) ซึ่งเป็นการประกอบร่วมกันของ ไฮโดรเจน 2 อะตอมกับ ออกซิเจน 1 อะตอม หากโมเลกุลหลายโมเลกุลมาเกิดพันธะเคมีต่อกัน ก็จะทำให้เกิดสสารขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เช่น (H2O) รวมกันหลายโมเลกุล เป็นน้ำ มโลเกุล มโลเกุล หมวดหมู่:โมเลกุล.
ดูเพิ่มเติม
วิธีการประหารชีวิต
- กรงเหล็กตะแลงแกง
- การตรึงกางเขน
- การบังคับให้ฆ่าตัวตาย
- การประหารชีวิตด้วยช้าง
- การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
- การแขวนคอ
- การโยนออกนอกหน้าต่าง
- ความอดอยาก
- พิษ
- รถตู้ประหารชีวิต
- รถไฟเหาะยูธานาเซีย
- แขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่
- โคสัมฤทธิ์